งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวทางปฏิบัติงานของบุคลากร ที่ทำหน้าที่งบประมาณ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวทางปฏิบัติงานของบุคลากร ที่ทำหน้าที่งบประมาณ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวทางปฏิบัติงานของบุคลากร ที่ทำหน้าที่งบประมาณ

2 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยพ. ศ
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยพ.ศ.๒๕๔๐ (ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๐) กำหนดให้ มจร. เป็นนิติบุคคลที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาลที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ มจร.จัดโครงสร้างและระบบบริหารที่ยึดหลักการกระจายอำนาจที่มีลักษณะของการปกครองตนเอง (Self Governance) โดยให้การตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการ สิ้นสุดในระดับองค์กรบริหารสูงสุดคือสภามหาวิทยาลัยให้มากที่สุด (Autonomy) เพื่อให้มีความคล่องตัว ประหยัด และมีประสิทธิภาพ ด้วยโครงสร้างองค์กร (Organizational Structure) ที่มี ส่วนกลางและวิทยาเขต บริหารงานโดยมีอธิการบดีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด

3 การบริหารงาน มหาวิทยาลัยมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานตามมาตรา ๑๒ – ๑๖ โดยอธิการบดีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดตามมาตรา ๒๗ และเพื่อให้การบริหารงานของมหาวิทยาลัยบรรลุวัตถุประสงค์ ตามมาตรา ๖ ให้การศึกษา วิจัย ส่งเสริม และให้บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุ สามเณรและคฤหัสถ์ รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อธิการบดีมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบ ให้รองอธิการบดีและหรือผู้ช่วยอธิการบดี บริหารงานตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด โดย มจร.ที่ตั้งอยู่ที่ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย พระนครศรีอยุธยา เป็นหน่วยงานที่กำกับติดตามการบริหารงานของวิทยาเขต และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ สรุปเสนอคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มหาวิทยาลัยดำเนินการจัดระเบียบการบริหารงานให้ชัดเจนและเหมาะสม พ.ร.บ.ได้กำหนดวิธีการไว้ใน บทเฉพาะกาล

4 บทเฉพาะกาล มาตรา ๖๑ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้าง และเงินอุดหนุนของ มจร.ในพระบรมราชูปถัมภ์ ของมูลนิธิ มจร. ไปเป็นของ มจร. มาตรา ๗๐ ในระหว่างที่ยังไม่มีประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนดของมหาวิทยาลัย เพื่อปฏิบัติการตาม พรบ.นี้ ให้นำประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งของ มจร.ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ใช้อยู่ในวันที่ พรบ.นี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาใช้บังคับใช้โดยอนุโลม มหาวิทยาลัยได้จัดทำระเบียบว่าด้วยการเงินและทรัพย์สิน พ.ศ.๒๕๔๑ เพิ่มเติม ๒๕๔๔ และ๒๕๔๖ เพื่อดำเนินงานได้ตามบทเฉพาะกาลมาตรา ๗๐ และยกเลิกระเบียบดังกล่าวทั้งหมด จัดทำเป็นข้อบังคับว่าด้วยการเงินและทรัพย์สิน พ.ศ.๒๕๕๖ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

5 ข้อบังคับว่าด้วยการเงินและทรัพย์สิน พ.ศ.๒๕๕๖
หมวด ๑ คณะกรรมการการเงินและทรัพย์สิน องค์ประกอบ * วาระ * อำนาจ หน้าที่ หมวด ๒ รายได้ แหล่งที่มา * การจัดการ * หลักฐาน หมวด ๓ รายจ่าย ประเภทรายจ่าย * อำนาจ การสั่งจ่ายเงิน การเบิกจ่ายเงิน * ระเบียบ * หลักฐาน หมวด ๔ ทรัพย์สิน หมุนเวียน * ถาวร * อื่น * การจัดเก็บเอกสาร หมวด ๕ การงบประมาณ งบประมาณ ประจำปี * โอนเปลี่ยนแปลง เพิ่มหรือลดงบประมาณ * เบิกจ่ายข้ามปี กันเงินไว้จ่ายเหลื่อมปี * ขยายระยะเวลา หมวด ๖ เงินสะสม เงินคงเหลือที่ไม่ได้เบิกจ่ายใน ปีงบประมาณ และมิได้ก่อ หนี้ผูกพัน

6 การงบประมาณ วิธีการหาเงินมาเพื่อดำเนินการตามแผนการปฏิบัติงาน
งบประมาณ (Budget) หมายถึง แผนการปฏิบัติงานในระยะเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปมักจะเป็นหนึ่งปี ซึ่งจะแสดงเป็นจำนวนเงินที่คาดว่าจะใช้จ่ายในการปฏิบัติงานนั้น ๆตลอดจนแสดงแหล่งที่มาของเงินรายได้ และ วิธีการหาเงินมาเพื่อดำเนินการตามแผนการปฏิบัติงาน การงบประมาณ (Budgeting) หมายถึง การจัดทำงบประมาณ (Budget preparation) และการควบคุมโดยงบประมาณ (Budgetary control) ประโยชน์ของการงบประมาณต่อการบริหาร มหาวิทยาลัยนำการงบประมาณมาใช้ในการวางแผน การประสานงาน การควบคุม ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดแบบมีทิศทาง

7 การงบประมาณ ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การงบประมาณได้ผล การงบประมาณต้องได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร 2. การงบประมาณต้องสอดคล้องกับการจัดสายงาน 3. การงบประมาณและระบบบัญชีต้องสอดคล้องกัน 4. ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการงบประมาณต้องมีความเข้าใจในหลักการ และ ประโยชน์ของการงบประมาณ 5. การปรับงบประมาณให้เข้ากับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ส่วนประกอบของแผนงบประมาณ 1. แผนงบประมาณส่วนพื้นฐาน (The substantive plan) 2. แผนงบประมาณการเงิน (The financial plan)

8 การงบประมาณตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยว่าด้วยการเงินและทรัพย์สิน พ.ศ.๒๕๕๖
การจัดทำงบประมาณ รวบรวมประมาณการรายได้ตามหมวด ๒ และประมาณการรายจ่ายตามหมวด ๓วิเคราะห์ข้อมูล และทำการจัดสรรงบประมาณตามข้อ ๒๔ให้กับหน่วยงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ตามนโยบาย ภารกิจ แผนงาน/โครงการ โดยจำแนกประเภทของรายได้ตามข้อ ๑๑ (๑) – (๙) และจำแนกประเภทของรายจ่ายตามข้อ ๑๘ (๑) – (๔) อย่างละเอียด การควบคุมโดยงบประมาณ ควบคุมการรับ – จ่าย งบประมาณตามที่ได้รับอนุมัติ หากมีปัญหาให้กองแผนงานพิจารณาดำเนินการตามข้อ ๒๕ – ๒๘ การายงานผล รายงานผลการดำเนินงาน (Performance Report) ทุกมิติ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ แผนงาน หน่วยงาน กองทุน หมวดรายรับ – รายจ่าย

9 การงบประมาณโดยกองแผนงาน
รายการ หมวด ๕ การพิจารณา ๑. การจัดทำงบประมาณประจำปี ข้อ ๒๔ คกก.กลั่นกรอง สภา อนุมัติ ๒. การผูกพันเบิกจ่ายข้ามปี/กันไว้ ข้อ ๒๕ คกก.เห็นชอบ อธิการบดีอนุมัติจ่ายเหลื่อมปี และขยายเวลา ๓. การโอนงบประมาณหรือเปลี่ยน ข้อ ๒๖ (๑) อธิการบดี อนุมัติ แปลงรายการระหว่างหมวดของงบ วรรค ๑ ดำเนินการ โดยไม่เพิ่มวงเงินงบประมาณ ๔.การโอนงบประมาณหรือเปลี่ยน ข้อ ๒๖ (๑) คกก.อนุมัติ แปลงรายการระหว่างหมวดของงบลงทุน วรรค ๒ /โครงการโดยไม่เพิ่มวงเงินงบประมาณ

10 การงบประมาณโดยกองแผนงาน
รายการ หมวด ๕ การพิจารณา ๕. การโอนงบประมาณเพื่อเริ่ม ข้อ ๒๖ (๑) คกก.กลั่นกรอง สภา อนุมัติโครงการใหม่ระหว่างปีที่มีผลเป็น วรรค ๓ ภาระผูกพันกับงบประมาณปีต่อไป ๖. การโอนงบประมาณหรือเปลี่ยน ข้อ ๒๖ (๒) อธิการบดีเสนอ สภา เห็นชอบ แปลงรายการโดยเพิ่มวงเงิน งบประมาณที่ได้รับจัดสรร ๗. การขอจัดสรรงบประมาณ ข้อ ๒๖ (๓) คกก.กลั่นกรอง สภาอนุมัติ รายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปี ๘. การลดงบประมาณรายจ่าย ข้อ ๒๖ (๔) คกก.กลั่นกรอง สภาอนุมัติระหว่างปี

11 การงบประมาณโดยกองแผนงาน
รายการ หมวด ๕ การพิจารณา ๙. ถ้างบประมาณประจำปี ปีใดออก ข้อ ๒๗ คกก.กลั่นกรอง สภา อนุมัติ ใช้ไม่ทัน ให้ใช้งบประมาณเท่าที่เคย ได้รับอนุมัติในปีที่ล่วงแล้วไปพลางก่อน ๑๐. ถ้าไม่มีการเบิกจ่ายงบประมาณ ข้อ ๒๘ และมิได้ก่อหนี้ผูกพันหรือกันไว้ จ่ายเหลื่อมปีตามรายการที่กำหนด ไว้ในงบประมาณประจำปี ให้นำเงิน คงเหลือไปเป็นเงินสะสมของมหาวิทยาลัย และถ้าจะนำมาใช้จ่ายให้จัดทำเป็น งบประมาณรายจ่ายประจำปี


ดาวน์โหลด ppt แนวทางปฏิบัติงานของบุคลากร ที่ทำหน้าที่งบประมาณ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google