งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

มนุษย์กับเศรษฐกิจ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "มนุษย์กับเศรษฐกิจ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 มนุษย์กับเศรษฐกิจ

2 สังคมกับเศรษฐกิจ สถาบันเศรษฐกิจ หมายถึง สถาบันสังคมที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อความอยู่รอดสถาบันนี้มีหน้าที่หลัก 3 ประการดังนี้

3 2.การจำหน่ายจ่ายแจก 3. การอุปโภคบริโภค 1.การผลิต

4 1.การผลิต การทำหรือหาสินค้าและบริโภคเพื่อความต้องการของมนุษย์ อาหาร ยา การศึกษา คมนาคม

5 2.การจำหน่ายจ่ายแจก การนำสินค้าและบริการไปสู่สมาชิกของสังคมมีตลาดเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ผ่านธนาคาร พ่อค้า

6 3.การอุปโภคบริโภค การที่สมาชิกในสังคมกินหรือใช้สินค้าและบริการต่างๆที่ผลิตขึ้น

7 การบริโภคนิยม ระบบทุนนิยม โลกาภิวัฒน์เข้ามาครอบงำโครงสร้างเศรษฐกิจจนกลายเป็นเศรษฐกิจกระแสหลักปัจจุบัน จากบริษัทข้ามชาติเพื่อให้ปากท้องอิ่ม แต่หากบริโภคมากเกินไปจนเกิดความฟุ้งเฟ้อ เสียสุขภาพ

8 ลัทธิบูชาสินค้า เกิดจากระบบทุนนิยมที่เน้นการผลิตสินค้าและบริหารจนเลยความพอดี สินค้ากลายเป็นของศักดิ์สิทธ์ที่ทุกคนซื้อหามาครอบครอง เช่น โทรศัพท์ กระเป๋า รถยนต์

9 เศรษฐกิจกับแบบแผนการดำรงชีวิตของมนุษย์
การปฏิวัติเกษตรกรรม การปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมยุคหลังอุตสาหกรรม

10 1.การปฏิวัติเกษตรกรรม เริ่มจากการที่ยุคแรกมนุษย์หาของป่า ล่าสัตว์ เร่ร่อนไปตามสถานที่ต่างๆเพื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จนเมื่อประมาณ 10,000-8,000 มาแล้วมนุษย์รู้จักเพาะปลูกและใช้แรงงานจากสัตว์ จนผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตร จนสามารถเพิ่มผลผลิตได้จนเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 4 ประการดังนี้

11 การตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง
การทำงานตามทักษะ การตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง การค้าขาย เทคโนโลยีการเกษตร

12 2. การปฏิวัติอุตสาหกรรม
เกิดขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 เมื่อมนุษย์คิดค้นเครื่องจักรไอน้ำขึ้นมาลดการใช้แรงงานจากคนหรือสัตว์ การปฏิวัติอุตสาหกรรมนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ 5 ประการ

13 การใช้พลังงานใหม่ การทำงานในโรงงาน การผลิตจำนวนมาก การทำงานเฉพาะทาง มนุษย์รับจ้างแรงงาน

14 การใช้พลังงานใหม่ หลังจากเจมส์วัตต์ค้นพบเครื่องจักไอน้ำแล้วสามารถทดแทนแรงงานคนได้มากถึง 100 คน

15 การผลิตจำนวนมาก การแปรรูปผลผลิตทางธรรมชาติมาเป็นสินค้าต่างๆทำให้มนุษย์สะดวกสะบายกว่าเดิม

16 การทำงานเฉพาะทาง - เป็นกระบวนการที่เป็นการผลิตในโรงงานอุตสาหรรมเปลี่ยนจากการที่คนหนึ่งคนต้องทำงานทุกระบวนการเป็นการทำงานเฉพาะอย่างซ้ำๆส่งผลให้สามารถผลิตสินค้าได้สูงขึ้นภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว

17 มนุษย์รับจ้างแรงงาน จากเดิมที่เราเคยทำงานที่ครัวเรือนได้เปลี่ยนมารับจ้างขายแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม ทำงานรายวัน รายเดือน บุคคลที่ทำงานด้วยกันลูกจ้างและนายจ้างมีความสัมพันธ์กันตามบทบาทหน้าที่

18 3. การปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมยุคหลังอุตสาหกรรม
เดิมทีที่สังคมต้องพึ่งพาเครื่องยนต์และเทคโนโลยีสูง เช่น คอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูล การใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ทำให้สามารถลดการจ้างแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ธนาคาร โฆษณา ประชาสัมพันธ์

19 การปฏิวัติอุตสาหกรรมนำไปสู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจ 3 ประการ
การผลิตนวัตกรรมจากองค์ความรู้ การใช้ทักษะการสื่อสาร การทำงานที่ไม่จำกัดสถานที่

20 การผลิตนวัตกรรมจากองค์ความรู้
เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อการอุปโภคบริโภคต่างๆที่เห็นและจับต้องได้เพื่อตอบสนองความสบาย วิทยุ โทรทัศน์ รถยนต์ การเงิน การธนาคาร ล้วนอาศัยข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งมีผลเป็นอย่างมากต่อวิถีชีวิตในอนาคต

21 การใช้ทักษะการสื่อสาร
การทำงานในสังคมอุตสาหกรรมเน้นการใช้ทักษะฝีมือ แต่การทำงานในสังคมสารสนเทศเน้นไปที่การสื่อสารที่ใช้ภาษา อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น

22 การทำงานที่ไม่จำกัดสถานที่
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา

23 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
1. ระบบทุนนิยม คือ ระบบเศรษฐกิจที่ให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ดังนี้ เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต : ที่ดิน เงินทุน แรงงานดังนั้นเอกชนจึงมีสิทธิเสรีภาพในการจัดการทรัพย์สินของตน การแสวงหาผลกำไร: ระบบทุนนิยมยอมรับว่าการแสวงหาผลกำไรเพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำธุรกิจ เอกชนพยามหาวิธีใหม่ๆเพื่อลดต้นทุนและขยายกิจการ การแข่งขันและเสรีภาพของผู้บริโภค: ผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อสินค้าตามความพอใจแต่ถ้าหากผู้ผลิตรวบกิจการบางครั้งอาจเกิดการควบคุมสินค้าในทางอ้อมได้ กลไกการตลาด: อุปสงค์ อุปทาน บทบาทของรัฐ: รัฐบาลไม่เข้าไปแทรกแซงหรือควบคุมเศรษฐกิจโดยตรง สร้างเสถียรภาพให้ระบบทุนนิยมเติบโต

24 ข้อดี ข้อเสีย - เอกชนมีแรงจูงใจในการลงทุน - ทรัพยากรถูกนำมาใช้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ - สินค้ามีคุณภาพและราคาถูก - เจ้าของปัจจัยการผลิตมีเสรีในการใช้ปัจจัยที่ตนครอบครอง - เกิดการกระจายรายได้เฉพาะกลุ่มบุคคล - เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง - ธุรกิจขนาดใหญ่สามารถผูกขาดสินค้า

25 2. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
คือ ระบบเศรษฐกิจที่ให้รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินธุรกิจในทุกด้านทั้งสินค้าและบริการ ดังนี้ การถือครองกรรมสิทธิร่วมกันในทรัพย์สิน : รัฐบาลเป็นถือว่าที่ดิน เงินทุน เครื่องจักรเป็นทรัพย์สินส่วนกลางรัฐมีหน้าที่บริหารให้เกิดประโยชน์สูงสุด การไม่แสวงหาผลกำไร : การแสวงหากำไรจากธุรกิจถือเป็นความโลภเป็นสิ่งต้องห้ามระบบเศรษฐกิจเพื่อบริการสังคมส่วนรวม รัฐเป็นผู้ควบคุมในระบบเศรษฐกิจ : รัฐเป็นผู้วางแผนเศรษฐกิจของชาติทั้งหมด วางแผน ผลิต แจกจ่าย ตั้งราคา เอกชนสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กแต่ราคาต้องเป็นไปตามที่รัฐกำหนด

26 ข้อดี ข้อเสีย - เกิดการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม - ประชาชนได้รับสวัสดิการจากรัฐบาลทั่วถึงและเพียงพอ - ขาดแรงจูงใจในการลงทุน - ไม่มีเสรีภาพในการทำงาน - รัฐบาลเก็บภาษีในอัตราสูง

27 3. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม คือ ระบบเศรษฐกิจที่เกิดจากการผสมผสานของทุนนิยมและสังคมนิยม ข้อดี ข้อเสีย - การกระจายของรายได้และทรัพยากรเป็นธรรม - ผู้แรงงานได้อัตราค่าจ้างตามความสามารถ - เอกชนมีบทบาทในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น - ผู้บริโภคสามารถเลือกสินค้าและบริการได้ตามต้องการ - รัฐบาลไม่สามารถสั่งการแบบรีบด่วนได้ - การวางแผนจากรัฐเพื่อให้เอกชนดำเนินการหรือปฏิบัติตามเป็นไปได้ยาก - การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรัฐเป็นไปได้ยาก

28 4. รัฐสวัสดิการ เป็นระบบทางสังคมที่รัฐให้หลักประกันแก่ประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันในด้านปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น หลักประกันด้านสุขภาพ ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับบริการป้องกันและรักษาโรคฟรี หลักประกันด้านการศึกษา ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาตามความสามารถโดยได้รับทุนการศึกษาฟรีจนทำงานได้ตามความสามารถในการเรียน หลักประกันด้านการว่างงาน รัฐต้องช่วยให้ทุกคนได้งานทำ ใครยังหางานไม่ได้รัฐต้องให้เงินเดือนขั้นต่ำไปพลางก่อน หลักประกันด้านชราภาพ รัฐให้หลักประกันด้านบำนาญสำหรับผู้สูงอายุทุกคน หลักประกันด้านที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน เป็นต้น

29 ข้อดี ข้อเสีย - การกระจายของรายได้และทรัพยากรเป็นธรรม - สวัสดิการพื้นฐานเท่าเทียมกัน - ผู้บริโภคสามารถเลือกสินค้าและบริการได้ตามต้องการ - รัฐบาลรับภาระมาก - อัตราภาษีสูง คนที่มีรายได้สูงรู้สึกเสียเปรียบ ขาดการแข่งขันทำธุรกิจ

30 5. ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโดยรัฐ หรือทุนนิยมโดยวิถี
ระบบแบบนี้เน้นที่ความร่วมมือที่เข้มแข็งระหว่างรัฐและเอกชน รัฐบาลเข้ามามีส่วนช่วยให้เอกชนมีโอกาสทางธุรกิจ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย

31 งานเดี่ยว ให้วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่ว่า “ ประเทศไทยเหมาะกับระบบเศรษฐกิจแบบใดมากที่สุด ”

32 งานกลุ่ม ให้นิสิตศึกษาค้นคว้าและนำเสนอเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในยุคสมัยต่างๆ ดังหัวข้อต่อไป สมัยการปกครองของไทยแบบจารีตประเพณี (สมัยสุโขทัยมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ) สมัยการปกครองของไทยแบบตะวันตก (รัชกาลที่ 4 –รัชกาลที่ 7) สมัยประชาธิปไตยแบบอมาตยาธิปไตย (หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง – สิ้นสุดอำนาจของจอมพล ป. พิบูลสงคราม) สมัยประชาธิปไตยในยุคทหารและนายทุน (จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ – ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516) สมัยประชาธิปไตย ยุค หัวเลี้ยวหัวต่อ (2516 – 2535) สมัยประชาธิปไตยยุคปฏิรูปการเมือง (2535-ปัจจุบัน)

33 รูปแบบการนำเสนอ นำเสนอเป็น Power Point ปรินท์ไฟล์ Power Point ส่ง 1 ชุด นำเสนอเนื้อหาให้ครบถ้วน พร้อมถึงวิเคราะห์ จุดเด่นจุดด้อย ของการเมืองการปกครองในแต่ละรูปแบบ การนำเสนอ ให้นำเสนอทั้งกลุ่ม ต้องมีส่วนร่วมในการนำเสนอทุกคน (มีคะแนนในส่วนนำเสนอด้วย) ส่งแผ่น ซีดีไฟล์ นำเสนอ 1 แผ่น


ดาวน์โหลด ppt มนุษย์กับเศรษฐกิจ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google