ชุดการเรียนรู้ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ด้านการยศาสตร์ เรื่อง ผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงานผิดหลักการยศาสตร์ จัดทำโดย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สนับสนุนโดย สำนักงานประกันสังคม
วัตถุประสงค์ ระบุโรคหรือกลุ่มอาการผิดปกติจากการทำงานผิดหลัก การยศาสตร์ได้ บอกปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหรือกลุ่มอาการผิดปกติจาก การทำงานผิดหลักการยศาสตร์ได้ บอกอาการแสดงเบื้องต้นของโรคหรือกลุ่มอาการผิดปกติจาก การทำงานผิดหลักการยศาสตร์ได้ อธิบายแนวทางป้องกันโรคหรือกลุ่มอาการผิดปกติจาก การทำงานผิดหลักการยศาสตร์ได้
การทดสอบความรู้ก่อนเรียน
ภาพออกแบบงานไม่ดี
โรคหรือกลุ่มอาการผิดปกติจากการทำงานผิดหลักการยศาสตร์ ที่สำคัญ 1) การบาดเจ็บสะสมของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก โครงร่าง เช่น อาการปวดหลัง ปวดคอปวดไหล่
ปวดหลัง (LOW BACK PAIN)
อาการ ปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง (ตรงบริเวณกระเบนเหน็บ) ซึ่งอาจ เกิดขึ้นเฉียบพลันหรือค่อยเป็นทีละน้อย อาการปวดอาจเป็นอยู่ตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะในท่าบางท่า การไอ จาม หรือบิดตัว เอี้ยวตัวอาจทำให้รู้สึกปวดมากขึ้น โดยทั่วไปผู้ป่วยจะแข็งแรงดี และไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย
อาการปวดหลัง อาการปวดหลัง กล้ามเนื้อหลัง แผ่นกลม เส้นประสาท แนวกระดูก สันหลัง แผ่นกลม เส้นประสาท กระดูกสันหลัง กระดูก กระแบนเหน็บ อาการปวดหลัง อาการปวดหลัง
ท่าที่ผิด ท่าที่ถูกต้อง
ปวดคอ ลำคอเป็นอวัยวะที่มีการเคลื่อนไหวก้มเงยเอี้ยวหมุนอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นจุดอ่อนที่จะเกิดอันตรายได้ง่าย อาการปวดคอมักเกิดจาก การใช้อิริยาบถท่าทางที่ไม่เหมาะสม ทำให้กล้ามเนื้อคออักเสบหรือกล้ามเนื้อเคล็ด การเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวคอทันที ความเครียด ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งมากและนาน จึงเกิดอาการปวดต้นคอ
อาการปวดคอจากการบาดเจ็บสะสมของกล้ามเนื้อคอ กล้ามเนื้อคอส่วนที่มักมีอาการปวด อาการปวดคอจากการบาดเจ็บสะสมของกล้ามเนื้อคอ กล้ามเนื้อคอส่วนที่มักมี อาการปวด ด้านหน้า ด้านหลัง
ปวดคอ ถ้าเป็นอาการปวดคอที่เกิดจากสาเหตุไม่ร้ายแรง อาการมักจะดีขึ้น ภายใน 2 - 3 วัน แต่หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงคือปวดคอร่วมกับอาการต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ ปวดร้าวไปที่ไหล่ แขน โดยอาจมีอาการชาหรือกล้ามเนื้อมืออ่อนแรงร่วมด้วย มีอาการอ่อนแรงของขา รู้สึกขาสั่นหรือกระตุก เดินแล้วจะล้ม กลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้ อาการไม่ดีขึ้นหรือปวดคอเพิ่มมากขึ้น
ปวดคอ การป้องกัน - ระวังรักษาอิริยาบถให้ถูกต้อง หลีกเลี่ยงการก้มเงยคอนานเกินไป หรือบ่อยเกินไป - ควรหยุดพักเป็นช่วง ๆ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อคอ หรือขยับเคลื่อนไหวคอ จัดสภาพการทำงานให้เหมาะสม มีการเปลี่ยนอิริยาบถเป็นระยะ ลดความเครียด
ปวดไหล่ อาการปวดไหล่เกิดได้จากหลายสาเหตุ ในวัยทำงาน อาการปวดไหล่มักมีความสัมพันธ์กับการใช้ข้อไหล่ทำงานอย่างมาก ทำให้มีการเสียดสีและอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณรอบ ๆ ข้อไหล่ โดยเฉพาะลักษณะงานที่ต้องมีการกางแขน ยกแขนสูงบ่อย ๆ
Thoracic Outlet Syndrome, Bursitis and Rotator cuff syndrome
ข้อไหล่ที่อักเสบและ มีการหนาตัวของ เยื่อหุ้มข้อ ผู้ป่วยข้อไหล่ติดจะปวดไหล่มากเมื่อยกมือเอื้อมไปด้านหลัง ข้อไหล่ที่อักเสบและ มีการหนาตัวของ เยื่อหุ้มข้อ การอักเสบและใยพังผืดที่มาเกาะบริเวณข้อไหล่ ทำให้ข้อไหล่ติดและเคลื่อนไหวได้ลำบาก
โรคหรือกลุ่มอาการผิดปกติจากการทำงานผิดหลักการยศาสตร์ ที่สำคัญ (ต่อ) การบาดเจ็บสะสมของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็น เช่น เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ โรคนิ้วไกปืนและถุงน้ำแกงเกลียน
เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ (Tennis Elbow ,lateral epicondylitis) 18
Tennis Elbow (lateral epicondylitis) การอักเสบของเนื้อเยื่อข้อศอกด้านนิ้วหัวแม่มือ เกิดจาก งานที่ต้องหมุน ฝ่ามือปลายแขน เพื่อต้านกับแรงต้านทาน หรือการออกแรงอย่างรุนแรงซ้ำ ๆ เช่น การใช้ไขควง
การตรวจวินิจฉัยอาการเส้นเอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ
การรักษา หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องวินิจฉัยด้วยการตรวจ การทำงานของกล้ามเนื้อด้วยเครื่องไฟฟ้า (Electromyography) - ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อย อาจให้กินยาแก้ปวด ยาต้านอักเสบ และ ใส่เฝือกชั่วคราวเวลาเข้านอน บางรายอาจต้องฉีด สเตอรอยด์ เข้าที่ข้อมือข้างที่ปวด - ถ้าเป็นมาก อาจต้องผ่าตัด (โดยตัดแผ่นพังผืดที่บีบรัด เส้นประสาท)
ปลอกเอ็นอักเสบ (Tenosynovitis) ปลอกเอ็นที่ข้อมือและนิ้วจะปวด อักเสบ บวม มีเสียงแตก สูญเสียการทำหน้าที่ เกิดจากการเคลื่อนไหวซ้ำซาก ข้อมืออยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถนัด การออกแบบเครื่องมือหรือหน่วยที่ทำงานไม่ดี
ปลอกเอ็นที่นิ้วหัวแม่มืออักเสบ (De Quervain Tendinitis) แผลเป็นของปลอกเอ็นที่นิ้วหัวแม่มือจะจำกัดการเคลื่อนไหวของนิ้วหัวแม่มือ
การระคายเคืองของเส้นเอ็น 2 เส้น จากการทำงานซ้ำซาก ทำให้เกิดโรค ปลอกหุ้มเส้นเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ
เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (Trigger Finger Syndrome) - เป็นรูปแบบหนึ่งของเอ็นอักเสบ - เกิดจากการเกร็งนิ้วมือซ้ำ ๆ ต้านกับแรงสั่นสะเทือน เอ็นที่นิ้วมือจะเกิดการอักเสบ เจ็บปวด บวม เคลื่อนไหวสะดุด
เส้นเอ็นที่บวม หนาตัวขึ้น นิ้วมือจะงอ ไม่สามารถ เหยียดออกเองได้ เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน มักจะเกิดกับผู้ที่ใช้มือทำงานในลักษณะกำบีบอย่างแรงหรือเกร็งนิ้วจับเครื่องมือบ่อย ๆ
Ganglions (cysts) of the Wrist ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ Ganglions (cysts) of the Wrist เนื้องอกของปลอกเอ็นหรือข้อต่อ เป็นก้อนนูนบนข้อมือ เกิดจากการบาดเจ็บสะสม การเคลื่อนไหวซ้ำซาก
โรคหรือกลุ่มอาการผิดปกติจากการทำงานผิดหลักการยศาสตร์ ที่สำคัญ (ต่อ) การบาดเจ็บเกี่ยวเนื่องกับเส้นประสาท เช่น กลุ่ม อาการเส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ และกลุ่มอาการของเส้นประสาทอัลน่าร์ถูกกดทับบริเวณที่ข้อศอก
เส้นประสาทมือถูกพังผืดรัดแน่น (Carpal Tunnel Syndrome, CTS) ลักษณะทั่วไป เนื้อเยื่อภายในช่องคาร์พัลทูนเนล (ช่องใต้กระดูกข้อมือ) เกิด การบวม ทำให้เส้นประสาทมีเดียน ถูกบีบรัด มีอาการปวด ชาที่ปลายมือ เรียกว่า “โรคคาร์พัลทูนเนล” โรคนี้พบได้ ค่อนข้างบ่อย พบมากในผู้หญิงอายุ 30-60 ปี หญิง ตั้งครรภ์ คนอ้วน
เส้นประสาท มีเดียน กลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ เส้นประสาทมีเดียนที่ถูกบีบรัดทำให้ชาบริเวณฝ่ามือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งหนึ่งของนิ้วนาง
สาเหตุ 1. การใช้งานของมือและตำแหน่งของข้อมือ ใช้มือท่าเดียว นาน ๆ ข้อมืออยู่ในตำแหน่งที่กระดกขึ้นหรืองอลงมาก ๆ เช่น การพิมพ์ดีด ใช้มือเย็บผ้า เล่นเครื่องดนตรี กวาดบ้าน การจับแฮนของรถจักรยานยนต์ ฯลฯ 2. อาจพบร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น เบาหวาน พิษสุราเรื้อรัง รูมาตอยด์ เกาต์ กระดูกข้อมือหักหรือกระดูกข้อมือที่ติดผิดรูป เส้นเอ็นอักเสบ การติดเชื้อ 3. สภาพของร่างกายที่เปลี่ยนแปลง เช่น อ้วน ตั้งครรภ์ หลังคลอดบุตรหรือได้รับยาคุมกำเนิด
อาการ - ปวดแสบปวดร้อนหรือรู้สึกชาเป็นพัก ๆ ที่มือ (โดยเฉพาะที่นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง) บางครั้งอาจปวดร้าวขึ้นไปที่แขนหรือหัวไหล่ - อาการปวดมักจะเป็นมากตอนกลางคืนหรือตอนเช้ามืด บางคนเมื่อได้ห้อยข้อมือตรงขอบเตียง และสะบัดมือ จะรู้สึกทุเลาได้ ถ้าเป็นมาก อาจทำให้นิ้วหัวแม่โป้งและนิ้วอื่น ๆ ชาและอ่อนแรงได้ อาการอาจเกิดที่มือข้างเดียว หรือ 2 ข้างก็ได้ หากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ อาจทำให้กล้ามเนื้อมือฝ่อ ฝ่ามือแบนราบลงกว่าปกติ
โรคหรือกลุ่มอาการผิดปกติจากการทำงานผิดหลักการยศาสตร์ ที่สำคัญ (ต่อ) การบาดเจ็บเกี่ยวเนื่องกับการไหลเวียนโลหิต เช่น กลุ่มอาการผิดปกติจากความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขน และกลุ่มอาการผิดปกติจากการใช้กล้ามเนื้อมือแทนค้อน
hand arm vibration syndrome นิ้วมือซีดขาว ชา เจ็บปวด กล้ามเนื้อนิ้วมืออ่อนแรง เกิดจากการใช้เครื่องมือที่ก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนที่มือและนิ้ว (25-150 Hz)
ผู้ป่วยนิ้วมือซีดขาวขั้นรุนแรง มีภาวะเนื้อตาย (Gangrene) hand arm vibration syndrome
ภาวะเส้นเลือดอัลน่าร์อุดตันในผู้ป่วยกลุ่มอาการผิดปกติจากการใช้กล้ามเนื้อมือแทนค้อน
สภาพมือของผู้ป่วยกลุ่มอาการผิดปกติจากการใช้กล้ามเนื้อมือแทนค้อนหลังการผ่าตัด
โรคหรือกลุ่มอาการผิดปกติจากการทำงานผิดหลักการยศาสตร์ ที่สำคัญ (ต่อ) ผลกระทบอื่น ๆ เช่น ความเครียด เมื่อยล้าสายตา
ดีวีดี โรคหรือกลุ่มอาการผิดปกติจากการทำงานผิดหลักการยศาสตร์
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหรือกลุ่มอาการผิดปกติจากการทำงานผิดหลักการยศาสตร์ : 1) การทำงานซ้ำซาก มีการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ บ่อย ๆ 2) กิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก 3) กิจกรรมที่ยาวนาน 4) ท่าทางที่ไม่เหมาะสม 5) การทำงานแบบสถิต เช่น การยกของค้างไว้นานๆ 6) การกดเฉพาะที่ เช่น เครื่องมือที่มีสันคม 7) สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิที่ร้อนหรือเย็นเกินไป ความสั่นสะเทือน
อาการแสดงเบื้องต้นของโรคหรือกลุ่มอาการ ผิดปกติจากการทำงานผิดหลักการยศาสตร์ : รู้สึกแปลบ ๆ หรือชาเป็นพัก ๆ ที่นิ้วมือและมือ ปวดที่นิ้วมือ มือ และข้อมือบางครั้งอาจปวดร้าวขึ้นไปที่แขนหรือหัวไหล่ กล้ามเนื้อมืออ่อนแรงลง หรือมีปัญหาในการทำงานประสานสัมพันธ์ของมือ อาการปวดหรือชามักจะเป็นมากตอนกลางคืนหรือตอนเช้ามืด
แนวทางป้องกันโรคหรือกลุ่มอาการผิดปกติ จากการทำงานผิดหลักการยศาสตร์: 1) การใช้ท่าทางให้ถูกวิธี 2) ลดปริมาณแรงที่ต้องใช้ 3) ใช้วิธีการหยิบจับที่เหมาะสม 4) มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนงาน 5) ลดการเคลื่อนไหวซ้ำซาก 6) ปรับปรุงสภาพการทำงานและ สภาพแวดล้อม
การใช้อุปกรณ์พยุงหลัง (Back Support) ขณะทำงานเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่
ปัญหาความเครียดจากการทำงาน สภาวะจิตใจและร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นผลจากการที่บุคคลต้องปรับตัวต่อสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งเร้าต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมที่กดดันหรือคุกคามให้เกิดความทุกข์ ความไม่สบายใจ
ดีวีดี แนวทางป้องกันและผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน
การทดสอบความรู้หลังเรียน