ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรายวิชาพิมพ์ดีดอังกฤษ 1 ของนักเรียน
Advertisements

การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
การเขียนโครงร่างวิจัย
อ. สิริพร มีนะนันทน์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
วิธีการและเทคนิค การตรวจสอบ และการรายงาน ผลการตรวจสอบ ( Auditing )
ผู้บริหารกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้วิจัย สิริภิญญ์ อินทรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ ปีการศึกษา 2556
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
กระบวนการของการอธิบาย
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๑ ทศวรรษของ สถาบัน. ๑ ) ด้านการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนา บุคลากรด้านการพัฒนามนุษย์ ๒ ) ผลิตและเผยแพร่ความรู้ด้านการ พัฒนามนุษย์ ๓ ) บริการสาธิตและวิจัยโดยศูนย์พัฒนา.
การประเมินผลโครงการ คปสอ.คลองใหญ่.
16. การเขียนงานวิจัยแบบง่าย ๆ
นางวราพันธ์ ลังกาวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน.
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล เรื่องการเชื่อมโยง ภาพนิ่ง ด้วยโปรแกรม Powerpoint2007 โดยใช้ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ของนักเรียนระดับชั้น.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
ผลการดำเนินงาน ปีงบ ๒๕๕๘ ( ร่าง ) แผนปฏิบัติการฯ ปี งบ ๒๕๕๙ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตราด.
ความพึงพอใจต่อการบริหาร จัดการโครงการเรียนรู้จาก ประสบการณ์จริงด้วยวิธีการ เรียนรู้แบบศึกษาดูงาน บริหารธุรกิจสาขาการจัดการ / การตลาด ภาคเรียนที่ 2/2556.
บทที่ 3 นักวิเคราะห์ระบบและการ วิเคราะห์ระบบ. 1. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) 1.1 ความหมายของนักวิเคราะห์ระบบ นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis:
ปรานอม ประทีปทวี 25/09/591 หน้าที่ของครูผู้นิเทศ สพม.5.
องค์ความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติราชการ แบบฟอร์มที่ 1 การจำแนกองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการผลักดันตามประเด็นยุทธศาสตร์ ของส่วนราชการ ชื่อส่วนราชการ : กรมทรัพยากรน้ำบาดาล.
โดย... นายวินิจ รักชาติ อดีตผู้อำนวยการ สำนักงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จังหวัด กาญจนบุรี
การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ ครูชาญณรงค์ ปานเลิศ โรงเรียนพระบางวิทยา ครูชาญณรงค์
แผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ )
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง ธุรกิจระหว่างประเทศ
การตรวจสอบ การคัดลอกผลงานทางวิชาการ ด้วยโปรแกรม Turnitin
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
เรื่อง ความพึงพอใจต่อการให้บริการห้องสมุด
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
One Point Lesson (OPL).....บทเรียนประเด็นเดียว
บทที่ ๒ เรื่องที่ ๑๐ การค้นคว้าหาความรู้ทาง อินเทอร์เน็ต
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
ณ ห้องประชุม พธ.ทร.(๒) วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙๓๐
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
แนวทางการบริหารการจัดเก็บ ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน ปี 2561
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
ผลงานทางวิชาการ ความหมาย ลักษณะ ประเภท
หมวดศึกษาทั่วไป ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ผู้สอน : อ.สำราญ ผลดี
แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
กลุ่มเกษตรกร.
สุภารัตน์ วังศรีคูณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การบริหารโครงการซอฟต์แวร์
โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูล วัตถุเสพติดของกลาง (ระยะที่1)
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based Assessment) การรู้เรื่องการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์
การประเมิน วิเคราะห์ สังเคราะห์สารสนเทศ
การขอโครงการวิจัย.
SMS News Distribute Service
สัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน
เรียนอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ
มุ่งเน้น การประเมินระดับการดำเนินงาน “หน่วยงานคุณธรรม”
ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization คือ องค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ.
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
งานนำเสนอสำหรับโครงการ นิทรรศการวิทยาศาสตร์
นายเกียรติศักดิ์ คนธสิงห์ วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report
การสร้างแบบทดสอบ อาจารย์ ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์ สมพงษ์ พันธุรัตน์
Google Scholar คืออะไร
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
การใช้ระบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ข่าว
ใบสำเนางานนำเสนอ:

01132491 ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจ Basic Research Methods in Business ณรงค์พงศ์ เพิ่มผล เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์ คณะวิทยาการจัดการ 8 : 19 ก.ย. 60

การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) ความหมายการทบทวนวรรณกรรม 1 ความสำคัญของการทบทวนวรรณกรรม 2 วัตถุประสงค์และเป้าหมายการทบทวนวรรณกรรม 3 ประเภทการทบทวนวรรณกรรม 3 4 เทคนิคและขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม 3 5

ความหมายการทบทวนวรรณกรรม ความหมายวรรณกรรมวิจัย วรรณกรรม หมายถึง งานหนังสือ งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด โดยที่มี การนำเสนอในรูปแบบต่างๆ กัน เช่น ตำรา หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ สิ่งบันทึกเสียง ภาพถ่าย และอื่นๆ เป็นต้น วรรณกรรมในงานวิจัย หมายถึง เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ (1) แนวคิด/ทฤษฎี และ (2) ผลงานวิจัยที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กับเรื่องที่ทำการ การศึกษาวิจัย The University of Sydney (2010) การทบทวนวรรณกรรมเป็นการจัดระบบหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยผ่านการ สังเคราะห์เพื่อนำไปสู่การพัฒนางานวิจัยครั้งต่อไป

ความหมายการทบทวนวรรณกรรม Zikmund, Babin, Carr, & Griffin (2010) การทบทวนวรรณกรรม หมายถึง การค้นหาโดยตรงจากงานที่ได้รับการตีพิมพ์ รวมถึงวารสารที่ ตีพิมพ์ตามเวลาที่กำหนดและหนังสือที่มีการกล่าวถึงทฤษฎีและแสดงผล การศึกษาเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ทำการศึกษา Hart (อ้างถึง Levy & Ellis, 2006) กล่าวว่า การทบทวนวรรณกรรม เป็นการใช้ความคิดที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมนั้น เพื่อสนับสนุนวิธีการที่ เฉพาะสำหรับหัวข้อวิจัยการเลือกวิธีการวิจัยและแสดงให้เห็นว่า งานวิจัย นี้นำเสนอสิ่งใหม่ นอกจากนี้ Hart ยังกล่าวว่า คุณภาพของการทบทวนวรรณกรรมหมายถึงความเหมาะสมทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก โดยมีความเข้มข้นและ สม่ำเสมอ มีความชัดเจนและใช้คำที่กระชับและมีการวิเคราะห์และ สังเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ

ความหมายการทบทวนวรรณกรรม การทบทวนวรรณกรรม (literature review) เป็นการกระบวนการตรวจสอบเอกสารทางวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้องานวิจัยเพื่อนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ขึ้นอย่างเป็นระบบและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ การทบทวนวรรณกรรมควรเป็นกระบวนการสำคัญของทุกขั้นตอนการวิจัยหลัก ๆ ได้แก่ ก่อนเริ่มทำวิจัย-เพื่อกำหนดชื่อเรื่อง ปัญหา วัตถุประสงค์ สมมติฐาน กรอบแนวคิดการวิจัยระเบียบวิธีการวิจัยและวิธีดำเนินการวิจัย ระหว่างการทำวิจัย-เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าของงานวิจัยต่างๆ ที่ยังตรวจไม่พบตอนเสนอโครงร่าง สรุปผลการวิจัย-เพื่อจะได้ข้อมูลสนับสนุนผลการวิจัยเพิ่มเติม

ความหมายการทบทวนวรรณกรรม การทบทวนวรรณกรรมวิจัย การศึกษาค้นคว้าและเรียบเรียงแนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่จะ เกี่ยวข้องให้เชื่อมโยงกับเรื่องที่ศึกษาวิจัย การนำเสนอวรรณกรรม เป็นการคัดเลือกวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำการศึกษา วิจัยมาวิเคราะห์และรวบรวมกำหนดเป็นแนวคิดรวมแล้วนำมาเสนอเพื่อ สนับสนุนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา กรอบแนวคิด ตัวแปร การกำหนดสมมติฐานและการอภิปรายผล

ความสำคัญของการทบทวนวรรณกรรม 1. สร้างความชัดเจนให้กับหัวข้อวิจัย 1.1 ช่วยให้ผู้วิจัยมองปัญหาด้วยความเข้าใจ และอธิบายปัญหาการ วิจัยถูกต้องชัดเจน 1.2 ช่วยให้ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหามีน้ำหนัก เพราะมี แนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุน ช่วยสนับสนุนการ ตั้งสมมติฐานและวิธีการวิจัย 1.3 ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถสังเคราะห์กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual framework) 7

ความสำคัญของการทบทวนวรรณกรรม 2. ตรวจสอบความซ้ำซ้อนของเรื่องที่จะศึกษา ช่วยให้ทราบว่าเรื่องที่จะศึกษามีใครเคยทำมาก่อน? จะได้เพิ่มหรือฉีก แนวการวิจัยให้แตกต่างออกไป 3. สนับสนุนการอภิปรายผล ช่วยให้ผู้วิจัยมีเหตุผลสนับสนุนสิ่งที่ผู้วิจัยค้นพบว่า จะแตกต่าง/เหมือน กับงานวิจัยเดิมอย่างไร เช่น หากผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็น กลุ่ม Gen z ที่เป็นเพศหญิงส่วนใหญ่ มีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อความงาม ซึ่งสอดคล้องกับ ผลการวิจัยของศูนย์วิจัยกสิกรไทย (2551) ที่พบว่า เพศหญิงมีแนวโน้มซื้อผลิตภัณฑ์เสรอมอาหารมากกว่าเพศชาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเพศหญิงมีความรักสวยรักงามมากกว่าเพศชาย เป็นต้น 8

ความสำคัญของการทบทวนวรรณกรรม 4. การขยายความรู้ทางวิชาการ ช่วยให้ผู้วิจัยได้แนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวมา 4.1 ขยายความรู้ทางวิชาการในเรื่องที่ทำ 4.2 ช่วยการให้นิยามศัพท์ให้มีความชัดเจนขึ้น 4.3 ช่วยให้เกิดแนวคิดใหม่ในการต่อเติมงานวิจัยที่มีอยู่ให้เป็นหัว ข้อใหม่ ในการวิจัยคราวต่อไป เช่น ภาพลักษณ์ต่อองค์กร หมายถึง ภาพที่เกิดขึ้นในใจของคน (Mental picture) ภาพลักษณ์ต่อองค์กร หมายถึง องค์รวมของความเชื่อ ความคิด และ ความ ประทับใจ ที่บุคคลมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ภาพลักษณ์ต่อองค์กร หมายถึง การรับรู้ของผู้บริโภคต่อองค์กรทั้งหมด 9

วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรม ผู้วิจัยทำการค้นคว้าศึกษารวบรวมและประมวลผลงานทางวิชาการ เช่น ผลงานวิจัย บทความเอกสารทางวิชาการและตำราที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องหรือประเด็นที่ทำการวิจัย วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินประเด็นปัญหา แนวคิด ระเบียบวิธีการวิจัย ข้อสรุป ข้อเสนอแนะจากผลงานวิจัยหรือเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ หัวข้อหรือประเด็นของปัญหาของการวิจัยก่อนที่จะดำเนินการ ทำการวิจัย ของตนเองและในบางครั้งอาจมีการทบทวนเพิ่มเติมหลังจากที่ได้ลงมือทำ ไปบ้างแล้ว (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์) 10

เป้าหมายการทบทวนวรรณกรรม จะได้ทราบว่ามีใครเคยทำงานวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องที่เรากำลังศึกษา ทำให้ ไม่ทำวิจัยซ้ำกับผู้อื่น ทำให้ทราบอุปสรรค หรือข้อบกพร่อง ในการทำวิจัยในเรื่องนั้นๆ ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการพิจารณากำหนดขอบเขตและตัวแปร ในการวิจัย ใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยและกำหนดสมมติฐาน การวิจัย ช่วยในการกำหนดรูปแบบและวิธีการวิจัย ช่วยในการเชื่อมโยงสิ่งที่ค้นพบในการวิจัยครั้งนี้กับที่พบจากการวิจัยที่ ผ่านมา 11

เป้าหมายการทบทวนวรรณกรรม แสดงให้ผู้ตรวจสอบโครงการรู้ว่า ผู้เสนอโครงการ มีความรู้ครบถ้วนแล้วทั้งทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้อง ที่สอดคล้องและที่ขัดแย้ง รู้ครบถ้วนแล้วว่า ใครทำอะไรไว้บ้าง เพื่อสรุปให้ได้ในตอนท้ายว่า ด้วยความรู้ทั้งปวงที่ปรากฏอยู่นั้น ทำให้เราเชื่อได้ว่าเราต้องทำอะไรต่อไป Remember: The purpose of your literature review is not to provide a summary of everything that has been written on your research topic, but to review the most relevant and significant research on your topic 12

บทความทางวิชาการ(Articles) ประเภทวรรณกรรม บทความทางวิชาการ(Articles) 1. วรรณกรรมประเภทปฐมภูมิ (Primary Literature) วิทยานิพนธ์ (Thesis) งานนิพนธ์ (Independent Study ) รายงานผลการวิจัย (Research Report) สิ่งค้นพบอื่นๆ เช่น ภาพ เสียง 13

5 บทความทางวิชาการ(Articles) ประเภทวรรณกรรม 2. วรรณกรรมประเภททุติยภูมิ (Secondary Literature) บทความทางวิชาการ(Articles) ตำรา (Text Book) ปริทัศน์งานวิจัย (Research Review) สารานุกรม (Encyclopedia) พจนานุกรม (Dictionary) คู่มือ (Handbooks) รายงานประจำปี (Yearbooks) 14

แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย : ระบุแหล่งที่น่าเชื่อถือ และอ้างอิงถูกต้อง 2) ความเหมาะสม ทันสมัย (ไล่เรียงจากปัจจุบันย้อนหลังไป) 3) พอเพียงที่ใช้เป็นแนวคิดการวิจัยและกรอบการวิจัย

ตัวอย่าง พฤติกรรมการเปิดรับและทัศนคติของกลุ่มคนวัยทำงานที่มีต่อรายการข่าวภาคเที่ยงของสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย การแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นกรอบแนวความคิดในการศึกษา ประกอบด้วย 1. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมการเปิดรับข่าว 2. ทฤษฏีการเลือกและการแสวงหาข่าวสาร 3. แนวคิดและทฤษฏีเกี่ยวกับทัศนคติ 4. งานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทัศนีย์ ยาสมาน. 2519. การชมรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เทวี แย้มสรวล. 2528. การวิเคราะห์องค์ประกอบที่มีผลต่อความสนใจรายการโทรทัศน์ สำหรับเด็กของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 16

The Literature Review Process

The Literature Review Process In the initial stage of you literature review, you will start to define the parameters to your research question(s) and objectives. After generating key words, and conducting your first search, you will have a list of references to authors who have published on these subjects. Once these have been obtained, you can read and evaluate them, record the ideas and start drafting your review. After the initial search, you will be able to redefine your parameters more precisely and undertake further search, keeping in mind your research question(s) and objectives.

เทคนิคและขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยอย่างพินิจพิเคราะห์ การอ่านเก็บความจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การอ่านเก็บความคิดสำคัญ (Main Ideas) การอ่านเก็บรายละเอียด (Details) การอ่านวิธีการจัดระเบียบความคิด (Organisation of Ideas) การอ่านระหว่างบรรทัด (Read Between the Lines) จากนั้นจึงถอดความ (Paraphrase) สรุป (Summarise) และ คัดลอกข้อความ (Quote) 19

เทคนิคและขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม การจดบันทึกเนื้อหาสาระที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม ในเรื่อง/หัวข้อ ต่อไปนี้ ปัญหาและวัตถุประสงค์การวิจัย เหตุผลที่ทำวิจัย สมมติฐาน ทฤษฎี หรือ กรอบแนวคิด ตัวแปร เครื่องมือการวิจัย วิธีดำเนินการ ผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ 20

เทคนิคและขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม 21

เทคนิคและขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม ตารางสังเคราะห์การทบทวนวรรณกรรม 22

เทคนิคและขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม ตัวอย่าง : ตารางแสดงการสรุปตัวแปรที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม 23

เทคนิคและขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม ตัวอย่าง : ตารางแสดงการสรุปตัวแปรที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม 24

เทคนิคและขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม ตัวอย่าง : ตารางแสดงการสรุปตัวแปรที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม 25

เทคนิคการทบทวนวรรณกรรม 1. เทคนิคแผนภาพต้นไม้ เป็นเทคนิคการกำหนดโครงสร้างของการทบทวนวรรณกรรมโดยมี ขั้นตอนที่สำคัญดังนี้ 1.1 การแสดงคำถามการวิจัยหรือวัตถุประสงค์การวิจัยไว้ด้านบนสุด 1.2 การระบุคำสำคัญที่สุดสองหรือสามประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยมากที่สุด 1.3 กำหนดประเด็นย่อยๆ ของคำสำคัญในข้อ 1.2 1.4 กำหนดรายละเอียดของประเด็นย่อยๆ ในข้อ 1.3 ลงไปอีก 1.5 ดำเนินการสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 1.6 เมื่อได้อ่านวรรณกรรมต่างๆ แล้วอาจต้องกลับไปทบทวน ขั้นตอนเริ่มแรกใหม่ 2. พีระมิดคว่ำ เป็นเทคนิคการทบทวนวรรณกรรมรวมถึงการเขียนบทนำโดยส่วนบนของพิระมิดคือความสำคัญทั่วไปของแต่ละแนวคิดหรือทฤษฏี ส่วนกลางคือเนื้อหา ส่วนสุดท้ายคือการเชื่อมโยงเนื้อหาเข้ากับงานวิจัยของเรา

Broad Introduction to the Theory/Topic Level of Details Conclusion/Research Questions แนวคิดนี้ใช้ได้ทั้งกับ การเขียนบทนำ การทบทวน วรรณกรรมในแต่ละประเด็น

หลักคิดในการทบทวนวรรณกรรม การทบทวนวรรณกรรมไม่จำเป็นต้องอ้างถึงวรรณกรรมหลักทั้งหมดในสาขาที่ศึกษา การทบทวนวรรณกรรมควรระบุความจำ เป็นสำ หรับการศึกษาครั้งต่อไปทุกครั้ง คำถามการวิจัยมีความสำคัญต่อการกำหนดแนวทางการวิจัย สำหรับการทบทวนวรรณกรรม วรรณกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยไม่ควรนำมาใส่ในงานวิจัย ที่มา: ปรับมาจาก The University of Sydney (2010) อ้างใน ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี

ข้อบกพร่องในการทบทวนวรรณกรรม เป้าหมายในการทบทวนวรรณกรรมไม่ชัดเจน ทำการทบทวนวรรณกรรมโดยการบอกสิ่งที่ผู้วิจัยในอดีตทำทุกอย่าง เขียนย่อหน้าเท่ากับจำนวนเอกสารที่อ่าน แต่ละย่อหน้าเขียนสรุปว่า แต่ละ Paper ทำอะไร ได้อะไร โดยการลอกบางส่วนของ Abstract และ Conclusion เขียนเรียงปี พ.ศ. กันไปตามลำดับ โดยไม่มีการแยกประเด็นชัดเจน การทบทวนวรรณกรรมเฉพาะตอนที่จะเขียนโครงร่างงานวิจัย (ควรทบทวนตลอดการทำวิจัย) การเขียนเรียงย่อหน้าแต่ละ Paper จะไม่มีการสังเคราะห์ความสัมพันธ์ของความรู้ในอดีตและไม่สังเคราะห์ให้เห็นเป้าหมายความรู้ในอนาคต

ข้อบกพร่องในการทบทวนวรรณกรรม ส่วนใหญ่เขียนแบบบรรยายไม่ได้เขียนแบบวิพากษ์วิจารณ์ การทบทวนวรรณกรรม คือ “การเขียนใหม่” จากที่อ่านมาทั้งหมด จะต้องจับเนื้อหาของทุก paper ให้หลอมเป็นเรื่องเดียวกันให้ได้ และ “เขียนใหม่” จากที่อ่านมาทั้งหมด ขาดการอ้างอิงที่ถูกต้องซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการโจรกรรมทางวิชาการ (plagiarism)

การประเมินวรรณกรรม ระดับความเกี่ยวข้อง 1. เกี่ยวข้องกับชื่อเรื่องหรือปัญหาในการวิจัย เพื่อใช้ในการเขียนภูมิหลัง ความสำคัญและที่มาของปัญหาได้ชัดเจน 2. เกี่ยวข้องกับสมมติฐานเพื่อจะได้มีเหตุผลว่าทำไมกำหนดสมมติฐานเช่น เน้นวรรณกรรมที่คัดเลือกมาควรจะเกี่ยวข้องหรือสนับสนุนสมมติฐาน 3. เกี่ยวข้องกับตัวแปร เพื่อจะได้กำหนดตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย นำไปสู่การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย 4. เกี่ยวข้องกับการอภิปรายผล เพื่อนำมาสนับสนุน/โต้แย้ง ผลการวิจัยที่ได้ /เปรียบเทียบกับผลงานวิจัยในอดีต 32

การประเมินวรรณกรรม ระดับความครอบคลุม การเลือกวรรณกรรมที่สามารถนำมาอ้างอิง สนับสนุน/ โต้แย้งครอบคลุมประเด็นต่างๆ ให้มากที่สุดตั้งแต่ภูมิหลังความ เป็นมา กรอบแนวคิด สมมติฐาน ขอบเขต ตัวแปร และการ อภิปรายผลการวิจัย ถ้าเลือกวรรณกรรมที่ครอบคลุมน้อยจะต้องใช้วรรณกรรม เป็นจำนวนมากเกินไปในการศึกษาวิจัย 33

การประเมินวรรณกรรม ระดับความน่าเชื่อถือ 1. ความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มา จะต้องสามารถสืบค้นได้ถึงเจ้าของผลงานเดิม 2. ความน่าเชื่อถือของประเภทวรรณกรรมปฐมภูมิมากกว่าทุติยภูมิ 3. ความน่าเชื่อถือของเจ้าของวรรณกรรม คุณวุฒิ ความถนัด ความชำนาญของเจ้าของวรรณกรรม 4. ความน่าเชื่อถือในสำนักพิมพ์ McGraw-Hill ,Adison Wesly,. Prentice-Hall, Dryden Press 5. ความทันสมัยของวรรณกรรม ปี พ.ศ. 34

แหล่งสืบค้นข้อมูลระดับนานาชาติที่เด่น ๆ ด้านการบริหารธุรกิจและที่สัมพันธ์กัน

Google การใช้คำค้น หลายคำร่วมกัน ช่วยให้ได้ผลที่ตรงความต้องการมากขึ้น เช่น รวม .pdf .doc .ppt เข้าไปด้วยก็ได้

Google scholar สามารถใส่ชื่อเรื่อง คำสำคัญ เข้าไปได้เลย ผลที่ได้ จะเป็นทั้ง หนังสือ ตำรา และบทความในลักษณะต่างๆ

Emerald เป็นฐานข้อมูลครอบคลุมสาขาวิชาด้านการจัดการ ได้แก่ การเงินและการบัญชี ระบบอัตโนมัติขั้นสูง กฎหมายและจริยธรรมทางธุรกิจ คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ เศรษฐศาสตร์การศึกษา การผลิตและการบรรจุภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ABI/INFORM ฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลทางด้านธุรกิจ การโฆษณา การตลาด เศรษฐศาสตร์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การเงิน ภาษี คอมพิวเตอร์ มากกว่า 1,100 รายชื่อ รวมถึงสารสนเทศของบริษัทต่าง ๆ อีกมากกว่า 60,000 บริษัท และสามารถสืบค้นบทความฉบับเต็มได้จากวารสารทั่วโลกกว่า 800 รายชื่อ (เป็นฐานข้อมูลที่ สกอ.บอกรับ)

A to Z เป็นเครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการ ในการเข้าใช้วารสารออนไลน์ ผู้ใช้สามารถสืบค้นรายชื่อวารสารภาษาอังกฤษที่มีให้บริการผ่านฐานข้อมูลและ วารสารออนไลน์ที่ มก. บอกรับ เช่น ACM, IEEE, Science Direct, Springer Link เป็นต้น การสืบค้นผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นด้วยคำสำคัญของชื่อวารสาร หรือ เรียกดูรายชื่อวารสารตามลำดับอักษร และตามหัวเรื่องของวารสาร พร้อมกับเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลที่มีวารสารชื่อนั้น ๆ ให้บริการ ซึ่งสามารถเลือกอ่านและเรียกดูเอกสารฉบับเต็มได้อย่างรวดเร็ว

ISI Web of Science เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขป พร้อมการอ้างอิงและอ้างถึง ที่ครอบคลุมสาขาวิชาหลักทั้งวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จากวารสารประมาณ 9,200 รายชื่อ ให้ข้อมูลตั้งแต่ปี 2001-ปัจจุบัน (เป็นฐานข้อมูลที่ สกอ.บอกรับ)

แหล่งข้อมูลการค้นหาวรรณกรรม ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ให้ข้อมูลเอกสารฉบับเต็มของวารสารที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Springer Verlag โดยมีวารสารทั้งด้าน วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิศวกรรมศาสตร์ การแพทย์ กฎหมายและสาขาอื่นๆ สามารถสืบค้นและเรียกดูบทความวารสารฉบับเต็มได้ตั้งแต่ปี 1997-ปัจจุบัน  (เป็นฐานข้อมูลที่ สกอ.บอกรับ)

แหล่งข้อมูลการค้นหาวรรณกรรม ScienceDirect – http://www.sciencedirect.com ฐานข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และอื่นๆ

แหล่งข้อมูลการค้นหาวรรณกรรม Scopus - http://www.scopus.com/ ฐานข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และอื่นๆ

แหล่งสืบค้นข้อมูลภายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยบริหารธุรกิจและ ด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน

งานวิจัยด้านบริหารธุรกิจ สามารถสืบค้นงานวิจัยได้ตั้งแต่ปี 2548

งานวิจัยด้านการบัญชีโดยตรง สามารถสืบค้นงานวิจัยได้ ตั้งแต่ปี 2548 มีวารสารให้สืบค้นฟรีตั้งแต่ 2548 จนถึงปีปัจจุบัน

งานวิจัยด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี การบัญชีสืบค้นได้ตั้งแต่ปี 2548

งานวิจัยด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี ด้านสังคมศาสตร์ (รวมถึงการบัญชี) สืบค้นได้ตั้งแต่ปี 2546

งานวิจัยด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี เน้นบทความวิชาการด้านสังคมศาสตร์ (รวมถึงการบัญชี) สืบค้นได้ตั้งแต่ปี 2549

งานวิจัยด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี ด้านสังคมศาสตร์ (รวมถึงการบัญชี) งานวิจัยด้านสังคมศาสตร์ (รวมถึงการบัญชี) สืบค้นได้ตั้งแต่ปี 2543

การโจรกรรมทางวิชาการ (Plagiarism)

รูปแบบ Plagiarism รูปแบบต่าง ๆ ของ Plagiarism พอจะสรุปได้ดังนี้ 1. Copy and Paste Plagiarism (การคัดลอก-แปะ) คือ การ นำข้อความจากต้นฉบับมาใช้โดยไม่ใส่เครื่องหมายคำพูดและเขียนอ้างอิง 2. Word Switch Plagiarism (การเปลี่ยนคำ) คือ การนำ ข้อความต้นฉบับมาเปลี่ยนบางคำโดยไม่ใส่เครื่องหมายคำพูดและ เขียนอ้างอิง 3. Metaphor Plagiarism (การอุปมา) คือ การนำคำอุปมาของ ต้นฉบับมาใช้ โดยไม่ได้อุปมาเป็นอย่างอื่น โดยไม่อ้างอิง 4. Style Plagiarism (สำนวน) นำข้อความต้นฉบับผู้อื่นมาใช้ โดยเรียงประโยคใหม่อันแสดงถึงรูปแบบสำนวนเดิม

รูปแบบ Plagiarism รูปแบบต่าง ๆ ของ Plagiarism พอจะสรุปได้ดังนี้ 5. Idea Plagiarism (ความคิด) คือ การนำทฤษฎีต่างๆ มา วิเคราะห์ หรือวิจารณ์ถึงความรู้ทั่วไป หากมีผู้อื่นวิเคราะห์ด้วยทฤษฎี แล้วต้องอ้างอิง หากไม่อ้างอิงจะเป็น Plagiarism อาจเลี่ยงได้โดย เขียนด้วยทฤษฎีอื่น 6. การกระทำอื่นๆ ที่ถือเป็น Plagiarism เช่น การส่งผลงานชิ้น เดียวกันไปยังสำนักพิมพ์ 2 แห่ง หรือลอกผลงานตัวเอง (Self Plagiarism) 7. การส่งผลงานที่ทำร่วมกับผู้อื่นไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เขียนร่วม การลอกการบ้าน การใช้บทความจาก อินเทอร์เน็ตโดยไม่อ้างอิง การนำคำกล่าว สุนทรพจน์ สถิติ ภาพ กราฟ ผู้อื่นไปใช้โดยไม่อ้างอิง

เทคนิคการหลีกเลี่ยง Plagiarism 1. ค้นคว้าจากหลาย ๆ แหล่ง อ่านให้เข้าใจถ่องแท้ และเขียนผลงานด้วยสำนวนตัวเอง 2. จดบันทึกย่อทุกครั้งที่อ่านข้อมูล และกำกับแหล่งอ้างอิงทุก ครั้ง 3. เขียนผลงานด้วยภาษาตนเองไม่นำคำของคนอื่นมาใช้ โดย ทิ้งเวลาหลังจากอ่านข้อมูลต่าง ๆ สักพักจึงเขียนงานตัวเองจะช่วยให้ สำนวนที่เขียนเป็นภาษาของเราเองอย่างแท้จริง 4. เขียนโดยใช้วิธีถอดความ หรือ การสรุปสาระสำคัญแทนการ คัดลอก และเขียนอ้างอิงให้ถูกต้อง 5. หากจำเป็นต้องนำข้อความนั้นมาอ้างอิง ควรเขียนอ้างอิงให้ ชัดเจน และใส่เครื่องหมายคำพูดตรงข้อความที่คัดลอก

สรุป การทบทวนวรรณกรรมต้องเป็นการให้ความรู้เพื่อขยายหัวข้อ การวิจัย ปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย การพัฒนา สมมติฐานการวิจัย ตลอดจนระเบียบวิธีวิจัย และ วิธีดำเนินการวิจัยเพื่อค้นหาคำตอบที่ต้องการ การทบทวน วรรณกรรมที่ดีควรใช้ภาษาของผู้วิจัยเองและควรแบ่งประเด็น หัวข้อต่างๆ ให้ชัดเจนและเชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆ ให้เป็นเนื้อ เดียวกัน

เอกสารอ้างอิง การทบทวนวรรณกรรม, ดร.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ การทบทวนวรรณกรรมสำหรับนักวิจัย, นพ.เฉวตสรร นามวาท การทบทวนวรรณกรรมในการวิจัย, นิรมล เมืองโสม การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง, รศ.ดร.ดุษฎี โยเหลา การวิเคราะห์อภิมาน, นงลักษณ์ วิรัชชัย คู่มือปฏิบัติการทำวิจัยเบื้องต้น สำหรับการทำวิจัย Suanders, M., Lewis, P. and Thornhill. Research methods for business students. Fifth edition.

กิจกรรมในชั้นเรียน ให้ท่านใช้เทคนิคแผนภาพต้นไม้ในการแสดง หัวข้อวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของ กลุ่มท่านพร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ กลุ่มอื่น