งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นิเทศงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นิเทศงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นิเทศงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
ส่วนการสอบสวนคดีอาญา สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง

2 แนะนำประวัติส่วนตัว นายสิรภพ นิยมเดช

3 ประวัติส่วนตัว ชื่อ-สกุล นายสิรภพ นิยมเดช
ชื่อ-สกุล นายสิรภพ นิยมเดช ตำแหน่งปัจจุบัน นิติกรชำนาญการ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มงานสืบสวนสอบสวนคดีอาญา ๕,๖ ส่วนการสอบสวนคดีอาญา สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง ประวัติการศึกษา ศิลปศาสตร์บัณฑิต (รัฐศาสตร์) สาขาบริหารงานยุติธรรมและความปลอดภัย (เกียรตินิยมอันดับ ๒) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง - รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - นิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขากฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประวัติการอบรม หลักสูตรปลัดอำเภอ รุ่น ๑๗๙ - หลักสูตรวิทยากรและที่ปรึกษาการสืบสวนสอบสวนพนักงานฝ่ายปกครอง รุ่น 1 ประวัติการทำงาน ปลัดอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ - เลขานุการผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (นายปานชัย บวรรัตนปราน) - เลขานุการรองอธิบดีกรมการปกครอง (นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร)

4 การปฏิบัติงานด้านป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์กระทรวงมหาดไทย

5 TIP Report คือ อะไร? - เป็นรายงานประจำปีที่ประเมินสถานการณ์และการดำเนินการต่อต้านการค้ามนุษย์ของ ๑๘๖ ประเทศ ทั่วโลก - เป็นการดำเนินการตามกฎหมาย Trafficking Victims Protection Act ๒๐๐๐ และ Trafficking Victims Protection Reauthorization Act ๒๐๐๕ - หน่วยงานรับผิดชอบ คือ Office to Monitor and Combat Trafficking in Person (TIP Office) ภายใต้กระทรวง การต่างประเทศสหรัฐฯ

6 Tier มีกี่ระดับ และมีนัยอย่างไร
ประเทศที่ดำเนินการสอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำ Tier ๒ ประเทศที่ดำเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำ แต่มีความพยายามปรับปรุงแก้ไข Tier ๒ Watch List คล้ายกับ Tier ๒ แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ารัฐบาลเพิ่มความพยายามดำเนินการต่อต้านการค้ามนุษย์ Tier ๓ ประเทศที่ดำเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำ และไม่มีความพยายามแก้ไขปัญหา

7 ประเทศไทยเคยอยู่ใน Tier ใดบ้าง
ปี ระดับ ๒๕๕๐ Tier ๒ ๒๕๕๑ ๒๕๕๒ ๒๕๕๓ Tier ๒ Watch List ๒๕๕๔ ๒๕๕๕ ๒๕๕๖ ๒๕๕๗-๒๕๕๘ (๒ ปี ซ้อน) Tier ๓*

8 ผลกระทบของการตกเป็น Tier ๓ ผลกระทบจากการขยายผลโดยภาคส่วนอื่นๆ
ผลกระทบตามกฎหมายสหรัฐฯ - สหรัฐฯ อาจพิจารณาระงับความช่วยเหลือที่มิใช่ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมและการค้า (non-humanitarian and non-trade related foreign assistance) - เมื่อวันที่ ๑๘ ก.ย. ๒๕๕๗ มีประกาศจากทำเนียบสหรัฐฯ ยกเว้นมาตรการลงโทษแก่ประเทศไทย โดยให้เหตุผลว่า เป็นเพื่อการส่งเสริมวัตถุประสงค์ของกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯ

9 สาเหตุของการปรับลดสถานะไทย
การบังคับใช้กฎหมาย เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์/ทุจริต บูรณาการการทำงาน จนท.บังคับใช้ กม. การช่วยเหลือและคัดแยกเหยื่อ กระบวนการคัดแยก ล่ามแปลภาษา การดูแลเหยื่อที่เป็นเด็ก ปัญหาการค้ามนุษย์ภาคประมง แรงงาน แรงงานต่างด้าว และเรือประมง การดำเนินคดีกับเจ้าของเรือและไต้ก๋ง

10 การคุ้มครองเหยื่อและดูแลเหยื่อ
มท.จะมีส่วนแก้ไขปัญหาได้อย่างไร การคุ้มครองเหยื่อและดูแลเหยื่อ การบังคับใช้กฎหมาย การป้องกัน การเป็นหุ้นส่วน การสร้างความเข้มแข็ง ในระดับจังหวัด/อำเภอ/ชุมชน การเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ การรับแจ้งผ่านศูนย์ดำรงธรรม การประสานเพื่อให้เหยื่อได้รับการดูแลที่รวดเร็ว การออกใบอนุญาตให้พำนักเป็นการชั่วคราว การประสานงานกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นๆ การใช้อำนาจทางปกครองเพื่อปิดสถานประกอบการ การเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบูรณาการ ในการแก้ไขปัญหาระหว่างหน่วยงาน ภาครัฐในส่วนกลาง/จังหวัด/อำเภอ

11 อำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย
อำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ อำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการ สาธารณภัยและการพัฒนาเมืองและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย (พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ มาตรา 30) โดยมี กรมการปกครอง เป็นหน่วยรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน (พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ มาตรา 30) พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ มาตรา 30 และ มาตรา 31

12 อำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารและพนักงานฝ่ายปกครองที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมการปกครอง เป็นคณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปกค.) พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานคณะอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัด (ศปคม.จังหวัด) 1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ มาตรา 15 2. ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมการปกครอง เป็นคณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปกค.) ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ มาตรา 22 3. พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ มาตรา 4 4. ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานคณะอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัด (ศปคม.จังหวัด) ตามคำสั่งคณะกรรมการประสานและกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ที่ 3/2553 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553

13 อำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของพนักงานฝ่ายปกครองในการบังคับใช้กฎหมายและการดำเนินคดีอาญาทั่วไป รวมถึงความผิดการค้ามนุษย์ด้วย พนักงานฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่ มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดอาญา และมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาได้ ส่วนกลาง ได้แก่ (1) ปลัดกระทรวงมหาดไทย (2) รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (3) ผู้ตรวจราชกากระทรวงมหาดไทย (4) ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย (5) อธิบดีกรมการปกครอง (6) รองอธิบดีกรมการปกครอง (7) ผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง (8) ผู้อำนวยการส่วนในสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง (9) หัวหน้ากลุ่มงานในสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง (10)ผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง

14 อำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของพนักงานฝ่ายปกครองในการบังคับใช้กฎหมายและ การดำเนินคดีอาญาทั่วไป รวมถึงความผิดการค้ามนุษย์ด้วย พนักงานฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่ มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดอาญา และมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาได้ ส่วนภูมิภาค ได้แก่ (1) ผู้ว่าราชการจังหวัด (2) รองผู้ว่าราชการจังหวัด (3) ปลัดจังหวัด (4) นายอำเภอ (5) ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ รวมถึงผู้รักษาราชการแทนด้วย

15 อำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของพนักงานฝ่ายปกครองในการบังคับใช้กฎหมายและการดำเนินคดีอาญาทั่วไป รวมถึงความผิดการค้ามนุษย์ด้วย ปลัดอำเภอ มีอำนาจสืบสวน จับกุม สอบสวนคดีอาญา (ป.วิ.อาญา) พนักงานฝ่ายปกครองที่มีอำนาจสืบสวนจับกุมปราบปราม ผู้กระทำความผิดอาญา แต่ไม่มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญา ได้แก่ (1) กำนัน (2) ผู้ใหญ่บ้าน (3) สารวัตรกำนัน (4) ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และฝ่ายรักษาความสงบ

16 อำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของพนักงานฝ่ายปกครองในการบังคับใช้กฎหมายและ การดำเนินคดีอาญาทั่วไป รวมถึงความผิดการค้ามนุษย์ด้วย ป้องกันจังหวัด เจ้าพนักงานปกครองในสังกัดที่ทำการปกครองจังหวัด ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่ในกองอาสารักษาดินแดน รวมทั้งสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน มีอำนาจสืบสวนจับกุมปราบปรามผู้กระทำความผิดอาญาได้และมีหน้าที่สนับสนุนฝ่ายทหาร (1) บรรเทาภัยที่เกิดจากธรรมชาติและการกระทำของข้าศึก (2) ทำหน้าที่ตำรวจรักษาความสงบภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ (3) รักษาสถานที่สำคัญและการคมนาคม (4) ป้องกันจารกรรม สดับตรับฟัง และรายงานข่าว (5) ทำการช่วยให้ความสะดวกแก่ฝ่ายทหารตามที่ทหารต้องการ และตัดทอนกำลังข้าศึก (6) เป็นกำลังสำรองส่วนหนึ่งที่พร้อมจะเพิ่มเติมและสนับสนุนกำลังทหารได้เมื่อจำเป็น

17 อำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ต่อ)
อำนาจทางปกครองของผู้ว่าราชการจังหวัด 4.1 สั่งปิดสถานประกอบการที่กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ (ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 50) 4.2 สั่งพักใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาต สถานบริการที่กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ (ตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ มาตรา 21 ประกอบประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 4 เมษายน 2548) 4.3 สั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม (ตาม พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ มาตรา 41 )

18 อำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาค มาตรา 52/1 ให้จังหวัดมีอำนาจภายในเขตจังหวัดดังต่อไปนี้ (1) นำภารกิจของรัฐและนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ (2) ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและเป็นธรรมในสังคม มาตรา 57 ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (1) บริหารราชการตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และตามแผนพัฒนาจังหวัด (2) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายหรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล

19 อำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของนายอำเภอในการบริหารราชการแผ่นดินและการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ แก้ไข มาตรา 61/1 และมาตรา 65 นายอำเภอมีอำนาจและหน้าที่นำภารกิจของรัฐและนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้บังเกิดผลสัมฤทธิ์ และดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและเป็นธรรมในสังคม ในท้องที่อำเภอนั้นเช่นเดียวกับผู้ว่าราชการจังหวัด ประกอบ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ มาตรา 4 ให้พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งนายอำเภอเป็นพนักงานฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(17)(ฏ) ดังนั้น นายอำเภอ จึงมีอำนาจและหน้าที่บูรณาการและประสานงานการขับเคลื่อนนโยบายการป้องกัน และปรามปรามการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลในพื้นที่รับผิดชอบให้บังเกิดผลสัมฤทธิ์โดยเร็ว ตามนโยบายสั่งการของกระทรวงมหาดไทย

20 นิยาม ความหมายตามกฎหมายไทย
มาตรา 6 ผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (1) เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งบุคคลใด โดยข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อำนาจโดยมิชอบ ใช้อำนาจครอบงำบุคคลด้วยเหตุที่อยู่ภาวะอ่อนด้อยทางร่างกาย จิตใจ การศึกษา หรือทางอื่นใดโดยมิชอบ ขู่เข็ญ ว่าจะใช้กระบวนการทางกฎหมายโดยมิชอบ หรือโดยให้เงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลบุคคลนั้นเพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลให้ความยินยอมแก่ผู้กระทำความผิดในการแสวงหาประโยชน์จากบุคคลที่ตนดูแล หรือ (2) เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งเด็ก ถ้าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมีความมุ่งหมายเพื่อเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบผู้นั้นกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ ยงยุทธ ศรีสัตยาชน

21 นิยาม ความหมายตามกฎหมายไทย
แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การเอาคนลงเป็นทาสหรือให้มีฐานะคล้ายทาส การนำคนมาขอทาน การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ หรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ยงยุทธ ศรีสัตยาชน

22 นิยาม ความหมายตามกฎหมายไทย
การบังคับใช้แรงงานหรือบริการตามวรรคสอง หมายความว่า การข่มขืนใจให้ทำงานหรือให้บริการโดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) ทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของบุคคลนั้นเองหรือของผู้อื่น (๒) ขู่เข็ญด้วยประการใดๆ (๓) ใช้กำลังประทุษร้าย (๔) ยึดเอกสารสำคัญประจำตัวของบุคคลนั้นไว้ หรือนำภาวะหนี้ของบุคคลนั้นหรือผู้อื่นมาเป็นสิ่งผูกมัดโดยมิชอบ (๕) ทำให้บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ยงยุทธ ศรีสัตยาชน

23 การค้ามนุษย์ที่กระทำต่อบุคคลทั่วไปมาตรา 6(1)
การกระทำ (ต่อบุคคล) วิธีการ ข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อำนาจโดยมิชอบ ใช้อำนาจครอบงำบุคคลด้วยเหตุที่อยู่ภาวะอ่อนด้อยทางร่างกาย จิตใจ การศึกษา หรือทางอื่นใดโดยมิชอบ ขู่เข็ญ ว่าจะใช้กระบวนการทางกฎหมายโดยมิชอบ ให้เงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลบุคคลนั้น จุดประสงค์ในการกระทำ : เพื่อแสวงหา ประโยชน์โดยมิชอบ ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจาก ส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยว กักขัง เป็นธุระจัดหา จัดให้อยู่อาศัย รับไว้ซึ่งบุคคลใด ยงยุทธ ศรีสัตยาชน

24 การค้ามนุษย์ที่กระทำต่อเด็กมาตรา 6(2)
วิธีการ การกระทำ (ต่อเด็ก) เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจาก ส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยว กักขัง จัดให้อยู่อาศัย รับไว้ซึ่งเด็ก การกระทำไม่ต้องมีองค์ประกอบวิธีการเหมือนบุคคลตาม ม.6(1)ก็เป็นความผิด จุดประสงค์ในการกระทำ : เพื่อแสวงหา ประโยชน์โดยมิชอบ ยงยุทธ ศรีสัตยาชน

25 เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การเอาคนลงเป็นทาสหรือให้มีฐานะคล้ายทาส การนำคนมาขอทาน การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้าหรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ยงยุทธ ศรีสัตยาชน

26 แนวทางการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ 8 มาตรการ
แนวทางการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ 8 มาตรการ 1. มาตรการป้องกัน 1.1 ดำเนินการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว ๓ สัญชาติ รวมทั้งการให้สถานะที่ถูกต้องกับชนกลุ่มน้อยและบุคคลไร้สัญชาติซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานาน กรณีแรงงานต่างด้าว ๓ สัญชาติที่มีการจดทะเบียน ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ซึ่งใบอนุญาตทำงานชั่วคราวที่ออกให้แรงงานต่างด้าวที่ใช้ได้ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘ ให้มารายงานตัวเพื่อขอรับบัตรประจำตัวใหม่ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๘ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ เพื่อจะได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราวเป็นเวลา ๑ ปี

27 มาตรการป้องกัน (ต่อ) 1.2 ให้จังหวัดรณรงค์ผ่านกลไกของรัฐทุกประเภท รวมทั้งสถานประกอบการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างจิตสำนึกป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ทุกรูปแบบให้เกิดผลสัมฤทธิ์โดยเร็ว 1.3 ให้เร่งดำเนินการจดทะเบียนแรงงานประมงใน ๒๒ จังหวัดชายทะเล รวมทั้งการจดทะเบียนเรือประมงให้ถูกต้องครบถ้วน 1.4 เสริมสร้างจิตสำนึก และกลไกเฝ้าระวังปัญหาการค้ามนุษย์ในชุมชนและสถานประกอบการทุกประเภท

28 2. มาตรการสกัดกั้น 2.1 ให้จังหวัดกำหนดมาตรการป้องกันบริเวณ แนวชายแดนและเส้นทางเดินทางเข้าพื้นที่ชั้นในโดยจัดตั้ง ด่านตามเส้นทางต่าง ๆ ที่คาดว่าขบวนการผู้นำพา ผู้หลบหนีเข้าเมืองจะใช้เป็นเส้นทางลำเลียงคนหลบหนีเข้าเมืองส่งไปยังจังหวัดใกล้เคียงหรือผ่านต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งสกัดกั้น การเดินทางเข้าออกบริเวณช่องทางธรรมชาติทั้งทางบก ทางน้ำ และทางทะเล 2.2 กำชับเจ้าหน้าที่ประจำด่านหรือจุดตรวจ จุดสกัดทุกผลัด ให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจังเพื่อสกัดกั้น การลำเลียงคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง รวมทั้งพิจารณาจัดตั้งด่าน ให้ครอบคลุมทั้งเส้นทางสายหลักและเส้นทางสายรองด้วย

29 มาตรการสกัดกั้น (ต่อ)
2.3 ให้มีการจัดตั้งชุดปฏิบัติการระดับตำบล อันประกอบด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ดำเนินการสำรวจผู้หลบหนีเข้าเมืองที่อยู่ในพื้นที่และจัดทำฐานข้อมูลให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

30 3. มาตรการปราบปราม 3.1 ให้จังหวัดดำเนินการปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างเด็ดขาด เพื่อให้ไม่มีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายถูกนำมาค้ามนุษย์ โดยเฉพาะแรงงานกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ แรงงานประมง แรงงานในโรงงาน สถานประกอบการ และแรงงานภาคการเกษตร ไม่มีการค้ามนุษย์รูปแบบการค้าประเวณีเด็กและการบังคับค้าประเวณีในสถานบริการ ร้านอาหาร ร้านคาราโอเกะและต้องไม่มีการนำคนมาขอทาน 3.2 พิจารณาใช้มาตรการทุกด้านในการสืบสวน สอบสวน ขยายผลถึงตัวการ ผู้อยู่เบื้องหลังขบวนการนำพาที่แท้จริงและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งให้ขยายผลต่อเนื่องไปยังวัตถุสิ่งของที่ใช้กระทำความผิด อาทิ รถยนต์ เป็นต้น โดยสืบสวนจนถึงต้นทาง และให้ดำเนินคดีตามกฎหมายให้ถึงที่สุดกับทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

31 มาตรการปราบปราม (ต่อ)
3.3 กรณีที่มีการจับกุมขบวนการค้ามนุษย์ให้จังหวัดประสาน ไปยังพนักงานสอบสวนให้คัดค้านการขอประกันตัวผู้ต้องหาทุกกรณี 3.4 ให้จังหวัดจัดตั้งชุดปฏิบัติการพิเศษ บูรณาการกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายตามอำนาจหน้าที่ 3.5 กรณีมีการจับกุมดำเนินคดีความผิดฐานค้ามนุษย์ ให้จังหวัดติดตามผล การดำเนินคดีและรายงานความคืบหน้าให้กระทรวงมหาดไทยทราบจนกว่าคดี จะถึงที่สุด

32 4. มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเข้าถึงเครือข่ายค้ามนุษย์ในพื้นที่
4.1 ให้จัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ในทางลับเพื่อสืบสวน จับกุม ดำเนินคดี และขยายผลการดำเนินคดีไปสู่ตัวการ นายทุน เครือข่ายขบวนการค้ามนุษย์ รวมทั้งประสานการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการยึดทรัพย์ เช่น มาตรการด้านภาษี มาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นต้น 4.2 ประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบเครือข่ายขบวนการค้ามนุษย์ในพื้นที่กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กอ.รมน. กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น 4.3 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและสืบสวนหาข่าวตามข้อร้องเรียนและการแจ้งเบาะแสอย่างจริงจังทุกกรณี

33 5. มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการรับแจ้งข้อมูลข่าวสารการค้ามนุษย์
5.1 พัฒนากลไกการรับแจ้งข้อมูล / เบาะแสการกระทำความผิดผ่านเครือข่ายศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดและอำเภอ โดยจัดเจ้าหน้าที่เตรียมพร้อมเพื่อรับแจ้งความเดือดร้อน / เบาะแสจากประชาชน 5.2 จัดชุดเคลื่อนที่เร็วในการรับเรื่องราวร้องทุกข์ประจำตำบล หมู่บ้าน และประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ 5.3 พัฒนากลไกความร่วมมือในการเฝ้าระวังและรับแจ้งเบาะแสจากองค์กรอาสาสมัครภาคเอกชนในพื้นที่ (NGO) รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารจากภาคีเครือข่ายในพื้นที่

34 6. มาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
6.1 กรณีพบว่าผู้ใดเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรายงานมายังกระทรวงมหาดไทย เพื่อใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง อนุญาตให้ผู้เสียหายพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับขบวนการค้ามนุษย์ 6.2 สนับสนุนให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองพยาน สามารถปฏิบัติหน้าที่ ในการคุ้มครองพยาน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.3. ส่งเสริม สนับสนุนให้มีสถานที่คุ้มครอง / พักพิงผู้เสียหายจาก การค้ามนุษย์ตามมาตรฐานสากล 6.4 สนับสนุนให้มีการบริการล่ามเพื่อการคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

35 7. มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ
7.1 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ถือปฏิบัติตามนโยบายการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด โดยกำชับเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงมหาดไทยและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ให้เข้าไป มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ทุกกรณี 7.2 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด / นายอำเภอบูรณาการและประสานการปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์กับทุกภาคส่วนที่อยู่ในพื้นที่ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ร่วมมือกันทำงานเป็น ทีมสหวิชาชีพเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพบังเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม

36 มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ (ต่อ)
7.3 กรณีมีเจ้าหน้าที่ของรัฐหน่วยงานใดเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแสวงหาประโยชน์จากขบวนการค้ามนุษย์ ให้เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องตรวจสอบและลงโทษทางวินัยและใช้มาตรการทางการบริหารอย่างเด็ดขาดโดยทันที หากพบว่าผู้บังคับบัญชาปล่อยปละละเลยให้ถือว่าเป็นความบกพร่องของผู้บังคับบัญชาด้วย

37 8. มาตรการด้านการประชาสัมพันธ์
8.1 การรายงานผลการดำเนินงานที่รวดเร็ว ถูกต้อง มีการจัดทำข้อมูลอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการของประเทศไทย อย่างมีเอกภาพ 8.2 การรณรงค์การแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ โดยให้หน่วยงาน องค์กร ทุกภาคส่วนได้รวมพลังแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความตระหนักและกระตุ้นให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่และประชาชนเกิดจิตสำนึกในการร่วมกันเฝ้าระวังและป้องกันแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ 8.3 การประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจ และแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จ รวมถึงผลงานที่แสดงความพยายามและความตั้งใจจริงของประเทศไทย ในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างจริงจังต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สื่อต่าง ๆ รวมทั้งประชาคมโลก

38 หนังสือสั่งการด่วนที่สุด ที่ มท 0307. 1/ว25290 ลว. 29 พ. ย
หนังสือสั่งการด่วนที่สุด ที่ มท /ว25290 ลว. 29 พ.ย.2559 แนวทางการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ประจำปีงบประมาณ 2560

39 ข้อสั่งการกรมการปกครอง
1.ขอให้ ผวจ. และ นอ. กำชับและติดตามการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของ ศูนย์บูรณาการและประสานการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ระดับอำเภอ ตามแนวทาง 8 มาตรการ 2. ให้จังหวัดและอำเภอ จัดชุดปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยดำเนินการป้องกันพื้นที่ตลอดชายแดน เส้นทางเข้ามาในพื้นที่ชั้นใน ตรวจสถานบริการและสถานประกอบการที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือตั้งจุดตรวจจุดสกัด ระดับจังหวัด 2 ครั้ง/เดือน ในระดับอำเภอ 1 ครั้ง/เดือน

40 การดำเนินตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ด้านการปราบปรามการค้ามนุษย์
สรุปงานผลงาน การจับกุม จำนวน ๓๘ คดี ๑๗ จังหวัดตั้งแต่ ธันวาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นมา ดำเนินคดีผู้ต้องหา จำนวน ๗๐ ราย ช่วยเหลือเหยื่อจากการค้ามนุษย์ จำนวน ๙๗ คน

41 ปราบปรามการค้ามนุษย์ ร้าน เดอะเบสท์ และร้านฮาเล็ม เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๙

42 ปราบปรามการค้ามนุษย์ ร้าน นาตารี เขตสุทธิสาร กรุงเทพมหานคร ในวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๙

43 เยาวชนกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
หน่วยงานของรัฐ ลดอุปสงค์ – อุปทานของปัญหาการค้ามนุษย์ แก้ไขปัญหา ๑. การปราบปรามการค้ามนุษย์ ๒. การเฝ้าระวังและป้องกันการค้ามนุษย์ ๓. ให้ความรู้ความเข้าใจ เยาวชนและครอบครัว แก้ไขปัญหา ๑. ป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ ๒. ปรับทัศนคติ


ดาวน์โหลด ppt นิเทศงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google