รูปแบบรายการวิทยุกระจายเสียง รูปแบบรายการวิทยุกระจายเสียง นส.ธนวันต์ ชุมแสง ผอ.สขร.สปข.3 นส.เดือน อินต๊ะ นักสื่อสารมวลชนชำนาญการ
ความเหมือน แตกต่างของสื่อ โทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ อินเตอร์เน็ต สื่อบุคคล
รูปแบบรายการวิทยุ 12 แบบ รายการพูดคุยกับผู้ฟัง (Talk Program) รายการสนทนา (Conversational Program) รายการสัมภาษณ์ (Interview Program) รายการอภิปราย (Discussion Program) รายการสารคดี (Documentary or Feature Program) รายการนิตยสารทางอากาศ (Magazine Program)
รูปแบบรายการวิทยุ 12 แบบ (ต่อ) 7. รายการข่าว (News Program) 8. รายการเพลง (Music Program) 9. รายการปกิณกะ (Variety Program) 10. รายการละครวิทยุ (Radio Drama) 11. รายการตอบปัญหา (Quiz Program) 12. รายการบรรยายเหตุการณ์ (Commentary Program)
รายการพูดคุยกับผู้ฟัง (Talk Program) การสื่อสารจะมีลักษณะเป็นการสื่อสารแบบสองทาง (Two way Communication) กับผู้ฟัง
รายการสนทนา (Conversational Program) การสื่อสารจะเป็นการสื่อสารสองทาง (Two way Communication) กับผู้ดำเนินรายการร่วม แต่จะเป็นการสื่อสารทางเดียว (One way Communication) กับผู้ฟังทางบ้าน ยกเว้นจะเปิดโอกาสให้คนฟังสามารถโทรศัพท์เข้ามาสอบถามประเด็นในเรื่องที่ผู้ดำเนินรายการร่วม
รายการสัมภาษณ์ (Interview Program) รายการสัมภาษณ์นี้จะมีลักษณะเป็นการสื่อสารสองทางกับผู้ที่เชิญมาร่วมในรายการ หรืออาจจะใช้วิธีการสัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์
รายการอภิปราย (Discussion Program) รายการลักษณะนี้จะเป็นการสื่อสารแบบสองทางระหว่างผู้ดำเนินการอภิปรายกับ ผู้ร่วมอภิปราย รายการลักษณะนี้จะเป็นรายการที่มีผู้ดำเนินการอภิปราย 1 คน และผู้ร่วมอภิปรายตั้งแต่ 2 - 4 คน
รายการสารคดี (Documentary or Feature Program) รายการลักษณะนี้จะเป็นการสื่อสารแบบ ทางเดียวกับผู้ฟังทางบ้าน โดยมีผู้บรรยาย ควรจะเป็นคนๆ เดียวกันตลอดไป
รายการนิตยสารทางอากาศ (Magazine Programme) จะเป็นลักษณะของการสื่อสารทางเดียวกับผู้ฟัง รายการนิตยสารทางอากาศ เป็นรายการที่มีผู้ดำเนินรายการหลัก 1 คน และมีผู้ดำเนินรายการในแต่ละช่วงๆละ 1 คน ทั้งนี้รายการใน 1 ชั่วโมงควรแบ่งออกเป็น 4 ช่วงๆ ละ 10 – 15 นาที มีความหลากหลายทั้งเนื้อเรื่องและรูปแบบการนำเสนอ
รายการข่าว (News Program) เป็นการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบเสนอข้อเท็จจริงตามความเป็นจริง ไม่สอดแทรกความคิดเห็น ส่วนใหญ่รายการข่าวจะมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ รายการข่าวประจำวัน และรายการข่าวสั้นในแต่ละช่วงของวัน ซึ่งจะมีความยาวของรายการที่แตกต่างกัน
รายการเพลง (Music Program) ผู้จัดรายการ หรือ DJ ทำหน้าที่ในการเลือกเพลงตามคำขอของผู้ฟัง หรืออาจจะเป็นการเปิดเพลงที่กำลังอยู่ในความนิยม ตามรูปแบบของรายการ หรือให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของคนฟังในรายการ
รายการปกิณกะ (Variety Program) เป็นรายการที่มีความหลากหลายในการนำเสนอเนื้อหาสาระ หรือเป็นการเปิดกว้างของรายการภายในเวลา 1 ชั่วโมง โดยจะมีผู้ดำเนินรายการ 1 คน คอยทำหน้าที่เชื่อมโยงเนื้อหารายการในแต่ละช่วง
รายการละครวิทยุ (Radio Drama) เป็นรายการการแสดงที่ใช้เสียงบอกเล่าเรื่องราว แสดงอารมณ์ ความรู้สึกและสามารถถ่ายทอดความนึกคิดต่างๆ ไปสู่ผู้ฟังได้ โดยไม่จำเป็นต้องมองเห็นท่าทางกิริยาของผู้แสดง ละครที่แสดงทางวิทยุกระจายเสียง มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสรรค์ความบันเทิง ให้ความรู้ ให้แง่คิดแก่คนฟัง หรือเป็นละครเพื่อการรณรงค์ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
รายการตอบปัญหา (Quiz Program) เป็นรายการที่คล้ายคลึงกับกับรายการที่เน้นเนื้อหาทางวิชาการ ซึ่งเป็นลักษณะของการสื่อสาร 2 ทิศทางระหว่างผู้ดำเนินรายการ และผู้ตอบปัญหาทางบ้าน
รายการบรรยายเหตุการณ์ (Commentary Program) เป็นรายการถ่ายทอดสดจากสถานที่เกิดเหตุการณ์ในเวลานั้น โดยส่วนใหญ่จะแทรก ได้ทุกช่วงเวลาของการเกิดเหตุการณ์ ทั้งนี้เหตุการณ์นั้นจะต้อง มีความสำคัญและ เกิดผลกระทบต่อประชาชนระดับประเทศ หรือเป็นประเด็นสาธารณะที่คนสนใจในขณะนั้น
ขั้นตอนการผลิตรายการ ขั้นรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน รูปแบบและประเภทของรายการที่ควรจะผลิต ประเด็นเนื้อหา ขั้นการวางแผนผลิตรายการ ขั้นการเขียนบท ขั้นจัดเตรียมวัสดุรายการ ขั้นประสานงานการผลิตรายการ ขั้นซักซ้อม / ขั้นบันทึกเสียง ขั้นตรวจสอบคุณภาพของรายการ ขั้นติดตามประเมินผล
ขั้นตอนการผลิตรายการวิทยุเพื่อการประชาสัมพันธ์ (มี 3 ขั้นสำคัญ) ขั้นตอนการผลิตรายการวิทยุเพื่อการประชาสัมพันธ์ (มี 3 ขั้นสำคัญ) 1. ขั้นการเตรียมการ 2. ขั้นผลิตรายการ 3. ขั้นการออกอากาศหรือนำเสนอ
องค์ประกอบของรายการ จิงเกิ้ล เพลงประจำรายการ สปอต บทรายการ เนื้อหา ประเด็น เพลง ผู้ดำเนินรายการ ผู้ร่วมรายการ อุปกรณ์ เครื่องส่ง รวมทั้งเทปสัมภาษณ์ กรณีสัมภาษณ์ล่วงหน้า
2. สปอต เป็นรายการสั้นๆ ความยาว 30-60 วินาที เสนอเฉพาะข้อความที่สำคัญและเรีบเรียงด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย แต่กินใจ เข้าใจง่าย ชวนจดจำ เสียงที่ใช้ เป็นบทพูด หรือสนทนาก็ได้ มีการใช้เพลงหรือเสียงประกอบร่วมด้วย มักจะใช้สอดแทรกระหว่างรายการ
3. จิงเกิ้ล เป็นข้อความประชาสัมพันธ์สั้นๆ ที่นำเสนอพร้อมท่วงทำนองเพลง โดยทั่วไปจะมีความยาว 15-60 วินาที ผลิตขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์หรือเอกลักษณ์ขององค์กร หรือรายการ บางครั้งนำเอาสโลแกนขององค์กร มาเป็นจิงเกิ้ล
หลักการจัดรายการวิทยุ # การจัดรายการวิทยุกระจายเสียง เป็นกิจกรรมที่มีความละเอียดอ่อนที่ต้องอาศัย ทักษะของแต่ละคนและองค์แห่งความรู้ # ผู้จัดรายการที่ดีต้องเป็นผู้มีศิลปะอยู่ในตัวเองการจัดรายการวิทยุต้องทำงานด้วย หลัก 6 T และ 3H
หลักการจัดรายการวิทยุ 6 T -TOPIC ที่ชัดเจน แจ่มแจ้ง -TARGET รู้จักกลุ่มเป้าหมาย -TEAM มีทีมงานที่ดี -TACTIC มีกลยุทธ์ในการดึงดูดใจต่อ กลุ่มเป้าหมาย -TIME รู้จักเวลา กาลเทศะ -TECHNOLOGY ต้องเสาะแสวงหาความรู้ใหม่อยู่เสมอ
หลักการจัดรายการวิทยุ 3 H - HEAD ต้องทำงานด้วยสมอง สติปัญญา รอบคอบรอบรู้ - HAND ต้องทำงานด้วยฝีมือประณีต บรรจง ละเอียด - HEART การทำงานด้วยใจรัก ใส่ใจ มีน้ำใจ อดทนพยายาม
ข้อควรระวังในการจัดรายการ ระวังเรื่องภาษา การเว้นวรรคตอน -ความเป็นกลาง
หัวใจของการจัดรายการ ต้นตื่นเต้น- กลางกลมกลืน-จบจับใจ