ความสำคัญของแสง ต่อการถ่ายภาพ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
แสดงให้คุณ SLIDEPLAYER.IN.TH
Advertisements

Substation Data Logger เครื่องบันทึกข้อมูลสำหรับสถานีไฟฟ้าย่อย
การทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
RAM (Random Access Memory)
Lighting & Equipment Public Company Limited วันพุธที่ 17 พฤษภาคม 2549 เวลา – น. THE OPPORTUNITY DAY 2/2549.
Lab 5: คำสั่ง switch - case
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ (Personal Computer : PC)
สายสัญญาณที่ต่อกับเครื่อง LCD Projector
การจัดแสงสำหรับงานโทรทัศน์
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Centrifugal Pump.
แสง สี ไฟ ในภาพยนตร์ Light Color Gaffer
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง Secondary Storage Unit
ง30216 การสร้างเกมคอมพิวเตอร์
ผัก. หน่อไม้ ฝรั่ง กะหล่ำ ปลี แค รอท กะหล่ำ ดอก.
อุทยานดอกไม้.
Baannada.com คำตรงกันข้าม. Baannada.com หนา Baannada.com บาง.
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ Input&Output เสนอ อ. อภิเดช จิตมุ่ง โดย นาย ภคินนัย ชมภูนุช ม.4/1 เลขที่ 8 นางสาว ฟ้ารุ่ง วะสาร ม.4/1 เลขที่ 27 นางสาว รัฐภัทร บุญทัน.
Power Point ประกอบการบรรยาย แก่ “ประธานกรรมการและเลขานุการ กรรมการสถานศึกษา ตามโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรรมการสถานศึกษา” วันที่ 19 ธันวาคม.
ระบบสารสนเทศ อ.วรพจน์ พรหมจักร.
การสัมมนาเวทีสาธารณะ
การบรรยายพิเศษ สหกิจศึกษานานาชาติ International Cooperative Education โดย ดร.สุเมธ แย้มนุ่น อุปนายกสมาคมสหกิจศึกษาไทย โครงการเตรียมความพร้อมสู่สหกิจศึกษานานาชาติ
การออกแบบแสงสว่างภายในอาคาร
หน่วยที่ 3 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
ความคืบหน้าการจัดทำ ร่าง-ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
เครื่องมือวัดดิจิตอล
ประเภทของกล้องถ่ายภาพ
ความรู้เกี่ยวกับอาหารและมื้ออาหาร
อุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูล (Storage Devices)
รหัสบ่งชี้โดยใช้ความถี่ของคลื่นวิทยุ
อาจารย์ ดร.รวมพร นิคม คณะวิศวกรรมศาสตร์
ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN)
สื่อประเภทเครื่องฉาย
การติดต่อสื่อสารของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์คืออะไร      คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อประโยชน์ต่อการแสวงหาสารสนเทศ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถรับโปรแกรมและข้อมูล.
กล้องจุลทรรศน์และการย้อมสี
บทที่ 2 กระบวนการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์
บทที่ 4 อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลและองค์ประกอบข้อมูล
การติดต่อสื่อสารของคอมพิวเตอร์
พื้นฐานการออกแบบระบบไฟฟ้า
การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
กล้องและอุปกรณ์การถ่ายภาพ
พลังงานทดแทนกับการใช้ประโยชน์
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (Information Technology for Life)
วาดเส้นพื้นฐาน เพื่อการออกแบบเครื่องแต่งกาย
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
การออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้
เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย
แนวโน้มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
Training & Development
มนุษย์กับเศรษฐกิจ.
หลักเกณฑ์ในการตั้งตัวแทน
คลินิกไร้พุงคุณภาพ (DPAC Quality)
การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
การจัดทำรายงานการควบคุมภายใน ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2544 ข้อ 6.
รายวิชา MFS1301 หลักการออกแบบเว็บ (Principles of Web Design) 3 (ทฤษฎี2-ปฏิบัติ2-ศึกษาด้วยตนเอง5) หน่วยกิต หัวข้อที่ 9 Site Navigation อาจารย์ณัฐภัทร แก้วรัตนภัทร์
การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน
ความหมายของการจัดโครงสร้างองค์การ
ดร. สุทธศรี วงษ์สมาน รองเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
เรื่อง การวาดเส้น Drawing
รายวิชา งานไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับครูอุตสาหกรรมศิลป์
ตลาดบริการ และ ลูกค้าเป้าหมาย วิชาการจัดการธุรกิจบริการ
คลินิกอาชีวเวชศาสตร์
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ (Personal Computer : PC)
การแก้ไขข้อบกพร่องระบบ GMP จากการตรวจรับรองโรงงานเพื่อการส่งออก วันที่
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการประมวลผลข้อมูล (Introduction to Computer and Data Processing) บทที่ Business Computer & Information.
กลยุทธ์องค์การ.
บทที่ 3 หน่วยความจำและสื่อบันทึกข้อมูล (Memory and storage)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ความสำคัญของแสง ต่อการถ่ายภาพ

แสงเพื่อการถ่ายภาพ : ประเภทและลักษณะของแสง ปัจจุบันวิวัฒนาการของการถ่ายก้าวหน้าไปมาก มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกมากมาย แต่ความเข้าใจความรู้พื้นฐานในเรื่องของแสง ก็ยังถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่เริ่มฝึกหัดถ่ายภาพอยู่ดี แสงสว่างที่สุดคือ แสงจากดวงอาทิตย์ และแสงอื่นๆ เช่น แสงไฟ

แสงเพื่อการถ่ายภาพ : ประเภทและลักษณะของแสง ประเภทของแสงที่ใช้ในการถ่ายภาพ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. แสงธรรมชาติ (Natural light) คือ แสงสว่างที่ได้จากดวงอาทิตย์ในเวลากลางวันและแสงที่ได้จากการสะท้อนทางอ้อม 2. แสงเทียน (Artificial light) คือ แสงสว่างที่ได้จากสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์โดยกรรมวิธีต่างๆ เช่น แสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าทุกชนิด แสงจากไฟแฟลชทุกชนิด แสงจากตะเกียงหรือ เทียนไข และแสงรังสีต่างๆ ที่ใช้ในงานวิทยาศาสตร์และการแพทย์

คุณสมบัติการสะท้อนและการดูดกลืนของแสง การกระจาย 4 4

แสงเพื่อการถ่ายภาพ : ลักษณะของแสงที่ใช้ในการถ่ายภาพ 1. แสงแบบแข็ง (hard light) แสงแบบแข็งเป็นแสงสว่างจากดวงไฟส่องไปยังวัตถุที่ถ่ายโดยตรง วัตถุที่มีร่องขรุขระจะมองเห็นความแตกต่างระหว่างพื้นเรียบได้ชัดเจน หากเป็นใบหน้าคนใช้ไฟส่องทางด้านข้างทำให้ด้านที่ถูกแสงสว่างขาว ส่วนด้านตรงข้ามจะมืดสนิทมองเห็นเส้นสันจมูกซึ่งนิยมถ่ายภาพบุคคล เพื่อเน้นให้ดูจมูกโด่งขึ้น

แสงเพื่อการถ่ายภาพ : ลักษณะของแสงที่ใช้ในการถ่ายภาพ (ต่อ) 2. แสงแบบนุ่ม (Soft light) แสงแบบนุ่มเป็นแสงที่สว่างและส่วนที่เป็นเงามืดมีความแตกต่างกันน้อยลงจากดวงไฟที่ส่องตรง การทำแสงแข็งให้เป็นแสงนุ่มได้ 2 วิธี คือ

2.1 ใช้แผ่นกรองแสงบังหน้าดวงไฟ เช่นกระดาษไขที่ใช้เขียนแบบผ้าขาววัตถุเหล่านี้ ทำให้แสงกระจายไปทั่วเหมาะกับการถ่ายภาพบุคคล โดยเฉพาะสุภาพสตรี จะทำให้ใบหน้าดูหวานนุ่มนวล อุปกรณ์ที่ใช้โดยเฉพาะ คือ กล่องแสงนุ่ม (soft box) หรือร่มสีขาวแบบส่องทะลุ

แสงเพื่อการถ่ายภาพ : ลักษณะของแสงที่ใช้ในการถ่ายภาพ (ต่อ) 2.2 ใช้แผ่นสะท้อนแสง ส่องจากดวงไฟเข้าหาวัตถุที่ถ่าย แสงที่สะท้อนกระจายออกทำให้ภาพดูนุ่มนวล วัสดุที่สะท้อนแสงได้แก่แผ่นโฟม กระดาษฟอยล์ (foil) หรือร่มสีขาวแบบทึบแสง

แสงเพื่อการถ่ายภาพ : ลักษณะของแสงที่ใช้ในการถ่ายภาพ (ต่อ) 3. แสงสว่างทั่ว (High key) แสงสว่างทั่วเป็นการจัดแสงเพื่อทำให้ภาพดูนุ่มนวลชวนฝัน โดยใช้ฉากหลัง เป็นสีอ่อนหรือสีขาว ให้แสงสว่างกระจายทั่วส่องไปยังแบบให้เงาที่เกิดอ่อนที่สุด

4. แสงสว่างส่วนน้อย (Low key) แสงสว่างส่วนน้อยเป็นการจัดแสงลักษณะตรงข้ามกับแบบแสงสว่างทั่ว เพื่อทำให้ภาพดูลึกลับตื่นเต้นน่าพิศวงให้พื้นที่ส่วนใหญ่มีสีดำโดยการจัดแสงทิศทางเดียวส่องไปยังแบบส่วนที่สว่างมีเนื้อที่น้อยที่สุด

ทิศทางของแสง 1. ทิศทางแสงตามแนวราบหรือแนวนอน  (Horizontal light placement) 2 .ทิศทางแสงตามแนวตั้ง (Vertical light placement) 11 11

แสงเพื่อการถ่ายภาพ : ทิศทางของแสง 1. แสงในแนวตั้ง (Vertical lighting) เป็นแสงที่ส่องไปยังวัตถุทำให้เกิดมุมของแสงตามแนวตั้ง ซึ่งเราสามารถจัดแสงให้อยู่ในระดับสายตา ระดับต่ำกว่าสายตา หรือจัดให้อยู่ใน มุมสูงส่องลงมายังวัตถุก็ได้ 1.1 แสงในมุมสูง เป็นแสงที่ทำมุมกับแนวระนาบ ประมาณ 40-60 ถ้าเป็นแสงธรรมชาติจะเป็น ช่วงก่อนเที่ยงและช่วงบ่าย

แสงเพื่อการถ่ายภาพ : ทิศทางของแสง 1.2 แสงในมุมต่ำ ได้แก่แสงที่ส่องจากด้านล่าง โดยมากไม่ค่อยพบในแสงธรรมชาติ แต่จะมีในเมื่อจัดแสงเทียมหรือแสงไฟจากแหล่งอื่นๆ ถ้าถ่ายภาพบุคคลโดยใช้แสงมุมต่ำจะดูน่ากลัว ลึกลับ

แสงเพื่อการถ่ายภาพ : ทิศทางของแสง 2. แสงในแนวนอน (Horizontal lighting) เป็นแสงที่ส่องมายังวัตถุในแนวนอน ได้แก่ 2.1 แสงหน้า (Front light) เป็นแสงที่ส่องตรงเข้ามาทางด้านหน้า ของวัตถุที่ถูกถ่าย แสงแบบนี้ จะมีเฉพาะบริเวณ Highlight ไม่เกิดเงาในภาพ ทำให้วัตถุดูเรียบแบน

แสงเพื่อการถ่ายภาพ : ทิศทางของแสง 2.2 แสงข้าง (Side light) เป็นแสงที่ส่องมาด้านข้างของสิ่งที่จะถ่าย ทำมุมประมาณ 90ºด้านซ้ายและด้านขวา ทำให้เกิดเงามืดตัดกับแสงสว่าง ช่วยให้เห็นผิวพื้นชัดเจน เห็นเป็นรูปลักษณะด้านสูง และลึก

แสงเพื่อการถ่ายภาพ : ทิศทางของแสง 2.3 แสงหลัง (Back light) เป็นแสงที่มาจากด้านหลังของสิ่งที่จะถ่าย ตรงข้ามกับตำแหน่งที่ตั้งกล้อง เห็นเป็นเงาดำๆ แสดงเฉพาะรูปทรงภายนอกเท่านั้น การถ่ายภาพย้อนแสงดวงอาทิตย์ (Silhouette) ก็เป็นแสงชนิดนี้

แสงเพื่อการถ่ายภาพ : ทิศทางของแสง 2.4 แสงเฉียงหน้าและแสงเฉียงหลัง (Semi - Front light and Semi - Back light) เป็นแสงที่ส่องเฉียงเข้าด้านข้างและด้านหลังของวัตถุ ทั้งด้านซ้ายและขวา

แสงเพื่อการถ่ายภาพ : การวัดแสง วิธีการวัดแสงควรปฏิบัติดังนี้ 1. การวัดแสงสะท้อน (Reflect Light) เป็นวิธีวัดแสงเช่นเดียวกับการทำงานของเครื่องวัดแสงในกล้องถ่ายภาพ ผู้ถ่ายภาพจะอยู่ในตำแหน่งใดก็หันเครื่องวัดแสง หรือกล้องถ่ายภาพไปยังวัตถุที่ถ่าย แสงจะส่องกระทบ วัตถุและสะท้อน มายังเครื่องวัดแสงอ่านค่าปริมาณแสง จากหน้าปัดของเครื่อง

2. การวัดแสงสะท้อนเฉลี่ย เป็นวิธีวัดแสงจากด้านสว่างที่สุดและด้านมืดที่สุดของวัตถุที่ถ่ายแล้วเฉลี่ยค่าแสง เพื่อไม่ให้ภาพที่ออกมาสว่างจัด ในด้านที่โดนแสงและมืดในด้านเงา

แสงเพื่อการถ่ายภาพ : การวัดแสง 3. การวัดแสงสะท้อนโดยใช้แผ่นกระดาษสีเทา หรือ Gray card เป็นแผ่นกระดาษซึ่งมีความเข้มของสีเทา 18% รับแสงที่บริเวณวัตถุแล้ววัดแสงที่สะท้อนออกมา จากแผ่นสีเทานี้ วัดแสงที่กระดาษขาว วัดแสงที่กระดาษเทา วัดแสงที่กระดาษดำ

4. การวัดแสงตรง (Incident Light) เป็นวิธีวัดปริมาณแสงตรงบริเวณวัตถุที่ถ่าย โดยผู้วัดแสงถือเครื่องวัดอยู่บริเวณที่ถ่ายหันเครื่องวัดแสงไปที่แหล่งกำเนิดแสง การวัดวิธีนี้จะได้ค่าปริมาณแสงที่ถูกต้องแม่นยำ

แสงเพื่อการถ่ายภาพ : การวัดแสง สิ่งที่ควรคำนึงในการถ่ายภาพกับแสงธรรมชาติ ได้แก่ 1. แสงหลัก ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งแสงที่ส่องมายังแบบที่ถ่าย โดยทั่วไปไม่นิยมให้แสงส่องด้านหน้าแบบโดยตรงเพราะจะทำให้ภาพดูแบน แสงควรส่องด้านข้างเฉียง 45 เพื่อให้ด้านหนึ่งสว่างและด้านหนึ่งมืด

2. อุปกรณ์ช่วยเพิ่มแสง ได้แก่ แผ่นสะท้อนแสง (Reflector)ทำด้วยกระดาษฟอยล์เงิน ขยำให้ยับเป็นรอยติดบนแผ่นไม้อัด ช่วยสะท้อนแสง

แสงเพื่อการถ่ายภาพ : การวัดแสง 3. ไฟแฟลช ช่วยเพิ่มความสว่างของบริเวณส่วนที่เป็นเงาดำให้สว่างขึ้น การใช้แฟลชจะมองไม่เห็นแสงเหมือน แผ่นสะท้อนแสง ความสว่างของแสงแฟลชจะต้องสัมพันธ์กับแสงไฟหลักจากดวงอาทิตย์ ดังนั้นระยะห่างของแสงแฟลชกับแบบ และความสว่างของแฟลช จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องให้ภาพที่ได้แสงจาก แหล่งกำเนิด 2 แห่งกลมกลืน

4. ฉากหลังธรรมชาติ ได้แก่ การหาฉากหลังที่มีทิศทางให้แบบดูเด่น ฉากหลังที่รกรุงรังจะทำให้ความเด่นของภาพลดลง ฉากหลังควรโล่ง เรียบ หรือทำให้พร่ามัว ฉากหลังรกรุงรัง ฉากหลังเรียบ

แสงเพื่อการถ่ายภาพ : การวัดแสง 5. ฉากเสริม ในบางครั้งไม่สามารถหลีกเลี่ยงฉากหลังที่รกรุงรังได้ หรือต้องการให้ฉากหลังมีสีตามที่ต้องการจึงใช้ ฉากเสริม อาจจะเป็นกระดาษหรือผ้าสีต่างๆ ขึงกั้นบังฉากหลังที่รกรุงรัง

แสงเพื่อการถ่ายภาพ : การจัดแสงเพื่อการถ่ายภาพบุคคล ไฟพื้นฐานที่ใช้ในการถ่ายรูป มีอยู่ 4 ดวง คือ 1. แสงหลัก (Main light ,Key light) แสงหลักเป็นแสงที่สว่างที่สุดบนสิ่งที่ถูกถ่าย เนื่องจากในธรรมชาติปกติมักจะมาจากด้านบน ดังนั้นแสงหลักจึงมักนิยมที่วางไว้เหนือสิ่งที่ถูกถ่าย ทำมุมกับกล้อง 45 ทางด้านซ้ายมือหรือด้านขวามือของกล้อง 2. ไฟดวงที่ 2 คือ แสงเสริมหรือแสงส่วนเงา (Fill light) เป็นแสงที่ใช้ลบเงาที่เกิดจากแสงหลัก เพิ่มรายละเอียดในส่วนเงาให้มากขึ้น ทำให้เห็นวัตถุเป็น 3 มิติ โดยทั่วไปมักใช้แหล่งของแสง ที่เป็น diffused light เช่นใช้แสงสะท้อนหรือไฟร่ม

แสงเพื่อการถ่ายภาพ : การจัดแสงเพื่อการถ่ายภาพบุคคล 3. ไฟดวงที่ 3 คือ แสงแยกหรือแสงเน้นรูปทรง (Seperate light ,Hair light ,Accent light) เป็นแสงที่ใช้เพิ่มเติมในการถ่ายภาพ ในสถานที่เพื่อช่วยให้เห็นรูปทรงของวัตถุเพิ่มมิติที่สามด้านความลึก และช่วยแยกวัตถุให้เด่นออกมาจากฉากหลัง 4. ไฟดวงที่ 4 คือ แสงพื้นหลัง (Background light) ใช้แสงจากหลอดไฟขนาดเล็กวางระหว่างวัตถุกับฉากหลัง เพื่อให้ฉากหลังสว่างขึ้นตามปริมาณแสงที่ต้องการ เพื่อแยกวัตถุจากพื้นหลัง

Fill light key light

ภาพจากการจัดแสงไฟในห้องถ่ายภาพ (Studio) 31 31

อุปกรณ์สำหรับการถ่ายภาพในสตูดิโอ 32 32

อุปกรณ์สำหรับการถ่ายภาพในสตูดิโอ โคมไฟแฟลช (Lamp head) มี 2 ชนิดคือ - ระบบที่มีหน่วยจ่ายกำลังไฟในตัว (Compact Unit) - ระบบที่มีหน่วยจ่ายกำลังไฟแยกต่างหาก (Power Pack) 33 33

อุปกรณ์สำหรับการถ่ายภาพในสตูดิโอ โคมกระจายแสง (Reflector) แผ่นบังคับแสง (Barn Doors) กรวยแสง (Snoot) รังผึ้ง (Honeycomb Spot) ร่มสะท้อนแสง (Umbrella) กล่องแสง (Soft Box) หน่วยรับแสงแฟลช (Slave Unit) เครื่องวัดแสงแฟลช (Flash Meter) 34 34

อุปกรณ์สำหรับการถ่ายภาพในสตูดิโอ 35 35