หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การเงิน การคลัง.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สำนักมาตรฐานด้านการบัญชีภาครัฐ
Advertisements

กองก่อสร้างโครงการย่อย กองก่อสร้างโครงการกลาง กองก่อสร้างโครงการใหญ่
นายชิดชัย อังคะ ไวมงคล หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ ผังเมือง นายมนัส ปรุง ทำนุ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ ร. อ. ปกรณ์เดช โลหิตหาญ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ โยธาธิการ.
Your Investment Partner
บทที่ 1 การรวมธุรกิจ.
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information Systems)
นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
ความก้าวหน้าในการจัดทำแผนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่
ขอบเขตของการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
ข้อสรุปจากวีดีทัศน์ “ผีปู่แสะย่าแสะ” 1. การมีส่วนร่วมของชุมชน 2
โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
ชลบุรี ว่าง นายชิดชัย อังคะไวมงคล
กาฬสินธุ์ ว่าง สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
ผู้รับผิดชอบ ผลผลิต ฝ่ายบริหารทั่วไป
โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
และองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรีสาขาระดับอำเภอ 6 สาขา
การบริหารการค้าปลีกและการค้าส่ง
บทที่2 การวางแผนการผลิตและกำลังการผลิต
การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในไทย
1.
สหกรณ์ ปี 2560 สหกรณ์ 4,629 สหกรณ์ (65%) ต้อง  สมาชิกไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีส่วนร่วม ในการดำเนินธุรกิจสหกรณ์  สหกรณ์มีเสถียรภาพทางการเงินในระดับ มั่นคงมาตรฐานขึ้นไป.
Knowledge- Base Systems ระบบสหกรณ์. ที่มาของโครงการ โครงการนี้เกิดจากการรวมกลุ่มของกลุ่มบุคคล เพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อความต้องการและเป้าหมายของ.
สาระสำคัญของ ร่างพระราชบัญญัติธนาคาร ที่ดิน พ. ศ..... โดย นายธรรมนิตย์ สุมันตกุล อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา.
ผลการดำเนินงาน ปีงบ ๒๕๕๘ ( ร่าง ) แผนปฏิบัติการฯ ปี งบ ๒๕๕๙ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตราด.
แผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย ฝ่ายวิชาการและวางแผนสำนักงานสถิติจังหวัดระยอง 1.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
โดย นายแพทย์ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข “เรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สร้างสรรค์” นโยบายการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย.
เงินเฟ้อ Inflation.
แผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ )
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
ระบบการควบคุมภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
บทที่ 8 เงินเฟ้อ เงินฝืด และการว่างงาน
Design by Agri - Map สำนักงานชลประทานที่ ๘.
การบริหารงานคลังสาธารณะ
เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
แนวทางการปฏิบัติงานตามข้อสั่งการ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
ระบบเศรษฐกิจ.
โดย นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ ผู้อำนวยการส่วนจัดการงบประมาณ
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
กลุ่มเกษตรกร.
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
การวิเคราะห์องค์กร รู้จักตนเอง
ข้อเสนอต่อการพัฒนา ระบบการสร้างเสริมสุขภาพ ของประเทศไทย
ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ
ประกันภัยกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทย ปี 2540
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
แนวปฏิบัติ การจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ
ความปลอดภัยด้านอาหารและน้ำ
Topic 11 เงินเฟ้อ เงินฝืด การว่างงาน
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในเขตปลอดอากร นักตรวจสอบภาษีชำนาญการพิเศษ
แนวทางการแก้ไขปัญหาก๊าซ LPG
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การประชุมผู้บริหารระดับสูง
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
“อนาคตการสื่อสารไทย โฉมหน้าใหม่ กสทช. ในร่างรัฐธรรมนูญ”
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การเงิน การคลัง

ตัวชี้วัด อธิบายบทบาทของรัฐบาลเกี่ยวกับการเงิน การคลังในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ (ส3.2 ม.4-6/1)

ผังสาระการเรียนรู้ การเงิน การคลัง การเงิน การธนาคาร การคลัง และงบประมาณ การจัดการเรื่องรายได้ รายจ่าย ของรัฐบาล

การเงิน การธนาคาร การคลัง และงบประมาณ เงิน หมายถึง สิ่งที่ทุกคนในสังคมนั้นๆ ยอมรับอย่างกว้างขวางให้ใช้ชำระเป็นค่าสินค้าและบริการ

ความหมายของปริมาณเงิน ในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า อุปทานของเงิน หมายถึง เงินที่รัฐบาลผลิตออกมาและหมุนเวียนอยู่ในมือของประชาชน เอกชน ห้างร้าน และบริษัทต่างๆ รวมทั้งเงินฝากของประชาชน ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง

ปริมาณเงินมีองค์ประกอบ ดังนี้  ธนบัตร ธนาคารกลางของไทย หรือธนาคารแห่งประเทศไทย จะเป็นผู้ผลิต และควบคุมปริมาณเงินมิให้มากหรือน้อยจนเกินไป  เหรียญกษาปณ์ การซื้อขายสินค้าที่มีมูลค่าน้อยจะใช้เหรียญกษาปณ์เพื่อความสะดวก หน่วยงานที่รับผิดชอบในการผลิตคือ กรมธนารักษ์  เงินฝากกระแสรายวัน หมายถึง เงินที่ฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์ โดยผู้เป็นเจ้าของเงินฝากสามารถเขียนเช็คสั่งให้ธนาคารพาณิชย์จ่ายเงินได้ทันที

ภาวะที่มีผลทำให้ระบบเศรษฐกิจเกิดความผันผวน ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาของสินค้าและบริการที่จำเป็นส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อำนาจซื้อของเงินลดลง ภาวะเงินเฟ้อระดับอ่อน คือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปสูงขึ้นไม่เกินอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม

ภาวะที่มีผลทำให้ระบบเศรษฐกิจเกิดความผันผวน ภาวะเงินเฟ้อระดับปานกลาง คือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปมีราคาสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 5 แต่ไม่เกินร้อยละ 20 ต่อปี ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง ภาวะที่ระดับราคา และบริการโดยทั่วไปปรับเพิ่มมากขึ้น หรือสูงกว่าร้อยละ 20 ต่อปี ภาวะเงินเฟ้อเกิดขึ้นฉับพลันประชาชนประสบกับความเดือดร้อนมาก

สาเหตุของการเกิดภาวะเงินเฟ้อ ความต้องการซื้อสินค้าและบริการ ของประชาชนมีมากกว่าปริมาณการผลิตที่ผู้ผลิตนำออกจำหน่าย ความต้องการเพิ่มขึ้นแต่ผลิตเพิ่มตามไม่ทันทำให้ระดับราคามีแนวโน้มสูงขึ้น สาเหตุทางด้านอุปสงค์ ปริมาณสินค้าและบริการ ที่ผู้ผลิตนำมาเสนอขายซึ่งต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้นตามไป สาเหตุทางด้านอุปทาน

ภาวะเงินเฟ้อ ผลกระทบของเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพของประชาชน ทำให้มาตรฐานค่าครองชีพสูงขึ้น ผลต่อความต้องการถือเงิน เงินจำนวนเดิมซื้อของได้ปริมาณน้อยลง ผลต่อระดับการผลิตและการลงทุนของประเทศ ระดับภาวะเงินเฟ้อไม่สูงมาก ช่วยกระตุ้นการผลิต ถ้ามีระดับสูงมาก ทำให้ผลผลิตที่ผลิตมาขายไม่ได้ ผลต่อดุลการค้า ดุลการชำระเงิน ราคาสินค้าในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งมีราคาสูงกว่าประเทศที่เป็นคู่แข่งขัน ผลต่อบุคคลที่มีฐานะเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ เจ้าหนี้จะเป็นฝ่ายเสียเปรียบเนื่องจากตัวเงินที่ได้รับจากการชำระหนี้มีค่าลดลงเมื่อเทียบกับค่าเงินในช่วงที่กู้ยืมไป ผลกระทบของเงินเฟ้อ

ภาวะเงินฝืด หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยรวมลดลง ทำให้อำนาจซื้อของเงินเพิ่มขึ้น ภาวะเงินฝืดระดับอ่อน เป็นภาวะที่ระดับราคาของสินค้าและบริการลดลงต่อเนื่องไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ ภาวะเงินฝืดระดับปานกลาง เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการลดลงในระดับเกินกว่าร้อยละ 5 แต่ยังต่ำกว่าร้อยละ 20 ต่อปี ส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ ภาวะเงินฝืดระดับรุนแรง เป็นภาวะระดับราคาของสินค้าและบริการมีการลดลงอย่างต่อเนื่องในระดับเกินกว่าร้อยละ 20 ต่อปี ส่งผลให้ผู้ผลิตหยุดผลิตสินค้าและมีการปลดคนงานหรือเลิกจ้าง

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะเงินฝืด ธนาคารกลาง กำหนดนโยบายการเงินแบบเข้มงวด สถาบันการเงินต่างๆ ชะลอการปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ต้องการกู้ยืม ธนาคารกลางพิมพ์ธนบัตรออกมาหมุนเวียนในระบบน้อยเกินไป ปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะเงินฝืด ประเทศมีฐานะทางดุลการค้าหรือดุลการชำระเงินขาดดุลอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลเก็บภาษีในอัตราสูง รัฐบาลใช้นโยบายลดงบประมาณรายจ่าย

ผลกระทบที่เกิดจากภาวะเงินฝืด การจ้างงานลดลงทำให้เกิดปัญหาคนว่างงาน ประชาชนมีรายได้ลดลงและไม่มีกำลังซื้อเพียงพอ การชะลอการลงทุนการผลิตลดลง ผลกระทบต่อความต้องการถือเงิน เนื่องจากเงินจำนวนเดิมซื้อสินค้าและบริการได้มากขึ้น ผลกระทบที่เกิดจากภาวะเงินฝืด

มาตรการของนโยบายการเงิน มาตรการที่ใช้เพื่อแก้ไขภาวะเงินเฟ้อและภาวะเงินฝืด นโยบายการเงิน เป็นเครื่องมือในการกระตุ้นหรือชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยการปรับเปลี่ยนปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ มาตรการของนโยบายการเงิน เครื่องมือควบคุมปริมาณเงิน  การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย  เปิดตลาดซื้อขายหลักทรัพย์  การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดหรืออัตราธนาคาร เครื่องมือในการควบคุมด้านคุณภาพ ธนาคารกลางดูแลคุณภาพการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ให้เป็นประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจที่สำคัญตลอดจน ลดการให้สินเชื่อแก่ภาคเศรษฐกิจที่ ไม่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจส่วนรวม

การธนาคาร (สถาบันการเงิน) ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นธนาคารของประเทศทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบการเงิน

การธนาคาร (สถาบันการเงิน) ธนาคารพาณิชย์ เป็นธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจระดมเงินออมโดยการรับเงินฝากประเภทต่าง ๆ รวมทั้งการปล่อยสินเชื่อแก่บุคคลหรือหน่วยธุรกิจ

การธนาคาร (สถาบันการเงิน) ธนาคารอิสลาม เป็นธนาคารที่ให้ชาวไทยมุสลิมได้ดำเนินธุรกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างไม่ผิดหลักของศาสนาอิสลาม

รูปแบบของนโยบายการเงิน ทำให้เงินหายากหรือตึงตัวขึ้น  เปิดให้มีการขายหลักทรัพย์  เพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย  เพิ่มอัตรารับช่วงซื้อลด นโยบายการเงินแบบเข้มงวด ทำให้มีเงินหมุนเวียนสะพัดมากขึ้น  ซื้อหลักทรัพย์โดยเปิดเผย  ลดอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย  ลดอัตรารับช่วงซื้อลด นโยบายการเงินแบบขยายตัว

รายชื่อสถาบันการเงินประเภทธนาคาร ตารางแสดงประเภทสถาบันการเงินในประเทศไทย รายชื่อสถาบันการเงินประเภทธนาคาร หน่วยงานกำกับดูแล 1. ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง 2. 3. 4. 5. ธนาคารพาณิชย์ สาขาธนาคารต่างประเทศ (Full branch) ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย 6. ธนาคารออมสิน กระทรวงการคลัง/ธนาคาร แห่งประเทศไทย

รายชื่อสถาบันการเงินประเภทธนาคาร ตารางแสดงประเภทสถาบันการเงินในประเทศไทย รายชื่อสถาบันการเงินประเภทธนาคาร หน่วยงานกำกับดูแล 7. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กระทรวงการคลัง/ธนาคาร แห่งประเทศไทย 8. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธ.อ.ส.) 9. ธนาคารเพื่อการส่งออกและ นำเข้าแห่งประเทศไทย (ธ.ส.น.) 10. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธ.พ.ว.) แห่งประเทศไทย/กระทรวงอุตสาหกรรม

รายชื่อสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร ตารางแสดงประเภทสถาบันการเงินในประเทศไทย รายชื่อสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร หน่วยงานกำกับดูแล 1. 2. บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ธนาคารแห่งประเทศไทย 3. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บ.ส.ย.) กระทรวงการคลัง/กระทรวงอุตสาหกรรม 4. บรรษัทตลาดรองสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย กระทรวงการคลัง/ธนาคารแห่งประเทศไทย 5. บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน การทรวงการคลัง/ธนาคาร แห่งประเทศไทย

รายชื่อสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร ตารางแสดงประเภทสถาบันการเงินในประเทศไทย รายชื่อสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร หน่วยงานกำกับดูแล 6. บริษัทบริหารสินทรัพย์ (เฉพาะที่ถือหุ้นโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน) กระทรวงการคลัง/ธนาคารแห่งประเทศไทย 7. บริษัทรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ กระทรวงการคลัง/ธนาคาร แห่งประเทศไทย 8. 9. บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม คณะกรรมการกำกับหลัก-ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 10. บริษัทประกันชีวิต กระทรวงพาณิชย์

รายชื่อสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร ตารางแสดงประเภทสถาบันการเงินในประเทศไทย รายชื่อสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร หน่วยงานกำกับดูแล 11. 12. สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ กรมส่งเสริมสหกรณ์และ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 13. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 14. กองทุนประกันสังคม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม 15. โรงรับจำนำ กระทรวงมหาดไทย

การคลังภาครัฐ ในทุกระบบเศรษฐกิจ จำเป็นต้องมีการควบคุมดูแลโดยภาครัฐ แม้ว่าระบบเศรษฐกิจนั้นจะเป็นระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม รัฐบาลจำเป็นต้องกำหนดนโยบายการคลัง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ ตลอดจนมีบทบาท แทรกแซงกลไกตลาด

การคลังภาครัฐ สินค้าและบริการที่ก่อให้เกิดผลกระทบภายนอก การลงทุนที่มีขนาดใหญ่ ระบบตลาดที่แท้จริงเกิดความล้มเหลวด้วยเหตุผลที่สำคัญ ดังนี้ กรณีสินค้าสาธารณะ เกิดข้อจำกัดด้านข่าวสารที่ไม่อาจสื่อให้ประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง

การจัดการเรื่องรายได้ รายจ่าย ของรัฐบาล รายได้หรือรายรับของรัฐบาล รายได้จากภาษีอากร รายได้จากรัฐวิสาหกิจต่างๆ รวมทั้งรายได้จากค่าปรับ ค่าธรรมเนียม ใบอนุญาต ด้านการศึกษา การป้องกันประเทศ การสาธารณสุข การพัฒนาชนบท เงินกู้ของรัฐบาลจากภายในและต่างประเทศ เงินคงคลัง การจัดการเรื่องรายได้ รายจ่าย ของรัฐบาล รายได้หรือรายรับของรัฐบาล รายจ่ายภาครัฐ

โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 งบประมาณแผ่นดิน งบประมาณแผ่นดินของประเทศไทยกำหนดคาบเวลา 1 ปี เรียกว่าปีงบประมาณ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมของปีก่อนหน้า จนถึงวันที่ 30 กันยายนของปีปัจจุบัน โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557

ในการกำหนดงบประมาณแผ่นดินรายปี อาจดำเนินการได้ 3 แนวทาง ได้แก่ งบประมาณแผ่นดินแบบสมดุล หมายถึง การกำหนดงบประมาณรายจ่ายเท่ากับงบประมาณรายรับ งบประมาณแผ่นดินแบบเกินดุล หมายถึง การกำหนดงบประมาณรายจ่ายให้น้อยกว่างบประมาณรายรับ งบประมาณแผ่นดินแบบขาดดุล หมายถึง การกำหนดงบประมาณรายจ่ายให้สูงกว่างบประมาณรายรับ

หนี้สาธารณะ คือ รัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ รัฐบาลจำเป็นต้องหารายได้ หรือรายรับ เพื่อจัดสรรเป็นรายจ่ายโดยการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มขึ้นหรือ อาจกู้จากสถาบันการเงิน

นโยบายการคลังแบบเข้มงวด นโยบายการคลังแบบขยายตัว ใช้ในกรณีที่ควรมีการสร้างความเป็นธรรมและสร้างประสิทธิภาพในการกระจายรายได้ นโยบายการคลังแบบขยายตัว ใช้ในกรณีรัฐบาลเล็งเห็นว่าในช่วงเวลาที่ภาวะเศรษฐกิจขยายตัวน้อยหรือภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง

นโยบายการคลังประกอบด้วยเครื่องมือ 3 ชนิด ได้แก่ นโยบายด้านรายรับหรือนโยบายภาษีอากร  รัฐบาลจะเพิ่มอัตราภาษีในกรณีนี้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว  รัฐบาลจะลดอัตราภาษีในกรณีที่เศรษฐกิจตกต่ำ นโยบายด้านรายจ่าย หรือ นโยบายงบประมาณ เป็นเครื่องมือที่สำคัญของรัฐบาลในการบริหารและควบคุมภาวะเศรษฐกิจ การจัดสรรการใช้จ่ายให้กับกิจกรรมต่าง ๆ แสดงถึงการให้ความสำคัญกับกิจกรรมนั้น ๆ นโยบายบริหารหนี้สาธารณะ คือการที่รัฐบาล กู้ยืมเงินเพื่อใช้จ่ายในกิจกรรมต่าง ๆ ให้เกิดผลผลิตเพิ่มขึ้น ช่วยให้อัตราการพัฒนาเศรษฐกิจเติบโตเร็วยิ่งขึ้น

มาตราการการคลังเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ มาตรการคลังเพื่อแก้ไขภาวะเงินเฟ้อ  ลดการใช้จ่ายของภาครัฐบาล  เพิ่มภาษีอากร มาตราการการคลังเพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงาน  เพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล  การลงทุนในงานด้านส่วนรวม  ลดภาษี มาตราการการคลังเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ มาตรการการคลังเพื่อแก้ไขภาวะเงินฝืด  เพิ่มการใช้จ่ายของภาครัฐ  ลดอัตราภาษีอากร

มาตรการการคลังเพื่อแก้ปัญหาการกระจายรายได้ไม่เท่าเทียมกัน มาตรการด้านรายจ่าย  การใช้จ่ายของรัฐบาลโดยเลือก โครงการใช้จ่ายที่จะให้ ประโยชน์แก่ผู้มีรายได้ต่ำ  การให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า  โครงการพยุงราคาสินค้า มาตรการด้านรายได้  การจัดเก็บภาษีในระบบอัตรา ก้าวหน้า  การจัดเก็บภาษีมรดกและภาษี ทรัพย์สิน  นโยบายการคลังกับการพัฒนา เศรษฐกิจ มาตรการการคลังเพื่อแก้ปัญหาการกระจายรายได้ไม่เท่าเทียมกัน

เศรษฐกิจภาครัฐบาล ภาครัฐบาลการหารายได้ และการใช้จ่ายจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ผลได้ผลเสียของส่วนรวมหรือสาธารณะเป็นสำคัญ

เศรษฐกิจภาครัฐบาลจะครอบคลุมเกี่ยวกับ หนี้ของรัฐหรือหนี้สาธารณะ รายจ่ายของรัฐบาล รายได้ของรัฐบาล งบประมาณของรัฐบาล เศรษฐกิจภาครัฐบาลจะครอบคลุมเกี่ยวกับ นโยบายการคลัง หนี้ของรัฐหรือหนี้สาธารณะ

รายได้ของส่วนราชการท้องถิ่น โครงสร้างรายได้ของรัฐบาล รายได้จากภาษีอากร รายได้จากการขายสินค้า และบริการ รายได้จากรัฐพาณิชย์ รายได้อื่นๆ เงินอุดหนุน การออกตราสารหนี้ภาครัฐ เช่น พันธบัตรรัฐบาล รายรับของรัฐบาล รายได้ของรัฐบาลกลาง รายได้ของส่วนราชการท้องถิ่น เงินกู้ เงินคงคลัง

โครงสร้างรายจ่ายของรัฐบาล รายจ่ายของรัฐบาลกลาง  รายจ่ายด้านเศรษฐกิจ  รายจ่ายด้านการศึกษา  รายจ่ายด้านสาธารณสุขและสาธารณูปการ  รายจ่ายด้านบริการสังคม  รายจ่ายด้านการศึกษาความมั่นคงแห่งชาติ  รายจ่ายด้านการรักษาความสงบภายใน  รายจ่ายด้านการบริหารทั่วไป  รายจ่ายด้านการชำระหนี้เงินกู้ รายจ่ายของส่วนราชการท้องถิ่นหรือรัฐบาลท้องถิ่น  รายจ่ายของรัฐบาลกลาง ได้แก่ รายจ่ายของกระทรวง ทบวง กรม  รายจ่ายของรัฐบาลท้องถิ่น  รายจ่ายจากเงินนอกงบประมาณ เช่น เงินกู้ เงินช่วยเหลือ โครงสร้างรายจ่ายของรัฐบาล

งบประมาณของรัฐบาลแบ่งเป็น 3 ลักษณะดังนี้ งบประมาณของรัฐบาลหรืองบประมาณแผ่นดิน งบประมาณของรัฐบาลแบ่งเป็น 3 ลักษณะดังนี้ งบประมาณสมดุล งบประมาณรายได้และรายจ่ายของรัฐบาลมีจำนวนเท่ากัน งบประมาณขาดดุล รัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ งบประมาณเกินดุล รัฐบาลมีรายได้มากกว่ารายจ่าย

นโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล 1. กระตุ้นเศรษฐกิจที่มีผลต่อการยกระดับรายได้ของประชาชน 2. ปรับปรุงภาษีให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 3. จัดหาแผนการบริหารทรัพย์สินและหนี้สินสาธารณะ 4. ดำเนินนโยบายการเงินที่เอื้อต่อการปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจ 5. ฟื้นฟูและเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านเกษตรกรรม 6. พัฒนาตลาดในประเทศไทย

นโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล 7. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรกรรมในตลาดโลก 8. พัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก 9. บริหารการท่องเที่ยวโดยใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก 10. พัฒนาและส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการค้าสินค้าและบริการในภูมิภาค 11. สนับสนุนและผลักดันนโยบายการค้าเสรีของเขตการค้าเสรีอาเซียน