สถิติเพื่อการวิจัยทางการเกษตร STATISTICS FOR AGRICULTURAL RESEARCH 100302 หน่วยกิต 3 (3-0-6) อ.ดร.พัชริน ส่งศรี คำอธิบายรายวิชา: การเตรียมข้อเสนอโครงการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย สถิติพื้นฐานที่สำคัญในการวิจัยทางการเกษตร การวางแผนการวิจัย การแปลผล และการนำเสนอผลงานวิจัย
Statistics is the science of the collection, organization, and interpretation of data. It deals with all aspects of this, including the planning of data collection in terms of the design of surveys and experiments. Best, Joel (2001)
ทำไมต้องเรียนสถิติ ? เป็นวิชาบังคับตามหลักสูตร ใช้ในชีวิตประจำวัน สื่อสาร และอธิบายได้อย่างน่าเชื่อถือ เตรียมเป็นนักวิจัย ...................
ความหมายของสถิติ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นตัวเลขที่ได้มาด้วยวิธีต่างๆ จากข้อมูลจำนวนมาก เพื่อใช้บอกลักษณะต่างๆของสิ่งที่สนใจศึกษา เช่น เงินเดือนเริ่มต้นโดยเฉลี่ยของบัณฑิตปริญญาตรี จำนวนฝักเฉลี่ยต่อต้นของถั่วเหลืองพันธุ์มข.35 ศาสตร์ที่เกี่ยวกับวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดระบบข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปต่างๆ เกี่ยวกับลักษณะของข้อมูล หรือหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล และการตีความข้อมูล เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ประเภทของสถิติ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เก็บข้อมูล รวบรวม จัดระบบข้อมูล การหาตัวแทน เพื่อใช้อธิบายหรือบอกข้อมูลเหล่านั้น เช่น ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชาชน 70 % มีอาชีพเกษตรกรรม สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) เป็นสถิติที่เกี่ยวกับวิธีการใช้ประโยชน์จากข้อมูล บางส่วน ซึ่งถูกสุ่ม “ตัวอย่าง” จาก “ประชากร” เพื่อนำไปสรุปผล หรือทำนายผล โดยใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็นเข้ามาช่วย เช่น การทดสอบความมีนัยสำคัญ
Concept in Statistical Research I การกำหนดปัญหาหรือโจทย์วิจัย การวางแผนการดำเนินงานวิจัย การวิเคราะห์ค่าสถิติเบื้องต้น การทดสอบสมมุติฐานทางสถิติ การวางแผนการทดลองทางการเกษตร การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ การนำเสนองานวิจัย การจับประเด็นจากผลงานวิจัย
การกำหนดปัญหา/โจทย์วิจัยเบื้องต้น STEP I STEP II เลือกหัวข้อที่ตนสนใจ กำหนดให้ชัดเจนว่าต้องการข้อมูลอะไรจากการวิจัย เลือกหัวข้อที่จัดการได้/เป็นไปได้ เลือกหัวข้อที่ไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป
NOT RESEARCHABLE แผนต่างๆอาจะเป็นความลับ ภายใน 10 ปีอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ คำตอบที่ได้ไม่ชัดเจนว่าจะใช้ประโยชน์อย่างไรต่อไป EXAMPLE แผนกลยุทธ์ ในทาง การตลาดของ บริษัทน้ำตาล มิตรผลในอีก 10 ปีข้างหน้า จะเป็นอย่างไร
คำว่า ดีกว่า ไม่สามารถให้ความหมายอย่างชัดเจนได้ NOT RESEARCHABLE คำว่า ดีกว่า ไม่สามารถให้ความหมายอย่างชัดเจนได้ การกำหนดเครื่องมือวัดจะทำได้ยาก EXAMPLE การทำนา ดีกว่าการ เลี้ยงสัตว์จริง หรือไม่
การเจริญเติบโต 7 วันหลังหย่านมให้ข้อมูลที่ใช้ประโยชน์ได้ค่อนข้างแคบ TOO NARROW การเจริญเติบโต 7 วันหลังหย่านมให้ข้อมูลที่ใช้ประโยชน์ได้ค่อนข้างแคบ การตอบสนองของสุกรต่อการเจริญเติบโตอาจยังไม่เต็มที่ EXAMPLE การศึกษาการ การเจริญเติบโต หลังหย่านมของ สุกรอายุ 21-28 วัน เมื่อให้ อาหารสำเร็จ
สถิติกับการวิจัย
ความหมายของคำทางสถิติ ที่ควรทราบ ประชากร (population) กลุ่มของสิ่งที่สนใจศึกษาทั้งหมด โดยสิ่งต่างๆ เหล่านั้นอาจเป็น คน สัตว์ สิ่งของหรือเหตุการณ์ต่างๆ เช่น สนใจศึกษารายได้ของเกษตรกรไทย ประชากรคือ เกษตรกรไทยทุกคน ประชากรอันตะ (finite population) เช่น จำนวนพลเมืองในจังหวัดขอนแก่น ประชากรอนันต์ (infinite population) เช่น จำนวนปลาในอ่าวไทย
ความหมายของคำทางสถิติ ที่ควรทราบ ตัวอย่าง (sample) บางส่วนของประชากรที่ถูกนำมาเพื่อศึกษาแทนประชากร ซึ่งอาจจะเกิดจาก ประชากรมีขนาดใหญ่เกินไป
ความหมายของคำทางสถิติ ที่ควรทราบ พารามิเตอร์ (parameter) ตัวแทนที่ใช้สรุปถึงคุณสมบัติหรือลักษณะของประชากร ค่าพารามิเตอร์ ในทางสถิติ คือค่าที่แท้จริงเพื่ออธิบายถึงลักษณะต่างๆ ของประชากร