งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 2 การกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 2 การกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 2 การกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย
วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

2 เนื้อหาในบทเรียน 1. ความหมายของปัญหาการวิจัย
2. แหล่งที่มาของปัญหาการวิจัย 3. การคัดเลือกปัญหาการวิจัย 4. การเขียนปัญหาการวิจัย 5. การตั้งชื่อเรื่องของการวิจัย 6. การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย 7. ขอบเขตการวิจัย

3 1.ความหมายของปัญหาการวิจัย
ปัญหาการวิจัย (Research problem) คืออะไร? หมายถึง ประเด็นข้อสงสัยเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยต้องการดำเนินการหาคำตอบ โดยใช้กระบวนการวิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและตรงกับข้อเท็จจริง

4 2.แหล่งที่มาของปัญหาการวิจัย
1. จากทฤษฎีหรือแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ หากผู้วิจัยไม่เห็นด้วยหรือสงสัยก็จะทำให้ได้ปัญหาวิจัยใหม่ขึ้นมา โดยอาจจะทำวิจัยตรวจสอบทฤษฎีก่อนนาทฤษฎีมาใช้ก็ได้ 2. จากประสบการณ์ของผู้วิจัย จากการสังเกตสภาพการทำงาน หรือดำรงชีวิตประจำวัน สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัว 3. จากข้อเสนอแนะของผลงานวิจัย ช่วยขยายขอบข่ายความรู้ในเรื่องเดิมนั้นให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

5 2.แหล่งที่มาของปัญหาการวิจัย
4. จากบทคัดย่องานวิจัย หรือบทคัดย่อวิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์ จะทำให้ทราบว่าเรื่องที่เราสนใจนั้นมีผู้อื่นทำไว้ในแง่มุมใดบ้าง 5. จากการอ่านหนังสือ หรือวารสารที่เกี่ยวกับการวิจัย ทำให้ได้ทราบข้อค้นพบของงานวิจัยและข้อเสนอแนะต่อการวิจัย 6. จากการสอบถามเรียนรู้ จากบุคคลอื่นที่เป็นผู้รู้ผู้ชำนาญที่คลุกคลี กับงานวิจัยหรือสาขาวิชาที่สนใจ โดยการนำเอาความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากบุคคลอื่นมารวบรวม แล้วสร้างเป็นหัวข้อหรือปัญหาวิจัยขึ้น

6 2.แหล่งที่มาของปัญหาการวิจัย
7. จากความต้องการขององค์การ หรือหน่วยงานต่าง ๆ โดยอาจกำหนดทิศทางการวิจัย (term of reference) ไว้ เพื่อใช้เป็น กรอบในการศึกษาเรื่องต่าง ๆ อาจได้ทุนทำวิจัยด้วย 8. จากการเข้าร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการ อาจมีการนำเสนอทฤษฎีหรือองค์ความรู้ที่น่าสนใจ 9. จากเหตุการณ์หรือประเด็นปัญหาหลักที่สังคมกาลังสนใจ 10. จากการปฏิบัติงานในหน้าที่ ของบุคลากรในองค์การหรือหน่วยงานต่าง ๆ อาจเกิดปัญหาจากการปฏิบัติงานในลักษณะต่าง ๆ

7 3.การคัดเลือกปัญหาการวิจัย
1.ความใหม่ ปัญหาการวิจัยที่สนใจซ้ำซ้อนกับของคนอื่นหรือไม่? คำว่า “ซ้ำ” หมายถึง หัวข้อเรื่องเหมือนกัน หรือกรอบแนวคิดและวิธีการศึกษาเหมือนกันเป็นหลัก 2. ความสาคัญและเป็นประโยชน์ ทั้งในด้านเสริมสร้างความรู้ใหม่ และการนำไปใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น 3. ความสนใจและความเหมาะสมของผู้วิจัย อยู่ในขอบข่ายของวิชา ที่ผู้วิจัยศึกษาเล่าเรียนมาและมีความสนใจอยากรู้อยากเห็น

8 3.การคัดเลือกปัญหาการวิจัย
4. ค่าใช้จ่ายและผลที่ได้รับ (Cost and return) มีค่าใช้จ่ายเพียงพอหรือไม่? ผลการวิจัยที่ได้จะคุ้มค่าหรือไม่? 5. ความกว้างของปัญหา ไม่ควรกว้างหรือแคบเกินไป คะเนว่ามีเวลาพอที่จะทาสำเร็จได้ในเวลาไม่มากเกินไป เลือกทำปัญหาเพียงจุดใดจุดหนึ่งและทำให้ลึกลงไปจะมีค่ามากกว่า 6. การรวบรวมข้อมูล สามารถรวบรวมข้อมูลมาพิสูจน์สนับสนุนหรือคัดค้านได้ ภายในเวลาที่เหมาะสม และไม่เสียงอันตราย

9 3.การคัดเลือกปัญหาการวิจัย
7. อันตรายในการวิจัย ไม่มีอันตรายหรือภัยพิบัติเกิดขึ้นแก่ผู้วิจัยทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม แก่ส่วนรวม ประเทศชาติ 8. ปัญหาที่ยังตกลงกันไม่ได้ (Controversial subject) บางปัญหายังหาข้อตกลงกันไม่ได้ ต่างคนต่างเข้าใจ หรือบางปัญหายังมีองค์ความรู้ไม่อิ่มตัว ยังเป็นเรื่องใหม่ ๆ ไม่มีการดาเนินการใดเกิดขึ้น ยังไม่ชัดเจนว่าจะทาอย่างไรกันแน่ 9. ความช่วยเหลือสนับสนุน คนช่วยเหลือมีความรู้และประสบการณ์เชื่อถือได้เพียงใด มีแหล่งเงินทุนสนับสนุนช่วยเหลือให้ทุนดำนินการวิจัยมากน้อยเพียงใด

10 4. การเขียนปัญหาการวิจัย
1. ความชัดเจน ต้องเขียนให้ตรงกับหัวข้อปัญหา โดยสรุปสาระถึงความเป็นมาและและปัญหาว่ามีเหตุผลอะไรจึงทาวิจัยเรื่องนี้ มีความเข้าใจถึงความสำคัญและคุณค่าของปัญหา 2. ความน่าเชื่อถือ ควรมีข้อมูลเป็นหลักฐานอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของปัญหาการวิจัย ควรมีทฤษฎี หลักการ แนวคิด งานวิจัยหรือบทความเขียนยืนยันปัญหาการวิจัย

11 4. การเขียนปัญหาการวิจัย
3. ความสัมพันธ์กัน งานวิจัยบางเรื่องอาจมีปัญหาการวิจัยหลายประเด็นย่อย ควรเขียนประเด็นย่อยเหล่านั้นให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน 4. การเรียงลำดับการนำเสนอประเด็นปัญหา ควรจะกล่าวเรื่องทั่ว ๆ ไปก่อน แล้วจึงวกเข้าสู่เรื่องเฉพาะ (ซึ่งจะเป็นทฤษฎี) จากนั้นจึงค่อย ๆ นำเข้าสู่ตัวปัญหาที่กำหนดไว้

12 4. การเขียนปัญหาการวิจัย

13 4. การเขียนปัญหาการวิจัย
การนำเสนอปัญหาวิจัย ซึ่งมีวิธีการนำเสนอได้หลายลักษณะ เช่น 1. เขียนปัญหาวิจัยรวมอยู่ในความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา - เขียนในรูปประโยคบอกเล่า เพื่อบรรยายสภาพปัญหา - เขียนสรุปไว้ในช่วงท้ายด้วยข้อความที่เป็นประโยคคำถาม 2. เขียนปัญหาวิจัย โดยขึ้นหัวข้อต่อจากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาในบทที่ 1 ของรายงานการวิจัย และเขียนในรูปประโยคคำถาม

14 5.การตั้งชื่อเรื่องของการวิจัย
1. แสดงให้เห็นถึงตัวแปรสำคัญที่มุ่งศึกษา และ/หรือความสัมพันธ์ของตัวแปรที่นามาศึกษา 2. สื่อความหมายได้ดี ควรมีการระบุขอบเขตที่ชัดเจนเกี่ยวกับกลุ่มประชากรเป้าหมายหรือกลุ่มตัวอย่างของการวิจัย รวมถึงขอบเขตทางภูมิศาสตร์หรือพื้นที่เป้าหมายที่ทาการวิจัย 3. บอกหรือชี้นาให้ทราบถึงวิธีวิจัยอย่างคร่าวๆ ว่าเป็นการวิจัยประเภทใด หรือใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบใด 4. ใช้ประโยคบอกเล่าที่มีความหมายเป็นกลาง และใช้ภาษาที่สื่อความหมายชัดเจน

15 5.การตั้งชื่อเรื่องของการวิจัย
5. สั้นกะทัดรัดและมีความหมายชัดเจนในตัวเอง สามารถสื่อให้ผู้อ่านทราบประเด็นสำคัญได้ว่าศึกษาอะไร กับใคร แต่ถ้าจำเป็นต้องเขียนด้วยข้อความที่ยาวจึงจะมีความหมายสมบูรณ์ชัดเจน อาจนำเสนอที่เป็นภาคขยายไปไว้หลังเครื่องหมายทวิภาค (colon) หรือนำไปเขียนไว้ในขอบเขตของการวิจัยก็ได้ 6. สอดคล้องกับศาสตร์หรือสาขาวิชาทำการวิจัย ถ้ามีศัพท์เทคนิคต้องเป็นศัพท์ที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น ๆ 7. ไม่ให้ซ้ำซ้อนกับผู้อื่น แม้ว่าประเด็นที่ศึกษานั้นจะคล้ายคลึงกันก็ตาม

16 6. การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. สอดคล้องกับชื่อเรื่องการวิจัย สอดคล้องกับความเป็นมาและประเด็นปัญหาของการวิจัย และตอบคำถามของการวิจัย 2. เป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral objective) ที่สามารถวัดเป็นรูปธรรมได้ 3. ระบุพฤติกรรมที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน ถ้อยคำที่นิยมใช้ เช่น การหาค่า... การเปรียบเทียบ... การศึกษาปัจจัย... การวิเคราะห์ การประเมิน... การทดลอง... การสำรวจ... การหาความสัมพันธ์...

17 6. การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย
4. ในแต่ละข้อมีความกระจ่างชัด ควรมีประเด็นเดียว และไม่มีความซ้ำซ้อนกันในระหว่างประเด็น 5. จัดลำดับความสำคัญ และให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นย่อย 6. เขียนเป็นประโยคบอกเล่า ใช้ภาษาที่อ่านง่าย มีความชัดเจน กระชับ ไม่กำกวม

18 ตัวอย่าง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อมั่นในตนเองและแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมศึกษา ในจังหวัดพะเยา คำถามการวิจัย 1.มีความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อมั่นในตนเอง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หรือไม่ มากน้อยเพียงใด 2.จากความเชื่อมั่นในตนเองและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สามารถพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ด้วยสมการลักษณะใด วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อมั่นในตนเอง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากความเชื่อมั่นในตนเอง และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

19 7. ขอบเขตของการวิจัย 1. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ระบุว่าผู้วิจัยทาการศึกษากับประชากรกลุ่มใด และทาการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างกลุ่มใดที่เป็นตัวแทนของประชากรเหล่านั้น กลุ่มตัวอย่างมีขนาดจำนวนเท่าไร การสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการใด 2. ขอบเขตด้านตัวแปรที่ศึกษา ระบุว่าผู้วิจัยทำการศึกษากับตัวแปรอะไร อาจเป็นตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม อาจเป็นโครงสร้างหรือองค์ประกอบของตัวแปรก็ได้

20 7. ขอบเขตของการวิจัย 3. ขอบเขตด้านเนื้อหา ระบุเนื้อหาที่ทำการศึกษาวิจัย 4. ขอบเขตด้านระยะเวลา ระบุช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์ที่ทำ การวิจัย เช่น เดือน ปีพุทธศักราช ภาคเรียน ปีการศึกษา เป็นต้น 5. ขอบเขตด้านพื้นที่ ระบุพื้นที่ตั้งหรือชื่อสถานที่ในการทำวิจัย เช่น หน่วยงาน สถานที่ ตำบล อำเภอ จังหวัด เป็นต้น

21 Thank You!

22 Workshop 2 นิสิตแบ่งกลุ่มละ 5 คน สืบค้นและศึกษาตัวอย่างงานวิจัย 5 เรื่อง จากนั้นช่วยกันเขียนหัวข้อต่อไปนี้ของการวิจัย 1. ชื่อเรื่อง 2. ความเป็นมาและความสำคัญ 3. คำถามการวิจัย 4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 5. ขอบเขตของการวิจัย


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 2 การกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google