การสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่าย บทที่ 5 การสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่าย
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เข้าใจแนวคิดของเครือข่าย และประโยชน์จากระบบโทรคมนาคมที่อำนวยความ สะดวกด้านการสื่อสารระยะไกล อธิบายแนวโน้มด้านการสื่อสารโทรคมนาคมในแง่มุมต่างๆ ได้ บอกชนิดของเครือข่าย พร้อมอธิบายรายละเอียดได้อย่างถูกต้อง บอกเกณฑ์วัดประสิทธิภาพของเครือข่ายได้ สามารถพิจารณาสื่อกลางส่งข้อมูลทั้งแบบมีสายและไร้สาย เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับ องค์กรหรือธุรกิจได้อย่างเหมาะสม เห็นความสำคัญของอินเทอร์เน็ตที่มีต่อภาคธุรกิจและการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อให้ เกิดมูลค่า บอกความแตกต่างระหว่างเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ตได้ สามารถยกตัวอย่างมูลค่าทางธุรกิจ จากการนำอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตและเอกซ์ ทราเน็ตมาใช้งาน
5.1 ภาพรวมของการสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่าย 4 Telephone Network 6 1 3 5 2
5.1 ภาพรวมของการสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่าย หมายเลข 1 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของหน่วยส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็น คน คอมพิวเตอร์ เทอร์มินัล หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่นำมาใช้แทนแหล่งกำเนิด ข่าวสาร หมายเลข 2 คือข้อมูลหรือสัญญาณที่ส่งผ่านมายังสายสื่อสาร หมายเลข 3 คืออุปกรณ์โมเด็ม ที่รับทำหน้าที่แปลงสัญญาณให้อยู่ใน รูปแบบที่เหมาะสม ทั้งนี้โมเด็มในส่วนของภาคส่ง จะทำการแปลง ข้อมูลดิจิตอลมาเป็นสัญญาณแอนะล็อก ในขณะที่โมเด็มที่ภาครับ จะ แปลงสัญญาณแอนะล็อกกลับมาเป็นข้อมูลดิจิตอล เพื่อส่งให้กับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง นำไปประมวลผลต่อไป
5.1 ภาพรวมของการสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่าย หมายเลข 4 คือโครงข่ายโทรศัพท์ ซึ่งถือเป็นระบบโทรคมนาคมที่ช่วยให้ สามารถสื่อสารข้อมูลระยะไกล และโครงข่ายโทรศัพท์นี้เองที่มักจะถูกเลือก ให้ใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อสารระยะไกล ระหว่างต้นทางกับปลายทาง เนื่องจากมีต้นทุนต่ำ ประกอบกับโครงข่ายโทรศัพท์ได้ถูกพัฒนาใช้งานมา ยาวนาน ทำให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วไปอย่างกว้างขวาง หมายเลข 5 คือโมเด็มของเครื่องปลายทาง ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณจากฝั่ง ส่งเข้ามา โดยจะทำการแปลงสัญญาณแอนะล็อกกลับมาเป็นข้อมูลดิจิตอล หมาบเลข 6 คือหน่วยรับข้อมูล ซึ่งก็คือจุดหมายปลายทาง โดยข้อมูลที่ ได้รับ จะตรงกันกับข้อมูลต้นฉบับตามที่หน่วยส่งส่งมาทุกประการ
5.1 ภาพรวมของการสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่าย สรุป สำหรับในแง่มุมของระบบธุรกิจแล้ว เทคโนโลยีการสื่อสาร โทรคมนาคม ช่วยให้การทำงานร่วมกันของทีมงานภายใน องค์กร สามารถสื่อสารร่วมกันได้ แม้ว่าจะอยู่คนละที่ก็ตาม ขณะเดียวกันก็จะช่วยลดเวลาในการส่งผ่านข้อมูล ทำให้การ ขับเคลื่อนกิจกรรมทางธุรกิจ สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ อย่างรวดเร็ว ทันเวลาต่อการใช้งาน
5.2 แนวโน้มด้านการสื่อสารโทรคมนาคม การสื่อสารโทรคมนาคม คือการแลกเปลี่ยนสารสนเทศที่อยู่ในทุก รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ข้อมูล ข้อความ รูปภาพ ออดิโอ และวิดีโอ ด้วยการส่งผ่านเครือข่าย ซึ่งแต่เดิมนั้น เครือข่ายการสื่อสาร โทรคมนาคมไม่สามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกำหนดเส้นทางการจราจร บนเครือข่ายได้ และความเร็วในการส่งผ่านก็จะช้ามาก เมื่อเทียบกับ ปัจจุบันที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ สำหรับแนวโน้มหลักๆ ด้านการ สื่อสารโทรคมนาคมได้ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจในส่วนของการ บริหารจัดการโดยตรง ดังนั้นเราจึงต้องรับทราบถึงแนวโน้มหลักของการ สื่อสารโทรคมนาคม ทั้งในด้านอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และการใช้งาน ที่มีส่วนสำคัญต่อการเพิ่มแนวทางในการตัดสินใจ และต้องนำมา ประยุกต์ใช้ เพื่องานบริหารจัดการมีความเป็นมืออาชีพยิ่งขึ้น
5.2 แนวโน้มด้านการสื่อสารโทรคมนาคม 5.2.1 แนวโน้มด้านอุตสาหกรรม (Industry Trends) 5.2.2 แนวโน้มด้านเทคโนโลยี (Technology Trends) 5.2.3 แนวโน้มด้านการใช้งานทางธุรกิจ (Business Application Trends)
5.2 แนวโน้มด้านการสื่อสารโทรคมนาคม แนวโน้มด้านอุตสาหกรรม ขยายตัวไปตามการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการ ผู้ติดตั้ง บริษัทคู่ค้า และการบริการด้านเครือข่าย สำหรับการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการแข่งขัน จะเป็นตัวเร่งอัตราการเจริญเติบโตของอินเทอร์เน็ตและเวิร์ลไวด์เว็บ แนวโน้มด้านเทคโนโลยี ขยายตัวไปตามการใช้อินเทอร์เน็ต การใช้สายดิจิตอลความเร็วสูง สายไฟเบอร์ออปติกและเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย ด้วยการสร้างระบบท่อส่งข้อมูลความเร็วสูงระดับสากล เพื่อส่งผ่านข้อมูล เสียง รูปภาพ ออดิโอ และวิดีโอ ให้ทั่วถึงกันทั่วโลก
5.2 แนวโน้มด้านการสื่อสารโทรคมนาคม แนวโน้มด้านการใช้แรงงาน ขยายตัวไปตามความแพร่หลายของการใช้อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ตในการสนับสนุนธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และอีคอมเมิร์ซ การร่วมมือระหว่างองค์กรและกลยุทธ์เพื่อชิงความได้เปรียบในการแข่งขันทางการตลาดระดับท้องถิ่นและระดับโลก
5.3 มูลค่าทางธุรกิจของเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคม มูลค่าทางธุรกิจที่เกิดจากการนำเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมมาใช้นั้น เราสามารถชี้ระบุลงไปได้ว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งจากการใช้อินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมอื่นๆ นั้น สามารถช่วยองค์กร ลดต้นทุน ลดเวลาการดำเนินงาน การสนับสนุนระบบอีคอมเมิร์ซ การทำงาน ร่วมกันบนเครือข่ายให้มีทิศทางที่ดีขึ้น การพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานแบบ ออนไลน์ การแชร์ทรัพยากรเพื่อใช้งานร่วมกัน การผูกมัดลูกค้าและผู้ขายปัจจัย การผลิต และรวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการใหม่ๆ สิ่งเหล่านี้ ล้วน เป็นผลประโยชน์ที่ได้รับจากการนำเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมมา ประยุกต์ใช้ทั้งสิ้น และถือเป็นกลยุทธ์สำคัญขององค์กรที่ต้องค้นหาแนวทางใหม่ๆ ในการแข่งขัน ที่ครอบคลุมถึงตลาดภายในประเทศและตลาดโลก
5.3 มูลค่าทางธุรกิจของเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคม ความสามารถเชิงธุรกิจ ตัวอย่างธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่าทางธุรกิจ ขจัดปัญหาอุปสรรคด้านภูมิศาสตร์ (ระยะทาง) สามารถรับส่งข้อมูลทางธุรกิจได้ แม้ว่าทั้งสองฝั่งจะมีแหล่งที่ตั้งห่างไกลกันก็ตาม พนักงานสามารถใช้อินเตอร์เน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต เพื่อส่งคำสั่งซื้อของลูกค้าไปยังศูนย์ข้อมูล เพื่อประมวลผลตามคำสั่งซื้อของลูกค้า และการควบคุมสินค้าคงคลัง ซึ่งจะดำเนินการแบบออนไลน์ นำเสนอการบริการที่ดีให้แก่ลูกค้า ป้องกันการสั่งซื้อสินค้าล่าช้า และช่วยปรับปรุงระบบกระแสเงินสดในด้านของการจัดการชำระหนี้ของลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น ขจัดปัญหาด้านเวลา สามารถจัดเตรียมสารสนเทศเพื่อส่งไปยังจุดหมายปลายทางได้ทันที เมื่อฝั่งหนึ่งมีการร้องขอข้อมูล ระบบร้านค้าปลีกหน้าร้าน ที่ออนไลน์เชื่อมโยงกับทางธนาคาร เมื่อลูกค้าชำระค่าสินค้าผ่านสินเชื่อบัตรเครดิตที่จะสามารถตรวจสอบยอดวงเงิน และรอรับคำอนุมัติจากธนาคารได้ทันที การร้องขอสินเชื่อ สามารถดำเนินการแบบอัตโนมัติให้แล้วเสร็จ และรู้ผลถึงการตอบรับคำอนุมัติจากทางธนาคารได้ภายในไม่กี่วินาที
5.3 มูลค่าทางธุรกิจของเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคม ความสามารถเชิงธุรกิจ ตัวอย่างธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่าทางธุรกิจ ขจัดปัญหาเกี่ยวกับต้นทุน ด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ จะช่วยลดต้นทุนได้มาก เมื่อเทียบกับระบบแบบดั้งเดิม สามารถประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเร็นซ์ ระหว่างองค์กรด้วยกัน และรวมถึงบริษัทคู่ค้า ด้วยการใช้อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายทางธุรกิจในด้านการเดินทาง ด้วยการอนุญาตให้ลูกค้า ผู้ขายปัจจัยการผลิต และพนักงานได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมด้วยกัน ซึ่งช่วยให้การตัดสินใจมีคุณภาพยิ่งขึ้น ขจัดปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้าง สนับสนุนการเชื่อมโยงกลยุทธ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อชิงความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน นำระบบอีคอมเมิร์ซแบบ B-to-B และเว็บไซต์เพื่อจัดทำรายการกับผู้ขายปัจจัยการผลิต และลูกค้าด้วยการใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต ช่วยให้การบริการมีความรวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถผูกมัดลูกค้าและผู้ขายปัจจัยการผลิตได้
5.4 ชนิดของเครือข่าย การแบ่งชนิดของเครือข่ายจะพิจารณาถึงส่วนกายภาพใน ด้านระยะทางระหว่างโหนดบนเครือข่าย และข้อกำหนดด้าน การสื่อสารและการบริการเป็นหลัก โดยเครือข่ายยังสามารถ จัดแบ่งประเภทออกเป็นหลายชนิดด้วยกัน เช่น เครือข่ายส่วน บุคคล เครือข่ายท้องถิ่น เครือข่ายระดับเมือง และเครือข่าย ระดับประเทศ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
5.4 ชนิดของเครือข่าย 5.4.1 เครือข่ายส่วนบุคคล (Personal Area Networks : PAN) ส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายแบบไร้สายที่มีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ทางเทคโนโลยี สารสนเทศ โดยมีรัศมีการใช้งานบนระยะทางประมาณ 33 ฟุต สำหรับอุปกรณ์ที่ นำมาเชื่อมต่อ สามารถเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค เครื่องพีดีเอ ปาล์ม คอมพิวเตอร์ และเครื่องเล่นเพลงแบบพกพา ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหลายเหล่านี้ สามารถ เชื่อมโยงและส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันแบบไร้สายได้ เช่น การโอนหรือคัดลอก ข้อมูลจากเครื่องพีดีเอไปยังอุปกรณ์อื่นๆ หรืออาจเป็นเครื่องพีดีเอด้วยกัน การสั่ง พิมพ์รายงานไปยังเครื่องพิมพ์ผ่านสื่อไร้สายอย่างบลูทูธ เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว เรายังสามารถนำเครื่องพีดีเอเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายอื่นๆ ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก เพื่อดาวน์โหลดหรืออัปโหลดข้อมูลระหว่างกัน
5.4 ชนิดของเครือข่าย 5.4.2 เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นเครือข่ายที่นำระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์มาเชื่อมต่อ เพื่อแชร์ใช้งาน ทรัพยากรบนเครือข่ายร่วมกัน ปกติเครือข่ายแลนจะครอบคลุมพื้นที่จำกัด ภายใน ระยะทางไม่กี่กิโลเมตร เช่น ภายในบ้านพัก สำนักงาน ตึกอาคารหลายๆ ชั้นที่ตั้งอยู่ อาณาบริเวณเดียวกัน เป็นต้น สำหรับเครือข่ายแลนทั่วไปที่ถูกติดตั้งใช้งานตาม หน่วยงานทั่วไปนั้น ส่วนใหญ่จะเชื่อมต่อด้วยสายสัญญาณเป็นหลัก ในขณะที่การ เชื่อมต่อแบบไร้สาย อาจจะเปิดให้บริการเฉพาะพื้นที่บางส่วนเท่านั้น ทั้งนี้การ เชื่อมโยงผ่านสาย จะมีข้อดีตรงที่ความเสถียรในด้านการรับส่งข้อมูล และมีความ รวดเร็ว ในขณะที่การเชื่อมโยงแบบไร้สาย มักใช้เป็นทางเลือกเพื่ออำนวยความ สะดวกตามพื้นที่เฉพาะส่วนที่กำหนด ตัวอย่างเช่น สถาบันการศึกษาที่มีการ เชื่อมโยงในฝ่ายต่าง เช่น ฝ่ายการเงิน ทะเบียน คณะวิชา เป็นต้น
5.4 ชนิดของเครือข่าย 5.4.3 เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network : MAN) เครือข่ายระดับเมืองหรือเครือข่ายแมน เป็นเครือข่ายที่ส่วน ใหญ่จะครอบคลุมระยะทางประมาณ 30 – 90 ไมล์ ซึ่ง ครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าเครือข่ายแลน โดยเครือข่ายแมนถูก ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าสามารถเชื่อมต่อการสื่อสารด้วย ความเร็วสูง เช่น บริษัทแห่งหนึ่ง ได้มีการเชื่อมต่อเครือข่ายของ สาขาต่างๆ ที่อยู่ในเขตเมือง หรือภายในจังหวัดเข้าด้วยกันผ่าน สายไฟเบอร์ออปติก หรือการบริการเคเบิลทีวี เป็นต้น
5.4 ชนิดของเครือข่าย 5.4.4 เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network : WAN) เครือข่ายระดับประเทศหรือเครือข่ายแวน เป็นเครือข่ายที่ส่งผ่าน ข้อมูลแบบระยะไกล ข้อมูลที่ส่งผ่านสามารถเป็นได้ทั้งข้อมูลทั่วไป รูปภาพ ออดิโอ และวิดีโอที่สามารถสื่อสารข้ามประเทศหรือข้ามทวีป ได้ โดยเครือข่ายแวนจะเป็นเครือข่ายที่มีเจ้าของ ผู้ที่สามารถเข้าถึงได้ ต้องเป็นสมาชิกหรือพนักงานภายในองค์กรเท่านั้น นอกจากนี้ เครือข่าย แวนปกติจะมีสายแกนหลักจำนวนมากกว่าหนึ่งเส้น จึงทำให้การ ลำเลียงรับส่งข้อมูล สามารถมีช่องทางการเดินทางมากกว่าหนึ่ง เส้นทาง และยังสามารถนำสายแกนหลักบางเส้น เชื่อมต่อเข้ากับ อินเทอร์เน็ต เพื่อให้เครือข่ายสามารถเข้าถึงเครือข่ายสาธารณะได้
5.5 สื่อกลางสำหรับการสื่อสาร ในการออกแบบระบบการสื่อสารโทรคมนาคม การคัดเลือก สื่อกลางเพื่อการรับส่งข้อมูลจะขึ้นอยู่กับปริมาณข้อมูลที่ แลกเปลี่ยนระหว่างกัน ความเร็ว ระดับความปลอดภัย และ ความต้องการทางธุรกิจในด้านอื่นๆ โดยสื่อกลางส่งข้อมูลยัง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกันคือ สื่อกลางส่งข้อมูลแบบ มีสาย และสื่อกลางส่งข้อมูลแบบไร้สาย
5.5 สื่อกลางสำหรับการสื่อสาร 5.5.1สื่อกลางส่งข้อมูลแบบมีสาย (Guided transmission Media ) สื่อกลางส่งข้อมูลแบบมีสายมีอยู่หลายชนิดให้เลือกใช้ ซึ่ง สามารถสรุปได้โดยย่อตามรายละเอียด ดังนี้ 1. สายคู่บิดเกลียว 2. สายโคแอกเชียล 3. สายไฟเบอร์ออปติก
สายคู่บิดเกลียว
สายโคแอกเชียล
สายไฟเบอร์ออปติก
5.5 สื่อกลางสำหรับการสื่อสาร ชนิดสื่อกลาง รายละเอียด ข้อดี ข้อเสีย สายคู่บิดเกลียว เป็นสายทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวนและนำมาบิดเป็นเกลียวคู่ โดยมีทั้งแบบ UTP (Unshielded Twisted-Pair) และ STP (Shielded Twisted-Pair Cable) นำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่น โทรศัพท์ เครือข่ายแลนและมีราคาถูก ข้อจำกัดด้านความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล และระยะทาง สายโคแอกเชียล แกนกลางมักทำมาจากทองแดงแล้วหุ้มด้วยพลาสติก โดยมีแผ่นฟอยล์พร้อมชีลด์ด้วยเส้นใยถักโลหะอีกชั้นหนึ่ง ก่อนที่จะถูกห่อหุ้มด้วยเปลือกนอก ป้องกันสัญญาณรบกวนได้เป็นอย่างดี และสามารถส่งผ่านข้อมูลได้รวดเร็วกว่าสายคู่บิดเกลียว มีราคาแพงกว่าสายคู่บิดเกลียว
5.5 สื่อกลางสำหรับการสื่อสาร ชนิดสื่อกลาง รายละเอียด ข้อดี ข้อเสีย สายไฟเบอร์ออปติก ตัวกลางทำจากเทคโนโลยีเฉพาะเรียกว่า ใยแก้วนำแสงและส่งผ่านข้อมูลด้วยแสง อัตราความเร็วในการส่งข้อมุลสูง สามารถเชื่อมโยงระยะทางยาวเป็นกิโลเมตร โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ ป้องกันสัญญาณรบกวนดี และมีความปลอดภัย ราคาแพงที่สุดในกลุ่ม และในการติดตั้ง จำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ
5.5 สื่อกลางสำหรับการสื่อสาร 5.5.2 สื่อกลางส่งข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ในระบบสื่อสาร วิธีพื้นฐานที่สุดนอกจากจะใช้สื่อกลางแบบมีสายในการ นำพาข่าวสารไปยังปลายทางได้แล้ว ยังมีวิธีการส่งข่าวสารในรูปแบบของคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าไปยังอากาศ ซึ่งเราเรียกวิธีนี้ว่าการสื่อสารแบบไร้สาย คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีหน่วยวัดความยาวเป็นนาโนเมตร หรือไมโครเมตร ส่วน ความถี่ของคลื่นจะมีหน่วยวัดเป็นเฮิรตซ์ ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าก็คือ จะมีความถี่แบบต่อเนื่องกันไปเป็นช่วงแนวกว้าง ที่เรียกว่า สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยแต่ละย่านความถี่จะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน ออกไปตามแหล่งกำเนิน เช่น ย่านความถี่ของคลื่นวิทยุ,ไมโครเวฟ และอินฟราเรด เป็นต้น
5.5 สื่อกลางสำหรับการสื่อสาร 5.5.2 สื่อกลางส่งข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) 1. คลื่นวิทยุ 2. ไมโครเวฟ 3. โทรศัพท์เคลื่อนที่ 4. อินฟราเรด 5. บลูทูธ 6. WAP (Wireless Application Protocol)
5.6 การปฏิวัติสู่โลกของอินเทอร์เน็ต ชื่อโดเมน ประเภทองค์กร com กลุ่มองค์กรภาคธุรกิจ edu กลุ่มสถาบันการศึกษา gov กลุ่มองค์กรรัฐบาล mil กลุ่มองค์กรทางทหาร net กลุ่มองค์กรบริการทางเครือข่าย org กลุ่มองค์กรอื่นๆ ที่ไม่แสวงหาผลกำไร
5.6 การปฏิวัติสู่โลกของอินเทอร์เน็ต ชื่อโดเมน ประเทศ au ออสเตรเลีย fr ฝรั่งเศส jp ญี่ปุ่น th ไทย uk อังกฤษ
5.6 การปฏิวัติสู่โลกของอินเทอร์เน็ต ชื่อซับโดเมน ความหมาย ac สถาบันการศึกษา co ภาคธุรกิจ go องค์กรรัฐบาล or กลุ่มองค์กรอื่นๆ ตัวอย่างชื่อซับโดเมนที่นำไปใช้เป็นส่วนขยายชื่อโดเมน
5.6 การปฏิวัติสู่โลกของอินเทอร์เน็ต http://www.rpu.ac.th http://www.moe.go.th/ http://www.seacon.co.th/ HTTP (Hypertext Transfer Protocol) หมายถึง โปรโตคอลที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนสารสนเทศผ่านอินเทอร์เน็ต โดยนำไฟล์ เอกสารไปเชื่อมต่อกับ World Wide Web (WWW)
5.6 การปฏิวัติสู่โลกของอินเทอร์เน็ต การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 1. การเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายแลน (Connect via LAN Server) 2. การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ (Connect via Dial-up) 3. การเชื่อมต่อผ่านการบริการอินเทอร์เน็ตความเร็ว (Connect via High-Speed Service) 4. การเชื่อมต่อแบบไร้สาย (Connect Wirelessly)
5.6 การปฏิวัติสู่โลกของอินเทอร์เน็ต ความสามารถด้านการบริการ ลักษณะการใช้งาน จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล การส่งข่าวสารระหว่างบุคคล การบริการกล่องจดหมาย (Mail Box) ที่ผู้คนทั่วไปสามารถลงทะเบียนเพื่อใช้อีเมลฟรี Hotmail, Yahoo และ Gmail เป็นต้น การแชท และการส่งข้อความแบบทันที การสื่อสารด้วยการแชทเพื่อสนทนาระหว่างกัน รวมถึงการส่งข้อความเพื่อการโต้ตอบแบบทันที เช่น MSN และ Yahoo Messenger กลุ่มข่าว การจัดกลุ่มสนทนาในรูปแบบของกระดานข่าว เช่น เว็บบอร์ดที่เปิดบริการให้ผู้คนทั่วไปสามารถแชร์ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการตั้งกระทู้ถามและการตอบกระทู้ เช่น Pantip.com และเว็บบอร์ดทั่วไป เทลเน็ต การล็อกออนเพื่อเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์แบบระยะไกล โดยผู้ใช้หรือผู้ควบคุมระบบ สามารถอยู่ ณ ที่ใดก็ได้ ครั้นได้เทลเน็ตติดต่อกับเครื่องโฮสต์ได้แล้วก็จะสามารถควบคุมการสื่อสารกับโฮสต์เสมือนกับการใช้งานอยู่บนสถานที่ตั้งจริงๆ โปรโตคอลบริการโอนถ่ายแฟ้มข้อมูล การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง เช่น การดาวน์โหลดแฟ้มข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาจัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของเรา เวิลด์ไวด์เว็บ การค้นหาข้อมูล การกำหนดรูปแบบ และการสารสนเทศ เช่น การบริการของ google.com
5.6 การปฏิวัติสู่โลกของอินเทอร์เน็ต มูลค่าทางธุรกิจของอินเตอร์เน็ต 1. สร้างแหล่งรายได้ใหม่จากการขายสินค้าแบบออนไลน์ 2. ลดต้นทุนเกี่ยวกับการทำธุรกิจแบบดั้งเดิม มาเป็นการขายสินค้าแบบออนไลน์ รวมถึงงานสนับสนุนลูกค้าในด้านต่างๆ 3. ดึงดูดลูกค้ารายใหม่ผ่านช่องทางการตลาดบนเว็บ การโฆษณาและการขาย สินค้าออนไลน์ 4. เสริมสร้างความจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อสินค้าให้มากยิ่งขึ้น ผ่านการปรับปรุง งานบริการหลังการขาย และงานสนับสนุนลูกค้าผ่านระบบเว็บ 5. พัฒนาตลาดใหม่บนพื้นฐานระบบเว็บ เพื่อขยายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า ที่มีอยู่เดิม 6. พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บนพื้นฐานของเว็บเบส
5.7 บทบาทของอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต 5.7.1 อินทราเน็ต (Intranets) อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายภายในองค์กร ที่ถูกสร้างขึ้นมา ตามมาตรฐานเทคโนโลยีเดียวกันกับอินเทอร์เน็ตและ เวิลด์ไวด์เว็บ เพียงแต่เป็นเครือข่ายส่วนบุคคล ดังนั้นพนักงาน ภายในองค์กรเท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์ใช้งานและสามารถเข้าถึง สารสนเทศบนเครือข่ายได้ ในขณะเดียวกัน อินทราเน็ตยัง สามารถเชื่อมโยงเข้ากับอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นเครือข่ายสาธารณะ ได้ แต่นั่นมิใช่หมายความว่าผู้ใช้ภายนอกที่เชื่อมโยงผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะเข้าถึงอินทราเน็ตในองค์กรได้
5.7 บทบาทของอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต 5.7.2 เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranets) จัดเป็นเครือข่ายส่วนบุคคล ที่พัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเช่นกัน โดยมีข้อจำกัดในการเข้าถึงไซต์เฉพาะพนักงานในองค์กร ซึ่งปกติจะเป็นบริษัทคู่ ค้าทางธุรกิจ กล่าวคือ จุดประสงค์ของเอ็กซ์ทราเน็ตก็คือ การเชื่อมโยงระหว่าง องค์กร 2 องค์กรขึ้นไป ด้วยการเชื่อมโยงอินทราเน็ตระหว่างองค์กรเข้ากับ อินทราเน็ตของลูกค้า ผู้ขายปัจจัยการผลิต หรือคู่ค้าทางธุรกิจอื่นๆ ทั้งนี้องค์กรจะ สามารถสถาปนาการเชื่อมต่อถึงกันโดยตรงผ่านลิงค์เอ็กซ์ทราเน็ตนี้ ด้วยเครือข่าย ส่วนตัวที่เชื่อมโยงระหว่างกัน ที่เรียกว่า เครือข่ายเสมือนส่วนตัว ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ ถูกใช้งานบนโครงสร้างเครือข่ายสาธารณะอย่างอินเทอร์เน็ต แต่ยังคงความเป็น เครือข่ายเฉพาะส่วนตัวที่เชื่อมโยงระหว่างองค์กรได้ ด้วยการเข้ารหัสลงในไอพี แพ็กเก็ตก่อนที่จะนำส่งผ่านอินเทอร์เน็ต
5.7 บทบาทของอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต ชนิดของเครือข่าย ผู้ใช้งาน รหัสประจำตัวและรหัสผ่าน อินเทอร์เน็ต ใครก็ใช้งานได้ ไม่มี อินทราเน็ต พนักงาน มี เอ็กซ์ทราเน็ต คู่ค้าทางธุรกิจ
5. 8 อนาคตของเทคโนโลยีเครือข่าย 1. เทคโนโลยี VoIP คืออะไร 2 5.8 อนาคตของเทคโนโลยีเครือข่าย 1. เทคโนโลยี VoIP คืออะไร 2. RFID คืออะไร 3. อยากทราบว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ รุ่นที่นิสิตใช้อยู่ ณ ขณะนี้ เป็นการหล่อหลอมรวมเทคโนโลยีอะไรบ้าง รวมอยู่ภายในตัวเครื่องเดียว