เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ระบบสารสนเทศ (ต่อ) (Information Systems : IS)
Advertisements

Chapter 1 : Introduction of System ข้อมูล และ สารสนเทศ
Information Systems in the Enterprise
Information System.
ประเภทของระบบสารสนเทศในองค์กร
ประเภทของระบบสารสนเทศ
รายวิชา ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
หลักระบบสารสนเทศ Principles of information systems
คำถาม กระทรวงใหม่ที่ดูแลทางด้าน IT ชื่อกระทรวงอะไร?
33711 ชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 14
ผู้บรรยาย พลตรีสุริยน เผือกสกนธ์
ลักษณะระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
กระบวนวิชา ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System)
กุลฉัตร ฉัตรกุล ณ อยุธยา
การบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา
ศท.1401 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารนิเทศ ศศ สารนิเทศเบื้องต้น
การจัดการสารสนเทศและ ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ MIS Management Information System
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานในการ พัฒนาระบบ
Information Technology
ระบบสารสนเทศ (Information System).
โครงสร้างขององค์กร (Organization Structure)
ระบบสารสนเทศในองค์กรสมัยใหม่ (ศูนย์ข้อมูล)
ระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหาร
บทที่ 1 ระบบสารสนเทศ และบทบาทของนักวิเคราะห์ระบบ
บทที่ 7 ระบบสารสนเทศ(Information Systems)
Seminar in Information Knowledge and Technology Management ดร. ปรัชญนันท์ นิลสุข
บทที่ 11 ระบบสารสนเทศ.
Irwin/McGraw-Hill Copyright © 2000 by The McGraw-Hill Companies, Inc. All rights reserved. 1 Irwin/McGraw-Hill Copyright © 2000 by The McGraw-Hill Companies,
PMQA Organization 2 รหัสแนวทางการดำเนินการ การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินการ IT1 ส่วนราชการต้องมีระบบฐานข้อมูลผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ.
ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือ เหตุการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆที่ เป็นตัวเลข ข้อความหรือ รายละเอียดซึ่งอาจอยู่ใน รูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง.
ระบบสารสนเทศ อ.วรพจน์ พรหมจักร.
บทที่ 4 กลยุทธ์ระบบสารสนเทศ
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบและการวิเคราะห์ระบบ
สำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation)
Information Systems Development
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต
ผู้บริหารกรมชลประทานกับระบบEIS
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ประเทศไทย 4.0 Thailand 4.0 อุตสาหกรรม 4.0
13 October 2007
11 May 2014
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ * Management Information Systems
Data mining สุขฤทัย มาสาซ้าย.
Systems Analysis and Design (การวิเคราะห์และออกแบบระบบ)
ระบบสารสนเทศ (Information System)
บทที่ 7 ระบบสารสนเทศ.
บทที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
13 October 2007
ศูนย์ข้อมูลกลางกระทรวงมหาดไทยและจังหวัด
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
Information System MIS.
โดย โอฬาริก สุรินต๊ะ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในสถานศึกษา
แนวโน้มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
บทเรียนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
Introduction to Decision Support Systems
ข้อมูล VS สารสนเทศ Data Information 13 October 2007
อ.พิณรัตน์ นุชโพธิ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ
การจัดการสารสนเทศ Management Information System (MIS)
การพัฒนา IT ให้บูรณาการเข้ากับโครงสร้างและระบบงาน
บทที่ 11 ข้อมูลและสารสนเทศ
[ บทที่ 3 ] ระบบสารสนเทศ.
ระบบสารสนเทศ (ต่อ) (Information Systems : IS)
บทที่ 9 ซอฟต์แวร์ทางการบัญชี
สิ่งสนับสนุน (ห้องต่าง ๆ เครื่องมืออุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก)
Introduction to Structured System Analysis and Design
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
การรวบรวมข้อมูลข่าวสารการตลาด (The Marketing Information Gathering)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยี + สารสนเทศ = เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการ อาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีด้านเครือข่ายโทรคมนาคมและการสื่อสาร ตลอดจนความรู้ในกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศในขั้นตอนต่างๆ

ระบบสารสนเทศ (Information System) คือกลุ่มของระบบงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์เทคโนโลยีทำหน้าที่รวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายข้อมูลข่าวสารเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและการควบคุมภายในองค์กร ประกอบด้วย บุคลากร ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ และข้อมูล ซึ่งจะทำงานร่วมกันเพื่อผลิตสารสนเทศที่จำเป็นต่อองค์กร สารสนเทศนี้จะช่วยในการผลิตสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ให้สำเร็จด้วยดี ซึ่งจะส่งผลกำไรให้กับองค์กร

ระบบสารสนเทศ ระบบที่อาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาจัดการข้อมูลในองค์กร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ใช้ในองค์กรหลายระดับ ตั้งแต่สูงสุดจนถึงล่างสุด

ตัวอย่างระบบสารสนเทศของธนาคาร ข้อมูล สารสนเทศ ระบบ ATM ระบบฝาก/ถอน ระบบบัญชี ระบบเงินกู้

ตัวอย่างระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ระบบสารสนเทศการลงทะเบียน ระบบสารสนเทศศิษย์เก่า ข้อมูล สารสนเทศ ระบบสารสนเทศประวัติ น.ศ. ระบบสารสนเทศการประเมินผลการเรียน

ตัวอย่างระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย 7 04000102 คอมพิวเตอร์สารสนเทศขั้นพื้นฐาน บทที่ 5 เทคโนโลยีสารสนเทศ

ลักษณะการดำเนินงานของบุคลากรในองค์กร ผู้บริหารระดับสูง (Senior Managers) ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Managers) ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Managers) ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operational Managers) ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operational Managers) ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operational Managers) ผู้ปฏิบัติงาน (worker) ผู้ปฏิบัติงาน (worker) ผู้ปฏิบัติงาน (worker) 8

ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ

ระดับสูง (Top Level Management) เกี่ยวข้องกับผู้บริหารระดับสูงที่กำหนดและวางแผนกลยุทธ์ขององค์กร ระบบสารสนเทศจะถูกออกแบบมาให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน อาจมีกราฟิกบ้างในการนำเสนอ ตอบสนองต่อการตัดสินใจที่รวดเร็วและทันท่วงที

ระดับกลาง (Middle Level Management) เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานระดับการบริหารและจัดการองค์กร ระบบสารสนเทศที่ใช้มักได้มาจากแหล่งข้อมูลภายใน มีการจัดอันดับทางเลือกแบบต่างๆ ไว้หรือใช้ค่าสถิติช่วยพยากรณ์

ระดับปฏิบัติการ (Operational Level Management) เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานระดับการผลิตและปฎิบัติงานขององค์กร ข้อมูลหรือสารสนเทศในระดับนี้ จะถูกนำไปใช้ประมวลผลในระดับอื่นต่อไป บุคลากรที่เกี่ยวข้องจะอยู่ในระดับหัวหน้างาน ผู้ควบคุมงานและพนักงานปฏิบัติการประจำวัน

ประเภทของระบบสารสนเทศ ระบบการประมวลผลข้อมูล (Transaction Processing Systems -- TPS) ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems : OAS) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems -- MIS) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems -- DSS) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems -- EIS) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence -- AI) และ ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems --ES)

ประเภทของระบบสารสนเทศ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems : OAS) นำมาใช้ในสำนักงานเพื่อเอื้อประโยชน์ให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาจใช้อุปกรณ์สำนักงานทั่วไปหรือเครือข่ายการสื่อสารขั้นสูงช่วย ปัจจุบันมีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้กับระบบนี้กันมากขึ้น

ประเภทของระบบสารสนเทศ ระบบประมวลผลรายการประจำวัน (Transaction Processing Systems : TPS) ระบบที่เกิดขึ้นเป็นประจำคงที่ เช่น รายการฝากถอนเงิน รายการคำสั่งซื้อ มักเป็นระบบที่พบเห็นในระดับการจัดการขั้นปฏิบัติการ

Transaction Processing Systems : TPS รวบรวมข้อมูล ประมวลผลข้อมูล นำเสนอสารสนเทศ จัดเก็บข้อมูล 4.จัดเก็บข้อมูล -ข้อมูลลูกค้า -ข้อมูลการขาย -ข้อมูลสินค้า 1.การรวบรวมข้อมูล บันทึกรายการสั่งสินค้า 3.นำเสนอสารสนเทศ 2.ประมวลผลข้อมูล

ประเภทของระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems : MIS) ได้จากการประมวลผลของระบบ TPS เกี่ยวข้องกับการนำไปใช้วางแผน และควบคุมงานขององค์กรแทบทุกระดับชั้น สามารถคำนวณและเปรียบเทียบการประมวลผลรวมถึงการออกรายงานได้

Management Information Systems (MIS) รับข้อมูลมาจาก TPS ประมวลออกมาในรูปของรายงาน รายงานตามระยะเวลา รายงานสรุป รายงานตามเงื่อนไขเฉพาะ รายงานตามความต้องการ รายงาน ฐานข้อมูล ระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการ TPS

ประเภทของระบบสารสนเทศ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems : DSS) นำมาใช้ในการช่วยตัดสินใจในระดับของการจัดการขั้นกลาง (Middle Management) และขั้นสูง (Top Management) ช่วยวิเคราะห์และตัดสินใจง่ายขึ้น ตอบสนองอย่างทันท่วงที มีความยืดหยุ่น

Decision Support System : DSS สนับสนุนการแก้ปัญหาและการตัดสินใจเฉพาะกรณีตามที่ผู้บริหารต้องการเป็นการเน้นการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้สารสนเทศมาเป็นพื้นฐาน TPS, MIS => “do thing right” DSS => “do the right thing” TPS ฐานข้อมูล DSS Software เช่น OLAP ข้อมูลภายนอก

ประเภทของระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร (Executive Information Systems : EIS) ระบบช่วยตัดสินใจรูปแบบหนึ่ง ใช้กับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ สำหรับตรวจสอบ ควบคุมหรือดูแนวโน้มขององค์กรในภาพราม ข้อมูลมาจากทั้งภายในและภายนอก สารสนเทศที่ได้จะถูกกรองมาจากระดับปฏิบัติการและระดับกลางมาบ้างแล้ว

Executive Information System: EIS เป็นระบบที่ช่วยการสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้มและการวางแผนกลยุทธ์ EIS สารสนเทศ ข้อมูลจากภายใน TPS/MIS/DSS ข้อมูลการเงิน ระบบการจัดการสำนักงาน ข้อมูลภายนอก นโยบายรัฐบาล กฎหมายประเทศ เครื่องมือวิเคราะห์และวางแผน กลยุทธ์เจาะลึก, สารสนเทศ แบบยืดหยุ่น

ประเภทของระบบสารสนเทศ ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) อาศัยฐานความรู้มาประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยหรือสั่งการ เก็บความรู้และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญรวบรวมไว้ หากต้องการก็จะดึงเอาฐานความรู้นั้นมาหาข้อสรุปและช่วยในการตัดสินใจ ทำให้ลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญลงได้

Artificial Intelligent Systems : AI Expert Systems: ES เป็นระบบที่ช่วยการสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้มและการวางแผนกลยุทธ์ ระบบผู้เชี่ยวชาญ ส่วนติดต่อ กับผู้ใช้ กลไกอนุมาน ฐานความรู้ คำถาม คำแนะนำ/ คำอธิบาย ผู้ใช้

พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ การรวมตัวกันของเทคโนโลยี (Convergence) เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการรวมตัวกันของเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร รวมถึงระบบเทคโนโลยีอื่นๆ สามารถรับและส่งสัญญาณได้ในปริมาณที่สูง เช่น ข้อมูลในรูปแบบสื่อผสม การเผยแพร่ข้อมูลทำได้ทั่วถึงกันมากขึ้น โดยเฉพาะในยุคไร้พรมแดน

พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้นทุนที่ถูกลง (Cost reduction) เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ราคาของการใช้และการเป็นเจ้าของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศถูกลงเป็นอย่างมาก ทั้งอัตราค่าบริการสื่อสารโทรคมนาคม และราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นไปตามกลไกราคาของตลาด เมื่อมีผู้บริโภคมากขึ้น ราคาย่อมมีแนวโน้มที่ถูกลง

พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาอุปกรณ์ที่เล็กลง (Miniaturization) วิวัฒนาการของไมโครชิปทำให้การใช้งานดีขึ้น อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศหลักหลายประเภทได้รับการพัฒนา ให้มีขนาดเล็กลงกว่าแต่เดิมมาก เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ

พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ การประมวลผลที่ดีขึ้น (Processing Power) เทคโนโลยีสารสนเทศมีแนวโน้มของการประมวลผลงานที่ดีขึ้น หน่วยประมวลผลกลางมีการประมวลผลเร็วขึ้นมากกว่าเดิม การสร้างโปรแกรมเพื่อตอบสนองการทำงานของผู้ใช้ที่มีประสิทธิภาพและดีมากขึ้นด้วย

พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้งานที่ง่าย (User Friendliness) การพัฒนาโปรแกรมในปัจจุบัน มีการออกแบบส่วนประสานงานกับผู้ใช้ให้ง่ายและดียิ่งขึ้น มุ่งเน้นให้เป็น user-friendly มีการนำรูปแบบของ GUI มาใช้มาก

พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ การเปลี่ยนจากอะตอมเป็นบิต (Bits versus Atoms) หันเหจากกิจกรรมที่ใช้ “อะตอม” ไปสู่การใช้ “บิต” (binary digit : BIT) มากยิ่งขึ้น เช่น การส่งเอกสารที่เป็นกระดาษผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือรูปแบบที่เกิดขึ้นในสำนักงานแบบไร้กระดาษ (paperless office)

พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อผสม (Multimedia) เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเผยแพร่สารสนเทศที่เป็นแบบสื่อผสม (multimedia) ได้ ประกอบด้วยสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบ ตัวอักษร ภาพกราฟิก เสียง ภาพนิ่ง รวมถึงภาพเคลื่อนไหวต่างๆ

พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ เวลาและภูมิศาสตร์ (Time & Distance) มนุษย์สามารถเอาชนะ เงื่อนไขด้าน “เวลา” และ “ภูมิศาสตร์” ได้โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิ เช่น การประยุกต์ใช้การประชุมแบบทางไกล (teleconference) การใช้จานรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อถ่ายทอดสัญญาณให้กับโรงเรียนชนบทที่ห่างไกล (tele-education)

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาประเทศ ด้านเศรษฐกิจ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินงานหลักของธุรกิจให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ ใช้เชื่อมโยงเครือข่ายย่อยระหว่างธนาคาร นำเอาตู้ ATM ให้บริการลูกค้าตามแหล่งชุมชน ตลาดหลักทรัพย์นำมาช่วยด้านการวิเคราะห์และแนะนำการลงทุน ส่งรายการซื้อขายหลักทรัพย์แบบ Real Time ฯลฯ

ตลาดหลักทรัพย์

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาประเทศ ด้านสังคม ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ และทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ช่วยเหลือคนพิการและผู้ด้อยโอกาสทางสังคมให้เท่าเทียมกัน นำมาช่วยเหลือคนตาบอดเพื่อให้สามารถอ่านหนังสือได้ เช่น ระบบ DAISY (digital accessible information system) ลดช่องว่างระหว่างสังคมได้

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาประเทศ ด้านการศึกษา ลดอุปสรรคเรื่องสถานที่ในการเรียน โดยใช้การเรียนผ่านระบบเครือข่าย ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ทางการศึกษา โดยใช้เครือข่ายเฉพาะ เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยสาร เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย เครือข่ายคอมพิวเตอร์กาญจนาภิเษก www.nectec.or.th

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาประเทศ ด้านสาธารณสุข นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับโครงการการแพทย์ทางไกล (telemedicine) แพทย์ต้นทางและปลายทางสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลของคนไข้ระหว่างหน่วยงานได้ ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ในท้องถิ่น ธุรกันดารลงไปได้ ใช้ถ่ายทอดการเรียนการสอนและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญได้

โครงการการแพทย์ทางไกล (telemedicine)

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาประเทศ ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวมจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม

GIS เพื่อวิเคราะห์และสำรวจสภาพพื้นที่ภูมิศาสตร์

ผลกระทบของ เทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคม ด้านบวก เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ สามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารได้ง่าย ด้านลบ มีการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นพิษ ไม่ เหมาะกับสังคมและวัฒนธรรม ผ่านทาง อินเทอร์เน็ต อาจนำไปสู่อาชญากรรมได้

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ - ส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า - ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์ - ใช้ในการติดต่อสื่อสารทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว

โทษของเทคโนโลยีสารสนเทศ - ทำให้เกิดการเผยแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว - เป็นช่องทางก่อให้เกิดอาชญากรรม - ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย เพราะการติดต่อสื่อสารไม่จำเป็นต้องเจอหน้า

ขอบเขตเนื้อหา ผลกระทบในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร 1 ผลกระทบในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร 2 แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร

ผลกระทบในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการสื่อสาร ผลกระทบทางบวก 1. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์ทำให้การรับส่งข้อมูลข่าวสาร การติดต่อพูดคุย หรือการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่ใช้ข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันใจ ทั่วโลก

ผลกระทบในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการสื่อสาร 2. เกิดการไหลของข่าวสาร ทำให้รูปแบบของสังคมอยู่ในรูปแบบ ของยุคเศรษฐกิจพื้นฐานความรู้

ผลกระทบในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการสื่อสาร 3. ก่อให้เกิดการขยายตัวทางการค้าอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดรูปแบบของการค้า เช่น e-Commerce, e-Business

ผลกระทบในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการสื่อสาร 4. การบริหารงานและการจัดการองค์การดีขึ้น โดยมีการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการบริหารงาน สามารถแพร่กระจายสินค้าบริการไปยังต่างประเทศ

ผลกระทบในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการสื่อสาร 5. โลกาภิวัตน์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ โดยรูปแบบเศรษฐกิจใหม่เรียกว่า เศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจอินเทอร์เน็ต

ผลกระทบในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการสื่อสาร ผลกระทบทางลบ 1. การไหลของข้อมูลข่าวสารก่อให้เกิดการแทรกซึมทางวัฒนธรรมอย่างรวดเร็ว เช่น กระแสแฟชั่น การบริโภคอาหาร

ผลกระทบในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการสื่อสาร 2. ประเทศที่มีความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีมักจะมีข้อได้เปรียบ และการต่อรอง ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันทางการค้าได้

ผลกระทบในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการสื่อสาร 3. เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สังคมใหม่เป็นแบบ e-society เกิดการหลอกลวงโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีการใช้เวลากับกับเรื่องที่ไร้สาระมากขึ้น และเกิดวัตถุนิยมมากขึ้น

แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการสื่อสาร มนุษย์มีความสะดวกสบายมากขึ้น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ตั้งแต่ ตื่นนอนจนถึงเข้านอน เพียงแต่ใช้ความรู้สึก ก็สามารถสั่งการได้ มีความสำคัญในทางด้านครอบครัว ที่ทำงาน ธุรกิจ การศึกษา การแพทย์ ฯลฯ

แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการสื่อสาร การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน - แผนแม่บทไอซีทีของอาเซียน 2015 (ASEAN ICT Masterplan 2015) ซึ่งมีจุดหมายสำคัญคือ จะใช้ไอซีทีในการขับเคลื่อนด้านสังคมและเศรษฐกิจในอาเซียน - ไอซีทีจะช่วยการปฎิรูปอาเซียนให้เป็นตลาดเดียว ด้วยวิธีพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานไอซีทียุคใหม่ และพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีฝีมือส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์และนวัตกรรม จัดให้มีนโยบายส่งเสริม และสร้างสภาพแวดล้อมที่มีกฎระเบียบ ด้วยมาตรการดังกล่าว - อาเซียนจะเสริมสร้างพลังให้แก่ชุมชน และผลักดันให้อาเซียนมีสถานภาพเป็นศูนย์กลางไอซีที ที่ครอบคลุมได้อย่างทั่วถึง และคึกคัก ส่งผลให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่เหมาะกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 1. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ต้องมีตรวจสอบอีเมล์อยู่เสมอเพื่อป้องกันการบล็อก ตรวจสอบจดหมายและลบจดหมายที่ไม่จำเป็น

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 2. การดาวน์โหลดไฟล์ ไม่ดาวน์โหลดไฟล์ในช่วงเวลาเรียน ทำงาน เลือกเฉพาะไฟล์ที่มีความจำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้มีจำนวน มากเกินไป ต้องเป็นไฟล์ที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 3. สนทนาออนไลน์ ไม่แชทขณะเรียน ทำงาน ควรใช้ภาษาสุภาพ และพิมพ์ให้ถูกต้อง

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 4. เว็บบอร์ด เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความสั้น ตรงประเด็น ใช้ภาษาเรียบง่าย เข้าใจได้ ไม่เขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิด หรือสร้างความเสียหายให้กับผู้อื่น ควรมีแหล่งอ้างอิงในการเขียนข้อความ ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่น และไม่นำข้อความคนอื่นไปคัดลอก โดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ควรลงรูปภาพที่ไม่เหมาะสม ให้ใช้วิจารณญาณในการโพสต์ ต้องคิดก่อนโพสต์ ไม่ใช่โพสต์แล้วคิด

แบบฝึกหัด จงยกตัวอย่างระบบสารสนเทศที่ น.ศ. พบเห็นในชีวิตประจำวันมาอย่างน้อย 5 ระบบ สื่อผสมหรือมัลติมีเดียคืออะไร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดได้บ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร สามารถใช้ประโยชน์จากสารสนเทศได้อย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย เครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจของในหลวง คือเครือข่ายใด ประโยชน์ที่ได้รับได้แก่อะไรบ้าง

กิจกรรมปฏิบัติ คำสั่ง : ให้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูล ทางอินเทอร์เน็ตในหัวข้อ “ในชีวิตประจำวันเรา ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำอะไรบ้าง”