งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

องค์กรทางการเงินระหว่างประเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "องค์กรทางการเงินระหว่างประเทศ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 องค์กรทางการเงินระหว่างประเทศ
บทที่2 องค์กรทางการเงินระหว่างประเทศ อ.พัทธนันท์ ชัยบุตร INB3202 การจัดการการเงินระหว่างประเทศ

2 1. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
1.1 วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง 1.2 บทบาทและหน้าที่ 1.3 รูปแบบการให้ความช่วยเหลือ 1.4 สิทธิไถ่ถอนเงินพิเศษ 1.5 แหล่งเงินทุน 1.6 ความสัมพันธ์ระหว่าง IMF กับประเทศไทย

3 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund or IMF)
เป็นองค์กรที่รัฐบาลของกลุ่มประเทศพันธมิตรได้ร่วมก่อตั้งขึ้น มีฐานะเป็นทบวงการชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ โดยมีข้อบังคับว่าประเทศที่จะเป็นสมาชิกธนาคารโลก และจะต้องเป็นสมาชิกของ IMF ด้วย เริ่มเปิดดำเนินการในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ ประเทศที่สมัครเป็นสมาชิกกองทุนการเงินฯ จะต้องเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติอยู่ก่อนแล้ว ในปัจจุบันมีสมาชิก 188 ประเทศ (South Sudan เป็นสมาชิกอันดับที่ 188 เข้าร่วมเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 2012)

4 บทบาทและหน้าที่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ มีบทบาทหลักในการสอดส่องดูแลเศรษฐกิจ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือทางการเงิน  และความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศสมาชิก เพื่อให้ระบบการเงินระหว่างประเทศมีเสถียรภาพ

5 2. ธนาคารโลก 2.1 วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง 2.2 บทบาทและหน้าที่
2.3 แหล่งเงินทุนของธนาคารโลก 2.4 ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารโลกกับประเทศไทย

6 ธนาคารโลก ( World Bank)
ธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ (International Bank for Reconstruction and Development; IBRD) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ได้จัดตั้งขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยประเทศมหาอำนาจในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกได้ทำการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมุ่งเน้นการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นองค์กรอยู่ในสังกัดขององค์การสหประชาชาติ มีสำนักงานใหญ่ตั้งที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 188 ประเทศ เงินทุนของธนาคารโลกได้มาจากการจำหน่ายพันธบัตรในตลาดการเงินสำคัญของโลก ค่าบำรุงจากประเทศสมาชิก และเงินค่าหุ้นของประเทศสมาชิก

7 วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งธนาคารโลก
เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่สอง โดยให้สมาชิกกู้ยืมไปเพื่อบูรณะซ่อมแซมและพัฒนาประเทศ ต่อมาได้ขยายขอบเขตของการบริการออกไปเป็นการสนับสนุนการลงทุนเพื่อการพัฒนาและเพิ่มผลผลิตในประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อยกระดับชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศสมาชิก ตามลักษณะกิจการที่จะลงทุนและตามความจำเป็นและยังช่วยเหลือสมาชิกด้วยการให้บริการด้านความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนการลงทุนและบริหารการเงิน

8 3. ธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ
3.1 วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง 3.2 บทบาทและรูปแบบการดำเนินงาน 3.3 ทุนดำเนินการ 3.4 ความสัมพันธ์ระหว่าง BIS กับประเทศไทย

9 ธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ
ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศคืออังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, เบลเยียม, ญี่ปุ่นและประเทศอื่น ๆ ของธนาคารกลางของประเทศสหรัฐอเมริกาและเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของภาคธนาคารมอร์แกนธนาคารซิตี้แบงก์ในนิวยอร์กและชิคาโกคณะกรรมการตามข้อตกลงระหว่างประเทศที่กรุงเฮกพฤษภาคม 1930 ร่วมกัน จัดตั้งสำนักงานใหญ่ในบาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์ เพียงแค่สร้างเพียงเจ็ดประเทศสมาชิกในขณะนี้มีการเติบโตถึง 45 ประเทศสมาชิก

10 วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง ธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ
ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกคือการจัดการกับค่าตอบแทนที่จ่ายในประเทศเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและปัญหาทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการชำระบัญชี หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองมันก็กลายเป็นกลไกการหักบัญชีระหว่างประเทศสมาชิก SCO ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาวัตถุประสงค์ของธนาคารที่จะค่อยๆเปลี่ยนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างธนาคารกลางและการให้บริการทางการเงินระหว่างประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกและยอมรับคณะกรรมการหรือตามที่ การเสนอชื่อสำหรับธุรกิจการหักบัญชีระหว่างประเทศ ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศการเงินร่างการตัดสินใจไม่ได้ระหว่างรัฐบาลในการพัฒนาหน่วยงานช่วยเหลือหรือในความเป็นจริงธนาคารกลางของฝั่งตะวันตก

11 ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย
4.1 วัตถุประสงค์และทุนดำเนินการ 4.2 ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียกับประเทศไทย

12 ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank or ADB)
เป็นสถาบันการเงินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนระบบเศรษฐกิจ และการพัฒนาของประเทศแถบเอเชียและแปซิฟิกผ่านการให้เงินกู้ และความสนับสนุนด้านเทคนิค ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2509 โดยความช่วยเหลือของสหประชาชาติ มีประเทศเข้าร่วมก่อตั้ง 32 ประเทศ จนถึงปัจจุบัน (2 กุมภาพันธ์ 2550) มีประเทศสมาชิกทั้งสิ้น 67 ประเทศ เป็น 48 ประเทศในภูมิภาค และ 19 ประเทศจากพื้นที่อื่น 

13 วัตถุประสงค์และทุนดำเนินการ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย
คือมุ่งให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสมาชิก บรรเทาปัญหาความยากจน พัฒนาภาคสังคมและส่งเสริมธรรมาภิบาล สำหรับกรอบการดำเนินการในระยะยาว(ปี ) ธนาคารพัฒนาเอเชียได้วางนโยบายหลักเกี่ยวกับการพัฒนาภาคเอกชน ความร่วมมือในระดับภูมิภาค และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนโดยธนาคารพัฒนาเอเชียจะให้ความช่วยเหลือในรูปแบบเงินกู้ ค้ำประกันเงินกู้ และความช่วยเหลือวิชาการ

14 ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารพัฒนาเอเชียกับประเทศไทย
ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกในความตกลงว่าด้วยการสถาปนาธนาคารพัฒนาเอเชีย เมื่อปี 2509 และมีการออกพระราชบัญญัติให้อำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับธนาคารพัฒนาเอเชีย พ.ศ.2509 เพื่อให้อำนาจรัฐบาลปฏิบัติการเกี่ยวกับธนาคารพัฒนาเอเชียตามข้อผูกผัน ซึ่งประเทศภาคีสมาชิกจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว เพื่อให้รัฐบาลมีอำนาจถือประโยชน์จากการเป็นภาคีสมาชิกด้วย ธนาคารพัฒนาเอเชียได้เริ่มให้ความช่วยเหลือกับประเทศไทยตั้งแต่ปี 2511 ในรูปต่างๆ ได้แก่ เงินกู้สำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ด้านสาธารณูปโภค พลังงาน คมนาคม การเกษตร เป็นต้น ความช่วยเหลือทางวิชาการแบบให้เปล่า และเงินกู้ที่ให้กับภาคเอกชน ณ วันที่ 31 ธันวาคม ธนาคารพัฒนาเอเชียได้ให้เงินกู้และความช่วยเหลือกับประเทศไทยเป็นเงิน 5.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีโครงการเงินกู้จาก ADB ประมาณ 80 โครงการ


ดาวน์โหลด ppt องค์กรทางการเงินระหว่างประเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google