งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ชุดการเรียนรู้ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ด้านการยศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ชุดการเรียนรู้ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ด้านการยศาสตร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ชุดการเรียนรู้ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ด้านการยศาสตร์
เรื่องการทำงานหรือลักษณะงานที่ซ้ำซาก จัดทำโดย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สนับสนุนโดย สำนักงานประกันสังคม

2 วัตถุประสงค์ บอกความหมายของงานซ้ำซาก และยกตัวอย่างงานซ้ำซากได้
ระบุอันตรายจากการทำงานหรือลักษณะงานที่ซ้ำซากได้ อธิบายแนวทางการป้องกันอันตรายจากการทำงานหรือลักษณะงานที่ซ้ำซากได้

3 การทดสอบความรู้ก่อนเรียน

4 งานซ้ำซาก (Repetitive Work )
หมายถึง การทำงานในลักษณะเดิมซ้ำ ๆ หรือบ่อย ๆ

5 ในงานอุตสาหกรรม งานซ้ำซาก
หมายถึง กิจกรรมใด ๆ ที่มีรอบของการทำงานให้เสร็จ 1 หน่วยในเวลาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 นาที

6 ภาพงานซ้ำซาก

7 พวกเราคิดว่าการทำงานซ้ำซาก จะทำให้เกิดอันตรายอะไรบ้าง

8 อันตรายจากการทำงานซ้ำซาก
1. การบาดเจ็บสะสมจากการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง (Musculoskeletal Disorders; MSDs ) เช่น อาการปวดหลัง ปวดคอ และปวดไหล่ 2. การบาดเจ็บสะสมจากการทำงานของระบบหรือส่วน อื่น ๆ ของร่างกาย เช่น เส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็นอักเสบ 3. ความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ จากการทำงานเช่น กลุ่มอาการหมดแรงจูงใจในการทำงาน (Burnout Syndrome) และการขาดงาน (Absenteeism)

9 อันตรายจากการทำงานซ้ำซาก
1. การบาดเจ็บสะสมจากการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก โครงร่าง (Musculoskeletal Disorders; Msds) เช่น อาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่

10 ปวดหลัง (LOW BACK PAIN)

11 อาการ ปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง (ตรงบริเวณกระเบนเหน็บ) ซึ่งอาจ เกิดขึ้นเฉียบพลันหรือค่อยเป็นทีละน้อย อาการปวดอาจเป็นอยู่ตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะในท่าบางท่า การไอ จาม หรือบิดตัว เอี้ยวตัวอาจทำให้รู้สึกปวดมากขึ้น โดยทั่วไปผู้ป่วยจะแข็งแรงดี และไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย

12 - บริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงไว้ เสมอ เพราะกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังเป็น กล้ามเนื้อที่ช่วยตรึงแนวกระดูกสันหลังไม่ให้มีการเคลื่อนไหว มากเกินไป - การควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น น้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไปหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าที่ส้นสูงเกินไป และควรนอนบนที่นอนแข็ง 12

13 ปวดคอ ลำคอเป็นอวัยวะที่มีการเคลื่อนไหวก้มเงยเอี้ยวหมุนอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นจุดอ่อนที่จะเกิดอันตรายได้ง่าย อาการปวดคอมักเกิดจาก การใช้อิริยาบถท่าทางที่ไม่เหมาะสม ทำให้กล้ามเนื้อคออักเสบหรือกล้ามเนื้อเคล็ด การเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวคอทันที ความเครียด ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งมากและนาน จึงเกิดอาการปวดต้นคอ

14 อาการปวดคอจากการบาดเจ็บสะสมของกล้ามเนื้อคอ
กล้ามเนื้อคอส่วนที่มักมีอาการปวด อาการปวดคอจากการบาดเจ็บสะสมของกล้ามเนื้อคอ กล้ามเนื้อคอส่วนที่มักมี อาการปวด ด้านหน้า ด้านหลัง

15 ปวดคอ การป้องกัน - ระวังรักษาอิริยาบถให้ถูกต้อง หลีกเลี่ยงการก้มเงยคอนานเกินไป หรือบ่อยเกินไป - ควรหยุดพักเป็นช่วง ๆ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อคอ หรือขยับเคลื่อนไหวคอ จัดสภาพการทำงานให้เหมาะสม มีการเปลี่ยนอิริยาบถเป็นระยะ ลดความเครียด 15

16 ปวดไหล่ อาการปวดไหล่เกิดได้จากหลายสาเหตุ ในวัยทำงาน อาการปวดไหล่มักมีความสัมพันธ์กับการใช้ข้อไหล่ทำงานอย่างมาก ทำให้มีการเสียดสีและอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณรอบ ๆ ข้อไหล่ โดยเฉพาะลักษณะงานที่ต้องมีการกางแขน ยกแขนสูงบ่อย ๆ 16

17 Thoracic Outlet Syndrome, Bursitis and Rotator cuff syndrome ความผิดปกติที่บริเวณหัวไหล่ และกล้ามเนื้อแขนส่วนบน เกิดจากการทำงานที่ต้องกระทำเหนือศีรษะเป็นเวลานาน ๆ 17

18 อันตรายจากการทำงานซ้ำซาก (ต่อ)
2. การบาดเจ็บสะสมจากการทำงานของระบบหรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น เส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็น เส้นประสาท และการบาดเจ็บเกี่ยวเนื่องกับ การไหลเวียนโลหิต

19 Tennis Elbow (lateral epicondylitis)
การอักเสบของเนื้อเยื่อข้อศอกด้านนิ้วหัวแม่มือ เกิดจากงานที่ต้องหมุน ฝ่ามือปลายแขน เพื่อต้านกับแรงต้านทาน หรือการออกแรงอย่างรุนแรงซ้ำ ๆ เช่น การใช้ไขควง 19

20 การตรวจวินิจฉัยอาการเส้นเอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ
20

21 เส้นประสาทมือถูกพังผืดรัดแน่น (Carpal Tunnel Syndrome, CTS)
ลักษณะทั่วไป เนื้อเยื่อภายในช่องคาร์พัลทูนเนล (ช่องใต้กระดูกข้อมือ) เกิดการบวม ทำให้เส้นประสาทมีเดียนถูกบีบรัด มีอาการ ปวดชาที่ปลายมือ เรียกว่า “โรคคาร์พัลทูนเนล” โรคนี้ พบได้ค่อนข้างบ่อย พบมากในผู้หญิงอายุ ปี หญิง ตั้งครรภ์ คนอ้วน 21

22 ภายในบริเวณข้อมือจะมีลักษณะเป็นอุโมงค์ โดยมีแผ่นเอ็นขวาง และกระดูก ข้อมือเป็นผนังของอุโมงค์ ภายในอุโมงค์ประกอบด้วย เส้นเอ็นนิ้วมือ และ เส้นประสาท เมื่อมีการเพิ่มความกดดันภายในอุโมงค์นี้ เส้นประสาท ก็จะถูกกด ทำให้เกิดอาการผิดปกติ 22

23 สาเหตุ 1. การใช้งานของมือและตำแหน่งของข้อมือ ใช้มือท่าเดียวนาน ๆ ข้อมือ อยู่ในตำแหน่งที่กระดกขึ้นหรืองอลงมาก ๆ เช่น การพิมพ์ดีด ใช้มือเย็บผ้า เล่นเครื่องดนตรี กวาดบ้าน การจับแฮนของรถจักรยานยนต์ ฯลฯ 2 อาจพบร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น เบาหวาน พิษสุราเรื้อรัง รูมาตอยด์ เกาต์ กระดูกข้อมือหักหรือกระดูกข้อมือที่ติดผิดรูป เส้นเอ็นอักเสบ การติดเชื้อ 3. สภาพของร่างกายที่เปลี่ยนแปลง เช่น อ้วน ตั้งครรภ์ หลังคลอดบุตร หรือได้รับยาคุมกำเนิด 23

24 อาการ - ปวดแสบปวดร้อนหรือรู้สึกชาเป็นพัก ๆ ที่มือ (โดยเฉพาะที่นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง) บางครั้งอาจปวดร้าวขึ้นไปที่แขนหรือหัวไหล่ - อาการปวดมักจะเป็นมากตอนกลางคืนหรือตอนเช้ามืด บางคนเมื่อได้ห้อยข้อมือตรงขอบเตียง และสะบัดมือ จะรู้สึกทุเลาได้ ถ้าเป็นมาก อาจทำให้นิ้วหัวแม่โป้งและนิ้วอื่น ๆ ชาและอ่อนแรงได้ อาการอาจเกิดที่มือข้างเดียว หรือ 2 ข้างก็ได้ หากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ อาจทำให้กล้ามเนื้อมือฝ่อ ฝ่ามือแบนราบลงกว่าปกติ 24

25 การรักษา - หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องวินิจฉัยด้วยการตรวจการ ทำงานของกล้ามเนื้อด้วยเครื่องไฟฟ้า (Electromyography) - ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อย อาจให้กินยาแก้ปวด, ยาต้านอักเสบ และใส่ เฝือกชั่วคราวเวลาเข้านอน บางรายอาจต้องฉีดสเตอรอยด์เข้าที่ข้อมือ ข้างที่ปวด - ถ้าเป็นมาก อาจต้องผ่าตัด (โดยตัดแผ่นพังผืดที่บีบรัดเส้นประสาท) 25

26 เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน
(Trigger Finger Syndrome) - เป็นรูปแบบหนึ่งของเอ็นอักเสบ - เกิดจากการเกร็งนิ้วมือซ้ำ ๆ ต้านกับแรงสั่นสะเทือน เอ็นที่นิ้วมือจะเกิดการอักเสบ เจ็บปวด บวม เคลื่อนไหวสะดุด 26

27 Trigger Finger Syndrome
เอ็นที่นิ้วมือจะเกิดการอักเสบ เจ็บปวด บวม เคลื่อนไหวสะดุด 27

28 ปลอกเอ็นอักเสบ (Tenosynovitis)
ปลอกเอ็นที่ข้อมือและนิ้วจะปวด อักเสบ บวม มีเสียงแตก สูญเสียการทำหน้าที่ เกิดจากการเคลื่อนไหวซ้ำซาก ข้อมืออยู่ในตำแหน่งที่ ไม่ถนัด การออกแบบเครื่องมือหรือหน่วยที่ทำงานไม่ดี 28

29 ปลอกเอ็นที่นิ้วหัวแม่มืออักเสบ (De Quervain Tendinitis)
แผลเป็นของปลอกเอ็นที่นิ้วหัวแม่มือจะจำกัดการเคลื่อนไหวของนิ้วหัวแม่มือ 29

30 30

31 ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ Ganglions (cysts) of the Wrist
เนื้องอกของปลอกเอ็นหรือข้อต่อเป็นก้อนนูนบนข้อมือ เกิดจากการบาดเจ็บสะสม การเคลื่อนไหวซ้ำซาก 31

32 อันตรายจากการทำงานซ้ำซาก (ต่อ)
3. ความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ จากการทำงาน เช่น กลุ่มอาการ หมดแรงจูงใจในการทำงาน (Burnout Syndrome) และการขาดงาน (Absenteeism)

33 ปัญหาสุขภาพจิตจากการทำงานที่พบบ่อย
ความเครียด กลุ่มอาการหมดแรงจูงใจในการทำงาน การขาดงาน งานระบบผลัด งานซ้ำซาก 33

34 ความเครียด (stress) เป็นสภาวะจิตใจและร่างกายที่เปลี่ยนแปลง ไปเป็นผลจากการที่บุคคลต้องปรับตัวต่อสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งเร้าต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมที่กดดันหรือคุกคามให้เกิดความทุกข์ ความไม่สบายใจ 34

35 ข้อดีของความเครียด ความเครียดในระดับต่ำในระยะสั้นๆ จะทำให้มีการตื่นตัว มีความกระตือรือร้นในการทำงาน
ข้อเสีย ถ้ามีความเครียดระดับสูงในระยะยาวไม่ได้รับการแก้ไขจะส่งผลเสียต่อตนเอง ครอบครัว การงาน ผลกระทบของความเครียดต่อการงาน ไม่มีสมาธิในการทำงาน ทำงานบกพร่องและผิดพลาดไม่รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ขาดงานบ่อย ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง 35

36 ความผิดปกติจากความเครียด
ปฏิกิริยาทางด้านจิตใจ อารมณ์ หงุดหงิด วิตกกังวล โกรธ คับข้องใจ เศร้า ตัดสินใจ ไม่ดี ขี้ลืม กระวนกระวาย สมาธิสั้น ไม่มีความคิดริเริ่ม ความจำไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้ สิ่งใหม่ๆ 36

37 ดีวีดี การบาดเจ็บสะสมเรื้อรัง

38 ดีวีดี แนวทางการป้องกันอันตรายจากการทำงานซ้ำซาก

39 แนวทางการป้องกันอันตรายจากการทำงานซ้ำซาก (ต่อ)
โดยใช้วิธีการทางวิศวกรรมและการบริหารจัดการ

40 วิธีการทางวิศวกรรม

41 ใช้เครื่องมือช่วยในการเอื้อมหยิบสิ่งของ
ปรับตำแหน่งและรูปแบบการวางเครื่องมือ ใช้ภาชนะใส่ชิ้นส่วนต่างๆ

42 เพิ่ม/ลดระดับความสูงของงาน

43 โต๊ะปรับระดับได้

44 ปรับปรุงเก้าอี้นั่งให้เหมาะสม
ก่อนปรับปรุง หลังปรับปรุง

45 ใช้ที่พักแขน ที่พักเท้า

46 ใช้แท่นรองพื้น

47 อุปกรณ์เครื่องกลช่วยยก
รถยก อุปกรณ์ช่วยยก

48 ใช้เครื่องมือที่มีด้ามจับเหมาะสม

49 วิธีการทางการบริหารจัดการ
ปรับปรุงรูปลักษณะงาน ปรับปรุงตำแหน่งสถานที่ทำงาน ปรับปรุงทิศทางของการทำงาน กำหนดเวลาการทำงานที่เหมาะสม มีการหมุนเวียนสับเปลี่ยนการทำงาน ปรับปรุงปัจจัยทางจิตวิทยาสังคม

50 ปรับปรุงอิริยาบถในการทำงาน
50

51 ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน

52 การทดสอบความรู้หลังเรียน


ดาวน์โหลด ppt ชุดการเรียนรู้ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ด้านการยศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google