งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การสอบสวนวิสามัญ การชันสูตรพลิกศพ ได้แก่ การตรวจสถานที่ที่พบศพ และตรวจสภาพศพ เพื่อทราบเหตุที่ตาย พฤติการณ์ที่ตาย ผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และบุคคลผู้ทำให้ตาย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การสอบสวนวิสามัญ การชันสูตรพลิกศพ ได้แก่ การตรวจสถานที่ที่พบศพ และตรวจสภาพศพ เพื่อทราบเหตุที่ตาย พฤติการณ์ที่ตาย ผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และบุคคลผู้ทำให้ตาย."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การสอบสวนวิสามัญ การชันสูตรพลิกศพ ได้แก่ การตรวจสถานที่ที่พบศพ และตรวจสภาพศพ เพื่อทราบเหตุที่ตาย พฤติการณ์ที่ตาย ผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และบุคคลผู้ทำให้ตาย กรณีที่ต้องมีการชันสูตรพลิกศพ 1. บุคคลตายโดยผิดธรรมชาติ 2. บุคคลตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน 3. บุคคลตายเนื่องจากเจ้าพนักงานอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ การสอบสวนคดีอาญา

2 การสอบสวนคดีอาญา

3 Livor Morits : การเกิดจ้ำเลือดภายหลังการตาย
การสอบสวนคดีอาญา

4 การสอบสวนคดีอาญา

5 การเจริญเติบโตของหนอนที่พบในศพ Insect Activity)
การสอบสวนคดีอาญา

6 การตายโดยผิดธรรมชาติ มี 5 กรณี 1. ฆ่าตัวตาย 2
การตายโดยผิดธรรมชาติ มี 5 กรณี 1. ฆ่าตัวตาย 2. ถูกผู้อื่นทำให้ตาย(รวมทั้งถูกเจ้าพนักงานทำให้ตาย) 3. ถูกสัตว์ทำร้ายตาย 4. ตายโดยอุบัติเหตุ 5. ตายโดยยังมิปรากฏเหตุ การสอบสวนคดีอาญา

7 การชันสูตรพลิกศพ ให้พนักงานสอบสวนและแพทย์ทำบันทึกรายละเอียดแห่งการชันสูตรพลิกศพ ทันที และให้แพทย์ดังกล่าวทำรายงานแนบท้ายบันทึกรายละเอียดแห่งการชันสูตรพลิกศพ ด้วยภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเรื่อง ถ้ามีความจำเป็นให้ขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน แต่ต้องบันทึกเหตุผลและความจำเป็นในการขยายระยะเวลาทุกครั้งไว้ในสำนวน ชันสูตรพลิกศพ รายงานดังกล่าวให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนชันสูตรพลิกศพ ม.150 ว. 1 การสอบสวนคดีอาญา

8 ในเมื่อมีการจำเป็นเพื่อพบเหตุของการตาย เจ้าพนักงานผู้ทำการชันูสตรพลิกศพมีอำนาจสั่งให้ผ่าศพแล้วแยกธาตุส่วนใดหรือจะให้ส่งทั้งศพหรือบางส่วนไปยังแพทย์ หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้ (ม. 151) การสอบสวนคดีอาญา

9 เจ้าพนักงานผู้ทำหน้าที่ชันสูตรพลิกศพ
ตายกรณีอื่นๆที่มิได้ตายในขณะที่ถูกอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน หรือถูกเจ้าพนักงานทำให้ตาย -พนักงานสอบสวนแห่ง ท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ -แพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ -สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือญาติของผู้ตายอย่างน้อยหนึ่งคนทราบเท่าที่จะทำได้ การสอบสวนคดีอาญา

10 เจ้าพนักงานผู้ทำหน้าที่ชันสูตรพลิกศพ
ตายในขณะที่ถูกอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน หรือถูกเจ้าพนักงานทำให้ตาย พนักงานสอบสวนแห่ง ท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ แพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ พนักงานอัยการ พนักงานฝ่ายปกครองตำแหน่งตั้งแต่ปลัดอำเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไป สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือญาติของผู้ตายอย่างน้อยหนึ่งคนทราบเท่าที่จะทำได้ การสอบสวนคดีอาญา

11 ตายมิได้เป็นผลจากการกระทำความผิดอาญา(ม.150 ว.1) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(ม.156) การตายเป็นผลจาการกระทำผิดอาญา สำนวนการชั้นสูตร บันทึกการชันสูตร รายงานการชั้นสูตร สำนวนการสอบสวน (ม.140,143 ว.3) ถูกเจ้าพนักงานทำให้ตาย และตายในขณะอยู่ในความควบคุม(ม.150 ว.3) ศาลมีคำสั่งไต่สวน การตาย ม.150 ว.5 การสอบสวนคดีอาญา

12 การส่งสำนวนการการสอบสวน
หลังจากที่พนักงานสอบสวนได้รวบรวมข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานทั้งหลายเกี่ยวกับการกระทำความผิดแล้ว พนักงานสอบสวนจะต้องส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมด้วยความเห็น(สั่งฟ้อง/ไม่ฟ้อง/ยุติการสอบสวน) ไปยังพนักงานอัยการ ซึ่งพนักงานงานสอบสวนผู้มีหน้าที่ดังกล่าวเรียกว่า “พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ” “พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ” ได้แก่ พนักงานสอบสวนผู้มีหน้าที่สรุปสำนวนการสอบสวน พร้อมด้วยความเห็นควรสั่งฟ้อง หรือสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการตาม การสอบสวนคดีอาญา

13 มาตรา ๒0 วรรค ๖ “เมื่อพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนแล้วแต่กรณี เห็นว่าการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้ทำความเห็นตามมาตรา ๑๔๐ มาตรา ๑๔๑ หรือมาตรา ๑๔๒ ส่งพร้อมสำนวนไปยังอัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทน” การสอบสวนคดีอาญา

14 มาตรา ๑๔๐ “เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวน เห็นว่าการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้จัดการอย่างหนึ่งอย่างใดดั่งต่อไปนี้ (๑) ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำความผิดและความผิดนั้นมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี ให้พนักงานสอบสวนงดการสอบสวน และบันทึกเหตุที่งดนั้นไว้ แล้วให้ส่งบันทึกพร้อมกับสำนวนไปยังพนักงานอัยการ ถ้าอัตราโทษอย่างสูงเกินกว่าสามปี ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนไปยังพนักงานอัยการพร้อมทั้งความเห็นที่ควรให้งดการสอบสวน ถ้าพนักงานอัยการสั่งให้งด หรือให้ทำการสอบสวนต่อไป ให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามนั้น (๒) ถ้ารู้ตัวผู้กระทำผิด ให้ใช้บทบัญญัติในสี่มาตราต่อไปนี้” การสอบสวนคดีอาญา

15 พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ กรณีทั่วไป (ม.18 ว.3)
“ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในมาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๑ ความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำนาจพนักงานสอบสวนคนใด โดยปกติให้เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนผู้นั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนความผิดนั้นๆ เพื่อดำเนินคดี เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็นหรือเพื่อความสะดวก จึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวน” หลัก พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ ความผิดเกิดขึ้น ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ข้อยกเว้น เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็น หรือ เพื่อความสะดวก จึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวนได้ การสอบสวนคดีอาญา

16 พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบกรณีความผิดคาบเกี่ยวหลายพื้นที่ (ม. 19 ว.2)
พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ (มาตรา ๑๙ วรรคสอง) (ก) ถ้าจับผู้ต้องหาได้แล้ว คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับได้ อยู่ในเขตอำนาจ (ข) ถ้าจับผู้ต้องหายังไม่ได้ คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อน อยู่ในเขตอำนาจ ท้องที่พบการกระทำความผิดก่อน คือ พนักงานสอบสวนที่ได้เริ่มทำการสอบสวนโดยรับคำร้องทุกข์หรือกล่าวโทษไว้เป็นที่แรก การสอบสวนคดีอาญา

17 กรณี (ก) นั้น จะใช้ต่อเมื่อมีการจับตัวผู้ต้องหาได้ โดยไม่มีการพบการกระทำความผิดท้องที่หนึ่งท้องที่ใดมาก่อนเลย เช่น นายดำกับพวกโดยสารรถไฟไปยังจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างทาง นายดำกับพวกร่วมกันเล่นการพนันบนรถไฟ เมื่อรถจอดถึงสถานีนครสวรรค์ เจ้าพนักงานตำรวจพบว่านายดำกับพวกกระทำความผิดตาม พรบ. การพนันจึงดำเนินการจับกุม จะเห็นได้ว่า กรณีนี้ ไม่มีการร้องทุกข์หรือเริ่มทำการสอบสวนมาก่อน ดังนั้น พนักงานสอบสวนจังหวัดนครสวรรค์ จึงเป็นพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวนตาม (๕) และเป็นผู้มีอำนาจรับผิดชอบการสอบสวนตาม (ก) เพราะเป็นผู้จับตัวผู้ต้องหาได้แล้ว การสอบสวนคดีอาญา

18 ส่วน กรณี (ข) เป็นกรณีที่ มีการพบการกระทำผิดก่อนมีการจับผู้ต้องหาได้
เช่น นายดำ พรากเด็กหญิงแดงไปจากนางขาวมารดา จากบ้านที่บางนา โดยพาเด็กหญิงแดงไปอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ นางขาวเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับนายดำต่อ ร.ต.อ.เขียว ที่ สน.บางนา ร.ต.อ. เขียว ได้ดำเนินการออกหมายจับนายดำ จากการสืบสวนพบว่า นายดำพา เด็กหญิงแดงไปอยู่ที่ ต.สำโรงเหนือ จังหวัดสมุทรปราการ จึงได้ประสานงานไปยัง สภต.สำโรงเหนือ จังหวัดสมุทรปราการให้ดำเนินการจับกุมนายแดง เมื่อ เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวน สภต.สำโรงเหนือดำเนินการจับกุมนายแดงเรียบร้อยแล้วจึงนำส่งยัง พ.ต.ต.ฟ้า พนักงานสอบสวน สภต.สำโรงเหนือ เมื่อปรากฏว่าความผิดฐานพรากผู้เยาว์ เป็นความผิดต่อเนื่องกันไปที่กระทำลงในท้องที่ต่างๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป ตาม (๓) พนักงานสอบสวน สน.บางนา และ สภต. สำโรงเหนือ จึงมีอำนาจดำเนินการสอบสวน แต่การสรุปสำนวนหรือรับผิดชอบการสอบสวนนั้น จะต้องเป็นไปตาม (ข) คือในขณะพบการกระทำความผิดยังจับตัวผู้ต้องหาไม่ได้ ต่อมาจับได้ในภายหลัง ผู้ที่จะมีอำนาจสอบสวนคือ พนักงานสอบสวนในท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อน ได้แก่ท้องที่ที่มีการเริ่มทำการสอบสวนก่อนนั่นเอง ในกรณีตัวอย่างนี้คือ สน.บางนา การสอบสวนคดีอาญา

19 หมายเหตุ : พนักงานสอบสวนท้องที่ที่จับหรือพบการกระทำผิดตามมาตรา 19 วรรค 2 นั้นจะต้องเป็นท้องที่ที่คาบเกี่ยวกับการกระทำความผิดในวรรค 1 ด้วย จึงจะสามารถเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ เช่น ลักทรัพย์เชียงใหม่ นำไปขายที่ลำพูน เป็นความผิดต่อเนื่อง พนักงานสอบสวนเชียงใหม่ และลำพูนมีอำนาจสอบสวน แต่หากไปจับผู้ต้องหาหรือพบการกระทำผิดที่ตาก พนักงานสอบสวนตากย่อมมิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เพราะที่ตากมิได้เป็นท้องที่ความผิดคาบเกี่ยวตาม ม.19 ว.1 การสอบสวนคดีอาญา

20 คำพิพากษาฎีกาที่ 1974/2539 ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆเกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปและความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารตามที่โจทก์นำสืบกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นและข่มขืนกระทำชำเราเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่างๆกันรวมทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบางบางยี่ขัน กรุงเทพมหานครและสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรีซึ่งพนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา19 วรรคหนึ่ง(3)(4)และวรรคสอง ฉะนั้นพันตำรวจโท ว. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางยี่ขันในขณะเกิดเหตุซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองถูกจับที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรีพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนกรณีจับผู้ต้องหาได้แล้วเช่นนี้จึงเป็นที่แน่ชัดว่าคือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกาซึ่งเป็นท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา19 วรรคสาม(ก) การที่พันตำรวจโท ว. ได้ทำการสอบสวนคดีนี้หลังจากจับจำเลยทั้งสองได้แล้วพันตำรวจโท ว. คงเป็นพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสอบสวนเท่านั้นแต่พันตำรวจโท ว. มิได้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทั้งมิใช่กรณีที่จับผู้ต้องหายังไม่ได้อันจะถือว่าพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 19 วรรคสาม(ข)ได้เมื่อพันตำรวจโท ว. มิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมกับสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 140 และ 141 แม้จะดำเนินการสอบสวนต่อไปจนเสร็จก็ถือไม่ได้ว่าได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อนโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การสอบสวนคดีอาญา

21 คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๐๔/๒๕๔๒ จำเลยที่ ๓ กระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์รถจักรยานยนต์ในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองอ่างทอง และการที่จำเลยทั้งสามร่วมกันบรรทุกรถจักรยานยนต์ ๒ คัน ของกลางบนรถกระบะเดินทางมาเขตอำเภอกบินทร์บุรีเพื่อที่จะนำไปจำหน่ายยังประเทศเขมรนั้น เป็นการกระทำผิดฐานรับของโจรต่อเนื่องกันและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปตาม มาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่ง ป.วิ.อ. ดังนั้น ร้อยตำรวจเอก อ. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองอ่างทอง ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่เกี่ยวข้องกับเหตุที่เกิด ร้อยตำรวจเอก อ. จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนแล้ว เข้ากรณีตามมาตรา ๑๙ วรรคสาม (ข) เพราะเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่พบการกระทำผิดอยู่ก่อน โดยเริ่มสอบสวนตั้งแต่ ยังจับตัวจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ กับพวกไม่ได้ แม้ภายหลังจะปรากฏว่าจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ กับพวก ถูกจับกุมที่ท้องที่อำเภอกบินทร์บุรีก็ตาม ก็หาทำให้ร้อยตำรวจเอก อ. พ้นจากการเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไปไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้ พนักงานอัยการจังหวัดอ่างทองโจทก์ จึงฟ้อง จำเลยที่ ๑ และ ที่ ๒ กับพวกได้ โดยถือว่ามีการสอบสวนโดยชอบแล้ว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๒๐ การสอบสวนคดีอาญา

22 คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๗๙/๒๕๔๖ รถยนต์หายไป จากท้องที่ของ สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสาคร ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยกับพวกได้พร้อมรถยนต์ที่หายไป ในท้องที่ของสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดบัวหลวงในข้อหาซ่องโจร ความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรรถยนต์จึงเป็นความผิดต่อเนื่อง ซึ่งกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง (๓) พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสาคร จึงมีอำนาจสอบสวนในความผิดฐานลักทรัพย์ หรือรับของโจรได้ เพราะเป็นสถานีตำรวจในท้องที่ที่เกี่ยวข้องกับความผิดดังกล่าว เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยกับพวกได้พร้อมรถยนต์ในท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดบัวหลวงในข้อหาซ่องโจร ซึ่งเป็นความผิดคนละข้อหากับความผิดที่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสาครทำการสอบสวน และเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดบัวหลวง คงควบคุมตัวจำเลยกับพวกไว้ในข้อหาซ่องโจรเท่านั้น เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดบัวหลวงไม่ได้จับกุมและกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสี่กับพวกกระทำความผิดลักทรัพย์หรือรับของโจรรถยนต์ที่หายไป จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดบัวหลวงจับกุมจำเลยกับพวกในความผิดลักทรัพย์หรือรับของโจรได้แล้วตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๙ วรรคสอง (ก) ดังนั้นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดบัวหลวง จึงไม่ใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจร พนักงานสอบสวนในท้องที่ที่พบการกระทำผิดอยู่ก่อน และเริ่มสอบสวนตั้งแต่ ยังจับตัวจำเลยไม่ได้ แม้ภายหลังจะปรากฏว่าจำเลยถูกจับกุมที่ท้องที่อื่น ก็ตาม ก็หาทำให้พ้นจากการเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไปไม่ การสอบสวนคดีอาญา

23 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3240/2550 ตาม ป. วิ. อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3240/2550 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 บัญญัติมีใจความว่า เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่อง และกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ คดีนี้การกระทำความผิดฐานซ่อนเร้นเพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม เกิดขึ้นต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ ตั้งแต่อำเภอแม่สอดจนถึงอำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย พนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งมีอำนาจสอบสวนในความผิดฐานซ่อนเร้นเพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม จึงมีอำนาจสอบสวนในความผิดฐานพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นความ ผิดที่กระทำต่อเนื่องกันซึ่งเกิดขึ้นในท้องที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก อีกด้วย การสอบสวนคดีอาญา

24 คำพิพากษาฎีกาที่ 3466/2547 กรณีที่เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ พนักงานสอบสวน ในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ชัดแจ้งว่าเหตุในคดีนี้เกิดในท้องที่ใดแน่ ระหว่างอำเภอบัวใหญ่ กับอำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา พนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดดังกล่าวย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ แต่ตามวรรคสาม (ก) ของมาตรา 19 ดังกล่าวระบุว่า พนักงานสอบสวนที่เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนคือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับผู้ต้องหาได้อยู่ในเขตอำนาจ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า จำเลยถูกจับได้ที่อำเภอแก้งสนามนาง โดยมีสารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ กับเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่อีกหลายนายเป็นผู้ร่วมจับกุม พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในคดีนี้ คือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอแก้งสนามนาง มิใช่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เป็นผู้สรุปสำนวนและ ทำความเห็นว่า ควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องจำเลยคดีนี้ แล้วส่งสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 140 และ 141 ก็ถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดนั้นโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การสอบสวนคดีอาญา

25 คำพิพากษาฎีกาที่ 625/2552 จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมซึ่งกระทำลงในท้องที่ต่างๆ กัน โดยความผิดตามฟ้องข้อ (ก) (ข) และ (ค) กระทำในท้องที่สถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านเสด็จส่วนความผิดตามฟ้องข้อ (ง) และ (จ) กระทำลงในท้องที่สถานีตำรวจภูธร อำเภอเมืองลำปาง พนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (4) ร้อยตำรวจเอก บ. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านเสด็จจึงมีอำนาจสอบสวน ส่วนที่ จ. ได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปาง และเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางจับกุมจำเลยเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2545 นั้น ข้อเท็จจริงได้ความว่าเป็นเรื่องของการร้องทุกข์และจับกุมจำเลยที่ได้กระทำชำเราผู้เสียหายเมื่อเดือนมกราคม 2545 โดยเหตุเกิดที่หมู่บ้าน ก. ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ดังนั้น แม้จะมีการจับกุมจำเลยได้ในท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางก่อน แต่ก็เป็นการจับกุมจำเลยสำหรับการกระทำผิดอาญาคนละกรรมกับคดีนี้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสอง (ก) เมื่อมีการจับกุมจำเลยในท้องที่สถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านเสด็จเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2545 ร้อยตำรวจเอก บ. พนักงานสอบสวนสถานตำรวจภูธรตำบลบ้านเสด็จจึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ การสอบสวนเป็นไปโดยชอบและพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้อง การสอบสวนคดีอาญา

26 พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบกรณีความผิดเกิดนอกราชอาณาจักร (ม.20)
มาตรา 20 ว.1 “กรณีความผิดที่มีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย ให้อัยการสูงสุด หรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ หรือจะมอบหมายหน้าที่ให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนคนใดเป็นผู้รับผิดชอบทำการสอบสวนก็ได้ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ อัยการสูงสุด หรือ ผู้รักษาการแทน หรือ พนักงานอัยการ หรือพนักงานสอบสวนคนใดซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบ การสอบสวนคดีอาญา

27 การส่งสำนวนการสอบสวน และการสั่งคดีของพนักงานอัยการ
การสอบสวนคดีอาญา

28 ประเภทของสำนวน การสอบสวน
สำนวนไม่รู้ตัวผู้กระทำ ความผิด ม. 140 (1) ประเภทของสำนวน การสอบสวน สำนวนรู้ตัวผู้กระทำ ความผิด ม. 140 (2) การสอบสวนคดีอาญา

29 สำนวนไม่รู้ตัวผู้กระทำความผิด ม. 140 (1)
จำคุกไม่เกิน 3 ปี จำคุกเกิน 3 ปี ส่งสำนวนและความเห็น งดการสอบสวน ม.140(1) ว.2 ส่งสำนวนและงดการ สอบสวน ม.140(1) อัยการ สั่งสอบสวนต่อไป ม.140(1)ว.3 งดการสอบสวน ม.140(1) ว.3 คืนสำนวนให้พนักงานสอบสวน การสอบสวนคดีอาญา

30 สำนวนปรากฏตัวผู้กระทำความผิด
เรียกหรือจับตัวไม่ได้(ม.144) สั่งฟ้อง/สั่งไม่ฟ้อง อัยการ สั่งฟ้อง ม.141 ว.4 สั่งสอบสวนต่อไปม.141 ว.3 สั่งไม่ฟ้องม.141 ว.2 จัดการให้ได้ตัวผู้ต้องหามา คืนสำนวน สั่งยุติการสอบสวน การสอบสวนคดีอาญา

31 สำนวนปรากฏตัวผู้กระทำความผิด
ผู้ต้องหาถูกควบคุม/ขัง/ปล่อยชั่ว/เชื่อว่าคงได้ตัวมา(ม.142) มีการเปรียบเทียบปรับใน ชั้นพนักงานสอบสวน (ส่งแต่สำนวน)ม.142 ว.4 สั่งฟ้อง ส่งสำนวนพร้อม ผู้ต้องหา ม.142 ว.3 สั่งไม่ฟ้อง ปล่อย/ ปล่อยชั่วคราว/ขอให้ศาลปล่อย ม.142 ว./2 อัยการ ปล่อย ปล่อยชั่วคราว ควบคุมไว้ หรือขอให้ศาลขัง ม.143(ข) สั่งสอบสวน เพิ่มเติมม.143 ว.2(ก) สั่งฟ้อง สั่งไม่ฟ้องม.143(1) ปล่อย/ ปล่อยชั่วคราว/ขอให้ศาลปล่อย สั่งฟ้อง ม.143(2) สั่งให้ เปรียบเทียบปรับ ม.144 คืนสำนวน การสอบสวนคดีอาญา

32 คำสั่งของอัยการสูงสุด ไม่ใช่คำสั่งของอัยการสูงสุด
การส่งสำนวนการสอบสวนกรณีอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี อัยการสั่งไม่ฟ้อง คำสั่งของอัยการสูงสุด (ม.145) ไม่ใช่คำสั่งของอัยการสูงสุด (ม.145) การสอบสวนคดีอาญา

33 ไม่ใช่คำสั่งของอัยการสูงสุด
การส่งสำนวนการสอบสวนกรณีอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี ไม่ใช่คำสั่งของอัยการสูงสุด (ม.145) จังหวัดอื่นๆ กรุงเทพ ผู้ว่าราชการ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สั่งไม่ฟ้อง สั่งฟ้อง เด็ดขาด อัยการสูงสุด สั่งฟ้อง สั่งไม่ฟ้อง การสอบสวนคดีอาญา

34 การส่งสำนวนการสอบสวนกรณีอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี
คำสั่งไม่ฟ้องของอัยการสูงสุด(ม.145) เป็นอันเด็ดขาด สั่งฟ้อง สั่งไม่ฟ้อง ห้ามสอบสวนเว้นแต่ จะได้พยานใหม่ ม.147 ปล่อยผู้ต้องหา ผู้เสียหาย/ผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิดูสำนวนการสอบสวน ม.146 การสอบสวนคดีอาญา

35 ม.146 ว.2 และ 147 บัญญัติให้สอดคล้องกับ รธน. 2540 ม.241 ว.3,4
ผู้เสียหายหรือจำเลยในคดีอาญาย่อมมีสิทธิตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตนเมื่อพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้ว ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมมีสิทธิขอทราบสรุปพยานหลักฐานพร้อมความเห็นของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการในการสั่งคดี ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” การสอบสวนคดีอาญา

36 เมื่อคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีแล้ว คำสั่งดังกล่าวมีผลดังนี้
ห้ามมิให้มีการสอบสวนบุคคลนั้นในเรื่องเดียวกันนั้นอีก เป็นไปตามหลัก Ne bis in idem เรื่องเดียวกัน หมายถึง การกระทำครั้งเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นความผิดฐานเดียวกันหรือไม่ ยกเว้นมีหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดี ซึ่งจะทำให้สามารถลงโทษผู้กระทำความผิดได้ ก็สามารถสอบสวนใหม่ได้ แต่จะต้องเป็นพยานหลักฐานที่ปรากฏขึ้นใหม่ โดยมิได้ทราบมาก่อนว่ามีหลักฐานเช่นนั้น แต่ต้องเป็นหลักฐานที่จะชี้ได้ว่าผู้นั้นกระทำความผิด คำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีด้วยตนเอง ตาม ม. 34 End การสอบสวนคดีอาญา


ดาวน์โหลด ppt การสอบสวนวิสามัญ การชันสูตรพลิกศพ ได้แก่ การตรวจสถานที่ที่พบศพ และตรวจสภาพศพ เพื่อทราบเหตุที่ตาย พฤติการณ์ที่ตาย ผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และบุคคลผู้ทำให้ตาย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google