งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
Information system for business

2 ระบบสารสนเทศ (Information System : IS)
ระบบสารสนเทศ คือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์, เทคโนโลยีการสื่อสาร, Programming, Database, ….) มาประยุกต์ใช้ในการจัดการข้อมูลภายในองค์กร อาจมีส่วนประกอบสำคัญ 5 ส่วน ดังนี้ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (People ware) ข้อมูล (Data) กระบวนการทำงาน (Procedures)

3 องค์กรกับระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ (Information System: IS) ถือเป็นสิ่งที่สำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร ธุรกิจสมัยใหม่ โดยการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application) เพื่อใช้งานเฉพาะด้านที่มี หน้าที่สำคัญ ได้แก่ การรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การเผยแพร่สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กร ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบ ติดตาม ประเมินสถานการณ์ สำหรับผู้บริหารในแต่ระดับ

4 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
องค์กร (Organization) ปัจจัยนำเข้า (ข้อมูล, ข้อเท็จจริง หรือ ข่าวสาร) กระบวนการ (การจัดเรียงหรือคำนวณ) ผลผลิต (สารสนเทศ) การป้อนกลับ

5 ตัวอย่างระบบสารสนเทศ
Data การลงทะเบียน การจ่ายเงิน Input ระบบลงทะเบียนนักศึกษา Process Information รายงานสถานะการลงทะเบียนนักศึกษา Output

6 ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
ประธานบริษัท กรรมการผู้จัดการ กรรมการบริหาร ผู้จัดการทั่วไป ผู้จัดการฝ่ายขาย ผู้จัดการฝ่ายบัญชี ผู้จัดการฝ่ายผลิต หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน พนักงานทั่วไป

7 ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
ระดับสูง (Top Level Management) กลุ่มผู้บริหารระดับสูงที่มีหน้าที่กำหนดและวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ สารสนเทศที่ ใช้นำเสนอสามารถนำเสนอในรูปแบบกราฟิกบ้าง เช่น chart, graph เป็นต้น ระดับกลาง (Middle Level Management) กลุ่มนี้คือผู้บริหารหน่วยงานต่างๆในองค์กร เช่น ผู้จัดการฝ่ายขาย ผู้จัดการฝ่ายบัญชี ผู้จัดการฝ่ายการผลิต เป็นต้น กลุ่มนี้จะรับนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงสุดมาและสานต่อเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ สารสนเทศที่นำมาใช้ เช่น รายงานยอดขายหรือข้อมูลสรุปประจำปีของฝ่ายผลิต เป็นต้น ระดับปฎิบัติการ (Operational Level Management) กลุ่มพนักงานที่ปฎิบัติงานหลักขององค์กร เช่น การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต และงานทั่วไปในองค์กรที่ไม่จำเป็นต้อง ใช้การวางแผนหรือการตัดสินใจมากนัก

8 Types of Decisions 1. การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Structured Decisions)
เป็นรูปแบบการตัดสินใจที่ใช้กับงานประจำวันที่พนักงานต้องทำซ้ำๆ ในแต่ละวัน ซึ่งได้ถูกกำหนด ขั้นตอนปฎิบัติงานไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น การตัดสินใจในรูปแบบนี้ หัวหน้าหรือผู้ปฎิบัติงานมักรู้ ล่วงหน้าแล้วว่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้น ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร และต้องแก้ไขปัญหาด้วยอะไร เช่น การ บันทึกบัญชีลูกหนี้ รายงานแสดงลูกหนี้ค้างชำระ เป็นต้น การแก้ปัญหาแบบมีโครงสร้างประกอบด้วยเกณฑ์หลักๆ 2 ประการ คือ - ต้นทุนน้อยที่สุด - ได้ประโยชน์สูงสุด

9 Types of Decisions (ต่อ)
2. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Decisions) เป็นการตัดสินใจที่อาจมีทั้งแบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างปะปนกันไปตามแต่ละเหตุการณ์ ดังนั้น บางปัญหาอาจสามารถตัดสินใจหรือคาดการณ์ได้ล่วงหน้าและสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยได้ แต่บาง เหตุการณ์อาจไม่สามารถระบุคำตอบได้ชัดเจน จึงต้องใช้ความรู้ความสามารถของผู้ตัดสินใจด้วย การตัดสินใจรูปแบบนี้มักเป็นการตัดสินใจของ ผู้บริหารระดับกลาง คือ ผู้จัดการตามแผนกต่างๆ เช่น การ กำหนดวงเงินสินเชื่อ และการจัดเตรียมงบประมาณ เป็นต้น

10 Types of Decisions (ต่อ)
3. การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Decisions) เป็นการตัดสินใจที่ยากและซับซ้อนมากที่สุด เนื่องจากไม่สามารถระบุคำตอบที่แน่ชัดลงไปว่าอะไรจะ เกิดขึ้น เกิดขึ้นเมื่อไหร่ และไม่สามารถคาดเดาเหตุการณ์ได้ล่วงหน้า การตัดสินใจรูปแบบนี้คือ ผู้บริหาร ระดับสูง ซึ่งต้องใช้ความรู้ ประสบการณ์ ความสามารถเพื่อตัดสินใจกับปัญหาที่ตั้งอยู่บนความไม่แน่นอน เช่น การวางแผนเชิงนโยบายของบริษัท หรือ การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในองค์กร เป็นต้น

11 ระบบสารสนเทศในองค์กรธุรกิจ
ระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ในองค์กร จำแนกออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ ระบบประมวลผลรายการประจำวัน (Transaction Processing Systems: TPS) เป็นระบบประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจที่เกิดขึ้นเป็นประจำและปฎิบัติงานซ้ำๆ เช่น การบันทึกยอดขาย ประจำวัน รายงานการฝากถอนเงิน รายการสั่งซื้อจากลูกค้า เป็นต้น ระบบ TPS มักใช้ในระดับปฎิบัติการ (Operational Level Management) โดยสารสนเทศที่ได้จะถูกนำไปจัดทำเป็นรายงานตามความต้องการ หรือประมวลผลขั้นสูงต่อไป

12 Transaction Process Systems: TPS
รวบข้อมูล ประมวลผลข้อมูล นำเสนอสารสนเทศ จัดเก็บข้อมูล 4. จัดเก็บข้อมูล ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการขาย ข้อมูลสินค้า 1. การรวบรวมข้อมูล บันทึกรายการสั่งสินค้า 3. การรวบรวมข้อมูล 2. ประมวลผลข้อมูล

13 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS)
เป็นระบบที่มาช่วยในการตัดสินใจในระดับกลาง (Middle Level Management) และระดับสูง (Top Level Management) ซึ่งช่วยให้บุคลากรในระดับนั้นๆ สามารถตัดสินใจได้ง่าย รวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น TPS, MIS => “Do thing right” คือ ทำในสิ่งที่ต้องทำ DSS => “Do the right thing” คือ ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ฐานข้อมูล TPS DSS Software ข้อมูลภายนอก

14 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS) (ต่อ)

15 ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร (Executive Information Systems: EIS)
เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจ รูปแบบหนึ่งที่ใช้สำหรับผู้บริหาร ระดับสูงโดยเฉพาะ มักใช้ตรวจสอบ ควบคุม หรือดูทิศทาง แนวโน้มของ องค์กรในภาพรวม สารสนเทศ EIS ข้อมูลจากภายใน TPS, MIS, DSS ข้อมูลการเงิน ระบบจัดการสำนักงาน ข้อมูลจากภายนอก ดาวน์โจนส์ นโยบายรัฐบาล กฏหมายประเทศ เครื่องมือวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์เจาะลึก, สารสนเทศแบบยืดหยุ่น

16 ระบบสารสนเทศในองค์กรธุรกิจ (ต่อ)
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) ระบบสารสนเทศที่อาศัยฐานความรู้มาประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยหรือสั่งการ มีการจัดเก็บองค์ความรู้และ ประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญมารวมไว้ เรียกว่า ฐานความรู้ (Knowledge Base) ฐานความรู้ดังกล่าวจะถูก นำมาใช้เมื่อผู้ใช้ต้องการข้อมูลเพื่อตัดสินใจ ระบบสนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems: OAS) ระบบที่ใช้ในสำนักงานเพื่อให้การทำงานมีประสิธิภาพมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในสำนักงานจะ อาศัยอุปกรณ์ทั่วไป เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร โทรสาร หรือเทคโนโลยีเครือข่ายการสื่อสารขั้นสูง เช่น การสื่อสารผ่านดาวเทียมหรือการประชุมทางไกล เพื่อความรวดเร็วและทันต่อความต้องการ

17 ระบบสารสนเทศในองค์กรธุรกิจ (ต่อ)
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems: MIS) เป็นระบบสารสนเทศที่ดึงข้อูลจากระบบประมวลผลรายการประจำวัน (TPS) เพื่อมาทำ สารสนเทศในระดับสูงให้กับผู้บริหารในหน่วยงานต่างๆ จนถึงผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กร ระบบ สารสนเทศเพื่อการจัดการจะสามารถคำนวณและเปรียบเทียบการประมวลผลต่างๆ รวมถึงการออก รายงานได้

18 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems: MIS)
รับข้อมูลมาจาก TPS ประมวลออกมาในรูปของรายงาน - รายงานตามระยะเวลา - รายงานสรุป - รายงานตามความต้องการ ฐานข้อมูล ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ รายงาน TPS

19 ระบบสารสนเทศที่ประยุกต์ใช้ในธุรกิจ
ขั้นตอนที่ 1 วางแผน (Planning) เน้นการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดและจิตสำนึก การวางแผนปรับปรุงล่วงหน้า การเลือกระบบสารสนเทศที่เหมาะสม การเลือกที่ปรึกษาและผู้ให้บริการระบบสารสนเทศที่เหมาะสม การกำหนดขอบเขตของระบบสาสรสนเทศ

20 ระบบสารสนเทศที่ประยุกต์ใช้ในธุรกิจ (ต่อ)
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการพัฒนาและติดตั้ง (Development and Integration) การออกแบบกระบวนการทางธุรกิจ การทำต้นแบบของระบบสารสนเทศ การสร้างระบบภายนอกเสริมระบบสารสนเทศ การทดสอบจากการติดตั้งระบบสารสนเทศ

21 ระบบสารสนเทศที่ประยุกต์ใช้ในธุรกิจ (ต่อ)
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนใช้งานและพัฒนาต่อยอด การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทำงานและการใช้งาน การยกระดับความชำนาญของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ

22 ประสิทธิภาพระบบสารสนเทศในการบริหารองค์กร
Information Systems Accuracy Timeliness Completeness Relevance Verifiability

23 ประสิทธิภาพระบบสารสนเทศในการบริหารองค์กร (ต่อ)
ความเที่ยงตรง (Accuracy) ข้อมูลระบบสารสนเทศขององค์กรที่ดีจะต้องมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ ทันต่อความต้องการใช้ (Timeliness) สามารถนำข้อมูลระบบสารสนเทศมาใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการใช้ข้อมูล หรือเพื่อการตัดสินใจ ความสมบูรณ์ (Completeness) ข้อมูลระบบสารสนเทศขององค์กรที่ดีจะต้องมีความสมบูรณ์ที่จะช่วยทำ ให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความถูกต้อง

24 ประสิทธิภาพระบบสารสนเทศในการบริหารองค์กร (ต่อ)
ตรงความต้องการ (Relevance) ข้อมูลระบบสารสนเทศขององค์กรที่ดีต้องตอบสนองต่อความต้องการของ ผู้ใช้ ขอบเขตของข้อมูลที่จะนำไปใช้เพื่อให้สอดคล้องและตรงกับความต้องการของหน่วยงานมากที่สุด ถึงแม้ข้อมูลนั้นจะถูกต้องมากแค่ไหนก็ตามแต่ถ้าไม่สอดคล้องกับความต้องการ ข้อมูลนั้นก็จะนำไปใช้ ไม่ได้เลย สามารถตรวจสอบได้ (Verifiable) ข้อมูลอาจมาจากแหล่งข้อมูลหลายๆที่ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นอาจะเป็นข้อมูล ที่เชื่อถือได้หรือไม่น่าเชื่อถือก็ได้ ดังนั้นหากต้องการนำข้อมูลมาใช้ในการประมวลผล ควรเลือกข้อมูลที่ สามารถตรวจสอบหาแหล่งที่มาหรือแหล่งที่มีหลักฐานอ้างอิงได้

25 ข้อควรระวังความล้มเหลวที่เกิดจากการใช้ระบบสารสนเทศ
ขาดการวางแผนที่ดี ไม่สามารถกำหนดความเสี่ยงหรือข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นกับระบบสารสนเทศได้ เลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน มีความไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมองค์กรทางด้านเทคนิค ขาดการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง ไม่กำหนดขอบเขตการใช้ข้อมูลของแต่ละบุคคล หรือแต่ละระดับการใช้งาน เกิดแรงต่อต้านจากพนักงานภายในองค์กรที่ว่าการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทำให้ความสำคัญของ ตัวเองลดลง

26 ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในธุรกิจ
การประยุกต์ใช้ในด้านการศึกษา

27 ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในธุรกิจ (ต่อ)
การประยุกต์ใช้ในห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้า

28 Self-Checkout Machine

29 ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในธุรกิจ (ต่อ)
Video conference - เป็นการรวมรวมเทคโนโลยี 2 อย่างเข้าไว้ด้วยกัน คือ เทคโนโลยีวีดีโอและเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนการประชุมทางไกล

30 ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในธุรกิจ (ต่อ)
การประยุกต์ใช้ในด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ Photoshop Illustrator 3D Max

31 ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในธุรกิจ (ต่อ)
Local Area Network (LAN) เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันในระยะจำกัด เช่น ในอาคารเดียวกัน หรือบริเวณเดียวกันที่สามารถลากสายถึงกันได้โดยตรง Wireless Local Area Network (WLAN) เทคโนโลยีที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ Wide Area Network (WAN) ระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เป็นระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์กที่ใช้เชื่อมต่อกันในระยะไม่ไกลมากนักโดยปกติมักเชื่อมต่อกันในระยะไม่เกิน 5 กิโลเมตร Metropolitan Area Network (MAN) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากจะมีขนาดครอบคลุมเมืองหรือบริเวณมหาวิทยาลัย ระบบอินเตอร์เน็ต (Internet)

32 Ticketless Parking System
On entry, a camera recognizes your license plate Payment fees Less than 3 hours - Free Beyond 3 hours, 3 ways to pay - Pay station - Pay at the Boomgate - Register Online

33

34 References    

35 แบบฝึกหัด องค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
จงอธิบายระบบการฝากเงิน ว่ามีกระบวนการทำงานอย่างไร (Input, Process and Output) การตัดสินใจของผู้บริหารมีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย วัตถุประสงค์หลักของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) คืออะไร จงอธิบาย จงยกตัวอย่างของข้อมูลที่ต้องมีความเป็นปัจจุบัน (Update) เพื่อใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจของ ผู้บริหาร กระบวนการนำเอาระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กร ต้องทำอย่างไร จงอธิบาย ถ้านิสิตอยากทำธุรกิจส่วนตัว นิสิตอยากทำธุรกิจอะไร และจะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอะไรมาประยุกต์ใช้ ในธุรกิจ จงอธิบาย


ดาวน์โหลด ppt ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google