บทที่ 3 การจำแนกรายการบัญชี

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สำนักมาตรฐานด้านการบัญชีภาครัฐ
Advertisements

บทที่ 2 การลงทุนในหุ้นสามัญ
บทที่ 1 การรวมธุรกิจ.
มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 101 หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information Systems)
บทนำ บริษัทในเครือมักจะมีธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกัน
บทที่5 การควบคุมการผลิตและต้นทุนการผลิต
บทที่ 6 งบประมาณ.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
BUNCHEE TIPS BY AOODY FOR MM MEETING ON FEBUARY 17, 2014.
การจัดประเภทสินทรัพย์ทางบัญชีในงบการเงิน
วิเคราะห์ พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 วิเคราะห์ พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558.
1.
บัญชี อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิต นายยงยุทธ พันตารักษ์ พัฒนาการอำเภอเมือง พิจิตร จังหวัดพิจิตร.
คำแนะนำ นายทะเบียนสหกรณ์ เรื่อง วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน พ. ศ เรื่อง วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน พ.
ผลการดำเนินงาน ปีงบ ๒๕๕๘ ( ร่าง ) แผนปฏิบัติการฯ ปี งบ ๒๕๕๙ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตราด.
สัญญาก่อสร้าง.
กระบวนการทางการบัญชี บันทึก  สมุดรายวันขั้นต้น
แนวปฏิบัติทางบัญชีสิ้นปีงบประมาณ
ระบบการควบคุมภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
อ.พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขา 7
Accounting Principles
Accounting Principles I
การบัญชีเบื้องต้น Basic Accounting
บทที่ 11 วงจรรายจ่าย.
ACCOUNTING FOR INVENTORY
วัฏจักรทางการบัญชีและการวิเคราะห์รายการค้า
บทที่ 5 การปิดบัญชี และการจัดทำงบการเงิน
การเงินธุรกิจ (Business Finance) รหัสวิชา FIN1104
การบันทึกรายการค้าในสมุดบัญชี
บทที่ 13 นโยบายเงินปันผล (DIVIDENE POLICY)
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุน
การบัญชีต้นทุนช่วง (Process Costing).
บทที่ 5 การวางแผนทางการเงิน ผศ. อรทัย รัตนานนท์ รศ.อรุณรุ่ง วงศ์กังวาน.
บทที่ 4 ต้นทุนของเงินทุน ผศ. อรทัย รัตนานนท์ รศ.อรุณรุ่ง วงศ์กังวาน.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
การจัดทำบัญชีสิ้นปีงบประมาณ
บทที่ 7 การจัดการทางบัญชี
งบการเงินตามแนวคิดการบริหารและต้นทุนจริง
กองทุนเงินทดแทน ประกันสังคม.
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขา 7
บทที่ 3 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ต้นทุน-ปริมาณ-กำไร
บทที่ 1 กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน.
สรุปมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สัญญาก่อสร้าง
ตัวอย่างการจัดทำรายงานการผลิต และงบการเงิน
บทที่ 9 งบประมาณการลงทุน
ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในเขตปลอดอากร นักตรวจสอบภาษีชำนาญการพิเศษ
กฎกระทรวงสถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ.....
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
บทที่ 1 วิวัฒนาการของรายงานทางการเงิน
การเงินทางธุรกิจ (Business Finance) รหัสวิชา FIN1103
บทที่ 6 เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุน
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
ขอบเขต ถือปฏิบัติกับการรับรู้รายการ การวัดมูลค่า และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ครอบคลุมถึง การวัดมูลค่าของผลประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ถือไว้
การวางแผนกำลังการผลิต
กระดาษทำการและการปิดบัญชี
Business Finance FI 212 Lectured By ญาลดา พรประเสริฐ.
การจัดทำแผนการสอบบัญชีโดยรวม
การวิเคราะห์งบการเงิน
อ.ชิดชม กันจุฬา (ผู้สอน)
หุ้นส่วนและบริษัท การเป็นหุ้นส่วน คือ การทำสัญญาระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อทำกิจการร่วมกัน โดยประสงค์จะแบ่งปันผลกำไรที่จะพึงได้จากกิจการนั้น.
ขอบเขตของงานการจัดซื้อ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
บทที่ 2 งบการเงิน ความหมายของงบการเงิน
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 3 การจำแนกรายการบัญชี

องค์ประกอบของงบการเงิน มีโครงสร้างหลักของการรายงานจากบันทึกรายการค้าของกิจการตามการบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่ (Double Entry Accounting) โดยมีเค้าโครงในการวิเคราะห์รายการและบันทึกมาจากสมการบัญชี (Accounting Equation) หรือ สมการที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหมวดบัญชีทั้ง 5 หมวด สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ กำไร (ขาดทุน) = รายได้ - ค่าใช้จ่าย

โดยองค์ประกอบของงบการเงินทั้ง 5 หมวดนั้น สามารถแบ่งประเภทได้เป็น 2 ประเภทหลักอันได้แก่ บัญชีถาวร (Permanent or Real Accounts) เป็นบัญชีที่สะสมข้อมูลเกี่ยวกับกิจการตั้งแต่เมื่อเปิดดำเนินการ และจะยกยอดเป็นยอดต้นงวดในงวดบัญชีถัดไปเสมอจนกว่ากิจการจะเลิกกิจการไป ซึ่งโดยทั่วไปจะนำเสนอในงบแสดงฐานะทางการเงินของกิจการ บัญชีชั่วคราว (Temporary or Nominal Accounts) เป็นบัญชีที่สร้างขึ้นระหว่างงวดบัญชีเพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลของกิจการในช่วงระยะเวลาหนึ่งและจะถูกทำให้ยอดเป็น 0 ในขั้นตอนการปิดบัญชีเพื่อทำให้บัญชีแยกประเภทว่างสำหรับการบันทึกรายการของงวดบัญชีถัดไป ซึ่งโดยทั่วไปจะนำเสนอในงบกำไรขาดทุนของกิจการ

จากสมการบัญชีทั้งสองสมการ จะพบว่าองค์ประกอบของงบการเงินของกิจการประกอบด้วย หมวดบัญชี 5 หมวดดังนี้ บัญชีถาวร หมวดที่ 1 หมวดบัญชีสินทรัพย์ (Assets) หมวดที่ 2 หมวดบัญชีหนี้สิน (Liabilities) หมวดที่ 3 หมวดบัญชีส่วนของเจ้าของ (Equity) หรือส่วนทุน (Capital) บัญชีชั่วคราว หมวดที่ 4 หมวดบัญชีรายได้ (Revenues) หมวดที่ 5 หมวดบัญชีค่าใช้จ่าย (Expenses)

หมวดบัญชี หมวดที่ 1 สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ซึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์ในอดีต ไม่ว่ามาจากการซื้อ การผลิต หรือการรับบริจาคก็ตาม แต่ต้องไม่รวมถึง รายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การทำสัญญาซื้อสินค้าล่วงหน้า เป็นต้น โดยที่กิจการที่คาดว่าจะได้ รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากทรัพยากรนั้น ทั้งนี้ ทรัพยากรนั้นอาจมีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้

สินทรัพย์หมุนเวียน (Current assets) การจัดประเภทสินทรัพย์ ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต โดยคาดว่าจะได้รับคืนไม่เกิน 12 เดือนนับจากรอบระยะเวลารายงาน สินทรัพย์หมุนเวียน (Current assets) ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต โดยคาดว่าจะได้รับคืนเกินกว่า 12 เดือนนับจากรอบระยะเวลารายงาน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non-current asset)

ตัวอย่างบัญชีในหมวดสินทรัพย์ ชื่อบัญชีและคำจำกัดความ คำอธิบาย เงินสด (Cash) เงินสดในมือและเงินฝากธนาคารทุกประเภท แต่ไม่รวมเงินฝากประเภทที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนด รายการเทียบเท่าเงินสด (Cash equivalents) เงินลงทุนชั่วคราวที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งพร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดในจำนวนที่ทราบได้และมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าน้อย หรือไม่มีนัยสำคัญ เงินลงทุนชั่วคราว (Temporary investments) เงินลงทุนที่กิจการตั้งใจจะถือไว้ไม่เกิน 1 ปี เงินลงทุนชั่วคราวรวมถึง หลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เผื่อขาย เงินลงทุนทั่วไป และตราสารหนี้ที่จะครบกำหนดภายใน 1 ปี ลูกหนี้การค้า (Trade receivables) เงินที่ลูกค้าค้างชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการที่กิจการได้ขายหรือให้บริการตามปกติ และลูกหนี้ตามตั๋วเงินรับอันเกิดจากค่าสินค้าหรือบริการดังกล่าว ลูกหนี้อื่น (Other receivables) ลูกหนี้อื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้การค้า เช่น ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า รายได้ค้างรับ เงินทดรอง เงินให้กู้ยืมระยะสั้น (Short-term loans) เงินให้กู้ยืมระยะสั้น รวมทั้งลูกหนี้ในลักษณะอื่นใด ซึ่งจัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนนอกจากลูกหนี้การค้าที่เกิดจากการขายสินค้าหรือบริการและลูกหนี้อื่น สินค้าคงเหลือ (Inventories) สินค้าสำเร็จรูป งานหรือสินค้าระหว่างทำ วัตถุดิบและวัสดุที่ใช้ในการผลิตเพื่อขายหรือให้บริการตามปกติของกิจการ

บัญชี คำอธิบาย เงินให้กู้ยืมระยะยาว (Long-term loans) เงินให้กู้ยืมระยะยาว รวมทั้งลูกหนี้ในลักษณะอื่นใดซึ่งจัดเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (Investment property) อสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน หรืออาคาร หรือส่วนของอาคาร (ส่วนควบอาคาร) หรือทั้งที่ดินและอาคาร) ที่ถือครอง (โดยเจ้าของหรือโดยผู้เช่าภายใต้สัญญาเช่าการเงิน) เพื่อหาประโยชน์จากรายได้ค่าเช่าหรือจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าของสินทรัพย์ หรือทั้งสองอย่าง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (Property, plant and equipment) สินทรัพย์ที่มีตัวตนที่กิจการมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิต เพื่อใช้ในการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อให้เช่าหรือเพื่อใช้ในการบริหารงาน โดยกิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์มากกว่าหนึ่งรอบระยะเวลารายงาน สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible assets) สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่สามารถระบุได้และไม่มีกายภาพตามที่กำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สัมปทาน เป็นต้น สินทรัพย์อื่น (Other assets) สินทรัพย์อื่นใดที่ไม่เข้าประเภทสินทรัพย์ที่ได้กล่าวมาข้างต้น หากกิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์ในหนึ่งรอบระยะเวลารายงาน ให้จัดประเภทเป็น สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น (Other current assets) และหากกิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์มากกว่าหนึ่งรอบระยะเวลารายงาน ให้จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น (Other non-current assets)

หมวดที่ 2 หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ในอดีตที่การชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการต้องสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้นอาจเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ เช่น การจ่ายเงินสด การโอนสินทรัพย์อื่น การให้บริการ การเปลี่ยนภาระผูกพันเดิมเป็นภาระผูกพันใหม่การแปลงหนี้เป็นทุน เจ้าหนี้การค้า (Account payable) ตั๋วเงินจ่าย (Note payable) และ เงินกู้ยืมระยะยาว (Long-term debt)

หนี้สินหมุนเวียน (Current liabilities) การจัดประเภทหนี้สิน ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการที่การชำระภาระผูกพันนั้น จะส่งผลให้กิจการต้องสูญเสียทรัพยากรในเชิงเศรษฐกิจ โดยคาดว่าจะต้องจ่ายชำระไม่เกิน 12 เดือนนับจากรอบระยะเวลารายงาน หนี้สินหมุนเวียน (Current liabilities) ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการที่การชำระภาระผูกพันนั้น คาดว่าจะส่งผลให้กิจการต้องสูญเสียทรัพยากรในเชิงเศรษฐกิจ โดยคาดว่าจะต้องจ่ายชำระในช่วงเวลาส่วนที่เกินกว่า 12 เดือนนับจากรอบระยะเวลารายงาน หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non-Current liabilities)

ตัวอย่างบัญชีในหมวดหนี้สิน ชื่อบัญชีและคำจำกัดความ คำอธิบาย ตั๋วเงินจ่าย (Notes payable) ภาระผูกพันที่ทำเป็นตราสาร และกิจการมีภาระที่จะต้องชำระหนี้ตามตั๋วเงินนั้น ในทางบัญชีตั๋วเงินจ่าย หมายถึง ตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงิน ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued expense) ค่าใช้จ่ายที่ก่อให้เกิดรายได้ หรือให้ประโยชน์แก่กิจการในงวดบัญชีแล้ว แต่ ยังไม่มีการจ่ายเงิน เช่น ค่าน้ำค่าไฟค้างจ่าย เงินเดือนค้างจ่าย ฯลฯ รายได้รับล่วงหน้า (Unearned Revenue) หมายถึง รายได้ที่กิจการได้รับเงินแล้วแต่ยังไม่ได้มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการ เช่น ค่าเช่ารับล่วงหน้า ค่าโฆษณารับล่วงหน้า ฯลฯ เจ้าหนี้การค้า (Trade payables หรือ Account Payable) -หนี้สินที่กิจการต้องจ่ายสำหรับสินค้าหรือบริการที่ได้รับหรือบริโภค ที่กิจการยังไม่ได้จ่ายชาระ โดยได้รับใบเรียกเก็บเงิน หรือตกลงอย่างเป็นทางการกับผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ -ภาระผูกพันที่กิจการก่อขึ้นกับบุคคลภายนอกโดยอาจรับมาในรูปสินค้า หรือสินทรัพย์ โดยที่ยังไม่ได้จ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ขาย -เงินที่กิจการค้างชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการที่ซื้อมาเพื่อขายหรือเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการตามปกติ และตั๋วเงินจ่ายที่กิจการออกให้เพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการดังกล่าว

บัญชี คำอธิบาย เจ้าหนี้อื่น (Other payables) เจ้าหนี้อื่นที่มิใช่เจ้าหนี้การค้า ภาษีเงินได้ค้างจ่าย (Current Income tax payable) ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย เงินกู้ยืมระยะสั้น (Short-term borrowings) เงินกู้ยืมที่มีกำหนดเวลาใช้คืนในระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน หรือ 1 ปี รวมทั้งหนี้สินในลักษณะอื่นใด นอกจากหนี้สินที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการและเจ้าหนี้อื่น เงินกู้ยืมระยะยาว (Long-term borrowings) เงินกู้ยืมระยะยาว รวมทั้งหนี้สินในลักษณะอื่นใดซึ่งถึงกำหนดชำระคืนเกินกว่าหนึ่งปีนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ทั้งนี้ ส่วนที่จะถึงกำหนดชำระคืนภายในหนึ่งปีนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ให้จัดประเภทเป็น ส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (Current portion of long-term liabilities) ส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (Current portion of long-term liabilities) หนี้สินระยะยาวที่จะถึงกำหนดชำระคืนภายในหนึ่งปีนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน

บัญชี คำอธิบาย หนี้สินอื่น (Other liabilities) หนี้สินอื่นๆซึ่งกิจการมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระ ทั้งนี้ หากมีภาระผูกพันจะต้องชำระภายในหนึ่งปีนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ให้จัดประเภทเป็นหนี้สินหมุนเวียนอื่น (Other current liabilities) และหากในการชำระเกินกว่าหนึ่งปีนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ให้จัดประเภทเป็น หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น (Other non-current liabilities เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร หนี้สินที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น รวมทั้งการขายหรือขายช่วงลดตั๋วเงินกับสถาบันการเงิน ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน (Employee benefit obligations) หนี้สินตามโครงการผลประโยชน์พนักงาน ตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19เรื่อง ผลประโยชน์พนักงาน หรือประมาณการหนี้สินสำหรับผลประโยชน์พนักงานตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ

หมวดที่ 3 ส่วนของผู้เป็นเจ้าของ ส่วนของผู้เป็นเจ้าของ (Capital) หมายถึง สิทธิที่ผู้ลงทุนมีในสินทรัพย์ของกิจการ หรือหมายถึง ส่วนของสินทรัพย์ที่เหลืออยู่หลังจากหักหนี้สินแล้ว ในกิจการมักเรียกส่วนของทุนนี้ว่า ส่วนของเจ้าของ (Owner’s Equity) ดังนั้นคำว่าส่วนของเจ้าของในกิจการจึงหมายถึงทรัพยากรต่าง ๆ ที่ลงทุนโดยผู้เป็นเจ้าของ ในทางกฎหมายนั้น สิทธิเรียกร้องต่าง ๆ ต้องเป็นของเจ้าหนี้ก่อนเหลือเท่าใดจึงจะเป็นของเจ้าของผู้ลงทุนเงินลงทุนในส่วนของผู้เป็นเจ้าของ และกำไร(ขาดทุน)สะสม ทุน (Equity หรือ Capital) หมายถึง ส่วนของเจ้าของในบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด และกิจการเจ้าของคนเดียวนั้น มีวิธีการแสดงในงบแสดงฐานะการเงินต่างกัน

การจัดประเภทส่วนของผู้เป็นเจ้าของ สิทธิเรียกร้องจากเจ้าของที่มีต่อสินทรัพย์ของกิจการ ซึ่งถือเป็นส่วนได้เสียที่เหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินแล้ว โดยส่วนของเจ้าของประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ ทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน (Partners’ capital) หมายถึง เงินลงทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ว่าจะลงทุนด้วยเงินสด หรือสินทรัพย์อื่น ทั้งนี้ ต้องแสดงเงินทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน กำไร(ขาดทุน)สะสมยังไม่ได้แบ่ง (Unappropriated retained earnings) หมายถึง กำไร(ขาดทุน)สะสมคงเหลือเมื่อสิ้นรอบระยะเวลารายงาน และยังไม่ได้แบ่งให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน ในกรณีที่มียอดดุลสุทธิเป็นผลขาดทุนสะสม ควรแสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ

โดยชื่อเรียกและการแสดงรายการทั้งสองส่วนนั้น จะขึ้นอยู่กับรูปแบบของกิจการ ดังนี้ 1.สำหรับกิจการเจ้าของคนเดียว กิจการจะใช้ชื่อเรียกส่วนของเจ้าของนี้ว่า ส่วนของเจ้าของ (Owner’s equity) โดยกิจการเจ้าของคนเดียว จะแสดงส่วนของเจ้าของทั้ง 2 ส่วนนี้ไว้รวมกันในงบแสดงฐานะการเงินของกิจการ ภายใต้บัญชี “ทุน - (ชื่อเจ้าของ)” อย่างไรก็ตาม ส่วนของเจ้าของสำหรับกิจการเจ้าของคนเดียว อาจลดลงได้ด้วยการที่เจ้าของถอนเงินไปใช้ส่วนตัว 2.สำหรับกิจการห้างหุ้นส่วน กิจการจะใช้ชื่อเรียกส่วนของเจ้าของนี้ว่า ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน (Partners’ equity) กิจการแบบห้างหุ้นส่วน จะแสดงส่วนของเจ้าของทั้ง 2 ส่วนนี้ไว้รวมกันในงบแสดงฐานะการเงินของกิจการ ภายใต้บัญชี “ทุน - (ชื่อผู้เป็นหุ้นส่วน)” และส่วนที่เกิดจากผลการดำเนินงานเรียกว่า “กำไรสะสมที่ยังไม่ได้แบ่ง”

3.สำหรับกิจการในรูปแบบบริษัทจำกัด กิจการจะใช้ชื่อเรียกส่วนของเจ้าของนี้ว่า ส่วนของผู้ถือหุ้น (Stockholders’ equity) กิจการแบบบริษัทจำกัด จะแสดงส่วนของเจ้าของ 2 ส่วนนี้แยกจากกัน 3.1 ส่วนที่เจ้าของนำมาลงทุนว่า “ทุนเรือนหุ้น” (Share capital) ตัวอย่างเช่น หุ้นสามัญ (Ordinary shares) และหุ้นบุริมสิทธิ (Preference shares) โดยแบ่งประเภทย่อยออกเป็น -ทุนจดทะเบียน (Authorized share capital) หมายถึง ทุนของกิจการที่จดทะเบียนตามกฎหมาย ให้แสดงชนิดของหุ้น จำนวนหุ้นและมูลค่าที่ตราไว้ตามที่จดทะเบียนแต่ละชนิด -ทุนที่ออกและชำระแล้ว (Issued and paid-up share capital) หมายถึง จำนวนหุ้นและมูลค่าหุ้นที่ได้นำออกจำหน่ายและเรียกให้ชำระมูลค่าหุ้นแล้วให้แสดงเป็นหุ้นแต่ละชนิด -ส่วนเกิน (ต่ำกว่า) มูลค่าหุ้น (Share premium account/discount on issue of share) หมายถึง เงินหรือมูลค่าของสิ่งตอบแทนที่ได้รับจากการขายหุ้นในส่วนที่สูงกว่าหรือต่ำกว่ามูลค่าที่ตราไว้ตามที่จดทะเบียนของหุ้น หากมีทั้งส่วนเกินและส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น สามารถนำรายการดังกล่าวมาหักกลบกันและแสดงเป็นมูลค่าสุทธิได้

3.2 ส่วนที่เกิดจากผลการดำเนินงานไว้ภายใต้ชื่อ กำไร(ขาดทุน)สะสม (Retained earnings) หมายถึง กำไร(ขาดทุน) สะสมคงเหลือเมื่อสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ในกรณีที่มียอดดุลสุทธิเป็นผลขาดทุนสะสม ควรแสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ กำไร(ขาดทุน)สะสม อาจแบ่งเป็น จัดสรรแล้ว (Appropriated) ทุนสำรองตามกฎหมาย (Legal reserve) และส่วนที่ยังไม่ได้จัดสรร (Unappropriated) อีกรายการหนึ่งที่มีผลกระทบต่อกำไรสะสมของกิจการก็คือ การจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น เงินปันผลจ่ายนี้ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่าย แต่ถือเป็นการจ่ายคืนทุนให้กับผู้ถือหุ้น โดยจ่ายจากกำไรสะสมของกิจการ ดังนั้นเงินปันผลจ่ายจึงทำให้กำไรสะสมของกิจการลดลง

ตัวอย่างบัญชี ชื่อและคำจำกัดความ คำอธิบาย กิจการเจ้าของคนเดียว ทุน (Capital) ส่วนที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งนำสินทรัพย์มาลงทุนในกิจการ ถอนใช้ส่วนตัว (Withdrawals account) ส่วนของสินทรัพย์ที่เกินกว่าหนี้สินดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น การบันทึกบัญชีมักจะบันทึกในส่วนของ “บัญชีทุน”กรณีที่เจ้าของผู้ลงทุนในกิจการเจ้าของคนเดียวนำสินค้า สินทรัพย์หรือบริการไปใช้ส่วนตัวมิได้ใช้เพื่อประโยชน์ของกิจการ กิจการห้างหุ้นส่วน ทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน (Partners’ capital) เงินลงทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ว่าจะลงทุนด้วยเงินสด หรือสินทรัพย์อื่น

บัญชี คำอธิบาย บริษัท และ บริษัทจำกัด (มหาชน) ทุนจดทะเบียน บริษัท และ บริษัทจำกัด (มหาชน) ทุนจดทะเบียน (Authorized share capital) ทุนของกิจการที่จดทะเบียนตามกฎหมาย ให้แสดงชนิดของหุ้น จำนวนหุ้นและมูลค่าที่ตราไว้ตามที่จดทะเบียนแต่ละชนิด ทุน-หุ้นสามัญ (Ordinary shares) เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทมหาชนจำกัด ที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน โดยผู้ถือหุ้นสามัญจะมีสิทธิร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือครองอยู่ ทุน-หุ้นบุริมสิทธิ (Preference shares) เป็นตราสารที่ผู้ถือมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการเช่นเดียวกับหุ้นสามัญ แต่จะไม่มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (Share premium account) เงินหรือมูลค่าของสิ่งตอบแทนที่ได้รับจากการขายหุ้นบุริมสิทธิ/หุ้นสามัญในส่วนที่สูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ตามที่จดทะเบียนของหุ้นบุริมสิทธิ/หุ้นสามัญ  

บัญชี คำอธิบาย กำไรหรือขาดทุนสะสม กำไรหรือขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงานที่สะสมมาตั้งแต่เริ่มดำเนินกิจการจนถึงปัจจุบัน เงินปันผลจ่าย ส่วนแบ่งกำไรที่จ่ายให้กับผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือ

หมวดที่ 4 รายได้ หมายถึง การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชี หรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน ซึ่งส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น โดยที่ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากเจ้าของ และรายการกำไรซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงินกำหนดให้กิจการต้องรับรู้โดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของ กิจการต้องควรรับรู้รายได้เมื่อกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ หรืออันเนื่องมาจากการลดลงของหนี้สิน และกิจการสามารถวัดมูลค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ

การจัดประเภทรายได้ รายได้จากการขายหรือการให้บริการ (Revenue from sales or revenue from rendering services) หมายถึง รายได้ที่เกิดจากการขายสินค้า สิทธิ หรือบริการ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของกิจการเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินสด สิทธิเรียกร้องให้ชำระเงิน หรือสิ่งอื่นที่มีมูลค่าคิดเป็นเงินได้ ทั้งนี้ให้แยกแสดงเป็นรายได้หลักแต่ละประเภท เช่น รายได้จากการขายสินค้า รายได้จากการให้บริการ เป็นต้น รายได้อื่น (Other income) หมายถึง รายได้นอกจากที่กำหนดให้แสดงไว้ในรายการรายได้จากการขายหรือการให้บริการ รวมถึงผลกำไรอื่น เช่น ผลกำไรจากการขายเงินลงทุน ผลกำไรจากการขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เป็นต้น

ตัวอย่างบัญชีในหมวดรายได้ ชื่อบัญชีและคำจำกัดความ คำอธิบาย รายได้ที่เกิดจากการขายสินค้า (Revenue from sales) รายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าที่กิจการผลิตหรือซื้อมาเพื่อขายต่อ รายได้จากการให้บริการ (Revenue from rendering services) รายได้ที่เกิดจากการที่กิจการได้ปฏิบัติงานตามที่ตกลงไว้ในสัญญาตลอดช่วงเวลาที่ตกลงกันซึ่งอาจเป็นการให้บริการเพียงช่วงเวลาเดียวหรือหลายช่วงเวลา

หมวดที่ 5 ค่าใช้จ่าย หมายถึง การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีหรือการลดค่าของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน ซึ่งส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง โดยที่ไม่รวมถึงการแบ่งปันให้กับเจ้าของ และรายการขาดทุนซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงินกำหนดให้กิจการต้องรับรู้โดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของ กิจการต้องรับรู้ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนเมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตลดลงเนื่องจาก การลดลงของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน และเมื่อกิจการสามารถวัดค่าของประโยชน์เชิง เศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ

การจัดประเภทค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายของกิจการแต่ละกิจการนั้น เมื่อมีเกิดค่าใช้จ่ายขึ้นกิจการจะทำการบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายไว้ภายใต้ ชื่อบัญชีค่าใช้จ่ายที่จ่ายออกไป เช่น เงินเดือน ค่าเช่าสำนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ แต่ในการนำเสนอรายงานทางการบัญชี ในบัญชีกำไรขาดทุน จะมีการจัดหมวดหมู่หรือประเภทของค่าใช้จ่ายแต่ละตัวเพื่อประโยชน์ในการใช้ข้อมูล เช่น ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ต้นทุนขาย ค่าเสื่อมราคา เป็นต้น

ตัวอย่างในหมวดค่าใช้จ่าย ชื่อบัญชีและคำจำกัดความ คำอธิบาย ค่าใช้จ่ายในการขาย (Selling expenses) ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการขาย เช่น ค่าโฆษณา ค่าสินค้าตัวอย่าง ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (Administrative expenses) ค่าใช้จ่ายทั่วไปที่เกิดขึ้นในการบริหารกิจการอันเป็นส่วนรวม เช่น เงินเดือน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าวัสดุสำนักงานใช้ไป ต้นทุนขายหรือต้นทุนการให้บริการ (Cost of sales or cost of rendering services) ต้นทุนของสินค้า สิทธิ หรือบริการที่ขาย รวมถึงราคาซื้อ ต้นทุนการผลิต และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จ่ายไปเพื่อให้สินค้าอยู่ในสถานที่และสภาพพร้อมที่จะขาย โดยแยกแสดงเป็นต้นทุนตามประเภทของธุรกิจหลักของกิจการตามที่ได้แสดงไว้ในรายการที่ 1.1 เช่น ต้นทุนของสินค้าที่ขาย ต้นทุนของการให้บริการเป็นต้น วัตถุดิบและวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป (Raw materials and consumables used) มูลค่าตามบัญชีของส่วนผสมหรือส่วนประกอบอันสำคัญที่ใช้ในการทำหรือผลิตสินค้าสำเร็จรูป เช่น วัสดุสำนักงานใช้ไป วัสดุโรงงานใช้ไป

บัญชี คำอธิบาย หนี้สงสัยจะสูญ (Doubtful Account หรือ Bad Debts Expense) ลูกหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้ ซึ่งกิจการได้ติดตามทวงถามแล้ว ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ (Income tax expense) ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ที่คำนวณขึ้นตามที่กำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ทั้งนี้ หากกิจการประสงค์จะเลือกรับรู้ค่าใช้จ่าย (รายได้) ภาษีเงินได้ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ ให้ใช้ชื่อรายการว่า “ค่าใช้จ่าย (รายได้) ภาษีเงินได้” ค่าใช้จ่ายอื่น (Other expenses) ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ผลขาดทุนจากการจำหน่ายเงินลงทุน ผลขาดทุนจากการจำหน่ายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ผลขาดทุนจากการหยุดงานของพนักงาน เป็นต้น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องและหากรายการใดมีสาระสำคัญให้แยกแสดงออกมาต่างหาก ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (Depreciation and amortization expense) การปันส่วนจำนวนที่คิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์อย่างมีระบบตลอดอายุการให้ประโยชน์ ของสินทรัพย์นั้น ในกรณีเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนให้ใช้คำว่า “ค่าตัดจำหน่าย” แทนคำว่า “ค่าเสื่อมราคา” ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง