งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เปรียบเทียบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เปรียบเทียบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เปรียบเทียบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560 ปิยะวัฒน์ ศิลปรัศมี นิติกรชำนาญการพิเศษ กลุ่มกฎหมาย สปสธ.

2 กรณีการจัดซื้อจัดจ้างที่ได้ดำเนินการไปแล้วก่อน พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ
(พ.ร.บ.ม.128) 1. หากการตรวจรับและการจ่ายเงินยังไม่แล้วเสร็จ ให้ดำเนินการตาม ระเบียบฯเดิมต่อไปจนแล้วเสร็จ 2. หากการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างยังไม่ได้ประกาศในระบบเครือข่าย สารสนเทศของกรมบัญชีกลางหรือของหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้ผู้ประกอบการ เข้าเสนอราคา 3. กรณีมีการยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างที่ได้ดำเนินการก่อนหน้านั้น และต้องดำเนินการในครั้งใหม่หลัง พ.ร.บ.ใช้บังคับแล้วแต่กรณี ให้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.นี้

3 กรณี กฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศ ตาม พ.ร.บ. ยังไม่ใช้บังคับ
(พ.ร.บ. มาตรา 122) - ให้ระเบียบฯ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 - ให้ระเบียบฯ ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549 - ให้บรรดาระเบียบฯ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อบัญญัติ และข้อกำหนดใดๆ เกี่ยวกับการพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง รวมถึงมติ ครม.เกี่ยวกับการพัสดุและ การจัดซื้อจัดจ้างเดิม มีผลใช้บังคับต่อไป เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ. จนกว่า กฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศ เรื่องนั้นๆ ตาม พ.ร.บ.ใช้บังคับ

4 กรณีไม่อาจนำระเบียบฯ ตามมาตรา 122 มาใช้บังคับได้
(พ.ร.บ.มาตรา 123) การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐ ในเรื่องนั้นๆ ให้เป็นไปตามที่ คกก.นโยบายกำหนด

5 แหล่งเงินงบประมาณที่ใช้กับ พ.ร.บ. นี้
(พ.ร.บ.มาตรา 4) 1.เงินงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ/กฎหมายเกี่ยวด้วยการ โอนงบประมาณ 2.เงินที่ได้รับอนุญาตให้ไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมาย (เงินนอกงบประมาณ) เช่น เงินบำรุงฯ เงินรายได้สถานศึกษา 3.เงินกู้/เงินช่วยเหลือ 4.เงินอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

6 2. การจัดทำแผนจัดซื้อจัดจ้าง
(พ.ร.บ.มาตรา 11) หลักการ ให้ทำและประกาศเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงาน และให้ปิดประกาศเปิดเผย ณ สถานที่ของหน่วยงาน ยกเว้น 1.จำเป็นเร่งด่วน หรือ ใช้ในราชการลับ 2.มีความจำเป็นต้องใช้พัสดุโดยฉุกเฉิน หรือ พัสดุที่จะขายทอดตลาด การเปลี่ยนแผนให้เป็นไปตามระเบียบ รมต.คลังกำหนด

7 ร่างระเบียบใหม่ ฯ ข้อ 12 เมื่อหน่วยงาน ได้รับความเห็นชอบวงเงินแล้ว ให้เจ้าหน้าที่จัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเห็นชอบแผนการจัดซื้อจัดจ้างประกอบด้วย (1) ชื่อโครงการที่จะจัดซื้อจัดจ้าง (2) วงเงินที่จะจัดซื้อจัดจ้าง (3) ระยะเวลาที่คาดว่าจัดซื้อจัดจ้าง (4) รายการอื่นกรมบัญชีกลางกำหนด เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้นำไปประกาศเผยแพร่ในระบบเครือข่ายของกรมบัญชีกลาง และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผยในสถานที่ปิดประกาศของหน่วยงาน

8 การเปลี่ยนแผน ร่างระเบียบใหม่ ข้อ 13
กรณีมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแผนให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานพร้อมเหตุผลที่ขอเปลี่ยน เสนอหัวหน้าหน่วยงาน เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วให้ดำเนินการตามข้อ 12

9 3. การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ
(พ.ร.บ.มาตรา 9) คำนึงถึงคุณภาพ เทคนิคและวัตถุประสงค์ของการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุนั้น ห้ามมิให้กำหนดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุให้ใกล้เคียงกับยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งหรือผู้ขายรายใดรายหนึ่งเป็นการเฉพาะ เว้นแต่ พัสดุที่ทำการจัดซื้อจัดจ้างตามวัตถุประสงค์นั้น มียี่ห้อเดียวหรือจะต้องใช้อะไหล่ยี่ห้อใดก็ให้ระบุยี่ห้อนั้นได้

10 การจัดทำร่างขอบเขตของงาน หรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ
(ร่างระเบียบใหม่ ฯ ข้อ 20) 1. กรณีมิใช่งานก่อสร้าง ให้หัวหน้าแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้น มาคณะหนึ่ง หรือมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ หรือบุคคลใด จัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์พิจารณาคัดเลือก 2. กรณีงานก่อสร้าง ให้หัวหน้าหน่วยงานแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคนใดคนหนึ่ง จัดทำแบบรูปรายการก่อสร้าง องค์ประกอบ/ระยะเวลาดำเนินการ/การประชุม/ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าหน่วยงานพิจารณาความเหมาะสม

11 การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ (ตามระเบียบฯพัสดุเดิม)
การกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง การกำหนดคุณสมบัติของผู้เสนอราคาถือให้เป็นดุลยพินิจของหน่วยงาน สามารถกำหนดได้ตามความต้องการ แต่ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง มติครม.ที่เกี่ยวข้อง

12 การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะครุภัณฑ์
มติคณะรัฐมนตรีตามหนังสือ ที่ สร.0403/ว.93 ลงวันที่ 7 พ.ย และ สร. 0203/ว.157 ลงวันที่ 27 มี.ค กำหนดว่าในกรณีที่มีการแข่งขันราคาการกำหนด (spec) ของสิ่งของ/หรือยี่ห้อสิ่งของในงานซื้อ ห้ามล๊อกสเปค คำว่า “ล็อกสเปค” หมายความว่า 1. กำหนดคุณลักษณะสิ่งของให้ใกล้เคียงกับยี่ห้องใดยี่ห้อหนึ่ง 2. หรือระบุยี่ห้อสิ่งของที่จะซื้อเจาะจง เว้นแต่มีข้อยกเว้นไว้ เช่น ยารักษาโรค เครื่องอะไหล่ เป็นต้น * “ต้องไม่มีผลเป็นการกีดกัน” หรือไม่เปิดโอกาสให้มีการ แข่งขันราคา อย่างเป็นธรรม (ระเบียบฯ 15 ทวิ) การซื้อรถประจำตำแหน่ง รถราชการ รถรับรอง ต้องปฏิบัติตามระเบียบฯ ว่าด้วยรถราชการ พ.ศ.2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 12 คือ ห้ามซื้อเกินขนาดเครื่อง และราคาที่สำนักงบฯ กำหนด และห้ามนำเงินนอกงบประมาณสมทบเพื่อซื้อรถยนต์ที่ขนาดเครื่องเกิน หรือราคาเกินที่กำหนด (บังคับทั้งระเบียบเดิมและพ.ร.บ.ใหม่)

13 งานจ้างก่อสร้างมีข้อห้ามกำหนด (spec) กีดกันผู้เข้าเสนอราคา ตาม
หนังสือเวียน ที่ นร (กวพ.) 1035/ว.7914 ลงวันที่ 22 ก.ย. 2543 ห้ามกำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคางานก่อสร้างดังนี้ 1. ห้ามกำหนดทุนจดทะเบียน 2. ห้ามกำหนดว่าต้องเป็นผู้ประกอบการที่มีผลกำไร 3. หรือต้องมีเครื่องมือเครื่องจักรอยู่ก่อน หรือขณะเข้าเสนอราคา 4. ต้องมีหนังสือรับรองจากสถาบันการเงิน - มติ ครม. ที่ นร.0202/ว.1 ลงวันที่ 3 ม.ค ให้กำหนดผลงานก่อสร้างไม่เกิน 50% ของวงเงินงบประมาณหรือวงเงินประมานการ - ให้กำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาตามตัวอย่าง ที่ กวพ. กำหนดเท่านั้น จะกำหนดตัดสิทธิ์ผู้รับจ้างไว้ล่วงหน้าไม่ได้

14 -- ห้ามกำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะ ซึ่งอาจมีผลกีดกันไม่ให้ผู้ผลิตหรือผู้ขายพัสดุที่ผลิตในประเทศไทย หรือกิจการของคนไทยสามารถเข้าแข่งขันราคาได้ (ระเบียบฯ ข้อ 16(1)) -- ถ้าพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างมีประกาศกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพแล้ว หรือ มีผู้ได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว ให้กำหนดรายละเอียด หรือ คุณลักษณะเฉพาะตามมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือตามที่ระบุไว้ในคู่มือผู้ซื้อ (ระเบียบฯข้อ 16(2)(3)) -- ถ้ามีความจำเป็นต้องกำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะให้เป็นอย่างอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือคู่มือผู้ซื้อให้มีหนังสือแจ้งสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หากมีการตรวจรับ หรือไม่ทักท้วงภายใน 10 วันทำการนับแต่วันที่ได้แจ้งให้ดำเนินการได้ (ระเบียบฯ ข้อ 16(3) ข้อ 17(1.3))

15 ถ้ามีความจำเป็นต้องซื้อพัสดุที่ผลิตจากต่างประเทศจะต้องดำเนินการ อย่างไร
มติ ครม. 29 พ.ค แจ้งเวียนที่ นร. 0505/ว.83 ลงวันที่ 30 พ.ค. 2550 1. ถ้าไม่มีพัสดุที่มีผลิตในประเทศ ก็ให้หน่วยงานจัดหาตามหลักเกณฑ์ปกติ 2. ถ้ามีพัสดุนั้นผลิตในประเทศแล้ว แต่ไม่พอต่อความต้องการ/น้อยราย/ มีความจำเป็นต้องใช้พัสดุต่างประเทศ/ซื้อจากต่างประเทศมีประโยชน์กว่าให้เสนอ รมต. พิจารณา ยกเว้นวงเงินไม่สูงให้เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการอนุมัติได้ 2 กรณี (1) การจัดหาอะไหล่ ซึ่งมีความจำเป็นต้องระบุยี่ห้อ คุณลักษณะเฉพาะ (2) จัดหาครั้งหนึ่งวงเงินไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือพัสดุที่นำเข้ามีราคาหน่วยละไม่เกิน 2 ล้านบาท

16 4. ราคากลาง 1.ราคาที่ได้มาจากคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่
(พ.ร.บ.มาตรา 4) 1.ราคาที่ได้มาจากคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่ คณะกรรมการราคากลางกำหนด 3.ราคามาตรฐาน 2.ราคาอ้างอิง 4.สืบราคาจากท้องตลาด 5.ราคาที่เคยซื้อหรือจ้าง 6.วิธีอื่นใด 2 = กรมบัญชีกลางกำหนด = สนง.งปม. หรือหน่วยงานกลางกำหนด ให้ประกาศรายละเอียดข้อมูลราคากลางและการคำนวณราคากลางในระบบ e-GP (พ.ร.บ.ม.63)

17 ราคากลางในการจัดซื้อจัดจ้าง (ตามระเบียบฯพัสดุเดิม) (1) งานจ้างก่อสร้าง ทุกวิธี/ทุกวงเงินต้องแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลางท้องถิ่น ก่อนการจัดทำรายงานขอจ้างทุกครั้ง (มติ ครม. 13 มีค.55) (2) งานซื้อ งานจ้างเหมาบริการจะต้องมีราคากลางเช่นกัน แต่ไม่มีระเบียบให้กำหนดแต่งตั้ง คกก. ในการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้ง 2 กรณี หากวงเงินในการจัดหาเกิน 1 แสนบาท จะต้องปฎิบัติตามแนวทางที่คณะกรรมการ ปปช. กำหนดด้วย คือ การเปิดเผยรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง การจัดทำราคากลาง

18 การกำหนดราคากลางงานซื้อจ้างให้ปฎิบัติตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค 0421
การกำหนดราคากลางงานซื้อจ้างให้ปฎิบัติตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค /ว.111 ลว.17 ก.ย.56 ดังนี้ 1. ครุภัณฑ์ ให้ใช้ราคามาตรฐานที่ สน.งป. กำหนด ไม่มีใช้ราคาที่ เคยซื้อหลังสุดภายในระยะเวลา 2 ปี หรือ ราคาตลาด 2. ยาในบัญชีหลักและยานอกบัญชียาหลัก ให้ใช้ ราคากลางตาม ประกาศของคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ไม่มีใช้ราคาที่ เคยซื้อหลังสุดภายในระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ ไม่มีใช้ราคท้องตลาด 3. เวชภัณฑ์ไม่ใช่ยา ให้ใช้ราคามาตรฐานที่ สธ. จัดทำขึ้น ไม่มีใช้ราคาที่ เคยซื้อหลังสุดภายในระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ ไม่มีให้ใช้ราคท้องตลาด 4. งานจ้างให้ใช้ราคาที่เคยจ้างหลังสุดในระยะ 2 ปี หรือราคาตลาด 5. จ้างก่อสร้างใช้ราคากลางท้องถิ่น

19 ตารางแสดงวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและราคากลาง(ราคาอ้างอิง)
ในการจัดซื้อจัดจ้างที่มิใช่งานก่อสร้าง 111 1.ชื่อโครงการ /หน่วยงานเจ้าของโครงการ 2.วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร 3.วันที่กำหนดราคากลาง(ราคาอ้างอิง) บาท เป็นเงิน บาท ราคา/หน่วย(ถ้ามี) บาท 4.แหล่งที่มาของราคากลาง (ราคาอ้างอิง)) 5.รายชื่อเจ้าหน้าที่ผู้กำหนดราคากลาง (ราคาอ้างอิง)ทุกคน * หากเป็นเรื่องจ้างก่อสร้างให้ไปใช้ตารางของจ้างก่อสร้าง

20 5. การจัดทำรายงานขอซื้อขอจ้าง
ร่างระเบียบใหม่ ข้อ 23 ให้เจ้าหน้าที่ จัดทำรายงานขอซื้อขอจ้าง เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐโดยเสนอผ่านหัวหน้า เจ้าหน้าที่ ตามรายการดังต่อไปนี้ 1. เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อต้องจ้าง 2. ขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุหรือแบบรูปรายการงานก่อสร้าง 3. ราคากลาง 4. วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ/หรือวงเงินประมาณการ 5. กำหนดเวลาที่ใช้พัสดุหรือให้งานนั้นเสร็จ 6. วิธีซื้อ/จ้าง และเหตุผลที่ต้องใช้วิธีนั้น 7. หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก (ถ้ามี) 8. ข้อเสนออื่น ๆ เช่น การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการ

21 รายงานขอซื้อขอจ้าง ตามระเบียบฯพัสดุเดิม
ก่อนดำเนินการจัดซื้อหรือจ้างทุกวิธี เจ้าหน้าที่พัสดุ จัดทำรายงานขอชื้อขอจ้างมีรายละเอียด ดังนี้ เสนอหัวหน้าส่วนราชการเห็นชอบ (ข้อ ๒๗) (1) เหตุผลความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง (2) รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อจะจ้าง (spec) (3) ราคากลาง (4) วงเงินที่จะซื้อหรือจะจ้าง (5) เวลาที่ต้องการใช้พัสดุ (6) วิธีซื้อหรือจ้าง (7) ข้อเสนออื่นๆ เช่น คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ

22 6. วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป
(พ.ร.บ.มาตรา 55) วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป เชิญชวนให้ผู้ประกอบการทั่วไป ที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดเข้ายื่นข้อเสนอ เชิญชวนเฉพาะผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่า ๓ ราย ให้เข้ายื่นข้อเสนอ เว้นแต่ มีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามกำหนดน้อยกว่า ๓ ราย วิธีคัดเลือก หน่วยงานภาครัฐเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดรายใดรายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอหรือให้เข้ามาเจรจาต่อรองราคากับหน่วยงานของรัฐโดยตรง วิธีเฉพาะ เจาะจง

23 วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง
ให้เลือกใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปก่อน เว้นแต่จะเข้าเงื่อนไขวิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจง (พ.ร.บ.ม.56) หลักการ หน่วยงานขอรัฐในต่างประเทศจะใช้วิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจงโดยไม่ใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปก่อนก็ได้ (พ.ร.บ.ม.56 วรรค 3) ยกเว้น

24 วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป (ร่างระเบียบใหม่ ข้อ 30)
กระทำได้ 3 วิธี ดังนี้ 1. วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ 2. วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ 3. วิธีสอบราคา

25 วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง
๑. ใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปแล้ว ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ หรือข้อเสนอไม่ได้รับการคัดเลือก ๒. พัสดุที่มีคุณลักษณะเฉพาะเป็นพิเศษ หรือซับซ้อน หรือต้องผลิต ก่อสร้างหรือให้บริการโดยผู้ประกอบการที่มีฝีมือโดยเฉพาะ หรือมีความชำนาญเป็นพิเศษ หรือมีทักษะสูงและผู้ประกอบการมีจำนวนจำกัด ๓. มีความจำเป็นเร่งด่วน อันเนื่องมาจากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดหมายได้ ๔. ลักษณะของการใช้งานหรือมีข้อจำกัดทางเทคนิคที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ วิธีคัดเลือก ๕. ต้องซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ หรือดำเนินการโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ ๖. ใช้ในราชการลับ หรือเป็นงานที่ต้องปกปิดเป็นความลับของทางราชการหรือเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ ๗. งานจ้างซ่อมพัสดุที่จำเป็นถอดตรวจให้ทราบความชำรุดเสียหายเสียก่อน จึงจะประมาณค่าซ่อมได้ ๘. กรณีอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง

26 วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง
๑. ใช้ทั้งวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปและวิธีคัดเลือก หรือใช้วิธีคัดเลือกแล้ว แต่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ หรือข้อเสนอไม่ได้รับการคัดเลือก ๒. การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่การผลิต จำหน่าย หรือให้บริการทั่วไป และมีวงเงินในการจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่งไม่เกินวงเงินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ๔. มีความจำเป็นต้องใช้พัสดุโดยฉุกเฉินเนื่องจากอุบัติภัยหรือธรรมชาติพิบัติภัยและการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกอาจก่อให้เกิดความล่าช้าและอาจทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง ๓. มีผู้ประกอบการที่มีคุมสมบัติโดยตรงเพียงรายเดียวหรือผู้ประกอบการซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายหรือตัวแทนผู้ให้บริการโดยชอบด้วยกฎหมายเพียงรายเดียวในประเทศและไม่มีพัสดุอื่นที่จะใช้ทดแทนได้ วิธีเฉพาะเจาะจง ๖. เป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาด โดยหน่วยงานของรัฐ องค์การระหว่างประเทศหรือหน่วยงานของต่างประเทศ ๕. เป็นพัสดุที่เกี่ยวพันกับพัสดุที่ได้จัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมโดยมูลค่าของพัสดุที่จัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมจะต้องไม่สูงกว่าพัสดุที่ได้จัดซื้อจัดจ้างไว้ก่อนแล้ว ๗. ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ๘. กรณีอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง

27 จะจัดซื้อจัดจ้างวิธีใด (ร่างระเบียบใหม่)
1. วิธีเฉพาะเจาะจง กรณีมีวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างไม่เกิน 5 แสนบาท หรือเข้าเงื่อนไขอื่น ๆ (ม. 56 (2)) 2. วิธีคัดเลือก กรณีเข้าเงื่อนไข (ม. 56 (1)) 3. วิธีสอบราคา กรณีวงเงินเกิน 5 แสนบาท แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท และพื้นที่ดังกล่าวมีข้อจำกัดในการใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ต หรือผู้ประกอบการยังไม่สามารถเสนอราคาด้วยระบบอินเตอร์เน็ตได้ (ระบุเหตุผลให้ชัดเจนในรายงานขอซื้อ/จ้าง) 4. วิธี e – market วงเงินเกิน 5 แสนบาท สินค้าไม่ซับซ้อนตามที่ กรมบัญชีกลางกำหนด 5. วิธี e- bidding วงเงินเกิน 5 แสนบาท สินค้าซับซ้อน มีเทคนิคเฉพาะ

28 จะจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีใด (ตามระเบียบพัสดุเดิม)
การพิจารณาดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ตรวจสอบแผนการดำเนินการจัดหาว่ามีรายการใดที่จะต้องจัดซื้อ หรือ จัดจ้าง และจะต้องจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีการใด ซึ่งวิธีการซื้อหรือการจ้าง มี 5 วิธีดังนี้ 1. วิธีตกลงราคา วงเงินไม่เกิน 5 แสนบาท 2. วิธี e-Market วงเงินเกิน 2 ล้าน(สินค้าไม่ซับซ้อน) 3. วิธี e-Bidding วงเงินเกิน 2 ล้าน(สินค้าซับซ้อน) 4. ซื้อโดยวิธีพิเศษ จ้างโดยวิธีพิเศษ วิธีกรณีพิเศษ ไม่กำหนดวงเงิน – แต่มีเงื่อนไข (ระเบียบฯพัสดุ + ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี หนังสือ กวพ.ว299 และ ว145 ,ว135) วงเงินเกิน 5 แสนบาทขึ้นไป - แต่มีเงื่อนไข

29 ห้ามแบ่งซื้อแบ่งจ้าง (ร่างระเบียบใหม่ ข้อ 21)
การแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างโดยลดวงเงินที่ตะซื้อหรือจ้างในครั้งเดียวกัน เพื่อให้วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง หรืออำนาจในการสั่งซื้อสั่งจ้างเปลี่ยนแปลงไป กระทำไม่ได้

30 ห้ามแบ่งซื้อแบ่งจ้าง (ตามระเบียบพัสดุ เดิม)
หลัก ระเบียบฯ ข้อ 22 วรรค 2 “การแบ่งซื้อ หรือแบ่งจ้าง โดยลดวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ในครั้งเดียวกัน เพื่อให้วงเงินต่ำกว่าที่กำหนดโดย วิธีหนึ่ง วิธีใด หรือเพื่อให้อำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างเปลี่ยนไปกระทำไม่ได้” คำว่า” “ครั้งเดียวกัน คือ การจัดหาพัสดุที่สมควรซื้อหรือจ้างในคราวเดียวกัน คำว่า “พัสดุที่สมควรซื้อหรือจ้างในครั้งเดียว” คือ 1. หน่วยงานที่จัดหาได้รับอนุมัติจัดสรรงบประมาณในครั้งเดียวกันแหล่งเงินเดียวกัน 2. พัสดุประเภทเดียวกัน แยกวัสดุกับคุรุภัณฑ์ (ตามการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณของสำนักงบประมาณ หรือลักษณะงานประเภทเดียวกัน) 3. เมื่อพิจารณาตาม 2 แล้ว พัสดุประเภทเดียวกัน มีความต้องการใช้พัสดุในเวลาเดียวกัน ควรซื้อครั้งเดียวกัน (มติ กวพ. มิ.ย. 2531) * กรณีก่อสร้างหากได้รับจัดสรรเงินงบประมาณค่าก่อสร้างโดยจำแนกเป็นรายอาคารถือว่าเงินงบประมาณก่อสร้างของแต่ละอาคารแยกออกจากัน จึงแยกจัดจ้างได้ (หลัก กวพ.)

31 กรณีดังต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง
1.เมื่อได้จัดหาพัสดุโดยชอบแล้ว แต่เหลือพัสดุบางรายการยังไม่มีผู้เสนอ ราคาได้ ส่วนราชการสามารถจัดหาพัสดุตามรายการและวิธีการตามวงเงิน ที่เหลือได้ 2.การแบ่งวงเงินและการกระจายอำนาจในการจัดหาไปให้หน่วยงาน ย่อยในสังกัดไปจัดหาเอง แต่หากหน่วยงานย่อยนั้นได้รับจัดสรรมาในครั้งเดียวกันหลายรายการจะต้องจัดหาคราวเดียวกัน 3.กรณีก่อสร้าง หากวงเงินค่าก่อสร้างแต่ละรายการแยกกัน การดำเนินการ จัดจ้าง จะจัดจ้างเป็นรายครั้งๆละ อาคารหรือรายการก็ได้ 4.กรณีมีเหตุผลความจำเป็นอื่นที่ไม่อาจจัดหาได้ในครั้งเดียวกัน

32 7.รายละเอียดและขั้นตอนในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในแต่ละวิธี
(พ.ร.บ. ม. 62) 1.การจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการประกาศเชิญชวนทั่วไป ให้หน่วยงานของรัฐ จัดทำประกาศและเอกสารเชิญชวนให้ทราบโดยทั่วไป โดยต้องเผยแพร่ในระบบe-GP และหน่วยงานของรัฐตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ ที่ปิดประกาศของหน่วยงาน ทั้งนี้หลักเกณฑ์ วิธีการ รายละเอียดการจัดทำประกาศ ระยะเวลาประกาศ ให้เป็นไปตาม รมต.กำหนด (พ.ร.บ. ม.62) 2.การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือก และวิธีเฉพาะเจาะจง ให้หน่วยงานของรัฐ จัดทำหนังสือเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเข้ายื่นเสนอ ทั้งนี้ตามระเบียบที่ รมต.กำหนด(พ.ร.บ. ม.62 วรรคท้าย)

33 ขั้นตอนวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e- market) (ตามร่างระเบียบใหม่)
1. เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสารซื้อจ้างพร้อมประกาศตามแบบที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด (ข้อ 35) 2. หน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบรายงานขอซื้อขอจ้างตามข้อ 23 แล้ว ให้เผยแพร่ประกาศเอกสาร จัดซื้อจัดจ้างในระบบกรมบัญชีกลาง และของหน่วยงานของรัฐไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ และให้ปิด ประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ ปิดประกาศของรัฐ (ข้อ 36) 3. ให้กรมบัญชีกลางส่งประกาศและเอกสารซื้อจ้างไปยังผู้ประกอบการที่ได้ลงทะเบียนจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (ข้อ 37) 4. ถึงกำหนดวันเสนอราคาให้ดำเนินการดังนี้ (1) กรณีซื้อจ้างที่มีวงเงินเกิน 5 แสน แต่ไม่เกิน 5 ล้าน ให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาด อิเล็กทรอนิกส์และให้เสนอราคาภายในเวลากำหนด โดยเสนอได้ครั้งเดียว (2) กรณี ซื้อจ้างที่มีวงเงินเกิน 5 ล้าน ให้ผู้ประกอบการเข้าสู้ตลาดโดยต้องลงทะเบียนก่อน เริ่มกระบวนการเสนอราคา ภายใน 15 นาที พร้อมทั้งให้ทำการทดสอบระบบเป็นเวลา 15 นาที และให้เสนอราคาภายใน 30 นาที กี่ครั้งก็ได้ (ข้อ 38)

34 ขั้นตอนวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e- market) (ตามร่างระเบียบใหม่) (ต่อ)
5. เมื่อสิ้นสุดการเสนอราคา ให้เจ้าหน้าที่พิจารณาผู้เสนอราคาต่ำสุดหากเสนอราคารายเดียวให้หน่วยงาน พิจารณารับราคานั้นได้ หากไม่มีผู้เสนอราคา ให้ดำเนินการใหม่ หรือ ใช้วิธีการคัดเลือก หรือ วิธีเฉพาะ เจาะจง (ข้อ 39) 6. กรณีราคาของผู้เสนอราคาต่ำสุด สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อ (1) ต่อรองราคาผ่านระบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (2) หากดำเนินการตาม (1) ไม่ได้ผล ให้แจ้งผู้เสนอราคาที่เสนอราคาถูกต้องทุก รายต่อระบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เสนอราคาพร้อมกัน (3) หากไม่ได้ผล ให้ยกเลิกการซื้อการจ้างครั้งนั้น (ข้อ 40) 7. เมื่อได้ผู้ชนะการเสนอราคาแล้ว ให้เจ้าหน้าที่จัดพิมพ์ใบเสนอราคาและเอกสารการเสนอ ราคาของผู้เสนอราคารายนั้น 1 ชุด และลงลายมือชื่อกำกับไว้และเอกสารทุกแผ่น (ข้อ 41) 8. ให้รายงานผลพิจารณาและความเห็นพร้อมเอกสารทั้งหมดต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐหรือหัวหน้า เจ้าหน้าที่ เพื่อให้ความเห็นชอบ (ข้อ 42) 9. เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้ประกาศผลผู้ชนะในระบบกรมบัญชีกลาง และหน่วยงานของรัฐและปิด ประกาศไว้เปิดเผยที่ปิดประกาศของหน่วยงาน (ข้อ 43)

35 ขั้นตอนวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e- bidding) (ตามร่างระเบียบใหม่)
1. ให้เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสารซื้อ จ้าง พร้อมประกาศเผยแพร่ ตามแบบที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด (ข้อ 44) 2. เมื่อผู้ที่รับผิดชอบจัดทำร่างขอบเขตของงานและรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะตามข้อ 22 ได้ จัดทำ ร่างเสร็จแล้ว อาจจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นว่าขอบเขตของงาน หรือรายละเอียดคุณลักษณะ เฉพาะ จากผู้ประกอบการก่อนดังนี้ (1) กรณีวงเงินเกิน 5 แสน แต่ไม่เกิน 5 ล้าน ให้อยู่ในดุลยพินิจของหน่วยงานของรัฐที่ จะเผยแพร่เพื่อวิจารณ์หรือไม่ก็ได้ (2) กรณีวงเงินเกิน 5 ล้าน ให้หน่วยงานของรัฐ นำร่างเผยแพร่ วิจารณ์ จากผู้ประกอบการ (ข้อ 46)ในระบบกรมบัญชีกลางและของหน่วยงาน เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ (ข้อ 47) 3. กรณีมีวิจารณ์ให้เจ้าหน้าที่ผู้จัดทำร่างขอบเขตของงานและคุณลักษณะเฉพาะพิจารณาว่าควรปรับ ปรุงแก้ไขหรือไม่

36 ขั้นตอนวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e- bidding)(ตามร่างระเบียบใหม่) (ต่อ)
- หากเห็นว่าควรปรับปรุง ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเห็นชอบแล้วเผยแพร่วิจารณ์ใหม่ ไม่น้อยกว่า 3 วันทำการติดต่อกัน - หากเห็นว่าไม่ควรปรับปรุง ให้จัดทำรายงานพร้อมความเห็นเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ เห็นชอบแล้วแจ้งผู้วิจารณ์ทุกรายทราบเป็นหนังสือ 4. เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานขอซื้อจ้างเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐตามข้อ 23 แล้วให้เจ้าหน้าที่ ดำเนินการเผยแพร่ประกาศและเอกสารซื้อหรือจ้าง ในระบบกรมบัญชีกลางและหน่วยงาน ของรัฐ ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยให้หรือขายเอกสารไปพร้อมกัน (ข้อ 49) 5. การเผยแพร่เอกสารเชิญชวนให้คำนึงถึงผู้ประกอบการ จัดเตรียมเอกสารดังนี้ (1) เกิน 5 แสน ไม่เกิน 5 ล้าน ไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ (2) เกิน 5 ล้าน ไม่เกิน 10 ล้าน ไม่น้อยกว่า 10 วันทำการ (3) เกิน 10 ล้าน ไม่เกิน 50 ล้าน ไม่น้อยกว่า 12 วันทำการ (4) เกิน 50 ล้าน ไม่น้อยกว่า 20 วันทำการ (ข้อ 51)

37 ขั้นตอนวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e- bidding)(ตามร่างระเบียบใหม่) (ต่อ)
6. หากหน่วยงานของรัฐได้กำหนดรายละเอียดของประกาศหรือเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีประกวดราคา อิเล็กทรอนิกส์หรือขอบเขตของงาน หรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วนใน สาระสำคัญให้หน่วยงานของรัฐยกเลิกการดำเนินการซื้อหรือจ้างครั้งนั้นแล้ว ดำเนินการใหม่ให้ถูกต้อง (ข้อ 53) 7. เมื่อสิ้นสุดการเสนอราคาให้คณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ดำเนินการดังนี้ (1) จัดพิมพ์ ใบเสนอราคาและเอกสารที่เสนอผ่านระบบ (2) ตรวจสอบผลประโยชน์ร่วมกัน (3) ตรวจสอบคัดเลือกพัสดุ หรือคุณสมบัติจัดเรียงลำดับไว้ไม่เกิน 3 ราย (4) จัดทำรายงานผลการพิจารณา และความเห็น (ข้อ 55) 8. กรณีมีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว หรือถูกต้องเพียงรายเดียวให้เสนอยกเลิก แต่ถ้าคณะกรรมการ พิจารณาผลฯ พิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุผลสมควรไม่ต้องยกเลิกก็ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของ รัฐต่อไป

38 ขั้นตอนวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e- bidding)(ตามร่างระเบียบใหม่) (ต่อ)
กรณีไม่มีผู้เสนอรา หรือเสนอแต่ไม่มีผู้ถูกต้องตามเงื่อนไขให้ยกเลิกแล้วดำเนินการใหม่ หรือหากเห็นว่าการดำเนินการต่อไปไม่ได้ผลดี อาจจะใช้วิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจง (ข้อ 56) 9. การต่อรองราคากรณีเสนอราคาเกินวงเงิน กรณีหน่วยงานเลือกใช้เกณฑ์ราคา (1) ให้แจ้งผู้เสนอราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อจ้างผ่านระบบต่อรองราคาให้ต่ำสุดเท่าที่ จะทำได้ โดยยื่นใบเสนอราคาผ่านระบบ (2) ถ้าดำเนินการตาม (1) ไม่ได้ผล ให้แจ้งผู้เสนอราคาทุกรายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อ จ้าง ผ่านระบบเพื่อให้เสนอราคาใหม่พร้อมกัน โดยยื่นใบเสนอราคาผ่านระบบ (3) ถ้าดำเนินตาม (2) ไม่เป็นผล ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ พิจารณาว่า ควรยกเลิก ขอเงินเพิ่ม 10. การต่อรอง กรณีหน่วยงานของรัฐเลือกใช้เกณฑ์ราคาประกอบกับเกณฑ์คุณภาพ เมื่อปรากฏว่าราคา ของได้คะแนนสูง สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ให้คณะกรรมการแจ้งผู้เสนอรายที่เห็นสมควรซื้อจ้าง ผ่านระบบเพื่อต่อรองให้ต่ำสุด โดยยื่นใบเสนอผ่านระบบ

39 ขั้นตอนวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e- bidding)(ตามร่างระเบียบใหม่) (ต่อ)
หากดำเนินการไม่ได้ผล ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ว่าจะยกเลิก หรือขอเงินเพิ่ม (ข้อ 58) 11. เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบรายงานผลการพิจารณา และผู้มีอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้าง อนุมัติแล้วให้แจ้งผลผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e- Mail) ให้ผู้เสนอราคาทุกรายทราบ และประกาศ ผลในระบบกรมบัญชีกลาง และปิดประกาศเปิดเผยในสถานที่ปิดประกาศ (ข้อ 59)

40 ขั้นตอนวิธีสอบราคา (ตามร่างระเบียบใหม่)
1. ให้เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสารซื้อจ้าง พร้อมประกาศเผยแพร่ตามแบบที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด (ข้อ 61) 2. หน่วยงานอาจนำร่างประกาศและเอกสารไปเผยแพร่ วิจารณ์ ก็ได้ (ข้อ 62) 3. เมื่อหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบรายงานขอซื้อหรือขอจ้างตามข้อ 23 และร่างเอกสารสอบราคา แล้ว ให้เผยแพร่ในระบบกรมบัญชีกลาง และของหน่วยงาน ไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ (ข้อ 63) 4. การยื่นเสนอราคา ให้ผู้เสนอราคา ยื่นซองถึงประธานคณะกรรมการพิจารณาผลสอบราคา พร้อม เอกสาร (ข้อ 68) 5. เมื่อถึงเวลาเปิดซองสอบราคาให้คณะกรรมการดำเนินการดังนี้ (1) เปิดซองใบเสนอราคา ตรวจเอกสารหลักฐานแล้วให้คณะกรรมการเซ็นชื่อกำกับ (2) ตรวจการมีผลประโยชน์ร่วมกัน และเอกสารต่าง ๆ ตามเงื่อนไขในประกาศ (3) พิจารณาผู้เสนอราคาถูกต้อง และเสนอราคาต่ำสุดหรือได้คะแนนสูงสุด ไม่เกิน 3 ราย (ข้อ 69)

41 ขั้นตอนวิธีสอบราคา (ตามร่างระเบียบใหม่)
6. กรณีมีผู้เสนอราคารายเดียว หรือถูกต้องเพียงรายเดียวให้พิจารณายกเลิกการเสนอราคาครั้งนั้น แต่ถ้าคณะกรรมการพิจารณาผลสอบราคามีเหตุผลพอสมควรที่จะดำเนินการต่อไปโดยไม่ยกเลิกก็ได้ กรณีไม่มีผู้เสนอราคาหรือไม่มีผู้เสนอราคาถูกต้อง ให้ยกเลิกการสอบราคา (ข้อ 70) 7. การต่อรองราคา กรณีเสนอราคาสูงกว่าวงเงิน (1) ให้แจ้งผู้เสนอราคาที่คณะกรรมการเห็นควรซื้อ จ้าง แล้วต่อรอง หากสูงกว่าไม่เกินร้อยละ 10 ของวงเงินและเห็นว่าเป็นราคาเหมาะสม ก็เสนอซื้อหรือจ้างต่อไป (2) หากไม่ได้ผลตาม (1) ให้แจ้งผู้เสนอราคาทุกรายที่เห็นสมควร ซื้อ จ้าง เสนอราคาใหม่ พร้อมกันภายในวันเวลาที่กำหนด (3) ถ้าดำเนินการตาม (2) ไม่เป็นผลให้เสนอหัวหน้าสั่งยกเลิกหรือขอเงินเพิ่ม (ข้อ 71) 8. เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบผลการพิจารณาและอนุมัติสั่งซื้อจ้างแล้ว ให้ประกาศ ผู้ชนะในระบบกรมบัญชีกลาง และของหน่วยงานของรัฐ และประกาศโดยเปิดเผย ณ ที่ปิดประกาศ ของหน่วยงาน (ข้อ 72)

42 ขั้นตอนวิธีเฉพาะเจาะจง (ตามร่างระเบียบใหม่)
1. เมื่อเห็นชอบรายงานขอซื้อขอจ้างแล้ว ให้เจ้าหน้าที่แจ้งคณะกรรมการจัดซื้อ/จ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ให้ดำเนินการจัดทำหนังสือเชิญชวนผู้ประกอบการตามแบบที่คณะกรรมการมอบหมายกำหนด 2. การเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดให้เข้ายื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ โดยให้ ดำเนินการดังต่อไปนี้ (ก) กรณีตามมาตรา 56 (2) (ก) ให้สืบราคาจากผู้ประกอบการที่มีอาชีพหรือรับจ้างนั้น โดยตรง และจากผู้ยื่นข้อเสนอในการใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกซึ่งยกเลิกไป (ถ้ามี) (ข) กรณีตามมาตรา 56 (2) (ค) (ง) ให้เชิญผู้ประกอบการที่มีอาชีพขายหรือรับจ้างนั้น โดยตรง มายื่นข้อเสนอ (ค) กรณีตามมาตรา 56 (2) (จ) ให้เจรจากับผู้ประกอบการรายเดิมตามสัญญาหรือข้อตกลง ซึ่งยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาส่งมอบ เพื่อขอให้มีการซื้อหรือจ้างตามรายละเอียด และราคาที่ต่ำกว่าหรือ ราคาเดิม โดยคำนึงถึงราคาต่อหน่วยตามสัญญาเดิม (ถ้ามี) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อหน่วยงาน ของรัฐ (ง) กรณีตามมาตรา 56 (2) (ฉ) ให้ดำเนินการโดยเจรจาตกลงราคา (จ) กรณีตามมาตรา 56 (2) (ช) ให้เชิญเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างโดยตรงมาเสนอ ราคา

43 ขั้นตอนวิธีเฉพาะเจาะจง (ตามร่างระเบียบใหม่) (ต่อ)
3. จัดทำรายงานผลการพิจารณาเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ (ข้อ 78) 4. กรณีตามมาตรา 56 (2) (ข) ให้เจ้าหน้าที่เจรจาตกลงกับผู้ประกอบการที่มีอาชีพขายหรือรับจ้างนั้น โดยตรง แล้วให้ซื้อหรือจ้างภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากหัวน้าหน่วยงานของรัฐ สำหรับกรณีตามวรรคหนึ่ง ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ไม่อาจคาดหมายได้ และดำเนินการตาม ปกติได้ทัน ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานนั้นดำเนินการไปก่อนแล้วรีบรายงาน ขอความเห็นชอบต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ และเมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลม (ข้อ 79) 5. เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบรายงานผลการพิจารณาตามข้อ 78 (3) และผู้มีอำนาจ อนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้างแล้ว ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ประกาศผลผู้ชนะการสอบราคาในระบบเครือข่าย สารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่กรมบัญชีกลาง กำหนดและให้ปิด ประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น (ข้อ 81)

44 ขั้นตอนวิธีคัดเลือก (ตามร่างระเบียบใหม่)
1. เมื่อหัวหน้าหน่วยงานให้ความเห็นชอบรายงานขอซื้อขอจ้างแล้ว ให้เจ้าหน้าที่แจ้งคณะกรรมการซื้อหรือจ้างโดยวิธีคัดเลือก เพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทำหนังสือเชิญชวนผู้ประกอบการตามแบบที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด (2) ให้เชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดให้เข้ายื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐไม่น้อยกว่า 3 ราย เว้นแต่ในงานนั้นมีผู้ประกอบการทีมีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดน้อยกว่า 3 รายให้เข้ายื่นข้อเสนอ ให้คำนึงถึงการไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันของผู้ที่เข้ายื่นข้อเสนอด้วยโดยดำเนินการดังต่อไปนี้

45 ขั้นตอนวิธีคัดเลือก (ตามร่างระเบียบใหม่) (ต่อ)
(ก) กรณีตามมาตรา 56 (1) (ก) ให้เชิญชวนผู้ประกอบการที่มีอาชีพขายหรือรับจ้างพัสดุนั้นโดยตรง และจากผู้ที่ยื่นข้อเสนอในการใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปซึ่งถูกยกเลิกไป (ถ้ามี) (ข) กรณีตามมาตรา 56 (1) (ข) (ค) (ฉ) (ช) (ซ) ให้เชิญชวนผู้ประกอบการที่มีอาชีพขายหรือรับจ้างพัสดุนั้นโดยตรง สำหรับกรณีมาตรา 56 (1) (ช) หากมีผู้ยื่นข้อเสนอตั้งแต่ 2 รายขึ้นไปให้พิจารณาจากผู้ที่เสนอเทคนิคที่ดีที่สุด (ค) กรณีตามมาตรา 56 (1) (ง) ให้เชิญชวนผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายพัสดุนั้น (ง) กรณีตามมาตรา 56 (1) (จ) ให้ติดต่อซื้อหรือจ้างจากต่างประเทศโดยตรงหรือขอความร่วมมือจากสถานเอกอัครราชทูตหรือหน่วยงานขอรัฐในต่างประเทศช่วยติดต่อ สืบราคา คุณภาพ รายละเอียด ส่วนการซื้อโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศให้ติดต่อกับสำนักงานขององค์การระหว่างประเทศที่มีอยู่ในประเทศโดยตรง เว้นแต่กรณีที่ไม่มีสำนักงานในประเทศ ให้ติดต่อกับสำนักงานในต่างประเทศได้

46 ขั้นตอนวิธีคัดเลือก (ตามร่างระเบียบใหม่) (ต่อ)
(3) เมื่อถึงกำหนดวัน เวลาในการยื่นข้อเสนอ ให้รับซองข้อเสนอของผู้ประกอบการพร้อมจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มายื่นข้อเสนอ เมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นซองข้อเสนอ ห้ามรับเอกสารหลักฐานต่าง ๆ และพัสดุตัวอย่าง ตามเงื่อนไขที่กำหนดในหนังสือเชิญชวนเพิ่มเติมจากผู้ยื่นข้อเสนอ เว้นแต่ กรณีการซื้อหรือจ้างใดมีรายละเอียดที่มีความจำเป็นโดยสภาพของการซื้อหรือจ้างที่จะต้องให้ผู้ยื่นข้อเสนอนำตัวอย่างพัสดุมาแสดงเพื่อทดลองหรือทดสอบหรือนำเสนองานหรือเอกสารหรือรายละเอียดที่กำหนดให้จัดส่งภายหลังจากวันยื่นข้อเสนอ (4) เมื่อกำหนดวัน เวลาในการเปิดซองข้อเสนอ ให้เปิดซองข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอทุกราย พร้อมจัดทำบัญชีรายการเอกสารหลักฐานต่างๆ ของผู้ยื่นข้อเสนอ และให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคาและเอกสารประกอบเสนอราคาทุกแผ่น (5) ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ ในเสนอราคา และเอกสารหลักฐานต่างๆ แล้วคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสือเชิญชวน

47 ขั้นตอนวิธีคัดเลือก (ตามร่างระเบียบใหม่) (ต่อ)
(6) พิจารณาคัดเลือกพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างของผู้ยื่นข้อเสนอ ที่ถูกต้องตาม (5) ที่มีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐ แล้วให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้ยื่นข้อเสนอรายที่คัดเลือกไว้ ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด หรือผู้ทีได้คะแนนรวมสูงสุด แล้วแต่กรณีตามเกณฑ์การพิจารณาผลที่หน่วยงานของรัฐกำหนดไว้ในหนังสือเชิญชวน ในกรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอรายที่คัดเลือกไว้ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด หรือผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุดไม่ยอมเข้าทำสัญญาหรือข้อตกลงกับหน่วยงานของรัฐในเวลาที่กำหนด ให้คณะกรรมการพิจารณาผู้ที่เสนอราคาต่ำรายถัดไป หรือผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงในลำดับถัดไป ในกรณีที่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอหรือข้อเสนอนั้นไม่ได้รับการคัดเลือก ให้เสนอความเห็นต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจว่าสมควรยกเลิกการซื้อหรือจ้างเพื่อดำเนินการใหม่หรือจะสั่งให้ดำเนินการโดยวิธีเฉพะเจาะจงตามมาตรา 56 (2) (ก) ก็ได้ (7) จัดทำรายงานผลการพิจารณาเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ (ข้อ 74)

48 ขั้นตอนวิธีคัดเลือก (ตามร่างระเบียบใหม่) (ต่อ)
2. กรณีมีผู้ยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียวหรือมีผู้ยื่นข้อเสนอหลายรายแต่ผ่านการคัดเลือกเพียงรายเดียว หากมีคุณสมบัติตรงเงื่อนไขที่กำหนดในหนังสือเชิญชวน ก็ให้คณะกรรมการต่อรองราคากับผู้ยื่นข้อเสนอรายนั้น แล้วเสนอความเห็นต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐต่อไป (ข้อ 75) 3. การต่อรองราคา หากปรากฏว่าราคาของผู้ที่ชนะการซื้อหรือจ้างหรือที่ได้รับการคัดเลือกยังสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ให้คณะกรรมการดำเนินการดังนี้ (1) ให้ต่อรองราคากับผู้ยื่นเสนอราคารายนั้นให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากผู้ที่ยื่นข้อเสนอรายนั้นยอมลดราคา ราคาที่เสนอใหม่ไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง หรือสูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง หรือต่อรองแล้วไม่ยอมลดราคาอีก แต่ส่วนที่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างนั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสม ก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างผู้ที่ยื่นข้อเสนอรายนั้น

49 ขั้นตอนวิธีคัดเลือก (ตามร่างระเบียบใหม่) (ต่อ)
(2) ถ้าดำเนินการตาม (1) แล้วไม่ได้ผล ให้แจ้งผู้ที่เสนอราคาทุกรายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้าง เพื่อเสนอราคาใหม่พร้อมกันโดยยื่นใบเสนอราคา ภายในกำหนดระยะเวลาอันสมควร หากรายใดไม่ยื่นใบเสนอราคา ให้ถือว่ารายนั้นยืนราคาตามที่เสนอไว้เดิม หากผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดในการเสนอราคาครั้งนี้เสนอราคาไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง หรือสูงกว่าแต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อนละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสม ก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้ที่เสนอราคารายนั้น (3) ถ้าดำเนินการตาม (2) แล้วไม่ได้ผล ให้เสนอความเห็นต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจว่าจะสมควรลดรายการ ลดจำนวน หรือลดเนื้องานหรือขอเงินเพิ่มเติมที่ไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้ที่เสนอราคา หรือยกเลิกการซื้อหรือจ้างเพื่อดำเนินการใหม่หรือจะสั่งให้ดำเนินการโดยวิธีเฉพาะเจาะจงตามมาตรา 56 (2) (ก) ก็ได้ (ข้อ 76) 4. เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบรายงานผลการพิจารณาตามข้อ 74 (7) และผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้างแล้ว ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ประกาศผลผู้ชนะการสอบราคาในระบบเครือข่ายของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนดและให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น (ข้อ 77)

50 8. ผู้รับผิดชอบการจัดซื้อจัดจ้าง
(พ.ร.บ.มาตรา 61) ** ให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้รับผิดชอบการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งกระทำโดย คกก. หรือ จนท. คนใดคนหนึ่งก็ได้ ** องค์ประกอบ องค์ประชุม ซึ่งกระทำโดย คกก. และ จนท. ผู้รับผิดชอบจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามระเบียบที่ รมต.คลังกำหนด ** ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบให้เป็นไปตามระเบียบที่

51 คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง (ร่างระเบียบใหม่ ข้อ 26)
1. คณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ 2. คณะกรรมการพิจารณาผลการสอบราคา 3. คณะกรรมการซื้อหรือจ้างโดยวิธีคัดเลือก 4. คณะกรรมการซื้อจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง 5. คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ

52 องค์ประกอบคณะกรรมการ (ร่างระเบียบใหม่ ข้อ 27)
1. ประธานกรรมการ 1 คน ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ พนักงานมหาลัย พนักงานของรัฐ หรือ 2. กรรมการอย่างน้อย 2 คน พนักงานของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่น

53 ข้อคำนึงในการแต่งตั้ง
1. คำนึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นสำคัญ 2. กรณีจำเป็นจะแต่งตั้งบุคคลอื่นร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้แต่กรรมการบุคคล อื่นต้องไม่มากกว่ากรรมการที่แต่งตั้งตามองค์ประกอบ 3. ควรแต่งตั้งผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เข้าร่วมด้วย

54 องค์ประชุมคณะกรรมการ (ร่างระเบียบใหม่ ข้อ 28)
1. ต้องมีคณะกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง 2. ให้ประธานและกรรมการแต่ละคนมี 1 เสียง 3. ประธานต้องอยู่ด้วยทุกครั้ง 4. มติให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเท่ากันให้ประธานออกเพิ่มขึ้นอีก 1 เสียงชี้ขาด 5. คณะกรรมการตรวจรับพัสดุให้ถือมติเอกฉันท์ 6. คณะกรรมการคนใดไม่เห็นด้วย ให้ทำความเห็นแย้ง

55 บุคลากรที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง(ตามระเบียบพัสดุเดิม)
แบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้ (1) ผู้มีอำนาจ 1. อำนาจในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้รับมอบอำนาจ 2. อำนาจในการอนุมัติคำสั่งซื้อสั่งจ้าง ผู้ว่า,อธิบดี,ปลัดฯ,รมต. (ขึ้นอยู่กับวงเงิน) (2) ผู้มีหน้าที่ 1. เจ้าหน้าที่พัสดุ ตำแหน่งหน้าที่ , ได้รับแต่งตั้ง ข้าราชการ/พ.ราชการ/พ.มหาลัย/ ลูกจ้างประจำ/ลูกจ้างชั่วคราว 2. หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ตำแหน่งหน้าที่ , ได้รับแต่งตั้ง ข้าราชการ/พ.มหาลัย 3. คณะกรรมการต่างๆ ประธาน+กรรมการอย่างน้อย (เว้นแต่อีอ๊อกชั่น ) ข้าราชการ/พ.ราชการ/พ.มหาลัย/พนักงานของรัฐ/ ลูกจ้างประจำ (ว.417 ลว.22 ตค.53) 4. ผู้ควบคุมงาน(กรณีจ้างก่อสร้าง)

56 ข้อคำนึงในการแต่งตั้ง คกก.
1. ควรคำนึงถึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ได้รับการแต่งตั้ง 2. กรณีจำเป็น เพื่อประโยชน์ราชการ จะแต่งตั้งบุคคลอื่นร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้ ไม่เกิน 2 คน 3. ควรแต่งตั้งผู้ชำนาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ เกี่ยวกับพัสดุนั้น เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย ข้อห้ามในการแต่งตั้ง คกก. 1. ห้ามแต่งตั้งผู้ที่เป็นกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา เป็นกรรมการพิจารณา ผลประกวดราคา 2. ห้ามแต่งตั้งผู้เป็นกรรมการเปิดซองสอบราคา เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ 3. ห้ามแต่งตั้งผู้เป็นกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ (ระเบียบ ฯ ข้อ 35)

57 9. เกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอ
(พ.ร.บ.มาตรา 65) ต้นทุนของพัสดุนั้นตลอดอายุการใช้งาน วิธีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้า บริการ และงานก่อสร้าง ให้ใช้เกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่นที่กำหนดโดยหน่วยงานของรัฐจะเลือกใช้เกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งหรือหลายเกณฑ์ก็ได้ แล้วพิจารณาคัดเลือกผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุดเช่น ผลการประเมินผู้ประกอบการ มาตรฐานของสินค้าหรือบริการ เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน บริการหลังการขาย * ให้ รมต.ออกระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ * ให้หน่วยงานของรัฐประกาศเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกและน้ำหนักของแต่ละเกณฑ์ไว้ในประกาศเชิญชวน หรือหนังสือเชิญชวนแล้วแต่กรณี

58 เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก (ร่างระเบียบใหม่ ข้อ 83)
การพิจารณาคัดเลือกด้วยวิธีประกาศเชิญชวน หรือวิธีคัดเลือกให้พิจารณาถึงประโยชน์ของรัฐและวัตถุประสงค์การใช้งาน เป็นสำคัญดังนี้ (1) การซื้อ/จ้าง ที่มีคุณลักษณะเฉพาะเป็นมาตรฐาน คุณภาพดี เพียงพอความต้องการใช้งานและเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานแล้ว ให้ใช้เกณฑ์ราคา (2) การซื้อ/จ้างที่มีความซับซ้อน มีเทคโนโลยีสูง หรือมีเทคนิคเฉพาะ จำเป็นต้องเลือกพัสดุมีคุณภาพดีตามความต้องการใช้งานให้ใช้เกณฑ์ราคาประกอบคุณภาพ (Price Performance) ซึ่งได้คะแนนสูงสุด (3) การซื้อ/จ้าง ที่มีการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะที่จะต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีของพัสดุหรือคุณสมบัติของผู้เสนอราคาซึ่งอาจมีข้อเสนอที่อยู่ในฐานะเดียวกัน เป็นเหตุให้มีปัญหาในการพิจารณา ให้กำหนดเป็นเงื่อนไข ให้มีการยื่นข้อเสนอด้านเทคนิค หรือข้อเสนออื่นแยกมาต่างหาก แล้วคัดเลือกผู้ที่เสนอถูกต้องผ่านเกณฑ์ ตาม (1) (2) ต่อไป

59 10. ผู้มีอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างพัสดุ
** จะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดและภายในวงเงินเท่าใดให้เป็นไปตามระเบียบ ที่ รมต.คลัง กำหนด (ม.15) 11. การประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้าง ** ให้ประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและหน่วยงาน ของรัฐตามวิธีที่กรมบัญชีกลางกำหนด (ม.66 วรรคแรก)

60 ผู้มีอำนาจสั่งซื้อ/จ้าง (ร่างระเบียบใหม่ ข้อ 84 , 85 , 86)
1. วิธีประกาศเชิญชวน หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ไม่เกิน 200 ล้าน ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไป เกิน 200 ล้าน 2. วิธีการคัดเลือก หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ไม่เกิน 100 ล้าน ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไป เกิน 100 ล้าน 3. วิธีเฉพาะเจาะจง หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ไม่เกิน 50 ล้าน ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไป เกิน 50 ล้าน

61 12. การลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง
(พ.ร.บ.มาตรา ๖0) (ร่างระเบียบฯ ข้อ 162) 1. จะกระทำได้ต่อเมื่อ ล่วงพ้นระยะเวลาอุทธรณ์และไม่มีผู้ใดอุทธรณ์ เว้นแต่จัดซื้อจัดจ้างที่มีความจำเป็นเร่งด่วนตาม ม.56(1)(ค) หรือ การจัดซื้อจัดจ้างวิธีเฉพาะเจาะจงการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเล็กน้อยตามกฎกระทรวง 2. การลงนามในสัญญา เป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ

62 13. การยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างก่อนลงนามในสัญญาทำได้เมื่อ
(พ.ร.บ.มาตรา 67) ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณที่จะใช้ในการจัดซื้อจัดจ้าง หรือ เงินงบประมาณ ที่ได้รับไม่เพียงพอ ผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้รับคัดเลือก มีผลประโยชน์ขัดกัน หรือมีส่วนได้เสียกับผู้เสนอ ราคารายอื่น หรือขัดขวางการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม หรือสมยอมในการ เสนอราคา หรือทุจริตในการเสนอราคา ทั้งนี้ตามระเบียบที่ รมต.คลังกำหนด หากทำการจัดซื้อจัดจ้างต่อไป จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ หรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ 4. กรณีทำนองเดียวกันที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ** การยกเลิกเป็นเอกสิทธิของรัฐ ผู้เสนอราคาจะเรียกร้องค่าเสียหายไม่ได้ ** ให้แจ้งผลยกเลิกให้ผู้ได้รับเอกสารทุกราย

63 14. การจัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือ
(พ.ร.บ.มาตรา 96) 1. การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือก ตาม ม.56 (1)(ค) หรือ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง ตาม ม.56 (2)(ข)(ง) (ฉ) หรือการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีเจาะจง ตาม ม. 70 (3) (ข) 2. การจัดซื้อจัดจ้างจากหน่วยงานของรัฐ 3.กรณีที่คู่สัญญาสามารถส่งมอบพัสดุได้ครบถ้วนภายใน 5 วันทำการนับถัดจากวันทำ ข้อตกลงเป็นหนังสือ 4. การเช่าที่ผู้เช่าไม่ต้องเสียเงินอื่นใดนอกจากการเช่า 5. การอื่นที่ คกก.นโยบาย ประกาศกำหนด ในราชกิจจาฯ การจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเล็กน้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จะไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือก็ได้ แต่ ต้องมีหลักฐานการจัดซื้อจัดจ้าง

64 15. การจัดทำสัญญา (พ.ร.บ.มาตรา 93)
1.ทำตามแบบที่ คกก.นโยบายกำหนดโดยความเห็นชอบของ สนง.อัยการสูงสุด 2.ถ้าจำเป็นต้องมีข้อความแตกต่างไปจาก 1.ต้องไม่ทำให้หน่วยงานของรัฐเสียเปรียบ 3.กรณีจำเป็นต้องร่างสัญญาขึ้นมาใหม่ต้องส่งให้ สนง.อัยการสูงสุดให้ความเห็นชอบก่อน 4.การทำสัญญาตามแบบที่ สนง.อัยการสูงสุดให้ความเห็นชอบมาแล้วให้ทำได้ ถ้าหน่วยงานไม่ทำตาม 1-4 ให้ส่งสัญญานั้นให้ สนง.อัยการสูงสุดเห็นชอบภายหลังได้ กรณีนี้หาก สนง.อัยการสูงสุดเห็นชอบหรือให้แก้ไขและได้แก้ไขตามนั้นถือว่าสัญญาสมบูรณ์ แต่ถ้าคู่สัญญาไม่ยอมแก้ไขหากข้อความนั้นเป็นส่วนที่สาระสำคัญหรือผิดพลาดร้ายแรงให้ถือว่าสัญญาโมฆะ

65 การจัดทำข้อตกลงหรือสัญญา(ตามระเบียบเดิม)
การทำสัญญาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ (1) ทำสัญญาตามตัวอย่างที่ กวพ. กำหนด  หรือทำตามตัวอย่างสัญญาที่ระเบียบอนุญาตให้ทำได้ (ข้อ 132) (2) ทำข้อตกลงเป็นหนังสือ (ใบสั่งซื้อสั่งจ้าง) ถือเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญและรายละเอียดน้อยกว่าตัวอย่างสัญญาของ กวพ. กำหนด โดยการทำข้อตกลงเป็นหนังสือไม่มีการวางหลักประกันเหมือนกับการทำสัญญา ซึ่งการทำข้อตกลงเป็นหนังสือเป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการที่จะอนุมัติให้ทำได้ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ระเบียบฯ กำหนด  (ข้อ 133) (3) ทำสัญญาโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ เป็นกรณีการซื้อการจ้าง ซึ่งมีราคาไม่เกิน 10,000 บาทหรือการซื้อการจ้าง ซึ่งใช้วิธีการดำเนินการโดยวิธีตกลงราคา ตามข้อ 39 วรรคสอง (จำเป็นเร่งด่วน) (ข้อ 133 วรรคท้าย) ต้องมีหลักฐานประกอบการเบิก (ระเบียบการเบิกจ่ายฯ ข้อ 24(1) กรณีวงเงินตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป ให้จัดทำใบสั่งซื้อสั่งจ้าง)

66 ทำเป็นข้อตกลงเป็นหนังสือ(ตามระเบียบเดิม) (ใบสั่งซื้อสั่งจ้าง) (ระเบียบฯ ข้อ 133)
หลัก - เป็นดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการที่จะไม่ทำเป็นสัญญาตามข้อ 132 และให้ทำได้ในกรณี ดังนี้ (1) ซื้อ/จ้าง/แลกเปลี่ยน โดยวิธีตกลงราคา/จ้างที่ปรึกษาวงเงินไม่เกิน 1 แสน (2) คู่สัญญาส่งของได้ครบถ้วนภายใน 5 วันทำการนับจากทำข้อตกลง (3) การซื้อ/จ้าง โดยวิธีกรณีพิเศษ และการจัดหาจากส่วนราชการ (4) การซื้อ/จ้าง โดยวิธีพิเศษ ตามข้อ 23, 24 (1) – (5) (5) การเช่าที่ไม่ต้องเสียเงินอื่นใดนอกจากค่าเช่า (ยกเว้นการเช่ารถยนต์มาใช้ในราชการ ต้องทำสัญญาเช่าตามที่ กวพ. กำหนด)

67 เงื่อนไขสำคัญในใบสั่งซื้อสั่งจ้าง
วัน เดือน ปี ที่ทำใบสั่งซื้อสั่งจ้าง รายละเอียดของงานซื้องานจ้าง กำหนด วัน เดือน ปี ส่งมอบ กำหนดสถานที่ส่งมอบ ระยะเวลาประกัน ค่าปรับ ผู้มีอำนาจลงนามผูกพัน (ถ้าซื้อ/จ้างโดยวิธีตกลงราคาหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุสามารถลงนามสั่งซื้อสั่งจ้างได้ แต่ถ้าซื้อ/จ้างโดยวิธีอื่นแม้ทำใบสั่งซื้อสั่งจ้างต้องให้หัวหน้าส่วนราชการ/ผู้รับมอบอำนาจ)

68 การทำเป็นสัญญา(ตามระเบียบเดิม)
สามารถดำเนินการได้เป็น 3 ลักษณะ คือ    (1) ทำตามตัวอย่างสัญญาที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) กำหนดท้ายระเบียบฯ   (2) ทำสัญญาที่มีข้อความหรือรายการที่แตกต่างจากตัวอย่างสัญญาที่ กวพ. กำหนดโดยมีสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในตัวอย่างสัญญา และไม่ทำให้ทางราชการเสียเปรียบ   (3) ทำสัญญาโดยการยกร่างสัญญาขึ้นใหม่ ต้องให้สำนักอัยการสูงสุดพิจารณาก่อน เว้นแต่ หัวหน้าส่วนราชการเห็นควรทำตามแบบที่เคยผ่านการตรวจร่างของสำนักอัยการสูงสุดมาแล้ว (4) ผู้มีอำนาจลงนามในสัญญา คือ หัวหน้าส่วนราชการ/ผู้รับมอบอำนาจ

69 16. การไขสัญญาหรือข้อตกลง (พ.ร.บ.มาตรา 97)
หลัก แก้ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้.ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาให้แก้ไขได้ 1.แก้ไขตาม ม.93 วรรค 5 คือ สนง.อัยการสูงสุดเห็นชอบให้แก้ไข 2.มีความจำเป็นต้องแก้ไข หากการแก้ไขนั้นไม่ทำให้หน่วยงานเสียประโยชน์ 3.การแก้ไขเพื่อประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐหรือประโยชน์สาธารณะ 4.กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หากมีการเพิ่มลดวงเงินหรือเพิ่มลดระยะเวลาส่งมอบหรือทำงานให้ตกลงไปพร้อม การแก้ไขที่มีการเพิ่มวงเงิน เมื่อรวมวงเงินตามสัญญาหรือข้อตกลงเดิมทำให้ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้างเปลี่ยนแปลงไปจะต้องให้ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้างตามวงเงินรวมเห็นชอบแก้ไขด้วย

70 การไขสัญญาหรือข้อตกลง (ร่างระเบียบใหม่ข้อ 166)
1. ต้องอยู่ภายในขอบข่ายแห่งวัตถุประสงค์เดิมของสัญญาหรือข้อตกลง 2. ต้องพิจารณาเปรียบเทียบคุณภาพของพัสดุหรือรายละเอียด รวมทั้งราคา หรืองานก่อนการแก้ไข 3. เกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรงจะต้องได้รับความยินยอมจากวิศวกร สถาปนิก 4. ผู้มีอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้าง อนุมัติให้แก้ไขแล้ว ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ลงนามในสัญญาหรือข้อตกลงแก้ไข

71 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลง/สัญญา (ตามระเบียบเดิม)(ข้อ 136)
  1) สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือที่ได้ลงนามแล้ว จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้ เว้นแต่ การแก้ไขนั้นจะเป็นความจําเป็น โดยไม่ทําให้ทางราชการต้องเสียประโยชน์หรือเป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ให้อยู่ในอํานาจของหัวหน้าส่วนราชการที่จะพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้ามีการเพิ่มวงเงิน จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือขอทําความตกลงในส่วนที่ใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือ แล้วแต่กรณี   2)  หากมีความจําเป็นต้องเพิ่มหรือลดวงเงิน หรือเพิ่มหรือลดระยะเวลาส่งมอบของหรือระยะเวลาในการทํางาน ให้ตกลงพร้อมกันไป   3) การจัดหาที่เกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรงหรืองานเทคนิคเฉพาะอย่าง จะต้องได้รับการรับรองจากวิศวกร สถาปนิกและวิศวกรผู้ชํานาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรับผิดชอบหรือสามารถรับรอง คุณลักษณะเฉพาะ แบบและรายการของงานก่อสร้างหรืองานเทคนิคเฉพาะอย่างนั้น แล้วแต่กรณีด้วย  

72 4) ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา  คณะกรรมการตรวจการจ้างหรือคณะกรรมการตรวจรับพัสดุจะต้องเป็นผู้เสนอความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา เพื่อประกอบการพิจารณาของหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้มีอํานาจในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาในแต่ละครั้งด้วย     5) ในการดําเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาในช่วงเวลาใดก็ได้ แม้จะล่วงเลยกําหนดระยะเวลาแล้วเสร็จตามสัญญาก็ตาม แต่อย่างช้าจะต้องดําเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงก่อนที่คณะกรรมการตรวจการจ้างได้ทําการตรวจงานจ้างนั้นไว้ใช้ 6) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงต้องอยู่ในวัตถุประสงค์ของข้อตกลง/สัญญา 7) กรณีงบผูกพัน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของรูปแบบ รายการที่สำนักงบประมาณเห็นชอบไว้แล้ว ต้องขอความเห็นชอบจากหัวหน้าส่วนราชการของงบประมาณ หรือ ผู้รับมอบอำนาจก่อน(ว.78)

73 17. ผู้รับผิดชอบการบริหารสัญญาและตรวจรับพัสดุ (พ.ร.บ.มาตรา 100)
1. ให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง คกก.ตรวจรับพัสดุ เพื่อรับผิดชอบการบริหารสัญญาหรือ ข้อตกลงและการตรวจรับพัสดุ 2. องค์ประกอบ องประชุม และหน้าที่ของ คกก.ตรวจรับพัสดุ ให้เป็นไปตาม ระเบียบที่ รมต.กำหนด 3. กรณีวงเงินเล็กน้อยตามที่กฎกระทรวงกำหนด จะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใด เป็นผู้ตรวจรับพัสดุก็ได้ มีหน้าที่เดียวกับ คกก.ตรวจรับพัสดุ

74 การบริหารข้อตกลงหรือสัญญา (ตามระเบียบเดิม)
1) ภายหลังจากที่มีการลงนามในตกลง/สัญญา และข้อตกลงหรือสัญญามีผลบังคับใช้แล้วให้หัวหน้าส่วนราชการ คกก.ตรวจรับ/คกก.ตรวจการจ้าง/เจ้าหน้าที่พัสดุ เป็นผู้มีอํานาจในการบริหารสัญญาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการ (หน.ด่วนที่สุด ที่ กค(กวพ.)0408.4/28519 ลว.12 ตค.48) 2) ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุรับผิดชอบการกํากับและติดตามการดําเนินงานให้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุประสานงานกับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือคณะกรรมการตรวจการจ้างและผู้ควบคุมงานในพื้นที่ เพื่อให้การดําเนินการเป็นไปตามสัญญาด้วย (คู่มือแนวทางปฏิบัติของสำนักงานจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ)

75 วิธีส่งมอบพัสดุ 1. สัญญาซื้อขาย ผู้ขายต้องนำสิ่งของมาส่งมอบ ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยหลักให้ถือวันดังกล่าวเป็นวันที่ส่งมอบและผู้ขายจะต้องมีหนังสือยืนยันการส่งมอบมาด้วย ถ้าไม่มีให้เจ้าหน้าที่พัสดุหรือคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ แจ้งผู้ขายทำหลักฐานยืนยันการส่งมอบให้ชัดเจน (ที่ กค (กวพ)0208.4/28514 ลว.12 ตค.48) 2. สัญญาจ้างเหมาบริการ เช่น จ้างรักษาความสะอาด , จ้างรักษาความปลอดภัย ผู้ว่าจ้างจะจ่ายค่าจ้างในแต่ละเดือน เมื่อผู้ว่าจ้างได้ตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว โดยผู้รับจ้างต้องมีหนังสือส่งมอบมาด้วย(หนังสือรายงานการปฏิบัติงานแต่ละเดือน หรือหนังสือขอรับเงินค่าจ้าง) ถ้าไม่มีให้เจ้าหน้าที่พัสดุ หรือ คกก. แจ้งผู้รับจ้างจัดทำให้ชัดเจน 3. สัญญาจ้างก่อสร้าง ผู้รับจ้างจะต้องทำหนังสือส่งมอบงานให้กับส่วนราชการผู้ว่าจ้าง ประธานกรรมการตรวจการจ้าง ช่างคุมงาน ทั้งนี้ผู้รับจะต้องนำลงในระบบสารบัญทันที หากลงไม่ได้ให้ลงไม่เกินวันทำการถัดไป และโดยหลักให้ถือวันดังกล่าวเป็นวันส่งมอบ เว้นแต่ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น เช่น ช่างคุมงาน , คกก.ไม่ลงรับ (ที่ นร.1305/ว.4155 ลว.11 กค.44)

76 4. สัญญาจะซื้อจะขายแบบราคาคงที่ไม่จำกัดปริมาณ ผู้จะขายต้องนำสิ่งของ
ตามสัญญามาส่งมอบ ตามปริมาณ สถานที่ที่กำหนด ไว้ในใบสั่งซื้อ โดยหลักให้ถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันส่งมอบ โดยผู้จะขายต้องมีหนังสือการส่งมอบมาด้วย ถ้าไม่มี เจ้าหน้าที่พัสดุจะต้องจัดให้ผู้จะขายดำเนินการจัดทำหนังสือยืนยันการส่งมอบ 5. สัญญาเช่า การตรวจรับทรัพย์สินที่เช่า ผู้ให้เช่าจะต้องนำทรัพย์สินที่เช่ามาส่งมอบตามสัญญาพร้อมหนังสือยืนยันการส่งมอบ ส่วนการตรวจรับรายเดือนนั้น ผู้ให้เช่าต้องส่งใบแจ้งหนี้ ** เมื่อลงรับหนังสือส่งมอบงานแล้ว กรณีซื้อให้ส่งมอบพัสดุพร้อมเอกสารให้ คกก.ตรวจรับ กรณีจ้างก่อสร้างให้ส่งมอบหนังสือส่งมอบงานให้ช่างคุมงานต่อไป

77 วิธีการตรวจรับพัสดุ (เหมือนกับ ระเบียบฯ ปี 60)
การมีความเห็นของ คกก. ให้มีความเห็นในรูป “มติของคณะกรรมการ” และมีการประชุมปรึกษาของคณะกรรมการ 2. องค์ประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมพร้อมกันไม่น้อย กว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด และต้องมีประธานกรรมการ ประธานและกรรมการแต่ละคนมีหนึ่งเสียง มติคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าเสียงเท่ากันให้ประธานออก เสียงเพิ่มอีก 1 เสียงเป็นเสียงชี้ขาด เว้นแต่คณะกรรมการตรวจรับ และคณะกรรมการตรวจการจ้างให้ถือมติเอกฉันท์ 4. กรรมการคนใดไม่เห็นด้วยกับมติให้ทำบันทึกความเห็นแย้งไว้ (ระเบียบฯ ข้อ 36)

78 หน้าที่ของ คกก.ตรวจรับ (เหมือนกับ ระเบียบฯ ปี 60 ข้อ 176, 177)
1) ตรวจรับพัสดุให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ สำหรับกรณีที่มีการทดลอง หรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์ จะเชิญผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้นมาให้คำปรึกษา หรือส่งพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้นๆ ก็ได้ 2) เมื่อตรวจถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้รับพัสดุไว้และถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ได้ส่งมอบพัสดุถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้ขายนำพัสดุนั้นมาส่ง หรือวันที่ผู้รับจ้างได้มีหนังสือส่งมอบ พร้อมกับทำใบตรวจรับโดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย 2 ฉบับ มอบแก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ 1 ฉบับ เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินจากคลังและรายงานให้หัวหน้าส่วนราชการทราบ (ระเบียบฯ ข้อ 71,72) 3) ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้มีหนังสือแจ้งผู้ขาย/ผู้รับจ้าง ภายใน 3 วันทำการ เพื่อให้นำพัสดุกลับคืนไป และส่งมอบใหม่ให้ถูกต้อง

79 กรณีส่งมอบพัสดุถูกต้อง แต่ไม่ครบจำนวน หรือส่งมอบครบจำนวน
แต่ไม่ถูกต้องทั้งหมดถ้าสัญญาหรือข้อตกลงไมได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ตรวจรับส่วนที่ถูกต้องได้ กรณีส่งมอบของเป็นชุด ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่อาจใช้การได้สมบูรณ์ ให้ถือว่ายังขาดส่งมอบทั้งชุด(ระเบียบฯ ข้อ 71) ส่งมอบของไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนตามสัญญาแต่ส่วนราชการ ต้องการรับสิ่งของนั้น จะต้องพิจารณาเรื่องแก้ไขสัญญาตามระเบียบฯ ข้อ 136 ก่อนการตรวจรับ

80 ระยะเวลาในการตรวจรับพัสดุ ให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุดำเนินการตรวจรับในวันที่คู่สัญญานำพัสดุมาส่งมอบ และให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด แต่อย่างช้าไม่เกิน 5 วันทำการ นับแต่วันที่คู่สัญญานำพัสดุมาส่งมอบ ทั้งนี้ระยะเวลาดังกล่าวไม่รวมถึงระยะเวลาในการตรวจทดลอง หรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์ (ที่ นร 1305/ว.5855 ลว.11 กค.44) กรณีที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าวข้างต้นให้รายงานหัวหน้าส่วนราชการพร้อมเหตุผลความจำเป็นพร้อมสำเนาแจ้งให้คู่สัญญาทราบด้วย(ที่ นร 1305/ว.5855 ลว.11 กค.44)

81 ระยะเวลาการตรวจการจ้างก่อสร้าง
   กำหนดระยะเวลาในการดําเนินการของช่างคุมงานและ คกก.ตรวจการจ้างไม่ว่างานมีมูลค่าเท่าใดจะกำหนดระยะเวลาเดียวกันหมด คือ      - ตรวจรายงวด ช่างคุมงาน วันทำการนับถัดจากรับมอบหนังสือ และ คกก.  3 วันทําการนับถัดจากช่างคุมงานดำเนินการเสร็จและรายงาน คกก.    - ตรวจครั้งสุดท้าย ช่างคุมงาน 3 วั นทำการนับถัดจากรับมอบหนังสือ และ คกก. 5  วันทําการนับถัดจากช่างคุมงานดำเนินการเสร็จและรายงาน คกก. - ซึ่งหากดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าวไม่ได้ ให้รายงานหัวหน้าส่วนราชการพร้อมเหตุผลความจำเป็นพร้อมสำเนาแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบ (ที่ นร 1305/ว 5155 ลว.11 กค.44)

82 การส่งมอบเกินกำหนดระยะเวลา หากครบกำหนดระยะเวลาแล้ว ผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่ส่งมอบพัสดุให้ส่วนราชการรีบแจ้งการเรียกค่าปรับตามสัญญา และเมื่อผู้ขายส่งมอบพัสดุให้ส่วนราชการบอกสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับขณะที่รับมอบพัสดุ การตรวจรับให้ดำเนินการเช่นเดียวกับกรณีส่งมอบภายในเวลาตามสัญญา แต่การส่งมอบเกินกำหนดเวลาจะทำให้มีค่าปรับเกิดขึ้น (ระเบียบฯ ข้อ 71,72 , ข้อ 134)

83 การคำนวณค่าปรับตามข้อตกลง/สัญญาซื้อขาย เมื่อส่งมอบเกินกำหนดเวลา
การคำนวณค่าปรับตามข้อตกลง/สัญญาซื้อขาย เมื่อส่งมอบเกินกำหนดเวลา ให้คิดค่าปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ…(0.2)… ของราคาส่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ นับตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อถูกต้องครบถ้วน ตัวอย่าง สัญญาซื้อขายเครื่องปรับอากาศ ขนาด 30,000 BTU จำนวน 5 ตัว ราคาตัวละ 20,000 บาท รวมเป็นเงิน 100,000 บาท สัญญาครบกำหนดวันที่ 10 มกราคม 2558 อัตราค่าปรับตามสัญญาอัตราร้อยละ 0.2 ของสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ 1.ถ้าผู้ขายส่งมอบและติดตั้งถูกต้องวันที่ 15 มกราคม 2558 คิดคำนวณค่าปรับ 5 วันของราคาเครื่องปรับอากาศตามสัญญา = 100,000 x 0.2% x 5 = ค่าปรับเป็นเงิน 1,000 บาท 2.ถ้าผู้ขายส่งมอบและติดตั้งครั้งแรกจำนวน 3 ตัว วันที่ 15 มกราคม 2558 คิดคำนวณค่าปรับ 5 วันของราคาเครื่องปรับอากาศ 5 ตัวที่ยังไม่ได้รับมอบ ณ วันส่งมอบ = 100,000 x 0.2% x 5 = ค่าปรับเป็นเงิน 1,000 บาท ส่งมอบและติดตั้งครั้งที่ 2 จำนวน 2 ตัว วันที่ 20 มกราคม คิดคำนวณค่าปรับครั้งที่ 2 จำนวน 5 วัน(นับถัดจากวันที่ส่งมอบครั้งแรก)ของราคาเครื่องปรับอากาศ 2 ตัวที่ยังไม่ได้รับมอบ = 40,000 x 0.2% x 10 = ค่าปรับเป็นเงิน 400 บาท

84 การคิดคำนวณค่าปรับตามสัญญาจ้างก่อสร้าง เมื่อส่งมอบเกินเวลา
การคิดคำนวณค่าปรับให้คิดเป็นรายวันเป็นจำนวนเงินตายตัวในอัตราร้อยละ 0.01 – (ดุลยพินิจของหัวหน้าส่วนราชการ) ที่กำหนดไว้ในสัญญา นับแต่วันถัดจากวันสุดท้ายของสัญญาจนถึงวันที่ส่งมอบถูกต้องครบถ้วนหรือวันบอกเลิกสัญญาหักด้วยจำนวนวันระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจรับ (จำนวนวันที่เกินกำหนดสัญญาคูณด้วยอัตราค่าปรับรายวัน) กรณีสัญญากำหนดให้ส่งมอบงานเป็นงวดๆ เลยกำหนดเวลาตามสัญญาแล้วยังส่งมอบงานเป็นงวดอยู่ให้คิดค่าปรับและหักชดใช้ค่าปรับทุกงวดที่มีการส่งมอบงาน เช่น งวดที่ 1 อัตราค่าปรับต่อวัน x จำนวนวันนับถัดจากวันครบกำหนดสัญญาถึงวันส่งมอบงานงวดที่ 1 งวดที่ 2 อัตราค่าปรับต่อวัน x จำนวนวันนับถัดจากวันส่งมอบงานงวดที่ 1 ถึงวันส่งมอบงานงวดที่ 2

85 การคิดคำนวณค่าปรับตามสัญญาจะซื้อจะขายแบบราคาคงที่ไม่จำกัดปริมาณ “ต้องชำระค่าปรับเป็นรายวัน 0.2 % ของราคาส่งของที่ยังไม่รับมอบ นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดส่งมอบตามใบสั่งซื้อ จนถึง วันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อถูกต้องครบถ้วน หรือ จนถึงวันที่ผู้ซื้อได้สั่งซื้อสิ่งของตามใบสั่งซื้อนั้นจากบุคคลอื่น กรณีนี้ผู้จะซื้อจะขาย จะต้องรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญา” 85 85

86 1. กรณีซื้อขาย ชำรุดเสียหายอันเกิดจากการใช้งานปกติ
การรับประกันความชำรุดบกพร่อง 1. ซื้อขาย ประกันชำรุดบกพร่อง 1 ปี นับตั้งแต่ส่งมอบถูกต้องครบถ้วน 2. จ้างก่อสร้าง ประกันชำรุดบกพร่อง 2 ปีนับตั้งแต่ส่งมอบงานครั้งสุดท้าย เหตุชำรุดบกพร่อง คือ 1. กรณีซื้อขาย ชำรุดเสียหายอันเกิดจากการใช้งานปกติ เกิดขัดข้องในการใช้งานปกติ สิ่งของไม่อยู่ในสภาพหรือคุณภาพที่จะใช้งานได้ปกติ 2. กรณีจ้างก่อสร้าง ใช้วัสดุไม่ถูกต้อง ทำไว้ไม่เรียบร้อย ทำไว้ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานแห่งหลักวิธี

87 3. ถ้าผู้รับจ้าง/ผู้ขายไม่เข้าแก้ไขภายในกำหนดให้ส่วนราชการซ่อมแซมเอง/
เมื่อพบเหตุชำรุดบกพร่องต้องดำเนินการอย่างไร (ระเบียบฯ ข้อ 186) 1. สำรวจความชำรุดบกพร่องว่ามีอะไรบ้าง 2. ให้หน่วยงานมีหนังสือแจ้งไปยังคู่สัญญาให้เข้ามาซ่อมแซมในทันที (หนังสือไปรษณีย์ตอบรับ) และให้แจ้งผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) ให้ทราบด้วย 3. ถ้าผู้รับจ้าง/ผู้ขายไม่เข้าแก้ไขภายในกำหนดให้ส่วนราชการซ่อมแซมเอง/ จ้างบุคลภายนอกตามระเบียบพัสดุ โดยเรียกค่าจ้างจากผู้รับจ้าง/ผู้ขาย หรือส่วนราชการจัดหางบประมาณมา แต่จะนำเงินหลักประกันไปใช้จัดหา ไม่ได้เพราะต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน(หนังสือที่กค.0๔0๖.๓/๓๒0๑๕ลว.๑ธค๕๑) 4. ไม่เข้าซ่อมแซมสั่งเป็นผู้ทิ้งงานต่อไป

88 (ระเบียบฯ กำหนด เช่นเดียวกับ ข้อ 37 , 73 ของระเบียบพัสดุ 2535)
18. ผู้ควบคุมงาน (พ.ร.บ.มาตรา 101) ** งานจ้างก่อสร้าง ที่มีขั้นตอนการดำเนินการเป็นระยะ อันจำเป็น ต้องมีผู้ควบคุมงานอย่างใกล้ชิด หรือมีเงื่อนไขการจ่ายเงินตามงวดงาน ให้มีผู้ควบคุมงานซึ่งแต่งตั้งโดยผู้มีอำนาจ ** การแต่งตั้ง คุณสมบัติ และหน้าที่ของผู้ควบคุมงาน ให้เป็นไป ตามระเบียบที่ รมต.คลังกำหนด (ระเบียบฯ กำหนด เช่นเดียวกับ ข้อ 37 , 73 ของระเบียบพัสดุ 2535)

89 การแจ้งเรียกค่าปรับ (ตามร่างระเบียบใหม่ ข้อ 182)
ครบกำหนดส่งมอบในสัญญาหรือข้อตกลงแล้ว และมีค่าปรับเกิดขึ้นให้หน่วยงานของรัฐแจ้งเรียกค่าปรับตามสัญญาหรือข้อตกลง ภายใน 7 วันทำการ นับถัดจากวันครบกำหนดส่งมอบและเมื่อส่งมอบให้แจ้งสงวนสิทธิ์ค่าปรับในขณะรับมอบพัสดุ

90 19. การงดหรือลดค่าปรับหรือขยายเวลาตามสัญญาหรือข้อตกลง (พ. ร. บ
19. การงดหรือลดค่าปรับหรือขยายเวลาตามสัญญาหรือข้อตกลง (พ.ร.บ.มาตรา 102) (เหมือนกับ ระเบียบ ฯ ข้อ 183 ) ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาได้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง เฉพาะกรณีดังนี้ 1.เหตุเกิดจากความผิดหรือบกพร่องของหน่วยงานของรัฐ 2.เหตุสุดวิสัย 3.เหตุเกิดจากพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย 4.เหตุอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง หลักเกณฑ์ วิธีขอ งด ลด หรือขยายเวลา ให้เป็นไปตามระเบียบ ที่ รมต. กำหนด

91 การลด งดค่าปรับ หรือการขยายเวลาตามข้อตกลง/สัญญา(ตามระเบียบเดิม)
การลด งดค่าปรับ หรือการขยายเวลาตามข้อตกลง/สัญญา(ตามระเบียบเดิม)    การงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา หรือการขยายเวลาทําการตามสัญญาหรือข้อตกลง อยู่ในอํานาจของหัวหน้าส่วนราชการที่จะพิจารณาได้ตามจํานวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้  (1) เหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของส่วนราชการ  (2) เหตุสุดวิสัย     (3) เหตุเกิดจากพฤติการณ์ณาอันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตาม กฎหมาย”  (ข้อ 139) เงื่อนไขพิจารณา 1. ต้องส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติตามสัญญา 2. ต้องไม่ใช้ความผิดของผู้ขายหรือผู้รับจ้าง 3. เหตุตาม ข้อ (2) และ (3) ต้องมีหนังสือแจ้งภายใน 15 วันนับแต่เหตุ สิ้นสุด

92 20. เหตุบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง (พ.ร.บ.มาตรา 103)
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะบอกเลิกได้ในเหตุดังต่อไปนี้ 1. เหตุตามที่กฎหมายกำหนด 2. เหตุอันเชื่อได้ว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบหรือทำงานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด 3. เหตุอื่นตามที่กำหนดไว้ใน พรบ.นี้ หรือในสัญญาหรือข้อตกลง 4. เหตุอื่นตามระเบียบที่ รมต.กำหนด การตกลงเลิกสัญญาหรือข้อตกลงจะทำได้เมื่อ เป็นประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐโดยตรงหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเป็นการแก้ไขข้อเสียเปรียบของหน่วยงานของรัฐ

93 เหตุบอกเลิกสัญญาตามระเบียบ ฯ กำหนด (ร่างระเบียบใหม่ ข้อ 184)
กรณีค่าปรับเกินร้อยละ 10 ของวงเงินตามสัญญาให้บอกเลิกสัญญา เว้นแต่ คู่สัญญายินยอมเสียค่าปรับโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น ให้หัวหน้าผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จำเป็น

94 การบอกเลิกข้อตกลง/สัญญา (ตามระเบียบเดิม)
   1) หัวหน้าส่วนราชการสามารถพิจารณาใช้สิทธิบอกเลิกข้อตกลง/สัญญา ในกรณีที่มีเหตุอันเชื่อได้ว่าผู้รับจ้างไม่สามารถทํางานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดหรือผู้ขายไม่ส่งมอบของภายในกำหนด(ข้อ 137)    2) ในกรณีที่คู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลง/สัญญาและจะต้องมีการปรับตามสัญญานั้น หากจํานวนเงินค่าปรับจะเกินร้อยละ 10 ของวงเงินค่าจ้างหรือค่าพัสดุตามสัญญา  ให้ส่วนราชการพิจารณาดําเนินการบอกเลิกข้อตกลง/สัญญา เว้นแต่คู่สัญญาจะได้ยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ทางราชการ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกข้อตกลง/สัญญาได้เท่าที่จําเป็น   (ข้อ 138)

95 ผลของการบอกเลิกข้อตกลง/สัญญา
(1) ถ้าส่วนราชการคู่สัญญา มีหนังสือแสดงเจตนาใช้สิทธิบอกเลิกข้อตกลง/สัญญาไปยังผู้ขายหรือผู้รับจ้างแล้ว ย่อมมีผลให้สัญญาสิ้นสุดทันที และไม่อาจถอนการบอกเลิกข้อตกลง/สัญญาได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386) แนวทางปฏิบัติ (แนวคำวินิจฉัย กวพ.) - คู่สัญญาที่เป็นผู้ขาย/ผู้รับจ้าง จะขอผ่อนปรนการปฏิบัติตามสัญญาอีกไม่ได้ และให้เสนอเป็นผู้ทิ้งงานต่อไป - หากส่วนราชการประสงค์จะซื้อ/จ้างรายเดิม ต้องดำเนินการจัดหาใหม่และแก้ไขข้อตกลง/สัญญาก็ไม่ได้ (2) มติ กวพ. การใช้สิทธิบอกเลิกข้อตกลง/สัญญา หากมีงานที่รับไว้และใช้ประโยชน์ในราชการได้ตามข้อตกลง/สัญญาแล้ว ผู้ว่าจ้างจะต้องชดใช้ราคาให้แก่ผู้รับจ้าง โดยจะต้องหักค่าปรับและค่าเสียหายอื่นๆ (ถ้ามี) ออกก่อน

96 มติ กวพ.ครั้งที่ 47/พย./52 ได้วางหลักในการพิจารณาสิทธิภายหลังบอกเลิกสัญญาแล้วไว้ ดังนี้
1. ริบหลักประกันสัญญา หรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ค้ำประกัน (กรณีหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร) 2. กรณีมีค่าปรับให้เรียกร้องจากคู่สัญญาให้ชำระค่าปรับโดยคิดค่าปรับตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดสัญญาจนถึงวันบอกเลิกสัญญา หักด้วยจำนวนวันที่ส่วนราชการใช้ไปในการตรวจรับ 3. หากต้องซื้อ/จ้างใหม่ และมีราคาเพิ่มขึ้นจากวงเงินตามสัญญาเดิม เรียกให้ชดใช้ราคาส่วนที่เพิ่มขึ้นด้วย 4. ค่าเสียหายอื่นๆ (ถ้ามี) ได้แก่ ค่าขาดรายได้/ขาดประโยชน์ * ทั้งนี้ ให้นำค่าเสียหายข้างต้นทั้งหมดมาหักจากเงินประกันสัญญา ถ้าเหลือให้คืนคู่สัญญา แต่หากค่าเสียหายท่วมจำนวนหลักประกัน ไม่ต้องคืนหลักประกันสัญญาและให้เรียกร้องเพิ่มจนครบ

97 การเรียกร้องค่าเสียหายจากหลักประกันสัญญา
ส่วนราชการอาจเรียกร้องให้ชำระหนี้ตามสัญญาจากหลักประกันสัญญาในกรณี ดังนี้ (1) ริบหลักประกัน เมื่อผู้ขายหรือผู้รับจ้างผิดสัญญาและส่วนราชการได้บอกเลิกสัญญาแล้ว (2) กรณีผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่ชำระค่าปรับ ส่วนราชการอาจเรียกให้ชำระค่าปรับจากหลักประกันแทนได้ แต่ไม่เกินวงเงินที่กำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกัน (3) กรณีสิ่งของตามสัญญาซื้อขายหรืองานจ้างเกิดชำรุดบกพร่องภายในเวลากำหนดไว้ในสัญญาและผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่แก้ไขซ่อมแซมผู้ค้ำประกันอาจต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายภายในวงเงินที่ทางราชการเสียหายแต่ไม่เกินวงเงินที่กำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกัน

98 วิธีการเรียกร้อง (1) ส่วนราชการมีหนังสือแจ้งผู้ขายหรือผู้รับจ้างให้ชำระหนี้ภายในกำหนด (2) ผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่ชำระหนี้ภายในกำหนด - กรณีวางหลักประกันเป็นเงินสด ส่วนราชการริบหรือหักชดใช้หนี้ได้ - กรณีวางหลักประกันเป็นเช็คธนาคาร หรือหนังสือค้ำประกันธนาคารให้มีหนังสือแจ้งไปยังธนาคารภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างผิดนัด โดยต้องแจ้งไปด้วยว่า ผู้ขายหรือผู้รับจ้างผิดนัดชำระหนี้ จึงขอริบหรือหักเงินชดใช้หนี้ กรณีค้ำประกันเป็นเช็คธนาคาร หรือขอให้ส่งเงินตามสัญญาหลักประกันหรือตามจำนวนที่กำหนดแล้วแต่กรณี

99 - กรณีนำพันธบัตรมาเป็นหลักประกันให้มีหนังสือแจ้งไปยังผู้ให้หลักประกันภายใน 60 วัน นับแต่ลูกหนี้ผิดนัด เพื่อให้ชำระหนี้ภายในกำหนด หากไม่ปฏิบัติตามจะนำพันธบัตรไปขายทอดตลาดหรือขายในตลาดซื้อขายตราสารหนี้ แล้วมีเงินเหลือให้คืนแก่ผู้ให้หลักประกัน หากชำระไม่พอให้เรียกในส่วนที่ยังขาดอยู่ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 20) พ.ศ มาตรา 686 บัญญัติให้เรียกร้องผู้ค้ำประกันภายใน 60 วัน นับแต่ลูกหนี้ผิดนัด)

100 ขอขอบพระคุณครับ


ดาวน์โหลด ppt เปรียบเทียบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google