งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อาจารย์ ดร.รวมพร นิคม คณะวิศวกรรมศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อาจารย์ ดร.รวมพร นิคม คณะวิศวกรรมศาสตร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อาจารย์ ดร.รวมพร นิคม คณะวิศวกรรมศาสตร์
ไฟฟ้ากับชีวิต (Electricity and Life) พลังงานไฟฟ้าในระบบแสงสว่าง อาจารย์ ดร.รวมพร นิคม คณะวิศวกรรมศาสตร์

2 เนื้อหา บทนำ แหล่งกำเนิดแสง นิยามศัพท์ที่สำคัญเกี่ยวกับแสง หลอดไฟฟ้า
การพิจารณาเลือกใช้หลอดไฟ อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับหลอดไฟฟ้าที่มีผลต่อประสิทธิภาพพลังงาน การอนุรักษ์พลังงานในระบบไฟฟ้าแสงสว่าง

3 1. บทนำ แสง คือ พลังงานในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำให้ประสาทนัยน์ตาของคนปกติ เกิดความรู้สึกในการมองเห็นได้ โดยแสงสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานรูปอื่นได้

4 1. บทนำ แสงสว่าง เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ระบบแสงสว่างที่ดี นอกจากจะทำให้การประกอบกิจกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเสียค่าใช้จ่ายในการใช้งานน้อยด้วย แสงที่ตามนุษย์สามารถมองเห็นได้ มีช่วงความยาวคลื่นอยู่ระหว่าง 380 – 780 นาโนเมตร ตามนุษย์สามารถแจกแจงแสงออกเป็นสีต่างๆ ได้ตั้งแต่ สีแดงซึ่งมีความยาวคลื่นยาวสุด สีส้ม, สีเหลือง, สีเขียว, สีน้ำเงิน สีคราม จนกระทั่งถึงสีม่วง ซึ่งมีความยาวคลื่นสั้นสุด

5 1. บทนำ ไฟฟ้าที่ใช้ตามอาคารบ้านเรือน ต้องป้อนไฟฟ้ากระแสสลับให้กับหลอดไฟ โดยที่แหล่งจ่ายไฟ คือโรงไฟฟ้าต่างๆ ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วส่งมาตามสายไฟฟ้าแรงสูง ผ่านหม้อแปลงที่การไฟฟ้าสถานีย่อย เพื่อแปลงแรงดันให้ลดลงเหลือประมาณ 12,000 โวลต์ แล้วส่งต่อมายังสายไฟตามถนนสายต่าง ๆ ก่อนที่จะต่อเข้าอาคารบ้านเรือน จะมีหม้อแปลงที่ใช้ในการแปลงไฟจาก 12,000 โวลต์ เป็น 220 โวลต์ 1 เฟส โดยที่สายไฟจะมี 2 เส้น คือ ไลน์ (Line) และ นิวตรอน (Neutral)

6 1. บทนำ วงจรไฟฟ้า การเกิดแสงสว่างในวงจรไฟฟ้าได้นั้น จะต้องประกอบด้วยแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำหรับป้อนแรงดัน และกระแสให้กับหลอดโดยผ่านสายไฟ หลอดไฟ Switch แหล่งจ่ายไฟ

7 2. แหล่งกำเนิดแสง แสงธรรมชาติ(Day lighting)
แสงประดิษฐ์ (Artificial light)

8 2. นิยามศัพท์ที่สำคัญเกี่ยวกับแสง
2.1 ฟลักซ์การส่องสว่าง (Luminous Flux) คือ ปริมาณแสงทั้งหมดที่ส่องออกจากแหล่งกำเนิดแสง เช่น หลอดไฟ มีหน่วยเป็น ลูเมน (Lumen, lm) 2.2 ความเข้มการส่องสว่าง (Luminous Intensity, I) คือ ความเข้มของแสงที่ส่องออกมาจากแหล่งกำเนิดแสงในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง มักใช้แสดงความเข้มของแสงที่มุมต่างๆ ของโคมไฟ มีหน่วยเป็น แคนเดลา (Candela, cd)

9 2. นิยามศัพท์ที่สำคัญเกี่ยวกับแสง
2.3 ความส่องสว่าง (Illuminance, E) คือ ปริมาณแสงที่ตกกระทบบนพื้นผิวต่อพื้นที่ อาจเรียกว่า ระดับความสว่าง (Lighting Illuminance level) เพื่อบอกว่าพื้นที่นั้นๆ ได้รับแสงสว่างมากน้อยเพียงใด มีหน่วยเป็น ลูเมนต่อตารางเมตร (lm/m2) หรือ ลักซ์ (Lux, lx) ค่าที่เหมาะสมสำหรับแต่ละพื้นที่สามารถดูคำแนะนำได้จากมาตรฐาน TIEA-GD 003 ของสมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย

10 2. นิยามศัพท์ที่สำคัญเกี่ยวกับแสง
2.4 ความสว่าง (Luminance, L) คือ ปริมาณแสงสะท้อนออกมาจากพื้นผิวใดๆ ในทิศทางใดทิศทางหนึ่งต่อพื้นที่ หรือเรียกว่า ความจ้า (Brightness) ซึ่งปริมาณแสงที่เท่ากัน เมื่อตกกระทบลงมาบนวัตถุที่มีสีต่างกัน จะมีปริมาณแสงสะท้อนกลับต่างกัน ทำให้เห็นวัตถุมีความสว่างต่างกัน มีหน่วยเป็น แคนเดลาต่อตารางเมตร (cd/m2) วัตถุต่างกัน % การสะท้อนต่างกัน

11 2. นิยามศัพท์ที่สำคัญเกี่ยวกับแสง
ความเข้มการส่องสว่าง ฟลักซ์การส่องสว่าง ความสว่าง ความส่องสว่าง

12 2. นิยามศัพท์ที่สำคัญเกี่ยวกับแสง

13 2. นิยามศัพท์ที่สำคัญเกี่ยวกับแสง
2.5 ค่าพลังงาน หรือ กำลังไฟฟ้า (Power) มีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt, W) คือค่าที่บอกปริมาณพลังงานไฟฟ้าของหลอดไฟ ยิ่งค่าพลังงานมาก (จำนวนวัตต์มาก) การกินไฟของหลอดก็จะมากด้วยเช่นกัน

14 2. นิยามศัพท์ที่สำคัญเกี่ยวกับแสง
2.6 ค่าประสิทธิภาพการส่องสว่างของหลอด (Lamp Luminous Efficacy) คืออัตราส่วนระหว่างปริมาณแสงที่หลอดเปล่งออกมาได้ (ฟลักซ์การส่องสว่างที่ออกจากหลอด) ต่อกำลังไฟฟ้าที่หลอด มีหน่วยเป็น ลูเมนต่อวัตต์ (lm/W)

15 2. นิยามศัพท์ที่สำคัญเกี่ยวกับแสง
2.7 อุณหภูมิสีของแสง (Color Temperature) เป็นการะบุสีของแสงที่ปรากฏให้เห็น โดยเทียบกับสีที่เกิดจากการเปล่งสีของการเผาไหม้วัตถุดำอุดมคติ (Black body) ให้ร้อนที่อุณหภูมิที่กำหนด มีหน่วยเป็น เคลวิน (Kelvin, K) เช่น แสงจากหลอดไส้หรือหลอดอินแคนเดสเซนต์มีอุณหภูทิสี 2,700 K มีอุณหภูมิต่ำ แสงที่ได้จะอยู่ในโทนสีร้อน (สีแดง) ส่วนแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาเที่ยงวันที่ให้แสงสีขาวนั้นมีอุณหภูมิสีประมาณ 5,500 K หรือแสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดสีเดย์ไลต์ (Daylight) ที่มีอุณหภูมิสี 5,500 K สามารถเปล่งแสงออกมาเป็นสีขาว

16 3. นิยามศัพท์ที่สำคัญเกี่ยวกับแสง
สีวอร์มไวท์ (Warm white) ให้แสงสีแดงออกโทนส้ม เป็นโทนสีร้อน โทนอบอุ่น อุณหภูมิสีของแสงอยู่ที่ < 3,000 K สีคูลไวท์ (Cool white) ให้แสงสีจะเริ่มออกมาทางสีขาว เป็นโทนสีที่ดูเย็นสบายตา ดูค่อนข้างสว่างกว่าเมื่อเทียบกับสีวอร์มไวท์ Warm white อุณหภูมิสีของแสงอยู่ที่ 3,000-4,500 K สีเดย์ไลท์ (Day light) ให้แสงสีโทนออกขาวอมฟ้า แต่คล้ายแสงธรรมชาติตอนเวลากลางวัน ดังนั้นค่าความถูกต้องของสีจึงมีมากกว่าค่าอุณหภูมิสีของแสงอยู่ที่ 4,500-6,500 K ขึ้นไป

17

18

19 ขั้วเข็มเสียบหรือบิด
ชนิดขั้วหลอดไฟ ขั้วเกลียว ขั้วเข็มเสียบหรือบิด ขั้วเข็มเสียบ ขั้วเข็มบิด

20 แบ่งตามลักษณะการให้แสงสว่าง
4. หลอดไฟฟ้า แบ่งตามลักษณะการให้แสงสว่าง

21 4. หลอดไฟฟ้า 4.1 หลอดอินแคนเดสเซนต์ (Incandescent lamp)
อาศัยหลักการจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านไส้หลอดทั่วไปทำจากทังสเตน ซึ่งทำให้เกิดความร้อนและแสงสว่างขึ้น หลอดไส้เป็นหลอดที่มีประสิทธิผล การส่องสว่างน้อยที่สุดในบรรดาหลอดทั้งหมด รวมทั้งมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างสั้นคือประมาณ 1, 000 – 3,000 ชั่วโมงแต่หลอดชนิดนี้ยังเป็นหลอดที่นิยมใช้เป็นอย่างมากเนื่องจากง่ายต่อการติดตั้งและค่าติดตั้งเริ่มต้นมีราคาถูก

22 4. หลอดไฟฟ้า 4.1.1 หลอดไส้แบบธรรมดา หลอดชนิดนี้ประกอบด้วยขดลวดทังสเตนบรรจุในหลอดแก้ว เมื่อกระแสไหลผ่านไส้หลอดจะเกิดการเปล่งแสงออกมา ขณะหลอดทำงานขดลวดทังสเตนจะค่อยๆ ระเหยจนกระทั่งหมดอายุการใช้งาน Inert gas (He, N2)

23 4. หลอดไฟฟ้า เหมาะสำหรับการให้แสงสว่างทั่วๆไปโดยเฉพาะบริเวณที่ต้องการความรู้สึกแบบอบอุ่น การให้แสงเน้นบรรยากาศเช่น บ้าน โรงแรม และร้านอาหาร เป็นต้น และการใช้งานแสงสว่างในระยะเวลาสั้นๆ เช่น ห้องเก็บของ ห้องน้ำ หลอดประเภทนี้มีอายุการใช้งานประมาณ 1,000 ชั่วโมง และมีราคาถูก Blackening Effect

24 4. หลอดไฟฟ้า 4.1.2 หลอดทังสเตนฮาโลเจน พัฒนาจากหลอดเผาไส้ธรรมดา โดยบรรจุธาตุตระกูลฮาโลเจนเข้าไปกับแก๊สที่บรรจุในหลอด แล้วอาศัยปรากฏการณ์ Halogen Regenerative Cycle ที่เกิดจากการรวมตัวของก๊าซฮาโลเจนกับโลหะทังสเตนที่ร้อนจนระเหิด แล้วกลายเป็นสารประกอบทังสเตน - ฮาโลเจนและกลับมาเกาะที่ไส้หลอดใหม่ ทำให้หลอดมีอายุการใช้งานมากขึ้น และช่วยให้หลอดไม่เปลี่ยนไปเป็นสีดำ

25 หลักการทำงาน  ภายในหลอดเป็น ไส้ที่ทำจากทังสเตน ให้แสงสว่างโดยการให้ความร้อนแก่ไส้หลอดที่เป็นลวดโลหะกระทั่งมีอุณหภูมิสูงและเปล่งแสง หลอดแก้วที่เติมแก๊สเฉื่อยหรือเป็นสุญญากาศป้องไม่ให้ไส้หลอดที่ร้อนสัมผัสอากาศ ในหลอดฮาโลเจน กระบวนการทางเคมีคืนให้โลหะเป็นไส้หลอด 

26 4. หลอดไฟฟ้า หลอดทังสเตนฮาโลเจนมีค่าประสิทธิผลการส่องสว่างสูงกว่าหลอดไส้แบบธรรมดาประมาณ 10% และมีอายุการใช้งานประมาณ 3,000 ชั่วโมง

27 4. หลอดไฟฟ้า 4.2 หลอดประเภทเรืองแสง (Luminescence Lamps)
อาศัยหลักการกระตุ้นสารเรืองแสง ทำให้เกิดแสงสว่างขึ้น สามารถแบ่งตามปรากฏการณ์การเรืองแสง ได้ 2 แบบ 4.2.1 Gas Discharge หรือ Photoluminescence 4.2.2 Solid state lighting หรือ Electroluminescence

28 4. หลอดไฟฟ้า 4.2.1 หลอดปล่อยประจุก๊าซ (Gas Discharge Lamp) หรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent Lamp) กำเนิดแสงได้โดยรังสีอัลตราไวโอเลตที่เกิดจากการคายประจุของไอปรอทความดันต่ำ ไปกระตุ้นสารเรืองแสง ภายในหลอดจะบรรจุด้วยแก๊สเฉื่อยประเภทอาร์กอน และไอปรอท บริเวณผิวหลอดแก้วด้านในเคลือบด้วยสารเรืองแสง เมื่อให้แรงดันไฟฟ้าจะเกิดการคายประจุขึ้น โดยแก๊สที่บรรจุอยู่ภายในหลอดจะแตกตัวเป็นไอออน ขั้วหลอดจะปลดปล่อยอิเล็กตรอนร้อนออกมาและชนกับไอปรอท ทำให้ไอปรอทเปล่งรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งรังสีอัลตราไวโอเลตจะไปกระตุ้นสารเรืองแสงที่เคลือบผิวด้านในของหลอดแก้ว เกิดแสงที่มองเห็นได้ (ปรากฏการณ์ Photoluminescence)

29 4. หลอดไฟฟ้า การใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ไม่สามารถต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าในบ้านได้โดยตรงเหมือนกับหลอดไฟฟ้าธรรมดา เพราะจะทำให้หลอดไส้ขาดทันทีที่กระแสไฟฟ้าผ่าน ดังนั้นจึงต้องใช้ต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่นอีก ได้แก่ สตาร์ตเตอร์ และบัลลัสต์ บัลลาสต์ (ballast) จะต่ออนุกรมกับหลอด ทำหน้าที่ควบคุมกระแสที่ไหลเข้าสู่ขั้วหลอด สตาร์ทเตอร์ (Starter) จะต่อขนานกับขั้วหลอดทั้งสองข้าง ทำหน้าที่จุดหลอด และถูกตัดออกมาจากวงจรเมื่อหลอดติด

30 วงจรการทำงานของหลอดฟลูออเรสเซนต์
4. หลอดไฟฟ้า วงจรการทำงานของหลอดฟลูออเรสเซนต์

31 4. หลอดไฟฟ้า วงจรสำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ส่วนมาก ไส้หลอดจะต้องทำการอุ่นก่อนการจุดหลอด ซึ่งการอุ่นจะอาศัยสตาร์ทเตอร์ อย่างไรก็ตามหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบจุดติดเร็ว (Rapid Start) ซึ่งมีการอุ่นไส้หลอดตลอดเวลา และหลอดแบบจุดติดทันที (Instant Start) ซึ่งไม่ต้องอุ่นไส้หลอด หลอดทั้ง 2 แบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีสตาร์ทเตอร์

32 4. หลอดไฟฟ้า ตัวอย่างหลอดปล่อยประจุก๊าซ
หลอดฟลูออเรสเซนต์รูปทรงกระบอก (Tubular Fluorescent) หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (Compact Fluorescent) หลอดโซเดียมความดันต่ำ (Low Pressure Sodium) หลอดไอปรอทความดันสูง (High Pressure Mercury) หลอดเมทัลฮาไลด์ (Metal Halide)

33 4. หลอดไฟฟ้า หลอดฟลูออเรสเซนต์ทรงกระบอกหรือหลอดนีออน นิยมใช้กันมากในปัจจุบันเนื่องจากให้แสงสว่างสูง คุณสมบัติเด่นคือมีสีของแสงที่เหมาะกับระดับความสว่างที่ใช้ในการทำงาน การเลือกใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ - ไม่เหมาะสำหรับใช้กับห้องที่มีเพดานสูงเกินกว่า 5-7 เมตร - เลือกสีของหลอดฟลูออเรสเซนต์ให้เหมาะสมกับงาน

34 4. หลอดไฟฟ้า หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ ถูกพัฒนามาทดแทน หลอดอินแคนเดสเซนต์ มีหลักการทำงานเหมือนหลอดฟลูออเรสเซนต์ โดยย่อขนาดตัวหลอดบัลลาสต์ และสตาร์ทเตอร์อยู่ในหลอด และประหยัดพลังงานกว่าหลอดอินแคนเดสเซนต์ - ประสิทธิภาพสูงกว่าหลอดอินแคนเดสเซนต์ คือประมาณ lm/W - อายุการใช้งานประมาณ 5,000-8,000 ชั่วโมง

35 4. หลอดไฟฟ้า หลอดโซเดียมความดันต่ำ เป็นหลอดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในบรรดาหลอดไฟชนิดปล่อยประจุก๊าซ แต่ให้แสงสีเหลืองจัด การเห็นสีของวัตถุจึงไม่ตรงกับความเป็นจริง อายุการใช้งานยาวนานมาก ส่วนมากจะเห็นใช้เป็นไฟถนน  การใช้งานหลอดโซเดียมความดันต่ำ - ควรใช้กับงานที่ไม่ต้องการความถูกต้องของสี เช่น ไฟถนน, ไฟส่องบริเวณทั่วไป - ไม่ควรใช้กับงานที่ต้องการความถูกต้องของสี เช่น บริเวณที่เกี่ยวข้องกับเงิน - ไม่ควรใช้กับบริเวณที่ต้องการแสงสว่างที่ติดทันทีทันใด เนื่องจากใช้เวลาจุดหลอดนาน

36 3. หลอดไฟฟ้า หลอดไอปรอทความดันสูง ความสว่างประมาณ 40 – 60 lm/W มีค่าความถูกต้องของสีค่อนข้างต่ำ (ประมาณ 60%) แสงจะออกสีนวล ส่วนใหญ่ใช้แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ เมื่อต้องการวัตต์สูงๆ ในพื้นที่ที่มีเพดานสูง การใช้งานหลอดไอปรอทความดันสูง - นิยมใช้แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์กรณีที่ใช้กับเพดานสูง - เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป แสงสว่างในที่สาธารณะ เช่น ไฟถนน สวนสาธารณะ บริเวณร้านค้า - ไม่เหมาะกับพื้นที่ที่ต้องการแสงสว่างที่จุดติดแบบทันทีทันใด

37 3. หลอดไฟฟ้า หลอดเมทัลฮาไลด์ เป็นหลอดที่นิยมใช้กันมากเพราะแสงเหมือนธรรมชาติ ความถูกต้องของสีสูง อุณหภูมิแสง 3,000-6,000 K ขึ้นอยู่กับขนาดของกำลังไฟ ส่วนใหญ่นิยมใช้กับที่ที่ต้องการความถูกต้องของสีมาก เช่น สนามกีฬาที่มีการถ่ายทอดโทรทัศน์  การใช้งานหลอดเมทัลฮาไลด์ - นิยมใช้แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์กรณีที่ใช้กับเพดานสูง - เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป แสงสว่างในสนามกีฬา บริเวณที่ต้องการความถูกต้องของสี เป็นต้น - ไม่เหมาะกับพื้นที่ที่ต้องการแสงสว่างที่จุดติดแบบทันทีทันใด

38 4. หลอดไฟฟ้า 4.2.2 หลอด LED (Light Emitting Diode) หรือหลอดไดโอดเปล่งแสง ไดโอดเปล่งแสง (LED) เป็นไดโอดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำ โดยเมื่อได้รับไฟฟ้าไบอัสตรง จะเกิดแสงที่ตัวไดโอด เรียกว่า ปรากฏการณ์ Electroluminescence

39 หลอด LED เป็นหลอดไฟที่นำเอาไดโอดเปล่งแสง มาใช้ในการแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานแสง ซึ่งแตกต่างจากหลอดไฟในอดีต ที่ให้แสงสว่างจากพลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นจากการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้า ทำให้หลอดไฟ LED มีความร้อนสะสมน้อย สามารถเปิด-ปิดได้บ่อยครั้ง ไม่มีการเสื่อมสภาพไปตามจำนวนการกดสวิตช์ ทำให้อายุการใช้งานนานกว่าหลอดไฟทั่วไป ไม่มีการปล่อยรังสียูวี หรือก๊าซอันตราย ตลอดจนปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้น้อยกว่าเมื่อเทียบกับหลอดไฟหลายๆ ชนิดที่ความสว่างใกล้เคียงกันกัน เทคนิคการผลิต LED แสงสีขาว           1. การเปลี่ยนความยาวคลื่น (Wavelength conversion) อาศัยสารเรืองแสงในการเปลี่ยนความยาวคลื่นแสงบางส่วนหรือทั้งหมด          2. การผสมสี (Color mixing) ใช้การผสมแม่สีแสงหลักโดยตรง เมื่อรวมแสงสีที่ออกมาแต่ละตัวอย่างเหมาะสมจะได้แสงสีขาว

40 5. การพิจารณาเลือกใช้หลอดไฟ
5.1 ชนิดของหลอดไฟเหมาะสมกับการใช้งาน ลักษณะการใช้งาน อายุการใช้งาน ราคา การสิ้นเปลืองพลังงาน

41

42 5. การพิจารณาเลือกใช้หลอดไฟ

43 5. การพิจารณาเลือกใช้หลอดไฟ
5.2 ค่าความส่องสว่างเหมาะสมกับพื้นที่ ห้องแต่ละประเภทต้องการความสว่างไม่เท่ากัน ค่าที่เหมาะสมสำหรับแต่ละพื้นที่สามารถดูคำแนะนำได้จากสมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย ปริมาณแสงที่ออกจากดวงโคม (lumen) E (lux) = พื้นที่ที่ต้องการส่องสว่าง (ตร.เมตร)

44 5. การพิจารณาเลือกใช้หลอดไฟ
ตัวอย่างระดับความส่องสว่างสำหรับพื้นที่ทำงานและกิจกรรมต่างๆ ภายในอาคาร 1. พื้นที่ภายในอาคารทั่วไป ความส่องสว่าง (lux) - โถงนั่งพัก 200 - พื้นที่ทางเดินภายในอาคาร 100 - ห้องน้ำ ห้องสุขา ห้องรับฝากของ - ห้องเก็บของ 50 2. อาคารสำนักงาน - พื้นที่เก็บเอกสาร ถ่ายเอกสาร และพื้นที่ทั่วไปที่มีการสัญจร 300 - พื้นที่ที่มีการเขียน พิมพ์ อ่าน ใช้คอมพิวเตอร์ 500 - ห้องประชุม - พื้นที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ข้อแนะนำของ สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย

45

46 5. การพิจารณาเลือกใช้หลอดไฟ
ตัวอย่างระดับความส่องสว่างสำหรับพื้นที่ทำงานและกิจกรรมต่างๆ ภายในอาคาร (ต่อ) 3. อาคารสถาบันการศึกษา โรงเรียน ความส่องสว่าง (lux) - พื้นที่สำหรับการเรียนการศึกษาทั่วๆ ไป 300 - พื้นที่หน้ากระดานดำ 500 - ห้องฝึกหัดทางคอมพิวเตอร์ 4. ห้องสมุด - พื้นที่ชั้นวางหนังสือ 200 - พื้นที่อ่านหนังสือ 5. อุตสาหกรรมรถยนต์ - พื้นที่ตกแต่งสี 1,000 - พื้นที่ผลิตทำงานใต้ท้องรถโดยคน ข้อแนะนำของ สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย

47

48

49 5. การพิจารณาเลือกใช้หลอดไฟ
5.3 อุณหภูมิสีเหมาะสมกับการใช้งาน หลอดไฟ Warm White มีอุณหภูมิสีอยู่ที่ 2,500-3,300 K ให้แสงในโทนส้ม ช่วยให้รู้สึกถึงความอบอุ่น หลอดไฟ Cool White มีอุณหภูมิสีอยู่ที่ 4,000 K ให้แสงขาวสว่างสดใสในโทนอุ่น อยู่ในช่วงกึ่งกลางระหว่าง Warm White และ Daylight White หลอดไฟ Daylight White มีอุณหภูมิสีอยู่ที่ 6,000-6,500 K  ให้แสงขาวในโทนฟ้า สว่างสดใส ช่วยกระตุ้นร่างกายให้กระปรี้กระเปร่า ไม่ง่วงนอนง่าย

50 5. การพิจารณาเลือกใช้หลอดไฟ
Choose the Right Color Temperature 3,000K 2,700K 2,500K Color temperature can change the “feel” of a room.

51 5. การพิจารณาเลือกใช้หลอดไฟ
ห้องทำงานหรือสำนักงานออฟฟิศ ควรต้องใช้ความสว่างให้เพียงพอ คือให้สามารถเห็นสิ่งต่างๆ ได้อย่างชัดเจน แสงไฟที่เหมาะสมคือแสงขาว ที่สว่างสดใส ให้ความสว่างสบายตา เพื่อสร้างสมาธิและช่วยกระตุ้นในการทำงาน หลอดไฟที่เหมาะสมก็คือ หลอดไฟ Daylight White เพื่อสร้างสมาธิและช่วยกระตุ้นการทำงาน

52 ห้องน้ำ มักเน้นให้ความรู้สึกที่ดูแล้วรู้สึกสะอาดตา เงียบสงบ ซึ่งในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของบรรยากาศให้มีความหลากหลาย แต่ละคนก็มีความชอบที่แตกต่างกัน บางคนชอบแบบสว่างสดใส สามารถใช้เวลาอยู่ได้นาน หลอดไฟที่ควรใช้ก็คือ หลอดไฟ Daylight White แต่หากต้องการความรู้สึกผ่อนคลาย ปลดปล่อยอารมณ์ ทิ้งกายในอ่างน้ำแบบร้านสปา หลอดไฟที่เหมาะสมก็คือ หลอดไฟ Warm White และ Cool White

53 5. การพิจารณาเลือกใช้หลอดไฟ
ห้องนอน เป็นสถานที่ๆ เราต้องใช้เวลาเกือบ 6 – 8 ชม. เราจึงต้องสร้างบรรยากาศให้รู้สึกผ่อนคลาย เพื่อพักผ่อนนอนหลับได้อย่างสบาย ไร้ความกังวล ถึงแม้ว่าขณะที่เรานอนหลับ ไม่จำเป็นจะต้องเปิดไฟ แต่การได้เห็นสภาพบรรยากาศในห้องที่ผ่อนคลายก่อนนอน จะช่วยให้เรารู้สึกมั่นใจ ปลอดภัย และนอนหลับได้อย่างสนิท ยังสามารถช่วยลดความวิตกกังวลระหว่างคืนได้ แสงที่เหมาะสมคือ หลอดไฟ Warm White และ Cool White ให้แสงที่นวลตา สร้างบรรยากาศในการผ่อนคลายให้ดียิ่งขึ้น

54 5. การพิจารณาเลือกใช้หลอดไฟ
ห้องเรียน ???

55 6. อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับหลอดไฟฟ้าที่มีผลต่อประสิทธิภาพพลังงาน
โรงงานอุตสาหกรรม - เพดานสูงน้อยกว่า 4 เมตร ควรใช้โคมฟลูออเรสเซนต์ - เพดานสูงระหว่าง เมตร อาจใช้โคมโลเบย์ - เพดานสูงมากกว่า 7 เมตร ควรใช้โคมไฮเบย์ - การวางโคมฟลูออเรสเซนต์ให้วางแนวยาวตามทิศทางการมอง

56 6. อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับหลอดไฟฟ้าที่มีผลต่อประสิทธิภาพพลังงาน
ห้องเรียน  นิยมใช้โคมประเภทมีครีบ (Fin Louver) ใช้ในโรงเรียนเพราะให้แสงบาดตาน้อย และควรจัดโคมและสวิตช์ดังนี้ - โคมฟลูออเรสเซนต์วางตามทิศทางการมอง - การจัดสวิตช์ให้ปิดเปิดโคมตามแนวยาวและกลุ่มโคมที่หน้าห้องด้วย

57 6. อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับหลอดไฟฟ้าที่มีผลต่อประสิทธิภาพพลังงาน
ห้องทำงานหรือสำนักงานออฟฟิศ  - สำนักงานทั่วไปมักใช้โคมประเภทมีครีบ ห้องหรือบริเวณสำคัญที่ไม่ต้องการแสงบาดตาก็ควรใช้โคมแบบมีตัวกรองแสงขาวขุ่นหรือแบบเกล็ดแก้ว ( Prismatic Diffuser) - ฟลูออเรสเซนต์ไม่เหมาะสำหรับเพดานที่สูงเกิน 4 เมตรขึ้นไป เพดานที่สูงควรใช้โคมโลเบย์ (Low Bay) หรือโคมไฮเบย์ (High Bay) - พื้นที่งานที่ต้องการความส่องสว่างสูงมาก 1,000 – 2,000 ลักซ์ ควรให้แสงสว่างจากโคมตั้งโต๊ะหรือใต้ตู้แทนที่จะให้จากโคมที่เพดาน

58 บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย
- นิยมใช้โคมไฟกระจายแสงได้รอบทิศทาง โดยสามารถกระจายแสงลงข้างล่างได้ 40-60% ที่เหลือจะกระจายแสงขึ้นด้านบน   - โคมไฟแบบฝังเพดาน เหมาะสำหรับงานตกแต่งภายในเพื่อความสวยงาม

59 7. การอนุรักษ์พลังงานในระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
ปริมาณการใช้พลังงาน เป็นพารามิเตอร์สำคัญที่จะใช้บอกต้นทุน และประสิทธิภาพการใช้พลังงานของระบบแสงสว่าง โดยแนวทางในการอนุรักษ์พลังงานสำหรับระบบแสงสว่าง ดังนี้ 7.1 การใช้ประโยชน์จากแสงสว่างจากธรรมชาติ และลดการดูดกลืนแสง

60 7. การอนุรักษ์พลังงานในระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
7.2 การจัดการระบบแสงสว่างให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ หัวข้อ รายการ เกณฑ์การพิจารณา แนวทางแก้ไขและข้อแนะนำ 1 ตรวจสอบการทำความสะอาดหลอดโคมไฟฟ้า หลอดและโคมไฟฟ้าสกปรกจะส่งผลให้ปริมาณแสงสว่างลดลง - หลอดและโคมที่อยู่นอกห้องปรับอากาศควรทำความสะอาดทุกเดือนหรือตามสภาพ - หลอดและโคมที่อยู่ในห้องปรับอากาศควรทำความสะอาดทุก 6 เดือนหรือตามสภาพ 2 ตรวจวัดค่าความส่องสว่าง (Lux) ค่าความสว่างในแต่ละพื้นที่ไม่ควรเกินมาตรฐาน - ลดจำนวนหลอดลง 1 หลอดต่อโคม - ติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงและลดหลอด - ติดตั้งอุปกรณ์หรี่แสง - ลดขนาดของหลอดไฟฟ้า 3 ตรวจสอบจำนวนสวิตซ์ควบคุม สวิตซ์ควบคุมต้องมีจำนวนเหมาะสมในการใช้งาน - ติดตั้งสวิตซ์เพิ่ม - ย้ายตำแหน่งสวิตซ์ให้อยู่ในจุดที่ใช้งานได้สะดวก

61 7. การอนุรักษ์พลังงานในระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
หัวข้อ รายการ เกณฑ์การพิจารณา แนวทางแก้ไขและข้อแนะนำ 4 ตรวจสอบการเปิดไฟฟ้าแล้วไม่เกิดประโยชน์ หลอดไฟฟ้าทุกหลอดจะต้องได้ประโยชน์เมื่อเปิดใช้งาน - รณรงค์ให้แต่ละพื้นที่ปิดเมื่อไม่เกิดประโยชน์ - ออกข้อกำหนดให้ปิดไฟในช่วงเวลาพัก - ติดป้ายชี้บ่งและสติกเกอร์สีที่ปิดสวิตซ์ 5 ตรวจสอบระดับความสูงในการติดตั้งหลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดฟลูออเรสเซนต์ควรติดตั้งที่ความสูงไม่เกิน 4 เมตร - ลดระดับความสูงให้ใกล้กับจุดใช้งานให้มากที่สุด แล้วลดจำนวนหลอดไฟฟ้า 6 ตรวจสอบการให้แสงสว่างจากแบบรวม เป็นแบบเฉพาะจุด การให้แสงสว่างแบบรวมจะสิ้นเปลืองพลังงานมากกว่าการให้แสงสว่างเฉพาะจุด - ติดตั้งแสงสว่างเฉพาะจุดแล้วทำการลดแสงสว่างแบบรวม 7 ตรวจสอบการใช้แสงสว่างภายนอกอาคาร ไม่ควรติดตั้งไฟที่ถนนและรั้วเกินความจำเป็น - ติดตั้ง Timer หรือ Sensor วัดแสง - ติดตั้งอุปกรณ์หรี่แสงอัตโนมัติ

62 7. การอนุรักษ์พลังงานในระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
7.3 เลือกใช้หลอดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน 1) เลือกใช้หลอดไฟประสิทธิภาพสูง เหมาะกับประเภทของงาน กินไฟ ประมาณ 1-2 W 2) เลือกใช้บัลลาสต์ที่มีการสูญเสียต่ำ กินไฟ ประมาณ 10 W

63 7. การอนุรักษ์พลังงานในระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
3) เลือกใช้โคมไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง เปลี่ยนโคมไฟฟ้าชนิดที่มีประสิทธิภาพสูง โดยสามารถสะท้อนแสงได้ดี แล้วลดจำนวนหลอดต่อโคม (ช่วยลดจำนวนหลอดไฟจาก 4 หลอดใน 1 โคม ลงเหลือ 2 หลอด โดยที่ความสว่างยังคงเดิม) หรือใช้วิธีติดแผ่นสะท้อนแสง โคมไฟฟ้าประสิทธิภาพต่ำมีค่าการสะท้อนแสงต่ำ

64 Thank you Q&A


ดาวน์โหลด ppt อาจารย์ ดร.รวมพร นิคม คณะวิศวกรรมศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google