การพัฒนาบัญชีของหน่วยบริการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข & ตรวจราชการและนิเทศก์งาน อมรรัตน์ พีระพล กลุ่มประกันสุขภาพ
หัวข้อนำเสนอ 1.ภาพรวมสถานะทางการเงิน รพ.สังกัด สป 2.การพัฒนาบัญชีหน่วยบริการ 3.นโยบายการพัฒนาระบบการเงินการคลัง 4.การบริหารด้วยเครื่องมือทางการเงิน 5.แนวทางในการตรวจราชการและนิเทศก์งาน
1.ภาพรวมสถานะทางการเงิน รพ.สังกัด สป
สถานะการเงินรายเขต ไตรมาส 4/2558 Q4Y2558 เขต จำนวน รพ. ระดับ 7 CR QR Cash NWC NI+Depreciation เงินบำรุงคงเหลือ(หลังหักหนี้แล้ว) 1 18 2.23 2.03 1.61 4,599,941,560.39 600,468,439.45 1,645,429,600.53 2 7 1.63 1.41 1.15 1,429,747,608.08 218,901,051.56 442,077,428.85 3 10 2.52 2.25 1.95 1,321,399,610.47 -278,635,482.42 517,842,353.27 4 13 1.91 1.75 1.38 2,858,871,230.51 -597,429,801.95 776,486,916.01 5 9 1.76 1.58 1.21 2,531,071,156.94 794,388,824.92 470,073,836.47 6 2.33 2.16 1.79 5,530,880,400.44 1,336,945,504.99 2,623,789,897.60 8 1.56 1.22 2,219,704,103.24 558,815,369.15 408,839,616.22 12 1.86 1.27 2,429,401,696.41 736,127,817.04 451,838,761.81 2.76 2.47 2.04 5,191,876,027.44 359,705,950.14 2,836,240,929.72 15 2.12 1.94 3,327,833,660.41 561,999,115.82 1,724,356,829.71 11 23 1.73 1.32 1,884,005,022.05 144,083,473.88 -58,288,955.38 16 1.47 2,155,708,001.75 -270,612,471.46 855,637,433.01 ผลรวมทั้งหมด 136 35,480,440,078.13 4,164,757,791.11 12,694,324,647.82
2.ภาพรวมสถานะทางการเงิน รพ. สังกัด สป. เขต 1 เขต2 เขต3 เขต4 เขต5 เขต6 เขต7 เขต8 เขต9 เขต10 เขต11 เขต12 รวม Q1/58 6 5 3 2 4 1 7 13 53 Q2/58 8 9 48 Q3/58 14 12 15 19 104 Q4/58 18 10 23 16 136
แนวโน้มเงินบำรุงคงเหลือและทุนสำรองสุทธิปี 2558
แนวโน้มการเติบโต ภาระหนี้ ผลประกอบการ 2553-2557 ภาพรวมสถานะทางการเงิน รพ. สังกัด สป. แนวโน้มการเติบโต ภาระหนี้ ผลประกอบการ 2553-2557
2.การพัฒนาบัญชีหน่วยบริการ
สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ด้านกระบวนการ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 1. ระบบรายได้ 2. ระบบการรับเงิน 3. ระบบการจ่ายเงิน 1.1 1.2 1.3 2.1 2.2 3.1 3.2 4. ระบบการจัดหาพัสดุ 5. ระบบสินค้าคงคลัง 6. ระบบการรายงานทางการเงิน 4.1 4.2 4.3 5.1 5.2 5.4 6.1 5.3 5.5 มีผลกระทบต่อตัวเลขทางการเงิน ข้อบกพร่องของการควบคุมภายใน
สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบรายได้ สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบรายได้ 1.1 ควรมีกระบวนการปรับปรุงยอดลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาลและรายได้ค่ารักษาพยาบาลตามแต่ละสิทธิให้ใกล้เคียงกับจำนวนเงินที่คาดว่าจะได้รับ (กระทบต่อตัวเลขการเงิน และข้อบกพร่องของการควบคุมภายใน) ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ มีการบันทึกรายการบัญชีรายได้ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน ตามสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า และรายได้ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในตามสิทธิประกันสังคม ด้วยราคากลางตามที่กำหนดไว้ในระบบสารสนเทศโดยไม่ได้มีการปรับปรุงรายได้ค่ารักษาพยาบาลให้เป็นไปตามจำนวนเงิน ที่คาดว่าจะได้รับ ซึ่งอาจทำให้รายได้ค่ารักษาพยาบาล ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง มีการปรับปรุงรายได้ค่ารักษาพยาบาลดังกล่าวเมื่อได้รับเงินจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยบันทึกเข้าบัญชีส่วนต่างค่ารักษาที่สูงกว่าหรือบัญชีส่วนต่างค่ารักษาที่ต่ำกว่า แล้วแต่กรณี ซึ่งอาจทำให้รายได้ค่า รักษาพยาบาลไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง ณ สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ควรมีกระบวนการปรับปรุงยอดลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาลและรายได้ค่ารักษาพยาบาลตามแต่ละสิทธิให้ใกล้เคียงกับจำนวนเงินที่คาดว่าจะได้รับจาก แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดให้มีกระบวนการในการประมาณรายได้ค่ารักษาพยาบาลค้างรับโดยพิจารณาจากจำนวนเงินที่ได้รับจริงครั้งล่าสุดควบคู่ไปกับภาวะการณ์ในปัจจุบัน เป็นต้น เพื่อ แสดงมูลค่าของลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาลคงค้างถูกต้องตามความเป็นจริง ณ สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี แสดงรายได้ที่ควรจะเป็นในรอบระยะเวลาบัญชี ตามเกณฑ์คงค้าง
สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบรายได้ สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบรายได้ 1.2 ควรมีกระบวนการตรวจสอบสิทธิของผู้ป่วยก่อนให้การรักษา (ข้อบกพร่องของการควบคุมภายใน) ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ กระบวนการตรวจสอบสิทธิของผู้ป่วยก่อนให้การรักษายังมีข้อผิดพลาดอยู่ สาเหตุอาจเกิดจากฐานข้อมูลที่ไม่เป็นปัจจุบันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่ละสิทธิ หรือการแจ้งข้อมูล ที่ไม่ถูกต้องจากผู้ป่วยเมื่อเข้ารับการรักษาเอง ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ควรมีการเก็บข้อมูลที่เกิดจากการตรวจสอบสิทธิของผู้ป่วยผิดพลาด เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ และจำนวนเงิน ที่ไม่สามารถเรียกเก็บจากการให้บริการรักษาพยาบาลได้ ควรมีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์อายุคงค้างของลูกหนี้แต่ละสิทธิ และนำเสนอให้ผู้บริหารสอบทานอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อช่วยในการตรวจสอบความถูกต้อง ในการเรียกเก็บเงินตามแต่ละสิทธิรักษาพยาบาล
สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบรายได้ สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบรายได้ 1.3 ควรมีการแบ่งแยกหน้าที่ของการปฏิบัติงานในขั้นตอนการตั้งเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิรักษาพยาบาลที่เหมาะสม (ข้อบกพร่องของการควบคุมภายใน) ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ ไม่มีการแบ่งแยกหน้าที่ของการปฏิบัติงานในขั้นตอนการตั้งเบิกเงิน ค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิรักษาพยาบาลที่เหมาะสม โดยพบว่า การตั้งเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิรักษาพยาบาลแต่ละสิทธิในระบบ E-Claim ทำโดยเจ้าหน้าที่ที่ดูแลสิทธิรักษาพยาบาลแต่ละท่านแยก จากกัน ซึ่งเจ้าหน้าที่แต่ละท่านมีหน้าที่ดังนี้ การดึงข้อมูลจากระบบสารสนเทศ การเปลี่ยนแปลงไฟล์ข้อมูลจากระบบสารสนเทศ การสอบทานความถูกต้องของข้อมูล การบันทึกข้อมูลการให้บริการเข้าระบบ E-Claim เพื่อเรียกเก็บเงิน การมอบหมายหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น อาจทำให้เกิดความผิดพลาด ในการบันทึกและประมวลผลข้อมูลจากการที่เจ้าหน้าที่คนเดียวกันทำหน้าที่ตั้งแต่ต้นจนจบ ควรมีการแบ่งแยกหน้าที่ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสม โดยมอบหมายหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในการตั้งเบิกค่ารักษาพยาบาลให้กับเจ้าหน้าที่ท่านอื่นซึ่งไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดึงข้อมูลจากระบบสารสนเทศและการเปลี่ยนแปลงไฟล์ข้อมูลการให้บริการ ก่อนทำการบันทึกข้อมูลดังกล่าวเข้าระบบ E-Claim เพื่อ ป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดความผิดพลาดขึ้น จากการที่เจ้าหน้าที่คนเดียวกันทำหน้าที่ในการบันทึกและประมวลผลข้อมูลที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นจนจบ เพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมภายในของหน่วยบริการ
สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบการรับเงิน สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบการรับเงิน 2.1 ควรมีการจัดทำและสอบทานทะเบียนคุมการรับเงินค่ารักษาพยาบาล (ข้อบกพร่องของการควบคุมภายใน) ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ การบันทึกบัญชีลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาลและรายได้ค่ารักษาพยาบาลอาจจะไม่ถูกต้องและไม่ครบถ้วน เนื่องจาก ไม่มีการจัดทำทะเบียนคุมการรับเงินค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับจากการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารและ การรับเช็ค ไม่มีการสอบทานเงินที่ได้รับว่าถูกต้องตรงกับรายได้ค่ารักษาพยาบาลค้างรับในบัญชี ควรมีการจัดทำทะเบียนคุมการรับเงินที่ได้รับจากการ โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารและการรับเช็ค และ ควรมีการตรวจสอบว่าการรับเงินดังกล่าวถูกต้องตรงกับรายได้ค่ารักษาพยาบาลค้างรับที่บันทึกบัญชี เพื่อให้แน่ใจ ถึงความถูกต้องและความครบถ้วนของการบันทึกบัญชี ในกรณีที่มีผลแตกต่างของเงินค่าบริการที่ได้รับกับลูกหนี้คงค้างที่บันทึกบัญชี ควรติดตามหาสาเหตุของผลต่างที่เกิดขึ้น และทำการปรับปรุงเพื่อการบันทึกบัญชีให้ถูกต้องตามสถานะที่ควรจะเป็น
สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบการรับเงิน สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบการรับเงิน 2.2 ควรมีการจัดทำและสอบทานรายงานการวิเคราะห์อายุลูกหนี้แต่ละประเภทโดยฝ่ายการเงินและบัญชี (ข้อบกพร่องของการควบคุมภายใน) ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ ไม่ได้จัดให้มีการทำรายงานการวิเคราะห์อายุลูกหนี้แต่ละประเภทโดยฝ่ายการเงินและบัญชี ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถทราบถึงสถานะของลูกหนี้ และไม่สามารถจัดเก็บหนี้กับลูกหนี้แต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสม ควรมีการจัดทำงบแยกอายุลูกหนี้โดยแผนกบัญชีทุกเดือนและการนับวันคงค้างของรายการหนี้ควรนับจากวันที่เรียกเก็บเงินจากลูกหนี้หรือวันที่ตั้งเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลในระบบ E-Claim จนถึง ณ วันที่ที่ทำงบแยกอายุลูกหนี้แล้วนำเสนอ ในรูปแบบของรายงานที่แยกตามช่วงของวัน รายงานการวิเคราะห์อายุลูกหนี้จะช่วยให้ทราบถึงสถานะ ของลูกหนี้และดำเนินนโยบายการจัดเก็บหนี้กับลูกหนี้แต่ละประเภทอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวควรได้รับ การสอบทานโดยเจ้าหน้าที่อาวุโสและอนุมัติโดยผู้บริหาร เพื่อความมีประสิทธิภาพในการจัดเก็บและเร่งรัดหนี้สิน ควรกำหนดให้มีการลงนามการสอบทานและการอนุมัติเพื่อ เป็นหลักฐานแสดงว่าได้มีการสอบทานและติดตามหนี้แล้ว
สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท EY ระบบการจ่ายเงิน 3.1 ควรขีดคร่อมและขีดฆ่า “หรือผู้ถือ” ล่วงหน้าเมื่อหน่วยบริการได้รับเช็คจากธนาคาร (ข้อบกพร่องของการควบคุมภายใน) ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ เช็คจ่ายจะถูกขีดคร่อมและขีดฆ่า “หรือผู้ถือ” เมื่อมีการสั่งจ่ายเช็ค โดยมิได้ขีดคร่อมและขีดฆ่าล่วงหน้าเมื่อได้รับเช็คจากธนาคารซึ่งอาจทำให้เช็คเหล่านั้นจะถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม ควรพิจารณาดำเนินการขีดคร่อมเช็คทุกใบและขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ทันทีที่ได้รับสมุดเช็คจากธนาคาร ทั้งนี้เพื่อให้ แน่ใจว่าเช็คเหล่านั้นจะไม่ถูกนำไปใช้ในทางที่ ไม่เหมาะสม แน่ใจได้ว่าเช็คจะถึงมือผู้รับตามที่ระบุ ถึงแม้ว่าจะมีนโยบายในการขีดคร่อมเช็คทุกครั้งที่มีการจ่ายเงิน แต่ก็ยังมีโอกาสที่จะลืมขีดคร่อมได้ ด้วยเหตุนี้ การกำหนดนโยบายการขีดคร่อมและขีดฆ่าเช็คล่วงหน้าจะช่วงลดโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดจากการลืม กรณีการทำจ่ายด้วยเช็คเงินสด เช่น การเบิกชดเชย วงเงินสดย่อย ควรจัดให้มีสมุดเช็คแยกต่างหากสำหรับการจ่ายเช็คเงินสดดังกล่าว
แนวทางและวิธีการการปฏิบัติตามกฎระเบียบระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนําเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551
สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบการจ่ายเงิน สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบการจ่ายเงิน 3.2 ควรมีการประทับตรา “จ่ายแล้ว” บนใบสำคัญจ่ายและเอกสารประกอบการจ่ายเงินทุกฉบับที่จ่ายเงิน เรียบร้อยแล้ว (ข้อบกพร่องของการควบคุมภายใน) ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ ใบสำคัญจ่ายและเอกสารประกอบการจ่ายเงินบางฉบับไม่มีการประทับตรา “จ่ายแล้ว” บนใบสำคัญจ่ายและเอกสารประกอบ การจ่ายเงินที่จ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว ซึ่งอาจมีโอกาสในการนำเอกสารที่ได้เบิกจ่ายเงินไปแล้วมาเบิกซ้ำอีก ควรกำหนดให้เจ้าหน้าที่จ่ายเช็คประทับตรา “จ่ายแล้ว” ลงบนใบสำคัญจ่ายและเอกสารประกอบการจ่ายเงินทุกฉบับทันทีที่ได้จ่ายให้แก่ผู้รับแล้วเพื่อป้องกันการนำเอกสารที่ได้เบิกจ่ายเงินไปแล้วมาเบิกซ้ำอีก
สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบการจัดหาพัสดุ สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบการจัดหาพัสดุ 4.1 ควรจัดให้มีกระบวนการควบคุมความครบถ้วนของการบันทึกรายการซื้อสินค้าที่ได้รับของแล้ว (ผลกระทบต่อตัวเลขการเงิน และข้อบกพร่องของการควบคุมภายใน) ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ ไม่มีกระบวนการควบคุมความครบถ้วนของการบันทึกรายการซื้อสินค้าที่ได้รับของแล้วอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจทำให้มีรายการซื้อที่บันทึกบัญชีไม่ถูกต้องตามรอบระยะเวลาบัญชี ควรกำหนดกระบวนการที่เหมาะสมในการตรวจสอบ ความถูกต้องและครบถ้วนของรายการซื้อที่ได้รับของแล้วก่อนการปิดบัญชีประจำเดือน เพื่อให้มั่นใจว่าการบันทึกรายการบัญชีมีความถูกต้อง ครบถ้วนและตรงตามรอบระยะเวลาบัญชี กระบวนการที่เหมาะสม เช่น กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่แผนกบัญชีทำการติดตามและประสานงานกับเจ้าหน้าที่คลังพัสดุเกี่ยวกับรายการซื้อพัสดุที่ได้ตรวจรับแล้วแต่ยังไม่ได้ส่งเอกสารการรับพัสดุมายังแผนกบัญชี
สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบการจัดหาพัสดุ สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบการจัดหาพัสดุ 4.2 ควรจัดทำรายงานสถานะของใบสั่งซื้อที่ออกทั้งหมด (ข้อบกพร่องของการควบคุมภายใน) ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ ไม่มีการจัดทำรายงานสถานะของใบสั่งซื้อที่ออกทั้งหมด ซึ่งอาจจะทำให้การบันทึกรายการซื้อสินค้าและ การบันทึกบัญชีเจ้าหนี้การค้าไม่ถูกต้องและไม่ครบถ้วน ตามรอบระยะเวลาบัญชี ควรกำหนดให้คลังพัสดุจัดทำรายงานสถานะของใบสั่งซื้อ ทั้งที่ได้รับสินค้าแล้วและยังไม่ได้รับ เพื่อให้มั่นใจว่าการบันทึกรายการซื้อสินค้าและการบันทึกบัญชีเจ้าหนี้การค้ามีความถูกต้องและครบถ้วนตามรอบระยะเวลาบัญชี
สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบการจัดหาพัสดุ สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบการจัดหาพัสดุ 4.3 ควรจัดทำรายละเอียดเจ้าหนี้การค้ารายตัวและกระทบยอดคงเหลือของเจ้าหนี้การค้าระหว่างบัญชีแยกประเภทกับรายละเอียดจ้าหนี้คงเหลือ (ข้อบกพร่องของการควบคุมภายใน) ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ ไม่มีการจัดทำรายละเอียดเจ้าหนี้การค้ารายตัว ไม่สามารถกระทบยอดคงเหลือของเจ้าหนี้การค้าระหว่างบัญชีแยกประเภทกับรายละเอียดเจ้าหนี้คงเหลือ ซึ่งอาจจะทำให้การบันทึกรายการซื้อและการจ่ายชำระหนี้ไม่ถูกต้อง ควรจัดทำรายละเอียดเจ้าหนี้การค้ารายตัวสำหรับเจ้าหนี้ ทุกรายและทุกครั้งที่มีรายการค้าระหว่างเจ้าหนี้รายนั้น เพื่อให้แน่ใจในความถูกต้องของการบันทึกรายการซื้อและการจ่ายชำระหนี้ของเจ้าหนี้แต่ละราย ควรจัดทำรายงานการกระทบยอดเจ้าหนี้การค้าระหว่างบัญชีเจ้าหนี้รายตัวกับบัญชีแยกประเภททุกเดือน และตรวจสอบหาสาเหตุของผลแตกต่างดังกล่าวทันทีและปรับปรุงให้ตรงกัน เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบหาข้อผิดพลาดในการบันทึกบัญชีและหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องผลสะสมของยอดแตกต่างที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งจะเสียเวลามากในการติดตามหาสาเหตุและแก้ไขภายหลัง
สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบสินค้าคงคลัง สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบสินค้าคงคลัง 5.1 ควรรับรู้มูลค่ายาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาเป็นต้นทุนพัสดุใช้ไปเมื่อถูกนำไปใช้ในการรักษาพยาบาลจริง (ผลกระทบต่อตัวเลขการเงิน และข้อบกพร่องของการควบคุมภายใน) ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ มีการรับรู้มูลค่ายาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาที่เบิกจากคลังกลางไปไว้ที่ห้องจ่ายยาหรือคลังอื่นเป็นต้นทุนพัสดุใช้ไปทันที ด้วยเหตุนี้ ทำให้ต้นทุนพัสดุใช้ไปมีการรวมมูลค่าของยา และเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาที่ยังไม่ได้ถูกใช้ในการรักษาพยาบาลจริงด้วย มีการรับรู้ต้นทุนพัสดุใช้ไปที่สูงไปและมูลค่าพัสดุคงเหลือ ณ วันสิ้นงวดต่ำไป เนื่องจากยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาคงเหลือที่คลังบางแห่งและห้องจ่ายยาไม่ได้ถูกนับรวมเป็นพัสดุคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด ควรกำหนดให้มีการควบคุมการบันทึกปริมาณและต้นทุนของพัสดุที่ยังไม่ได้ถูกใช้ไปในการรักษาพยาบาลทุกสถานที่ที่เก็บพัสดุ รวมทั้งควรกำหนดให้มีการตรวจนับพัสดุคงเหลือทุกสถานที่ที่เก็บอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ พัสดุจะถือเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนพัสดุใช้ไปเมื่อมีการเบิกใช้จริงเท่านั้น ควรกำหนดให้มีกระบวนการควบคุมการโอนเบิกพัสดุจากคลังหนึ่งไปยังอีกคลังหนึ่งเพื่อประโยชน์ในการควบคุมยอดคงเหลือของจำนวนพัสดุและเพื่อความถูกต้องของการบันทึกบัญชีต้นทุนพัสดุใช้ไป
สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบสินค้าคงคลัง สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบสินค้าคงคลัง 5.2 ควรจัดทำเอกสารและบันทึกรายการรับ-จ่ายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาทุกแห่ง (ข้อบกพร่องของการควบคุมภายใน) ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ ไม่สามารถแน่ใจในความถูกต้องและเหมาะสมของปริมาณและมูลค่าพัสดุคงเหลือ เนื่องจาก ไม่มีระบบในการบันทึกรายการรับ-จ่ายยาและเวชภัณฑ์ ที่มิใช่ยาทุกที่ที่เก็บยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ไม่ได้จัดทำเอกสารการรับและจ่ายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาที่ถูกเก็บไว้ที่ห้องจ่ายยาทุกแห่ง ควรมีการควบคุมปริมาณยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาทุกที่ที่มีการเก็บยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา โดยกำหนดให้มีการจัดทำบัตรคุมพัสดุหรือรายงานคุมพัสดุที่ห้องจ่ายยาทุกห้องเพื่อใช้ในบันทึกรายการรับ-จ่ายพัสดุทุกครั้ง ควรจัดให้มีการตรวจนับพัสดุที่เก็บรักษาที่คลังทุกแห่งและห้องจ่ายยาทุกแห่งอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อเป็นการควบคุมความถูกต้องของปริมาณและมูลค่าของพัสดุคงเหลือ ควรกำหนดให้มีการจัดทำใบเบิกและใบรับพัสดุที่ห้องจ่ายยา รวมทั้งมีการกำหนดหมายเลขเอกสารดังกล่าวไว้ล่วงหน้าและควบคุมลำดับเลขที่ของเอกสาร เพื่อการควบคุมภายใน ที่มีประสิทธิภาพ
สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบสินค้าคงคลัง สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบสินค้าคงคลัง 5.3 ควรจัดทำรายงานสรุปผลการตรวจนับพัสดุคงเหลือและสรุปผลของติดตามหาสาเหตุของ ผลแตกต่างที่เกิดขึ้น (ข้อบกพร่องของการควบคุมภายใน) ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ มีการตรวจนับพัสดุประจำปี อย่างไรก็ตามไม่ได้มีการจัดทำรายงานสรุปผลการตรวจนับพัสดุคงเหลือ รวมถึงการสรุปผลของการติดตาม หาสาเหตุของผลแตกต่างที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม ทำให้การบันทึกปรับปรุงบัญชีพัสดุคงเหลือไม่เหมาะสม การตรวจนับพัสดุคงเหลือเป็นกระบวนการที่สำคัญในการตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของมูลค่าและปริมาณพัสดุคงเหลือ ด้วยเหตุนี้ การตรวจนับพัสดุควร จัดให้มีการตรวจนับทุกสถานที่ที่เก็บพัสดุอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง จัดให้มีผู้เข้าร่วมการตรวจนับพัสดุคงเหลือสิ้นปีโดยเจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่งที่เป็นอิสระ กล่าวคือ ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเก็บ การเบิกจ่าย และการจัดทำเอกสารบันทึกรายการเบิกและจ่ายสินค้าพัสดุ ควรจัดทำรายงานสรุปผลการตรวจนับพัสดุคงเหลือ และเปรียบเทียบกับรายงานพัสดุคงเหลือและบัญชีแยกประเภททั่วไป จัดให้มีการติดตามหาสาเหตุของผลแตกต่างที่เกิดขึ้นข้างต้นทันที การปรับปรุงบัญชีพัสดุคงเหลือให้ตรงกับผลการตรวจนับควรกำหนดให้ ผู้มีอำนาจสอบทานผลแตกต่างและสาเหตุของผลต่างดังกล่าวก่อนการปรับปรุง เพื่อให้มั่นใจในความถูกต้องของการบันทึกบัญชี
สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบสินค้าคงคลัง สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท อีวาย ระบบสินค้าคงคลัง 5.4 ควรมีเจ้าหน้าที่ที่เป็นอิสระจากเจ้าหน้าที่คลังพัสดุเข้าร่วมตรวจนับพัสดุประจำปีด้วยข้อบกพร่องของการควบคุมภายใน) ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ การตรวจนับคลังพัสดุประจำปีมีเฉพาะเจ้าหน้าที่คลังพัสดุทำการตรวจนับพัสดุทั้งหมดเท่านั้น และอาจมีเจ้าหน้าที่ที่เป็นอิสระเข้าร่วมสุ่มตรวจนับด้วย ในบางครั้ง ควรจัดให้มีผู้เข้าร่วมการตรวจนับพัสดุคงเหลือประจำปี โดยเจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่งที่เป็นอิสระจากเจ้าหน้าที่คลังพัสดุ กล่าวคือ ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับ การจัดเก็บพัสดุ การเบิกจ่ายพัสดุ การจัดทำเอกสารบันทึกรายการเบิกและจ่ายสินค้าพัสดุ เจ้าหน้าที่ที่เป็นอิสระมีหน้าที่ในร่วมกับเจ้าหน้าที่คลังพัสดุในการตรวจนับพัสดุคงเหลือทั้งหมดอย่างน้อยปีละครั้งเพื่อให้ได้ความมั่นใจใน ความถูกต้องของการปรับปรุงผลแตกต่างของการตรวจนับ ความถูกต้องของการบันทึกบัญชีพัสดุคงเหลือและต้นทุนพัสดุใช้ไปในแต่ละปี ในทางปฎิบัติแล้วควรเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีเป็นผู้เข้าร่วมในการตรวจนับด้วย เพื่อประโยชน์ในการกระทบยอดและปรับปรุงรายการพัสดุคงเหลือกรณีที่ผลการตรวจนับไม่ตรงกับยอดที่ฝ่ายบัญชีบันทึกรายการไว้
สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท EY ระบบสินค้าคงคลัง 5.5 ควรจัดทำคู่มือการตรวจนับพัสดุคงเหลือ (ข้อบกพร่องของการควบคุมภายใน) ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ ไม่มีการจัดทำคู่มือการตรวจนับพัสดุคงเหลือ ซึ่งอาจทำให้ผลการนับสินค้าคงเหลือไม่ถูกต้องและไม่มีความน่าเชื่อถือ ควรจัดทำคู่มือการตรวจนับพัสดุคงเหลือโดยระบุถึง วิธีการตรวจนับพัสดุ การตัดตอนพัสดุ เอกสารที่ใช้ในการตรวจนับ การสรุปผลการตรวจ เจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมตรวจนับพัสดุ วิธีการนับพัสดุ รายละเอียดข้างต้นควรชี้แจงแก่เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ในการตรวจนับ เพื่อให้มั่นใจในความถูกต้องและเชื่อถือได้ของผลการนับพัสดุคงเหลือ
สรุปข้อสังเกตเบื้องต้นของรายงาน โดย บริษัท EY ระบบรายงานทางการเงิน 6.1 ควรมีลายเซ็นผู้มีอำนาจสอบทานและอนุมัติบนใบสำคัญทั่วไป (ข้อบกพร่องของการควบคุมภายใน) ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ ไม่มีลายเซ็นผู้มีอำนาจสอบทานและอนุมัติบนใบสำคัญทั่วไป ใบสำคัญทั่วไปเป็นเอกสารที่สำคัญสำหรับการลงบัญชี เพื่อให้แน่ใจว่าการปรับปรุงข้อมูลทางบัญชีโดยผ่านใบสำคัญทั่วไป มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ ดังนั้น การจัดทำใบสำคัญทั่วไป จึงควร กำหนดให้มีการแนบเอกสารประกอบรายการบัญชีที่บันทึก กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่อาวุโสสอบทานความถูกต้องของรายการบัญชีแต่ละรายการ พร้อมทั้งลงนามเป็นหลักฐาน
3.นโยบายการพัฒนาระบบการเงินการคลัง
บริหารจัดการ HR,Finance พัสดุโปร่งใส เป้าหมาย: ประสิทธิภาพในการบริหารการเงินสามารถควบคุมปัญหาการเงินระดับ ๗ ของหน่วยบริการในพื้นที่ (ไม่เกินร้อยละ ๑๐) โครงสร้างการทำงาน ด้านบริหารจัดการ ด้านข้อมูล ติดตามและประมวลผล คกก.พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการการเงินการคลังหน่วยบริการ/จังหวัด/เขตสุขภาพ/สธ. ๑.ทำแผนประมาณการรายได้ ควบคุมค่าใช้จ่าย (PLANFIN) ๒.พัฒนาการจัดทำต้นทุนบริการ (Unit Cost) ๓.ตัวชี้วัดทางการเงินการคลังระดับเขต/จังหวัด กระบวนการสร้างประสิทธิภาพทางการเงินด้วย FAI (Financial administration Index) ๔. จัดระบบตรวจสอบ Internal audit ในรพช.และ External audit ในรพศ./รพท. นำร่อง พัฒนา standard data set การเงิน/การคลัง 1.แผนประมาณการรายได้ ค่าใช้จ่าย 2.แผนการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ วัสดุการแพทย์ วัสดุวิทยาศาสตร์ 3.แผนบริหารจัดการเจ้าหนี้ 4.แผนบริหารจัดการลูกหนี้ 5.แผนการลงทุน 6.แผนสนับสนุน รพ.สต. Quick Win 3 เดือน 6เดือน 9เดือน 12 เดือน ๑.แผน planfin ครบทุกหน่วยบริการ ๑๐๐% ๒.หน่วยบริการมีคะแนนรวม FAI ไม่น้อยกว่า ๖๐% ๓.สถานบริการเกินเกณฑ์เฉลี่ยต้นทุนต่อหน่วยไม่เกิน ๒๖% ๑.แผน planfin และผลการดำเนินงานมีความต่างไม่เกินร้อยละ ๒๐ ๒.หน่วยบริการมีคะแนนรวม FAI ไม่น้อยกว่า ๗๐% ๓.สถานบริการเกินเกณฑ์เฉลี่ยต้นทุนต่อหน่วยไม่เกิน ๒๓% ๔. หน่วยบริการระดับ ๗ ไม่เกิน ๑๕% ๑.แผน planfin และผลการดำเนินงานมีความต่างไม่เกินร้อยละ ๑๕ ๒.หน่วยบริการมีคะแนนรวม FAI ไม่น้อยกว่า ๘๐% ๓.สถานบริการเกินเกณฑ์เฉลี่ยต้นทุนต่อหน่วยไม่เกิน ๒๐% ๔. หน่วยบริการระดับ ๗ ไม่เกิน ๑๓% ๑.แผน planfin และผลการดำเนินงานมีความต่างไม่เกินร้อยละ ๑๐ ๒.หน่วยบริการมีคะแนนรวม FAI ไม่น้อยกว่า ๙๐% ๓.สถานบริการเกินเกณฑ์เฉลี่ยต้นทุนต่อหน่วยไม่เกิน ๑๗% ๔. หน่วยบริการระดับ ๗ ไม่เกิน ๑๐%
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข คกก. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ การเงินการคลัง ฯ สป.สธ. คำสั่ง 2110 /2558 (ปลัดกระทรวงฯ : ประธาน) คกก.ติดตามและประเมินผลการปรับปรุงแนวทางการบริหาร กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ (นพ. ชาตรี : ประธาน) คกก.กำหนดแนวทางการใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ของหน่วยบริการ สังกัด สป.สธ. ระดับประเทศ (๗ x ๗) (เลขา สปสช. และ ปลัดฯ เป็นประธาน) คทง. เพิ่มประสิทธิภาพและกำกับติดตามระบบการเงินการคลัง (นพ. ประวิ : ประธาน) คทง. พัฒนาข้อมูล เทคโนโลยีสารสนเทศ (นพ.สุเทพ : ประธาน) คกก.กำหนดแนวทางการใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ของหน่วยบริการ สังกัด สป.สธ. ระดับเขต (๕ x ๕) (ผอ. สปสช. เขต และ ผู้ตรวจฯ เป็นประธาน) คทง.พัฒนามาตรฐานการจัดทำบัญชีและแผนทางการเงิน (นพ. มรุต : ประธาน) คทง. พัฒนาระบบควบคุมภายในและธรรมาภิบาล (นพ.ณรงค์ : ประธาน) - สปสช. เขต - เขตสุขภาพ - สสจ. - รพ. คทง. กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน (พญ. ประนอม : ประธาน)
(ปลัดกระทรวง ฯ:ประธาน) คกก.พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการการเงินการคลัง สป.สธ. คำสั่ง 2110/2558 (ปลัดกระทรวง ฯ:ประธาน) ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข การเงินการคลัง "ประสิทธิภาพ ของการบริหารทางการเงิน สามารถควบคุมปัญหาการเงินระดับ 7 ของหน่วยบริการในพื้นที่" PA "บริหารจัดการ HR FINANCE พัสดุโปร่งใส "ระดับ 7 ในพื้นที่ไม่เกินร้อยละ 10" มาตรการ - ปรับเกลี่ย ฯ (คทง.1) - Planfin (คทง.3) - Unit Cots (คทง.2-3) - FAI (คทง.1) - Internal Audit & Internal Control (คทง.3-4) คทง.5 กำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน (พญ.ประนอม :ประธาน) เป้าหมาย - เพื่อติดตามการดำเนินงานของ คทง 1-4 นำเสนอต่อ คกก. ผลลัพธ์ แก้ปัญหาการเงินให้ รพ.ระดับ 7 คทง.1 เพิ่มประสิทธิภาพและกับกำติดตามระบบการเงินการคลัง (นพ.ประวิ :ประธาน) เป้าหมาย - บริหารหลักการกองทุน และพัฒนาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการเงินการคลัง แนวทาง - การปรับเกลี่ยเงิน - เพิ่มรายได้-ลด คชจ. - การจัดทำ Unit Cost - FAI คทง.2 พัฒนาข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ (นพ.สุเทพ: ประธาน) เป้าหมาย - พัฒนาชุดข้อมูลระบบสุขภาพ ระบบการจัดเก็บและการนำข้อมูลไปใช้ แนวทาง - กำหนดค่ามาตราฐานชุดข้อมูล - การเข้าถึงข้อมูล - การแลกเปลี่ยนข้อมูล - ความทันสมัยของข้อมูล คทง.3 พัฒนามาตราฐานการจัดทำบัญชีและแผนทางการเงิน (Financial Plan) (นพ.มรุต:ประธาน) เป้าหมาย - พัฒนามาตราฐานระบบบัญชีการวางแผนทางการเงินและตรวจสอบบัญชีใน รพ.ที่มีปัญหาทางการเงิน แนวทาง - พัฒนาคู่มือ บ/ช มาตรฐาน - พัฒนาคู่มือตรวจสอบ บ/ช - การจัดทำแผนทางการเงิน(Planfin) - การตรวจสอบ บ/ช รพ.วิกฤติ คทง.4 พัฒนาระบบควบคุมภายในและธรรมาภิบาล (นพ.ณรงค์ :ประธาน) เป้าหมาย - มีมาตรการการควบคุมภายในที่เหมาะสม มีการบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาล แนวทาง - วางระบบควบคุม - กำหนดกิจกรรมที่จำเป็น - ติดตามประเมินผล
4.การบริหารด้วยเครื่องมือทางการเงิน
๑.ทำแผนประมาณการรายได้ ควบคุมค่าใช้จ่าย (PLANFIN) ๒.พัฒนาการจัดทำต้นทุนบริการ (Unit Cost) ๓.ตัวชี้วัดทางการเงินการคลังระดับเขต/จังหวัด กระบวนการสร้างประสิทธิภาพทางการเงินด้วย FAI (Financial administration Index) ๔. จัดระบบตรวจสอบ Internal audit ในรพช.และ External audit ในรพศ./รพท. นำร่อง
PLANFIN PLANFIN หมายถึง แผนซึ่งแสดงรายละเอียดตัวเลขทางการเงิน ซึ่งเป็นการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับการใช้ และ การได้มา ของหน่วยบริการ วัตถุประสงค์ การจัดทำแผนทางการเงิน ปี 2559 มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้หน่วยบริการได้มีเครื่องมือทางการเงินสำหรับวางแผนการ ทำงานล่วงหน้า และให้ผู้บริหารใช้ในการควบคุมกำกับและติดตามผล การดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดประกอบด้วย 1 แผนประมาณการรายได้ ค่าใช้จ่าย 2 แผนการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ วัสดุการแพทย์ ว.วิทยาศาสตร์ 3 แผนบริหารจัดการเจ้าหนี้ 4 แผนบริหารจัดการลูกหนี้ 5 แผนการลงทุน 6 แผนสนับสนุน รพ.สต.
PLANFIN ปัจจัยความสำเร็จของการจัดทำแผน การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารระดับสูง ความมีส่วนร่วม & ความเข้าใจของผู้ปฏิบัติงานทุกกลุ่ม/ฝ่าย การจัดระบบงาน บทบาทหน้าที่ และผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ต้องมีระบบบัญชีที่ดี
PLANFIN องค์ประกอบ Planfin 1.แผนประมาณการรายได้-ควบคุมค่าใช้จ่าย เพื่อให้หน่วยบริการ ได้มีการคาดการณ์รายได้ที่จะได้รับและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปี 2559 ซึ่งจะ ช่วยให้หน่วยบริการได้รับทราบแนวโน้มของผลประกอบการว่าจะเป็นไปในทิศทางใด(กำไรหรือขาดทุน) 2 แผนการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ วัสดุการแพทย์ วัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อให้หน่วยบริการได้มีการวางแผนในการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์มิใช่ยา วัสดุการแพทย์ วัสดุวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ซึ่งเป็นทรัพยากรหลักในการให้บริการ เพื่อให้มีการจัดซื้อในปริมาณที่เหมาะสม 3. แผนบริหารจัดการเจ้าหนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้หน่วยบริการรับรู้ภาระหนี้สินที่ยังไม่ได้ดำเนินการชำระ ณ ปัจจุบัน และการก่อหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อจะได้วางแผนการชำระหนี้ได้อย่างเหมาะสมตามกำหนดเวลา
PLANFIN องค์ประกอบ Planfin (2) 4.แผนบริหารจัดการลูกหนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้หน่วยบริการได้รับรู้ถึงสิทธิเรียกร้องอันชอบธรรมที่พึงได้รับจากการให้บริการ เนื่องจากลูกหนี้เป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้รวดเร็ว หน่วยงานจึงต้องให้ความสำคัญและวางแผนในการเรียกเก็บอย่างเป็นระบบ 5.แผนการลงทุน มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้หน่วยบริการได้ วางแผนในการจัดซื้อ/จัดหา ครุภัณฑ์ อาคาร ที่ดินสิ่งก่อสร้าง ซึ่งมีมูลค่าหรือมีราคาสูง อย่างเหมาะสมกับสถานะทางการเงิน 6.แผนสนับสนุน รพ.สต. มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้หน่วยบริการได้มีการวางแผนสนับสนุนให้ความช่วยเหลือลูกข่าย (รพ.สต.) ทั้งในรูปแบบของเงิน ยา เวชภัณฑ์ ฯ และการลงทุนอื่นๆ อย่างเหมาะสม
ภาพรวมการส่ง PLANFIN เขต จำนวน รพ. รพ.ส่ง(แห่ง) ร้อยละ รพ.ไม่ส่ง(แห่ง) 1 100 2 47 3 53 51 96 4 71 5 66 6 72 70 97 7 67 8 87 9 10 11 76 12 78 875 871
ภาพรวมการจัดทำ PLANFIN (รพ.ที่ส่งข้อมูล 871 แห่ง) เขต แผนสมดุล แผนเกินดุล แผนขาดดุล ณ วันที่ 30 กันยายน 2558 จำนวน (แห่ง) จำนวน (แห่ง) จำนวนเงิน (ล้านบาท) NWC เงินทุนสำรองสุทธิ เงินบำรุงคงเหลือ (หลังหักหนี้แล้ว) สัดส่วน NWC ต่อ คชจ.ทั้งปี 1 7 71 888 22 -141 4,600 1,645 0.21 2 27 333 18 -114 1,430 442 0.11 3 41 337 9 -102 1,321 518 0.14 4 8 38 681 25 -304 2,859 776 0.17 5 6 34 520 26 -153 2,531 470 0.13 699 -260 5,531 2,624 0.29 46 1,102 20 -53 2,220 409 0.15 13 59 814 15 -98 2,429 452 17 48 1,004 -444 5,192 2,836 0.25 10 12 37 403 -118 3,328 1,724 0.23 11 50 820 -68 1,875 62 710 -92 2,156 856 0.12 รวม 82 554 8,310 235 -1,947 35,472 12,685
ภาพรวมการจัดทำแผนยาฯ / ลูกหนี้ / เจ้าหนี้ ใน PLANFIN เขต 2.แผนจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ วัสดุการแพทย์ วัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3.แผนบริหารจัดการเจ้าหนี้ 4.แผนบริหารจัดการลูกหนี้ 1 5,150 19,584 17,460 2 3,311 14,760 8,918 3 2,467 9,097 7,748 4 4,263 14,099 11,580 5 5,164 18,898 15,613 6 4,860 20,432 17,174 7 3,712 16,658 18,252 8 3,954 16,544 18,808 9 5,163 17,490 16,359 10 3,837 11,093 15,688 11 4,013 15,821 11,633 12 3,973 14,307 13,446 รวม 49,866 188,784 172,681
ภาพรวมการจัดทำแผนการลงทุน เปรียบเทียบ เงินบำรุง เขต แผนการลงทุนเพิ่ม จัดซื้อ จัดหาด้วยงบค่าเสื่อม UC ของ รพ. ปี 2559 จัดซื้อ จัดหาด้วยเงินงบประมาณ ของ รพ. ปี 2559 จัดซื้อ จัดหาด้วยเงินบำรุงของ รพ. ปี 2559 แผนการลงทุนเพิ่ม ผลรวม เงินบำรุงคงเหลือ(หลังหักหนี้แล้ว) 1 521 1,664 936 3,121 1,645 2 278 720 675 1,672 442 3 432 529 192 1,152 518 4 290 666 566 1,522 776 5 338 1,123 465 1,926 470 6 391 1,033 1,087 2,511 2,624 7 351 1,036 650 2,037 409 8 378 849 462 1,688 452 9 497 728 794 2,019 2,836 10 307 606 527 1,440 1,724 11 426 938 761 2,126 -68 12 359 464 673 1,496 856 รวม 4,567 10,357 7,787 22,711 12,685 หมายเหตุ กรณีจัดหาด้วยเงินบำรุง ควรพิจารณาเงินบำรุงคงเหลือ(หลังหักหนี้) ประกอบการตัดสินใจ
ภาพรวมการสนับสนุน รพ.สต. (รพ.ที่ส่งข้อมูล 871 แห่ง) เขต แผนสนับสนุน รพ.สต. งบสนับสนุน ให้ รพ.สต. (งบค่าเสื่อม) ปี 2559 (ล้านบาท) งบสนับสนุน ให้ รพ.สต. (เงิน) ปี 2559 (ล้านบาท) งบสนับสนุน ให้ รพ.สต. (ยา เวชภัณฑ์ วัสดุการแพทย์ วัสดุวิทย์ฯ) ปี 2559(ล้านบาท) แผนสนับสนุน รพ.สต. ผลรวม 1 91 637 266 993 2 63 317 224 604 3 65 296 204 566 4 77 252 159 489 5 117 455 244 817 6 74 468 247 789 7 103 467 249 819 8 112 671 302 1,085 9 84 650 328 1,062 10 80 633 174 887 11 322 163 548 12 88 346 213 647 รวม 1,016 5,516 2,773 9,305
Unit Cost ต้นทุน คือ ทรัพยากรซึ่ง คำนวณออกมาในรูปของจำนวนเงิน ที่ต้อง เสียไปเพื่อได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ ที่กำหนดไว้ ประโยชน์ของต้นทุน 1.วางแผน (ผลผลิต และ งบประมาณ) 2.ควบคุม (ให้อยู่ภายใต้ผลผลิตและงบประมาณ) 3.ตัดสินใจ (เพิ่ม/ลด ผลผลิต และงบประมาณ) นโยบายการทำ Unit Cost ต้องทำทุกแห่ง การประเมินค่ากลาง ใช้ Quick Method ดำเนินการโดย กปภ.
FAI เกณฑ์ประเมินการบริหารการเงินการคลังสุขภาพ (Financial Administration Index : FAI ) หมายถึง เกณฑ์ที่สำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุขใช้เป็นเครื่องมือประเมินคุณภาพการบริหาร จัดการการเงินการคลังโรงพยาบาลในสังกัด มีกรอบการประเมินผลการ ดำเนินงาน ๔ กิจกรรมหลัก ได้แก่ ๑. การพัฒนาระบบควบคุมภายใน (Internal Control :IC) น้ำหนักร้อยละ ๒๐ ๒. การพัฒนาคุณภาพบัญชี (Accounting Audit: AC) น้ำหนักร้อยละ ๒๐ ๓. ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง (Financial Management: FM) น้ำหนักร้อยละ ๓๐ ๔. การพัฒนาการจัดทำต้นทุนบริการ (Unit Cost : UC) น้ำหนักร้อยละ ๓๐
รพ. ที่ส่งผลแล้ว (แห่ง) รายงานผลการประเมินระดับความสำเร็จการบริหารการเงินการคลัง FAI ไตรมาส 4/2558 เขตสุขภาพที่ จำนวน รพ. (แห่ง) รพ. ที่ส่งผลแล้ว (แห่ง) คะแนนเฉลี่ย รวม เขตสุขภาพที่ 1 99 92.78 รวม เขตสุขภาพที่ 2 46 90.71 รวม เขตสุขภาพที่ 3 47 88.04 รวม เขตสุขภาพที่ 4 70 86.75 รวม เขตสุขภาพที่ 5 65 93.02 รวม เขตสุขภาพที่ 6 68 84.18 รวม เขตสุขภาพที่ 7 64 96.46 รวม เขตสุขภาพที่ 8 83 87.97 รวม เขตสุขภาพที่ 9 81 95.19 รวม เขตสุขภาพที่ 10 71 91.24 รวม เขตสุขภาพที่ 11 75 93.9 รวม เขตสุขภาพที่ 12 76 91.54 รวมทั้งสิ้น 845 90.98
ผลการประเมินระดับความสำเร็จของเขตสุขภาพ FAI ไตรมาส 4/2558 มีผลคะแนนเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ กิจกรรมที่มีระดับ ความสำเร็จสูงสุด ความสำเร็จต่ำสุด เขตสุขภาพที่ ๑ 92.78 การพัฒนาระบบการควบคุมภายใน และ การพัฒนาคุณภาพบัญชี 94.95 การเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารการเงินการคลัง 90.30 เขตสุขภาพที่ ๒ 90.71 การพัฒนาระบบการควบคุมภายใน และ การพัฒนาคุณภาพบัญชี 95.22 การพัฒนาการจัดทำต้นทุนบริการ 86.52 เขตสุขภาพที่ ๓ 88.04 การพัฒนาคุณภาพบัญชี 94.47 การพัฒนาการจัดทำต้นทุนบริการ 81.70 เขตสุขภาพที่ ๔ 86.75 การพัฒนาคุณภาพบัญชี 95.71 การพัฒนาระบบการควบคุมภายใน 83.43 เขตสุขภาพที่ ๕ 93.02 การพัฒนาการจัดทำ ต้นทุนบริการ 95.08 การพัฒนาคุณภาพบัญชี 92.31 เขตสุขภาพที่ ๖ 84.18 การพัฒนาคุณภาพบัญชี 92.65 80.59 เขตสุขภาพที่ ๗ 96.46 ต้นทุนบริการ 99.69 88.75 เขตสุขภาพที่ ๘ 87.97 การพัฒนาระบบการควบคุมภายใน 99.04 การพัฒนาการจัดทำต้นทุนบริการ 81.69 เขตสุขภาพที่ ๙ 95.19 ต้นทุนบริการ 100 การพัฒนาระบบการควบคุมภายใน 89.63 เขตสุขภาพที่ ๑๐ 91.24 การพัฒนาคุณภาพบัญชี 96.90 การพัฒนาระบบการควบคุมภายใน 89.58 เขตสุขภาพที่ ๑๑ 93.90 ต้นทุนบริการ 98.13 การพัฒนาระบบการควบคุมภายใน 89.33 เขตสุขภาพที่ ๑๒ 91.54 การบริหารการเงินการคลัง 96.05 การพัฒนาการจัดทำต้นทุนบริการ 83.95
กิจกรรม ระดับความสำเร็จ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ คะแนนเต็ม การควบคุมภายใน IC ติดตามประเมินผลระบบการควบคุมภายใน รอบ ๑๒ เดือน ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๘ ปีที่ผ่านมา ผลสำเร็จมีหลักฐานเชิงประจักษ์สามารถระบุคุณภาพประสิทธิภาพของกระบวนการปฏิบัติงานได้ชัดเจน (ปย.๒/ปอ.๓) มีการกำหนดวิธีการปรับปรุงการควบคุมให้สอดคล้องกับความเสี่ยงและวัตถุประสงค์ที่กำหนด จัดทำรายงานประเมินผลระบบการควบคุมภายใน (ปย.๒/ปอ.๓) รอบ ๖ เดือน (๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙) จัดส่งรายงานให้ กลุ่มตรวจสอบภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ภายในวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ๕ คะแนน (น้ำหนัก ๒๐)
กิจกรรม ระดับความสำเร็จ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ คะแนนเต็ม การพัฒนาคุณภาพบัญชี AC มีทีมหรือคณะทำงานพัฒนาระบบบัญชีและ มีการประชุมอย่างน้อย ทุกไตรมาส มีการกำหนดปัญหาหรือประเด็นที่ต้องปรับปรุงซึ่งส่งผลต่อคุณภาพบัญชีเสนอต่อผู้บริหาร (ผอ.รพ.) มีรายงานทางการเงิน ตัวชี้วัด ทางการเงินและฃการวิเคราะห์สถานะการเงินของ รพ. เสนอต่อผู้บริหาร (ผอ. รพ.) มีรายงานการเงิน ของลูกข่าย (รพ.สต.) ตามผังบัญชี รพ.สต.๒๕๕๙ ครบทุกแห่ง ผลงานหรือหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงความสำเร็จ เป็นที่ยอมรับ (คุณภาพบัญชีทางอิเล็คทรอนิกส์ หน่วยบริการ แม่ข่าย ผ่านเกณฑ์๑๐๐ %) ๕ คะแนน (น้ำหนัก ๒๐)
กิจกรรม ระดับความสำเร็จ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ คะแนนเต็ม ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง FM มีคณะทำงานบริหารการเงินการคลังและ มีการประชุมวิเคราะห์สถานการณ์ ทางการเงินอย่างน้อยทุกไตรมาส มีการกำหนดปัญหาหรือประเด็นที่เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบด้านการเงินการคลัง ในพื้นที่ มีกระบวนการแก้ปัญหา/เสนอแผน/มาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายหรือประเด็นที่เป็นปัญหาพร้อมทั้งนำเครื่องมือมาใช้ในการบริหารประสิทธิภาพ ๑. Planfin ๒..ดัชนี ๗ ระดับ ๓. ค่ากลางกลุ่มโรงพยาบาล ๔.ข้อมูลประมาณการความพอเพียง มีการแก้ปัญหาและติดตามแผนบริหารทางการเงินอย่างต่อเนื่องในทุกไตรมาส มีผลงานหรือหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงความสำเร็จ -ไม่มีความเสี่ยงทางการเงิน ระดับ ๗ ตามเกณฑ์การประเมินวิกฤติ ของกระทรวง ๕ คะแนน (น้ำหนัก ๓๐)
ระดับความสำเร็จ ๒ ๓ ๔ ๕ คะแนนเต็ม กิจกรรม ๑ ๕ คะแนน(น้ำหนัก ๓๐) ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ คะแนนเต็ม การพัฒนาต้นทุนบริการ Unit Cost มีนโยบายจากผู้บริหาร(ผอ.รพ.) ในการจัดทำต้นทุนบริการ UnitCost ประจำปี ๒๕๕๘ มีแผนการที่จะพัฒนาการจัดทำต้นทุน Unit Cost ไว้ในแผนการดำเนินงานประจำปีของโรงพยาบาล มีการแต่งตั้งคณะทำงานร่วม (จากแผนกหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง) ร่วมรับผิดชอบในการทำต้นทุนบริการ UnitCost ปี ๒๕๕๘ มีการคิดต้นทุนบริการ ผุ้ป่วยนอก/ผู้ป่วยใน ปี ๒๕๕๘ ได้เป็นผลสำเร็จ มีการนำเสนอต้นทุนบริการ ๒๕๕๘ ต่อผู้บริหาร (ผอ.รพ.) ๕ คะแนน(น้ำหนัก ๓๐)
การประเมินผล ไตรมาส ๑/๒๕๕๙ ไตรมาส ๒/๒๕๕๙ องค์ประกอบการประเมิน ความสำเร็จของแต่ละขั้นตอน ขั้นตอนที่ ๑ ขั้นตอนที่ ๒ ขั้นตอนที่ ๓ ขั้นตอนที่ ๔ ขั้นตอนที่ ๕ การพัฒนาคุณภาพบัญชี (Accounting Audit: AC) ไตรมาส ๒/๒๕๕๙ องค์ประกอบการประเมิน ความสำเร็จของแต่ละขั้นตอน ขั้นตอนที่ ๑ ขั้นตอนที่ ๒ ขั้นตอนที่ ๓ ขั้นตอนที่ ๔ ขั้นตอนที่ ๕ การพัฒนาคุณภาพบัญชี (Accounting Audit: AC)
วิธีการประเมิน ให้ใช้วิธีการประเมินแบบ “ภายในเขต ข้าม จังหวัด” วิธีการประเมิน ให้ใช้วิธีการประเมินแบบ “ภายในเขต ข้าม จังหวัด” บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา ชัยภูมิ
5.แนวทางในการตรวจราชการและนิเทศก์งาน
Performance Agreement 2559 การตรวจราชการปี 2559 3.การพัฒนาระบบบริหารจัดการ 3.1 การบริหารการเงินการคลัง Performance Agreement 2559 การบริหารจัดการ Finance ประสิทธิภาพการบริหารการเงินสามารถควบคุมปัญหาทางการเงินระดับ ๗ ของหน่วยบริการในพื้นที่ (ไม่เกินร้อยละ ๑๐)
ประเด็นการตรวจราชการที่มุ่งเน้น 1. มีคณะทำงานและกลไกในการแก้ไขปัญหาการเงิน 2. หน่วยบริการมีและใช้แผนทางการเงิน (Planfin) 3. หน่วยบริการมีการจัดทำและใช้ต้นทุนบริการ (Unitcost) 4. หน่วยบริการมีการพัฒนาระบบการประเมินประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง FAI พื้นที่ดำเนินการ หน่วยบริการ รพศ. รพท. และรพช.ทุกแห่ง
มาตรการดำเนินงานในพื้นที่ แนวทางการตรวจติดตาม มีคณะทำงานและกลไกการ ทำงานร่วม เพื่อแก้ไขปัญหาใน พื้นที่ สำหรับ รพ.ที่มีปัญหา การเงิน 1.คณะทำงานร่วมในระดับเขต จังหวัด อำเภอ เพื่อแก้ไขปัญหาและ พัฒนาการบริการและประสิทธิภาพ การเงินการคลังให้กับ รพ. ที่มีปัญหา ทางการเงิน 2.มีการกำหนดประเด็นที่เป็นปัญหา ของหน่วยบริการที่ต้องได้รับการ แก้ไข หน่วยบริการ "มี" และ "ใช้“ แผนทางการเงิน Planfin เพื่อ เป็นเครื่องมือในการเพิ่ม ประสิทธิภาพการบริหารการเงิน การคลังหน่วยบริการ หน่วยบริการได้มีการจัดทำแผน ทางการเงิน (Plan fin) และใช้แผน ทางการเงินเป็นเครื่องมือในการ พัฒนาระบบการเงินและระบบบริการ ที่มีประสิทธิภาพ 2.ติดตามกำกับผลการดำเนินงานใน ทุกไตรมาส
มาตรการดำเนินงานในพื้นที่ แนวทางการตรวจติดตาม 3. หน่วยบริการมีการพัฒนา การจัดทำต้นทุนบริการ / Unit cost เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ทางการบริหาร มีการพัฒนาการจัดทำต้นทุนของ หน่วยบริการ โดยใช้ข้อมูลของ ปี2558 2. มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูล ต้นทุนบริการกับค่าเฉลี่ยของหน่วย บริการระดับเดียวกัน 4. มีการพัฒนาระบบ การประเมินประสิทธิภาพ การบริหารการเงินการคลัง FAI ติดตามการดำเนินงานตามกิจกรรมทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) การพัฒนาระบบควบคุมภายใน 2) การพัฒนาคุณภาพบัญชี 3) การเพิ่มประสิทธิภาพการ บริหารการเงินการคลัง 4) การพัฒนาการจัดทำต้นทุนบริการ