งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

“Khemie ... Easy Easy and Child Child.”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "“Khemie ... Easy Easy and Child Child.”"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 “Khemie ... Easy Easy and Child Child.”
ชั่วโมงที่ 2–3 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 ชั่วโมงที่ 2–3 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม “Khemie ... Easy Easy and Child Child.”

2 สารและสมบัติของสาร ม. 4–6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 โครงสร้างของสาร ตอนที่ 1 โครงสร้างอะตอม แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม เวลา 2 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม 2 ชั่วโมง สาระการเรียนรู้ 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม 2.3 ความสัมพันธ์ระหว่างเวเลนซ์อิเล็กตรอนกับสมบัติของธาตุ จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

3 แบบจำลองอะตอมใดแสดงให้เห็นถึง การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียส
อนุภาคมูลฐานแต่ละชนิดจัดเรียงตัว ภายในอะตอมในลักษณะใด 1) ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียน โดยคลิกเพื่อถามคำถามกับนักเรียนตามลำดับว่า – แบบจำลองอะตอมใดแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียส – อนุภาคมูลฐานแต่ละชนิดจัดเรียงตัวภายในอะตอมในลักษณะใด – การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนภายในอะตอมมีลักษณะใด 2) ครูให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง และให้นักเรียนร่วมกันค้นหาคำตอบจากบทเรียนเพื่อ เชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ครูใช้เวลาในการนำเข้าสู่บทเรียนประมาณ 10 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม) การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน ภายในอะตอมมีลักษณะใด

4 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม
2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม แบบจำลองอะตอมของโบร์ แบบจำลองอะตอมใดที่แสดงถึงการเคลื่อนที่ ของอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่าง ๆ แบบจำลองอะตอมของโบร์แสดงถึง การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียส 2. อนุภาคมูลฐานของอิเล็กตรอน 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม 1) ครูทบทวนความรู้เดิมของนักเรียน โดยถามคำถามกับนักเรียนว่า แบบจำลองอะตอมใด ที่แสดงถึงการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่าง ๆ 2) ครูให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง 3) ครูคลิกตามลำดับ เพื่อแสดงแบบจำลองอะตอมของโบร์ พร้อมอธิบายว่า แบบจำลองอะตอม ของโบร์แสดงถึงการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียส โดยอิเล็กตรอนเคลื่อนที่รอบ นิวเคลียสในระดับพลังงานต่าง ๆ ครูใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประมาณ 45 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม) อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ รอบนิวเคลียสในระดับพลังงานต่าง ๆ

5 นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ จากการปฏิบัติกิจกรรมต่อไปนี้
2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ ในระดับพลังงานต่าง ๆ มีจำนวนเท่ากันหรือไม่ และถูกดึงดูดจากโปรตอนเท่าเดิมหรือไม่ นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ จากการปฏิบัติกิจกรรมต่อไปนี้ 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม 1) ครูคลิกตามลำดับแล้วถามนักเรียนว่า อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ในระดับพลังงานต่าง ๆ มีจำนวน เท่ากันหรือไม่ และถูกดึงดูดจากโปรตอนเท่าเดิมหรือไม่ ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย คำตอบเกี่ยวกับคำถาม ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบ ที่ถูกต้อง จากนั้นครูให้นักเรียน แบ่งกลุ่มแล้วร่วมกันค้นหาคำตอบ เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ การปฏิบัติกิจกรรม 2) นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ 2 สังเกตแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอิเล็กตรอนกับนิวเคลียส ในแบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

6 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม กิจกรรมที่ 2 สังเกตแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอิเล็กตรอน กับนิวเคลียส ปัญหา การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมมีลักษณะใด อุปกรณ์ 1. ลูกเหล็กกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มม ลูก 2. ถ้วย ใบ 3. แท่งแม่เหล็ก แท่ง 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม 1) ครูให้นักเรียนร่วมกันตั้งคำถามเพื่อกำหนดปัญหาก่อนปฏิบัติกิจกรรม โดยครูช่วยสรุป การตั้งคำถามของนักเรียน แล้วร่วมกันกำหนดเป็นปัญหาที่สอดคล้องกับการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคลิกเพื่อแสดงปัญหาของกิจกรรม 3) ครูคลิกเพื่อแสดงอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรม

7 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ขั้นตอน ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ ลูกเหล็ก แท่งแม่เหล็ก 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 1. ใส่ลูกเหล็กกลมจำนวน 100 ลูกในถ้วย แล้วจุ่มแท่งแม่เหล็กลงใน ถ้วย ค่อย ๆ ยกแท่งแม่เหล็กขึ้น สังเกตการเกาะของลูกเหล็กบนแท่ง แม่เหล็ก บันทึกผล

8 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ลูกเหล็ก แท่งแม่เหล็ก 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม 1) ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคอยแนะนำช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและเปิด โอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา 2. ใช้มือแกะลูกเหล็กออกทีละลูก โดยเริ่มแกะจากลูกเหล็กที่อยู่นอกสุด จนถึงลูกเหล็กที่อยู่ในสุด สังเกตแรงที่ต้องใช้แกะลูกเหล็ก และ บันทึกผล

9 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม บันทึกผล สิ่งที่สังเกต ผลการสังเกต การเกาะของลูกเหล็กบนแท่งแม่เหล็ก แรงที่ใช้แกะลูกเหล็กออกจาก แท่งแม่เหล็ก จำนวนลูกเหล็กที่อยู่แถวนอกมีมากกว่าจำนวนลูกเหล็กที่อยู่ติดกับแท่งแม่เหล็ก 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม 1) เมื่อปฏิบัติกิจกรรมเสร็จ ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน 2) ครูคลิกเพื่อแสดงตารางบันทึกผล 3) ครูคลิกเพื่อแสดงแนวคำตอบของการปฏิบัติกิจกรรม แรงที่ใช้แกะลูกเหล็กลูกนอกสุดไปจนถึงลูกในสุดที่ติดกับแท่งแม่เหล็กไม่เท่ากัน

10 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม สรุปผล เมื่อแกะลูกเหล็กออกทีละลูกจากลูกนอกสุดพบว่า จำนวนลูกเหล็กที่อยู่แถวนอกมีมากกว่าจำนวนลูกเหล็กที่อยู่ใกล้แท่งแม่เหล็ก และแรงที่ใช้แกะลูกเหล็กที่อยู่นอกสุดใช้แรงดึงออกน้อยกว่าลูกเหล็กที่อยู่ในสุดใกล้แท่งแม่เหล็ก เมื่อเปรียบเทียบแท่งแม่เหล็กเป็นนิวเคลียสซึ่งมีประจุบวก และให้ลูกเหล็กเป็นอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบ อิเล็กตรอนที่อยู่ห่างนิวเคลียสมากจะมีแรงดึงดูดกับนิวเคลียสน้อย จึงหลุดออกจากอะตอมได้ง่ายกว่าอิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียส และในอะตอมที่มีอิเล็กตรอนจำนวนมาก อิเล็กตรอนจะจัดตัวใน วงโคจรที่ห่างจากนิวเคลียสเป็นระยะต่างกัน โดยจำนวนอิเล็กตรอนที่อยู่ในวงโคจรใกล้นิวเคลียสมีน้อยกว่าที่อยู่ในวงโคจรห่างจากนิวเคลียส 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม 1) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคลิกเพื่อแสดงสรุปผลของกิจกรรม

11 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ค้นหาคำตอบ 1. กิจกรรมนี้เปรียบเทียบแท่งแม่เหล็กกับลูกเหล็กเป็นสิ่งใด แท่งแม่เหล็กเปรียบได้กับนิวเคลียสซึ่งมีประจุบวก และลูกเหล็กเปรียบได้กับอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบ 2. นักเรียนควรใช้ลูกเหล็กที่มีขนาดเล็กในการปฏิบัติกิจกรรมเพราะเหตุใด เพราะแท่งแม่เหล็กจะได้ดูดลูกเหล็กได้จำนวนมากและแสดงผลการ สังเกตที่ชัดเจน 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม 1) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายซักถามและแสดงความคิดเห็นผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถามจากกรอบค้นหาคำตอบท้ายกิจกรรม ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ) 3. นักเรียนควรแกะลูกเหล็กออกอย่างระมัดระวังเพราะเหตุใด เพราะต้องการสังเกตจำนวนลูกเหล็กและแรงที่ใช้แกะลูกเหล็กในแต่ ละแถว

12 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ค้นหาคำตอบ 4. การแกะลูกเหล็กแต่ละลูกออกจากแท่งแม่เหล็กมีความแตกต่างกันหรือไม่ ลักษณะใด แตกต่างกัน ลูกเหล็กที่อยู่นอกสุดใช้แรงดึงออกน้อยกว่าลูกเหล็กที่อยู่ในสุดใกล้แท่งแม่เหล็ก 5. อิเล็กตรอนที่อยู่ห่างจากนิวเคลียสมากจะหลุดออกจากอะตอมได้ง่าย เพราะเหตุใด เพราะอิเล็กตรอนที่อยู่ห่างจากนิวเคลียสมากจะมีแรงดึงดูดกับนิวเคลียสน้อย  2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ) 6. ผลสรุปของการปฏิบัติกิจกรรมนี้คืออะไร แรงดึงดูดระหว่างอิเล็กตรอนกับนิวเคลียสขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างนิวเคลียสกับอิเล็กตรอน

13 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม e– แรงดึงดูด จากนิวเคลียส มาก น้อย e– e– 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ครูคลิกตามลำดับ เพื่ออธิบายว่า อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบนิวเคลียสนั้นจะถูกดึงดูดจาก นิวเคลียสด้วยแรงที่แตกต่างกัน โดยอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่อยู่ในระดับพลังงานที่ใกล้นิวเคลียส จะถูกดึงดูดจากนิวเคลียสด้วยแรงมากที่สุด และแรงดึงดูดจะน้อยลงเมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ ในระดับพลังงานที่ไกลออกไป e–

14 n = 1  e– = 2 n = 2  e– = 8 = 2n2 n = 3  e– = 18 n = 4  e– = 32
2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ระดับพลังงานภายในอะตอม n = 1  e– = 2 จำนวนอิเล็กตรอน ที่มีได้มากที่สุด ในแต่ละระดับพลังงาน = 2n2 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม 1) ครูคลิกตามลำดับเพื่ออธิบายเกี่ยวกับระดับพลังงานในอะตอม ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูอธิบายนักเรียนว่า จำนวนอิเล็กตรอนที่มีได้มากที่สุดในแต่ละระดับพลังงาน มีค่าเท่ากับ 2n2 n = 2  e– = 8 n = 3  e– = 18 n = 4  e– = 32

15 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุบางชนิด ชื่อธาตุ สัญลักษณ์ เลขอะตอม จำนวนอิเล็กตรอน ระดับที่ 1 (2) ระดับที่ 2 (8) ระดับที่ 3 (18) ระดับที่ 4 (32) ลิเทียม โซเดียม อาร์กอน โพแทสเซียม 3 11 18 19 2 1* 8 - 8* 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม 1) ครูคลิกเพื่อแสดงตารางและข้อความ แล้วอธิบายการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุ บางชนิด ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูอธิบายว่า อิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นนอกสุด เรียกว่า เวเลนซ์อิเล็กตรอน (valence electron) * อิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นนอกสุด เวเลนซ์อิเล็กตรอน (valence electron)

16 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม 18 Ar 40 e– e– e– e– e– e– e– e– e– e– e– e– e– e– e– e– e– e– e– e– e– e– e– e– e– e– e– e– ระดับที่ 1 ระดับที่ 2 (2n1 = 2) (2n2 = 8) 2 , 8 , 8 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ครูคลิกเพื่อแสดงตัวอย่างการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงาน โดยอิเล็กตรอนจะจัดเรียง ในระดับพลังงานที่ 1, 2 และ 3 ตามลำดับ อิเล็กตรอนที่อยู่ระดับพลังงานนอกสุดจะเป็นเวเลนซ์ อิเล็กตรอนของอะตอมนั้น e– e– e– e– e– e– e– e– ระดับที่ 3 (2n2 = 18)

17 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม เขียนแสดงแบบจำลองอะตอมชนิดโครงสร้างลายเส้นของธาตุชนิดต่าง ๆ เขียนแสดงการจัดเรียงอิเล็กตรอนอย่างย่อ 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม 1) ครูคลิกแสดงแบบจำลองอะตอมชนิดโครงสร้างลายเส้นของธาตุชนิดต่าง ๆ และคลิกแสดง การจัดเรียงอิเล็กตรอนอย่างย่อ ตามลำดับ 2) ครูคลิกเพื่อแสดงจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุชนิดต่าง ๆ ว่า ธาตุบางชนิดมีจำนวน เวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน ได้แก่ ลิเทียม โซเดียม และโพแทสเซียม แต่ก็มีระดับพลังงาน ของอิเล็กตรอนที่แตกต่างกัน หรือบางธาตุที่มีจำนวนระดับพลังงานของอิเล็กตรอนเท่ากัน แต่มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนไม่เท่ากัน เช่น โซเดียมและอาร์กอน 2 , 1 2 , 8 , 1 2 , 8 , 8 2 , 8 , 8 , 1 จำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน

18 1 2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงานมีหลักการ ดังนี้
2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม การจัดเรียงอิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงานมีหลักการ ดังนี้ จำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน  8 ตามกฎออกเตต (octet rule) 1 จำนวนอิเล็กตรอนถัดเข้ามาจากวงนอกสุด  18 2 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ครูคลิกตามลำดับเพื่ออธิบายหลักการของการจัดเรียงอิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงาน ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

19 นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ จากการปฏิบัติกิจกรรมต่อไปนี้
2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ธาตุแต่ละชนิดมีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ในแต่ละระดับพลังงานลักษณะใดตามกฎออกเตต และมีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนแตกต่างกันเท่าใด นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ จากการปฏิบัติกิจกรรมต่อไปนี้ 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม 1) ครูคลิกตามลำดับแล้วถามนักเรียนว่า ธาตุแต่ละชนิดจะมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนในแต่ละระดับ พลังงานลักษณะใดตามกฎออกเตต และมีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนแตกต่างกันเท่าใด ครูให้ นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบเกี่ยวกับคำถาม ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครู ยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง จากนั้นครูให้นักเรียน แบ่งกลุ่มแล้วร่วมกันค้นหาคำตอบ เพื่อ เชื่อมโยงเข้าสู่การปฏิบัติกิจกรรม 2) นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ 3 สืบค้นข้อมูลการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุบางชนิด ในแบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

20 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม กิจกรรมที่ 3 สืบค้นข้อมูลการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุ บางชนิด ธาตุแต่ละชนิดมีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่าใด และมีจำนวนระดับพลังงานเท่ากันหรือไม่ ปัญหา แหล่งการเรียนรู้ 1. หนังสือเรียน หนังสืออ้างอิง หนังสืออ่านประกอบ และวารสารวิทยาศาสตร์ 2. เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องทางอินเทอร์เน็ต 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม 1) ครูให้นักเรียนร่วมกันตั้งคำถามเพื่อกำหนดปัญหาก่อนปฏิบัติกิจกรรม โดยครูช่วยสรุป การตั้งคำถามของนักเรียน แล้วร่วมกันกำหนดเป็นปัญหาที่สอดคล้องกับการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคลิกเพื่อแสดงปัญหาของกิจกรรม 3) ครูคลิกเพื่อแสดงแหล่งการเรียนรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรม

21 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ขั้นตอน ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ 1. นักเรียนสืบค้นเลขอะตอมของธาตุในตารางบันทึกผล 2. เขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนอย่างย่อและจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน ของธาตุลงในตารางบันทึกผล 3. นำข้อมูลที่ได้มาอภิปรายร่วมกันแล้วนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรม 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม 1) ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคอยแนะนำช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและเปิด โอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา

22 บันทึกผล 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ธาตุ เลขอะตอม
2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม บันทึกผล ธาตุ เลขอะตอม การจัดเรียงอิเล็กตรอน ตามระดับพลังงาน จำนวน เวเลนซ์อิเล็กตรอน ไฮโดรเจน เบริลเลียม ฟลูออรีน แมกนีเซียม ซิลิคอน โบรมีน ซีนอน 1 4 2, 2 2 9 2, 7 7 12 2, 8, 2 14 2, 8, 4 35 2, 8, 18, 7 54 2, 8, 18, 18, 8 8 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม 1) เมื่อปฏิบัติกิจกรรมเสร็จ ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน 2) ครูคลิกเพื่อแสดงตารางบันทึกผล 3) ครูคลิกเพื่อแสดงแนวคำตอบของการปฏิบัติกิจกรรม

23 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม สรุปผล การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุที่กำหนดให้แต่ละธาตุจัดเรียงตามจำนวนอิเล็กตรอนมากที่สุดที่จะมีได้ในแต่ละระดับพลังงานเท่ากับ 2n2 (n = ระดับพลังงาน) โดยธาตุต่าง ๆ จะจัดเรียงอิเล็กตรอนให้อยู่ในระดับพลังงานที่ใกล้นิวเคลียสมากที่สุดให้เต็มก่อน ส่วนอิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานสูงสุดหรือชั้นนอกสุดเรียกว่า เวเลนซ์อิเล็กตรอน โดยธาตุที่มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากันจะทำให้ธาตุมีสมบัติคล้ายคลึงกัน เช่น ธาตุฟลูออรีนกับโบรมีน มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 7 ตัว ธาตุทั้ง 2 ชนิดจึงมีสมบัติคล้ายคลึงกัน 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม 1) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคลิกเพื่อแสดงสรุปผลของกิจกรรม

24 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ค้นหาคำตอบ 1. เลขอะตอมของธาตุแต่ละชนิดมีค่าเท่ากันหรือไม่ เพราะอะไร ไม่เท่ากัน เพราะมีจำนวนโปรตอนไม่เท่ากัน 2. การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุแต่ละธาตุใช้หลักเกณฑ์ใด จัดเรียงตามจำนวนอิเล็กตรอนของธาตุ โดยจัดเรียงในระดับพลังงานชั้นในสุดให้เต็มก่อน แล้วจึงจัดอิเล็กตรอนลงในระดับพลังงานถัดมา โดยจำนวนอิเล็กตรอนสูงสุดที่สามารถมีได้ในแต่ละระดับพลังงานเท่ากับ 2n2 เมื่อ n = ระดับพลังงาน 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม 1) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายซักถามและแสดงความคิดเห็นผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถามจากกรอบค้นหาคำตอบท้ายกิจกรรม ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ)

25 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ค้นหาคำตอบ 3. เวเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุแต่ละชนิดมีจำนวนเท่าใด ไฮโดรเจนมี 1 ตัว เบริลเลียมและแมกนีเซียมมี 2 ตัว ฟลูออรีนและโบรมีนมี 7 ตัว ซิลิคอนมี 4 ตัว และซีนอนมี 8 ตัว 4. ธาตุที่กำหนดให้ในกิจกรรม ธาตุใดบ้างที่มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน เบริลเลียมและแมกนีเซียมมีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน คือ 2 ตัว ฟลูออรีนและโบรมีนมีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน คือ 7 ตัว 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ) 5. เวเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุแต่ละธาตุมีความสัมพันธ์กันในลักษณะใด ธาตุที่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากันจะมีสมบัติคล้ายคลึงกัน

26 เวเลนซ์อิเล็กตรอน = 8 อะตอมเสถียร
2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.3 ความสัมพันธ์ระหว่างเวเลนซ์อิเล็กตรอนกับสมบัติของธาตุ จำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนมีผลต่อสมบัติของธาตุหรือไม่ กลุ่มธาตุโลหะ (metal) สูญเสียเวเลนซ์อิเล็กตรอนง่าย 2 , 8 , 1 โซเดียมอะตอม (Na) 2 , 8 , 2 แมกนีเซียมอะตอม (Mg) เวเลนซ์อิเล็กตรอน = 8 อะตอมเสถียร สูญเสีย อิเล็กตรอน 1 ตัว โซเดียมไอออน (Na+) สูญเสีย อิเล็กตรอน 2 ตัว แมกนีเซียมไอออน (Mg2+) 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.3 ความสัมพันธ์ระหว่างเวเลนซ์อิเล็กตรอนกับสมบัติของธาตุ 1) ครูขยายความรู้โดยการถามคำถามกับนักเรียนว่า จำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนมีผลต่อสมบัติของ ธาตุหรือไม่ 2) ครูให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง 3) เมื่อนักเรียนอภิปรายคำตอบเสร็จแล้ว ครูอธิบายผลของจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนต่อสมบัติ ของกลุ่มธาตุโลหะ (metal) ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของ สาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 4) ครูคลิกตามลำดับ เพื่อแสดงว่า กลุ่มธาตุโลหะสูญเสียเวเลนซ์อิเล็กตรอนได้ง่าย และเมื่อสูญเสีย เวเลนซ์อิเล็กตรอนแล้ว จะกลายเป็นไอออนที่มีอำนาจของประจุบวก และมีจำนวนเวเลนซ์ อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 ตัว ซึ่งเป็นอะตอมที่เสถียร 2 , 8 + 2 , 8 +

27 2.3 ความสัมพันธ์ระหว่างเวเลนซ์อิเล็กตรอนกับสมบัติของธาตุ
2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.3 ความสัมพันธ์ระหว่างเวเลนซ์อิเล็กตรอนกับสมบัติของธาตุ 2 , 7 ฟลูออรีนอะตอม (F) กลุ่มธาตุอโลหะ (non-metal) เวเลนซ์อิเล็กตรอน = 8 อะตอมเสถียร ดึงดูดอิเล็กตรอน รับอิเล็กตรอน 1 ตัว ฟลูออไรด์ไอออน (F–) 2 , 8 2. อนุภาคมูลฐานของอะตอม 2.3 ความสัมพันธ์ระหว่างเวเลนซ์อิเล็กตรอนกับสมบัติของธาตุ 1) ครูอธิบายผลของจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนต่อสมบัติของกลุ่มธาตุอโลหะ (non-metal) ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูคลิกตามลำดับ เพื่อแสดงว่า กลุ่มธาตุอโลหะดึงดูดอิเล็กตรอนได้ง่าย และจะดึงดูด อิเล็กตรอนตามจำนวนที่จะทำให้เวเลนซ์อิเล็กตรอนของอโลหะมีครบ 8 ตัว ซึ่งเป็นอะตอม ที่เสถียร แล้วเกิดเป็นไอออนที่มีอำนาจของประจุลบ

28 บูรณาการอาเซียน ทางภาคใต้ของประเทศไทย และในประเทศเมียนมา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มีปริมาณแร่ดีบุกเป็นจำนวนมาก จึงกลายเป็นแหล่งดีบุกที่สำคัญของโลก เรียกว่า The Southeast Tin Belt ซึ่งผลิตดีบุกประมาณร้อยละ 50 ของโลก โดยเฉพาะประเทศมาเลเซียเคยผลิตดีบุกถึงร้อยละ 40 ถือเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของโลก ต่อมาปริมาณดีบุกในมาเลเซียลดลงและราคาดีบุกในตลาดโลกตกต่ำ ทำให้มาเลเซียลดบทบาทในการเป็นผู้ผลิตและส่งออกดีบุกโลก แต่ยังคงอยู่ใน 10 อันดับแรกของโลก ครูคลิกบูรณาการอาเซียนเพื่ออธิบายการผลิตแร่ดีบุกในภูมิภาคอาเซียน

29 นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง เรามาตรวจสอบความเข้าใจกัน
ตอบคำถามต่อไปนี้ 1. อิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงานถูกดึงดูดจากนิวเคลียสด้วยแรงที่เท่ากันหรือไม่ เพราะอะไร ไม่เท่ากัน เพราะระยะห่างจากนิวเคลียสไม่เท่ากัน และอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่ำจะบดบังแรงที่ดึงดูดอิเล็กตรอนในระดับพลังงานสูงอีกด้วย 2. ธาตุที่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1 และ 7 มักไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเพราะอะไร 1) ครูถามนักเรียนว่าในหัวข้อนี้มีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจ ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติม 2) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม 3) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถาม ให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและคำตอบทีละข้อ) เพราะธาตุทั้ง 2 ชนิดนี้เปลี่ยนเป็นธาตุที่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 ได้ง่าย ซึ่งทำให้อะตอมเสถียร

30 ทบทวนคำศัพท์และหลักการทางวิทยาศาสตร์
1. จำนวนอิเล็กตรอนสูงสุดในระดับพลังงานที่ 3 มีจำนวนเท่าใด 18 ตัว 2. การจัดเรียงอิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงานของธาตุอาร์เซนิก เป็นแบบใด 75 33 As 2, 8, 18, 5 1) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถามจากกิจกรรมประจำหน่วย ใน หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามในหัวข้อทบทวนคำศัพท์และหลักการทางวิทยาศาสตร์ แล้วให้ นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ)

31 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
สรุป การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม อิเล็กตรอนเคลื่อนที่เป็นวงโคจร ในระดับพลังงานต่าง ๆ มีลักษณะ ระดับพลังงานที่ 1, 2 ,….n เวเลนซ์อิเล็กตรอน แบ่งเป็น สมบัติความเป็น โลหะและอโลหะ การเกิด ปฏิกิริยาเคมี มีผลต่อ 1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม โดยครูให้นักเรียน แต่ละคนเขียนสรุปเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์ 2) ครูคลิกเพื่อแสดงตัวอย่างแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์ทีละขั้น พร้อมสรุปทีละประเด็น 3) ครูอาจให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม โดยดูจากคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ครูใช้เวลาในการสรุปและมอบหมายงานประมาณ 5 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม)

32 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 โครงสร้างของสาร
แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 โครงสร้างของสาร ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด (การทำแบบทดสอบใน PowerPoint อาจใช้เวลามาก ครูควร print ให้นักเรียนทำแล้วจึงใช้ PowerPoint ตรวจคำตอบ)

33 เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. เมื่อนำเครื่องกำเนิดอนุภาคแอลฟา ยิงลำของอนุภาค แอลฟาซึ่งมีประจุบวกเข้าชนแผ่นไทเทเนียม ดังรูป ปรากฏว่าเกิดการเรืองแสงบนฉากบริเวณด้านหลัง แผ่นไทเทเนียม และด้านหน้าบางส่วน การทดลองนี้ ทำเพื่อศึกษาสิ่งใด ก ลักษณะของอะตอม ค ความหนาแน่นของโมเลกุลไทเทเนียม ข การสะท้อนรังสีของไทเทเนียม ง ความสามารถในการทะลุผ่านแผ่นโลหะ ของอนุภาคแอลฟา 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 1 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 1 เฉลย ก ถูกต้อง เพราะการที่อนุภาคแอลฟาที่มีขนาดเล็กมากและมีประจุไฟฟ้าบวกสามารถเกิด การสะท้อนมาด้านหน้าของแผ่นไทเทเนียม และทะลุผ่านไปด้านหลังได้ ทำให้บ่งชี้ได้ว่า อะตอมของธาตุต้องประกอบด้วยส่วนที่รวมกันอยู่อย่างหนาแน่นที่มีประจุไฟฟ้าบวก และมีอนุภาคเคลื่อนที่อยู่โดยรอบเป็นบริเวณกว้าง ข ไม่ถูกต้อง เพราะถ้าต้องการศึกษาเรื่องการสะท้อนรังสีควรวัดปริมาณรังสีที่สะท้อนอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องวัดรังสีที่ทะลุผ่านไปด้านหลังก็ได้ ค ไม่ถูกต้อง เพราะผลการทดลองไม่มีตัวบ่งชี้ว่าไทเทเนียมมีความหนาแน่นของโมเลกุล มากหรือน้อย ง ไม่ถูกต้อง เพราะถ้าต้องการศึกษาความสามารถในการทะลุผ่านแผ่นโลหะของอนุภาคแอลฟา ไม่จำเป็นต้องวัดรังสีที่สะท้อนมาด้านหน้าของแผ่นไทเทเนียมก็ได้ คำอธิบาย: ก ถูกต้อง เพราะการที่อนุภาคแอลฟาที่มีขนาดเล็กมากและมีประจุไฟฟ้าบวกสามารถเกิดการสะท้อนมาด้านหน้าของแผ่นไทเทเนียม และทะลุผ่านไปด้านหลังได้ ทำให้บ่งชี้ได้ว่า อะตอมของธาตุต้องประกอบด้วยส่วนที่รวมกันอยู่อย่างหนาแน่นที่มีประจุไฟฟ้าบวก และมีอนุภาคเคลื่อนที่อยู่โดยรอบเป็นบริเวณกว้าง

34 2. เมื่อนำเครื่องกำเนิดอนุภาคแอลฟา ยิงลำของอนุภาค แอลฟาซึ่งมีประจุบวกเข้าชนแผ่นไทเทเนียมดังรูป ปรากฏว่าเกิดการเรืองแสงบนฉากบริเวณด้านหลัง แผ่นไทเทเนียม และด้านหน้าบางส่วน ถ้านักเรียน เปลี่ยนไปใช้แผ่นทองคำ ให้นักเรียนพยากรณ์ว่า ผลการทดลองจะเปลี่ยนไปหรือไม่ เพราะอะไร ก เปลี่ยน เพราะเป็นอะตอมของธาตุต่างชนิดกัน ข เปลี่ยน เพราะความหนาแน่นของธาตุทั้ง 2 ชนิดไม่เท่ากัน ค ไม่เปลี่ยน เพราะอะตอมของธาตุทุกชนิดมีนิวเคลียสขนาดเล็กอยู่ตรงกลาง ง ไม่เปลี่ยน เพราะอะตอมของโลหะมีความสามารถในการสะท้อนรังสีได้เท่ากัน 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 2 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 2 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะแม้ว่าอะตอมของไทเทเนียมและสังกะสีจะมีจำนวนอนุภาคมูลฐานไม่เท่ากัน แต่อนุภาคมูลฐานของธาตุทั้ง 2 ชนิดก็มีการรวมกลุ่มในลักษณะเดียวกัน ข ไม่ถูกต้อง เพราะแม้ว่าธาตุทั้ง 2 ชนิดจะมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน แต่อนุภาคมูลฐานของธาตุ ทั้ง 2 ชนิดก็มีการรวมกลุ่มในลักษณะเดียวกัน ค ถูกต้อง เพราะอะตอมของธาตุทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคโปรตอนและนิวตรอนรวมกัน เป็นกลุ่มเล็กมากอยู่ตรงกลาง และมีประจุไฟฟ้าบวก โดยมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่รอบ ๆ ง ไม่ถูกต้อง เพราะการทดลองไม่ได้ศึกษาเรื่องการสะท้อนรังสีของโลหะ คำอธิบาย: ค ถูกต้อง เพราะอะตอมของธาตุทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคโปรตอนและนิวตรอนรวมกันเป็นกลุ่มเล็กมากอยู่ตรงกลาง และมีประจุไฟฟ้าบวก โดยมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่รอบ ๆ

35 3. เราสามารถระบุชนิดของธาตุได้จากจำนวนโปรตอนใช่หรือไม่ เพราะอะไร ก ใช่ เพราะธาตุแต่ละชนิดจะมีจำนวนโปรตอนไม่เท่ากัน ข ใช่ เพราะโปรตอนเกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีของธาตุ ค ไม่ใช่ เพราะธาตุบางชนิดจะมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน ง ไม่ใช่ เพราะจำนวนโปรตอนใช้ระบุค่ามวลของธาตุเท่านั้น 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 3 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 3 เฉลย ก ถูกต้อง เพราะจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเป็นตัวที่ใช้ระบุชนิดของธาตุ ข ไม่ถูกต้อง เพราะการเกิดปฏิกิริยาเคมีเกี่ยวข้องกับจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน ค ไม่ถูกต้อง เพราะธาตุต่างชนิดกันมีจำนวนโปรตอนต่างกัน ง ไม่ถูกต้อง เพราะจำนวนโปรตอน คือ เลขอะตอม ส่วนมวลของธาตุหรือเลขมวล คือ ผลบวกของจำนวนนิวตรอนกับโปรตอน คำอธิบาย: ก ถูกต้อง เพราะจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเป็นตัวที่ใช้ระบุชนิดของธาตุ

36 10 Ne 20 4. ถ้าสามารถดึงโปรตอน 4 ตัว อิเล็กตรอน 3 ตัว และนิวตรอน 4 ตัว ออกจาก จะได้อนุภาคใดเป็นผลิตภัณฑ์ ก ค ข ง 6 C 16 7 N 16 6 C–1 12 7 N–1 17 คำอธิบาย: ข ถูกต้อง เพราะสามารถคำนวณได้ดังนี้ จากสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของ แสดงถึงอนุภาคมูลฐานดังนี้ เลขอะตอม = 10 แสดงว่ามีจำนวนโปรตอน เท่ากับ 10 ตัว และจำนวนอิเล็กตรอนจะเท่ากับจำนวนโปรตอนเสมอ ดังนั้น จำนวนอิเล็กตรอนจึงเท่ากับ 10 ตัว เลขมวล = 20 แสดงว่ามีจำนวนนิวตรอน เท่ากับ 20 – 10 = 10 ตัว เมื่อดึงโปรตอน 4 ตัว อิเล็กตรอน 3 ตัว และนิวตรอน 4 ตัว อนุภาคมูลฐานของอะตอมจะเท่ากับ โปรตอน = 10 – 4 = อิเล็กตรอน = 10 – 3 = นิวตรอน = 10 – 4 = 6 จากจำนวนอนุภาคมูลฐาน โปรตอน 6 ตัว แสดงว่าเป็นอะตอมของธาตุคาร์บอน และมีเลขอะตอมเท่ากับ 6 จำนวนนิวตรอนเท่ากับ 6 ตัว แสดงว่ามีเลขมวลเท่ากับ = 12 ตัว จำนวนอิเล็กตรอนมากกว่าจำนวนโปรตอน 1 ตัว แสดงว่าอนุภาคที่เกิดขึ้นเป็นไอออนลบที่มีประจุ –1 ดังนั้นอนุภาคที่เกิดขึ้นจึงมีสัญลักษณ์นิวเคลียร์ 10 Ne 20 6 C–1 12 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 4 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 4 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อดึงโปรตอน 4 ตัว อิเล็กตรอน 3 ตัว และนิวตรอน 4 ตัว ออกจาก Ne แล้วจะได้อนุภาคของ C –1 ข ถูกต้อง เพราะสามารถคำนวณได้ดังนี้ จากสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของ Ne แสดงถึงอนุภาคมูลฐานดังนี้ เลขอะตอม = 10 แสดงว่ามีจำนวนโปรตอน เท่ากับ 10 ตัว และจำนวนอิเล็กตรอน จะเท่ากับจำนวนโปรตอนเสมอ ดังนั้นจำนวนอิเล็กตรอนจึงเท่ากับ 10 ตัว เลขมวล = 20 แสดงว่ามีจำนวนนิวตรอน เท่ากับ 20–10 = 10 ตัว เมื่อดึงโปรตอน 4 ตัว อิเล็กตรอน 3 ตัว และนิวตรอน 4 ตัว อนุภาคมูลฐานของอะตอมจะเท่ากับ โปรตอน = 10 – 4 = 6 อิเล็กตรอน = 10 – 3 = 7 นิวตรอน = 10 – 4 = 6 จากจำนวนอนุภาคมูลฐาน โปรตอน 6 ตัว แสดงว่าเป็นอะตอมของธาตุคาร์บอน และมีเลขอะตอมเท่ากับ 6 จำนวนนิวตรอนเท่ากับ 6 ตัว แสดงว่ามีเลขมวลเท่ากับ = 12 ตัว จำนวนอิเล็กตรอน มากกว่าจำนวนโปรตอน 1 ตัว แสดงว่าอนุภาคที่เกิดขึ้นเป็นไอออนลบที่มีประจุ –1 ดังนั้นอนุภาคที่เกิดขึ้นจึงมีสัญลักษณ์นิวเคลียร์ C –1 ค ไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อดึงโปรตอน 4 ตัว อิเล็กตรอน 3 ตัว และนิวตรอน 4 ตัว ออกจาก Ne งไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อดึงโปรตอน 4 ตัว อิเล็กตรอน 3 ตัว และนิวตรอน 4 ตัว ออกจาก Ne แล้วจะได้อนุภาคของ C –1 

37 ข มวลของอิเล็กตรอนเท่ากับมวลของอะตอม
5. นิภาใช้เครื่องมือทดสอบสภาพไฟฟ้าของอะตอมโซเดียมแล้วพบว่าอะตอม เป็นกลางทางไฟฟ้า นิภาควรเขียนข้อสรุปของผลการสังเกตว่าอะไร ก ประจุของนิวเคลียสเท่ากับประจุของอะตอม ข มวลของอิเล็กตรอนเท่ากับมวลของอะตอม  ค ประจุของนิวเคลียสเท่ากับประจุของอิเล็กตรอน ง มวลของนิวเคลียสมีค่าใกล้เคียงกับมวลของอิเล็กตรอน 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 5 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 5 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนที่มีประจุบวก ถ้าประจุของนิวเคลียส เท่ากับประจุของอะตอม อะตอมจะมีสภาพไฟฟ้าเป็นบวก ข ไม่ถูกต้อง เพราะค่าของมวลไม่มีความสัมพันธ์กับค่าประจุไฟฟ้า ค ถูกต้อง เพราะนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนซึ่งเป็นประจุบวก ดังนั้นอะตอมที่เป็นกลาง ต้องมีประจุบวกเท่ากับประจุลบ ง ไม่ถูกต้อง เพราะค่าของมวลไม่มีความสัมพันธ์กับค่าประจุไฟฟ้า คำอธิบาย: ค ถูกต้อง เพราะนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนซึ่งเป็นประจุบวก ดังนั้นอะตอมที่เป็นกลางต้องมีประจุบวกเท่ากับประจุลบ

38 อ่านและค้นคว้าเนื้อหาล่วงหน้าในหัวข้อวิวัฒนาการของตารางธาตุ
การมอบหมายงาน อ่านและค้นคว้าเนื้อหาล่วงหน้าในหัวข้อวิวัฒนาการของตารางธาตุ นักเรียนท่องชื่อธาตุ 20 ธาตุแรก ชื่อภาษาไทย, ภาษาอังกฤษและสัญลักษณ์ของธาตุ 1) ครูคลิกข้อความและมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมล่วงหน้าในหัวข้อ วิวัฒนาการของตารางธาตุ จากหนังสือเรียนและแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น หนังสืออ้างอิง หนังสืออ่านประกอบ หนังสือพิมพ์ วารสารวิทยาศาสตร์ และเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องทาง อินเทอร์เน็ต 2) ครูคลิกข้อความและมอบหมายให้นักเรียนเตรียมประเด็นคำถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คำถาม เพื่อนำมาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป


ดาวน์โหลด ppt “Khemie ... Easy Easy and Child Child.”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google