งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง ธุรกิจระหว่างประเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง ธุรกิจระหว่างประเทศ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 03762491 ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง ธุรกิจระหว่างประเทศ
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง ธุรกิจระหว่างประเทศ Basic Research Methods in International Business ณรงค์พงศ์ เพิ่มผล เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์ 7 : 21/22 ก.พ. 61

2 การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review)
ความหมายการทบทวนวรรณกรรม 1 ความสำคัญของการทบทวนวรรณกรรม 2 วัตถุประสงค์และเป้าหมายการทบทวนวรรณกรรม 3 ประเภทการทบทวนวรรณกรรม 3 4 เทคนิคและขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม 3 5

3 ความหมายการทบทวนวรรณกรรม
ความหมายวรรณกรรมวิจัย วรรณกรรม หมายถึง งานหนังสือ งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด โดยที่มี การนำเสนอในรูปแบบต่างๆ กัน เช่น ตำรา หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ สิ่งบันทึกเสียง ภาพถ่าย และอื่นๆ เป็นต้น วรรณกรรมในงานวิจัย หมายถึง เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ (1) แนวคิด/ทฤษฎี และ (2) ผลงานวิจัยที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กับเรื่องที่ทำการ การศึกษาวิจัย The University of Sydney (2010) การทบทวนวรรณกรรมเป็น การจัดระบบหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยผ่านการ สังเคราะห์เพื่อนำไปสู่การพัฒนางานวิจัยครั้งต่อไป

4 ความหมายการทบทวนวรรณกรรม
Zikmund, Babin, Carr, & Griffin (2010) ให้ความหมายการ ทบทวนวรรณกรรมหมายถึง การค้นหาโดยตรงจากงานที่ได้รับการตีพิมพ์ รวมถึงวารสารที่ตีพิมพ์ตามเวลาที่กำหนด และหนังสือที่มีการกล่าวถึง ทฤษฎีและแสดงผลการศึกษาเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ทำการ ศึกษา Hart (อ้างถึง Levy & Ellis, 2006) กล่าวอธิบายว่า การทบทวน วรรณกรรมเป็นการใช้ความคิดที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมเพื่อสนับสนุน วิธีการที่เฉพาะสำหรับหัวข้อวิจัยการเลือกวิธีการวิจัยและแสดงให้เห็นว่า งานวิจัยนี้นำเสนอสิ่งใหม่ นอกจากนี้ Hart ยังกล่าวว่า คุณภาพของการ ทบทวนวรรณกรรมหมายถึงความเหมาะสมทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก โดย มีความเข้มข้นและสม่ำเสมอ มีความชัดเจนและใช้คำที่กระชับและมีการ วิเคราะห์และสังเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ

5 ความหมายการทบทวนวรรณกรรม
การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) เป็นการกระบวน การตรวจสอบเอกสารทางวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้องานวิจัยเพื่อนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ขึ้นอย่างเป็นระบบและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ การทบทวนวรรณกรรมควรเป็นกระบวนการสำคัญของทุกขั้นตอนการวิจัยหลัก ๆ ได้แก่ ก่อนเริ่มทำวิจัย :- เพื่อกำหนดชื่อเรื่อง ปัญหาวิจัย วัตถุประสงค์ สมมติฐาน กรอบแนวคิดการวิจัยระเบียบวิธีการวิจัยและวิธีดำเนินการวิจัย ระหว่างทำวิจัย :- เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าของงานวิจัยต่างๆ ที่ยังตรวจไม่พบ ตอนเสนอโครงร่าง สรุปผลการวิจัย :- เพื่อจะได้ข้อมูลสนับสนุนผลการวิจัยเพิ่มเติม

6 ความหมายการทบทวนวรรณกรรม
การทบทวนวรรณกรรมวิจัย การศึกษาค้นคว้าและเรียบเรียงแนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัย ที่จะเกี่ยวข้องให้เชื่อมโยงกับเรื่องที่ศึกษาวิจัย การนำเสนอวรรณกรรม การคัดเลือกวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำการศึกษา วิจัยมาวิเคราะห์และรวบรวมกำหนดเป็นแนวคิดรวมแล้วนำมาเสนอเพื่อ สนับสนุนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา กรอบแนวคิด ตัวแปร การกำหนดสมมติฐานและการอภิปรายผล

7 ความสำคัญของการทบทวนวรรณกรรม
1. สร้างความชัดเจนให้กับหัวข้อวิจัย 1.1 ช่วยให้ผู้วิจัยมองปัญหาด้วยความเข้าใจ และอธิบายปัญหาการ วิจัยถูกต้องชัดเจน 1.2 ช่วยให้ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหามีน้ำหนัก เพราะมี แนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุน ช่วยสนับสนุนการ ตั้งสมมติฐานและวิธีการวิจัย 1.3 ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถสังเคราะห์กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual framework) 7

8 ความสำคัญของการทบทวนวรรณกรรม
2. ตรวจสอบความซ้ำซ้อนของเรื่องที่จะศึกษา ช่วยให้ทราบว่าเรื่องที่จะศึกษามีใครเคยทำมาก่อน? จะได้เพิ่มหรือฉีก แนวการวิจัยให้แตกต่างออกไป 3. สนับสนุนการอภิปรายผล ช่วยให้ผู้วิจัยมีเหตุผลสนับสนุนสิ่งที่ผู้วิจัยค้นพบว่าจะมีความแตกต่าง/ เหมือนกับงานวิจัยเดิมอย่างไร เช่น ผลการศึกษา พบว่า ก ลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็น กลุ่ม Gen z ที่เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อความงาม ซึ่งสอดคล้องกับผล การวิจัยของศูนย์วิจัยกสิกรไทย (2551 : 72) ที่พบว่า เพศหญิงมีแนวโน้มซื้อผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารมากกว่าเพศชาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเพศหญิงมีความรักสวยรักงามมากกว่าเพศ ชาย เป็นต้น 8

9 ความสำคัญของการทบทวนวรรณกรรม
4. การขยายความรู้ทางวิชาการ ช่วยให้ผู้วิจัยได้แนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวมา 4.1 ช่วยขยายความรู้ทางวิชาการในเรื่องที่ทำ 4.2 ช่วยการให้นิยามศัพท์ให้มีความชัดเจนขึ้น 4.3 ช่วยให้เกิดแนวคิดใหม่ในการต่อเติมงานวิจัยที่มีอยู่ให้เป็นหัว ข้อใหม่ ในการวิจัยคราวต่อไป เช่น ภาพลักษณ์ต่อองค์กร หมายถึง ภาพที่เกิดขึ้นในใจของคน (Mental picture) ภาพลักษณ์ต่อองค์กร หมายถึง องค์รวมของความเชื่อ ความคิดและความ ประทับใจที่บุคคลมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ภาพลักษณ์ต่อองค์กร หมายถึง การรับรู้ของผู้บริโภคต่อองค์กรทั้งหมด 9

10 วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรม
ผู้วิจัยทำการค้นคว้าศึกษารวบรวมและประมวลผลงานทางวิชาการ เช่น ผลงานวิจัย บทความเอกสารทางวิชาการและตำราที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องหรือประเด็นที่ทำการวิจัย วัตถุประสงค์การทบทวนวรรณกรรม : เพื่อประเมินประเด็นปัญหา แนวคิด ระเบียบวิธีการวิจัย ข้อสรุป ข้อเสนอแนะจากผลงานวิจัยหรือเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ หัวข้อหรือประเด็นของปัญหาของการวิจัยก่อนที่จะดำเนินการ ทำการวิจัย ของตนเองและในบางครั้งอาจมีการทบทวนเพิ่มเติมหลังจากที่ได้ลงมือทำ ไปบ้างแล้ว (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์) Neuman (1997: 68-69) และนงลักษณ์ วิรัชชัย (2543: 55-57) อธิบายวัตถุประสงค์สำคัญในการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไว้ว่า 1. เพื่อให้ทราบสภาพที่เป็นปัญหาทางสังคมโดยทั่วไปในประเด็นที่สนใจทำให้ได้ข้อมูลในการนำมาเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัยได้อย่างชัดเจน 10

11 วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรม
ผู้วิจัยทำการค้นคว้าศึกษารวบรวมและประมวลผลงานทางวิชาการ เช่น ผลงานวิจัย บทความเอกสารทางวิชาการและตำราที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องหรือประเด็นที่ทำการวิจัย วัตถุประสงค์การทบทวนวรรณกรรม : เพื่อประเมินประเด็นปัญหา แนวคิด ระเบียบวิธีการวิจัย ข้อสรุป ข้อเสนอแนะจากผลงานวิจัยหรือเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ หัวข้อหรือประเด็นของปัญหาของการวิจัยก่อนที่จะดำเนินการ ทำการวิจัย ของตนเองและในบางครั้งอาจมีการทบทวนเพิ่มเติมหลังจากที่ได้ลงมือทำ ไปบ้างแล้ว (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์) Neuman (1997: 68-69) และนงลักษณ์ วิรัชชัย (2543: 55-57) อธิบายวัตถุประสงค์สำคัญในการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไว้ว่า 1. ทำให้ทราบสภาพที่เป็นปัญหาทางสังคมโดยทั่วไปในประเด็นที่สนใจ สำหรับนำข้อมูลมาเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัยได้อย่างชัดเจน 11

12 วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรม
2. ทำให้เกิดความชัดเจนในการกำหนดปัญหาการวิจัย เป็นการศึกษาให้ได้ข้อมูลว่า (1) ประเด็นที่สนใจจะทำวิจัยนั้นมีบุคคลใดทำวิจัยบ้างแล้ว (2) ผลเป็นอย่างไรมีความครอบคลุมในประเด็นนั้น ๆ หรือไม่ (3) ประเด็นย่อย ๆ ใดที่ยังไม่ได้วิจัยและมีคุณค่าที่จะวิจัยหรือไม่ ทำให้ได้ข้อมูลในการนำมากำหนดคำถามการวิจัยอย่างเหมาะสม ไม่ซ้ำซ้อน การรับทราบความสำคัญของประเด็นที่ต้องการวิจัยและความเชื่อมโยงของงานวิจัยตนเองกับงานวิจัยในอดีต 3. ทำให้พัฒนากรอบความคิดการวิจัยและสมมุติฐานการวิจัย ในการนำ เสนอกรอบแนวคิดเบื้องต้นอาจมีลักษณะกรอบแนวคิดที่กว้าง ๆ ดังนั้นจะต้องศึกษา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อ : (1) กำหนดตัวแปรที่ต้องการศึกษาในลักษณะของคำนิยามเชิงปฏิบัติการ (2) สมมุติฐานการวิจัยที่มีพื้นฐานทฤษฎี และงานวิจัยอ้างอิงความถูกต้องและชัดเจน 12

13 วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรม
4. ทำให้เพื่อให้มีข้อมูลใช้พิจารณาตัดสินใจเลือกวิธีดำเนินการ ซึ่งเป็นการศึกษาแบบแผนของการวิจัยว่าแต่ละขั้นตอน : (1) มีจุดเด่นหรือจุดบกพร่องที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไร (2) สามารถเลือกใช้แบบแผนการวิจัยใหม่ได้อย่างมีคุณภาพและ มาตรฐานสูงกว่างานวิจัยในอดีต 5. ทำให้นำไปอภิปรายผลการวิจัย และทราบประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย เป็นการนำสาระจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาสังเคราะห์เพื่อ ใช้อภิปรายผลว่า : (1) ความแตกต่างหรือสอดคล้องกับกรอบแนวคิด (2) ปฏิเสธหรือยอมรับสมมุติฐานที่กำหนดขึ้น (3) ตอบคาถามของประเด็นการวิจัยหรือไม่ (4) จะทำให้การวิจัยของตนเกิดประโยชน์ทั้งด้านวิชาการและการนำไปใช้ได้อย่างไร 13

14 เป้าหมายการทบทวนวรรณกรรม
จะได้ทราบว่ามีใครเคยทำงานวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องที่เรากำลังศึกษา ทำให้ ไม่ทำวิจัยซ้ำกับผู้อื่น ทำให้ทราบอุปสรรค หรือข้อบกพร่อง ในการทำวิจัยในเรื่องนั้นๆ ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการพิจารณากำหนดขอบเขตและตัวแปร ในการวิจัย ใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยและกำหนดสมมติฐาน การวิจัย ช่วยในการกำหนดรูปแบบและวิธีการวิจัย ช่วยในการเชื่อมโยงสิ่งที่ค้นพบในการวิจัยครั้งนี้กับที่พบจากการวิจัยที่ ผ่านมา 14

15 เป้าหมายการทบทวนวรรณกรรม
แสดงให้ผู้ตรวจสอบโครงการรู้ว่า ผู้เสนอโครงการ มีความรู้ครบถ้วนแล้วทั้งทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้อง ที่สอดคล้องและที่ขัดแย้ง รู้ครบถ้วนแล้วว่า ใครทำอะไรไว้บ้าง เพื่อสรุปให้ได้ในตอนท้ายว่า ด้วยความรู้ทั้งปวงที่ปรากฏอยู่นั้น ทำให้เราเชื่อได้ว่าเราต้องทำอะไรต่อไป Remember: The purpose of your literature review is not to provide a summary of everything that has been written on your research topic, but to review the most relevant and significant research on your topic 15

16 บทความทางวิชาการ(Articles)
ประเภทของวรรณกรรม บทความทางวิชาการ(Articles) 1. วรรณกรรมประเภทปฐมภูมิ (Primary Literature) วิทยานิพนธ์ (Thesis) งานนิพนธ์ (Independent Study ) รายงานผลการวิจัย (Research Report) สิ่งค้นพบอื่นๆ เช่น ภาพ เสียง 16

17 5 บทความทางวิชาการ(Articles) ประเภทของวรรณกรรม
2. วรรณกรรมประเภททุติยภูมิ (Secondary Literature) ตำรา (Text Book) ปริทัศน์งานวิจัย (Research Review) สารานุกรม (Encyclopedia) พจนานุกรม (Dictionary) คู่มือ (Handbooks) รายงานประจำปี (Yearbooks) 17

18 แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย :
ระบุแหล่งที่น่าเชื่อถือ และอ้างอิงถูกต้อง 2) ความเหมาะสม ทันสมัย (ไล่เรียงจากปัจจุบันย้อนหลังไป) 3) พอเพียงที่ใช้เป็นแนวคิดการวิจัยและกรอบการวิจัย

19 ตัวอย่าง พฤติกรรมการเปิดรับและทัศนคติของกลุ่มคนวัยทำงานที่มีต่อรายการข่าวภาคเที่ยงของสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย การแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นกรอบแนวความคิดในการศึกษา จึงประกอบด้วย 1. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมการเปิดรับข่าว 2. ทฤษฏีการเลือกและการแสวงหาข่าวสาร 3. แนวคิดและทฤษฏีเกี่ยวกับทัศนคติ 4. งานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง : ทัศนีย์ ยาสมาน การชมรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เทวี แย้มสรวล การวิเคราะห์องค์ประกอบที่มีผลต่อความสนใจรายการโทรทัศน์ สำหรับเด็กของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 19

20 The Literature Review Process

21 The Literature Review Process
In the initial stage of you literature review, you will start to define the parameters to your research question(s) and objectives. After generating key words, and conducting your first search, you will have a list of references to authors who have published on these subjects. Once these have been obtained, you can read and evaluate them, record the ideas and start drafting your review. After the initial search, you will be able to redefine your parameters more precisely and undertake further search, keeping in mind your research question(s) and objectives.

22 การประเมินวรรณกรรม ระดับความเกี่ยวข้อง
1. เกี่ยวข้องกับชื่อเรื่องหรือปัญหาในการวิจัย เพื่อใช้ในการเขียนภูมิหลัง ความสำคัญและที่มาของปัญหาได้ชัดเจน 2. เกี่ยวข้องกับสมมติฐานเพื่อจะได้มีเหตุผลว่าทำไมกำหนดสมมติฐานเช่น เน้นวรรณกรรมที่คัดเลือกมาควรจะเกี่ยวข้องหรือสนับสนุนสมมติฐาน 3. เกี่ยวข้องกับตัวแปร เพื่อจะได้กำหนดตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย นำไปสู่การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย 4. เกี่ยวข้องกับการอภิปรายผล เพื่อนำมาสนับสนุน/โต้แย้ง ผลการวิจัยที่ได้ /เปรียบเทียบกับผลงานวิจัยในอดีต 22

23 การประเมินวรรณกรรม ระดับความครอบคลุม
การเลือกวรรณกรรมที่สามารถนำมาอ้างอิง สนับสนุน/ โต้แย้งครอบคลุมประเด็นต่างๆ ให้มากที่สุดตั้งแต่ภูมิหลังความ เป็นมา กรอบแนวคิด สมมติฐาน ขอบเขต ตัวแปร และการ อภิปรายผลการวิจัย ถ้าเลือกวรรณกรรมที่ครอบคลุมน้อยจะต้องใช้วรรณกรรม เป็นจำนวนมากเกินไปในการศึกษาวิจัย 23

24 การประเมินวรรณกรรม ระดับความน่าเชื่อถือ
1. ความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มา จะต้องสามารถสืบค้นได้ถึงเจ้าของผลงานเดิม 2. ความน่าเชื่อถือของประเภทวรรณกรรมปฐมภูมิมากกว่าทุติยภูมิ 3. ความน่าเชื่อถือของเจ้าของวรรณกรรม คุณวุฒิ ความถนัด ความชำนาญของเจ้าของวรรณกรรม 4. ความน่าเชื่อถือในสำนักพิมพ์ McGraw-Hill ,Adison Wesly,. Prentice-Hall, Dryden Press 5. ความทันสมัยของวรรณกรรม ปี พ.ศ. 24

25 เทคนิคและขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม
การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยอย่างพินิจพิเคราะห์ การอ่านเก็บความจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การอ่านเก็บความคิดสำคัญ (Main Ideas) การอ่านเก็บรายละเอียด (Details) การอ่านวิธีการจัดระเบียบความคิด (Organisation of Ideas) การอ่านระหว่างบรรทัด (Read Between the Lines) จากนั้นจึง ถอดความ (Paraphrase) สรุป (Summarise) และ คัดลอกข้อความ (Quote) 25

26 เทคนิคและขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม
การจดบันทึกเนื้อหาสาระที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม ในเรื่อง/หัวข้อ ต่อไปนี้ ปัญหาและวัตถุประสงค์การวิจัย เหตุผลที่ทำวิจัย สมมติฐาน ทฤษฎี หรือ กรอบแนวคิด ตัวแปร เครื่องมือการวิจัย วิธีดำเนินการ ผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ 26

27 เทคนิคและขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม
27

28 เทคนิคและขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม
ตารางสังเคราะห์การทบทวนวรรณกรรม 28

29 เทคนิคและขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม
ตัวอย่าง : ตารางแสดงการสรุปตัวแปรที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม 29

30 เทคนิคและขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม
ตัวอย่าง : ตารางแสดงการสรุปตัวแปรที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม 30

31 เทคนิคและขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม
ตัวอย่าง : ตารางแสดงการสรุปตัวแปรที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม 31

32 เทคนิคและขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม
ตัวอย่าง : ตารางแสดงการสรุปตัวแปรที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม 32

33 เทคนิคและขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม
ตัวอย่าง : ตารางแสดงการสรุปตัวแปรที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม 33

34 หลักคิดในการทบทวนวรรณกรรม
การทบทวนวรรณกรรมไม่จำเป็นต้องอ้างถึงวรรณกรรมหลักทั้งหมดในสาขาที่ศึกษา การทบทวนวรรณกรรมควรระบุความจำ เป็นสำ หรับการศึกษาครั้งต่อไปทุกครั้ง คำถามการวิจัยมีความสำคัญต่อการกำหนดแนวทางการวิจัย สำหรับการทบทวนวรรณกรรม วรรณกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยไม่ควรนำมาใส่ในงานวิจัย ที่มา: ปรับมาจาก The University of Sydney (2010) อ้างใน ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี

35 เทคนิคการทบทวนวรรณกรรม
เทคนิคแผนภาพต้นไม้ เป็นเทคนิคการกำหนดโครงสร้างของการทบทวนวรรณกรรมโดยมี ขั้นตอนที่สำคัญดังนี้ 1.1 การแสดงคำถามการวิจัยหรือวัตถุประสงค์การวิจัยไว้ด้านบนสุด 1.2 การระบุคำสำคัญที่สุดสองหรือสามประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยมากที่สุด 1.3 กำหนดประเด็นย่อยๆ ของคำสำคัญในข้อ 1.2 1.4 กำหนดรายละเอียดของประเด็นย่อยๆ ในข้อ 1.3 ลงไปอีก 1.5 ดำเนินการสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 1.6 เมื่อได้อ่านวรรณกรรมต่างๆ แล้วอาจต้องกลับไปทบทวน ขั้นตอนเริ่มแรกใหม่ 2. พีระมิดคว่ำ เป็นเทคนิคการทบทวนวรรณกรรมรวมถึงการเขียนบทนำโดยส่วนบนของพิระมิดคือ ความสำคัญทั่วไปของแต่ละแนวคิดหรือทฤษฏี ส่วนกลางคือเนื้อหา ส่วนสุดท้ายคือการเชื่อมโยงเนื้อหาเข้ากับงานวิจัย

36

37 Broad Introduction to the theory/topic
Level of details Conclusion/research questions แนวคิดนี้ใช้ได้ทั้งกับ การเขียนบทนำ การทบทวนวรรณกรรม ในแต่ละประเด็น

38 หลักคิดในการทบทวนวรรณกรรม
การทบทวนวรรณกรรมไม่จำเป็นต้องอ้างถึงวรรณกรรมหลักทั้งหมดในสาขาที่ศึกษา การทบทวนวรรณกรรมควรระบุความจำ เป็นสำ หรับการศึกษาครั้งต่อไปทุกครั้ง คำถามการวิจัยมีความสำคัญต่อการกำหนดแนวทางการวิจัย สำหรับการทบทวนวรรณกรรม วรรณกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยไม่ควรนำมาใส่ในงานวิจัย ที่มา: ปรับมาจาก The University of Sydney (2010) อ้างใน ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี

39 ข้อบกพร่องในการทบทวนวรรณกรรม
เป้าหมายในการทบทวนวรรณกรรมไม่ชัดเจน ทำการทบทวนวรรณกรรมโดยการบอกสิ่งที่ผู้วิจัยในอดีตได้ทำทุกอย่าง เขียนย่อหน้าเท่ากับจำนวนเอกสารที่อ่าน แต่ละย่อหน้าเขียนสรุปว่า แต่ละ Paper ทำอะไร ได้อะไร โดยการลอกบางส่วนของ Abstract และ Conclusion เขียนเรียงปี พ.ศ. กันไปตามลำดับ โดยไม่มีการแยกประเด็นชัดเจน การทบทวนวรรณกรรมเฉพาะตอนที่จะเขียนโครงร่างงานวิจัย (ควรทบทวนตลอดการทำวิจัย) การเขียนเรียงย่อหน้าแต่ละ Paper จะไม่มีการสังเคราะห์ความสัมพันธ์ของความรู้ในอดีตและไม่สังเคราะห์ให้เห็นเป้าหมายความรู้ในอนาคต

40 ข้อบกพร่องในการทบทวนวรรณกรรม
ส่วนใหญ่เขียนแบบบรรยายไม่ได้เขียนแบบวิพากษ์วิจารณ์ การทบทวนวรรณกรรม คือ “การเขียนใหม่” จากที่อ่านมาทั้งหมด จะต้องจับเนื้อหาของทุก paper ให้หลอมเป็นเรื่องเดียวกันให้ได้ และ “เขียนใหม่” จากที่อ่านมาทั้งหมด ขาดการอ้างอิงที่ถูกต้องซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการโจรกรรมทางวิชาการ (plagiarism)

41 ตัวอย่าง : การอ่านเก็บความจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
ผลการวิจัยเรื่อง “การศึกษาโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับของสินค้าประเภทผักสดเพื่อการส่งออก” นี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ(Exploratory research) กึ่งการวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive Research)เพื่อหาโครงสร้างข้อมูลขั้นต้นที่เกษตรกรหรือผู้ส่งออกผักสดไฮโดรโปนิกส์ของไทยจำเป็นต้องเก็บและบันทึกเพื่อให้สามารถแสดงที่มาของวัตถุดิบที่หรือสินค้าที่ได้รับการส่งมอบจากคู่ค้าที่เป็นซัพพลายเออร์ และสามารถแสดงถึงสินค้าที่ได้ส่งมอบสินค้าให้กับคู่ค้าที่เป็นลูกค้าโดยการใช้หลักในการตรวจสอบย้อนกลับแบบ “ถอยหลังหนึ่งขั้น และ ไปข้างหน้าหนึ่งขั้น (One-Step Forward and One-Step Backward)” การทำศึกษาวิจัยในครั้งนี้ใช้การเก็บข้อมูลปฐมภูมิจากกลุ่มประชากรตัวอย่างเพื่อค้นหาความต้องการขั้นต้นและความพร้อมขององค์กรเหล่านั้น ร่วมกับการค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิเพื่อค้นหามาตรฐานที่สามารถใช้เป็น “ภาษากลาง” หรือ “Global Language” ในการดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับร่วมกับคู่ค้าใดๆจากทุกองค์กรในห่วงโซ่อุปทานเดียวกันทั่วโลก เมื่อพิจารณาผลการศึกษาทำให้ได้ข้อสรุปถึงโครงสร้างข้อมูลซึ่งสามารถนำไปใช้งานขั้นต้นได้โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพิมพ์ฉลาก โลจิสติกส์ในแบบที่เป็นบาร์โค้ดและสามารถรองรับการนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้กับฉลากชนิด RFID ได้อีกด้วยซึ่งหากเกษตรกรและผู้ส่งออกของไทยสามารถทำการตรวจสอบย้อนกลับได้โดยที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลย่อมจะช่วยเพิ่มมูลค่าเพิ่มของสินค้าให้กับเกษตรกรและผู้ส่งออกผักสดไฮโดรโปนิกส์ของไทยได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถช่วยลดข้อจำกัดและการกีดกันทางการค้าเนื่องจากเป็นการเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติตามข้อกำหนดความปลอดภัยทางอาหาร (Food Safety Rules and Regulations Compliance Capability) ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการส่งออกที่สำคัญในปัจจุบัน

42 แหล่งสืบค้นข้อมูลระดับนานาชาติที่เด่น ๆ ด้านการบริหารธุรกิจและที่สัมพันธ์กัน

43 Google การใช้คำค้น หลายคำร่วมกัน ช่วยให้ได้ผลที่ตรงความต้องการมากขึ้น
เช่น รวม .pdf .doc .ppt เข้าไปด้วยก็ได้

44 Google scholar สามารถใส่ชื่อเรื่อง คำสำคัญ เข้าไปได้เลย
ผลที่ได้ จะเป็นทั้ง หนังสือ ตำรา และบทความในลักษณะต่างๆ

45 Emerald เป็นฐานข้อมูลครอบคลุมสาขาวิชาด้านการจัดการ ได้แก่ การเงินและการบัญชี ระบบอัตโนมัติขั้นสูง กฎหมายและจริยธรรมทางธุรกิจ คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ เศรษฐศาสตร์การศึกษา การผลิตและการบรรจุภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

46 ABI/INFORM ฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลทางด้านธุรกิจ การโฆษณา การตลาด เศรษฐศาสตร์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การเงิน ภาษี คอมพิวเตอร์ มากกว่า 1,100 รายชื่อ รวมถึงสารสนเทศของบริษัทต่าง ๆ อีกมากกว่า 60,000 บริษัท และสามารถสืบค้นบทความฉบับเต็มได้จากวารสารทั่วโลกกว่า 800 รายชื่อ (เป็นฐานข้อมูลที่ สกอ.บอกรับ)

47 A to Z เป็นเครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการ ในการเข้าใช้วารสารออนไลน์ ผู้ใช้สามารถสืบค้นรายชื่อวารสารภาษาอังกฤษที่มีให้บริการผ่านฐานข้อมูลและ วารสารออนไลน์ที่ มก. บอกรับ เช่น ACM, IEEE, Science Direct, Springer Link เป็นต้น การสืบค้นผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นด้วยคำสำคัญของชื่อวารสาร หรือ เรียกดูรายชื่อวารสารตามลำดับอักษร และตามหัวเรื่องของวารสาร พร้อมกับเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลที่มีวารสารชื่อนั้น ๆ ให้บริการ ซึ่งสามารถเลือกอ่านและเรียกดูเอกสารฉบับเต็มได้อย่างรวดเร็ว

48 ISI Web of Science เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขป พร้อมการอ้างอิงและอ้างถึง ที่ครอบคลุมสาขาวิชาหลักทั้งวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จากวารสารประมาณ 9,200 รายชื่อ ให้ข้อมูลตั้งแต่ปี 2001-ปัจจุบัน (เป็นฐานข้อมูลที่ สกอ.บอกรับ)

49 แหล่งข้อมูลการค้นหาวรรณกรรม
ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ให้ข้อมูลเอกสารฉบับเต็มของวารสารที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Springer Verlag โดยมีวารสารทั้งด้าน วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิศวกรรมศาสตร์ การแพทย์ กฎหมายและสาขาอื่นๆ สามารถสืบค้นและเรียกดูบทความวารสารฉบับเต็มได้ตั้งแต่ปี 1997-ปัจจุบัน  (เป็นฐานข้อมูลที่ สกอ.บอกรับ)

50 แหล่งข้อมูลการค้นหาวรรณกรรม
ScienceDirect – ฐานข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และอื่นๆ

51 แหล่งข้อมูลการค้นหาวรรณกรรม
Scopus - ฐานข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และอื่นๆ

52 แหล่งสืบค้นข้อมูลภายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยบริหารธุรกิจและ ด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน

53 งานวิจัยด้านบริหารธุรกิจ
สามารถสืบค้นงานวิจัยได้ตั้งแต่ปี 2548

54 งานวิจัยด้านการบัญชีโดยตรง
สามารถสืบค้นงานวิจัยได้ ตั้งแต่ปี 2548 มีวารสารให้สืบค้นฟรีตั้งแต่ 2548 จนถึงปีปัจจุบัน

55 งานวิจัยด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี
การบัญชีสืบค้นได้ตั้งแต่ปี 2548

56 งานวิจัยด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี
ด้านสังคมศาสตร์ (รวมถึงการบัญชี) สืบค้นได้ตั้งแต่ปี 2546

57 งานวิจัยด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี
เน้นบทความวิชาการด้านสังคมศาสตร์ (รวมถึงการบัญชี) สืบค้นได้ตั้งแต่ปี 2549

58 งานวิจัยด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี
ด้านสังคมศาสตร์ (รวมถึงการบัญชี) งานวิจัยด้านสังคมศาสตร์ (รวมถึงการบัญชี) สืบค้นได้ตั้งแต่ปี 2543

59 การโจรกรรมทางวิชาการ (Plagiarism)

60 รูปแบบ Plagiarism รูปแบบต่าง ๆ ของ Plagiarism พอจะสรุปได้ดังนี้
1. Copy and Paste Plagiarism (การคัดลอก-แปะ) คือ การ นำข้อความจากต้นฉบับมาใช้โดยไม่ใส่เครื่องหมายคำพูดและเขียนอ้างอิง 2. Word Switch Plagiarism (การเปลี่ยนคำ) คือ การนำ ข้อความต้นฉบับมาเปลี่ยนบางคำโดยไม่ใส่เครื่องหมายคำพูดและ เขียนอ้างอิง 3. Metaphor Plagiarism (การอุปมา) คือ การนำคำอุปมาของ ต้นฉบับมาใช้ โดยไม่ได้อุปมาเป็นอย่างอื่น โดยไม่อ้างอิง 4. Style Plagiarism (สำนวน) นำข้อความต้นฉบับผู้อื่นมาใช้ โดยเรียงประโยคใหม่อันแสดงถึงรูปแบบสำนวนเดิม

61 รูปแบบ Plagiarism รูปแบบต่าง ๆ ของ Plagiarism พอจะสรุปได้ดังนี้
5. Idea Plagiarism (ความคิด) คือ การนำทฤษฎีต่างๆ มา วิเคราะห์ หรือวิจารณ์ถึงความรู้ทั่วไป หากมีผู้อื่นวิเคราะห์ด้วยทฤษฎี แล้วต้องอ้างอิง หากไม่อ้างอิงจะเป็น Plagiarism อาจเลี่ยงได้โดย เขียนด้วยทฤษฎีอื่น 6. การกระทำอื่นๆ ที่ถือเป็น Plagiarism เช่น การส่งผลงานชิ้น เดียวกันไปยังสำนักพิมพ์ 2 แห่ง หรือลอกผลงานตัวเอง (Self Plagiarism) 7. การส่งผลงานที่ทำร่วมกับผู้อื่นไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เขียนร่วม การลอกการบ้าน การใช้บทความจาก อินเทอร์เน็ตโดยไม่อ้างอิง การนำคำกล่าว สุนทรพจน์ สถิติ ภาพ กราฟ ผู้อื่นไปใช้โดยไม่อ้างอิง

62 เทคนิคการหลีกเลี่ยง Plagiarism
1. ค้นคว้าจากหลาย ๆ แหล่ง อ่านให้เข้าใจถ่องแท้ และเขียนผลงานด้วยสำนวนตัวเอง 2. จดบันทึกย่อทุกครั้งที่อ่านข้อมูล และกำกับแหล่งอ้างอิงทุก ครั้ง 3. เขียนผลงานด้วยภาษาตนเองไม่นำคำของคนอื่นมาใช้ โดย ทิ้งเวลาหลังจากอ่านข้อมูลต่าง ๆ สักพักจึงเขียนงานตัวเองจะช่วยให้ สำนวนที่เขียนเป็นภาษาของเราเองอย่างแท้จริง 4. เขียนโดยใช้วิธีถอดความ หรือ การสรุปสาระสำคัญแทนการ คัดลอก และเขียนอ้างอิงให้ถูกต้อง 5. หากจำเป็นต้องนำข้อความนั้นมาอ้างอิง ควรเขียนอ้างอิงให้ ชัดเจน และใส่เครื่องหมายคำพูดตรงข้อความที่คัดลอก

63

64

65

66

67

68

69 สรุป การทบทวนวรรณกรรมต้องเป็นการให้ความรู้เพื่อขยายหัวข้อ การวิจัย ปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย การพัฒนา สมมติฐานการวิจัย ตลอดจนระเบียบวิธีวิจัย และ วิธีดำเนินการวิจัยเพื่อค้นหาคำตอบที่ต้องการ การทบทวน วรรณกรรมที่ดีควรใช้ภาษาของผู้วิจัยเองและควรแบ่งประเด็น หัวข้อต่างๆ ให้ชัดเจนและเชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆ ให้เป็นเนื้อ เดียวกัน

70 เอกสารอ้างอิง การทบทวนวรรณกรรม, ดร.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์
การทบทวนวรรณกรรมสำหรับนักวิจัย, นพ.เฉวตสรร นามวาท การทบทวนวรรณกรรมในการวิจัย, นิรมล เมืองโสม การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง, รศ.ดร.ดุษฎี โยเหลา การวิเคราะห์อภิมาน, นงลักษณ์ วิรัชชัย คู่มือปฏิบัติการทำวิจัยเบื้องต้น สำหรับการทำวิจัย Suanders, M., Lewis, P. and Thornhill. Research methods for business students. Fifth edition.

71 กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)
ความหมาย : แบบจำลองที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสร้างขึ้นโดยใช้ ทฤษฎี ข้อสรุปเชิงประจักษ์ ข้อมูลจากสมมติฐานและผลงานวิจัย นำมา สังเคราะห์เพื่อให้ผู้วิจัยเกิดมุมมองภาพรวมของงานวิจัยเรื่องนั้น แบบจำลองที่ใช้แทนความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในเรื่องที่ศึกษาว่ามีแนวคิดที่สำคัญอะไรบ้างในปรากฏการณ์นั้น ตัวแปร หรือ ปรากฏการณ์เชื่อมโยงเกี่ยวกันอย่างไร ทั้งนี้ เพื่อจะนำความสัมพันธ์ที่คิดขึ้นไปตรวจสอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ต่อไปว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่

72 กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)
ความหมาย : เป็นภาพพจน์ ที่กำหนดว่าตัวแปรต่างๆ ที่ผู้วิจัยจะศึกษามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไร เป็นปัญหาที่ตั้งไว้แต่ละข้อจะหาคำตอบได้อย่างไร เป็นใช้ระเบียบวิธีการวิจัยอย่างไรจึงจะค้นหาคำตอบในปัญหาเหล่านั้น ตัวแปร หรือ ปรากฏการณ์เชื่อมโยงเกี่ยวกันอย่างไร ทั้งนี้ เพื่อจะนำความสัมพันธ์ที่คิดขึ้นไปตรวจสอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ต่อไปว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่

73 กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)
ความหมาย : เป็นภาพสรุปสุดท้ายของการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง เป็นผลรวมความคิดของผู้วิจัยกับเรื่องราวทางทฤษฎีต่างๆ เป็นแนวคิดของผู้วิจัยที่ต้องการหลักฐานเชิงประจักษ์ มาพิสูจน์ความถูกต้อง เป็นกรอบของการวิจัย ด้านเนื้อหาสาระ ประกอบด้วย ตัวแปร และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

74 กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)
สรุป : การนำเสนอภาพรวมๆ ของงานวิจัยที่ผู้วิจัยจะทำโดยกำหนดออกมาให้เห็นรูปธรรมชัดเจน จากการศึกษาวิเคราะห์เอกสาร ตำรา ทฤษฎี ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างครอบคลุม แล้วนำเสนอหรือสรุปเป็นภาพรวมให้ชัดเจนให้ง่ายต่อความเข้าใจปัญหาและวิธีการวิจัย การเขียนกรอบแนวคิดการวิจัยเชิงพรรณนา มุ่งพรรณนาคุณสมบัติของปรากฏการณ์หรือสิ่งที่ต้องการศึกษา ดังนั้น จะมีแต่การเขียนระบุว่า มีตัวแปรอะไรบ้างที่จะนำมาศึกษา เช่น ในการวิจัยเกี่ยวกับพรรคการเมือง ผู้วิจัยอาจ จะศึกษาคุณสมบัติทางด้านเศรษฐกิจสังคม การศึกษาและประเภทของคำขวัญที่ใช้ในการหาเสียง การเขียนกรอบแนวคิดการวิจัยเชิงอธิบาย การวิจัยประเภทอธิบาย (Explanatory research) มุ่งอธิบายการเกิดขึ้นหรือการเปลี่ยนแปลงเชิงสาเหตุและผลของปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษา ดังนั้น ต้องระบุว่ามีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

75 ความสำคัญของกรอบแนวคิดการวิจัย
การศึกษาปัญหาเดียวกันอาจมีทฤษฎีต่างๆ หรือแนวความคิดในการมองปัญหามากมายหลายรูปแบบ หัวข้อปัญหาวิจัยและประเด็นการวิจัยเรื่องเดียวกันอาจมีกรอบแนวความคิดแตกต่างกันได้ การระบุกรอบแนวความคิดจึงเป็นการช่วยให้ นักวิจัยเองและผู้อื่นได้ทราบว่าผู้วิจัยมีแนวคิดอย่างไรเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการศึกษาในรูปแบบใดและทิศทางใด

76 พื้นฐานเชิงทฤษฎีของกรอบแนวคิดการวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัยและสมมติฐาน
การที่ตัวแปรในกรอบแนวความคิดมีพื้นฐานทางทฤษฎีต่างๆ จะช่วยเพิ่มพูนความรู้ที่มีอยู่แล้วให้ถูกต้องสมบูรณ์มากขึ้น กรอบแนวคิดการวิจัยและสมมติฐาน ทบทวนผลงานวิจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จะได้สมมติฐานการวิจัย ถ้าผู้วิจัยสามารถกำหนดกรอบแนวความคิดการวิจัยได้ ผู้วิจัยก็ สามารถตั้งสมมติฐานระบุความ สัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ เกี่ยวข้องกันได้อย่างชัดเจนเช่นกัน

77 ตัวอย่างของกรอบแนวความคิด แผนภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุ
ตัวอย่างของกรอบแนวความคิด แผนภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุ พฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจต่อรายการข่าวทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม MEDIA NEWS CHANNEL ของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม 1. พฤติกรรมการเปิดรับชมรายการข่าวรายการข่าวทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม MEDIA NEWS CHANNEL 2. ความพึงพอใจจากการรับชมรายการรายการข่าวทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม MEDIA NEWS CHANNEL 3. ความคาดหวังต่อรายการรายการข่าว ทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม MEDIA NEWS CHANNEL ลักษณะส่วนบุคคลของประชาชนที่ เปิดรับชมรายการข่าวทางสถานี โทรทัศน์ดาวเทียม MEDIA NEWS CHANNEL

78 หลักการเลือกกรอบแนวความคิดในการวิจัย
ความตรงประเด็น พิจารณาได้จากเนื้อหาสาระของตัวแปรและระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษา ความง่ายและไม่สลับซับซ้อน ควรเลือกทฤษฎีที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษาได้ จำนวนตัวแปรและรูปแบบของความ สัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีอยู่ในทฤษฎีไม่ซับซ้อน ความสอดคล้องกับความสนใจ เนื้อหาสาระเกี่ยวกับตัวแปรหรือความ สัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสอดคล้องกับความสนใจของผู้วิจัย ความมีประโยชน์เชิงกลยุทธ์ คำนึงถึงประโยชน์ทางด้านกลยุทธ์หรือการพัฒนากลยุทธ์ ผู้วิจัยจึงควรเลือกตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

79 ประโยชน์ของกรอบแนวความคิดในการวิจัย
1. ทำให้ผู้วิจัยทราบว่าตัวแปรที่จะวัดมีกี่ตัว อะไรบ้าง 2. ทำให้ผู้วิจัยกำหนดสิ่งที่จะศึกษาชัดเจน และเลือกสถิติได้อย่างเหมาะสม 3. ทำให้ผู้วิจัยวางแผนเก็บข้อมูลได้อย่างเหมาะสม ช่วงเวลาใดควรจะเก็บข้อมูลกับตัวแปรใดก่อน – ตัวแปรใดหลัง 4. ทำให้ผู้วิจัยมองเห็นภาพที่จะทำการศึกษาชัดเจน และสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ เป็นไปอย่างมีเหตุผล

80 การเสนอกรอบแนวความคิด
1. แบบพรรณนาหรือบรรยาย เป็นการเขียนบรรยายเพื่อให้เห็นว่า  ในการวิจัยนี้มีตัวแปรอะไรบ้างที่สำคัญเกี่ยวข้องกับปัญหาหรือ ประเด็นของการวิจัย  ตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามอย่างไร  มีเหตุผลหรือทฤษฎีอะไรมาสนับสนุน 2. แบบสมการ  Y = a + bx 3. แบบแผนภาพ  แผนภาพที่แตกต่างกันช่วยให้เกิดความชัดเจนมากขึ้นว่าผู้วิจัยมีความคิดอย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร  ผู้วิจัยที่มีตัวแปรเดียวกัน จำนวนเท่ากันอาจมีแนวความคิดแตกต่างกัน 4. การบรรยายและนำเสนอสรุปเป็นแผนภาพ 

81 ตัวอย่างความสัมพันธ์ แบบที่ 1
กรอบแนวคิดการวิจัยที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกต Independent Variables Dependent

82 ตัวอย่างความสัมพันธ์ แบบที่ 2
Variable component

83 ตัวอย่างความสัมพันธ์ แบบที่ 3
1 input 2 process 3 output

84 จากกรอบทฤษฎีสู่กรอบแนวความคิด
ตัวอย่างสรุป จากกรอบทฤษฎีสู่กรอบแนวความคิด คุณค่าตราสินค้า (BE) การตระหนักต่อตราสินค้า (Brand awareness) การรับรู้คุณภาพ (Perceive quality) การเชื่อมโยงกับตราสินค้า (Brand association) ความภักดีต่อตราสินค้า (Brand loyalty) การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) คุณภาพของฐานข้อมูลลูกค้า (Database) การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (Electronic) การกำหนดโปรแกรมเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ (Action) ลักษณะส่วนบุคคลของลูกค้า เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ สิทธิ์การรักษา ความพึงพอใจด้านความคาดหวังของลูกค้า (Customer Satisfaction)

85 ตัวอย่างสรุป จากกรอบทฤษฎีสู่กรอบแนวความคิด
ตัวอย่างกรอบแนวความคิดงานวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ” ที่มา : สุวิมล ตริกานันท์, : 53 ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ลักษณะส่วนบุคคล 1. เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ลักษณะงาน 1. ความหลากหลายในงาน ความอิสระในงาน งานมีโอกาสปฏิสังสรรค์ ความน่าสนใจของงาน ความผูกพันต่อองค์การ

86 มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากสมรรถนะขององค์กร ในการประเมินงานแบบสมดุล
ตัวอย่าง การวิจัยกระบวนการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ในธุรกิจอุปกรณ์ไฟฟ้า ปัจจัยความสำเร็จของกระบวนการโลจิสติกส์ - การเป็นผู้นำด้านต้นทุน - การสร้างความแตกต่าง - การตอบสนองที่รวดเร็ว - การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากสมรรถนะขององค์กร ในการประเมินงานแบบสมดุล - มุมมองด้านการเงิน - มุมมองด้านลูกค้า - มุมมองด้านกระบวนการภายใน - มุมมองด้านการเรียนรู้และเติบโต ขององค์กร

87 การเปิดเผยข้อมูลเป็นหลักการหนึ่ง ที่สำคัญของกรอบแนวคิดของบัญชีการเงิน
เรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมตามความสมัครใจของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การเปิดเผยข้อมูลเป็นหลักการหนึ่ง ที่สำคัญของกรอบแนวคิดของบัญชีการเงิน

88 มาจากทฤษฏี Contingency Theory
CONCEPTUAL MODEL OF BUDGETARY CHARACTERISTICS ON MANAGERIAL EFFECTIVENESS VIA PROCEDURAL FAIRNESS AND BUDGETARY MOTIVATION WITH CULTURAL MODERATING EFFECTS Budgetary Characteristics Budget-related Attitudes Outcome Culture Culture Culture มาจากทฤษฏี Contingency Theory

89 ความน่าจะเป็นที่ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข
ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของคณะกรรมการตรวจสอบกับรายงานของผู้สอบบัญชี ตัวแปรอิสระ ตัวแปรควบคุม 1. รายงานของผู้สอบบัญชีงวดที่แล้ว (PRIOROPN) 2. อัตราส่วนกำไรสุทธิก่อนดอกเบี้ย จ่ายและภาษีเงินได้ต่อยอดขาย สุทธิ (NIBITS) 3. อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์ รวม (TLTA) 4. การผิดนัดชำระหนี้ (DEFAULT) ตัวแปรที่สนใจศึกษา 1. จำนวนคณะกรรมการตรวจสอบ 2. ความเป็นอิสระของคณะกรรมการตรวจสอบ 3. สัดส่วนการถือหุ้นของคณะกรรมการตรวจสอบ 4. ความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษทางการบัญชี หรือการเงินของคณะกรรมการตรวจสอบ 5. ความรู้ความชำนาญด้านการกำกับดูแลกิจการ ของคณะกรรมการตรวจสอบ ทฤษฏีหลักคือเรื่อง การกำกับดูแลกิจการ ตัวแปรตาม ความน่าจะเป็นที่ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข

90 การควบคุมภายในกับการบรรลุเป้าหมายของหน่วยงานภาครัฐตามหลัก COSO
สภาพแวดล้อมการควบคุมภายใน การประเมินความเสี่ยง กิจกรรมการควบคุม สารสนเทศและการสื่อสาร การติดตามผล การดำเนินงาน รายงานทางการเงิน การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ดัดแปลงทฤษฏีบางส่วนจาก COSO


ดาวน์โหลด ppt ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง ธุรกิจระหว่างประเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google