งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

4 กรกฎาคม 2556 ณ.โรงแรมเอเซีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "4 กรกฎาคม 2556 ณ.โรงแรมเอเซีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 4 กรกฎาคม 2556 ณ.โรงแรมเอเซีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี
เทคนิคในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ระบบการส่งต่อ และเทคนิคการติดต่อประสานงานระหว่างภาครัฐและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 4 กรกฎาคม 2556 ณ.โรงแรมเอเซีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี

2 สู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ (Getting to Zero)ยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙

3 ยุทธศาสตร์ฯเอดส์ชาติ พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙
วิสัยทัศน์สู่เป้าหมายไม่มีผู้ติดเชื้อฯรายใหม่ เป้าหมาย พ.ศ. ๒๕๕๙ จำนวน ผู้ติดเชื้อฯรายใหม่ลดลง ๒ ใน ๓ จากที่คาดประมาณ อัตราการติดเชื้อฯ เมื่อแรกเกิด น้อยกว่า ร้อยละ ๒ วิสัยทัศน์สู่เป้าหมายไม่มีการตายเนื่องจากเอดส์ เป้าหมาย พ.ศ. ๒๕๕๙ ผู้ติดเชื้อฯ ทุกคนในแผ่นดินไทย เข้าถึงการดูแลรักษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน จำนวนผู้ติดเชื้อฯเสียชีวิต ลดลงมากกว่าร้อยละ ๕๐ จำนวนผู้ติดเชื้อฯเสียชีวิตเนื่องจาก วัณโรค ลดลงมากกว่าร้อยละ ๕๐ วิสัยทัศน์สู่เป้าหมายไม่มีการตีตราและเลือกปฏิบัติ เป้าหมาย พ.ศ. ๒๕๕๙ กฎหมายและนโยบาย ที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการป้องกันดูแลรักษาและบริการรัฐ ได้รับการแก้ไข การทำงานเอดส์ทุกด้านมีประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับการเคารพสิทธิมนุษยชน และสนองตอบต่อความจำเพาะกับเพศสภาวะ จำนวนการถูกเลือกปฏิบัติหรือการละเมิดสิทธิของผู้ติดเชื้อฯและกลุ่มประชากรเป้าหมายหลัก ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐

4 สถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ของกลุ่มพนักงานบริการหญิง (Female Sex Worker: FSW) พบการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่เพิ่มสูงขึ้น ความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีกลุ่มพนักงานบริการ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีกลุ่มพนักงานบริการตรง เพิ่มจากร้อยละ 2.76 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 2.82 ในปี 2553 ความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีกลุ่มพนักงานบริการแฝง จากร้อยละ ในปี 2552 เป็นร้อยละ 2.05 ในปี 2553

5 สถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ของกลุ่มพนักงานบริการหญิง (Female Sex Worker: FSW) พนักงานบริการที่ทำงานนอกสถานบริการมีการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สูงกว่าพนักงานบริการที่ทำงานในสถานบริการประมาณ ๕ เท่า พนักงานบริการเหล่านี้เป็นกลุ่มที่เข้าไม่ถึงระบบบริการป้องกันดูแลรักษา รวมทั้งไม่ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

6 งานในปีที่ 3 ของโครงการกองทุนโลก
เน้นกลุ่มเป้าหมาย FSW 3 กลุ่มหลักคือ 1. กลุ่มอิสระ 2. กลุ่ม Non-Thai Female Sex worker 3. กลุ่ม Young Female Sex worker จึงต้องทำ Mapping ใหม่เพื่อเข้าถึง 3 กลุ่มดังกล่าว การทำงานเชิงรุกใช้หลักการ BCC โดยมุ่งนำ FSW เข้าสู่การตรวจ VCCT&STIs

7 เทคนิคการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่
การเตรียมการด้านสถานที่ ทำ Mapping ในพื้นที่เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย FSW 3 กลุ่มหลักคือ 1. กลุ่มอิสระ 2. กลุ่ม Non-Thai Female Sex worker 3. กลุ่ม Young Female Sex worker ( ทำร่วมกับ สสจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Mapping ทั้งกลุ่มเป้าหมายและหน่วยให้บริการทางการแพทย์) จัดตั้งศูนย์ดร็อปอินและศูนย์ประสานงานในพื้นที่ 26 จังหวัด

8 เทคนิคการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ (ต่อ)
การเตรียมการด้านบุคลากร จัดหาและพัฒนาบุคลากรผู้ปฎิบัติงานให้มีความรู้ มีสัมพันธภาพที่ดีกับคนในชุมชน ซึ่งจะเป็นรากฐานที่ดี เป็นและสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ เด่นชัดภายในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการยอมรับต่อองค์กรภาครัฐ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญจะต้องเป็นคนที่มีจิตอาสา และชอบงานพัฒนาเป็นพื้นฐาน มีการฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่ให้มีทัศนคติที่ดีในการทำงานกับกลุ่มเป้าหมาย มีองค์ความรู้ทั้งเรื่องวิธีการทำ Mapping หลักการ BCC วิธีการทำงานเชิงรุก และการให้การปรึกษาเบื้องต้น ความรู้เรื่อง HIV/STIs และอนามัยการเจริญพันธ์ ตลอดจนเรื่องสิทธิและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพนักงานบริการ รวมทั้งให้รู้จักเครือข่ายที่ให้ความช่วยเหลือในการทำงาน ทำความเข้าใจ โครงการเป็นอย่างดี และเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ยอมรับ Code of conduct ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

9 เทคนิคการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่
การเตรียมตัวของผู้ปฏิบัติงานในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เตรียมข้อมูลเบื้องต้นของพื้นที่ ที่จะไปปฏิบัติงาน เช่นกลุ่มเป้าหมายมีการรวมตัวกันที่จุดไหน บริบทพื้นที่เป็นอย่างไร วิถีชีวิต จำนวนของกลุ่มเป้าหมาย มีกี่สัญชาติ สัญชาติไหนบ้าง ใช้ภาษาอะไรเพื่อการสื่อสาร ใครเป็นผู้มีอิทธิพล และข้อควรระวังต่างๆ จะทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดและดีขึ้น ช่วงเวลาใดที่เหมาะสมที่จะไปลงพื้นที่ ความสนใจของกลุ่มเป้าหมายเช่น ชอบใช้เวลาว่างทำอะไรบ้าง เพื่อหารูปเเบบในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสม สร้าง อาสาสมัครเพื่อนช่วยเพื่อน ประจำในเเต่ละจุด ที่จะคอยให้ความรู้ เเละเเจกจ่่ายถุงยางอนามัย ให้กับกลุ่มเป้าหมาย (จะได้ข้อมูลส่วนหนึ่งจากการสำรวจตอนทำ Mapping)

10 เทคนิคการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ (ต่อ)
สร้างสัมพันธ์กับบุคคลที่สามารถติดต่อได้จากการแนะนำ จะทำให้ได้แนวทางในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ (เร็ว)หรือไปขอคำแนะนำจากบุคคลแวดล้อมกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ เช่น ร้านของของชำ ร้านขายอาหาร วินมอเตอร์ไชค์ ชวนคุยด้วยท่าทางที่เป็นมิตร อาจได้รับแนะนำหรือข้อมูลในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ต่อไป บอกถึงผลที่เขา จะได้รับว่ามีประโยชน์ต่อเขา มากน้อยเพียงใด ที่สำคัญคือทำให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สร้างขึ้น ให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม ส่งผลให้เกิดความภาคภูมิใจ และมีสัมพันธภาพที่ดีต่อองค์กรมากขึ้นและเร็วขึ้น เมื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้(บางส่วน) ควรไปพบบ่อยๆเพื่อสร้างความสนิทสนม และหาช่องทางเพื่อการเข้าถึงรายต่อๆไป

11 เทคนิคการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ (ต่อ)
กลยุทธ์ 4 ส 1) เสริมสร้างทัศนคติให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโครงการฯ “เกิดแรงบันดาลใจ” ที่จะต้องปฏิบัติงานจะได้ “เตรียมให้พร้อม ซ้อมให้ดี” เช่น ด้านบุคลิกภาพ การสื่อสาร และสร้างความเข้าใจในโครงการฯ 2) สำรวจพื้นที่ เพื่อหาข้อมูล แหล่ง สถานที่ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย โดย การลงพื้นที่สำรวจ และขอความ ร่วมมือขอข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ รวบรวมจัดทำแผนที่ 3) สร้างความสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับกลุ่มเป้าหมายและผู้บริหารสถานการ ลงพื้นที่ แหล่ง สถานที่ พร้อมกับการพบปะบ่อยๆ แนะนำตัว องค์กร พร้อมกับชี้แจงโครงการ ทั้งนี้อาจจะ ประสานงานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชนลงพื้นที่ภาคสนามด้วย 4) สนับสนุนความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย หลังจากเกิดสัมพันธภาพที่ดีแล้ว ความไว้วางใจ ความจริงใจก็จะตามมา เพื่อแก้ไขปัญหาในสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องการหรือสนใจ จึงต้องเอาใจใส่ เช่น ปัญหาส่วนตัว ปัญหาชีวิต ปัญหาสุขภาพ การให้กำลังใจหรือพาไปรักษา รักษาความลับ ก็จะเกิดแรงบันดาลใจในการมีส่วนร่วมกิจกรรมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีคุณภาพชีวิตที่ดี ข้อห้าม อย่าเอาผลประโยชน์ส่วนตัวไปเกี่ยวข้องกับงาน, มีความจริงใจ, ใส่ใจกลุ่มเป้หมาย

12 ระบบการส่งต่อ โดยเฉพาะเรื่อง VCCT และ STIs
ระบบการส่งต่อ จะมีเรื่องต้นทางและปลายทาง ต้นทางเป็นเรื่องการสร้างความเข้าใจร่วมกันให้ชัดเจน ในส่วนกลุ่มเป้าหมายการให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับกลุ่มเป้าหมาย ในเรื่องการตรวจฯ ปลายทาง ต้องมีการประเมินผลการให้บริการอย่างต่อเนื่องและจริงจัง นำผลที่ได้มาปรับใช้อย่างจริงจัง ผู้ปฏิบัติงานต้องทราบ"ระบบ" การ ส่งต่อ การให้บริการด้านสุขภาพของพื้นที่นั้นๆและบริบทการให้บริการของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง หากยังไม่มีระบบหรือกระบวนการที่ชัดเจน ต้องทำให้เกิดข้อนี้ก่อนนำกลุ่มเป้าหมายไปรับบริการ ซึ่งหากได้รับการบริการที่เป็นมิตร จะส่งผลดีต่อการดำเนินงานเป็นอย่างมาก

13 ระบบการส่งต่อ โดยเฉพาะเรื่อง VCCT และ STI (ต่อ)
ประสานผู้เกี่ยวข้องที่ให้บริการด้านสุขภาพ ก่อนพากลุ่มเป้าหมายไปรับบริการ รวมถึงมีข้อมูลเรื่องของค่าใช้จ่าย ต้องสามารถทำให้เจ้าของสถานประกอบการไว้วางใจ หรือน่าเชื่อถือ ว่าเราต้องการมาช่วยดูแลหรือให้บริการด้านสุขภาพเพราะกลุ่มเป้าหมายบางรายเป็นแรงงานข้ามชาติ สร้างความตระหนักกับกลุ่มเป้าหมาย ที่จะเข้ารับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ และสามารถประเมินความเสี่ยงในการติดเชื้อฯ ของตนเองได้โดยใช้หลัก BCC และทักษะให้คำปรึกษา เพื่อจูงใจให้สมัครใจตรวจ VCCT/STIs อย่างสม่ำเสมอ

14 เทคนิคการติดต่อประสานงานระหว่างภาครัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
เทคนิคในการประสานงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ต้องมีข้อมูลที่เท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกระบวนการทำงาน แนวคิดในการทำงาน มุมมองที่มีต่อกัน เพราะหากมีกลไกที่จะทำให้เกิดเรื่องนี้ในทุกระดับ ก็จะทำให้การประสานงานมีประสิทธิภาพ การเกิดกลุ่มกลไกในการทำงานร่วมกัน เกิดเครือข่ายที่บุรณาการจริงจัง หรือเป็นเครือข่ายการช่วยเหลือทางสังคมในทุกระดับ เน้นการมีส่วนร่วม ก็จะทำให้การประสานงานมีประสิทธิผลตามมา นำเเผนการดำเนินงานของโครงการ หารือร่วมกับภาครัฐ หากมีงานกิจกรรมใด ที่สามารถบูรณาการจัดร่วมกันได้ เช่น กิจกรรมรณรงค์ถุงยางอนามัย พื้นที่ส่วนใหญ่ จะจัดร่วมกับภาครัฐ เข้าร่วมการประชุม กับภาครัฐอย่่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในหัวข้อที่เกี่ยวกับการทำงานของกลุ่มเป้าหมาย

15 เทคนิคการติดต่อประสานงานระหว่างภาครัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (ต่อ)
เทคนิคพื้นฐานที่จำเป็นดังนี้ 1) รู้เขารู้เรา เตรียมตัวให้พร้อมซ้อมให้ดี เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องศึกษาข้อมูล หน่วยงาน เจ้าหน้าที่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ก่อนขอเข้าพบเพื่อแนะนำตัว องค์กร โครงการ และขอคำปรึกษาแนะนำอื่นๆ เช่น ทำหนังสือเป็นทางการ การขอความร่วมมือหรือการอนุเคราะห์ใดๆ 2) ปรับบุคลิกภาพและการสื่อสาร เช่น การแต่งกายให้สุขภาพ อ่อนน้อมถ่อมตนและมีสัมมาคารวะ ฯ 3) สร้างความสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย มีสัมพันธภาพที่ดี เช่น มีของฝาก มอบในโอกาส เช่น แนะนำตัว วันเกิด ปีใหม่ หรือเชิญเข้าร่วมในกิจกรรม เป็นต้น 4) ทำงานให้รายงานผลงาน เป็นประการสำคัญส่วนหนึ่งคือ การปฏิบัติงานตามแผนงานกิจกรรมโครงการฯ จึงจำเป็นต้องรายงานผลงานที่ได้ดำเนินการไป เช่น รายงานเดือน รายไตรมาส หรือ รายงานปี ซึ่งแสดงถึงการแสดงความรับผิดชอบ ซึ่งจะทำให้หน่วยงานรับทราบผลงานในความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาและเกิดความร่วมมือที่ดีในโอกาสต่อไป ให้ความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องเมื่อหน่วยงานนั้นๆ ขอความร่วมมือ

16 บริการของคลินิกสวทมี 10 แห่งทั่วประเทศ
1. การให้บริการเรื่องตั้งครรภ์ไม่พร้อม - ใช้วิธี Manual Vacuum Aspiration ( MVA) 2. การตรวจหามะเร็งปากมดลูก 3. การคุมกำเนิด

17 บริการของคลินิกสวทเวชกรรม (ต่อ)
สถานที่ กรุงเทพฯ มี 3 แห่งคือ คลีนิกปิ่นเกล้า, คลีนิกดินแดง, คลีนิกบางเขน ต่างจังหวัดมี 7 แห่งคือ เชียงใหม่, เชียงราย, ลำปาง, ขอนแก่น, อุบลฯ สงขลา และ ภูเก็ต เริ่มดำเนินการ 15 กรกฏาคม 2556

18 The road ahead is not easy, "Hard work conquers all“
(ความวิริยะอุตสาหะ เอาชนะทุกข์ได้)

19 ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt 4 กรกฎาคม 2556 ณ.โรงแรมเอเซีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google