ณ ห้องประชุม สสอ.เมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ การประชุมเตรียมความพร้อมรับ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธ์ 2012 (MERS-CoV) จังหวัดสุรินทร์ วันอังคาร ที่ 23 มีนาคม 2558 ณ ห้องประชุม สสอ.เมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ระเบียบวาระการประชุมเตรียมความพร้อมรับ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ 2012 (MERS-CoV)
เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ วาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
วาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ วาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ เนื่องจากขณะนี้ได้มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโรโคน่า สายพันธุ์ 2012 หรือ Middle East Respiratory Syndrome หรือ MERS -CoV จังหวัดสุรินทร์มีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดของโรคนี้ได้เนื่องจาก 1. นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด และมาประเทศไทย 2. แรงงาน/นักธุรกิจที่เดินทางไปทำงานในประเทศระบาด 3. ประชาชนชาวไทยเดินทางไปประกอบพิธีทางศาสนาประเทศ ซาอุดิอารเบีย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับการระบาดโรคดังกล่าว จึงเชิญทุกท่านประชุมเพื่อปรึกษาหารือวางแผนพร้อมรับการระบาดของโรคดังกล่าว
รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว วาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว -ไม่มี
เรื่องติดตามจากการประชุมครั้งที่แล้ว วาระที่ 3 เรื่องติดตามจากการประชุมครั้งที่แล้ว - ไม่มี
เรื่องแจ้งที่ประชุมทราบและพิจารณา วาระที่ 4 เรื่องแจ้งที่ประชุมทราบและพิจารณา
4.1 ลักษณะโรคของทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส (MERS) เชื้อก่อโรค : เชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ 2012 (MERS – CoV) อาการ : มีไข้ ไอ เจ็บคอ หรือน้ำมูก บางรายมีอาการท้องเสีย อาเจียน ถ้าหากมีอาการรุนแรงจะทำให้หายใจลำบาก หอบ ปอดอักเสบ ไตวาย เสียชีวิต ระยะฟักตัว : มีระยะฟักตัว 2-14 วัน การแพร่ของโรค : แพร่เชื้อระหว่างคนสู่คน ผ่านทางเสมหะของผู้ป่วยจากการไอ และมักเกิดจากการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยมิได้มีการป้องกันตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาล/การสัมผัสสัตว์ และดื่มน้ำนมดิบจากสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งอูฐ การรักษา : รักษาตามอาการแบบประคับประคอง ยังไม่มีวัคซีน ยารักษาที่จำเพาะ
4.2 สถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ 2012 4.2 สถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ 2012 สถานการณ์โลก -พบผู้ป่วยรายแรกในประเทศแถบตะวันออกกลาง ปี 2555 ที่ประเทศจอร์แดน และซาอุฯ -ตั้งแต่เม.ย.55-10 มิ.ย.58 มีผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 1288 ราย เสียชีวิต 498 ราย ส่วนใหญ่มาจาก ซาอุดิอาระเบีย (80%) -เดือน พ.ค.58 มีรายงานพบผู้ป่วยใหม่จากจีนและเกาหลีใต้
4.2 สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์2012 (MERS-CoV) ต่อ -ประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยในเดือนพฤษภาคม – 10 มิถุนายน 2558 มีทั้งสิ้น 7 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดิอารเบีย อิหร่าน สหรัฐอาหรับเอมิเรต กาตาร์ โอมาน จีน และเกาหลีใต้ สถานการณ์จีนและเกาหลีใต้ -พบผู้ป่วยยืนยันรายแรก 20 พ.ค.58 ที่เกาหลีใต้ -19 มิ.ย.58 มีผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 176 ราย เสียชีวิต 24 ราย
4.2 สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์2012 (MERS-CoV) ต่อ สถานการณ์ประเทศไทย -พบผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย ขณะนี้รักษาตัวอยู่ที่ รพ.บำราศนราดูร อาการโดยรวม ดีขึ้น ส่วนผู้สัมผัสใกล้ชิดที่เป็นญาติ 3 คน อาการปกติ การติดตามผู้สัมผัสพบแล้ว 94 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ และได้รับการดูแลตามมาตรฐานแล้ว -ส่วนผู้สัมผัสที่จังหวัดนครราชสีมา ที่ร่วมโดยสารเครื่องบิน มีประวัติป่วยก่อนเดินทาง รับไว้รักษาในรพ. ผลตรวจเป็นไข้หวัดตามฤดูกาล -ส่วนผู้เดินทางจากตะวันออกกลางและเกาหลีใต้ที่อยู่ในเกณฑ์สอบสวนโรค ตั้งแต่ 1ม.ค.-20 มิ.ย.58 จำนวน 46 ราย เป็นเกาหลีใต้ 27 ราย ตะวันออกกลาง 19 ราย ผลตรวจเป็นลบ -จังหวัดสุรินทร์ ยังไม่พบผู้ป่วยยืนยัน
4.3 การวิเคราะห์ความเสี่ยง 4.3.1 การวิเคราะห์ความเสี่ยงเกาหลีใต้ - การระบาดครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการแพร่โรคจากบุคคล การติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาล - การระบาดยังอยู่ในวงโรงพยาบาลที่สามารถเชื่อมโยงกับผู้ป่วยราย แรกได้ ยังไม่ใช่วงกว้างในชุมชน แต่อย่างไรก็ตามองค์การอนามัยโลกได้ บ่งชี้ว่าเกิดการระบาดในรุ่นที่ 3 แล้ว - ความเสี่ยงในการเดินทางไปยังประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรค ขณะนี้ ยังไม่มีข้อห้ามในการเดินทางไปประเทศ นั้นๆ
4.3 การวิเคราะห์ความเสี่ยง 4.3.2 การวิเคราะห์ความเสี่ยงทั่วไป ถึงแม้ประเทศไทย จะพบรายงานผู้ป่วยโรคเมอร์ส เพียง 1 ราย ก็ต้องมีการเตรียมความพร้อม โดยการเฝ้าระวังในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน รวมถึงเน้นย้ำ - มาตรการป้องกันการติดเชื้อ การแพร่กระจายของโรค -ส่วนของสถานพยาบาล ต้องเน้นเรื่อง การคัดกรอง เพื่อที่จะทราบถึงประวัติเสี่ยง และทำการรักษาตามแนวทางของกรมการแพทย์อย่างเคร่งครัด
4.4 คำแนะนำขององค์การอนามัยโลก - ให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศ ดำเนินการเฝ้าระวังโรค ในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน (Acute Respiratory Infection) และติดตามรูปแบบความผิดปกติต่างๆ อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกลุ่มที่มีประวัติเดินทางเข้าพื้นที่เสี่ยง - มาตรการควบคุมการติดเชื้อ มีความสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรน่า ในผู้ที่ทำการดูแลผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ ให้ปฏิบัติตามหลักป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด
4.5 การเฝ้าระวังโรคเมอร์ส (MERS) ผู้เดินทางจากประเทศที่มีการระบาด ผู้เดินทาง นักท่องเที่ยวผ่านประเทศที่มีการระบาด คัดกรองที่ท่าอากาศยาน เมื่อผ่าน ด่าน ตม./ด่าน ตป. และติดตามรายวัน ค้นหา วินิจฉัย ที่โรงพยาบาล เมื่อผู้เดินทางมีอาการป่วย ค้นหา และแจ้งเหตุ ในชุมชนโดยความร่วมมือของ อสม. ผู้ประกอบการ ประชาชน ฯลฯ
4.6 มาตรการการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข 4.6.1 การประเมินความเสี่ยง และการป้องกัน - มีการติดตามสถานการณ์ การระบาด และสถานการณ์ในประเทศอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งวิเคราะห์และทำการประเมินความเสี่ยง 4.6.2 การเฝ้าระวัง และคัดกรอง - การเฝ้าระวังคัดกรองที่ช่องทางเข้าออกประเทศ/การติดตามกลุ่มเสี่ยง - การเฝ้าระวังในโรงพยาบาล ทั้งภาครัฐ และเอกชน:เตรียมบุคลากร อุปกรณ์ ให้พร้อม เรื่องควบคุมการติดเชื้อ และวินิจฉัยให้รวดเร็ว - จัดทีมดูแลที่เดินทางไปประกอบพิธีทางศาสนาในช่วงก่อนเดินทาง และหลังกลับจากเดินทาง
4.6 มาตรการการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข (ต่อ) 4.6.3 การวินิจฉัยดูแลรักษา/การส่งต่อ/การตรวจทางห้องปฏิบัติการ - ดำเนินการตามแนวทางรักษาของกรมการแพทย์/ระบบป้องกันการติดเชื้อ - พัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาลในการรับผู้ป่วย ส่วนภูมิภาค รพศ. ทั่วประเทศ มีห้อง Negative pressure อย่างน้อยแห่งละ 1 ห้อง กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล : สถาบันบำราศฯ รพ.ราชวิถี รพ.เลิดสิน รพ.ทรวงอก - การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 เขต ทั่วประเทศ สามารถตรวจได้ภายใน 5-8ชม.
4.6 มาตรการการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข 4.6.4 การสื่อสารความเสี่ยง - ทำการสื่อสารความเสี่ยง ถึงกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทั่วไป ผู้เดินทางกลับจากแสวงบุญ ผู้ป่วยสงสัย ในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งในรูปแบบ Infographic ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ - บุคลากรทางการแพทย์ และญาติ - จัดทำข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์/เตรียมแผนการสื่อสารความเสี่ยงตามฉากทัศน์ โดยสำนักสื่อสารความเสี่ยงเป็น Focal Point 4.6.5 การบริหารจัดการ ประชุม ติดตาม สั่งการ - เตรียมพร้อมการบริหารจัดการ EOC ในกรมควบคุมโรค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมแผน BCP - พิจารณาประกาศเป็นโรคติดต่ออันตราย โดยประเมินจากความรุนแรงของสถานการณ์
4.6 มาตรการการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข (ต่อ) 4.6.6 ให้คำแนะนำสำหรับผู้เดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรค -ปฏิบัติตามสุขอนามัย โดยหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัด -หากไปสถานที่ที่มีผู้คนหนาแน่น ควรสวมหน้ากากอนามัยและหากไม่จำเป็น -ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานพยาบาลในประเทศที่มีการระบาดของโรค -กลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรคเมอร์ส -ในช่วงสองสัปดาห์ (14วัน) หลังการเดินทางกลับแล้ว ถ้ามีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ควรไปพบแพทย์พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง
การแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารโรคเมอร์ส (MERS)
4.7 มาตรการการดำเนินงานของจังหวัดสุรินทร์ 4.7.1ดำเนินการตามข้อสั่งการของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัย ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ -การเฝ้าระวังสถานการณ์ -การติดป้ายประชาสัมพันธ์ -มีระบบ One stop service -มี Guide line สำหรับแพทย์และบุคลากร -สำรวจและเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ป้องกันตนเอง PPE -ประสานศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์นครราชสีมาในการตรวจตัวอย่าง -สำรวจและเตรียมความพร้อมห้องแยกโรค ชนิด Negative Pressure -สื่อสารความเสี่ยงให้ความรู้กับประชาชน อสม. และบุคลากรทางการแพทย์ -หากมีผู้ป่วยที่มีอาการสงสัย ให้เจ้าหน้าที่ดูแลเสมือนเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันทุกราย
4.7 มาตรการการดำเนินงานของจังหวัดสุรินทร์ 4.7. 2 ระบบเฝ้าระวัง ป้องระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ 2012 สำหรับสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์
4.7.3 การติดตามผู้สัมผัสในชุมชน สัมผัสผู้ใกล้ชิด High risk Low risk Index case Patient under investigation (PUI) 1.การแยกตัวเพื่อสังเกตอาการ(Self isolation) 2.ติดตามโดยไปเยี่ยมที่บ้าน สอบถามอาการทางเดินหายใจ และวัดไข้ 1.การแยกตัวเองเพื่อสังเกตอาการ(Self isolation) 2.ติดตามโดยการโทถามอาการป่วยทางเดินหายใจ Probable/ Confirmed MERS 1.การรับไว้เพื่อสังเกตอาการในสถานที่ที่จัดไว้ (Quarantine) 2.ติดตามโดยการไปสอบถามอาการทางเดินหายใจ และวัดไข้วันละ 2ครั้ง ในสถานที่กักกันที่เตรียมไว้ 1. การแยกตัวเองเพื่อสังเกตอาการ(Self isolation) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องปฏิบัติโดยการป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด สวมถุงมือ หน้ากากป้องกันโรค ไม่สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ใ ช้Hand – thermometer และล้างมือทันทีหลังจากตรวจอาการของผู้สัมผัส
นิยามสัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงสูง (High risk closed contact) 1. High risk closed contact ในชมชน สถานพยาบาล และโรงเรียน 1.1 สมาชิกในครอบครัว ญาติ ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยขณะที่มีอาการป่วย 1.2 ผู้สัมผัสอื่นๆ ผู้ร่วมเดินทาง ที่สัมผัสผู้ป่วยโดยตรง หรือสัมผัสสารคัดหลั่งทางเดินหายใจ หรือโดนไอ จาม จากผู้ป่วยขณะที่มีอาการป่วย เช่นเพื่อนบ้านเพื่อนบ้านที่ช่วยหามผู้ป่วยขณะขึ้นรถมา รพ. 1.3 บุคคลกรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ห้อง Lab ที่สัมผัสผู้ป่วยโดยตรงหรือสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย โดยไม่ได้ใส่ PPE ที่เหมาะสม 1.4 ผู้ป่วยหรือผู้ที่มาเยี่ยมในแผนกและช่วงเวลาเดียวกับที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 1.5 เพื่อนนักเรียนในโรงเรียนของผู้ป่วย และมีประวัติใกล้ชิดกับผู้ป่วยขณะมีอาการ
2. High risk closed contact ในเครื่องบิน 2 2.High risk closed contact ในเครื่องบิน 2.1ผู้โดยสารและลูกเรือที่มีการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย 2.2ผู้โดยสารที่นั่งใกล้กับผู้ป่วยในระยะ 2แถว หน้าและหลัง 2.3เจ้าหน้าที่ทุกรายในเครื่องบินที่ผู้ป่วยโดยสาร 2.4ผู้ร่วม group tour เดียวกับผู้ป่วย 3. High risk closed contact ในรถหรือในเรือโดยสาร 3.1ผู้โดยสารและพนักงานที่มีการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วยขณะมีอาการ 3.2ผู้โดยสารที่นั่งใกล้กับผู้ป่วยที่มีอาการในระยะ 2 แถมหน้าและหลังในรถโดยสารหรือเรือขนาดใหญ่ 3.3ผู้โดยสารหรือคนขับรถทุกรายที่โดยสารมาพร้อมกับผู้ป่วยมีอาการในรถตู้หรือรถยนต์ส่วนบุคคลหรือรถโดยสาร
4.7.4 ค้นหากลุ่มเสี่ยงที่อาจเป็นผู้ป่วย MERS ในโรงพยาบาล 1.บุคลากรทางการแพทย์ที่เป็น Pneumonia 2.คนไข้ Pneumonia ทุกรายมีประวัติ ญาติ หรือสัมผัสผู้ป่วย Admitที่เกิดจากโรคติดเชื้อระบบหายใจ 3.กลุ่ม ARDS ที่หาสาเหตุไม่ได้ ให้ตรวจหา MERS ทุกรายเพื่อแจ้ง SRRT ลงสอบสวน ทั้ง 3 กลุ่มนี้ให้แจ้ง SRRT และส่งตรวจหาการติดเชื้อ MERS
เลิกจากการแยกโรค/เลิกจำกัดการเดินทาง/เลิกการกักกันได้เมื่อ ผู้ป่วย index case มีผลการตรวจห้องปฏิบัติการให้ผลลบตามนิยามตัดออกจาการเป็นผู้ป่วย (Excluded) ติดตามจนครบ 14 วัน กรณีผู้ป่วย index case เป็นผู้ป่วยยืนยันหรือน่าจะเป็น
วาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ -การเก็บตัวอย่างไปส่งศูนย์วิทยฯ วาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ -การเก็บตัวอย่างไปส่งศูนย์วิทยฯ -ทักษะการตามผู้สัมผัสยังไม่เป็นระบบ -ระบบการคัดกรอง