งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การให้การปรึกษาเฉพาะ สำหรับกลุ่ม Key Affected Populations (KAPs)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การให้การปรึกษาเฉพาะ สำหรับกลุ่ม Key Affected Populations (KAPs)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การให้การปรึกษาเฉพาะ สำหรับกลุ่ม Key Affected Populations (KAPs)
ฉวีวรรณ คล้ายนาค สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

2 VCT for MARPs คู่มือการอบรม การให้การปรึกษาเพื่อการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวี โดยสมัครใจในกลุ่มประชากร ที่เข้าถึงยาก (Voluntary Counseling and Testing for Most at risk population : VCT for MARPs) เล่มนี้ ดำเนินการแปลมาจาก HIV Counselling Trainer’s Manual for Voluntary Counselling and Testing, Provider-Initiated Testing and Counselling, and Care Counselling for the Asia and Pacific Regions. ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย DR.Kathleen Casey. FHI ซึ่งเนื้อหาในคู่มือนี้ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ กิจกรรม ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น สำหรับทีมวิทยากรใช้ประกอบการอบรมผู้ให้การปรึกษาในสถานบริการสาธารณสุข โดย สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ร่วมกับ DR.Kathleen Casey. FHI. ได้ปรับระยะเวลาในการอบรมให้เหลือเพียงจำนวน 3 วัน โดยผ่านการพิจารณากลั่นกรองคัดเลือกเฉพาะหัวข้อที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้รับบริการปรึกษา (อันได้แก่ กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (MSM) และกลุ่มพนักงานบริการหญิง (FSW)) รวมทั้ง ด้วยข้อจำกัดของวงเงินสนับสนุนของผู้ให้ทุนหลัก นั้นเพียงพอสำหรับการจัดอบรมได้เพียง 3 วันเท่านั้น และมีเอกสารที่ใช้ในประกอบการอบรมบางส่วนนำมาจากเนื้อหาในหนังสือ HIV Counseling and Testing for Most-at-risk Population Using the Bi-Regional. ด้วยเช่นกัน ดังนั้น เพื่อให้การจัดอบรม VCT for MARPs บรรลุวัตถุประสงค์ คือ ผู้ให้การปรึกษาสามารถให้บริการปรึกษาเพื่อตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มเป้าหมายที่เข้าถึงยากได้ แปลมาจาก HIV Counselling Trainer’s Manual for Voluntary Counselling and Testing, Provider-Initiated Testing and Counselling, and Care Counselling for the Asia and Pacific Regions. ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย DR.Kathleen Casey. FHI (จัดพิมพ์ 2554 และ 2555)

3 คู่มือวิทยากร : หลักสูตรอบรม 3 วัน
คู่มืออ่านประกอบ การให้การปรึกษาเรื่องเอชไอวี 1. ความรู้พื้นฐานสำหรับผู้ให้การปรึกษาเกี่ยวกับเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และวัณโรค 2. องค์ประกอบที่สำคัญในการให้การปรึกษาเรื่องเอชไอวี อย่างมีจรรยาบรรณและมีประสิทธิภาพ 3. กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกระบวนการให้การปรึกษา เรื่องเอชไอวี 4. การให้การปรึกษาเพื่อตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี 5. การทำงานกับผู้รับการปรึกษาที่มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย 6. การให้การปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีกับสุขภาพ 7. การช่วยเหลือในการเปิดเผยสถานะการติดเชื้อเอชไอวี/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 8. การให้การปรึกษาเพื่อการปฏิบัติตามแผนการรักษาอย่างเคร่งครัด 9. การให้การปรึกษาตามความต้องการเฉพาะกลุ่ม 10. ความเศร้าโศก การสูญเสีย และการตาย 11. การดูแลตนเองของผู้ให้การปรึกษา และ ภาคผนวก M1 : ความรู้พื้นฐานสำหรับผู้ให้การปรึกษาเกี่ยวกับเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และวัณโรค M2 : องค์ประกอบที่สำคัญในการให้การปรึกษาเรื่องเอชไอวี อย่างมีจรรยาบรรณและมีประสิทธิภาพ M3 : กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกระบวนการให้การปรึกษา เรื่องเอชไอวี M4 : การให้การปรึกษาก่อนการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี M5 : การให้การปรึกษาหลังการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี M6 : การช่วยเหลือในการเปิดเผยสถานะการติดเชื้อเอชไอวี/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ M7 : การให้การปรึกษาชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (MSM) และคนข้ามเพศ M8 : การให้การปรึกษาในกลุ่มผู้ขายบริการทางเพศ M9 : การให้การปรึกษากับกลุ่มผู้รับบริการที่ดื่มสุราและใช้สารเสพติด สาระสำคัญ ของหนังสือแต่ละเล่ม คู่มือวิทยากร ประกอบด้วย 9 แผนการสอน (Module) คู่มืออ่านประกอบ การให้การปรึกษาเรื่องเอชไอวี ประกอบด้วยเนื้อหา 11 บท (259 หน้า) พิมพ์ครั้งแรก 200 เล่ม ครั้งที่ 2 จำนวน 300 เล่ม ครั้งที่ 3 จำนวน 3,000 เล่ม

4 การให้การปรึกษาในกลุ่ม MSM
CO สามารถทำสิ่งต่อไปนี้ : 1. อธิบายสาเหตุที่ MSM มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อเอชไอวี 2. ระบุความต้องการด้านสุขภาพทางเพศและอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการ 3. ระบุประเด็นทางด้านจิตใจและสังคมของ MSM 4. อธิบายมาตรการป้องกันการติดเชื้อสำหรับ MSM 5. เข้าใจอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น เมื่อแนะนำการป้องกันการติดเชื้อและการแก้ไขอุปสรรค สาระสำคัญ : หลัก 3 ประการ ที่จะบอกว่า MSM คือ? , แบบจำลองพัฒนาการทางด้านอัตลักษณ์ทางเพศ 6 ระยะของแคส , ประเด็นสำคัญในการให้การปรึกษา , การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

5 MSM คือใคร..... หลัก 3 ประการ 1. พฤติกรรมทางเพศ (Sexual behavior) มีเพศสัมพันธ์ กับ - ชาย - หญิง - ชายและหญิง 2. รสนิยมทางเพศ (Sexual orientation) - ดึงดูดทางเพศ / - ความซู่ซ่า - ความต้องการทางเพศ 3. อัตลักษณ์ทางเพศ (Sexual identity) ฉันเป็นใคร และฉันยอมรับหรือไม่ MSM มี 1 ใน 10 ของชายทั่วไป กระจายอยู่ทั่วไป มีความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีสูง การแสดงออกเกิดจากสังคม

6 อัตลักษณ์ทางเพศ สังคมรับรู้ ตัวเองรับรู้ Heterosexual Bisexual
Homosexual มีทั้งที่แสดงเจตนาให้สังคมรับรู้และไม่แสดงให้สังคมรับรู้ อาจมีในช่วงใด ช่วงหนึ่งของอายุ หรือตลอดช่วงอายุของเขา มีในทุกสาขาอาชีพ

7 การแพร่เชื้อ HIV หรือ STIs ไม่ได้ขึ้นอยู่กับรสนิยมทางเพศ (Sex orientation) แต่ขึ้นอยู่กับ พฤติกรรมเสี่ยง (risk behavior) ความเสี่ยงและความเปราะบาง (vulnerabilities) ชนิดของการมีเพศสัมพันธ์ / ช่องทางที่ใช้ในการมีเพศสัมพันธ์ การปฏิบัติทางเพศ (Sexual action) MSM เกี่ยวข้องกับเอชไอวีอย่างไร ความเสี่ยง (risk) หมายถึง สิ่งที่ปฏิบัติ หรือการกระทำ ซึ่งการกระทำนั้นมีโอกาสให้ติดเชื้อเอชไอวี อาจเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางเพศหรือไม่ก็ได้ เช่น - มีเพศสัมพันธ์ไม่ใช้ถุงยางอนามัย - ใช้เข็มฉีดร่วมกับผู้อื่น - มีเพศสัมพันธ์กับคนหลายคน ความเปราะบาง (vulnerabilities) หมายถึง ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยที่ส่งผลกระทบหรือสิ่งที่ทำให้ MSM กระทำพฤติกรรมเสี่ยงนั้นๆ เช่น ความเหงา ความโดดเดี่ยว อยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้ติดเชื้อ ขาดข้อมูล เข้าใจผิด ประเมินผิด หรือขาดความ สามารถที่จะป้องกันตนเอง เช่น การไม่กล้าซื้อถุงยาง หรือ ซื้อสารหล่อลื่น ใช้ผิดวิธี อาชีพที่เสี่ยง ในบางประเทศมีปัญหาทางกฎหมาย หรือศาสนา

8 เพราะเหตุใด MSM จึงมีพฤติกรรมเสี่ยง
ขึ้นอยู่กับตัวชายรักชายเองว่า ยอมรับ อัตลักษณ์ทางเพศของตนที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ Bisexual Heterosexual โดยทั่วไป คนเราจะเข้าใจ และยอมรับอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง เมื่อเวลาผ่านไป แต่บางคนการพัฒนาการอาจไม่เป็นไปตามขั้นตอน ตั้งแต่ต้นจนจบ บางคนอาจย้อนกลับไป กลับมาได้ Homosexual

9 แบบจำลองพัฒนาการทางด้านอัตลักษณ์ทางเพศ 6 ระยะของแคส มีประโยชน์ต่อผู้ให้การปรึกษาในการทำความเข้าใจว่า
“ผู้รับบริการปรับตัวเข้ากับเพศวิถีและรสนิยมทางเพศที่เกิดขึ้นใหม่ของตนอย่างไร” ระยะที่ 1 : สับสน ระยะที่ 2 : เปรียบเทียบ ระยะที่ 3: เริ่มยอมรับ ระยะที่ 4 : ยอมรับในอัตลักษณ์ ระยะที่ 5 : ภูมิใจในอัตลักษณ์ ระยะที่ 6 : ลงตัวในอัตลักษณ์ ดูรายละเอียดที่ คู่มืออ่านประกอบ การให้การปรึกษาเรื่องเอชไอวี ภาคผนวก 7 หน้า 224 พิมพ์ครั้งที่ 3 ปี 2555 อาจต้องฉาย คลิป Sugar Baby Love (ประมาณ 3 นาที ให้ดูเวลา ว่าพอหรือไม่) และ บรรยายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 6 ระยะ ที่มีผลต่อ ประเด็น อารมณ์ ความรู้สึก และความเสี่ยงและความเปราะบาง

10 การแก้ไข - ให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง จัดกิจกรรมลงพื้นที่ รู้จัก/ยอมรับว่าตัวเองเป็นใคร ให้กำลังใจและเห็นคุณค่าในตัวเอง - ตรวจสอบให้แน่ใจว่า CL. ทราบวิธีการป้องกัน และเข้าถึงบริการ - ทราบวิธีการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยแม้จะมีคู่หลายคน ทราบวิธีการเจรจาเพื่อให้มีการใช้ถุงยางอนามัยกับคู่ที่มีอำนาจเหนือกว่า ทราบช่องทางการมีเพศสัมพันธ์ สำหรับการตรวจและประเมินความเสี่ยง

11 ประเด็นสำคัญในการให้การปรึกษา
- ความเชื่อเกี่ยวกับลักษณะความเป็นผู้ชาย (masculinity) - ความรู้สึกเกลียดชังความเป็นตัวเอง (internalized homophobia) - การวินิจฉัยและการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ - ความบกพร่องทางเพศ (Sexual dysfunction) * ปลุกเร้าไม่ได้จึงต้องเป็นฝ่ายรับ หรือใช้ยา * ขณะใช้ถุงยางจะแข็งตัวไม่เต็มที่ ไม่ถึงจุดสุดยอด จึงถอดถุงยาง * เมื่อทราบว่าติดเชื้อเอชไอวี * บางรายใช้ยา viaga ช่วยให้แข็งตัวนานขึ้นปัญหาที่ตามมา คือ การหลั่งช้าลง - ความรุนแรงทางเพศ - ความคิดอยากฆ่าตัวตาย - ความยากจน

12 ประเด็นสำคัญในการให้การปรึกษาถ้ามีคู่ผู้หญิง
การเปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศต้องเกิดจากความสมัครใจ ควรมีการตกลงบริการ 3 C ก่อนประเมินความเสี่ยง และเน้นย้ำ “การรักษาความลับ” การใช้คำถามด้านคู่เพศสัมพันธ์เหมาะสมกว่าคำถามด้านอัตลักษณ์ทางเพศ “เมื่อคุณมีเพศสัมพันธ์ คุณมีกับผู้ชาย ผู้หญิง หรือทั้งสองเพศ?” - ถ้าไม่สามารถใช้ถุงยางอนามัยกับคู่ต่างเพศ ควรได้รับคำแนะนำให้ตรวจเอชไอวีเป็นประจำ และควรใช้ถุงยางอนามัยกับคู่ที่เป็นชาย ให้คำแนะนำเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ และส่งต่อไปรับบริการวางแผนครอบครัว ย้ำเตือนในเรื่องการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี ในขณะที่คู่อยู่ในช่วงให้นมบุตรด้วยนมแม่ ส่วนผู้ชายที่มีผลตรวจเลือดเป็นบวก ควรสนับสนุนการเปิดเผยสถานะการติดเชื้อเอชไอวีให้คู่ของเขาได้ทราบ ในคู่หญิงกับหญิง มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีต่ำ แต่ต้องหาสาเหตุว่าทำไมต้องมาตรวจ เช่น กรณีต้องการตั้งครรภ์ ไปขอน้ำเชื้อจากเพื่อนเกย์ติดเชื้อ

13 คนข้ามเพศ (Transgender) ไม่ประสงค์ผ่าตัดแปลงเพศ ยังไม่ได้ผ่าตัดแปลงเพศ
เพศกำกวม (intersex) การแต่งกายข้ามเพศ (Cross-dressing) คนข้ามเพศ (Transgender) ผู้แปลงเพศ (transsexual) เพศกำกวม (intersex) ไม่ประสงค์ผ่าตัดแปลงเพศ (”no-op”) ยังไม่ได้ผ่าตัดแปลงเพศ (“pre-op”) การแต่งกายข้ามเพศ (Cross-dressing) ไม่พบข้อขัดแย้งใดๆ ระหว่างสิ่งที่ปรากฎทางร่างกายกับอัตลักษณ์ด้านเพศของเขา ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายที่รักต่างเพศ แต่เป็นการแต่งกายข้ามเพศเพื่อความสนุกสนาน หรือเพื่อสมมุติบทบาท หรือเพื่อลดความเครียด หรือเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจทางเพศเพิ่มขึ้น ผ่าตัดแปลงเพศแล้ว (“post-op”)

14 เพศกำกวม (intersex) การระบุเพศตามลักษณะของอวัยวะเพศที่เด่นชัดมาแต่กำเนิด แต่บางคนภาวะเพศกำกวมอาจปรากฏเด่นชัดขึ้นในภายหลังโดยมาก พบในช่วงย่างเข้าสู่วัยรุ่น เช่น ในหญิงอาจไม่มีประจำเดือน มีหนวด ลูกกระเดือก เป็นต้น คนข้ามเพศ (Transgender) หมายถึง “ชายหรือหญิง” ที่ปฏิเสธเพศสภาพที่ถูกกำหนดมาตั้งแต่แรกเกิด หรือ ผู้ที่รู้สึกว่า อัตลักษณ์ทางเพศของตนไม่ตรงกับร่างกายที่เกิดมา ผู้แปลงเพศ (transsexual) ผู้ที่แปลงเพศจากชายเป็นหญิง (male-to-female - MTF) หรือจากหญิงเป็นชาย (female-to-male - FTM) เพศกำกวม (intersex) บางครั้งอาจให้การรักษาทางการแพทย์ หรือผ่าตัด เพื่อช่วยให้การพัฒนาการดังกล่าวนี้เป็นไปตามปกติเท่าที่จะสามารถทำได้ บางคนเกิดอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรงได้ ในเด็กวัยรุ่นและอาจรวมถึงพ่อแม่ของเด็กด้วย ส่งผลให้เกิดความรู้สึกอาย โกรธ หรือซึมเศร้า ควรส่งตัวให้ไปพบกับจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

15 ประเด็นสำคัญในการให้การปรึกษา
- บริการปรึกษาเรื่องกลยุทธ์ในการลดความเสี่ยงในด้านต่างๆ - การสวนล้างช่องทวารหนักหรือการสวนล้างช่องคลอดเทียม (neo-vagina douching) - คำแนะนำให้ระวังป้องกันหลังการผ่าตัดแปลงเพศ - การใช้สารหล่อลื่นชนิดน้ำกับช่องคลอดเทียม - การกำจัดขน การใช้เทปปิด การรัด หรือการหนีบ เข็มฉีดยา

16 บทที่ 3 หน้า 41 ระยะสิ้นสุด Termination
ขั้นตอนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อ้างอิงมาจาก โปรชาสก้าและไดคลีเม้นท์ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ค่อยเป็นค่อยไป โดยจะค่อยๆเปลี่ยนจากไม่เห็นปัญหา / ไม่สนใจตัวเอง ไม่มีความตระหนักหรือไม่มีความต้องการที่จะเปลี่ยน ไปเป็นเริ่มสนใจปรับเปลี่ยน (หรือคิดที่จะเปลี่ยน) นำไปสู่การตัดสินใจ หรือเตรียมพร้อมที่จะเปลี่ยน จากนั้นลงมือทำ และในระยะยาวก็จะเกิดความพยายามที่จะรักษาพฤติกรรมใหม่ไว้ได้ กายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ส่วนการหวนกลับไปมีพฤติกรรมเดิม ก็อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่ พบในกลุ่มผู้ใช้ยา (PHDU)

17 การให้การปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ระบุได้ว่า พฤติกรรมใดที่เป็นอันตราย (ต่อสุขภาพ ของตนเองและคู่/ครอบครัว วิถีชีวิต) เช่น พฤติกรรมทางเพศ การใช้สารเสพติด การดื่มสุรา และการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการรักษาโรค เข้าใจทางเลือกที่มีอยู่ (อธิบายข้อดี-ข้อเสียของพฤติกรรมต่างๆ ทางเลือกที่ปลอดภัยและยั่งยืน) สามารถปฏิบัติตนตามความรู้ที่เกี่ยวข้องได้ ได้รับการสนับสนุนที่จำเป็น เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นความท้าทาย ควรได้รับการปรึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ให้กำลังใจ CL. ไม่ว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะบรรลุผลอย่างไรก็ตาม) กลยุทธ์ในการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ STIs ได้แก่ การกำจัดความเสี่ยง การลดความเสี่ยง และการลดอันตราย กลยุทธ์การป้องกันการกลับไปมีพฤติกรรมเดิม ได้แก่ ระบุสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง (มีสิ่งกระตุ้น) ทักษะในการจัดการกับสิ่งกระตุ้น ซักซ้อมในการจัดการกับสิ่งกระตุ้น การแก้ไขปัญหาแบบเป็นขั้นตอน การกลับมาสู่แนวทางเดิมหลังจากการก้าวถอยหลัง ทั้งนี้ มีอีกหลายกลยุทธ์ที่ผู้ให้การปรึกษาสามารถนำมาใช้ในกระบวนการให้การปรึกษาได้ เช่น การสนทนาเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ การฟังอย่างตั้งใจ เทคนิคอนาคตก่อนแล้วค่อยปัจจุบัน การจัดทำแผนปฏิบัติการโดยมีกำหนดเวลา การทดลองปรับเปลี่ยน และการใช้กลยุทธ์ต่างๆ เป็นต้น

18 การให้การปรึกษาในกลุ่ม FSW
CO สามารถทำสิ่งต่อไปนี้ : ระบุพฤติกรรมเสี่ยงต่อการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี เข้าใจประเด็นทางด้านจิตใจและสังคมของ FSW เข้าใจความจำเป็นที่ต้องปรับปรุงบริการสุขภาพ STIsและ VCT ที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะของ FSW

19 สาระสำคัญ ใครคือพนักงานบริการ (Female sex worker) - ปัจจัยที่ทำให้ FSW เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV & STIs การให้การปรึกษาแก่ FSW และการดูแลด้านจิตใจและสังคม แตกต่างจากการให้บริการประชากรกลุ่มอื่นๆ ? การให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ FSW FSW + ประเภทของสถานบริการทางเพศ

20 ประเด็นสำคัญที่ไม่ควรลืม
1. ตกลงบริการ เน้นย้ำความลับ ยอมรับและให้เกียรติ จริงใจไม่ลุกล้ำและ หมั่นใช้คำถามเปิด (3C) 2. ศึกษาบริบทของแต่ละบุคคล 3. ให้ข้อมูลเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันกับคู่/สามี 4. แนะนำเรื่องการคุมกำเนิดแบบร่วม และการมีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือน 5. ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำความสะอาดอวัยวะเพศ การสวนล้างและการใช้อุปกรณ์ /เครื่องมือทำมาหากิน เช่น ลูกเจี๊ยบ ยาฟิต CONDOM สารหล่อลื่น การสัก เจาะ จิว เป็นต้น 6. ความสวยงาม คือ ภัย

21 การให้การปรึกษาในกลุ่ม FSW+
- ประเมินภาวะฆ่าตัวตาย - เสริมแรงทางบวกในการดูแลตนเอง เน้นเรื่องการป้องกัน - แนะนำการดูแลรักษา แหล่งช่วยเหลือ และสวัสดิการต่างๆ - สนับสนุนให้เปิดเผยผลเลือด - การวางแผนอนาคต - การคุมกำเนิดแบบร่วม - Hepatitis B ,C

22 การให้การปรึกษาเรื่อง STIs พัฒนาขึ้นในปี 2551 และ 2547

23 สิ่งที่ผู้ให้การปรึกษาควรทราบ
สาเหตุ ระยะฟักตัว การติดต่อของการเกิดโรค อาการแสดงของผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วิธีการตรวจรักษา ยาที่ใช้ การดูแลสุขภาพ การนัดหมาย การติดตามผู้ป่วย / ผู้สัมผัส สามารถเปิดอ่าน ศึกษาได้ด้วยตนเองในแผ่นดีวีดี เอกสารอ่านประกอบแนวทางการจัดบริการที่เป็นมิตรฯ เพราะจะมีหนังสือ เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากมาย..ค่ะ

24 โรค เชื้อสาเหตุ ระยะฟักตัว Syphilis Bact. 9 - 90 days Chancroid
Herpes Virus LGV 3 – 30 days GC 3 – 5 days NSU 2 w – 6 m หูด 1 – 6 m พยาธิ โปรโตซัว หิด 2 – 6 w โลน 30 days

25 ฉีดเข้ากล้ามครั้งเดียว Herpes ยากิน 7 d / มียาทา - LGV
โรค การรักษา Syphilis ยากินนาน 15 / 30 d ฉีด Benzathine Chancroid กินครั้งเดียว / 7 d ฉีดเข้ากล้ามครั้งเดียว Herpes ยากิน 7 d / มียาทา - LGV ยากิน 14 d / +7 d GC กินครั้งเดียว NSU ยากิน 14 d พยาธิ กินครั้งเดียว / ยาเหน็บ หูดหงอนไก่ ยาทา

26 แนะนำตรวจ pap smear ทุก 6 เดือน
โรค / การนัดหมาย 7 d 2 w 1 m 3 m Syphilis 3,6,12,24 Chancroid / Herpes LGV GC NSU อื่นๆ หูด แนะนำตรวจ pap smear ทุก 6 เดือน

27 ความแตกต่างทางจิตวิทยาสังคม ของกลุ่มเป้าหมาย
ความแตกต่างระหว่างบุคคล / ระหว่างกลุ่ม - พฤติกรรมทางเพศ - ภาษาที่ใช้สื่อสารเกี่ยวกับเรื่องเพศ - วิถีชีวิต

28 กลุ่มวัยรุ่น มีเพศสัมพันธ์อายุน้อย <15 ปี
มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ตั้งใจ ไม่ป้องกัน และอยากรู้ อยากลอง อาย ไม่กล้ามารับการรักษา / ซื้อยากินเอง ขาดความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรค การดูแลสุขภาพทางเพศ / การคุมกำเนิด เชื่อฟังคำแนะนำจากกลุ่มเพื่อน มากกว่าผู้ปกครอง

29 STIs COUNSELLING เน้นเพื่อให้ผู้รับบริการ

30

31 ทักษะการสื่อสารที่เน้นความรู้สึก
บอกปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน “รู้สึกผิดปกติ ไปหาหมอ... หมอบอกว่า... บอกความรู้สึกของผู้พูด “ฉันรู้สึกเป็นห่วง กลัวเธอติดโรคไปด้วย” ระบุพฤติกรรมที่ต้องการให้ผู้รับฟังทราบ “ต้องการงด.. / ต้องการให้ใช้ถุงยาง / ต้องการให้ไปตรวจ....” 4. ถามความคิดเห็นในการตัดสินใจปฏิบัติของอีกฝ่ายหนึ่ง “งด? /ช่วงนี้ขอใช้ถุงยาง.. / ไปตรวจด้วยกันได้ไหม?..”

32 ในกรณีที่ผู้ฟังไม่ยอมรับ
1. ยืนยันพฤติกรรมที่ต้องการของผู้พูด โดย - ยอมรับความรู้สึกของอีกฝ่าย - บอกย้ำความรู้สึกของผู้พูด - ยืนยันพฤติกรรมที่ต้องการของผู้พูด 2. ต่อรอง / ประนีประนอมโดยเสนอพฤติกรรมที่เป็นทางเลือกอื่นทดแทน “หากสามียังยืนยันจะมีเพศสัมพันธ์ ให้คุณใช้วิธีการต่อรอง โดยเสนอทางเลือกที่จะทำให้เขามีความรู้สึกด้วยวิธีอื่น ที่ผ่านมามีบ้างไหม” 3. ผัดผ่อน หรือ หาทางออกในโอกาสต่อไป “หากยืนยันว่าไม่ แต่ยังถูกรบเร้า และการต่อรอง ยังไม่ได้ผล คิดว่าจะทำอย่างไร” “การขอเลื่อนไปเป็นวันอื่น ถือเป็นการผัดผ่อน ซึ่งการขอเลื่อนอาจใช้ร่วมกับ การต่อรองโดยมีข้อเสนอใหม่ หรือสิ่งที่สามีพอใจด้วย คุณคิดว่ามีอะไรบ้าง”

33 วิธีการปรับปรุงการสื่อสารระหว่างบุคคล
ปรับให้เหมาะสมกับ กาลเทศะ โอกาส และสถานการณ์ สร้างความน่าเชื่อถือ ด้วยความจริงใจ มีน้ำใจ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ด้วยวิธีการที่เหมาะสม - เพื่อเป็นแนวทางการคลี่คลายปัญหา - ตั้งคำถาม เพื่อให้เข้าใจปัญหาลึกซึ้ง ฟังและมีปฏิกิริยาตอบสนองด้วยความเข้าใจอันดีต่อกัน การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ปกป้องสิทธิของตนโดยไม่แสดงความก้าวร้าว ไม่นำเรื่องราวของผู้อื่นไปเปิดเผย

34 การให้ความร่วมมือในการรักษาอย่างต่อเนื่อง
ลักษณะของโรคที่ป่วยและได้รับการรักษา ลักษณะของยา หรือการรักษาที่ให้กับผู้ป่วย ลักษณะของการบริการสุขภาพ ลักษณะของผู้ป่วยเอง 4. สัมพันธภาพระหว่างผู้รักษา และผู้ป่วย

35 สรุป การให้บริการปรึกษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (S1-S4)
1. สำรวจความเข้าใจต่อโรคที่เป็นและวิธีการรักษา - สาเหตุการป่วยด้วยโรค STIs - พฤติกรรมทางเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย - สถานการณ์ที่จะต้องใช้พฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยทดแทน สำรวจแรงจูงใจในการรักษาอย่างต่อเนื่องจนหาย , safer sex , การสื่อสารเพื่อพาคู่นอนมาตรวจ

36 3. ระบุแนวทางแก้ไขของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองที่เกี่ยวกับ
- การดูแลตนเองระหว่างการรักษา (มีอะไรบ้าง) - การมารับการรักษาอย่างต่อเนื่องจนหาย (เพราะอะไร) การมาพบแพทย์ตามนัด หลังการรักษา (เป็นอย่างไร) มีพฤติกรรมทางเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย (เป็นอย่างไรบ้าง) การบอก/ภรรยา/คู่เพศสัมพันธ์ เรื่องการเจ็บป่วย / การป้องกัน (ฝึก..จะบอกอย่างไร Role play) การพาคู่เพศสัมพันธ์มารับการตรวจ (ฝึก...จะชวนอย่างไร Role play)

37 4. ประเมินความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติในประเด็นต่างๆตามข้อ 3
5. หากทำไม่ได้ให้ผู้รับบริการสำรวจ/พิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้น (ให้ข้อมูลเพื่อให้ผู้รับบริการตัดสินใจ เกิดทางเลือก ปรับแก้ไข) 6. หากทำไม่ได้ให้ผู้รับบริการตรวจสอบ/คาดคะเนปัญหาที่เกิดขึ้น หรือ ผลกระทบที่อาจมองข้าม 7. ให้ผู้รับบริการวางแผนแก้ไข จนได้ข้อสรุปที่สามารถปฏิบัติได้ 8. ให้ผู้รับบริการทบทวนการปฏิบัติตัวตามที่ได้ปรับแก้ 9. ให้กำลังใจผู้รับบริการต่อความตั้งใจ ดูแลตนเองระหว่างการรักษา / ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย / พาคู่นอนมาตรวจ รักษาอย่างต่อเนื่องจนหาย ประเภทของปัญหาของ CL 1. ปัญหาด้านข้อมูล ความรู้ 2. ปัญหาด้านอารมณ์ ความรู้สึก 3. ปัญหาด้านการตัดสินใจ หรือ ขาดทักษะปฏิบัติ

38 สวัสดีค่ะ


ดาวน์โหลด ppt การให้การปรึกษาเฉพาะ สำหรับกลุ่ม Key Affected Populations (KAPs)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google