งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รหัสบ่งชี้โดยใช้ความถี่ของคลื่นวิทยุ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รหัสบ่งชี้โดยใช้ความถี่ของคลื่นวิทยุ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รหัสบ่งชี้โดยใช้ความถี่ของคลื่นวิทยุ
RFID(Radio Frequency IDentification)

2 คำถามเปิดประเด็น -หลายคนคงจะเคยได้ยิน RFID มาบ้าง ระบบ RFID ไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัวเรา หลายท่าน อาจเคยใช้งานระบบ RFID ในชีวิตประจำวันโดยไม่รู้ตัวก็ได้ อาจจะมีการเคยใช้มาบ้าง ตามหอพัก หรือสำนักงาน แล้วเราทราบกันมั้ยว่าเจ้าRFIDที่ว่านี้มันทำงานอย่างไร (อธิบาย) - เวลาที่เราไปซื้อของตามห้างต่างๆ ตอนนำสินค้าไปชำระเงินแคชเชียร์แค่หยิบของไป สแกนเข้าเครื่อง เราเคยสงสัยกันมั้ยว่าเครื่องมันรู้ได้อย่างไรว่าสินค้าไหนชิ้นจ่ายเงิน แล้วหรือยัง เพราะข้อมูลของสินค้าแต่ละชิ้นต้องอ่านที่บาร์โค้ด โดยจับมาอ่านที่เครื่อง สแกนด้วยแสงทีละตัว (อธิบาย) - เทคโนโลยีRFIDเราสามารถพบเจอได้ที่ไหนบ้าง(อธิบาย) - RFID ถูกนำมาใช้ในงานด้าน การค้าปลีก การผลิต การกระจายสินค้าและโลจิสติกส์ อย่างไร(อธิบาย) -เราทราบกันมั้ยว่าRFID ประโยชน์ของมันมีอะไรบ้าง(อธิบาย)

3 Vocabulaly List 1.Antenna สายอากาศ 2.Microchip ชิ้นซิลิคอนขนาดเล็กที่เก็บแผงวงจรไฟฟ้า 3.e-ticket ระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ 4.e-passport ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 5.Smart Key entry ระบบสมาร์ทคีย์ ช่วยในการปลดล็อคประตู โดยไม่ต้องใช้ กุญแจหรือ ทำการล็อคด้วยการกดปุ่มสวิทช์ที่มือจับประตู 6.Immobilizer ระบบกุญแจอิเล็กทรอนิกส์ 7.Low Frequency ย่านความถี่ต่ำ 8.High Frequency ย่านความถี่สูง 9.Ultra High Frequency ย่านความถี่สูงยิ่ง 10.Animal Tracking ระบบติดตามสัตว์เลี้ยงบนเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย

4 11.Food Traceability การตรวจสอบย้อนกลับของอาหาร
12.Collusion การตกลงกันระหว่างบุคคลสองฝ่าย 13.Magnetic dipole Antenna สายอากาศแบบ แมกเนติกไดโพล 14.Manchester encoded รูปแบบของการเข้ารหัสดิจิตอล 15.Phase Shift Keying วิธีการของการสื่อสารดิจิตอล 16.Freqeuecy Shift Keying การเปลี่ยนความถี่ของพาหะ 17.Frequency Modulation การส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียง 18.Decoding การเปลี่ยนสัญญาณไปเป็นข้อมูลข่าวสาร 19.Tranciever เป็นอุปกรณ์รวมตัวส่งและตัวรับในแพ็คเกจเดียว 20.Carrier พาหะ,ผู้ขนส่ง 21.Tuner เครื่องรับวิทยุขนาดใหญ่ 22.Processing Unit หน่วยประมวลผล 23.Barcode บาร์โค้ดหรือรหัสแท่ง ประกอบด้วยเส้นสีดำและเส้นสี ขาวเรียงกันเป็นแนวดิ่ง เป็นรหัสแทนตัวเลขและ ตัวอักษร ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้เครื่อง คอมพิวเตอร์สามารถอ่านรหัสข้อมูลได้ง่ายขึ้น 24.smart card บัตรพลาสติกขนาดเท่ากับบัตรเครดิตธรรมดา แต่ได้ ฝังชิปไมโครโพรเซสเซอร์ และชิปหน่วยความจำเอาไว้ด้วย

5 ประวัติการเริ่มต้นของ RFID
เริ่มต้นจากการใช้เรดาร์ตรวจจับเครื่องบินบนท้องฟ้า แต่ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าเป็นของฝ่ายใด จึงได้คิดค้นให้ เครื่องบินส่งข้อมูลเป็นสัญญาณวิทยุที่มีลักษณะเฉพาะตัว กลับไปที่สถานี เมื่อได้รับสัญญาณเรดาร์ ทำให้แยกแยะได้ ว่าเป็นเครื่องบินของฝ่ายใด ระบบนี้เรียกว่า ระบบ IFF (Identification Friend or Foe) ซึ่งต่อมาก็ได้พัฒนามาใช้ การส่งข้อมูลในระบบอื่น ๆ ต่อไป

6 RFID คืออะไร? RFID คือการบ่งชี้วัตถุโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งเป็นระบบบ่งชี้อัตโนมัติ (AUTO-ID) ชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่บ่งบอกวัตถุ สิ่งของ หรือคนได้โดย อัตโนมัติ ซึ่งจะทำการประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติโดยไม่ ต้องมีคนช่วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการทำงาน ลด ความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ และลดเวลาของการจัดเก็บข้อมูล ตัวอย่าง เทคโนโลยีระบบบ่งชี้อัตโนมัติ ได้แก่ รหัสแท่ง(barcode) บัตร เอนกประสงค์(smart card) ไบโอเมตริกซ์ เช่นการจำเสียงพูด แสกนลาย พิมพ์นิ้วมือ แสกนม่านตา และการบ่งชี้วัตถุโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ

7 ตัวอย่างเทคโนโลยีระบบบ่งชี้อัตโนมัติ

8 ระบบบ่งชี้อัตโนมัติ

9 ส่วนประกอบของระบบ RFID ในระบบ RFID จะต้องมีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 ส่วนด้วยกันคือ 1.ป้าย (Tag) 2.เครื่องสำหรับอ่าน/เขียน 3.ระบบประยุกต์ใช้งาน ได้แก่ฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์

10 แท็ก (TAX) โครงสร้างภายในของแท็กจะประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ ขดลวดขนาดเล็กซึ่งทำหน้าที่เป็นสายอากาศ (Antenna) สำหรับ รับส่งสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ และสร้างพลังงานป้อนให้ส่วนของ ไมโครชิป(Microchip) ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลของวัตถุเช่นรหัสสินค้า โดยทั่วไปตัวแท็กอาจอยู่ในชนิดทั้งเป็นกระดาษแผ่นฟิล์ม พลาสติก มีขนาดและรูปร่างต่างๆ กันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่จะนำเอาไปติด และมีหลายรูปแบบเช่น ขนาดเท่าบัตรเครดิต เหรียญ กระดุม ฉลาก สินค้า แคปซูล เป็นต้น ดังรูปที่ 2 แต่โดยหลักการอาจแบ่งแท็กที่มี การใช้งานกันอยู่ 2 ชนิดใหญ่ๆ แต่ละชนิดก็จะมีความแตกต่างกันใน แง่ของการใช้งานและราคา

11

12 เครื่องอ่าน/เขียน (READER) หน้าที่ของเครื่องอ่าน / เขียน คือ การเชื่อมต่อเพื่ออ่านหรือเขียนข้อมูลลงในป้ายด้วยสัญญาณความถี่วิทยุ ภายในเครื่องอ่านจะประกอบด้วย 1.ภาครับและส่งสัญญาณวิทยุ (Tranciever) 2.ภาคสร้างสัญญาณพาหะ (Carrier) 3.ขดลวดที่ทำหน้าที่เป็นสายอากาศ (Antenna) 4.วงจรจูนสัญญาณ (Tuner) 5.หน่วยประมวลผลข้อมูล (Processing Unit)

13 แสดงโครงสร้างภายในเครื่องอ่าน
หน่วยประมวลข้อมูลที่อยู่ภายในเครื่องอ่านมักใช้เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ ซึ่ง อัลกอริทึมที่อยู่ภายในโปรแกรมจะทำหน้าที่ถอดรหัสข้อมูล (Decoding) ที่ได้รับ และทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ ลักษณะขนาดและรูปร่างของเครื่องอ่านจะ แตกต่างกันไปตามประเภทของการใช้งาน เช่น แบบมือถือขนาดเล็กหรือติดผนัง จนไปถึงขนาดใหญ่ เท่าประตู (Gate size)เป็นต้น

14 วิธีการรับส่งข้อมูลระหว่างแท็กส์และเครื่องอ่าน
โดยมากมักจะใช้วิธีการมอดูเลตทางแอมพลิจูดหรือใช้การมอดูเลต ทางแอมพลิจูดบวกกับการเข้ารหัสแมนเชสเตอร์ ( Manchester encoded AM) แต่ทว่าในปัจจุบันก็มีแท็กส์ที่ใช้การมอดูเลตแบบ อื่นๆด้วย เช่น การมอดูเลชั่นแบบเฟสซีฟอิ้ง(Phase Shift Keying : PSK) ฟรีเควนซี่ซีฟคีย์อิ้ง (Freqeuecy Shift Keying : FSK) หรือ การใช้การมอดูเลตทางความถี่ (Frequency Modulation : FM)

15 ในการรับส่งข้อมูลหรือสัญญาณวิทยุระหว่างแท็กส์กับเครื่องอ่าน ได้อย่างมี ประสิทธิภาพต่อเมื่อสายอากาศมีความยาวที่เหมาะสมกับความถี่พาหะ ที่ใช้งาน เช่น เมื่อความถี่ใช้งานเป็น เมกะเฮิรตซ์ ความยาวของเสาอากาศ (เป็นเส้นตรง) ที่ เหมาะสมก็คือ แน่ นอนว่าในทางปฏิบัติคงไม่สามารถนำเสาอากาศที่ใหญ่ขนาด นั้นมาใช้งานกับแท็กส์ ขนาดเล็กได้ สายอากาศที่ดูจะเหมาะจะใช้ร่วมกับแท็กส์มากที่สุด ก็คือ สายอากาศที่เป็นขดลวดขนาดเล็กหรือที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่าสายอากาศแบบ แมกเนติกไดโพล (Magnetic dipole Antenna) รูปแบบของ สายอากาศแบบนี้ก็จะมีอยู่ หลากหลายทั้งแบบที่เป็นขดลวดพันแกนอากาศหรือแกน เฟอร์ไรต์ แบบที่เป็นวงลูปที่ ทำขึ้นจากลายทองแดงบนแผ่นวงจรพิมพ์ ทั้งที่เป็นลูปแบบวงกลมและสี่เหลี่ยม ทั้งนี้ ความเหมาะสมในการใช้งานก็แตกต่างกันไปตามความถี่พาหะและประเภทของงาน ด้วยเช่นกัน

16 การป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล (Anti-Collision)
ในการที่จะรับข้อมูลจากแท็กส์หลาย ๆ อัน ทั้งแท็กส์และตัวเครื่องอ่านต้อง ได้รับการออกแบบให้รองรับสภาวะที่มีแท็กส์มากกว่า 1 อันทำงาน (ส่ง สัญญาณ) มิเช่นนั้นแล้วสัญญาณพาหะก็จะมีการส่งออก ในเวลาเดียวกันทำให้ เกิดการชนของสัญญาณ (Collusion) จะ ทำให้ไม่มีข้อมูลใด ๆ ส่งถึงตัวเครื่อง อ่านเลย การติดต่อระหว่างแท็กส์กับตัวเครื่องอ่านเปรียบเสมือน บัสแบบ อนุกรม แต่บัสชนิดนี้จะใช้อากาศเป็นตัวกลางในการส่งสัญญาณ ในระบบบัสที่ ใช้เคเบิ้ลเป็นตัวกลางก็ต้องมีการควบคุมไม่ให้เกิดการชนกันของ สัญญาณ RFID ก็จำเป็นที่จะต้องมีการป้องกันให้มีการส่งสัญญาณจากแท็กส์อันเดียวต่อ ช่วงเวลานั้นเช่นกัน

17 จุดเด่นของ RFID 1.สามารถอ่านค่าข้อมูลจากป้าย (Tag) ได้หลายพร้อมๆ กัน แบบไร้สัมผัส 2.สามารถอ่านค่าได้แม้ในสภาพที่ทัศนวิสัยไม่ดี(มองไม่เห็น) 3.สามารถอ่านค่าได้แม้ไม่ต้องอยู่ในแนวเส้นตรง (Non-Line of Sight) 4.ทนต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก 5.สามารถอ่านข้อมูลได้ไกล 6.สามารถอ่านค่าข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง

18 การใช้งาน RFID ปัจจุบันการนำระบบ RFID มาประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น • ทดแทนระบบบาร์โค้ด (Barcode) รุ่นเก่า • Access Control/ Personal Identification หรือการเข้า-ออกอาคาร แทนการใช้บัตรแม่เหล็ก เมื่อใช้งานมากๆก็จะเสื่อมเร็ว แต่บัตรแบบ RFID (ProximityCard1) ใช้เพียงแตะหรือแสดงผ่าน หน้าเครื่องอ่านเท่านั้น รวมทั้งยังสามารถใช้กับการเช็คเวลาเข้า-ออกงานของพนักงานด้วย • ห่วงโซ่อุปทาน และระบบโลจิสติกส์ภาพที่จะเห็นในโรงงานอนาคตคือ สามารถติด Tag ไว้กับ ชิ้นงานเมื่อชิ้นงานผ่านสายพานขนสินค้าในโรงงาน แต่ละแผนกจะรู้ว่าต้องทำอย่างไร ติด อะไรบ้าง และต้องส่งไปที่ไหนต่อ รวมถึงการจัดการสินค้าในคลังสินค้าว่ารับสินค้ามาเมื่อใด จะต้องเก็บไว้ที่ไหน จะส่งไปที่ไหนอย่างไร ใครจะมารับ ส่วนภาพที่ผู้บริโภคจะเห็นคือ การซื้อ สินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต เวลาซื้อก็หยิบใส่ตะกร้า คิดเงินผ่านเครื่องอ่าน RFID ครั้งเดียวคิดเงินได้ ทันที ไม่ต้องหยิบมายิงบาร์โค้ดทีละชิ้นให้เสียเวลา

19 การนำ RFID มาใช้งานมาใช้ในชีวิตประจำวัน
(1) การค้าปลีก การผลิต การกระจายสินค้าและโลจิสติกส์ เช่น ตัวอย่างภาพที่เห็นชัด คือ การ ซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต เมื่อมีการคิดคำนวณราคารวม เครื่องอ่าน RFID สามารถคำนวณ ราคารวมภายในครั้งเดียวได้ทันทีดังที่กล่าวตอนต้นหรือการใช้งาน ในโรงงานโดยการติด Tag ไว้กับชิ้นงาน เมื่อชิ้นงานผ่านสายพานการผลิตในโรงงาน Reader จะส่งชิ้นงานเดินตาม สายพานไปแต่ละแผนกเป็นขั้นตอนและต้องส่งงานไปยังสถานี ถัดไป อย่างเช่นที่โรงงานหัวเว่ย ที่จีน บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกมี Ware house ใหญ่โตแต่มีคนเพียงสามสิบกว่าคนเท่านั้น โดย ใช้ RFID เดินสายลำเลียงสินค้าจัดวางตามชั้นต่างๆ ที่กำหนดไว้โดยอัตโนมัติหรือใช้อ่านสินค้า ในตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือเมื่อ เทียบท่าสามารถส่งคลื่นวิทยุเข้าไปอ่านข้อมูลสินค้าได้ทั้งหมด โดยไม่ต้อง เสียเวลาเปิดดูเรียกว่า secure trade หรือ operation safe commerce เพิ่มความ ปลอดภัยในการส่งสินค้าด้วย โดย Tag สามารถระบุและไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ว่าสินค้าเคย ถูกเปิดเมื่อใด เป็นต้น

20 (2) ด้านการแพทย์และช่วยเหลือคนพิการ มีการใช้งานสำหรับการทำ Asset tracking สำหรับ เครื่องมือแพทย์ที่มีราคาแพง ทำให้สามารถตรวจสอบการเก็บรักษาเครื่องมือแพทย์ได้สะดวก รวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีการใช้ RFID ในสุขภัณฑ์ยา โดยมี Reader ขนาดพกพา ให้ผู้ป่วยที่ตาบอด สามารถถือ Reader มือถืออ่าน Tag ที่ขวดยาและ Reader อ่านออกเสียงให้คนตาบอดทราบได้ว่า เป็น ยาอะไร หรือติด Tag ที่รถเมล์ก็ดี เมื่อวิ่งผ่านป้ายที่มี Reader ก็อ่านเลขรถอัตโนมัติคนตาบอดได้ขึ้น ได้ (3) ด้านการเกษตรกรรมและปศุสัตว์ ด้านนี้กำลังบูม ระบบ Animal Tracking ได้ถูกนำมาใช้กับ เกษตรกรไทย ในการพัฒนาด้านปศุสัตว์ให้เป็นระบบฟาร์มออโตเมชัน ด้วยชิป RFID ติดตัวสัตว์เลี้ยง ที่เราพบเห็นติดที่หูของวัว หรือหมู หรือให้วัวกินเข้าไปฝังในตัวเลยทำให้สามารถ ตรวจสอบสายพันธุ์ การให้อาหาร วันที่ฉีดยา และการควบคุมโรคติดต่อในสัตว์ได้ รวมถึงการใช้งานสำหรับทำการตรวจ ย้อนกลับแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์อาหาร (Food Traceability) หรือสินค้าเกษตรกรรมได้ ว่ากันว่าใน ยุคไข้หวัดนกระบาด ไก่ไทยนั้นล้มทั้งยืน ว่ากันว่าจากการมี RFID ในไทย ทำให้ ฟาร์ม ระบบปิดที่ ได้รับมาตรฐานความปลอดภัยจากอเมริกา สามารถส่งไก่ไปขายได้เพราะมี RFID Tag บันทึกข้อมูลที่ ไม่สามารถแก้ไขได้ เพื่อยืนยันว่ามาจากฟาร์มระบบปิดที่ได้รับการรับรอง ทำให้ไก่ไทยส่งออกได้ รวดเร็ว

21 (4) การเข้า-ออกอาคาร (Access Control / Personal Identification) หรือ แทนการใช้บัตรเสียบ Smart card เนื่องบัตรแถบแม่เหล็กเมื่อมีการใช้งานนานจะมีการชำรุดสูง แต่บัตรแบบ RFID ไม่มีการสัมผัส และเครื่องสามารถอ่านข้อมูลระยะไกลได้ด้วย เดินผ่านได้เลย เช่น หากเจ้าหน้าที่ตำรวจไปตรวจผับแห่ง หนึ่งสามารถ สแกนทั้ง ผับให้ทราบได้เลยว่าผู้ใดมีอายุไม่ครบ 18 ปี เป็นต้น ว่าแล้วก็อยากยุ แกล้งล้ม สัมปทาน Smart card ของ ไอซีที เลิกเหอะ ใช้บัตรประชาชน RFID ดีกว่า (5) ระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ (e-ticket) เช่น บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ใช่ๆ รถไฟใต้ดินใช้ RFID ถ้าบัตรทางด่วนรายเดือนใช้ด้วยจะช่วยประหยัดเวลาในการต่อคิวชำระเงินได้มาก โขเลยหรือประยุกต์ ตัดบัตรเครดิต เป็นต้น (6) ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-passport) เพื่อป้องกันผู้ก่อการร้ายหรือใช้งานสำหรับด้าน E- citizen ด้วย ทั่วโลกใช้กันแล้วและกระทรวงการต่างประเทศของไทยก็ใช้ เช่นกัน ใครมีพาสปอตใหม่คงรู้ (7) ระบบกุญแจอิเล็กทรอนิกส์ (Immobilizer) ในรถยนต์ ป้องกันการใช้กุญแจผิด และในการขโมย รถยนต์ (Smart Key entry) พวก Keyless ในรถยนต์ราคาแพงบางรุ่นก็เริ่มนำมาใช้งานแล้ว นอกจาก ฟันเฟืองกุญแจเข้ากันได้แล้ว ต้องมี Tag ฝังในตัวลูกกุญแจเพื่อจำกันได้ด้วย (8.) ระบบห้องสมุด ในการยืมหรือคืนหนังสืออัตโนมัติ ทำให้ผู้ใช้บริการได้รวดเร็วและสะดวกสบาย ยิ่งขึ้น ในมหาลัยชั้นนำของไทยล้วนมีใช้กันแล้ว เร็วจัง

22 ความถี่ที่ใช้งานคลื่นวิทยุที่นิยมใช้กับ RFID
ย่านความถี่ ระยะทาง การใช้งาน LF KHz น้อยกว่า 1 เมตร (10 เซนติเมตร) ปศุสัตว์ หรือป้ายสินค้ากันขโมย HF MHz น้อยกว่า 1.5 เมตร (~1 เมตร) ( ป้ายต่อวินาที) ห้องสมุด สมาร์ตการ์ด ระบบเปิด-ปิดประตู UHF MHz 1-5 เมตร (Passive) 1-100 เมตร (Active) ( ป้ายต่อวินาที) ตู้สินค้า รถบรรทุก Microwave 2.45 GHz, 5.8 GHz น้อยกว่า 1 เมตร (Passive) 1-15 เมตร (Active)

23 ในปัจจุบันคลื่นพาหะที่ใช้งานกันในระบบ RFID จะอยู่ในย่านความถี่ ISM (Industrial-Scientific-Medical) ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่กำหนดการใช้งานใน เชิงอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และการแพทย์ สามารถใช้งานได้โดยไม่ตรง กับย่านความถี่ที่ใช้งานในการสื่อสารทั่วไป สำหรับคลื่นพาหะที่ใช้กันใน ระบบRFID อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ย่านความถี่ใช้งานหลัก ได้แก่ • ย่านความถี่ต่ำ (Low Frequency: LH) ต่ำกว่า 150 kHz • ย่านความถี่สูง (High Frequency: HF) MHz • ย่านความถี่สูงยิ่ง (Ultra High Frequency: UHF) 433/868/915 MHz

24 ประโยชน์ของ RFID เนื่องจาก ข้อมูลของ RFID มีขนาดเล็ก และในปัจจุบันมีลักษณะเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ (RFID Tag) RFID จึงถูกติดตามฉลากสินค้าผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการติดตามข้อมูลหรือเก็บข้อมูลของ ผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้น หรือแม้กระทั่งหน้ารถก็มีป้าย RFID เพื่อใช้ในการจ่ายค่าผ่านทางได้อีกด้วย RFID มีข้อได้เปรียบมากกว่าระบบ Barcode ตรงที่ไม่ต้องอ่านข้อมูลในระดับสายตา เพราะมีการส่ง สัญญาณวิทยุ จึงทำให้มีความสะดวกมากขึ้น ซึ่งความสะดวกของ ป้าย RFID ในเรื่องอื่นๆ มีดังนี้ 1. มีความละเอียด และสามารถบรรจุข้อมูลได้ 2. มีความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแถบ RFID 3. สามารถอ่านข้อมูลได้พร้อมกันหลาย ๆ แถบ RFID 4. สามารถส่งข้อมูลไปยังเครื่องรับได้โดยไม่จำเป็นต้องนำไปจ่อในมุมที่เหมาะสม 5. สามารถเขียนทับข้อมูลได้ จึงทำให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 6. ไม่จำเป็นต้องติดไว้ภายนอกบรรจุภัณฑ์ 7. ระบบความปลอดภัยสูงกว่า ยากต่อการปลอมแปลงและลอกเลียนแบบ 8. ทนทานต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก

25 แบบฝึกหัด รหัสบ่งชี้โดยใช้ความถี่ของคลื่นวิทยุ
1.RFID คืออะไร และทำหน้าที่อะไร จงอธิบาย? 2.ในระบบ RFID มีองค์ประกอบหลักอยู่กี่ส่วน อะไรบ้าง? 3.จงบอกจุดเด่นของ RFID มาอย่างน้อย 3 ข้อ 4.เทคโนโลยี RFID สามารถนำไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกิจกรรม การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ในด้านใดบ้าง? 5.จงยกตัวอย่างเทคโนโลยี RFID ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

26 สมาชิกในกลุ่ม 1.นางสาวสุชิรา โกสิงห์ เลขที่ 10 รหัสนักศึกษา นายจักรนรินทร์ แก้วพงพาน เลขที่ 11 รหัสนักศึกษา นางสาวปิยะธิดา สายุต เลขที่ 12 รหัสนักศึกษา นางสาวสุนิษา แดงสีอ่อน เลขที่ 13 รหัสนักศึกษา สาขาการจัดการโลจิสติกส์ ปวสพ.2/6


ดาวน์โหลด ppt รหัสบ่งชี้โดยใช้ความถี่ของคลื่นวิทยุ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google