งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเคลื่อนย้ายของประชากรอาเซียนหลังการจัดตั้งประชาคมอาเซียน 2558 Mobility of ASEAN People After 2015
เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network - RUN)

2 เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

3 หลักการและเหตุผล ความแตกต่างของโครงสร้างประชากร
ความแตกต่างของโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของความเชื่อมโยงผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่ง การค้าและการลงทุนในกลุ่มอาเซียนที่เพิ่มขึ้น การสนับสนุนการเคลื่อนย้ายประชากรของอาเซียน - สนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพ 7 วิชาชีพ และแรงงานในภาคท่องเที่ยว หลังปี 2558 - ข้อตกลงการเคลื่อนย้ายแรงงานทวิภาคี

4 ความแตกต่างโครงสร้างประชากร
ความแตกต่างโครงสร้างทางเศรษฐกิจ

5

6 การย้ายถิ่น ใน อาเซียน
ประชากร 52 ล้าน ย้ายเข้า 0.1 ล้าน ย้ายออก 2.6 ล้าน ประชากร 91 ล้าน ย้ายเข้า 0.06 ล้าน ย้ายออก 2.6 ล้าน ประชากร 97 ล้าน ย้ายเข้า 0.2 ล้าน ย้ายออก 5.4 ล้าน ประชากร 67 ล้าน ย้ายเข้า 3.7 ล้าน ย้ายออก 0.8 ล้าน ประชากร 6.5 ล้าน ย้ายเข้า 0.02 ล้าน ย้ายออก 1.2 ล้าน บรูไน ประชากร 0.4 ล้าน ย้ายเข้า 0.2 ล้าน ย้ายออก 0.05 ล้าน ประชากร 15 ล้าน ย้ายเข้า 0.07 ล้าน ย้ายออก 1.1 ล้าน ประชากร 29 ล้าน ย้ายเข้า 2.4 ล้าน ย้ายออก 1.4 ล้าน การย้ายถิ่น ใน อาเซียน ประชากร 5.4 ล้าน ย้ายเข้า 2.3 ล้าน ย้ายออก 0.3 ล้าน ประชากร 251 ล้าน ย้ายเข้า 0.2 ล้าน ย้ายออก 2.9 ล้าน

7 ผลกระทบและนัยต่อสังคมพหุวัฒนธรรม สิทธิมนุษยธรรม และระบบสุขภาพ
Mobility of ASEAN People After 2015 สถานการณ์และทิศทางการเคลื่อนย้ายประชากรแรงงานฝีมือและไร้ฝีมือและการเคลื่อนย้ายเพื่อการท่องเที่ยวและการศึกษาในอาเซียน ผลกระทบและนัยต่อสังคมพหุวัฒนธรรม สิทธิมนุษยธรรม และระบบสุขภาพ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน :การเคลื่อนย้ายข้ามแดนระหว่างประเทศไทยกับเพื่อนบ้านอาเซียน เครือข่าย 8 มหาวิทยาลัย รับผิดชอบโดย ดร.นฤมล ทับจุมพล (จุฬา) รับผิดชอบโดย ดร. มรกต เมเยอร์ (มหิดล) รับผิดชอบโดย ดร. วสันต์ ปัญญาแก้ว(เชียงใหม่)

8 กลุ่มหนึ่ง สถานการณ์และทิศทางการเคลื่อนย้ายประชากรแรงงานฝีมือและไร้ฝีมือและการเคลื่อนย้ายเพื่อการท่องเที่ยวและการศึกษาในอาเซียน

9 สถานการณ์การเคลื่อนย้ายประชากรหลังประชาคมอาเซียน สำรวจฐานข้อมูลที่มีอยู่ ครอบคลุมกลุ่มใดบ้าง และการขยาย/จัดทำฐานข้อมูลของกลุ่มแรงงานฝีมือ ประเด็นวิจัย กรณีศึกษาเปรียบเทียบตามระดับฝีมือแรงงานและตามประเภทอุตสาหกรรมเพื่อวิเคราะห์ทิศทางการเคลื่อนย้ายประชากร เงื่อนไขการพัฒนาอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน นโยบายการค้า การท่องเที่ยว และการเดินทางเคลื่อนที่ของประชากรในรัฐสมาชิกที่มีผลต่อการย้ายถิ่น ทั้งระยะยาวและระยะสั้น

10 โครงการ 1: การจัดทำฐานข้อมูลการเคลื่อนย้ายประชากรในลักษณะวิชาชีพต่างๆหลังการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” สร้างฐานข้อมูลการเคลื่อนย้ายประชากร 3 กลุ่ม กลุ่มวิชาชีพลักษณะต่างๆ (Professionals skill) ตามมาตรฐานInternational Standard Classification of Occupations (ISCO-08) (Professionals skill) กลุ่มนักท่องเที่ยว กลุ่มนักศึกษา วิเคราะห์แนวโน้มการเคลื่อนย้ายประชากรในอนาคต

11 คำนิยามเพื่อการเก็บข้อมูล
วิชาชีพมีฝีมือ (Professionals skill) การใช้ทักษะเชิงเทคนิค องค์ความรู้ หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะในทางปฏิบัติงานที่มีความซับซ้อน (ISCO-08 ระดับ3 และ 4) ทักษะกึ่งฝีมือ(Semi skill workers) การใช้ทักษะเบื้องต้น อ่าน เขียน และการสื่อสารในการปฏิบัติ หรืองานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมหรือบำรุงรักษาซ่อมแซมเครื่องจักและการทำงานของไฟฟ้ากำลัง (ISCO-08 ระดับที่ 2) ไร้ทักษะฝีมือ(Less skill workers) การใช้กำลังทางกายภาพและความอดทนเป็นหลักโดยอาจมีเครื่องมือใช้สำหรับการทำงานที่มีการใช้งานที่ไม่ซับซ้อน (ISCO-08 ระดับที่ 1) การย้ายถิ่นระยะสั้น นักท่องเที่ยวหมายถึง บุคคลที่เดินทางเข้าประเทศด้วยวัตถุประสงค์การท่องเที่ยว ซึ่งรวมถึงบุคคลที่ผ่านการตรวจลงตราสำหรับการท่องเที่ยว (Tourist visa) หรือบุคคลที่ได้รับการผ่อนปรนไม่ต้องรับการตรวจลงตราแต่ผ่านช่องทางการตรวจคนเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย นักศึกษา หมายถึง บุคคลที่เดินทางเข้าประเทศด้วยวัตถุประสงค์การศึกษาโดยได้รับการรับรองสถานภาพนักศึกษาจากสถานศึกษาภายในประเทศนั้นๆ International Standard Classification of Occupations (ISCO-08)

12 โครงการ 2:การเคลื่อนย้ายประชากรวิชาชีพในอาเซียน
ข้อตกลงการเคลื่อนย้ายของแรงงานมีฝีมือใน 7 สาขาอาชีพ + อาชีพในสาขาการท่องเที่ยวและข้อตกลงมาตรฐานวิชาชีพเพื่อเป็นเกณฑ์ให้แรงงานระหว่างประเทศสมาชิกที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์สามารถเคลื่อนย้ายระหว่างกันได้ ศึกษาการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือ(สาขาสาธารณสุข และการท่องเที่ยว)ในประชาคมอาเซียน วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือสาขาดังกล่าวของประเทศผู้รับ-ผู้ส่งแรงงาน ตลอดจนผลกระทบต่อประเทศไทยจากการเคลื่อนย้ายดังกล่าว ขอบเขตการศึกษา ประเทศผู้รับแรงงาน : ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ประเทศผู้ส่งแรงงาน : ฟิลิปปินส์ เวียดนาม วิธีวิจัย สำรวจและรวบรวมสถิติการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือศึกษาข้อมูลเอกสาร สถานการณ์การเคลื่อนย้ายแรงงานในแต่ละประเทศ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยเน้นการทำงานร่วมกับหน่วยงานวิชาการ ประชาคม องค์กรแรงงานในประเทศที่ทำการศึกษา

13 โครงการ 3: การย้ายถิ่นของแรงงานภาคเกษตรกรรมในอาเซียน
ศึกษาการเคลื่อนย้ายแรงงานในพื้นที่ที่มีการลงทุนปลูกพืชพาณิชย์ในพื้นที่ขนาดใหญ่ซึ่งอาเซียนเป็นผู้ผลิตที่สำคัญ ได้แก่ อ้อย ปาล์ม กาแฟและยางพารา ข้ามพ้นการพิจารณาไทยในฐานะประเทศผู้รับแรงงานไปสู่การพิจารณาพลวัตการย้ายถิ่นของแรงงานภาคเกษตรข้ามพรมแดนระหว่างประเทศอาเซียนอื่น ๆ และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศที่เป็นผู้ส่งออกแรงงานภาคเกษตร รวมทั้งไทย ขอบเขตการศึกษา แรงงานในข้ามแดนเมียนมาร์ – ไทยและแนวโน้มการเคลื่อนย้ายแรงงานภาคเกษตกรรมของเมียนมาร์ แรงงานข้ามแดนในลาวตอนเหนือ (ยางพารา) ตอนกลาง (ไร่อ้อย) และตอนใต้ (สวนกาแฟ) แรงงานข้ามแดนในประเทศกัมพูชา (ไร่อ้อย และโรงงานน้ำตาล) แรงงานข้ามแดนระหว่างกัมพูชา ลาว เวียดนามและแรงงานข้ามแดนระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย

14 โครงการ 4: การเคลื่อนย้ายแรงงานหญิงภาคบริการในอาเซียน
สถานการณ์การย้ายถิ่นข้ามชาติของแรงงานหญิงทั้งในประเทศไทยและภายในภูมิภาคและวิเคราะห์ผลกระทบในเชิงมิติสังคมและเศรษฐกิจที่เกิดจากการย้ายถิ่นข้ามชาติของแรงงานหญิง ส่ง รับ ประเภทกิจการ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ (25.4% ปี 2552) ภาคบริการ (รับใช้ใน บ้าน) อินโดนีเซีย มาเลเซีย (50.9%) ภาคบริการ (รับใช้ใน บ้าน, งานสวน) บรูไน (39%) พม่า ไทย (18.1%) ไทย มาเลเซีย (963 คน) ภาคบริการ (ร้านอาหาร) เพิ่มประเภท—หมวด เช่น หมอนวด พนักงานโรงแรม

15 โครงการ 5: การเคลื่อนย้ายของนักเรียนนักศึกษาต่างชาติในอาเซียน
สถานการณ์และแนวโน้มการเคลื่อนย้ายของนักเรียนนักศึกษาต่างชาติในอาเซียนที่เดินทางเข้ามาศึกษาในประเทศของภูมิภาคอาเซียน รวมถึงการเคลื่อนย้ายภายในภูมิภาค ยุทธศาสตร์ความร่วมมือของอาเซียนในการเป็น Education Hub of Asia และสร้างศูนย์ความเป็นเลิศในด้านการศึกษา (Regional Centre of Excellence in Education)กับผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายประชากรระยะสั้นภายในภูมิภาคและระหว่างชายแดนและข้อท้าทายในการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือและองค์ความรู้ที่จะนำไปสู่การบูรณาการร่วมกันในระดับชาติและภูมิภาค ขอบเขตการศึกษา vertical mobility (การเคลื่อนย้ายเพื่อการศึกษาในระดับสูงที่ในประเทศอาจไม่เอื้ออำนวย) horizontal mobility (การเคลื่อนย้ายเพื่อเดินทางไปศึกษาในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อสร้างความเข้าใจในระดับภูมิภาค) การศึกษาในระยะสั้นเพื่อการศึกษาในประเทศหรือสถาบันทางด้านวิชาการและวัฒนธรรมรวมทั้งการศึกษาด้านการเงิน

16 กลุ่มสอง การเคลื่อนย้าย: ผลกระทบและ นัยยะต่อสังคมพหุวัฒนธรรม การคุ้มครองทางสังคม และระบบสุขภาพ

17 ประเด็นการวิจัย ผลกระทบของการเคลื่อนย้ายประชากรต่อ
สังคมพหุวัฒนธรรมและสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรม การคุ้มครองทางสังคม ระบบสุขภาพ

18 1. สังคมพหุวัฒนธรรมและสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรม
1.1. สังคมพหุวัฒนธรรมและสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรม ในพื้นที่เสมือนของอาเซียน กรณีศึกษาประเทศไทยและสิงคโปร์ - ศึกษาผลกระทบของการเคลื่อนย้ายประชากรในภูมิภาคทั้งในพื้นที่กายภาพสาธารณะและพื้นที่เสมือน รวมทั้งประเมินโยบายของ AEC ในด้านพหุวัฒนธรรมและเสนอข้อเสนอแนะ 1.2. การจัดการความหลากหลายทางภาษาในสังคมพหุวัฒนธรรมอาเซียน กรณีไทยและสิงคโปร์ - ศึกษาการจัดการความหลากหลายด้านภาษาเพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาและเสนอข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความหลากหลายด้านภาษาของผู้ย้ายถิ่น

19 2. การคุ้มครองทางสังคม 2.1. การศึกษาเปรียบเทียบการปฏิบัติการกฎหมายของรัฐภายใต้กรอบอาเซียน ศึกษาผ่านกลุ่มผู้ถูกบังคับย้ายถิ่นในไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย 2.2. บทบาทของการคุ้มครองทางสังคมต่อครอบครัวต้นทางของแรงงานย้ายถิ่น : กรณีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

20 3. ระบบสุขภาพ 3.1. ผลกระทบและนัยยะต่อระบบสุขภาพในประเทศปลายทางจากการเคลื่อนย้ายประชากรในอาเซียน ศึกษาสถานการณ์ของการใช้บริการด้านสุขภาพข้ามพรมแดนบริเวณเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อเสนอแนวทางการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นกับการบริการทางสุขภาพบริเวณชายแดนของประเทศไทย 3.2. ชีวิตและสุขภาวะของผู้ให้บริการการดูแลที่เคลื่อนย้ายในอาเซียน - อยู่ระหว่างการพัฒนา

21 การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ/ชายแดน
กลุ่มสาม การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ/ชายแดน

22 ประเด็นการวิจัย 1. กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเคลื่อนย้ายของประชากรของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเมืองชายแดน 2. โครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการค้า อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 3. บทบาทของภาคเอกชนที่ได้หรือเสียประโยชน์จากเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านหลังการเข้าสู่ประชาคมเศรฐกิจอาเซียน 4. ผลกระทบของการค้า การลงทุน การขนส่ง และการเดินทาง/ท่องเที่ยวต่อพื้นที่ของโครงการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนและการเข้าสู่ประชาคมเศรฐกิจอาเซียน

23 1. ศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง พื้นที่ชายแดนแม่สอด-ติละวา (จังหวัดเมียววะดี – พม่า) และพื้นที่ชายแดนเชียงราย–เชียงตุง (พม่า) – สิบสองปันนา (จีน) - สร้างองค์ความรู้และรวบรวมข้อมูลพื้นฐานต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ การค้าข้ามแดน การขนส่งสินค้า การเดินทางเคลื่อนที่ของผู้คน และการท่องเที่ยวในพื้นที่ชายแดนและการข้ามแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน รวมจนไปถึง การศึกษาผลกระทบต่างๆ และการเสนอข้อเสนอแนะต่อทิศทางที่ควรจะเป็นของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเมืองชายแดน

24 2. ศึกษาเปรียบเทียบแนวโน้ม รูปแบบ และผลกระทบในพื้นที่ชายแดนจังหวัดสงขลา–รัฐเคดาห์และรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย) และจังหวัดเชียงราย-รัฐฉาน ประเทศพม่า - ศึกษาผลกระทบของเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีต่อการการสร้างงานและการเพิ่มรายได้้ในเครือข่ายการสร้างมูลค่าธุรกิจ/วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมไปถึงการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจ/วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่กับเครือข่ายมูลค่าข้ามแดนที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายมูลค่าในระดับอาเซียนและในระดับโลก เพื่อทำความเข้าใจอิทธิพลของเขตเศรษฐกิจพิเศษต่อการสร้างโอกาส งาน และรายได้สำหรับคนในพื้นที่ โดยมีการพัฒนาแนวทางการสนับสนุนให้แรงงานหนุ่มสาวและกลุ่มคนด้อยโอกาสในพื้นที่สามารถเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายมูลค่าสูงและมีสถานะที่มั่นคงในเครือข่ายมูลค่านั้นๆเป็นเป้าหมายสำคัญ

25 3. ศึกษาเปรียบเทียบเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลาและเขตเศรษฐกิจพิเศษตราด
- ศึกษาเปรียบเทียบเขตเศรษฐกิจสองแห่งเพื่อทำความเข้าใจผลกระทบต่อนโยบายของเขตเศรษฐกิจแต่ละแห่งว่ามีผลอย่างไรต่อการเคลื่อนย้ายข้ามเขตแดนของแรงงงาน

26 4. การไหลเวียนของผู้คน สินค้า และเงินตรา: ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจสังคมข้ามพรมแดนไทยลาว
- ศึกษาการปรับตัวของภาคเอกชนและเครือข่ายของผู้บริโภคที่ข้ามพรมแดนในกรณีของการท่องเที่ยวและการแพทย์ รวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านการเงินซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของความเชื่อมโยงทางสังคมและเศรษฐกิจของสองพื้นที่ที่ทำการศึกษา

27 ผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ
ฐานข้อมูลการย้ายถิ่นเพื่อการประกอบอาชีพ การศึกษา และการท่องเที่ยว เพื่อเป็นฐานในการวิเคราะห์ทิศทางและแนวโน้มในอนาคต และการจัดทำนโยบายสาธารณะในด้านต่างๆที่เกี่ยวขข้อง ข้อเสนอเชิงนโยบาย การกำหนดนโยบายเชิงรุกสำหรับการย้ายถิ่นในระดับภูมิภาค ทั้งเพื่อการประกอบอาชีพ ระบบสุขภาพ การจัดการศึกษา และการท่องเที่ยว ข้อเสนอมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบจากการเคลื่อนย้าย ในเชิงพหุวัฒนธรรม ความคุ้มครองทางสังคม และระบบสุขภาพ ข้อเสนอมาตรการที่รองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยตีพิมพ์บทความภาษาไทยในวาสารวิชาการระดับชาติ และตีพิม์บทความภาษาอังกฤษในวาสารวิชาการระดับนานาชาติ นำเสนอผลงานในงานสัมมนาทางวิชาการระดับชาติหนึ่งครั้ง และในระดับนานาชาติหนึ่งครั้ง การสร้างเครือข่ายการวิจัยในประเทศและในอาเซียน และการพัฒนานักวิจัย

28 แนวทางการทำงานและความร่วมมือ
แนวทางการทำงานและความร่วมมือ - ทุกโครงการ ต้องร่วมมือกันมากกว่า 1 มหาวิทยาลัย - ทุกโครงการ ต้องศึกษามากกว่า 1 ประเทศ (อาเซียน) เป็นกลุ่มงานวิจัยเพื่อเสนอแนะเชิงนโยบายในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายประชากรในอาเซียน และการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ/ชายแดน นักวิจัยในกลุ่ม ประมาณ คน มีการสร้างการร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในประเทศและในกลุ่มประเทศอาเซียน สร้างความร่วมมือของนักวิจัยในเครือข่าย 8 แห่ง และนักวิจัยในกลุ่มอาเซียน


ดาวน์โหลด ppt เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google