งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักเกณฑ์ในการตั้งตัวแทน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักเกณฑ์ในการตั้งตัวแทน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักเกณฑ์ในการตั้งตัวแทน
คาบ 2 อ พงษ์บวร ประสูตร์แสงจันทร์

2 การแต่งตั้งตัวแทน มาตรา 798 กิจการอันใดท่านบังคับไว้โดยกฎหมายว่าต้องทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย กิจการอันใดท่านบังคับไว้ว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องมีหลังฐานเป็นหนังสือด้วย

3 กิจการที่ต้องทำเป็นหนังสือ
หนังสือรับสภาพหนี้ มาตรา 193/14(1) การโอนสิทธิเรียกร้อง มาตรา 306 การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 456 วรรค 1 สัญญาเช่าซื้อ มาตรา 572 การตกลงให้เอาดอกเบี้ยทบต้น มาตรา Go50 สัญญาจำนอง มาตรา 714 การบอกกล่าวบังคับจำนำ มาตรา 764

4 กิจการที่ต้องทำเป็นหนังสือ
การโอนหุ้นระบุชื่อของบริษัทจำกัด มาตรา 1129 การให้ มาตรา การขายฝากอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 491 ประกอบ 456 การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางนิติกรรม มาตรา 1299 ว.1 การจำนองเครื่องจักร การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ตาม พรบ. การเช่าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อพาณิชย์กรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ.2542 มาตรา 4

5 กิจการที่ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ
สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ +สังหาฯพิเศษ มาตรา 456ว.2 คำมั่นในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ +สังหาฯพิเศษ มาตรา 456 ว.2 สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป ตามมาตรา 456 ว Go48 สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน 3 ปี หรือไม่ได้กำหนดเวลาเช่าตลอดอายุของผู้เช่า หรือผู้ให้เช่า มาตรา 538 การกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป มาตรา 653 การนำสืบเรื่องการชำระหนี้เงินกู้ มาตรา 653 ว.2

6 กิจการที่ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ
การค้ำประกัน มาตรา 680 ว.2 สัญญาประนีประนอมยอมความ มาตรา 851 สัญญาประกันภัย มาตรา 867 ว.1 สัญญาอนุญาโตตุลาการ มาตรา 6 พรบ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545

7 อธิบายหลักการตั้งตัวแทน
หลักฐานเป็นหนังสือ คืออะไร - หลักฐานที่ทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรและที่สำคัญต้องมีลายมือชื่อตัวการ ส่วนตัวแทนจะลงรายมือชื่อหรือไม่ก็ได้ - หลักฐานดังกล่าวจะทำขึ้นในรูปแบบใดก็ตาม จะเป็นหนังสือฉบับเดียว หรือหลายฉบับ และไม่ว่าจะตั้งใจทำขึ้นให้ไว้แก่ตัวแทน หรือบุคคลภายนอกยึดถือไว้หรือไม่ก็ตาม - หลักฐานเป็นหนังสือไม่จำเป็นต้องมีขึ้นในขณะเกิดสัญญาตั้งตัวแทน และจะทำขึ้นก่อน หรือหลังการที่ตัวแทนไปทำสัญญากับบุคคลภายนอกก็ได้

8 อธิบายหลักการตั้งตัวแทน
มาตรา 798 ไม่นำไปใช้ในกรณีเป็นตัวแทนโดยปริยาย หรือตัวแทนเชิด หรือตัวแทนโดยสัตยาบัน หรือกรณีตัวการโดยไม่เปิดเผยชื่อ แต่ใช้เฉพาะกับการแต่งตั้งตัวแทนโดยชัดแจ้ง ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนโดยลายลักษณ์อักษร หรือโดยวาจา “กิจการ” หมายถึง การใดๆที่มีผลในทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นนิติกรรมสัญญาต่างๆ การร้องทุกข์ การขอใบอนุญาต การฟ้องคดี การจดทะเบียนต่างๆ ในความสัมพันธ์ระหว่างตัวการกับตัวแทน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือไม่มีหนังสือก็บังคับกันได้ เพราะ มาตรา 798 เป็นบทบัญญัติที่จะบังคับใช้ในความผูกพันระหว่างตัวการกับบุคคลภายนอก ดังนั้น มาตรา 798 จึงมิใช่แบบของสัญญาตัวแทนที่ไม่ทำตามแล้วจะตกเป็นโมฆะ

9 อธิบายหลักการตั้งตัวแทน
ผลของการไม่ทำตามมาตรา 798 มีอยู่หลายกรณี ขึ้นอยู่กับว่านิติกรรมที่แต่งตั้งให้ตัวแทนไปทำกับบุคคลภายนอกมีแบบหรือไม่ ถ้าเรื่องใดมีแบบ ไม่ทำตามก็เป็นโมฆะ ถ้าไม่มีแบบผลก็อาจเป็นนิติกรรมที่ไม่สมบูรณ์ หรือ ฟ้องบังคับคดีมิได้ กิจการที่ต้องทำเป็นหนังสือนั้น มาตรา 9 ปพพ.บัญญัติว่า “เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ บุคคลผู้จะต้องทำหนังสือไม่จำเป็นต้องเขียนเอง แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น” ถ้าตั้งตัวแทนด้วยวาจาไปทำนิติกรรมที่ต้องทำเป็นหนังสือ เช่น ตัวแทนไปลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อนั้น เท่ากับลงชื่อโดยปราศจากอำนาจ สัญญาเช่าซื้อไม่มีผลใช้บังคับ

10 อธิบายหลักการตั้งตัวแทน
การทำหนังสือตั้งตัวแทนในกิจการที่ต้องทำเป็นหนังสือ ตัวการต้องมอบอำนาจเป็นหนังสือก่อนที่จะให้ตัวแทนไปทำสัญญากับบุคคลภายนอก ซึ่งต่างจากกรณีที่ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ ที่หลักฐานมีเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องก่อนฟ้องบังคับคดี การตั้งตัวแทนในกิจการที่ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือนั้น กฎหมายมิได้กำหนดไว้ว่า ถ้าฝ่าฝืนมาตรา 798 นี้ ผลจะเป็นอย่างไร แต่ก็พอเทียบเคียงจากบทบัญญัติที่กำหนดให้นิติกรรมเหล่านั้น เมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแล้วก็ไม่อาจฟ้องร้องบังคับตามสัญญานั้นๆได้(กล่าวคือ ไม่อาจฟ้องบังคับระหว่างตัวการ กับบุคคลภายนอกได้)

11 อธิบายหลักการตั้งตัวแทน
9. มีกิจการบางอย่างที่กฎหมายมิได้บัญญัติว่าจะต้องทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือเพียงอย่างเดียว ดังนั้นกิจการเหล่านี้จึงมิได้อยู่ในบังคับมาตรา 798 Go กิจการที่ไม่ต้องทำเป็นหนังสือ หรือหลักฐานเป็นหนังสือ ตัวการก็สามารถตั้งตัวแทนด้วยวาจาได้ เช่น - จ้างทำของ(ฎ.1646/2479,ฎ.158/2509) - การบอกเลิกสัญญา (ฎ.5196/2548) - การตั้งตัวแทนไปทวงค่าเช่า(ฎ.317/2489) - การบอกกล่าวบังคับจำนอง มาตรา 728 (ฎ.1657/2550)

12 สรุปข้อยกเว้นของ มาตรา 798
กรณีจะบังคับระหว่างตัวการ – ตัวแทนด้วยกัน Go58 ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ (ม.806) ตัวแทนโดยจำเป็น (ม.802) ตัวแทนเชิด (ม.821) Go59 ตัวแทนโดยปริยาย (ม.797 ว.2) กิจการที่กฎหมายมิได้บังคับต้องทำเป็นหนังสือ หรือหลักฐานเป็นหนังสือ Go51 ตัวแทนโดยสัตยาบัน (ม.823)

13 การแบ่งประเภทของตัวแทน
พิจารณาจากการเกิดขึ้นของตัวแทน - เกิดโดยการแต่งตั้งโดยชัดแจ้ง - เกิดขึ้นโดยปริยาย - เกิดขึ้นโดยการเชิด - เกิดขึ้นโดยการให้สัตยาบัน - เกิดขึ้นเพราะความจำเป็น

14 การแบ่งประเภทของตัวแทน
2. พิจารณาจากบำเหน็จ 2.1 ตัวแทนมีบำเหน็จ 2.2 ตัวแทนไม่มีบำเหน็จ 3. พิจารณาจากขอบเขตอำนาจของตัวแทน 3.1 ตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไป 3.2 ตัวแทนรับมอบอำนาจเฉพาะการ

15 ตัวแทนมีบำเหน็จ กฎหมายได้บัญญัติ สิทธิได้รับบำเหน็จของตัวแทนเอาไว้ใน มาตรา 803 ตัวแทนไม่มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จ เว้นแต่จะได้มีข้อตกลงกันไว้ในสัญญาว่ามีบำเหน็จ หรือทางการที่คู่สัญญาประพฤติต่อกันนั้นเป็นปริยายว่ามีบำเหน็จ หรือเคยเป็นธรรมเนียมมีบำเหน็จ 2. กรณีที่คู่สัญญามิได้ตกลงให้บำเหน็จต่อกันไว้ แต่ตามที่คู่สัญญาประพฤติปฎิบัติต่อกันนั้นเป็นปริยายว่ามีบำเหน็จ เช่น นายเอ เคยตั้งให้นายบีขายทีวีให้ลูกค้า ทุกครั้งที่นายบีขายได้ นายเอก็จะให้บำเหน็จร้อยละ 15 ต่อมานายเอ ตั้งให้นายบี ขายหม้อหุงข้าวไฟฟ้าให้ เช่นนี้นายบี ก็มีสิทธิได้รับบำเหน็จเช่นกัน แม้จะมิได้ตกลงกันไว้

16 ตัวแทนมีบำเหน็จ กรณีไม่เคยมีข้อตกลงให้บำเหน็จ แต่เคยมีธรรมเนียมว่ามีบำเหน็จ เช่น ผู้ให้ทนายความว่าความ เมื่อว่าความสู้คดีให้เสร็จแล้ว ตัวความจะปฎิเสธไม่จ่ายค่าบำเหน็จมิได้ จำนวนค่าบำเหน็จตอบแทนนั้น ถ้ากำหนดไว้ก็เป็นไปตามที่ตกลง ถ้าไม่ระบุไว้ และไม่สามารถตกลงกันได้ ศาลก็จะให้ตามสมควร โดยอาจเทียบเคียงตามสัญญาจ้างทำของ หรือจ้างแรงงาน เวลาที่จ่ายค่าบำเหน็จ มาตรา 817 ในกรณีที่มีบำเหน็จตัวแทน ถ้าไม่มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ท่านว่าบำเหน็จนั้นพึงจ่ายให้ต่อเมื่อการเป็นตัวแทนได้สุดสิ้นลงแล้ว

17 ตัวแทนมีบำเหน็จ การหมดสิทธิได้รับบำเหน็จ เมื่อทำการโดยมิชอบ
มาตรา 818 การในหน้าที่ตัวแทนส่วนใดตัวแทนได้ทำมิชอบในส่วนนั้นท่านว่าตัวแทนไม่มีสิทธิจะได้บำเหน็จ “มิชอบ” หมายถึง ทำโดยไม่สุจริต ทำฝ่าฝืนหน้าที่ของตัวแทนตามสัญญาหรือตามกฎหมาย เช่น ตัวแทนเข้าทำนิติกรรมในนามของตัวการกับตนเอง หรือเข้าทำการแทนตัวการในฐานะที่ตนเป็นตัวแทนบุคคลภายนอกเองด้วยโดยตัวการไม่ยินยอม หรือเป็นกรณีตัวแทนกระทำโดยประมาทเลินเล่อ หรือปราศจากอำนาจ หรือเกินอำนาจแล้วก่อความเสียหายแก่ตัวการ

18 ตัวแทนรับมอบอำนาจเฉพาะการ
มาตรา 800 ถ้าตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ ท่านว่าจะทำการแทนตัวการได้แต่เพียงในสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้กิจอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสำเร็จลุล่วงไป อธิบาย ตัวแทนเฉพาะการ คือ ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้ง และมอบอำนาจให้กระทำการแทนตัวการเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ ตัวแทนประเภทนี้จะกระทำการเกินกว่าที่ได้รับมอบหมายมิได้ กิจการใดที่จะถือว่าได้รับมอบอำนาจ ต้องพิจารณาจากสัญญา หรือพฤติการณ์และกิจการที่มอบให้ไปทำ นอกจากนี้ก็อาจทำเกินกว่าที่มอบหมายได้เท่าที่จำเป็น เช่น มอบให้เอาบ้านออกขาย ตัวแทนพบเจอหลังคารั่วอยู่จึงซ่อมแซมทาสีให้ดูดีดังเดิม ถือว่าไม่เกินอำนาจ

19 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673/2514
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(2) "คดี"หมายความว่ากระบวนพิจารณานับตั้งแต่เสนอคำฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้รับรอง คุ้มครอง บังคับตาม หรือเพื่อการใช้ซึ่งสิทธิและหน้าที่การดำเนินคดีจึงหมายความรวมตั้งแต่ฟ้องร้องจนกระทั่งดำเนินการบังคับคดีด้วย ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ดำเนินคดีฟ้องร้อง ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์จนเสร็จคดี รวมตลอดถึงการยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทรัพย์และนำชี้ให้ยึดทรัพย์ด้วย โดยโจทก์ไม่จำต้องทำใบมอบอำนาจใหม่อีก

20 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2516
รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอยู่ในฐานะคู่ความซึ่งมีอำนาจยื่นคำฟ้องได้จึงชอบที่จะเรียงหรือแต่งคำฟ้อง รวมทั้งลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย หาจำต้องมอบอำนาจให้ทนายความเรียงหรือแต่งคำฟ้องให้อีกต่อหนึ่งไม่ ฉะนั้น คำฟ้องของโจทก์ซึ่งผู้รับมอบอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงจึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมาย

21 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2510
ตัวการมอบอำนาจให้ตัวแทนมีอำนาจรับจำนองที่พิพาทแทนจนเสร็จการตัวแทนย่อมมีอำนาจทำการใด ๆ ในสิ่งจำเป็นได้เพื่อให้การรับจำนองได้สำเร็จลุล่วงไป ตัวแทนได้ทำบันทึกให้ไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดินว่า “ รับทราบเรื่องเป็นความแล้ว ไม่ขัดข้องรับจำนอง” ผลก็เท่ากับตัวการได้รับจำนองไว้โดยรู้ว่าเขาเป็นความกัน และตัวแทนมีอำนาจกระทำการแทนตัวการในเรื่องนี้ได้ เพื่อให้การจำนองลุล่วงไป ตัวการจะปฎิเสธไม่รับรู้เรื่องการเป็นความกันแต่ยังรับจำนองมิได้

22 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1536/2514
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจทำนิติกรรมจำนองที่ดินของตน จำเลยที่ 1 ไปจำนองโดยมีข้อสัญญาด้วยว่าถ้าบังคับจำนองได้เงินน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระขาดอยู่เท่าใด ผู้จำนองและลูกหนี้ยอมรับผิดใช้เงินที่ขาดอยู่นั้นให้จนครบ สัญญาข้อนี้ไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เพราะเป็นการที่จำเลยที่ 1 กระทำนอกเหนือไปจากอำนาจที่ได้รับมอบ( เพราะข้อตกลงที่ทำนั้น เกินกว่าจำเป็น)

23 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2523
หนังสือมอบอำนาจมีใจความสำคัญว่า จำเลยมอบอำนาจให้ ว.เป็นผู้มีอำนาจจัดการจำนอง และขอประกาศการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการจำนองที่ดินและยังมีข้อความอีกว่าเงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาท้ายสัญญาจำนองแสดงชัดแจ้งว่า นอกจากจะมอบอำนาจให้ทำสัญญาจำนองแล้วยังมอบอำนาจให้ทำสัญญาท้ายสัญญาจำนองอีกด้วยมิฉะนั้นการจำนองจะไม่สำเร็จเรียบร้อยไปได้และหากไม่มีสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองโจทก์ก็คงไม่ทำสัญญาจำนองกับจำเลย จำเลยจึงต้องผูกพันตามข้อความในสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ระบุยกเว้น มาตรา 733 ด้วย

24 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1973/2515
ไวยาวัจกรให้กู้เงินของวัดและทำสัญญาในฐานะไวยาวัจกรของวัด ซึ่งเท่ากับทำสัญญาในฐานะตัวแทนของวัด เมื่อจะฟ้องผู้กู้ให้ชำระหนี้ เจ้าอาวาสหรือผู้รักษาการแทนเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องคดีแทนวัด ไวยาวัจกรซึ่งไม่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าอาวาสหรือผู้รักษาการแทนให้ดำเนินคดี หามีอำนาจฟ้องแทนวัดได้ไม่ (มอบอำนาจให้ปล่อยกู้ มิใช่มอบให้ฟ้องคดีเรียกเงินกู้ด้วย)

25 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2504
สามีมอบอำนาจให้ภริยาทำสัญญาจำนองแทน ดังนี้ เมื่อบอกกล่าวบังคับจำนองแก่ภริยา หามีผลไปถึงสามีไม่เพราะการมอบอำนาจนั้นไม่ได้รวมถึงการบังคับและไถ่จำนองด้วย

26 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1045/2522
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ อ.ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท ในคดีหนึ่งไปครั้งหนึ่งแล้ว จำเลยให้การว่าจำเลยมีสิทธิ อยู่ต่อไปชั่วเวลามีกำหนด โจทก์จึงถอนฟ้องอ้างว่ายังไม่ประสงค์ดำเนินคดีกับจำเลย ต่อมา อ.ใช้หนังสือมอบอำนาจนั้นฟ้องจำเลยคดีนี้ เช่นนี้กิจการที่โจทก์มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทยังไม่เสร็จสิ้นและโจทก์ยังมิได้ถอนหรือบอกเลิกการมอบอำนาจ อ.มีหน้าที่ฟ้องขับไล่จำเลยตามที่ได้รับมอบอำนาจ จึงใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวฟ้องขับไล่จำเลยในคดีนี้ได้

27 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4008/2539
โจทก์มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันไปจนเสร็จการแม้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะเคยฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาดังกล่าวมาครั้งหนึ่งแล้วก็ตามแต่ในคดีเดิมศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณากรณีจึงยังไม่เสร็จการตามที่ได้มอบอำนาจไว้การที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์อาศัยหนังสือมอบอำนาจที่เคยฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีเดิมมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ใหม่ภายในกำหนดอายุความในข้อหาเดิมอันเป็นมูลหนี้เดียวกันย่อมเป็นการฟ้องตามข้อกำหนดของหนังสือมอบอำนาจจึงไม่จำต้องทำหนังสือมอบอำนาจใหม่

28 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2523
ใบมอบอำนาจมีข้อความข้อหนึ่งว่า 'เป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลในทางแพ่งและอาญา เพื่อเรียกร้องทวงคืนซึ่งทรัพย์สิน ฯลฯ' นั้นถือได้ว่า ผู้ร้องได้มอบอำนาจให้ผู้รับมอบยื่นคำร้องต่อศาลขอคืนของกลางได้ เพราะการยื่นคำร้องขอคืนของกลางในคดีอาญาเป็นการใช้สิทธิดำเนินคดีในทางศาลอย่างหนึ่ง

29 ที่ถือว่าตัวแทนกระทำเกินกว่าอำนาจเฉพาะการ
แนวคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ถือว่าตัวแทนกระทำเกินกว่าอำนาจเฉพาะการ

30 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2502
เจ้าหนี้ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องความ มีข้อความว่า 'เป็น ผู้มีอำนาจเป็นโจทก์และดำเนินกระบวนพิจารณาฟ้องร้องบริษัทมหาสุวรรณจำเลย เพื่อเรียกเงินค่าวางประกันการใช้ไฟฟ้าค่าหม้อวัดกระแสไฟฟ้าและค่าเสียหายอื่นใดอันเกี่ยวกับคดีนี้ต่อศาลแทนข้าพเจ้าทุกประการ' ดังนี้ เป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องเรียกเงินค่าวางประกันการใช้ไฟฟ้า ฯลฯ เป็นการมอบให้ฟ้องคดีแพ่งสามัญโดยตรง โจทก์จึงไม่มีสิทธิอาศัยหนังสือมอบอำนาจนี้มาฟ้องบริษัทมหาสุวรรณเป็นจำเลยในคดีล้มละลายได้

31 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2513
โจทก์ทำสัญญาให้ ก. เช่าตลาดโดยให้รื้อตึกเก่าและแผงลอยออกแล้วสร้างตึกใหม่และมอบอำนาจให้ ก. เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้เช่าตึกและแผงลอย ไม่ใช่เป็นเรื่องโจทก์ตั้งให้ ก. เป็นตัวแทนไปตกลงเรื่องจะให้ค่าขนย้ายออกจากแผงลอย การที่ ก. ตกลงจะให้ค่าขนย้ายแก่ผู้ที่อยู่ในแผงลอย จึงไม่ผูกพันโจทก์

32 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2529
หนังสือมอบอำนาจช่วงมีข้อความว่า ผู้รับมอบอำนาจขอมอบอำนาจช่วงให้นายเสริมชาติ สุจริตพงศ์ฟ้องนายจำลองรุธิระวุฒิ บริษัทขอนแก่นยนต์จำกัดบริษัทธนกิจประกันภัย จำกัดต่อศาลแพ่งในเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหาย ทั้งนี้ให้รวมถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ทั้งในศาลและนอกศาล......ฯลฯ...'ข้อความตามที่ระบุไว้ดังกล่าวเป็นเรื่องโจทก์มอบอำนาจเฉพาะการมิใช่มอบอำนาจทั่วไป และระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงฟ้องเฉพาะจำเลยทั้งสามเท่านั้น แม้คำร้องของผู้รับมอบอำนาจช่วงที่ขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีมิใช่คำฟ้องแต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีแล้วก็มีผลให้จำเลยร่วมอาจถูกบังคับตามคำฟ้องได้ซึ่งมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องจำเลยร่วมให้ร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วยและที่มีข้อความระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ทั้งในศาลและนอกศาลนั้นย่อมหมายถึงให้ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับจำเลยทั้งสามตามที่ระบุชื่อไว้ในหนังสือมอบอำนาจช่วงนั้นเท่านั้นผู้รับมอบอำนาจช่วงจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี

33 ตัวแทนทั่วไป มาตรา 801 ถ้าตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไป ท่านว่าจะทำกิจใด ๆ ในทางจัดการแทนตัวการก็ย่อมทำได้ทุกอย่าง แต่การเช่นอย่างจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านว่าหาอาจจะทำได้ไม่ คือ (1) ขายหรือจำนองอสังหาริมทรัพย์ (2) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์กว่าสามปีขึ้นไป (3) ให้ (4) ประนีประนอมยอมความ (5) ยื่นฟ้องต่อศาล (6) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา

34 ตัวแทนทั่วไป คือ ตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจให้จัดการแทนตัวการได้ในทุกกิจการ เว้นแต่ ที่กฎหมายห้ามไว้
โดยหลัก ตัวแทนทั่วไปนี้ จะเป็นเรื่องที่ตัวการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทน แต่มิได้ระบุกิจการที่ให้ไปกระทำกับบุคคลภายนอกไว้โดยเฉพาะ แต่จะมีลักษณะเป็นการให้แนวนโยบาย หรือวัตถุประสงค์ในการทำกิจการการไว้ เช่น มอบอำนาจให้เป็นผู้จัดการสาขา มอบอำนาจให้บริหารทรัพย์สินโดยการเอาไปลงทุนให้งอกเงย เป็นต้น ตัวแทนโดยทั่วไป อาจเป็นเรื่องที่กำหนดเวลาการเป็นตัวแทนเอาไว้หรือไม่ก็ได้ และขอบเขตอำนาจของตัวแทนทั่วไปอาจกว้างมาก หรือเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น ตัวการมีกิจการรายอย่าง อาจตั้งนาย ก.เป็นตัวแทนทั่วไป ให้บริหารงานกิจการทั้งหมด หรือมอบให้ดูแลกิจการบางกิจการโดยให้ดูแลทั้งหมดในกิจการนั้นๆก็ได้

35 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2546
หนังสือมอบอำนาจทั่วไป มิได้มุ่งหมายให้ตัวแทนกระทำกิจการใดโดยเฉพาะเจาะจง ทั้งการฟ้องคดีก็มิได้ระบุตัวบุคคลผู้เป็นลูกหนี้หรือบุคคลที่จะถูกฟ้องว่าเป็นบุคคลใด ย่อมมีผลเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว โจทก์จึงใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวฟ้องลูกหนี้ของโจทก์ได้ทุกคดีโดยไม่มีจำกัดจำนวนคดีและตัวบุคคล แม้โจทก์จะเคยใช้หนังสือมอบอำนาจฟ้องจำเลยมาแล้ว โจทก์ก็มีอำนาจใช้หนังสือมอบอำนาจฉบับเดิมมาฟ้องจำเลยในคดีนี้อีก

36 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2513
จำเลยเป็นเพียงตัวแทนทั่วไปของบริษัทยิบอินซอย จำกัด ไม่มีอำนาจยื่นฟ้องคดีต่อศาล การฟ้องแย้งเป็นการฟ้องคดีอย่างหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่ามีใบมอบอำนาจจากบริษัทดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งได้

37 ข้อสังเกต มาตรา 801 ห้ามเฉพาะการขาย หรือจำนองอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น ถ้าเป็นการเอาสังหาริมทรัพย์(+สังหาฯพิเศษ)ไปขาย หรือเอาไปจำนำ ตัวแทนทั่วไปสามารถกระทำได้ (อนึ่ง การขาย หรือนำไปจำนองมีลักษณะเป็นในทางจำหน่ายสิทธิ กม.จึงห้าม แต่การขายจะกินความถึงการแลกเปลี่ยน การให้เช่าซื้อ หรือไม่ ยังไม่มีคำพิพากษาเป็นบรรทัดฐานเอาไว้) มาตรา 801 ห้ามเฉพาะการขาย มิได้ห้ามการซื้อ หรือห้ามรับจำนอง ดังนั้นตัวแทนทั่วไปย่อมซื้อ หรือรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ได้ มาตรา 801 มิได้ห้ามการเช่าอสังหาริมทรัพย์ และไม่ได้ห้ามการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ด้วย

38 ข้อสังเกต 4. การยื่นฟ้องต่อศาลที่ห้ามตัวแทนทั่วไปทำโดยพลการนั้น หมายรวมถึง การฟ้องแย้งด้วย (ฎ.588/2513) 5. ในการแต่งตั้งตัวแทนทั่วไป หากมีการระบุขอบอำนาจเพิ่มเติมเฉพาะการไว้ด้วยก็มีอำนาจทำการเฉพาะเพิ่มเติมด้วย เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2489 ตัวการมอบอำนาจ ให้ตัวแทนมีอำนาจทั่วไปในการจัดการทรัพย์สินของตนและในใบมอบอำนาจนั้นได้ระบุไว้ชัดว่าให้กินความถึงการฟ้องความด้วยเช่นนี้ เป็นใบมอบอำนาจให้ฟ้องความได้ตามกฎหมาย

39 คำพิพากษาที่ 1267/2526 หนังสือมอบอำนาจมีใจความว่า ขอมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจทั้งปวงจัดการเกี่ยวกับการขอรับมรดก และมีอำนาจเต็มที่ในการรับและจัดการมรดกดังกล่าวดังนี้ เป็นการมอบอำนาจเฉพาะการให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจในการขอรับมรดกและมีลักษณะเป็นการตั้งให้เป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไปที่จะจัดการเกี่ยวกับมรดกที่ได้รับมาได้ตามสมควรผู้รับมอบอำนาจย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดีขอให้ศาลถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกและแต่งตั้งให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกแทนหรือร่วมกับจำเลยเพราะเป็นการขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801(5)

40 ข้อสังเกต ผู้แทนนิติบุคคล มิใช่ตัวแทนโดยทั่วไปของนิติบุคคล ดังนั้น กรรมการผู้จัดการ กรรมการของนิติบุคคล หรือหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ย่อมฟ้องคดีแทนนิติบุคคลได้ ไม่ต้องมีการมอบอำนาจจากนิติบุคคลอีก การห้ามมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาคดีนั้น แม้ตัวแทนทั่วไปจะรับมอบอำนาจเฉพาะการให้ฟ้องคดีด้วยแล้ว แต่ก็หาหมายความรวมไปถึงว่า มีอำนาจส่งมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการโดยปริยายไม่ แม้การพิจารณาของอนุญาโดตุลาการจะมีลักษณะเป็นองค์กรที่พิจารณาระงับข้อพิพาทก็ตาม

41 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 672/2486
ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนไปทำสัญญาในนามของห้างหุ้นส่วนห้างหุ้นส่วนย่อมมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญานั้นได้ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนนั้นแม้ตั้งผู้จัดการไว้สองคน ผู้จัดการแต่ละคนก็มีอำนาจจัดการได้ตามลำพัง ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนไปทำสัญญาในนามของห้างหุ้นส่วนนั้นไม่ตกอยู่ในบังคับ มาตรา 801,804แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

42 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2486
ข้อบังคับของบริษัทให้อำนาจกรรมการคนเดียวลงนามแทนบริษัทได้ก็ย่อมมีอำนาจลงนามผู้เดียวมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องความแทนบริษัทได้ ตาม มาตรา 1144 ไม่เกี่ยวกับ มาตรา 801

43 ตัวแทนในเหตุฉุกเฉิน หรือตัวแทนโดยจำเป็น
มาตรา 802 ในเหตุฉุกเฉิน เพื่อจะป้องกันมิให้ตัวการต้องเสียหายท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าตัวแทนจะทำการใด ๆ เช่นอย่างวิญญูชนจะพึงกระทำก็ย่อมมีอำนาจจะทำได้ทั้งสิ้น

44 อธิบายตัวแทนฉุกเฉิน ต้องเป็นตัวการตัวแทนกันมาก่อน(ไม่ว่าโดยชัดแจ้ง หรือปริยาย) มีเหตุฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วน ทำให้ตัวแทนต้องจะต้องกระทำการ(เหตุฉุกเฉิน หมายความว่า ไม่มีเวลา หรือโอกาสที่จะไปขออนุญาตจากตัวการได้ทัน โดยตัวแทนก็มิอาจล่วงรู้ หรือคาดเดาล่วงหน้าได้) ขอบอำนาจของตัวแทนฉุกเฉิน อาจพอกล่าวได้ว่า ไม่จำกัด เพียงแต่ตัวแทนจักต้องจัดการงานแทนพึงเช่นวิญญูชนพึงกระทำ ดังนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า ม.802 เป็นข้อยกเว้นของ ม.801 เรื่องตัวแทนทั่วไป การทำการแทนกรณีฉุกเฉินนี้ น่าจะต้องถือว่าเป็นหน้าที่ของตัวแทนในการปกปักษ์รักษาผลประโยชน์ของตัวการด้วย

45 อธิบายตัวแทนฉุกเฉิน ตัวแทนในเหตุฉุกเฉิน ไม่อยู่ในบังคับ มาตรา 798 ที่จะต้องทำเป็นหนังสือ หรือหลักฐานเป็นหนังสือ เพราะ หากมีเวลาพอที่จะตั้งเป็นหนังสือแล้ว คงเรียกมิได้ว่ามีกรณีฉุกเฉิน ผลของการเป็นตัวแทนฉุกเฉิน ทำให้มีอำนาจกระทำการแทนตัวการได้ แม้เป็นเรื่องที่ตัวแทนทั่วไปต้องห้ามกระทำตามมาตรา 801ว.2 ก็ตาม ตัวแทนฉุกเฉินต้องกระทำการโดยสุจริต เท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาผลประโยชน์และทรัพย์สินของตัวการ และถ้าจำเป็นก็อาจตั้งตัวแทนช่วงได้

46 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723 - 724/2502
แม้หากจะฟังว่าโจทก์เป็นตัวแทน แต่ไม่ได้รับมอบอำนาจให้ยื่นฟ้องคดี ตามปรกติจะถือว่ามีอำนาจยื่นฟ้องคดีโดยอ้างว่าเนื่องจากเหตุฉุกเฉินนั้นหาได้ไม่ เพราะไม่ปรากฏว่าถ้าไม่ฟ้องคดีตามวันที่ยื่นฟ้องนั้นจะเป็นการเสียหายแก่ตัวการอย่างใด เช่นคดีจะขาดอายุความเป็นต้นและทั้งจะถือว่าการยื่นฟ้อง เช่นว่านั้น เป็นการปฏิบัติการอย่างเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำก็ไม่ได้ เพราะปรากฏชัดอยู่แล้วตามใบมอบอำนาจว่า โจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนไม่มีอำนาจยื่นฟ้องคดี ปพพ. มาตรา 802 เป็นบทสันนิษฐานไว้ว่าตัวแทนมีอำนาจกระทำการแทนตัวการได้ในเหตุฉุกเฉิน ข้อสำคัญก็ต้องเป็นตัวแทนเสียก่อนแล้วกระทำการซึ่งเป็นการจำเป็นต่อไป และต้องเป็นตัวแทนในประเทศไทยด้วย ถ้าเป็นตัวแทนของโจทก์แต่เฉพาะในอาณานิคมฮ่องกง มิได้เป็นตัวแทนของโจทก์ในประเทศไทยด้วยแล้ว ก็ไม่มีกรณีที่จะอ้าง มาตรา 802 นี้ได้เลย

47 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2504
เมื่อบริษัทได้จดทะเบียนเลิกบริษัท และตั้งผู้อื่นเป็นผู้ชำระบัญชีแล้ว อำนาจของกรรมการบริษัทย่อมหมดไป กรรมการของบริษัท 2 นาย ซึ่งมิใช่ผู้ชำระบัญชีจึงไม่มีอำนาจลงชื่อในฟ้องฎีกาแทนบริษัทที่ได้เลิกไปก่อนวันยื่นฎีกานั้นได้ และผู้ชำระบัญชีจะให้สัตยาบันแก่ฎีกานั้นภายหลังที่พ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาแล้วไม่ได้

48 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2527
การตั้งตัวแทนซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไปซึ่งจำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น เมื่อฟังได้ว่าตัวการซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าและรับสินค้าไว้ อันถือได้ว่าได้มีการชำระหนี้แล้ว ก็ย่อมไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ # ปัจจุบันมีการแก้ไข มาตรา 456 วรรคสาม จาก 500 บาท เป็น 20,000 บาท Back5

49 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 304 - 305/2494
มอบรถยนต์ให้เขาไปขายให้เขาจึงได้จัดการขายไป โดยมอบรถยนต์แก่ผู้ซื้อไปแล้ว และรับชำระราคาบางส่วนแล้วดังนี้ ในกรณีเช่นนี้ การซื้อขายก็ดี การตั้งตัวแทนก็ดี กฎหมายมิได้บังคับให้ทำหลักฐานเป็นหนังสือ back11

50 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 342/2540
การตกลงระหว่างผู้กู้และผู้ให้กู้ที่ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้นำดอกเบี้ยที่ผู้กู้ค้างชำระไม่น้อยกว่า1ปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา655วรรคหนึ่งบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือหาได้บัญญัติว่าข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยทบต้นดังกล่าวจะต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้กู้กับผู้ให้กู้ไม่ดังนั้นหากข้อตกลงได้ทำหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ฝ่ายเดียวย่อมมีผลใช้บังคับได้ไม่จำต้องให้ผู้ให้กู้ลงลายมือชื่อด้วย Back3

51 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3339/2530
การตั้งตัวแทนให้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งได้มีการวางมัดจำกันไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแต่อย่างใด แม้ต่อมาจะได้มีการทำสัญญาจะซื้อขายเป็นหนังสืออีกก็ตาม Back 11

52 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1993/2536
สัญญาขายลดเช็คกฎหมายมิได้บังคับให้ทำหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ การที่จำเลยที่ 2 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 เจรจาตกลงขายลดเช็คแก่โจทก์ในนามของจำเลยที่ 1 ด้วยวาจาย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1

53 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2255/2527
จำเลยที่ 2 เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทได้รู้เห็นยินยอมให้ จำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการเชิดให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาตามนัยที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 กรณีดังกล่าวไม่ต้องทำเป็นหนังสือแต่งตั้งตัวแทนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 798

54 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4380/2531
ห้างโจทก์เดิมมี อ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ต่อมาห้างโจทก์เปลี่ยนหุ้นส่วนผู้จัดการเป็น น. แต่การดำเนินงานแทนห้างโจทก์อ. ยังเป็นผู้ดำเนินการแทนเมื่อห้างโจทก์อุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และได้ลงชื่อ อ.เป็นผู้อุทธรณ์เช่นนี้ถือได้ว่าห้างโจทก์เชิด อ.เป็นตัวแทนของห้างโจทก์โดยปริยาย และการเป็นตัวแทนเชิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821,797 ไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 798 การตั้งตัวแทนในกรณีเช่นนี้จึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ แม้ประมวลรัษฎากรจะได้กำหนดให้การอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดซึ่งได้กำหนดให้ทำเป็นหนังสือก็ตาม Back11

55 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2537
บริษัทโจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ จ.และอ.ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อในฐานะผู้ให้เช่าซื้อแทนโจทก์ จ.และอ.ย่อมมีอำนาจลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้โดยไม่ต้องระบุในสัญญาเช่าซื้ออีกว่าโจทก์มอบอำนาจให้ จ.และอ.กระทำการแทน

56 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2545
บทบัญญัติมาตรา 728 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิได้บัญญัติว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองต้องทำเป็นหนังสือกรณีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 798 วรรคหนึ่ง Back 3

57 คำพิพากษาที่ 3425/2533 การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น จำเลยจะนำสืบการใช้เงินได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653เมื่อได้ความว่าจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งที่มีใจความว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้เงินยืมคืนแล้วโดยโจทก์ผู้ให้ยืมลงลายมือชื่อมาแสดง และหนังสือกู้ยืมก็ยังอยู่ในความครอบครองของโจทก์โดยไม่ได้แทงเพิกถอนว่าได้รับชำระเงินยืมคืนแล้ว จำเลยก็ไม่อาจนำสืบถึงการใช้เงินได้ ใช้เงินกู้ยืมคืนโดยชำระแก่ตัวแทนของผู้ให้ยืม แต่การตั้งตัวแทนดังกล่าวไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงชื่อตั้งการเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 วรรคสองดังนี้ แม้ตัวแทนจะออกหลักฐานการรับเงินให้ผู้ยืมไว้ ก็ไม่ผูกพันผู้ให้ยืม

58 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7626/2547
โจทก์เป็นตัวแทนของจำเลยในการกู้ยืมเงินจากธนาคาร แล้วนำเงินที่กู้ยืมมามอบให้จำเลย แม้การเป็นตัวแทนในการกู้ยืมเงินจะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 798 วรรคสอง ก็มีผลบังคับกันได้ระหว่างตัวการกับตัวแทน เมื่อโจทก์ถูกบังคับชำระหนี้ที่กู้ยืม จำเลยจึงต้องรับผิดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยที่โจทก์ต้องเสียไปคืนให้โจทก์ Back12

59 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2525
ตัวแทนเชิดหรือตัวแทนโดยปริยายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 และมาตรา 797 วรรคสองนั้นไม่อยู่ในบังคับมาตรา 798 ไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ Back12

60 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2528
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ว.ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินของโจทก์แทนโจทก์ ว.ย่อมมีอำนาจลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้โดยไม่ต้องระบุในสัญญาเช่าซื้ออีกว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ว.กระทำการแทนโจทก์

61 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1657/2550
ป.พ.พ. มาตรา 728 บัญญัติว่า "เมื่อจะบังคับจำนองนั้น ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อน..." มิได้บัญญัติว่า การบอกกล่าวบังคับจำนองต้องทำเป็นหนังสือ ฉะนั้นการที่โจทก์มอบอำนาจให้ ว. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยจึงไม่ตกอยู่ในบังคับมาตรา 798 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้การตั้งตัวแทนต้องทำเป็นหนังสือ เมื่อ ว. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วไม่ชำระเงินแก่โจทก์ โจทก์จึงมาฟ้องคดี แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของ ว. เป็นการบอกกล่าวของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 วรรคหนึ่ง ถือว่าโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้ว Back11


ดาวน์โหลด ppt หลักเกณฑ์ในการตั้งตัวแทน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google