งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การใช้สิทธิตามกฎหมายและการติดตามตรวจสอบมาตรการตาม EIA

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การใช้สิทธิตามกฎหมายและการติดตามตรวจสอบมาตรการตาม EIA"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การใช้สิทธิตามกฎหมายและการติดตามตรวจสอบมาตรการตาม EIA

2 ความหมายของ EIA - EIA : Environmental Impact Assessment : รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม - การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หมายถึง การศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่จะเกิดจากการพัฒนาโครงการหรือกิจการ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาโครงการหรือกิจการ

3 ฐานทางกฎหมายของการจัดทำ EIA
กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 67 วรรคแรกที่บัญญัติว่า “สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครองส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม”

4 ฐานทางกฎหมายของการจัดทำ EIA
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ (ต่อ) มาตรา 67 วรรคสองที่บัญญัติว่า “การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน อย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และ สุขภาพจะกระทำมิได้ เว้นแต่....”

5 มาตรา 67 วรรคสอง (ต่อ) เว้นแต่ .....จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนการดำเนินการดังกล่าว....”

6 2. พ. ร. บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ. ศ
2. พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ มาตรา 46 “ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเสนอขอความเห็นชอบตามมาตรา 47 มาตรา 48 มาตรา 49………

7 มาตรา 51 “ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามมาตรา 47 และมาตรา 48 รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอาจกำหนดให้รายงานการวิเคราะห์ผลสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 46 ต้องจัดทำหรือได้รับการรับรองจากบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ชำนาญการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมก็ได้.....” ปัจจุบันมีโครงการที่ต้องทำ EIA ทั้งหมด 35 ประเภทโครงการหรือ กิจการตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2555

8 โครงการหรือกิจการที่ต้องทำการประเมินผลกระทบ
ประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการที่ออกตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำ EIA ลงวันที่ 24 เมษายน 2555 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน จะต้องจัดทำ EHIA พ.ศ.2533 กำหนดให้โครงการหรือกิจกรรมรวม 35 ประเภท กำหนดให้โครงการหรือกิจการ รวม 11 ประเภท

9 โครงการหรือกิจกรรมที่ต้องจัดทำ EIA และ HIA ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
- ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ มีทั้งหมด 11 ประเภท และขนาดโครงการ

10 ตัวอย่างโครงการที่ต้องจัดทำ HIA

11 ตัวอย่างโครงการที่ต้องจัดทำ EIA

12 หลักการทางสิ่งแวดล้อมในระบบ EIA
การเข้าถึงข้อมูลและการมีส่วนร่วม ของประชาชน หลักผู้ก่อมลพิษ เป็นผู้จ่าย ป้องกันระมัดระวัง ไว้ก่อน

13 กรอบการจัดทำEIA 1. รายงานฉบับย่อ 1.1 ประเภทและขนาดโครงการพร้อมกิจกรรมประกอบที่เกี่ยวข้อง 1.2 ที่ตั้งโครงการประกอบแผนที่บริเวณโครงการและบริเวณโดยรอบ และที่ตั้งของสิ่งที่อาจได้รับผลกระทบ 1.3 ผลกระทบหลัก มลพิษหลัก 1.4 มาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ

14 กรอบการจัดทำEIA (ต่อ)
2. รายงานหลัก 2.1 บทนำ - ที่มาและเหตุผลความจำเป็นของโครงการ - วัตถุประสงค์ของการจัดทำรายงาน - กำหนดการดำเนินโครงการ - ขอบเขตการศึกษาและวิธีการ

15 2.2 รายละเอียดโครงการ - ประเภทและขนาดโครงการ/กำลังผลิต - ความจำเป็นที่ต้องมีโครงการ - ที่ตั้งโครงการเส้นทาง แผนที่ ภาพจำลองสามมิติแสดงความแตกต่างกรณีไม่มีหรือมีโครงการ - เหตุผลในการเลือกที่ตั้งโครงการ (เป็นเหตุผลที่ได้พิจารณาทางด้านสิ่งแวดล้อม) - รายละเอียดกระบวนการ กิจกรรม ความต้องการวัตถุดิบ พลังงาน - รายละเอียดการบำบัดมลพิษหรือของเสีย และการควบคุมระบบประสิทธิภาพ

16 3. สภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน แสดงผลการศึกษา รายละเอียดเกี่ยวกับ - สถานภาพปัจจุบันของทรัพยากรสิ่งแวดล้อม - คุณค่าต่าง ๆ ที่มีต่อมนุษย์ แผนที่ โครงการและบริเวณพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการ โดยขึ้นอยู่กับความสำคัญในแต่ละหัวข้อที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากโครงการที่ได้จากการกำหนดขอบเขตการศึกษาเป็นสำคัญ

17 4. ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ ให้ประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจเกิดขึ้นจากโครงการทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งระยะสั้นและระยะยาวแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของผลกระทบที่จะเกิดขึ้น การกระเมินผลกระทบในส่วนนี้ต้องใช้ข้อมูลโครงการประกอบกับสภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันมาพิจารณาประกอบหลักทางวิชาการ

18 5. มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น ต้องมีการอธิบายถึงการดำเนินการป้องกันและแก้ไขความเสียหายที่อาจมีต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและในกรณีที่ไม่อาจแก้ไขได้ ให้เสนอแผนชดเชยความเสียหาย โดยมาตรการนี้เป็นส่วนสำคัญในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

19 6. การพิจารณาทางเลือกโครงการ ในกรณีที่โครงการจะก่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและ คุณค่าต่างๆ ที่มีต่อมนุษย์อย่างรุนแรงก็ควรมีการพิจารณา ทางเลือกอื่น ๆ ทั้งนี้ให้รวมถึงทางเลือกที่จะไม่ดำเนินการด้วย

20 7. การประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หากโครงการมีการประสานงานถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการและมีใบอนุญาตหรือยินยอมการใช้ประโยชน์หรือเอกสารอื่นใดที่เห็นว่ามีประโยชน์ต่อการพิจารณารายงานฯ ก็ให้แสดงไว้ในส่วนนี้ นอกจากนี้หากโครงการได้ดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชนในขั้นตอนการกำหนดหัวข้อศึกษา หรือในระยะการจัดเตรียมรายงานไว้แล้ว ก็ให้แสดงไว้ด้วย

21 8. มาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการอธิบายแผนงานการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อตรวจสอบยืนยันประสิทธิภาพของมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เสนอไว้ในรายงาน และเพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบและมีระยะเวลาในการติดตามเป็นระยะเวลาต่อเนื่องตามหลักวิชาการ

22 9. บทสรุป สรุปให้เห็นถึงผลได้ ผลเสียที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่ตัดสินเด่นชัดว่าสิ่งที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการ ตลอดจนค่าความจำเป็นที่ต้องชดเชยความเสียหายและลดความสูญเสียต่างๆ ตลอดจนอธิบายการสูญเสียทรัพยากรที่ไม่สามารถกลับคืนมาได้ และการติดตามตรวจสอบ 10. ภาคผนวก แหล่งที่มาของเอกสารอ้างอิงรายงานการศึกษา ข้อมูลภาคสนาม ตัวอย่างแบบสอบถาม มาตรฐานที่ใช้อ้างอิง ฯลฯ

23

24

25 ขั้นตอนการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ให้นักศึกษาเรียงลำดับและอธิบายความหมายของแต่ละขั้นตอน โดยให้ทำเป็นกลุ่ม ๆ ละไม่เกิน ๕ คน Conducting research- ศึกษาวิจัยผลกระทบ Screening – พิจารณาว่าต้องทำ EIA หรือไม่ Monitoring - ติดตามและประเมินผล Reviewing research by expert committee - ทบทวนร่างรายงาน Scoping – กำหนดขอบเขตประเด็นสำคัญที่ต้องศึกษา รับฟังปชช. Giving permission or stop project – ตัดสินใจว่าจะอนุญาตหรือไม่

26 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการจัดทำ EIA
ให้นศ. หาผู้มีส่วนเกี่ยวของที่เหลือและอธิบายว่าแต่ละส่วนมีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างไร โดยสังเขป กลุ่มลุไม่เกิน ๔ คน 1) Dev _ _ _ _ _ r 2) C o n _ _ _ _ _ _ t 3) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) 4) Ex p _ _ _ Co m m _ _ _ _ e หน่วยงานผู้อนุญาต 6) C o m _ _ _ _ _ y

27 ประชาชนและอบต. จะเข้าไปมีส่วนร่วมในขั้นตอน การวิเคราะห์ผลกระทบได้อย่างไร
1.ขั้นตอนการจัดทำ EIA - ไม่มีกฎหมายกำหนดให้เข้าไปมีส่วนร่วม แต่ไม่ตัดสิทธิประชาชนและอ.บ.ต. ที่จะเสนอข้อมูล - ประชาชน ร.ธ.น. มาตรา 66 และ 67 - อ.บ.ต. พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ มาตรา 67 (7) 2.ขั้นพิจารณา EIA - ประชาชน ร.ธ.น. มาตรา 57 ประกอบ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ - อ.บ.ต. พรบ.สภาตำบลฯ มาตรา 70 และมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการในโครงการหรือกิจการ ที่จะเข้ามาดำเนินการในเขตตำบล

28 ประชาชนและอบต. จะเข้าไปมีส่วนร่วมในขั้นตอน การวิเคราะห์ผลกระทบได้อย่างไร (ต่อ)
3. ขั้นหลังจากผ่านความเห็นชอบจาก คชก. ข้อเสนอ ควรจัดทำข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่ เพื่อ 1) ตรวจสอบ/ร้องเรียน/ร้องทุกข์ถึงความไม่ถูกต้องของข้อมูลข้อเท็จจริง ต่อหน่วยงานของรัฐ อย่างเป็นทางการ 2) ฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อเพิกถอน

29 ประชาชนและอบต. จะเข้าไปมีส่วนร่วมในขั้นตอน การวิเคราะห์ผลกระทบได้อย่างไร (ต่อ)
4. ขั้นตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการที่ระบุใน EIA ของโรงงาน 4.1 ประชาชน ร้องเรียนต่อหน่วยงานอนุญาต, แจ้งความดำเนินคดี หรือฟ้องให้หน่วยงานรัฐปฏิบัติหน้าที่ควบคุมดูแล, ฟ้องบริษัทฯ ในทางแพ่ง 4.2 อ.บ.ต. มีหนังสือถึงโรงงาน หรือ หน่วยงานอนุญาตให้ยุติปัญหา, ใช้อำนาจตามกฎหมายเฉพาะสั่งให้แก้ไขปัญหา เช่น พ.ร.บ.การสาธารณสุข มาตรา 26, 27 และ 28 หรืออำนาจที่ได้รับมอบจากส่วนกลางอื่นๆ อ.บ.ต. ในฐานะที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการจัดการส่งเสริม บำรุงรักษาสภาพแวดล้อม ควรเป็นตัวหลักในการประสานงานหน่วยงานรัฐ บริษัทฯ เพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ทั้งอาจเป็นผู้ร้องเรียนและดำเนินการให้มีการแก้ไขปัญหาได้เองด้วย

30


ดาวน์โหลด ppt การใช้สิทธิตามกฎหมายและการติดตามตรวจสอบมาตรการตาม EIA

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google