การผลิตซ้ำมายาคติ เกี่ยวกับเพศอื่นๆ ในระบบการศึกษา วิจิตร ว่องวารีทิพย์
รัฐ : โลกทรรศน์ พลเมือง กับ การศึกษา สถาบันการศึกษา โรงเรียน คือ ตัวแทนของรัฐ รัฐต้องการอะไร? พลเมืองที่เชื่องๆ เซื่องๆ พลเมืองที่เป็น “แม่พันธุ์” “พ่อพันธุ์” ที่ดี ใช้เครื่องมือต่างๆ เหมือน “บล็อค” ที่มาหล่อหลอม พลเมืองอันน่าพีงปรารถนาประเภทหนึ่ง
อำนาจรัฐ ทำงานอย่างไร ใน ระบบการศึกษา? ทำงานผ่านสถานศึกษา หลักสูตร (curriculum) ตำราเรียน (textbook) - ในนามของ “ความรู้” มี “expert” มาเป็นผู้ “ออกแบบ” เนื้อหา การเรียนการสอน (pedagogy) เทคนิคการถ่ายทอดความรู้ การปฏิบัติในห้องเรียน (performance) ปฏิบัติการหลังเรียน ผ่านการประเมินผล เช่น การสอบ ONET “ระเบียบวินัย” และ ข้อห้ามในสถานศึกษา ซึ่งมักขัดแย้งกับสิทธิพื้นฐาน และส่วนใหญ่ไม่มีเขียนไว้จริงๆ นโยบายการศึกษา ระดับประเทศ
นโยบายการศึกษา ที่ทำงานผ่านสถานศึกษา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑ (กำหนดมาจาก คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศธ.) ตำราเรียน (โดย สนพ.ต่างๆ) ทั้งหมดมี ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การทดสอบระดับชาติ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน โดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)
หลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มี ๕ สาระการเรียนรู้ สาระที่ ๑ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ มาตรฐาน พ.๑.๑ เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ปัญหาคือ กรอบคิดสองเพศ คือ ธรรมชาติ ; เพศอื่นๆ ล่ะ? intersex?
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ ๒ ชีวิตและครอบครัว มาตรฐาน พ.๒.๑ เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต ป.๒ ระบุพฤติกรรมที่เหมาะสมกับเพศ (ความเป็นสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี) ป.๔ พฤติกรรมที่เหมาะสมกับเพศของตนตามวัฒนธรรมไทย ป.๕ การวางตัวที่เหมาะสมกับเพศของตนตามวัฒนธรรมไทย ลักษณะของ ครอบครัวที่อบอุ่นตามวัฒนธรรมไทย (คค.ขยาย การนับถือญาติ) ม.๑ ทักษะการปฏิเสธเพื่อป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศ ม.๑ พูดถึงพัฒนาการทางเพศ และการเบี่ยงเบนทางเพศ ม.๒ ความสำคัญของความเสมอภาคทางเพศ ปัญหาทางเพศ (??)
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ ๓ การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล ปัญหาคือ ถ้าไม่รักการเล่นกีฬา จะตกวิชานี้ไหม? ป.๕ และ ม.๒ มีการพูดถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเล่นเกมและกีฬา ม.๒ วิเคราะห์ความแตกต่างนั้นๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายและเล่นกีฬา
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ ๔ การเสริมสร้างสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกันโรค ที่น่าสนใจคือ ม.๒ มีตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้เรื่อง “การเลือกใช้บริการทางสุขภาพอย่างมีเหตุผล” มีตัวชี้วัด “อธิบายลักษณะอาการเบื้องต้นของผู้มีปัญหาสุขภาพจิต” (ในอภิธานศัพท์ก็ไม่มีนิยามคำนี้ด้วย ตีความกันไปต่างๆ นานา)
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ ๕ ความปลอดภัยในชีวิต ปัญหา: ไม่มีเรื่องความรุนแรงทางเพศ ทั้งๆ ที่ กะเทยและ ญรญ จำนวนมากถูกกระทำเพราะอคติที่คนมีต่อคนกลุ่มนี้ คนเหล่านี้มีชีวิตอยู่ด้วยความรู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิต ทั้งจากเพศชายทั่วไป ครอบครัวตนเอง และเจ้าหน้าที่รัฐ (ตร. ทหาร) การล่วงละเมิดทางเพศมีเนื้อหาแค่ในสาระที่ ๒ ชีวิตและครอบครัว ถ้าคนเชื่อข้อมูลในสุขศึกษาว่า เป็นความจริง อาจเป็นสาเหตุของ hate crime
อภิธานศัพท์ ใน หลักสูตรแกนกลางฯ “พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Sex Abuse ความหมาย: การประพฤติปฏิบัติใดๆ ที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติทางเพศของตนเอง เช่น มีจิตใจรักชอบในเพศเดียวกัน การแต่งตัวหรือแสดงกิริยาเป็นเพศตรงข้าม “ล่วงละเมิดทางเพศ” ความหมาย: การใช้คำพูด การจับ จูบ ลูบ คลำ และหรือการร่วมเพศ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะกับผู้เยาว์