ชื่อผลงาน:การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย HIV/TB แบบบูรณาการ โครงการพัฒนาคุณภาพงานการดูแลรักษา ผู้ติดเชื้อวัณโรค/เอชไอวีTB/HIV ชื่อผลงาน:การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย HIV/TB แบบบูรณาการ องค์กรต้นสังกัด: โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2557
บริบท จากการดำเนินงานดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ผ่านมาโดยการใช้โปรมแกรม HIVQUAL-T ในการประเมินผลการดำเนินงาน พบว่าผู้ป่วย ได้รับการดูแลการคัดกรองและตรวจติดตามทางห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ครอบคลุมตัวชี้วัดหลักทุกตัวมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น
ปัญหา วัณโรคเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ที่พบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มที่ติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ จะมีปัญหาระบบภูมิต้านทานโรคต่ำ จึงมักติดเชื้อง่าย ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ป่วยเป็นวัณโรคร้อยละ 15.92 วัณโรคเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ถึงร้อยละ 0.63 ซึ่งนอกจากปัญหาภูมิต้านทานต่ำยังพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความทนต่อผลข้างเคียงของยาต่ำด้วย เป็นผลให้ผู้ป่วยรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง สภาพร่างกายไม่พร้อมที่จะเริ่มยาต้านไวรัส
ปัญหา การให้คำปรึกษาเพื่อดูแลจิตใจผู้ป่วยที่ต้องรับรู้สภาพการเจ็บป่วย2โรคพร้อมๆกัน การเสริมพลังให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลให้ความร่วมมือ ตลอดจนถึงการประสานงานเพื่อให้เกิดการดูแลต่อเนื่อง โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ เห็นความสำคัญเร่งด่วนในการดำเนินการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคและผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์แบบบูรณาการ ซึ่งจะเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อ HIV
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์,ผู้ป่วยวัณโรค, การบูรณาการ คำสำคัญ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์,ผู้ป่วยวัณโรค, การบูรณาการ
เป้าหมาย เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต ที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับการติดเชื้อวัณโรคฉวยโอกาส
แนวทางพัฒนา/การเปลี่ยนแปลง ทบทวนสถานการณ์โรคเอดส์และวัณโรคในโรงพยาบาล โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ทบทวนตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานผสมผสานวัณโรคและโรคเอดส์ ย้อนหลัง3 ปีและจัดทำแผนบูรณาการในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ พัฒนาศักยภาพแกนนำผู้ติดเชื้อ และ อสม.ให้มีความรู้และสามารถแนะนำชักจูงให้ผู้มีอาการน่าสงสัยมาเข้ารับการตรวจคัดกรองทั้ง TB และHIV บูรณาการในการดูแลผู้ป่วย TB/HIV แบบ one stop service รวมถึงการดูแลต่อเนื่องในชุมชน
สาระสำคัญของการพัฒนา(Improvement Highlight) ขบวนการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย HIV/TB แบบบูรณาการ นโยบายการดูแลผู้ป่วยTB/HIV ทีมสหสาขาวิชาชีพ มีแนวทางการดูแลรักษา HIV/TB ทบทวนและวิเคราะห์สถานการณ์โรคเอดส์และวัณโรคพัฒนาศักยภาพแกนนำ อสม. “บูรณาการ”การดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวี “เร่งค้นหา รักษาเร็ว” one stop service ด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ เกิดระบบการพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษา ผู้ป่วยTB/HIV และมีการ “ทบทวนสม่ำเสมอ” การบริการดูแลรักษามีคุณภาพตามมาตรฐานครอบคลุมทั้ง 4มิติ ผู้ป่วยTB/HIVเข้าสู่การรักษาเร็วขึ้น และได้รับบริการที่มีคุณภาพ ผู้ป่วยTB/HIV มีสุขภาพดี เริ่มARV ได้เร็ว อัตราตายผู้ป่วยTB/HIV ลดลงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จัดระบบเยี่ยม”ติดตามต่อเนื่อง”ที่บ้านโดยจนท.และแกนนำ TB clinic ARV clinic อสม./แกนนำชมรม
ผลการดำเนินงาน ตัวชี้วัด ปีงบประมาณ 2554 2555 2556 ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ขึ้นทะเบียนรับยาต้านไวรัส 51 50 56 จำนวนผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียน 153 113 ผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ 10 5 ผู้ป่วยวัณโรคที่ได้รับการปรึกษาและตรวจเลือดเอชไอวี ผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่มีผลCD4 ต่ำกว่า 250 cell ผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ได้รับยาต้านไวรัสขณะรักษาวัณโรค ผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่เสียชีวิตขณะรักษาวัณโรค 1 ราย 0 ราย 0ราย
ผลการดำเนินงาน ผลจากการทบทวนการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ปี 2556 พบว่า มีระดับภูมิคุ้มกันต่ำ (CD4เฉลี่ยเท่ากับ 25 cell) เสียชีวิตก่อนได้รับยาต้านไวรัส 1 ราย โดยเสียชีวิตหลังรับยาanti TB ประมาณ ๒ เดือน ผู้ป่วยคลินิกวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ได้รับการส่งต่อเข้าคลินิกยาต้านไวรัสทุกรายภายใน 1 เดือนหลังรับการรักษา ผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ได้รับการตรวจวัดระดับCD4 ทุก 6 เดือนพบว่าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเท่ากับ 30-55 cell
บทเรียนเพื่อการแบ่งปัน ความร่วมมือของทีมสหสาขาวิชาชีพของทั้ง 2 คลินิก ทำให้การทำงานประสบความสำเร็จ ความล่าช้าในการวินิจฉัยผู้ป่วยทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง ผู้ป่วยจะเสียชีวิตได้เร็ว
สิ่งที่อยากฝากไว้ให้คนอื่นรู้ การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี และ มีวัณโรคร่วม จึงมีลักษณะเฉพาะ ต้องบูรณาการงานหลายด้านในการบริหารจัดการปัญหาและอุปสรรคทั้งด้านระบบการให้บริการ และด้านผู้ป่วยผู้ดูแล
สิ่งที่อยากฝากไว้ให้คนอื่นรู้ การให้คำปรึกษาเพื่อดูแลจิตใจผู้ป่วยที่ต้องรับรู้สภาพการเจ็บป่วย2โรคพร้อมๆกัน การเสริมพลังให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลให้ความร่วมมือ ตลอดจนถึงการประสานงานเพื่อให้เกิดการดูแลต่อเนื่อง
สิ่งที่อยากฝากไว้ให้คนอื่นรู้ การสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปี จัดอบรมโครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคที่บ้าน
ขอบคุณค่ะ