กลุ่มเกษตรกร
ความหมายของกลุ่มเกษตรกร กลุ่มคือ การรวมกันของเกษตรกรที่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน และดำเนินกิจการร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการประกอบอาชีพและช่วยเหลือส่วนรวม
ความหมายตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 119 กลุ่มเกษตรกร ความหมายตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 119 ในกรณีที่คณะบุคคลผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่ยังไม่อาจรวมกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ตามพระราชบัญญัตินี้ได้ จะจัดตั้งเป็นกลุ่มเกษตรกรขึ้นตาม หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดโดย พระราชกฤษฎีกาก็ได้
วัตถุประสงค์ของกลุ่ม (มาจากข้อบังคับกลุ่ม) ส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการเกษตร อุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือประกอบอาชีพอื่นในหมู่สมาชิก และครอบครัวสมาชิก รวมทั้งการส่งเสริมความรู้ให้สินค้ามีคุณภาพดี รวบรวมและให้บริการด้านข้อมูลข่าวสารในท้องที่ ตำบล ที่กลุ่มตั้งอยู่
วัตถุประสงค์ของกลุ่ม (มาจากข้อบังคับกลุ่ม) 3. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องอุปโภคบริโภคมาจำหน่าย 4. รวบรวมผลผลิต และผลิตภัณฑ์ของสมาชิกมาจัดการขายหรือแปรรูปจำหน่าย 5. จัดให้มีโรงเรือนรักษาผลผลิต 6. จัดให้มียานพาหนะขนส่งผลผลิตไว้บริการสมาชิก
วัตถุประสงค์ของกลุ่ม (มาจากข้อบังคับกลุ่ม) 7. จัดหาแหล่งเงินกู้มาให้สมาชิกกู้เพื่อนำไปประกอบอาชีพ 8. รับฝากเงินจากสมาชิก 9. จัดให้มีเครื่องมือ เครื่องจักรกลในการผลิตอุตสาหกรรมในครัวเรือน
วัตถุประสงค์ของกลุ่ม (มาจากข้อบังคับกลุ่ม) 10. จัดให้มีโรงงานเพื่อแปรรูปผลิตผล หรือสินค้าที่มีคุณภาพ 11. ส่งเสริมให้มีกิจกรรมกลุ่มแม่บ้าน 12. กู้ยืมเงินเพื่อใช้เป็นทุนดำเนินงานของกลุ่ม 13. ร่วมทุนในการประกอบกิจการกับกลุ่มอาชีพอื่นหรือนิติบุคคลอื่น (เช่น สหกรณ์)
วัตถุประสงค์ของกลุ่ม (มาจากข้อบังคับกลุ่ม) 14. ให้การสงเคราะห์ตามสมควรกับผู้ประกอบอาชีพเดียวกันที่ประสบภัยพิบัติเกี่ยวกับอาชีพ 15. ส่งเสริมการประหยัด การช่วยเหลือตัวเอง และร่วมมือช่วยเหลือกันในหมู่ผู้ประกอบอาชีพ 16. ส่งเสริมการพัฒนาครอบครัว ทั้งการศึกษา พลานามัย จิตใจให้เป็นครอบครัวที่สมบูรณ์ และมีสันติสุข
วัตถุประสงค์ของกลุ่ม (มาจากข้อบังคับกลุ่ม) 17. กระทำการต่างๆ ที่อนุญาตไว้ในกฎหมาย รวมทั้งการจัดให้ได้มา การถือกรรมสิทธิ์ หรือทรัพย์สิน สิทธิ์ครอบครอง ตลอดจนกิจการอื่นให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์
การจัดตั้งสหกรณ์
การจัดตั้งสหกรณ์ มี 5 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 รวบรวมกลุ่มบุคคล ขั้นตอนที่ 2 เตรียมการขอจดทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์ ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการของคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ ขั้นตอนที่ 4 การขอจดทะเบียนสหกรณ์ ขั้นตอนที่ 5 การดำเนินการของสหกรณ์หลังจาก ได้รับการจดทะเบียนสหกรณ์
ขั้นตอนที่ 1 รวบรวมกลุ่มบุคคล ขั้นตอนที่ 1 รวบรวมกลุ่มบุคคล บุคคลที่จะรวมกลุ่มกันตั้งสหกรณ์ต้องมีลักษณะดังนี้ เป็นบุคคลธรรมดาบรรลุนิติภาวะ มีจำนวนบุคคลไม่น้อยกว่า 10 คน บุคคลที่มารวมกันควรมีอาชีพอย่างเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน มีปัญหาความเดือดร้อยและต้องการร่วมมือกันแก้ไขปัญหานั้น โดยทำกิจการเพื่อมุ่งให้ได้ประโยชน์ร่วมกัน ทุกคนต้องสมัครใจร่วมกันลงทุนด้วยวิธีการถือหุ้นอย่างน้อยหนึ่งหุ้น ยินยอมปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายและกติกา (ข้อบังคับ) ที่กำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัด
ขั้นตอนที่ 2 เตรียมการขอจดทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์ ขั้นตอนที่ 2 เตรียมการขอจดทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์ จัดประชุมผู้ซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิกสหกรณ์ เพื่อดำเนินการดังนี้ คัดเลือกบุคคลจากที่ประชุม จำนวนไม่น้อยกว่า 10 คน เป็นผู้แทนกลุ่มเพื่อดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์ เรียกว่า “คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์” กำหนดชื่อสหกรณ์อย่างน้อย 3 ชื่อ เรียงตามลำดับความต้องการ เพื่อนายทะเบียนสหกรณ์ตรวจสอบความซ้ำซ้อนกับชื่อสหกรณ์ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้แล้ว
ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการของคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการของคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ต้องดำเนินการดังนี้ จองชื่อสหกรณ์ผ่าน Web site กรมส่งเสริมสหกรณ์ หรือ แจ้งชื่อให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดตรวจสอบ จัดประชุมคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ เลือกประเภทของสหกรณ์และกำหนดวัตถุประสงค์ จัดทำแผนดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจหรือกิจกรรมของสหกรณ์ จัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลที่ประสงค์จะเป็นสมาชิกสหกรณ์ ร่างข้อบังคับสหกรณ์ จัดประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกสหกรณ์
ขั้นตอนที่ 4 การขอจดทะเบียนสหกรณ์ ขั้นตอนที่ 4 การขอจดทะเบียนสหกรณ์ คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ดำเนินการจัดทำเอกสารเพื่อขอจดทะเบียนสหกรณ์ ดังนี้ คำขอจดทะเบียนสหกรณ์ สำเนารายงานการประชุมผู้ซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิกสหกรณ์ สำเนารายงานการประชมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกสหกรณ์ บัญชีรายชื่อผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกสหกรณ์ แผนดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจหรือกิจกรรมของสหกรณ์ ข้อบังคับสหกรณ์
ขั้นตอนที่ 5 การดำเนินการของสหกรณ์หลังจาก ได้รับการจดทะเบียนสหกรณ์ ขั้นตอนที่ 5 การดำเนินการของสหกรณ์หลังจาก ได้รับการจดทะเบียนสหกรณ์ สหกรณ์ที่จดทะเบียนแล้วมีสถานภาพเป็นนิติบุคคล บุคคลตามบัญชีรายชื่อผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกสหกรณ์ มีสถานภาพเป็นสมาชิกสหกรณ์ตั้งแต่วันที่นายทะเบียนสหกรณ์รับจดทะเบียนสหกรณ์และได้ชำระค่าหุ้นและค่าธรรมเนียมแรกเข้าแล้ว คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์มีอำนาจหน้าที่และสิทธิเช่นเดียวกับคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ดำเนินกิจการสหกรณ์ได้ตามที่กำหนดในข้อบังคับ คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ต้องจัดประชุมสมาชิกสหกรณ์ เป็นการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรก ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่จดทะเบียน สหกรณ์ที่ได้รับจดทะเบียนแล้วต้องเริ่มดำเนินกิจการตามแผนดำเนินการภายใน 1 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียน