สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
พัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร(บูรณาการกระทรวง)
Advertisements

การติดตามและ ประเมินผลโครงการ
ปทุมธานี นางปลื้มจิตต์ เนี้ยวคงศักดิ์ นายอารัต เมืองจร
ความก้าวหน้าในการจัดทำแผนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่
คำถามตามเกณฑ์ PMQA:105คำถาม หมวด1 12คำถาม.
อำนาจเจริญ - ว่าง- - ว่าง- - ว่าง - -ว่าง -
เกณฑ์การประเมินผลตัวชี้วัด มิติการประเมินประสิทธิผล
ผู้รับผิดชอบ ผลผลิต ฝ่ายบริหารทั่วไป
พังงา นางสาวอัญชลี ตันวานิช สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
ยุทธศาสตร์ลดปัจจัยเสี่ยง ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น ปี 2551
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
สำนักประสานและติดตามนโยบาย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
การประเมินผลโครงการ คปสอ.คลองใหญ่.
KPI 8 : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาบุคลากร น้ำหนัก :ร้อยละ 5 KPI ๑๐ : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาปรับปรุง วัฒนธรรมองค์การ น้ำหนัก : ร้อยละ 3 กองการเจ้าหน้าที่
นางวราพันธ์ ลังกาวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน.
การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน ระดับสถานศึกษา ประจำปี 2559.
หลักสูตรการอบรมวิทยากรตัวคูณ ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1 ภาคกลางตอนบน ( วันที่สอง ) ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี ระหว่างวันที่ 9 – 11 มีนาคม 2558.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
ข้อที่เกณฑ์การประเมินการดำเนินงาน ข้อ 1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน.
โดย นายแพทย์ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข “เรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สร้างสรรค์” นโยบายการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย.
แผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ )
ความเป็นมา การส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
การสร้างแผนปฏิบัติการระดับตำบลหรือท้องถิ่น
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
ระบบ ISO 9001:2015 สำหรับธุรกิจบริหารจัดการเรือ
สายส่งเสริมตามกลุ่มวัยและประเด็น
การประเมินมาตรฐาน งานระบาดวิทยา ปี 2549
เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
แนวทางการปฏิบัติงานตามข้อสั่งการ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
“การดูแลหญิงหลังคลอด และ ครอบครัวที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี”
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
เพื่อการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษ
กลุ่มเกษตรกร.
อดีต ปัจจุบัน อนาคต ของเอชไอวี ในประเทศไทย
ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จขององค์กรปกครอง
วาระการประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลองค์การที่ดี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ วันพฤหัสบดีที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๓๐ – ๑๒.๐๐ ณ.
ข้อเสนอต่อการพัฒนา ระบบการสร้างเสริมสุขภาพ ของประเทศไทย
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ
ข้อสังเกตโดยรวมของผลงานที่ได้คะแนน ระดับดีมาก - ดี
ปี 2560 ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
กำหนดการ Work shop -ชี้แจงวัตถุประสงค์ ร่วมเรียนรู้ ร่วมลด CAP ลดซ้ำซ้อน และเสริมพลัง -รับฟังการนำเสนอผลการประเมินตนเองและทำแผนปรับปรุงตนเองและสรุปปัญหาที่ต้อง.
ความคืบหน้าการจ้างลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.)
ความปลอดภัยด้านอาหารและน้ำ
มุ่งเน้น การประเมินระดับการดำเนินงาน “หน่วยงานคุณธรรม”
ทิศทางการดำเนินงานลดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD)
โครงการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุม โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง.
โครงการ “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่)
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
“ดูแล ห่วงใย ใส่ใจ ป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน” ปี 2559 การประชุมครั้งที่
นพ.อภิศักดิ์ วิทยานุกูลลักษณ์ รพ.ธัญญารักษ์เชียงใหม่ กรมการแพทย์
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การส่งเสริมการนำแนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานไปใช้ การประกวดองค์กร “ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ในที่ทำงาน” ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน นพ.สุเมธ องค์วรรณดี สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 14 ตุลาคม 2557

ประเด็นนำเสนอ ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ.2557-2559 การประกวดองค์กร “ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ในที่ทำงาน” เกณฑ์การประเมิน รายละเอียดแนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ.2557-2559 ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

แผนยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ 2557 - 59 เป้าหมายที่เป็นศูนย์ ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ไม่มีการเสียชีวิตจากเอดส์ ไม่มีการตีตราและเลือกปฏิบัติ ลดจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวี ลดจำนวนคนตายจากเอดส์ ลดการเลือกปฎิบัติในสถานบริการ รายใหม่ลง 2 ใน 3 ลงร้อยละ 50 ร้อยละ 50 ทิศทางยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง ยุทธศาสตร์ที่ 1 เร่งรัดขยายการป้องกันให้ครอบคลุมพื้นที่ และประชากรที่มีพฤติกรรมเสี่ยงและคาดว่าจะมีจำนวนการติดเชื้อฯใหม่มากที่สุด ยุทธศาสตร์ที่ 2 ขยายการปกป้องทางสังคมและปรับเปลี่ยนสภาวะแวดล้อมทางกฎหมายที่มีความสำคัญต่อการป้องกันและการรักษา ยุทธศาสตร์ที่ 3 เพิ่มความร่วมรับผิดชอบและเป็นเจ้าของร่วมในระดับประเทศ จังหวัด และท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในทุกระดับ การผสมผสานและบูรณาการให้มาตรการและแผนงานปัจจุบันมีคุณภาพ เข้มข้น และมีความยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยกระดับคุณภาพมาตรการและแผนงานที่มีอยู่เดิมให้เข้มข้นขึ้นและบูรณาการ ป้องกันการติดเชื้อฯ เมื่อแรกเกิด ป้องกันการติดเชื้อฯ ในกลุ่มเด็กและเยาวชน ส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยแบบบูรณาการ บริการโลหิตปลอดภัย ดูแลรักษาและการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ติดเชื้อฯ ดูแลเด็กและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ การลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติ การสื่อสารสาธารณะ แผนยุทธศาสตร์เอดส์ชาติที่มุ่งเน้น 3 ต คือ ไม่ติด ไม่ตาย และไม่ตีตรา ที่ได้กำหนดกลยุทธใน 2 แนวทาง คือแนวทางที่ต้องใช้นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง และแนวทางที่บูรณาการกลวิธีที่ได้ผลดีอยู่แล้วให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยกลยุทธนวัตกรรม จะต้องเร่งรัดการป้องกันให้ครอบคลุมพื้นที่ และประชากรที่มีพฤติกรรมเสี่ยงและคาดว่าจะมีจำนวนการติดเชื้อฯใหม่มากที่สุด โดยอีกทิศทางจะต้องคงมาตรการที่มีประสิทธิผลและประสบความสำเร็จเดิมให้มีความเข้มข้น และต่อเนื่อง สามารถบูรณาการกับระบบบริการปกติได้ สำหรับยุทธศาสตร์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ที่สาม คือ ไม่มีการตีตราและเลือกปฏิบัติ ถูกระบุไว้ในทิศทางยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง ยุทธศาสตร์ที่ 2 ขยายการปกป้องทางสังคมและปรับเปลี่ยนสภาวะแวดล้อมทางกฎหมายที่มีความสำคัญต่อการป้องกันและการรักษา และในส่วนยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาคุณภาพให้เข้มข้นและบูรณาการ ข้อ 7 การลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติ เคารพสิทธิและละเอียดอ่อนเรื่องเพศ เอดส์ไม่ใช่เพียงโรคและความเจ็บป่วย เสริมพลังอำนาจ มุ่งเน้นเป้าหมาย ภาวะผู้นำและเป็นเจ้าของ ภาคีเครือข่ายการทำงาน

การประกวดองค์กร “ดูแล ห่วงใย ใส่ใจ ป้องกันเอดส์ในที่ทำงาน” ปี 2557 ยุทธศาสตร์ที่ 2 ขยายการปกป้องทางสังคมและปรับเปลี่ยนสภาวะแวดล้อมทางกฎหมายที่มีความสำคัญต่อการป้องกันและการรักษา SO2.1 กฎหมายและนโยบายที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการป้องกันที่ลักษณะผสมผสาน บูรณาการและ รอบด้าน มีการบทวนและแก้ไข SO2.2 มีการนำกฎหมายและนโยบายที่สนับสนุนการป้องกันและดูแลรักษาไปดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ จุดเน้นของกรมควบคมโรค: มาตรการที่ 4: การพัฒนาสนับสนุนนโยบาย กฎหมายและสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงาน กิจกรรมหลัก: 4.2 ประสานและผลักดันนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตัวชี้วัด: จำนวนหน่วยงานที่มีการนำนโยบาย/กฎระเบียบ/แนวปฏิบัติไปใช้ (จังหวัด) 2558 2559 2560 2561 2562 เก็บข้อมูลเป็น Baseline เพิ่มขึ้น 5% ของปี 2558 เพิ่มขึ้น 10% ของปี 2558 เพิ่มขึ้น 15% ของปี 2558 เพิ่มขึ้น 20% ของปี 2558 แนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน คช.ปอ.ได้มีประกาศเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2552 เพื่อให้สถานที่ทำงาน ซึ่งรวมถึงหน่วยงานภาครัฐให้ถือเป็นหลักปฏิบัติ โดยไม่เลือกปฏิบัติและตัดสิทธิโอกาสของประชาชนอันเนื่องจากการติดเชื้อเอชไอวี และส่งเสริมให้คนทำงานมีความตระหนักในการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากเอดส์ และมีทัศนคติที่ดีต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน การประกวดองค์กร “ดูแล ห่วงใย ใส่ใจ ป้องกันเอดส์ในที่ทำงาน” ปี 2557

“ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ในที่ทำงาน” การประกวดองค์กร “ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ในที่ทำงาน” ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

แนวทางการประกวดองค์กร “ดูแล ห่วงใย ใส่ใจ ป้องกันเอดส์ในที่ทำงาน” การส่งเสริมการนำ “แนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและ บริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน” ไปใช้ แนวทางการประกวดองค์กร “ดูแล ห่วงใย ใส่ใจ ป้องกันเอดส์ในที่ทำงาน” เพื่อส่งเสริมให้องค์กรภาครัฐ เป็นตัวอย่างในการพัฒนาองค์กร ให้เป็นองค์กร “ดูแล ห่วงใย และใส่ใจป้องกันเอดส์ในที่ทำงาน” โดย ไม่มีการเลือกปฏิบัติในสถานที่ทำงานด้วยการใช้เงื่อนไขจากการติดเชื้อเอชไอวีและเพศภาวะ ส่งเสริมสนับสนุนให้บุลากรมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเอดส์ จัดให้มีการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีตาม “แนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน” ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

ประโยชน์ที่คาดว่าหน่วยงานเข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับ องค์กรที่เข้าร่วมโครงการที่ผ่านเกณฑ์ประเมิน ได้รับรางวัลและประกาศเกียรติคุณ และได้รับการประชาสัมพันธ์ว่าเป็นองค์กรที่เคารพสิทธิไม่เลือกปฏิบัติในสถานที่ทำงานด้วยการใช้เงื่อนไขจากเอดส์และเพศภาวะ และห่วงใยป้องกันบุคลากรให้ปลอดภัยจากเอดส์ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับหน่วยงานอื่นๆ บุคลากรขององค์กรได้รับการดูแลและคุ้มครองสิทธิ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติในสถานที่ทำงานอันเนื่องจากการติดเชื้อเอชไอวีและเพศภาวะ และได้รับการดูแลคุ้มครองป้องกันให้ปลอดภัยจากเอดส์ ประชาชนทั่วไปเกิดความรู้สึกและมีภาพพจน์ที่ดีต่อหน่วยงานที่ได้รับรางวัลและผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามแนวปฏิบัติแห่งชาติฯ เพราะเป็นองค์กรที่เคารพสิทธิไม่เลือกปฏิบัติด้วยการใช้เงื่อนไขจากเอดส์ในการจ้างงาน และให้การดูแลคุ้มครองสิทธิของคนทำงานในหน่วยงานอย่างเท่าเทียมกัน ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

กิจกรรมและแผนการจัดประกวดองค์กร “ดูแล ห่วงใย ใส่ใจ ป้องกันเอดส์ในที่ทำงาน” ปี 2557 แต่งตั้งคณะกรรมการ และคณะทำงาน  เดือนพฤษภาคม 2557 ประชาสัมพันธ์เชิญชวนและรับสมัคร  ปิดรับสมัคร 16 องค์กรที่เข้าประกวด มิถุนายน 2557 ดำเนินการพัฒนาองค์กรตาม  นับแต่วันสมัครถึง แนวปฏิบัติแห่งชาติฯ โดย สอวพ.และ ตุลาคม 2557 สคร.เป็นต้นแบบและเป็นพี่เลี้ยง 4. เยี่ยมติดตามประเมินองค์กรที่สมัครฯ  พฤศจิกายน 2557 5. การมอบรางวัล  17-19 ธันวาคม 2557 (สัมมนาระดับชาติเรื่อง โรคเอดส์ ครั้งที่ 14) ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

ขั้นตอนการประเมินองค์กร “ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ในที่ทำงาน” รับสมัคร องค์กรที่สมัครดำเนินงานตามแนวปฏิบัติฯ พิจารณาตามเกณฑ์ขั้นที่ 1 < 60 คะแนน  60 คะแนน ไม่ผ่านการประเมิน พิจารณาให้คะแนนตามเกณฑ์ขั้นที่ 2 ประกาศเกียรติคุณ รางวัลที่ 1, 2  60 ขึ้นไป  80 คะแนน ขึ้นไป การเยี่ยม ติดตามประเมิน โดยทีม สคร.และสอวพ. เสนอคณะกรรมการประกวดฯ พิจารณา ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน ประกาศผลการพิจาณา และมอบรางวัล/ประกาศเกียรติคุณ

ประเภทรางวัล รางวัล แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ องค์กรด้านสาธารณสุข องค์กรด้านการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อื่นๆ กลุ่มที่ได้คะแนน 60-79 คะแนน ได้ใบประกาศเกียรติคุณ กลุ่มที่ได้คะแนน 80 คะแนนขึ้นไป ได้ใบประกาศเกียรติคุณ และจะพิจารณาให้รางวัลที่ 1 และ 2 ให้กับองค์กรที่ได้คะแนนสูงที่สุดตามลำดับ องค์กรที่ได้รางวัลที่ 1 ของแต่ละกลุ่ม จะเข้ารับรางวัลในพิธีเปิดการสัมมนาระดับชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 17-19 ธันวาคม 2557 ประธานพิธีมอบรางวัลและช่วงเวลาในการมอบรางวัลจะแจ้งให้ทราบภายหลัง ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

สรุปข้อมูลหน่วยงานที่เข้าร่วมประกวดองค์กร "ดูแล ห่วงใย ใส่ใจ ป้องกันเอดส์ในที่ทำงาน" ปี 2557 (7 กรกฎาคม 2557) เขต รวม สาธารณสุข การศึกษา สวัสดิ-การสังคม ยุติ ธรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อื่นๆ รพศ./รพท./รพช. รพ.สต. สสจ. มหา-วิทยาลัย/วิทยาลัย โรง เรียน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 10   4 (ศบ.จอ./สอวพ./บำราศ/สน.ส่งเสริมสุขภาพ) 1 2 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 12 5 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 4 3 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4  1 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 11 7 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 20 9 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 6 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 1  สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 รวมทั้งหมด 97 องค์กร ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน 13 ตุลาคม 2557

เกณฑ์การประเมิน ขั้นตอนที่ 1 ประเมินว่าองค์กรที่เข้าร่วมมีนโยบายดังต่อไปนี้หรือไม่ นโยบายไม่ใช้สถานะการติดเชื้อเอชไอวีและเพศภาวะเป็นเงื่อนไขในการคัดเลือก และรับบุคลากรเข้าทำงาน นโยบายสนับสนุนบุคลากรที่ติดเชื้อเอชไอวี ให้ทำงานและมีความก้าวหน้าในการทำงานได้ตามปกติและไม่ใช้ผลการติดเชื้อเอชไอวีเป็นเหตุผลในการเลิกจ้างหรือให้ออก นโยบายรักษาความลับส่วนบุคคลของบุคลากรในองค์กร นโยบายส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี การส่งเสริมการเข้าถึงบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีแบบสมัครใจ และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสถานที่ทำงาน นโยบายช่วยเหลือดูแลบุคลากรที่ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ และครอบครัว ให้ได้รับสวัสดิการอย่างเท่าเทียมกับบุคคลอื่นและส่งเสริมการเข้าถึงบริการดูแลรักษาเอดส์ ถ้ามีครบถึงจะผ่านไปประเมินขั้นตอนที่ 2 ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

ขั้นตอนที่ 2 เป็นการประเมินการดำเนินงานและการบริหารจัดการขององค์กร โดยขั้นตอนนี้ มีการให้คะแนน 100 คะแนน องค์กรที่ได้คะแนนรวม 60 คะแนนขึ้นไป จะได้รับรางวัลและใบประกาศเกียรติคุณในงานสัมมนาระดับชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 14 ซึ่งกำหนดจัดระหว่างวันที่ 17-19 ธันวาคม 2557 สำหรับรายละเอียดตัวชี้วัดและคะแนน มีดังนี้ มีการประกาศนโยบายเรื่องเอดส์ให้บุคลากรขององค์กรทราบอย่างทั่วถึง และเป็นลายลักษณ์อักษร (15 คะแนน) มีการจัดวางโครงสร้างทีมงานรับผิดชอบการดำเนินงานตามนโยบายที่ประกาศ และระบบการรักษาความลับของบุคลากร (5 คะแนน) มีการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อป้องกันเอดส์และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสถานที่ทำงาน (5 คะแนน) ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

5.2 ข้อเสนอแนะและแผนการดำเนินงานในปีต่อไป 4. มีการดำเนินงานเพื่อป้องกันเอดส์และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในรอบปีที่ผ่านมา (60 คะแนน) ดังนี้ 4.1 มีกิจกรรมสร้างการเรียนรู้เรื่องเอดส์ให้กับบุคลากรขององค์กร เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องเอดส์ที่ถูกต้อง และมีทัศนคติที่ดีในการอยู่ร่วมกัน (20 คะแนน) 4.2 มีกิจกรรมการให้ข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจกับบุคลากร (20 คะแนน) 4.3 มีกิจกรรมส่งเสริมการป้องกันเอดส์ให้กับบุคลากรขององค์กร เช่น การจัด condom point หรือตู้จำหน่ายถุงยางอนามัย (20 คะแนน) มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน/กิจกรรม เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาองค์กร (รวม 15 คะแนน) ดังนี้ 5.1 มีรายงานแสดงความพึงพอใจของบุคลากรต่อการเข้าร่วมกิจกรรมและ/หรือความรู้ความเข้าใจเรื่องเอดส์และทัศนคติการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีของบุคลากร 5.2 ข้อเสนอแนะและแผนการดำเนินงานในปีต่อไป ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

แนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกัน รายละเอียด แนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกัน และบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

แนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน ข้อ 1 ในประกาศนี้ “ผู้ติดเชื้อเอชไอวี” หมายความว่า ผู้ได้รับเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกาย แต่ร่างกายยังแข็งแรง และสามารถทำงานได้ “ผู้ป่วยเอดส์” หมายความว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีภูมิภาวะคุ้มกันบกพร่อง และมีความเจ็บป่วยด้วยโรคฉวยโอกาส ซึ่งภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและความเจ็บป่วยเหล่านี้ สามารถดูแลรักษาให้หายได้ “ผู้ได้รับผลกระทบ” หมายความว่า ครอบครัวของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ และได้รับผลกระทบจากเอดส์ทางด้านสังคม จิตใจ และเศรษฐกิจ ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

“ผู้จ้างงาน” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับคนทำงานเข้าทำงานเข้าทำงาน โดยจ่ายค่าจ้าง เงินเดือน ค่าตอบแทน ส่วนแบ่ง หรือสิ่งตอบแทนอื่นที่ไม่ใช่ตัวเงิน ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร และให้หมายความรวมถึง ผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานของรัฐ ตัวแทน ผู้มีอำนาจกระทำการแทน หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนบุคคลดังกล่าว “คนทำงาน” หมายความว่า ผู้ซึ่งทำงานเพื่อรับค่าจ้าง เงินเดือน ค่าตอบแทน ส่วนแบ่ง หรือสิ่งตอบแทนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ตัวเงิน ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร เช่น ลูกจ้างเอกชน พนักงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ และหมายความรวมถึงพนักงานบริการทุกประเภท “องค์กรของคนทำงาน” หมายความว่า องค์กรที่คนทำงานร่วมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของคนทำงานในการเจรจาต่อรอง คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และพัฒนาคนทำงาน ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร เช่น สหภาพแรงงาน สภาพแรงงาน หรือสมาพันธ์แรงงาน

“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ และหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐ “สถานที่ทำงาน” หมายตวามว่า ที่ทำงานของคนทำงานแต่ละแห่ง “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ข้อ 2 ประกาศนี้ใช้กับ 1) หน่วยงานของรัฐ 2) สถานที่ทำงานของเอกชนทุกประเภท 3) สถานที่ทำงานอื่นๆ ตามที่คช.ปอ.กำหนด

หมวดที่ 1 บททั่วไป หมวดที่ 2 การดำเนินงาน ส่วนที่ 1 มาตรฐานการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ ในสถานที่ทำงาน ส่วนที่ 2 นโยบายด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน ส่วนที่ 3 แผนดำเนินงาน หมวดที่ 2 การดำเนินงาน ส่วนที่ 1 บทบาทของผู้จ้างงาน ส่วนที่ 2 บทบาทของคนทำงานและองค์กรของคนทำงาน ส่วนที 3 บทบาทของหน่วยงานของรัฐ หมวดที่ 3 การติดตามและประเมินผล ส่วนที่ 1 การกำกับดูแล ส่วนที่ 2 การตรวจสอบและแก้ไข ส่วนที่ 3 การทบทวน ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

หมวดที่ 1 บททั่วไป ส่วนที่ 1 มาตรฐานการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน ข้อ 3 สถานที่ทำงานต้องมีการจัดทำมาตรฐานการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน ตามประกาศนี้ ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาอย่างน้อยสองส่วน คือ (1) นโยบายด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน และ (2) แผนดำเนินงาน มาตรฐานการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร และปิดประกาศไว้ในสถานที่ทำงาน รวมทั้งต้องจัดให้มีการชี้แจงทำความเข้าใจให้แก่คนทำงานทุกระดับ ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

ข้อ 4 การจัดทำและพัฒนามาตรฐานการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน ต้องมีการปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างบุคลากรในสถานที่ทำงานทุกฝ่าย เช่น ผู้แทนผู้บริหาร ผู้แทนผู้จ้างงาน ผู้แทนคนทำงาน ผู้แทนองค์กรของคนทำงาน ผู้แทนผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้แทนผู้ป่วยเอดส์ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เพื่อให้ได้มาตรฐานการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานที่เหมาะสมและปฏิบัติได้ ข้อ 5 สถานที่ทำงานต้องนำมาตรฐานการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานไปปฏิบัติอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ รวมทั้งต้องพัฒนามาตรฐานดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

ส่วนที่ 2 นโยบายด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน ข้อ 6 นโยบายด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานเป็นกรอบแนวทางการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน และต้องกำหนดขึ้นโดยคำนึงถึงความเสมอภาคหญิงชายและความหลากหลายทางเพศเป็นสำคัญ โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักการดังต่อไปนี้ (1) การปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (2) การส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (3) การช่วยเหลือดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ได้รับผลกระทบ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ได้รับการรักษาตามสิทธิ (4) การส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสถานที่ทำงาน ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

ข้อ 7 นโยบายด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ (1) การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ได้แก่ การปกป้องคุ้มครอง และการส่งเสริมการปฏิบัติต่อคนทำงานและคนสมัครงานอย่างเท่าเทียมกัน และขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ได้รับผลกระทบ ดังนี้ (ก) การจ้างงานและการสมัครงานต้องไม่มีการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีหรือการแสดงหลักฐานว่าไม่ติดเชื้อเอชไอวี และต้องไม่อ้างการติดเชื้อเอชไอวีเพื่อคัดกรองคนทำงานและคนสมัครงาน หรือเพื่อเป็นเงื่อนไขในการจ้างงาน หรือเป็นหลักเกณฑ์ตัดสินว่า คนทำงานและคนสมัครงานขาดคุณสมบัติในการจ้างงาน (ข) การสนับสนุนผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ให้ทำงานและมีความก้าวหน้าในการทำงานตามปกติ (ค) การส่งเสริมสิทธิในการรักษาความลับส่วนบุคคลและจัดให้มีการพัฒนาระบบเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของคนทำงาน ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

(2) การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (ก) การสนับสนุนให้คนทำงาน ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ได้รับผลกระทบ มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเอดส์ ได้รับการศึกษาอบรม การปรึกษาหารือ และข้อมูลข่าวสารเรื่องเอดส์ที่ถูกต้อง (ข) การส่งเสริมการตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อ เอชไอวีโดยสมัครใจ และเป็นความลับ โดยมีการให้ข้อมูลและคำปรึกษาทั้งก่อนและหลังการตรวจเลือดเพื่อเตรียมความพร้อมทางอารมณ์และจิตใจ (ค) การส่งเสริมการจัดบริการป้องกันการติดเชื้อ เอชไอวีที่จำเป็นสำหรับสถานที่ทำงานแต่ละแห่ง และการจัดหาถุงยางอนามัยหรืออุปกรณ์ป้องกันเชื้อเอชไอวีที่สะอาดและได้มาตรฐาน ให้คนทำงานมีโอกาสเข้าถึงได้ง่าย สะดวก และเพียงพอ (3) การช่วยเหลือดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ได้รับผลกระทบ (ก) การช่วยเหลือดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ให้สามารถทำงานต่อไปได้หรือให้อยู่ในสถานภาพคนทำงานต่อไป โดยได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

(4) การส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสถานที่ทำงาน (ข) การให้ความเสมอภาคในการพิจารณาสิทธิประโยชน์และสวัสดิการแก่คนทำงานทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติ เพราะเหตุแห่งความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือทางด้านสุขภาพ (ค) การให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนให้ผู้ติดเชื้อ เอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลตามมาตรฐานที่เป็นปัจจุบัน (ง) การให้ความช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ที่ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ รวมถึงผู้ได้รับผลกระทบให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้ตามความเหมาะสม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ได้รับผลกระทบนั้น (4) การส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสถานที่ทำงาน (ก) การจัดให้มีผู้รับผิดชอบหรือผู้ปฏิบัติงานด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานอย่างเป็นรูปธรรม (ข) การส่งเสริมและสนับสนุนให้คนทำงานมีความเข้าใจเรื่องเอดส์อย่างถูกต้อง และมีทัศนคติที่ดีต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ได้รับผลกระทบ ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

ส่วนที่ 3 แผนการดำเนินงาน ข้อ 8 แผนดำเนินงานมีขึ้นเพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติตามนโยบายด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานให้บังเกิดผล โดยต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การกำหนดระบบส่งต่อให้คนทำงานเข้าถึงบริการให้คำปรึกษาก่อนและหลังการตรวจเลือด และบริการตรวจเลือดตามความสมัครใจที่หน่วยบริการที่ได้มาตรฐาน และคนทำงานเลือกโดยผู้จ้างงานควรให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายตามที่เห็นสมควร (2) การกำหนดระบบการรักษาความลับส่วนบุคคลและการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของคนทำงาน โดยการเปิดเผยต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคนทำงานเท่านั้น ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

(3) การกำหนดให้มีการอบรมหรือการจัดกิจกรรมที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเอดส์ โดยอาจกำหนดไว้ในแผนงานพัฒนาบุคคลากร แผนงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานหรือแผนงานอื่นของสถานที่ทำงาน ทั้งนี้ การอบรมหรือกิจกรรมดังกล่าวต้องมีความชัดเจนในเรื่องวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ระยะเวลาดำเนินการ และผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ (4) การกำหนดแนวทางการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ซึ่งไม่สามารถทำงานต่อไปได้ รวมถึงผู้ได้รับผลกระทบ ตามความเหมาะสม (5) การกำหนดให้มีการส่งเสริมและให้ความรู้ทางกฎหมายและแนวปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับการป้องกันและจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน แก่คนทำงานอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง เพื่อให้คนทำงาน ในสถานที่ทำงานได้ทราบและนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง (6) การกำหนดให้มีการสร้างทัศนคติที่ดีให้แก่คนทำงานที่ทำงานร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ได้รับผลกระทบ และให้ผู้ว่าจ้างและคนทำงานมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อเอชไอวี เพื่อให้เกิดการยอมรับและการอยู่ร่วมกันได้ในสังคมการทำงาน ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

หมวดที่ 2 การดำเนินงาน ส่วนที่ 1 บทบาทของผู้จ้างงาน ข้อ 9 ผู้จ้างงานต้องยึดถือและปฏิบัติตามแนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน และนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการตรวจเอชไอวีของคณะกรรมการ รวมถึงหลักรัฐธรรมนูญว่าด้วยความเสมอภาค การไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม และการเคารพสิทธิส่วนบุคคล เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน ข้อ 10 ผู้จ้างงานต้องจัดทำและพัฒนามาตรฐานการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานตามหมวด 1 และนำมาตรฐานการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานดังกล่าวไปปฏิบัติให้เกิดผล ในการดำเนินงานตามวรรคหนึ่ง ผู้จ้างงานต้องปรึกษาหารือร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดในข้อ 4 ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

ข้อ 11 ผู้จ้างงานต้องจัดให้มีการกำหนดแผนงานหรือกิจกรรมที่สอดคล้องกับมาตรฐานการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน และต้องดำเนินกิจกรรมตามแผนงานดังกล่าว พร้อมทั้งให้การสนับสนุนงบประมาณอย่างเหมาะสม ข้อ 12 ผู้จ้างงานต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีภาคีความร่วมมือหรือมีเครือข่ายของผู้จ้างงาน หรือองค์กรของผู้จ้างงาน ในกรณีที่ผู้จ้างงานรวมตัวกันเป็นองค์กร และผู้จ้างงานหรือองค์กรของผู้จ้างงานควรมีส่วนร่วมในการเป็นภาคีความร่วมมือกับนานาชาติ เพื่อระดมความร่วมมือในการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน ข้อ 13 ผู้จ้างงานต้องแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ผู้ปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับการฝึกอบรมเรื่องเอดส์ทั้งด้านการให้คำปรึกษา การป้องกัน การดูแลรักษา ข้อ 14 ผู้จ้างงานต้องปิดประกาศรายชื่อผู้ปฏิบัติงานด้านเอดส์ให้คนทำงานทุกคนในสถานที่ทำงานทราบ ณ สถานที่ทำงาน ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

ข้อ 15 ผู้ปฏิบัติงานด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ประสานติดตามและกำกับการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน (2) ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงและการพัฒนามาตรฐานการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานแก่ผู้จ้างงาน (3) จัดการศึกษา ฝึกอบรม รณรงค์ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเรื่องเอดส์ในสถานที่ทำงาน (4) ให้คำแนะนำปรึกษาเบื้องต้นและประสานส่งต่อเพื่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอก (5) เก็บรักษาข้อมูลที่เป็นความลับของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ (6) ประเมินผลและรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานต่อผู้จ้างงานและคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งขึ้นตามข้อ 26 เพื่อทราบเป็นระยะ ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

(2) การดำเนินงานและทบทวนนโยบายและแผนดำเนินงานด้านเอดส์ ข้อ 16 ผู้จ้างงานต้องสนับสนุนให้คณะกรรมการทวิภาคีหรือองค์กรทำนองเดียวกันในหน่วยงานของรัฐ ที่มีอยู่ในสถานที่ทำงาน ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ และมีบทบาทหน้าที่ด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน อย่างน้อยในเรื่องต่อไปนี้ (1) การพัฒนานโยบาย (2) การดำเนินงานและทบทวนนโยบายและแผนดำเนินงานด้านเอดส์ (3) การให้คำแนะนำเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อเอชไอวี (4) การรับเรื่องราวร้องทุกข์ (5) การหาแนวทางแก้ไขปัญหา ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

ส่วนที่ 2 บทบาทของคนทำงานและองค์กรของคนทำงาน ข้อ 17 คนทำงานต้องมีบทบาทและความรับผิดชอบในการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานดังต่อไปนี้ (1) ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน (2) มีส่วนร่วมในการจัดทำ พัฒนา และดำเนินงานตามมาตรฐานการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมที่ผู้จ้างงานจัดขึ้น (3) ไม่เลือกปฏิบัติหรือตั้งข้อรังเกียจผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ หรือผู้ได้รับผลกระทบ หรือทำให้บุคคลดังกล่าวไม่สามารถทำงานต่อไปได้ (4) ให้ความร่วมมือในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อเอชไอวีและการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวี ตลอดจนดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างเต็มความสามารถ ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

ข้อ 18 องค์กรของคนทำงานต้องริเริ่มและให้ความร่วมมือในการบรรจุเรื่องเอดส์ไว้เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน นโยบาย และแผนงานของสถานที่ทำงาน และมีบทบาทดังต่อไปนี้ (1) ติดตามและรายงานผลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐทราบ (2) ให้การช่วยเหลือคุ้มครองสิทธิของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ซึ่งถูกเลิกจ้าง โดยไม่เป็นธรรมเนื่องจากการติดเชื้อเอชไอวี (3) จัดให้มีบริการรับเรื่องร้องทุกข์ ให้คำปรึกษาแนะนำ หรือจัดกิจกรรมช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ได้รับผลกระทบ (4) มีบทบาทในการเสนอแนะ การเจรจาต่อรอง หรือการร่วมมือกับผู้จ้างงาน หรือผู้บังคับบัญชาในการพัฒนาแผนงานด้านเอดส์ เพื่อให้บรรจุเรื่องเอดส์ไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับการทำงาน (5) ร่วมมือกับผู้จ้างงานในการจัดทำหรือทบทวนมาตรฐานการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

(6) ร่วมมือกับผู้จ้างงานในการเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานแก่คนทำงานซึ่งเป็นสมาชิกขององค์กร (7) มีบทบาทในการผลักดันสมาชิกขององค์กรของคนทำงานในการเสนอตัวเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการด้านเอดส์ในระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับสถานที่ทำงาน (8) มีบทบาทในการผลักดันนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของคนทำงานด้านเอดส์ โดยการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (9) ร่วมมือกับองค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในทุกระดับ ทั้งระดับภูมิภาคและนานาชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาเอดส์ในสถานที่ทำงาน (10) ปฏิบัติการอื่นใดในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ตามที่คณะกรรมการ ทวิภาคีหรือองค์กรทำนองเดียวกันในหน่วยงานของรัฐ ที่มีอยู่ในสถานที่ทำงานตามประกาศกำหนด ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

ส่วนที่ 3 บทบาทของหน่วยงานของรัฐ ข้อ 19 หน่วยงานของรัฐนอกจากจะมีบทบาทในฐานะของผู้จ้างงานตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ 1 แล้ว ต้องมีบทบาทและความรับผิดชอบในการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ (1) เสนอแนะให้มีการทบทวน ปรับปรุง และพัฒนากฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆ เกี่ยวกับการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน ตามประกาศนี้ (2) พัฒนาองค์ความรู้ สร้างความเข้าใจ และเสริมทักษะการดำเนินงานป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานให้แก่เจ้าหน้าที่ซึ่งทำงานเกี่ยวข้องกับสถานที่ทำงานต่างๆ เพื่อให้สามารถคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ได้รับผลกระทบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

(3) ส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้สถานที่ทำงานปฏิบัติตามแนวปฏิบัติแห่งชาติในการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน โดยอาจกำหนดหลักเกณฑ์ที่เป็นผลดีต่อสถานที่ทำงานดังกล่าว เช่น การให้ประกาศเกียรติคุณ สิทธิพิเศษ รางวัล หรือการมีสิทธิในการพิจารณาจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐ (4) ประสานและสนับสนุนหน่วยงานอื่น สถานที่ทำงานของเอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

หมวดที่ 3 การติดตาม และประเมินผล ส่วนที่ 1 การกำกับดูแล ข้อ 20 ผู้จ้างงานและคนทำงาน รวมทั้งองค์กรของผู้จ้างงานและองค์กรของคนทำงาน ต้องตรวจสอบและกำกับดูแลให้มาตรฐานการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานที่ได้จัดทำขึ้นเป็นไปตามกฎหมายและแนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน ข้อ 21 ผู้จ้างงานและคนทำงาน รวมทั้งองค์กรของผู้จ้างงานและองค์กรของคนทำงาน ต้องร่วมกันติดตามและกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและบริการจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานที่ได้จัดทำขึ้น ตลอดจนการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ และแนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและบริหารจัดการต้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

ส่วนที่ 2 การตรวจสอบและแก้ไข ข้อ 22 ผู้จ้างงานต้องจัดให้มีการทบทวนและปรับปรุงการดำเนินงานป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานให้สอดคล้องกับกฎหมาย กฎระเบียบ หรือแนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน หรือข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องตามความเหมาะสม ข้อ 23 ผู้จ้างงานต้องดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องของการดำเนินงานป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดข้อบกพร่องซ้ำอีก ทั้งนี้ ผู้จ้างงานต้องนำข้อมูลที่ได้จากการเฝ้าระวังมาใช้เป็นแนวทางในการป้องกันมิให้เกิดข้อบกพร่องในการดำเนินงานต่อไป ข้อ 24 ผลของการปฏิบัติต่างๆ ในการดำเนินงานป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน ต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร และควรจัดให้มีระบบการจัดเก็บที่ดี เพื่อป้องกันความเสียหายและเพื่อความสะดวกต่อการนำมาใช้ในการพัฒนาและการแผยแพร่ ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

ส่วนที่ 3 การทบทวน ข้อ 25 ผู้จ้างงานต้องทบทวนผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานที่ได้จัดทำขึ้น และผลการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน อย่างน้อยปีละครั้ง และควรมอบหมายสั่งการตามที่จำเป็น เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวมีประสิทธิภาพและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ข้อ 26 คณะกรรมการต้องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้แทนภาครัฐ ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน ผู้แทนผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้แทนผู้จ้างงาน ผู้แทนคนทำงาน และผู้แทนองค์กรของคนทำงานในสัดส่วนเท่ากัน เพื่อขับเคลื่อนแนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานตามประกาศนี้ โดยมีหน้าที่ดำเนินการติดตามผล เฝ้าระวัง ประเมินความคืบหน้า ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำ สร้างความเข้าใจ และสนับสนุนการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติแห่งชาตินี้ ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

สรุปประเด็นสำคัญของการดำเนินงานตาม แนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน 1. นโยบายและการดำเนินงานต้อง 1.1 ยึดหลักการไม่เลือกปฏิบัติ ความเสมอภาคของชายหญิง และความหลากหลายทางเพศ 1.2 อยู่บนพื้นฐานของหลักการดังนี้ การปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี การช่วยเหลือดูแล และส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ การส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสถานที่ทำงาน 1.3 การมีส่วนร่วมและรับรู้ของทุกฝ่าย 2. กระบวนการดำเนินงาน - การพัฒนานโยบาย จัดทำแผน ดำเนินการตามแผน และกำกับติดตามประเมินผล โดยต้องปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่องสม่ำเสมอ ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์ ในที่ทำงาน

กระบวนการดำเนินงานตาม “แนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน” การปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี การช่วยเหลือดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ได้รับผลกระทบ และส่งเสริมให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ได้รับการรักษาตามสิทธิ การส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสถานที่ทำงาน ทำความเข้าใจแนวปฏิบัติแห่งชาติฯ จัดวางแนวนโยบายโครงสร้างทีม และแผนเพื่อพัฒนาองค์กร ตามแนวปฏิบัติฯ ดำเนินการพัฒนาองค์กรตามแนวนโยบายและแนวทางฯ ติดตามประเมินผล การพัฒนาองค์กรฯ ปรับปรุง แก้ไขพัฒนาองค์กร นำช่องว่างและปัญหาอุปสรรคที่ได้จากการติดตามประเมินผลภายใน/นอก มาพัฒนาปรับปรุง A Act P Plan การพัฒนาองค์กร จัดทำและประกาศนโยบายองค์กร จัดวางโครงสร้างและทีมรับผิดชอบ จัดทำแผนปฏิบัติการ C Check D Do ติดตามประเมินผลกิจกรรมที่จัดโดยเฉพาะในเชิงพฤติกรรม (ความรู้ความเข้าใจเรื่องเอดส์ การอยู่ร่วมกัน และการป้องกันการติดเชื้อ เอชไอวี) จัดกิจกรรมส่งเสริมให้บุคลากรมีความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องเอดส์ มีทัศนคติที่ต่อการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี และเข้าถึงบริการการป้องกันเอดส์ (ตัวอย่างเชน condom point ฯลฯ)