วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 การโน้มน้าวใจ วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ครูกิ่งกาญจน์ สมจิตต์
การโน้มน้าวใจ คือ การพยายามเปลี่ยนแปลง ความเชื่อ ทัศนคติ การกระทำของบุคคลอื่นด้วยกลวิธีที่ เหมาะสม ให้มีผลกระทบใจผู้นั้น จนเกิดการ ยอมรับและเปลี่ยนตามผู้โน้มน้าวใจต้องการ
วัตถุประสงค์ของการโน้มน้าวใจ 1. เพื่อชักนำหรือโน้มน้าวใจให้เกิดความเชื่อถือ ศรัทธา ในเรื่องที่พูดหรือเขียน เช่น การชักนำให้ทำประกันชีวิต การ โฆษณาคุณภาพของสินค้า การโน้มน้าวใจให้ศรัทธาใน ศาสนา เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของการโน้มน้าวใจ 2. เพื่อกระตุ้นหรือเร้าใจให้เห็นความสำคัญของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การพูดให้เห็นความสำคัญของป่าไม้ การพูดให้เห็น ความสำคัญของวัฒนธรรมไทย การเขียนให้ประทับใจในการ ทำงานอย่างเสียสละของตำรวจตระเวนชายแดน เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของการโน้มน้าวใจ 3. เพื่อปลุกใจให้เกิดความสำนึกและปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การปลุกใจให้รักชาติ การปลุกใจใช้สินค้าไทย การปลุกใจ ให้รวมพลังสามัคคีเป็นต้น
วัตถุประสงค์ของการโน้มน้าวใจ 4. เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความรู้ ความเข้าใจ มีความเห็นคล้อย ตามและนำไปปฏิบัติ เช่น การโน้มน้าวใจให้รู้จักการวางแผนครอบครัว การโน้ม น้าวใจให้รู้จักใช้ถุงยางอนามัยเพื่อ ป้องกันการติดเชื้อ เอดส์ การเชิญชวนให้เลิกสูบบุหรี่ เป็นต้น
หลักจิตวิทยาในการโน้มน้าวใจ ทฤษฎีการจูงใจของมาสโลว์ (Maslow’s Theory of Human Motivation) ทฤษฎีการจูงใจของมาสโลว์ หรือที่เรียกกันว่าทฤษฎีลำดับ ความต้องการ (Hierarchy of Needs Theory) เป็นทฤษฎีการจูงใจที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง มาสโลว์ ได้สรุปลักษณะการจูงใจไว้ว่า การจูงใจจะเป็นไป ตามลำดับของความต้องการอย่างมีระเบียบ ซึ่งลำดับขั้น ของความต้องการนี้แบ่งออกเป็น 5 ขั้น ดังนี้
ทฤษฎีการจูงใจของมาสโลว์ 1. ความต้องการพื้นฐานทางร่างกาย (The Physiological Needs) ความต้องการในขั้นนี้ เป็นความต้องการเพื่อการมีชีวิตอยู่ เช่น ต้องการอาหาร อากาศ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย เป็นต้น
ทฤษฎีการจูงใจของมาสโลว์ 2. ความต้องการความมั่นคง ปลอดภัย (The safety Needs) มนุษย์ต้องการความปลอดภัย และความมั่นคงในชีวิต เล่น ความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ โรคร้าย หรือจากภัยต่างๆ และ ความมั่นคงทางจิตใจ เช่น ความมั่นคงในการประกอบอาชีพ
ทฤษฎีการจูงใจของมาสโลว์ 3. ความต้องการความรักและการเป็นเจ้าของ(The Belongingness and Love Need) ได้แก่ความต้องการที่จะเข้าร่วมและได้รับการยอมรับจาก สังคม ความเป็นมิตร และการยอมรับ และความรัก จาก เพื่อนร่วมงาน รวมทั้งความเป็นเจ้าของ
ทฤษฎีการจูงใจของมาสโลว์ 4. ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง (The Esteem Needs) ความต้องการนี้มีความสำคัญมากในการทำงาน ได้แก่ ความ ต้องการได้รับความยกย่องนับถือ และความต้องการมีชื่อเสียง การมีสถานภาพที่ดี มีตำแหน่งอันเป็นที่ยอมรับโดยทั่ว การมี ความรู้สึกว่าตนเองเป็นบุคคลสำคัญ
ทฤษฎีการจูงใจของมาสโลว์ 5. ความต้องการความสำเร็จในชีวิต (The Need for Self - Actualization) เป็นความต้องการขั้นสูงสุด มนุษย์ต้องการพัฒนาตนเองให้มีการเปลี่ยนแปลง ในทางที่ดีขึ้นเรื่อยไป ทำให้ตัวเองดีเด่นที่สุด เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์เก่ง ที่สุด เป็นต้น มนุษย์จะแสวงหาความต้องการ ในขั้นนี้ก็เมื่อความต้องการทั้ง4 ประการข้างต้นได้รับการตอบสนองแล้ว
กลวิธีในการโน้มน้าวใจ 1. การแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้โน้มน้าวใจ โดยธรรมดาบุคคล ที่มีคุณลักษณะ 3 ประการ คือ มีความรู้จริง มีคุณธรรม และมีความปรารถนาดี ต่อผู้อื่น ย่อมได้รับความ เชื่อถือ จากบุคคลทั่วไป 2. การแสดงให้เห็น ตามกระบวนการของเหตุผลผู้โน้มน้าวใจ ต้องแสดงให้เห็นว่า เรื่องที่ตนกำลัง โน้มน้าวใจมีเหตุผลหนัก แน่น และมีคุณค่าควร แก่การยอมรับ อย่างแท้จริง
กลวิธีในการโน้มน้าวใจ 3. การแสดงให้เห็นถึงความรู้สึก และอารมณ์ร่วม บุคคลที่มี อารมณ์ร่วมกันคล้อยตามกัน ได้ง่ายกว่าบุคคล ที่มีความรู้สึก อคติต่อกัน เมื่อใดที่ผู้โน้มน้าวใจ ค้นพบ และแสดงอารมณ์ร่วม ออกมา การโน้มน้าวใจก็จะประสบความสำเร็จ 4. การแสดงให้เห็นทางเลือกทั้งด้านดีและด้านเสีย ผู้โน้มน้าว ใจต้องโน้มน้าวผู้รับสารให้เชื่อถือ หรือปฏิบัติเฉพาะทางที่ตน ต้องการ โดยชี้ให้เห็นว่าสิ่งนั้น มีด้านที่เป็นโทษ อย่างไร ด้านที่ เป็นคุณอย่างไร
กลวิธีในการโน้มน้าวใจ 5. การสร้างความสุขให้แก่ผู้รับสาร การเปลี่ยนบรรยากาศ ให้ ผ่อนคลายด้วยอารมณ์ขัน จะทำให้ผู้รับสารเปลี่ยนสภาพจากการ ต่อต้านมาเป็นความรู้สึกกลาง ๆ พร้อมที่จะคล้อยตามได้ 6. การเร้าให้เกิดอารมณ์อย่างแรงกล้า เมื่อมนุษย์เกิดอารมณ์ ขึ้นอย่างแรงกล้า ไม่ว่าดีใจ เสียใจ โกรธแค้น อารมณ์เหล่านี้ มักจะทำให้มนุษย์ไม่ใช้เหตุผลอย่างถี่ถ้วน พิจารณาถึงความ ถูกต้องเหมาะควร เมื่อมีการตัดสินใจ ก็อาจจะคล้อยไปตามที่ผู้ โน้มน้าวใจเสนอแนะได้ง่าย
ศิลปะการโน้มน้าวจิตใจ 1. จงให้ความสนใจแก่ผู้นั้น หรือกลุ่มนั้นอย่างจริงใจ ท่านจะ ได้รับการต้อนรับและสนใจ จากทุกคนทุกหนแห่ง นักบริการที่ดี ไม่ควรพูดถึงเรื่องที่เกี่ยวกับตนเอง แต่จงให้ความสนใจแก่เขา และเรื่องที่ เกี่ยวกับเขา แสดงออกไปทั้งทางกิริยา วาจา และใจ
ศิลปะการโน้มน้าวจิตใจ 2. ความยิ้มแย้ม เป็นเงื่อนไขสำคัญในการสร้างความประทับใจ ให้แก่ทุกคนเมื่อแรกพบ
ศิลปะการโน้มน้าวจิตใจ 3. จงจำชื่อผู้ที่มาติดต่อให้ได้และใช้เรียกได้อย่างถูกต้อง เพราะ ทุกคนจะรู้สึกว่าคำพูดที่ไพเราะที่สุด และมีความหมายสำคัญยิ่ง สำหรับเขา ก็คือ ชื่อของเขานั่นเอง
ศิลปะการโน้มน้าวจิตใจ 4. จงเป็นนักฟังที่ดี ด้วยการให้ความสนใจเรื่องที่เขาพูดและยั่วยุ ให้เขาพูดเรื่องเกี่ยวกับตัวเขาไปเรื่อย ๆ ตามความพอใจของเขา
ศิลปะการโน้มน้าวจิตใจ 5. จงพูดในเรื่องที่เขากำลังสนใจ ได้แก่เรื่องที่เขากำลังคลั่งไคล้ เรื่องที่เกี่ยวกับความรู้ ความชำนาญ ของเขาเองเรื่องที่เขากำลัง ภาคภูมิใจ หรือเรื่องที่เขาพึ่งได้รับความตื่นเต้นมาใหม่ ๆ
ศิลปะการโน้มน้าวจิตใจ 6. จงทำให้เขารู้สึกว่าเขาเป็นคนสำคัญ หรือชี้ให้เห็นจุดสำคัญ ดีเด่นในตัวเขาและจงทำเช่นนั้น ด้วยความจริงใจ ทุกคนจะรู้สึก ชอบท่านทันที เพราะทุกคนชอบยอ และชอบที่มีใครยกย่อง แม้ จะเป็นยอกันต่อหน้าที่ก็ตามที
ศิลปะการโน้มน้าวจิตใจ ควรใช้ภาษาในเชิงเสนอแนะ ขอร้อง วิงวอน หรือ เร้าใจ ซึ่งในการใช้ถ้อยคำให้เกิดน้ำเสียงดังกล่าว จะต้องเลือกใช้คำที่สื่อความหมายตามที่ต้องการ โดยคำนึงถึง จังหวะและความนุ่นนวล ในน้ำเสียง
ลักษณะของสารโน้มน้าวใจ 1. คำเชิญชวน เป็นการแนะนำให้ช่วยกันกระทำการ อย่างใด อย่างหนึ่ง เพื่อให้เกิด ประโยชน์ส่วนรวม มักจะพบในการเขียนคำขวัญ แถลงการณ์ เพลงปลุกใจ บทความปลุกใจ หรือการพูดในโอกาสต่าง ๆ ใบประกาศ แผ่นปลิว โปสเตอร์ หรือเป็นการบอกกล่าว ทางวิทยุ โทรทัศน์ ผู้ส่งสาร จะบอกจุดประสงค์ อย่างชัดเจนและชี้ให้เห็นประโยชน์รวมทั้งบอกวิธี ปฏิบัติด้วย โดยโน้มน้าวให้เกิดความภาคภูมิใจว่าถ้าปฏิบัติตามคำเชิญ ชวนจะเป็นผู้ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เช่น การพูดปลุกใจให้ประชาชนรัก ชาติ พูดจูงใจให้ประชาชนออกไป ลงคะแนนเสียง เลือกตั้งสมาชิก ผู้แทนราษฎร พูดโน้มน้าวใจให้คนบริจาคโลหิต พูดโน้มน้าวใจ ให้คนซื้อ สินค้า ที่ตนเองจำหน่าย พูดโน้มน้าวในใจให้ประชาชนช่วยกันรักษา สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ลักษณะของสารโน้มน้าวใจ 2. โฆษณาสินค้า หรือ โฆษณาบริการ มีลักษณะดังนี้ 2.1 ใช้ถ้อยคำที่แปลกใหม่ สะดุดหู สะดุดตา ผู้รับสาร 2.2 ใช้ประโยค หรือวลีสั้น ๆ ที่ทำให้ผู้อื่นรับรู้ได้อย่างฉับพลัน 2.3 เนื้อหาจะแสดงให้เห็นถึงคุณภาพอันดีเลิศของสินค้า หรือ บริการ 2.4 ใช้กลวิธีโน้มน้าวใจโดยชี้ให้เห็นประโยชน์ของสินค้า 2.5 เนื้อหาของสารโฆษณามักขาดเหตุผลที่หนักแน่นรัดกุม 2.6 การนำเสนอสารใช้วิธีโฆษณาตามสื่อต่าง ๆ ซ้ำ ๆ หลายวัน
หลักในการเขียนโน้มน้าวใจ 1. การวิเคราะห์ผู้อ่าน ผู้เขียนจะต้องวิเคราะห์ผู้อ่านว่า มี ลักษณะอย่างไร เช่น เพศ วัย การศึกษา อาชีพ ฐานะทาง เศรษฐกิจ ฐานะทางสังคม และค่านิยม เป็นต้น การวิเคราะห์ ผู้อ่านจะช่วย ให้ผู้เขียนสามารถกำหนด เนื้อหาและกลวิธีการ นำเสนอได้อย่างเหมาะสม
หลักในการเขียนโน้มน้าวใจ 2. การใช้หลักจิตวิทยา ผู้เขียนจะต้องอาศัยหลักจิตวิทยาในการ เขียนโน้มน้าวใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้เขียนต้องทำความ เข้าใจธรรมชาติ ความสนใจ และความต้องการของผู้อ่าน ว่า น่าจะเป็น ไปในทิศทางใด แล้วจึงนำมาเป็นประโยชน์ในการ เขียนโน้มน้าวใจต่อไป
หลักในการเขียนโน้มน้าวใจ 3. การให้เหตุผล ผู้เขียนต้องพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุน ความคิดเห็นของตน เหตุผลที่นำมาอ้างนั้นควรน่าเชื่อถือ มี น้ำหนักเพียงพอ และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่าน เชื่อถือ และยอมรับ ตลอดจนมีปฏิกิริยาตอบสนองความต้องการ ของผู้เขียน
หลักในการเขียนโน้มน้าวใจ 4. การใช้ภาษา ภาษาทีใช้ในการเขียนโน้มน้าวใจควรเป็นภาษาที่ เร้าอารมณ์และความรู้สึกของผู้อ่าน ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องมีศิลปะ ในการใช้ภาษา คือ รู้จักเลือกสรรถ้อยคำที่สื่อความหมายได้ ชัดเจน ก่อให้เกิดภาพ และกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่าน
การพูดโน้มน้าวใจ การพูดโน้มน้าวใจเป็นพฤติกรรมการสื่อสารอย่างหนึ่ง คือ การใช้ความ พยายามเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และการกระทำของบุคคล อื่น โดยใช้กลวิธีที่เหมาะสมให้มีผลกระทบใจบุคคล ทั้งโดยใช้วัจนภาษา และอวัจนภาษา จนเกิดการยอมรับและยอมเปลี่ยนตามที่ผู้โน้มน้าวใจ ประสงค์ หลักการสำคัญของการพูดโน้มน้าวใจ ได้แก่ การทำให้มนุษย์ ประจักษ์ว่า ถ้าเชื่อและเห็นคุณค่า หรือทำตามที่ ผู้โน้มน้าวใจชี้แจงหรือ ชักนำแล้ว ก็จะได้รับผลที่ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของตน นั่นเอง แต่ตราบใดที่ความประจักษ์ชัดยังไม่เกิดขึ้น ก็ยังถือว่าการโน้มน้าว ใจยังไม่สัมฤทธิ์ผล ดังนั้นผู้โน้มน้าวใจควรได้ตระหนักถึงประเด็นของการ นำเสนอเหตุผลเพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจ เห็นความสำคัญและยอมรับการ โน้มน้าวใจ
การเขียนคำขวัญโน้มน้าวใจ คำขวัญ คือ คำพูดที่กล่าวให้เป็นข้อคิดหรือแนวทางปฏิบัติเนื่อง ในกรณีใดกรณีหนึ่ง หรือโอกาสใดโอกาสหนึ่ง เป็นข้อความเตือน ให้ระลึกถึงหน้าที่การงาน และความประพฤติต่าง ๆ หรือ การปลูกฝังหรือเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อสถาบัน หรือเพื่อผนึก ความคิดรวบยอดของสินค้า
ลักษณะคำขวัญที่ดี คำขวัญที่ดีคือ คำขวัญที่กระทบใจผู้รับสาร ทำให้ผู้รับสารสนใจ และจดจำคำขวัญได้ทันที และ/หรือ เป็นการอ้างเตือนผู้รับสารไม่ให้ลืมข้อเด่นในคำขวัญ นั้น เช่น ชื่อสินค้า บุคลิกของสินค้า และข้อมูลที่ต้องการเสนอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสื่อที่ใช้ ตำแหน่งคำขวัญในสื่อ อวัจนภาษาด้าน ตัวอักษร สี และที่สำคัญ ได้แก่ วัตถุประสงค์ในการสร้างคำขวัญ นั้น ๆ
การเขียนคำขวัญโน้มน้าวใจมีหลักดังนี้ 1. เขียนให้ตรงจุดมุ่งหมาย ตรงตามประเด็นที่ต้องการก่อน เขียนคำขวัญโน้มน้าวใจในเรื่องใด ๆ ผู้เขียนต้องทำความเข้าใจ จุดมุ่งหมายให้ถ่องแท้เสียก่อน เช่น “ไม่มีครู ก็ไม่รู้วิชา” “ชาว ตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี” “ตำรวจอยู่ที่ไหน ประชาอุ่นใจ ที่นั่น” “อากาศเป็นพิษ ชีวิตเป็นภัย” “ปตท. พลังไทย เพื่อ ไทย” “ขับรถระวังคน ข้ามถนนระวังรถ” เป็นต้น
การเขียนคำขวัญโน้มน้าวใจมีหลักดังนี้ 2. เป็นถ้อยคำที่สั้น กะทัดรัด อาจมีจำนวนคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป อาจเป็นประโยค เดียวหรือสองประโยคที่สัมพันธ์กัน หรืออาจมี เพียง 1 วรรค ถึง 4 วรรค เช่น “ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน” “ช่วยราษฎร์ เสริมรัฐ ยืนหยัดยุติธรรม” “การบิน ไทยรักคุณเท่าฟ้า” “ยามศึกเรารบ ยามสงบเราพัฒนา” ประชาธิปัตย์ ขจัดปัญหา พัฒนา กทม.” “อากาศเป็นพิษ ชีวิต จะสั้น ต้นไม้เท่านั้น ทั้งกันทั้งแก้” เป็นต้น
การเขียนคำขวัญโน้มน้าวใจมีหลักดังนี้ 3. มีใจสมบูรณ์ ชัดเจน ไม่คลุมเครือ มีใจความสำคัญหรือ เป้าหมายในคำขวัญเพียงประการเดียว เพื่อให้ผู้รับสารจำได้ง่าย ไม่สับสน เช่น “คุ้มค่าทุกนาที ดูทีวีสีช่องสาม” “วันพระ ชาว พุทธ หยุดเหล้า” “ไทยสมุทรยึดมั่นคำสัญญา” “บ้านเมือง สวย ด้วยมือเรา” “ขับเร็วชิดขวา ขับช้าชิดซ้าย” เป็นต้น
การเขียนคำขวัญโน้มน้าวใจมีหลักดังนี้ 4. เขียนด้วยถ้อยคำภาษาง่าย ๆ มีการเล่นคำ เล่นสัมผัส และมี ช่วงจังหวะที่เหมาะสม เพื่อความไพเราะและจดจำได้ง่าย เช่น “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข” “ยุงแขยง แมลงขยาด เมื่ออาทขยับ” “ครองตน ครองคน ครองงาน” “ยิ้มเดียว เคี้ยวเพลิน” “หลงทางเสียเวลา หลงติดยาเสียอนาคต” “คาดเข็มขัดนิรภัย ปลอดภัยตลอดเส้นทาง” เป็นต้น
การเขียนคำขวัญโน้มน้าวใจมีหลักดังนี้ 5. หากเป็นคำขวัญโฆษณาสินค้า น่าจะมีชื่อสินค้าอยู่ในคำขวัญ นั้นด้วย เช่น “ต้องโค้กซิ” “เป๊บซี่ดีที่สุด” “ชาร์ป ก้าวล้ำไปใน อนาคต” “สวมแพน แสนเพลิน” เป็นต้น