พญ.ชีวนันท์ เลิศพิริยสุวัฒน์ แนวทางการดำเนินงานป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสองในประเทศไทย พญ.ชีวนันท์ เลิศพิริยสุวัฒน์
วัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้ผู้ทำงานเอดส์ในพื้นที่ใช้เป็นแนวทางดำเนินงาน ป้องกันฯ ผู้ใช้แนวทาง: เจ้าหน้าที่ที่ทำงานเอดส์และผู้เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐ เอกชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มเป้าหมายที่รับบริการ: ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย สาวประเภทสอง ประเด็นเนื้อหาหลัก: มีฐานคิดมาจาก ยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติพ.ศ. 2555–2559 การบูรณาการโครงการ ป้องกัน และการดูแลรักษาเอชไอวี/เอดส์ เพื่อนำสู่เป้าหมาย Getting to Zero รายงานการศึกษาในโครงการระยะที่ 1
ยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง: ยุทธ์ 1 ยุทธ์ 1 เร่งรัดขยายการป้องกันให้ ครอบคลุม ประชากรที่มีพฤติกรรมเสี่ยง และคาดว่าจะมีจำนวนการติดเชื้อฯ รายใหม่มากที่สุด
โครงสร้างของแนวทางฯ 1. ความเป็นมา 2. กรอบเนื้อหาในแนวทางฯแต่ละบท 3. เนื้อหาและการนำไปใช้แต่ละบท 4. สรุปในแต่ละเนื้อหา 5. ตัวอย่าง
วิธีการใช้แนวทางเล่มนี้ ใช้เป็นแนวทางอ้างอิงเพื่อวางแผนกิจกรรม และขั้นตอนในการทำกิจกรรมในการดำเนินงานป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสองในประเทศไทย
สิ่งที่แนวทางนี้ไม่ใช่ และคำแนะนำในการใช้ ไม่ใช่ตัวชี้วัดเพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานป้องกันเอชไอวีในกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสอง ไม่ใช่คู่มือปฏิบัติงานหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐานของทั้งประเทศที่มีวิธีอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติงาน ไม่ใช่คู่มือฝึกอบรม - ไม่ใช่หลักสูตรอบรม แนวทางเล่มนี้สำหรับใช้ควบคู่กับการอบรม การสัมมนาเชิงปฏิบัติการในการวางแผนงานป้องกันเอชไอวีในกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชายและ สาวประเภทสอง – เน้นระดับจังหวัด (ระดับพื้นที่)
กระบวนการพัฒนาแนวทางฯ ทบทวนและสังเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการร่วมกับ สถานการณ์ปัจจุบัน การมีส่วนร่วมจากผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมระดมความคิด เพื่อวางกรอบการพัฒนาแนวทางฯ มีผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม
กระบวนการพัฒนาแนวทางฯ ประกอบด้วย 2 ระยะ กระบวนการพัฒนาแนวทางฯ ประกอบด้วย 2 ระยะ ระยะที่ 1 “โครงการเส้นทางสู่แนวทางระดับชาติสำหรับการป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวีกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชายในประเทศไทย” การศึกษาวิจัยการดำเนินงานป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่ม MSM/TG ในพื้นที่ 8 จังหวัด 4 ภาคของประเทศไทย การจัดทำกรอบแนวคิดเพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานป้องการติดเชื้อ เอชไอวีในกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสอง ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาแนวทางระดับชาติสำหรับการป้องกันการติดเชื้อ เอชไอวีในกลุ่ม MSM/TG
กระบวนการพัฒนาแนวทางฯ ประกอบด้วย 2 ระยะ กระบวนการพัฒนาแนวทางฯ ประกอบด้วย 2 ระยะ ระยะที่ 2 “โครงการปรับปรุงการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายมี เพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสองเพื่อพัฒนาแนวทาง ระดับชาติและสนับสนุนการดำเนินงานท้องถิ่นเพื่อมุ่งสู่ เป้าหมายที่เป็นศูนย์” แนวทางการดำเนินงานป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายมี เพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสองในประเทศไทย
องค์ประกอบในแนวทางฯ บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 การวิเคราะห์ชุมชน บทที่ 3 สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงานป้องกันและดูแลการติดเชื้อเอชไอวี บทที่ 4 ชุดบริการที่จำเป็นสำหรับการป้องกันเอชไอวี งานบริการป้องกันเอชไอวีที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน บทที่ 5 การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคล
บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานป้องกันการติดเชื้อ เอชไอวีในกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสอง ในประเทศไทย วัตถุประสงค์ ผู้ใช้แนวทางฯและกลุ่มเป้าหมายที่รับบริการ กรอบแนวคิด กระบวนการพัฒนา เนื้อหาและการนำไปใช้ คำจำกัดความและนิยามศัพท์
บทที่ 2 วิเคราะห์ชุมชน ความสำคัญ กรอบเนื้อหา วัตถุประสงค์ ข้อมูลที่จำเป็นในการวิเคราะห์ชุมชน เครื่องมือและกระบวนการวิเคราะห์ชุมชน การวิเคราะห์ชุมชนและการวางแผน
บทที่ 3 สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงานป้องกันและดูแลการติดเชื้อเอชไอวี ความเป็นมา เป้าหมายและวัตถุประสงค์ กรอบแนวคิดที่ 1 การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อความหลากหลายทางเพศ กรอบแนวคิดที่ 2 การสร้างความเข้มแข็งของระบบชุมชนในการดูแล เรื่องความหลากหลายทางเพศและเอชไอวี กรอบแนวคิดที่ 3 การสร้างนโยบายที่เป็นมิตรต่อความหลากหลายทางเพศ และเอชไอวี
บทที่ 4 ชุดบริการที่จำเป็นสำหรับป้องกันเอชไอวี ส่วนที่ 1 บริการถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่น ส่วนที่ 2 การให้คำปรึกษา ตรวจคัดกรองและ รักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ส่วนที่ 3 การส่งต่อและรูปแบบบริการเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการต่างๆ ส่วนที่ 4 บริการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
บทที่ 5 การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคล ความเป็นมา กระบวนการพัฒนาศักยภาพบุคลากร วัตถุประสงค์ หลักการและวิธีคิด กรอบเนื้อหา (2 ส่วน) ส่วนที่ 1 วิธีการให้ความรู้ ส่วนที่ 2 ความรู้ ทัศนคติ ทักษะและการปฏิบัติพื้นฐาน
บทที่ 5 การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคล (ต่อ) ภาคผนวก 1) วิธีการให้ความรู้ 2) ชุดความรู้และทักษะพื้นฐานสุขภาพทางเพศ การติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ 3) ชุดความรู้และทักษะพื้นฐานการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้ถุงยางอนามัยและ สารหล่อลื่น 4) ชุดความรู้และทักษะพื้นฐานการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย 5) ชุดความรู้และทักษะพื้นฐานการพัฒนาทัศนคติพื้นฐานสำหรับการทำงานกับบุคคลที่มี ความหลากหลายทางเพศและ จรรยาบรรณ 6) ชุดความรู้และทักษะพื้นฐานการบริหารโครงการ 7) แหล่งข้อมูล ชื่อของคู่มือ/แนวทาง สุขภาพ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การส่งเสริมการเข้าถึง กลุ่มเป้าหมาย การพัฒนาทัศนคติ การบริหารโครงการ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ แนวทางการดำเนินงานป้องกันฯ นี้จะเกิดประโยชน์สูงสุดเมื่อผู้ทำงานเอดส์และผู้เกี่ยวข้องใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการดำเนินงานป้องกันเอชไอวีในกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสอง หากการดำเนินงานดังกล่าว เป็นการให้บริการที่มีมาตรฐาน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และครอบคลุมประชากรเป้าหมาย ก็จะตอบสนองต่อวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ. 2555 – 2559 เช่นกัน
Thank you for your attention