งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 3 หน่วยความจำและสื่อบันทึกข้อมูล (Memory and storage)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 3 หน่วยความจำและสื่อบันทึกข้อมูล (Memory and storage)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 3 หน่วยความจำและสื่อบันทึกข้อมูล (Memory and storage)
Business Computer & Information Technology v.2018

2 วัตถุประสงค์การเรียนรู้
บทที่ 3 หน่วยความจำและสื่อบันทึกข้อมูล 5/5/2555 วัตถุประสงค์การเรียนรู้ มีความรู้และเข้าใจลักษณะของหน่วยความจำในแต่ละประเภท สามารถอธิบายถึงความแตกต่างของหน่วยความจำแต่ละประเภทได้ สามารถอธิบายความสำคัญของหน่วยความจำหลักแต่ละประเภทได้ สามารถบอกข้อจำกัดของหน่วยความจำแต่ละประเภทได้ สามารถเลือกใช้หน่วยความจำแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

3 เนื้อหา 3.1 บทนำ 3.2 หน่วยความจำหลัก (Primary Memory)
หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (ROM : Read Only Memory) หน่วยความจำหลักแบบอ่านและเขียนได้ (RAM : Random Access Memory) 3.2.3 หน่วยความจำความเร็วสูง (Cache Memory) 3.3 หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) 3.3.1 สื่อเก็บข้อมูลด้วยเทคโนโลยีแม่เหล็ก 3.3.2 สื่อเก็บข้อมูลด้วยแสง 3.3.3 สื่อเก็บข้อมูลแบบอื่นๆ 3.3.4 การจัดโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล กรณีศึกษา การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ตามประเภทการใช้งาน

4 3.1 บทนำ มนุษย์ต้องมีหน่วยความจำ เพื่อใช้ในการคิดวิเคราะห์ ประมวลผล และนำมาใช้ตัดสินใจ คอมพิวเตอร์เองก็เหมือนกับมนุษย์ ที่จะต้องมีหน่วยความจำ หากไม่มีหน่วยความจำ จะไม่สามารถ ประมวลผลได้ หน่วยความจำแรม หน่วยความจำรอม

5 3.2 หน่วยความจำหลัก (Primary Storage)
หน่วยความจำแรม หน่วยความจำรอม

6 ประเภทของหน่วยความจำหลัก
Memory Type ROM PROM EPROM EEPROM RAM SRAM DRAM Non-volatile Volatile

7 3.2.1 ROM (Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ไม่จำเป็นต้องใช้ไฟเลี้ยงตลอดเวลา (Non-volatile Memory) ROM เป็นชิปที่ฝังอยู่บนแผงวงจรหลัก ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียว ในหน่วยความจำ ROM จะเก็บคำสั่งที่จำเป็นในการเริ่มเปิดเครื่องครั้งแรก เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ (Firmware) ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ โปรแกรมชุดคำสั่งนี้จะถูกบรรจุไว้ใน ROM อย่างถาวรมาตั้งแต่กระบวนการผลิต

8 1. PROM : Programmable ROM
2. ERPROM (Erasable PROM) 3. EEPROM (Electrical EPROM)

9 1. PROM : Programmable ROM
เป็นหน่วยความจำที่ไม่สามารถลบหรือแก้ไขข้อมูลใด ๆ ลงไปได้ เนื่องจากมีการบรรจุคำสั่งต่าง ๆ มาจากโรงานผู้ผลิต รูปแสดง PROM

10 2. EPROM : Erasable Programmable ROM
เป็นหน่วยความจำที่พัฒนาให้สามารถลบและบรรจุคำสั่งต่างๆ ลงไปใหม่ได้ วิธีการลบใช้การฉายแสงอัลตร้าไวโอเลตลงไปในช่องกระจกบนตัวชิปช่วงระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นนำมาบรรจุคำสั่งใหม่ลงไปได้ รูปแสดง EPROM

11 3. EEPROM : Electrical Erasable EPROM
EEPROM (Electrical Erasable EPROM) หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า EAROM สามารถลบและเขียนข้อมูลลงไปใหม่ได้โดยใช้กระแสไฟฟ้าในการลบข้อมูลใน ROM รูปแสดงรอมชนิด EAROM

12 3.3.2 RAM (Random Access Memory )
12 RAM ย่อมาจาก Random Access Memory เป็นอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ในการพักข้อมูลก่อนทำการส่งไปยังซีพียู เมื่อซีพียูประมวลผลเสร็จเรียบร้อยแล้วจะนำข้อมูลดังกล่าวมาพักไว้ที่แรมอีกครั้งก่อนที่นำไปแสดงผล ข้อมูลใน RAM จะมีการจัดเก็บไว้เฉพาะเวลาที่มีไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น เมื่อปิดเครื่องหรือไม่มีกระแสไฟ หน่วยความจำดังกล่าวจะถูกลบไปด้วย

13 ประเภทของหน่วยความจำแรม (RAM)
13 หน่วยความจำแรมแบ่งออกตามโครงสร้างของการผลิตได้ดังนี้ SRAM (Static RAM) ทำจากวงจรที่มีการเก็บข้อมูลด้วยลักษณะ “มีไฟ” หรือ “ไม่มีไฟ” ดังนั้นข้อมูลจะยังคงอยู่ตลอดเวลาที่เครื่องทำงานหรือมีกระแสไฟฟ้าเลี้ยงวงจร จึงกินไฟมาก มีความร้อนสูง และไม่เหมาะที่จะออกแบบให้มีความจุสูงๆ แต่มีความเร็วในการทำงานสูงมาก นิยมทำเป็นหน่วยความจำแคช (Cache) ซึ่งอยู่ภายในซีพียูเพราะเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว DRAM (Dynamic RAM) ทำจากวงจรที่มีการเก็บข้อมูลด้วยสถานะ “มีประจุ” หรือ “ไม่มีประจุ” โดยจะสูญเสียประจุไฟฟ้าออกไปได้เรื่อยๆ จึงต้องมีการรีเฟรช (Refresh) เพื่อเติมประจุไฟฟ้าอยู่เป็นระยะ กินไฟน้อย ไม่เกิดความร้อนสูง สามารถออกแบบให้มีความจุสูงได้ จึงนิยมใช้เป็นหน่วยความจำหลักของระบบ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของชิปไอซี (Integrated Circuit) บรรจุบนแผงโมดูลของแรมชนิดต่างๆ เช่น SDRAM, DDR, DDR2, DDR3 และ RDRAM เป็นต้น

14 SDRAM รูปแสดงแรมชนิด SDRAM
14 SDRAM หรือ Synchronous DRAM เป็นแรมที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า จำนวนขาสัญญาณ 168 ขา และมีรอยบากอยู่ตรงกลางขาสัญญาณ 2 ร่อง ใช้เสียบกับสล๊อตแบบ DIMM (Dual Inline Memory Module) ขนาด 64 บิต สำหรับเครื่องที่มีความเร็วบัสตั้งแต่ 66,100,133 และ 200 MHZ SDRAM ปัจจุบันไม่ได้ค่อยนิยมนำมาใช้งาน และยกเลิกการผลิตแล้ว รูปแสดงแรมชนิด SDRAM

15 รูปแสดงแรมชนิด DDR3 SDRAM
15 DDR SDRAM ย่อมาจาก Double Data Rate SDRAM เป็นแรมที่ถูกพัฒนาจาก SDRAM โดยมีความเร็วในการทำงานเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ใช้เสียบกับสล๊อตแบบ DIMM มีจำนวนขาสัญญาณ 184 ขา มีรอยบาก 1 ร่อง ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมนำมาใช้งาน (DDR, DDR2, DDR3) รูปแสดงแรมชนิด DDR3 SDRAM

16 RDRAM (Rambus DRAM) เป็นแรมที่มีความเร็วสูงมาก ต้องใช้กับเมนบอร์ดความเร็วสูงและออกแบบมา เฉพาะสำหรับ RDRAM เท่านั้น ซึ่งเมนบอร์ดที่รองรับ RDRAM มีจำนวนน้อย กว่าแบบ DDR2 หรือ DDR3 RDRAM มีราคาสูงกว่าเมื่อเทียบกับ SDRAM และ DDR SDRAM รูปแสดง RDRAM

17 ขนาดความจุของหน่วยความจำของแรม
แรมที่มีขนาดหน่วยความจำที่ใหญ่มาก จะทำงานได้เร็วมากขึ้น การวัดขนาดของหน่วยความจำของแรม นิยมวัดโดยใช้หน่วยเป็นไบต์ (Byte) โดยเปรียบเทียบกับขนาดของตัวอักษร ดังนี้ 1 Byte (ไบต์) = 1 ตัวอักษร 1 KB (กิโลไบต์) = 1,024 ตัวอักษร ประมาณ 1 พันตัวอักษร 1 MB (เมกกะไบต์) = 1024*1024 = 1,048,576 ตัวอักษร ประมาณ 1 ล้านตัวอักษร 1 GB (กิกะไบต์) = 1024*1024*1024 = 1,073,741,824 ตัวอักษร ประมาณ 1 พันล้านตัวอักษร ปัจจุบันขนาดหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีขนาดตั้งแต่ 2GB, 4 GB, 8GB, 16GB เป็นต้น 8 bits = 1 byte 1024 bytes = 1 kilobyte (KB) = KB = 1 megabyte (MB) = MB = 1 gigabyte (GB) = GB = 1 terabyte (TB) = 1012

18 ความเร็วของ RAM ความเร็วของแรมจะระบุเป็นเมกะเฮิรตซ์คล้ายกับซีพียู เช่น แรมประเภท DDR3 ขนาดความจุ 16GB ความเร็ว 1,600 MHz เป็นต้น ผู้ใช้ต้องเลือกความเร็วของแรมให้เหมาะสมกับเมนบอร์ดที่ใช้ ซึ่งเมนบอร์ดแต่ละรุ่นจะระบุมาว่าใช้แรม ความเร็วได้เท่าไหร่ ทั้งนี้แรมที่ระบุให้ใช้กับเมนบอร์ดความเร็วสูงจะสามารถใช้กับเมนบอร์ดความเร็วต่ำได้ แต่แรมที่ระบุ ความเร็วต่ำอาจจะนำไปใช้กับเมนบอร์ดที่มีความเร็วเกินกว่านั้นไม่ได้ เช่น แรมที่มีความเร็ว 1,600 MHz ไปใส่ในเมนบอร์ดที่ต้องการแรมความเร็วสูงสุดแค่ 800 MHz ได้

19 3.2.3 หน่วยความจำความเร็วสูง (Cache Memory)
หน่วยความจำแคช เป็นหน่วยความจำขนาดเล็กที่มีความเร็วสูงและการถ่ายโอนข้อมูลที่สูง ทำหน้าที่เหมือนที่พักคำสั่งและข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างรอการประมวลผลเพื่อให้การทำงานโดยรวมเร็วขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปค้นหาจากแหล่งข้อมูลต้นทางทั้งหมด หน่วยความจำแคชแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แคชภายใน (Internal Cache) หรือ L1 หรือ Primary Cache หรือ Memory Cache เป็นแคชที่อยู่ในซีพียู แคชภายนอก (External Cache) หรือ L2 เป็นชิปแบบ SRAM ติดอยู่บนเมนบอร์ด ทำงานได้ช้ากว่าแบบแรก เรียกอีกชื่อว่า Secondary Cache หรือ Disk Cache

20 เปรียบเทียบความเร็วและขนาดความจุของหน่วยความจำ
ความเร็วในการเข้าถึงมากที่สุด CPU (Register) L1 Cache L2 Cache Physical RAM (Main Memory) Disk Storage (HDD, Flash Drive) Cost per type, access speed Capacity ขนาดความจุมากที่สุด

21 รูปแสดงเมนบอร์ด หรือแผงวงจรหลัก
เมนบอร์ด (Mainboard) หรือแผงวงจรหลัก 21 ภายในแผงวงจรในเมนบอร์ดจะมีเส้นทองแดงเป็นชุด เรียกว่า บัส (Bus) เพื่อใช้ส่งสัญญาณไฟฟ้าระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ภายในตัวเครื่องให้สามารถทำงานร่วมกันได้ รูปแสดงเมนบอร์ด หรือแผงวงจรหลัก

22 ชิปเซ็ต (ChipSet) Chipset ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดการและควบคุมการทำงานของ อุปกรณ์ทั้งหมดที่ติดตั้งบนเมนบอร์ด ผู้ผลิตชิปเซ็ตส่วนมากจะผลิตซีพียูด้วย เช่น Sis, Intel, VIA และ AMD เป็นต้น

23 ตัวอย่างชิปเซ็ต NVIDIA nForce (การ์ดจอแสดงผล)

24 3.3 หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)
การทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อการทำงานของหน่วยประมวลผลเสร็จสิ้นลงและต้องการเก็บบันทึกผลลัพธ์ ข้อมูล หรือกลุ่มคำสั่งต่างๆ ไว้ใช้ในอนาคต จะไม่สามารถเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักได้ เนื่องจากไม่มีพื้นที่เพียงพอ และข้อมูลจะหายไปถ้าหากมีการปิดเครื่องหรือไม่มีกระแสไฟฟ้า จึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีขนาดใหญ่กว่าหน่วยความจำหลักในการเก็บข้อมูลหรือเรียกว่าหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Device)

25 3.3.1 ประเภทของหน่วยความจำสำรอง
1. สื่อเก็บข้อมูลแบบจานแม่เหล็ก (Magnetic Disk Device) 2. สื่อเก็บข้อมูลด้วยแสง (Optical Storage Device) 3. สื่อเก็บข้อมูลแบบเทป (Tape Device) 4. สื่อเก็บข้อมูลอื่นๆ (Other Storage Device)

26 สื่อเก็บข้อมูลแบบจานแม่เหล็ก (Magnetic Disk Device)
เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลประเภทที่ใช้จานบันทึก (Disk) เช่น ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disks) หรือจาน แม่เหล็กแบบแข็ง เดิมนั้นมีจานแม่เหล็กแบบอ่อน เช่น ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) หรือแผ่นดิสก์เก็ตต์ ซึ่งเก็บข้อมูล ได้น้อยจึงหมดความนิยมและเลิกใช้งานกันไปแล้ว

27 ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disks)
ถูกติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องพิวเตอร์ เพื่อใช้จัดเก็บระบบปฏิบัติการ (Operating System) โปรแกรมประยุกต์ และข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากประมวลผล เพื่อนำมาใช้ต่อในอนาคต เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรงหรือแบบสุ่ม (Direct Access) โครงสร้างของจานแม่เหล็กมีลักษณะดังนี้ Track Sector Cylinder Cluster Read/Write Head

28 ประเภทของฮาร์ดดิสก์ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
ฮาร์ดดิสก์แบบภายใน (Internal Hard Disk) ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก (External Hard Disk)

29 ฮาร์ดดิสก์แบบภายใน (Internal Hard Disk)
เป็นฮาร์ดดิสก์แบบเคลื่อนย้ายไม่ได้ (Non-removable Hard Disk) ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กชนิดแข็ง เรียกว่า แพลตเตอร์ (Platter) ที่วางซ้อนกันหลาย ๆ แผ่น บันทึกข้อมูลลงบนแผ่นจานด้วยระบบแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แทร็กเดียวกันของชุดจานแม่เหล็ก เรียกว่า ไซลินเดอร์ (Cylinder) การทำงานของฮาร์ดดิสก์ ดูรายละเอียดได้ใน VDO นี้

30 ฮาร์ดดิสก์แบบ ภายนอก (External Hard Disk)
เป็นฮาร์ดดิสก์แบบเคลื่อนย้ายได้ (Removable Hard Disk) สามารถเชื่อมต่อและถอดออกจากระบบได้ง่าย ปัจจุบันนิยมต่อกับพอร์ต USB ฮาร์ดดิสก์ภายนอกที่ใช้กับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กจะมีขนาดเท่ากับบัตรเครดิต เรียกว่า พีซีการ์ดฮาร์ดดิสก์ (PC Card Hard Disk) หรือที่รู้จักกันแพร่หลายคือ ไมโครไดรฟ์ (Microdrive)

31 3.3.2 สื่อเก็บข้อมูลด้วยแสง (Optical Storage Device)
อุปกรณ์บันทึกข้อมูลด้วยเทคโนโลยีแสง จะใช้แสง เลเซอร์ในการบันทึกข้อมูล โดยจะมีการยิงแสง เลเซอร์ลงบนแผ่นออปติคัลดิสก์ (Optical Disk) การอ่านหรือบันทึกข้อมูลต้องใช้เครื่องออปติคัลดิสก์ ไดร์ฟ (Optical Disk Drive) การอ่านข้อมูลจะอาศัยแสงเลเซอร์ยิงไปตกระทบ พื้นผิวของแผ่นจานซึ่งจะมี 2 ลักษณะด้วยกันคือ พิต (Pit) มีลักษณะเป็นหลุมไม่สามารถสะท้อนแสง ได้ ค่ารหัสที่อ่านได้คือ 0 แลนด์ (Land) หรือส่วนที่เป็นผิวเรียบซึ่งสามารถ สะท้อนแสงกลับออกมาได้ ค่ารหัสที่อ่านได้คือ 1

32 3.3.2 สื่อเก็บข้อมูลด้วยแสง (Optical Storage Device)
อุปกรณ์บันทึกข้อมูลด้วยเทคโนโลยีแสง Compact Disk (CD) CD-ROM CD-R CD-RW Digital Video Disk (DVD) DVD-ROM DVD-R DVD-RW Hi-Def HD-DVD Blue-ray

33 Compact Disk (CD) ซีดีแต่ละแผ่นสามารถจุข้อมูลได้ประมาณ 650 เมกะไบต์ ถึง 1 กิกะไบต์ CD-ROM (Compact Disk Read Only Memory) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลประเภทอ่านได้อย่างเดียว นำมาเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น โปรแกรมชุด Microsoft Office   CD-R (Compact Disk Recordable) สามารถบันทึกลงแผ่นได้เพียงครั้งเดียวโดยใช้ CD-R Drive และอ่านข้อมูลได้หลายครั้ง CD-RW (Compact Disk Rewritable) สามารถอ่านและสามารถลบข้อมูลทั้งแผ่นพร้อมทั้งเริ่มเขียนใหม่ได้จะใช้คู่กับโปรแกรม และไดร์ฟ CD-Writer ที่สามารถอ่านแผ่น CD-ROM และ CD-R ได้

34 บทที่ 3 หน่วยความจำและสื่อบันทึกข้อมูล
5/5/2555 DVD (Digital Video Disk) เก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ กิกะไบต์ คิดเป็น 17 เท่าของแผ่นซีดี DVD-ROM (Digital Video Disk Read Only Memory) บันทึกข้อมูลเพียงอย่างเดียวเหมือนกับซีดีรอม นิยมใช้ดีวีดีรอมในการบันทึกภาพยนตร์เพื่อจำหน่าย DVD-R (Digital Video Disk Recordable) สามารถบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว ไม่สามารถบันทึกทับหรือลบได้ มักนำมาบันทึกข้อมูลปริมาณมากทั้งข้อมูลเพลงและวิดีโอ DVD-RW (Digital Video Disk Rewritable) สามารถเขียนข้อมูลซ้ำได้หลายครั้ง ปกติจะเล่นกับไดร์ฟ DVD-R/RW สามารถนำไปใช้งานเฉพาะบนเครื่องคอมฯ DVD+R/RW สามารถนำไปใช้งานได้กับเครื่องเล่น DVD อื่นๆ ได้ DVD-RAM (DVD-Random Access Memory) การบันทึกข้อมูลจะเป็นแบบฮาร์ดดิสก์ จะต้องมีไดร์ฟชนิดพิเศษในการอ่านและเขียนข้อมูล ใช้ในกล้องดิจิตอล หรือกล้องวิดีโอ

35 Hi Def (High Definition)
HD-DVD (High-Definition DVD ) เทคโนโลยีเดียวกับการผลิต DVD ทำให้ผู้ผลิตสามารถปรับผลิต HD-DVD ได้ มีความจุสูงถึง 15 – 30 กิกะไบต์ สามารถบันทึกวิดีโอคุณภาพสูงได้ถึง 8 ชั่วโมง Blu-Ray (BD) สามารถเก็บวิดีโอความคมชัดสูงได้ 9 ชั่วโมง สามารถเก็บไฟล์วิดีโอทั่วๆ ไปได้ 23 ชั่วโมง มีความจุ 25 – 50 กิกะไบต์ อัตราการถ่ายโอนข้อมูล 36 เมกะบิตต่อวินาที มีระบบป้องกันความเสียหายอันเกิดจากรอยขีดข่วนและรอยนิ้วมือได้ดี ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ ”สีน้ำเงิน” ต่างจาก DVD ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ ”สีแดง” ทำให้ไม่สามารถใช้กับไดร์ฟ DVD หรือ CD ปกติได้

36 สื่อเก็บข้อมูลแบบเทป (Tape Device)
เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบดั้งเดิม แต่ยังคงมีการใช้งานในองค์กรหรือหน่วยงานที่มีข้อมูลปริมาณมาก โดยจะใช้เทปในการเก็บบันทึกและสำรองข้อมูลจำนวนมากๆ ซึ่งไม่ค่อยได้ใช้ข้อมูลนั้นบ่อยนักแต่มีความ จำเป็นต้องสำรองข้อมูลตามนโยบายการรักษาความปลอดภัย ลักษณะการเข้าถึงข้อมูลจะเป็นแบบเรียง ตามลำดับต่อเนื่องกันไป (Sequential Access) เหมือนกับการฟังเทปที่ต้องฟังเรื่่อยๆ จนถึงข้อมูล ที่ต้องการ สื่อประเภทนี้ราคาถูกและมีอายุการใช้ยาวนานถึง 30 ปี ผู้ผลิตเทปบันทึกข้อมูลมีหลายบริษัท เช่น Sony, Quantum, Imation, Maxell, HP และ IBM เป็นต้น เทปที่ใช้เก็บข้อมูลมีหลายขนาดแตกต่างกันไป ซึ่งมีการพัฒนาให้สามารถจุข้อมูลได้ถึง 185TB

37 3.3.3 สื่อเก็บข้อมูลอื่นๆ (Other Storage Device)
อุปกรณ์หน่วยความจำแบบเฟลช (Flash Memory Device) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่นิยมใช้ โดยทั่วไป เพราะมีความจุสูง ใช้งานสะดวก สามารถใช้ได้ทั้งกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พกพาหลาย ประเภท รวมถึงอุปกรณ์ในบ้าน เช่น ทีวี เครืองเล่นเพลง เป็นต้น เช่น Flash Drive Memory Card SSD เทคโนโลยีฮาร์ดดิสก์ความเร็วสูง Cloud Storage (ระบบก้อนเมฆเก็บข้อมูล) ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

38 Flash Drive เป็นอุปกรณ์ที่มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น Flash Drive, Thumb Drive หรือ Handy Drive สามารถต่อพ่วงกับช่อง USB ของเครื่องคอมพิวเตอร์และอ่านข้อมูลโดยตรง ทำหน้าที่เป็นทั้งหน่วยความจำและไดรว์ (Drive) อ่านเขียนข้อมูลไปในตัว ซึ่งบางชนิดก็มีความสามารถในการเล่นเพลง MP3 ได้อีกด้วย

39 Memory Card เป็นอุปกรณ์หน่วยความจำแบบเฟลช ที่อยู่ในรูปแบบการ์ดเล็กๆ
นิยมใช้กับอุปกรณ์ดิจิตอลแบบพกพา เช่น กล้องถ่ายรูปดิจิตอล หรือสมาร์ทโฟน ใช้สำหรับเก็บข้อมูลได้ทุก ประเภททั้งไฟล์เสียง ไฟล์ภาพ วิดีโอ หรือไฟล์เอกสาร เป็นต้น มีหลายแบบให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม เช่น Compact Flash (CF), Mini SD, Memory Stick, Multi Media Card (MMC), SD Card และ Micro SD เป็นต้น

40 SSD เทคโนโลยีฮาร์ดดิสก์ความเร็วสูง
SSD (Solid State Drive) เป็นเทคโนโลยีที่นำ หน่วยความจำแบบเฟลช (Flash Memory) มีคุณสมบัติในการจัดเก็บข้อมูลได้โดยไม่ต้องมีกระแสไฟหล่อเลี้ยง Non-Volatile มาประยุกต์ใช้เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลในลักษณะ เดียวกับฮาร์ดดิสก์ มีความเร็วสูง กินไฟน้อย ไม่มีเสียงดัง ขนาดเบาบาง มีขนาดความ จุหลายขนาด เช่น 128GB, 512GB และ 1TB เป็นต้น ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยม ซึ่งยังมีราคาแพงกว่า HDD เนื่องจากมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลมากกว่า

41 Cloud Storage (ก้อนเมฆเก็บข้อมูล)
เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ ได้แก่ ไม่ต้องกลัวข้อมูลสูญหายหรือถูกโจรกรรม สามารถกำหนดให้เป็นแบบส่วนตัวหรือสาธารณะก็ได้ เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาทุกอุปกรณ์สื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต iCloud

42 Cloud Storage (ก้อนเมฆเก็บข้อมูล)

43 3.3.4 การจัดโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล (File Organization)
เป็นวิธีการกำหนดโครงสร้างเพื่อจัดเก็บข้อมูลไว้ในแฟ้มบน สื่อบันทึกข้อมูลสำรอง เพื่อให้การจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลมีความรวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสมกับความต้องการ แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะคือ โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential File Structure) โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม (Direct/Random File Structure) โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบลำดับเชิงดรรชนี (Index Sequential File Structure)

44 โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential File Structure)
โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลชนิดพื้นฐานที่สามารถใช้งาน ได้ง่าย จัดเก็บข้อมูลแบบเรียงลำดับ เรคอร์ดต่อเนื่องกันไป การอ่านหรือค้นคืนข้อมูลจะข้ามลำดับไปอ่านโดยตรง ไม่ได้ เหมาะสมกับงานที่มีการอ่านข้อมูลต่อเนื่องกันไป ตามลำดับและในปริมาณมาก จัดเก็บอยู่ในอุปกรณ์ประเภทเทปแม่เหล็ก (magnetic tape)

45 โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential File Structure)

46 โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม (Direct/Random File Structure)
โครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่เข้าถึงได้โดยตรง สามารถเลือกหรืออ่านค่าได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านเรคอร์ดแรกๆ การเข้าถึงข้อมูลทำได้เร็ว จัดเก็บในสื่อที่มีการเข้าถึงได้โดยตรงประเภทจานแม่เหล็ก เช่น ดิสเก็ตต์, ฮาร์ดดิสก์หรือ CD-ROM

47 โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบลำดับเชิงดรรชนี (Index Sequential File Structure)
รวมเอาความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่มและแบบเรียง ตามลำดับเข้าไว้ด้วยกัน ข้อมูลถูกเก็บเรียงกันตามลำดับไว้บนสื่อแบบสุ่ม และเข้าถึง ข้อมูลผ่านแฟ้มข้อมูลลำดับเชิงดรรชนี (indexed sequential file) ทำงานได้ยืดหยุ่นกว่าวิธีอื่นโดยเฉพาะกรณีที่มีข้อมูลมาก ๆ

48 โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบลำดับเชิงดรรชนี (Index Sequential File Structure)

49 เปรียบเทียบโครงสร้างแฟ้มข้อมูลแต่ละประเภท

50 Question ? ตอบคำถามกรณีศึกษา

51 Property Spec Notebook1 Spec Notebook2 Brand X1 X2 Model Inspiron N5459-W TH Inspiron N7460-W TH Processor Intel Core i7-6500U (2.50 GHz, 4 MB L3 Cache) Intel Core i5-7200U GHz (3M Cache) Graphics AMD Radeon R5 M335 (4GB GDDR3) NVIDIA GeForce 940MX 2GB GDDR5 Display Screen 14 inch (1366x768) TL HD 14.0-inch FHD (1920 x 1080) IPS Truelife LED-Backlit Display Main Memory 4GB DDR3L 1600MHz 4GB DDR4 2400MHz (2 Slot) Max. 32GB Hard Drive 1TB 5400 rpm SATA 128GB SSD + 500GB 5400 rpm Hard Drive Optical Disk Drive DVD Super Multi None Web Camera HD 720P Webcam 1.0 MP (1280x720) Network LAN 10/100 Mbps LAN 10/100/1000 Mbps Wireless Intel Centrino Wireless-AC 3160 WiFi ac Dual Band 2.4&5 GHz Bluetooth Bluetooth 4.0 Bluetooth 4.2 HDMI Port 1 Port USB2 Port USB3 Port 2 Port Card Reader SD card Battery 4 Cells 3 Cells OS Windows 10 Home (64 Bit) Windows 10 Home 64bit Weight 2.16 kg 1.60 kg Price 24,900 Baht 29,900 Baht

52 คำถามกรณีศึกษา นางสาวสมใจต้องการซื้อคอมพิวเตอร์สักเครื่องเพื่อใช้ในการเรียน ทำการบ้านและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ทางอินเตอร์เน็ต สมใจจึงนำข้อมูลระหว่างเครื่อง 2 เครื่องมาให้นิสิตช่วยพิจารณาในการเลือกซื้อ คอมพิวเตอร์ จากกรณีศึกษาดังกล่าวเมื่อนิสิตอ่านคุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 แล้วให้นิสิตอภิปราย ลักษณะต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสอง ความเหมือนและความต่าง และจะแนะนำคอมพิวเตอร์ เครื่องใดให้สมใจตัดสินใจซื้อ


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 3 หน่วยความจำและสื่อบันทึกข้อมูล (Memory and storage)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google