บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ถูกเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดต่อและทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยในรายละเอียดของเรื่องฮาร์ดแวร์นี้จะกล่าวถึงความหมายของฮาร์ดแวร์ อีกทั้งแสดงความหลากหลายของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ที่น่าสนใจ ตั้งแต่อุปกรณ์ที่รับข้อมูลทั้ง ตัวอักษร สัญลักษณ์ ภาพและเสียงจากผู้ใช้ส่งไปยังอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ระมวลผล
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.1 ความหมายของฮาร์ดแวร์ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ (Device) ที่เชื่อมต่อและเกี่ยวข้องกับการใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดยสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด (Main board) อุปกรณ์ต่อพ่วง (Peripheral) เป็นต้น สามารถแบ่งฮาร์ดแวร์ได้ 4 ประเภท
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.2 อุปกรณ์รับข้อมูล อุปกรณ์รับข้อมูลจัดอยู่ในหน่วยรับข้อมูล ทำหน้าที่รับข้อมูลและคำสั่งจากผู้ใช้เข้าสู่ระบบ เพื่อให้อุปกรณ์ซึ่งอยู่หน่วยประมวลผล ประมวลผลข้อมูลที่รับเข้ามา โดยข้อมูลที่รับเข้ามาเป็นได้ทั้ง ตัวอักษร ภาพ เสียง วีดีทัศน์ สามารถยกตัวอย่างอุปกรณ์รับข้อมูลได้ดังนี้
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ คีย์บอร์ด (Keyboard) 3.2.1 อุปกรณ์รับข้อมูลประเภทปุ่มกด (Keyed Device) คีย์บอร์ด (Keyboard) 1.1 คีย์บอร์ดมาตรฐาน (Standard Keyboard)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 1.2 คีย์บอร์ดติดตั้งกับเครื่อง (Built-in keyboard)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 1.3 คีย์บอร์ดเออร์โกโนมิกส์ (Ergonomic keyboard)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 1.4 คีย์บอร์ดไร้สาย (Cordless keyboard)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 1.5 คีย์บอร์ดพกพา (Portable keyboard)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 1.6 คีย์บอร์ดเสมือน (Virtual keyboard)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 1. เมาส์ (Mouse) 3.2.2 อุปกรณ์รับข้อมูลประเภทชี้ตำแหน่งและควบคุมทิศทาง (Pointing Devices) 1. เมาส์ (Mouse) 1.1 เมาส์แบบทั่วไป (Mechanical mouse)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 1.2) เมาส์แบบแสงหรือออปติคอลเมาส์ (Optical mouse)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 2.แทรกบอล (Trackball)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3) แผ่นรองสัมผัสหรือทัชแพด (Touch pad)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 4) แท่งชี้ควบคุมหรือพอยติงสติ๊ก (Pointing stick)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 5. จอยสติ๊ก (Joystick)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 6) พวงมาลัยบังคับทิศทาง (Wheel)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 7) จอสัมผัสหรือทัชสกรีน (Touch screen)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.2.3 ประเภทปากกา (Pen-Based Device) 1) ปากกาแสง (Light pen)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 2) สไตลัส (Stylus)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3. ดิจิไทเซอร์ (Digitizer)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.2.4 ประเภทข้อมูลมัลติมีเดีย (Multimedia Input Device) 1) ไมโครโฟน (Microphone)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 2) กล้องถ่ายรูปดิจิตอล (Digital camera)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3) กล้องถ่ายวีดีโอดิจิตอล (Digital Video camera)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 4) เว็บแคม (Web cam)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 1) สแกนเนอร์ (Scanner) 3.2.5 ประเภทสแกนและอ่านข้อมูลด้วยแสง (Scanner and Optical Reader) 1) สแกนเนอร์ (Scanner)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 2) โอเอ็มอาร์ (OMR – Optical Mark Reader)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3) เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Bar code reader)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 4) เอ็มไอซีอาร์ (MICR – Magnetic-Ink Character Recognition)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.2.6 ประเภทตรวจสอบข้อมูลทางกายภาพ (Biometric Input Device)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.3 อุปกรณ์ประมวลผล เมื่อข้อมูลผ่านเข้ามาสู่อุปกรณ์รับข้อมูลแล้ว ข้อมูลจะถูกส่งไปยังอุปกรณ์ประมวลผลเพื่อทำการประมวลผล สามารถแสดงรายละเอียดของอุปกรณ์ประมวลผลได้ดังนี้
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.3.1 ซีพียู (CPU – Central Processing Unit) อุปกรณ์ที่เปรียบได้กับสมองของมนุษย์ ทำหน้าที่คิดคำนวณ วิเคราะห์หา ผลลัพธ์ เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า มโครโปรเซสเซอร์ ภายในประกอบไป ด้วยวงจรขนาดเล็กหลายวงจร รวมบรรจุอยู่ภายในซีพียู โดยอุปกรณ์ ซีพียูจะถูกติดตั้งอยู่บนอุปกรณ์เมนบอร์ด
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.3.1 ซีพียู (CPU – Central Processing Unit) การออกแบบสถาปัตยกรรมของซีพียู มีอยู่ 2 แบบโดยมีรายละเอียด RISC (Reduced Instruction Set Computer) CISC (Complex Instruction Set Computer)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.3.2 หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) หน่วยความจำหลักเปรียบได้กับกระดาษทดเลขให้กับซีพียูได้พักข้อมูลหรือชุดคำสั่ง โดยทำงานร่วมกับซีพียูอย่างใกล้ชิด ซึ่งเมื่อการประมวลผลภายในซีพียูข้อมูลมีจำนวนมาก ซีพียูจำเป็นต้องใช้หน่วยความจำหลักเป็นพื้นที่ในการเก็บหรือพักข้อมูล สามารถแบ่งหน่วยความจำหลักเป็น 2 ประเภทดังนี้
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.3.2 หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) 1) หน่วยความจำแบบ ROM (READ-Only Memory) หน่วยความจำที่แม้ไม่มีกระแสไฟฟ้าเลี้ยง ข้อมูลและชุดคำสั่งที่ถูกบันทึกอยู่ในหน่วยความจำ ROM จะไม่สูญหาย โดยส่วนใหญ่ใช้เพื่ออ่านข้อมูลหรือชุดคำสั่งเพียงอย่างเดียว และใช้เก็บชุดคำสั่งโปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบการเริ่มต้นการทำงาน ของคอมพิวเตอร์ เช่น ไบออส
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.3.2 หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) 2) หน่วยความจำแบบ RAM (Random Access Memory) หน่วยความจำที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยงในการเก็บข้อมูลหรือชุดคำสั่ง เมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าเลี้ยงหรือปิดเครื่องจะทำให้ข้อมูลสูญหาย หน้าที่ของ RAM เป็นพื้นที่เก็บพักข้อมูลและโปรแกรมที่ผู้ใช้เปิดทำงานและที่ซีพียูกำลังประมวลผล
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.3.2 หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) 2) หน่วยความจำแบบ RAM (Random Access Memory) ประเภทของแรม (RAM) สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท 1. เอสแรม (Static Ram: SRAM) ผู้ผลิตนิยมนำหน่วยความจำประเภทนี้ ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำแคช (Cache) ภายในตัวซีพียูเนื่องจากมีความเร็วในการทำงาน ช่วยทำให้ซีพียูมีการประมวลผลที่เร็วมากยิ่งขึ้น
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.3.2 หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) 2) หน่วยความจำแบบ RAM (Random Access Memory) ประเภทของแรม (RAM) สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท 2. ดีแรม (Dynamic RAM: DRAM) อุปกรณ์เพื่อใช้เป็นหน่วยความจำหลักภายในคอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบของชิปไอซี (Integrated Circuit) บนแผงวงจร ในการผลิต RAM ประเภทนี้สามารถทำให้มีความจุข้อมูลได้สูง ราคาถูก และใช้กระแสไฟฟ้าน้อย
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ ขนาดความจุ 3.3.2 หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) 2) หน่วยความจำแบบ RAM (Random Access Memory) ขนาดความจุ พื้นที่เก็บข้อมูลและชุดคำสั่งของหน่วยความจำ RAM ซึ่งมีผลต่อการบันทึกข้อมูลและการประมวลผลข้อมูล ซึ่งถ้ามีพื้นที่หรือมีขนาดความจุของข้อมูลจำนวนมากทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์มีมากตามไปด้วยความจุของ RAM มักบอกเป็นลักษณะทวีคูณ เช่น 128MB, 256 MB, 512 MB และ 1024 MB (หรือ 1 GB) เป็นต้น
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.3.2 หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) 2) หน่วยความจำแบบ RAM (Random Access Memory) ความเร็วของ RAM ความเร็วในการรับส่งข้อมูลถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของความเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งหน่วยความจำ RAM จำเป็นจะต้องมีความเร็วในการรับส่งข้อมูล โดยต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เมนบอร์ด ว่าใช้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลอย่างไร
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ เมนบอร์ด (Main board) เมนบอร์ดมีลักษณะเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นแผงวงจรหลักเพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอุปกรณ์หนึ่ง ภายในแผงวงจรจะมีเส้นทางวงจรทองแดงเป็นชุด เรียกว่าเส้นทางบัส (bus) เพื่อใช้ส่งกระแสไฟฟ้าระหว่างอปุกรณ์ต่าง
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ ชิปเซ็ต (Chip set) หน้าที่ช่วยซีพียูทำงาน และเป็นตัวกลางคอยประสานการทำงานและควบคุมการทำงานร่วมกับหน่วยความจำและอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อทั้งภายในและภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะรับคำสั่งในการควบคุมการทำงานอุปกรณ์จากซีพียู ชิปเซ็ตจะถูกติตั้งแบบถาวรบนอุปกรณ์เมนบอร์ด
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.4 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลหรือโปรเเกรมทุกอย่างที่เก็บในแรมจะหายไปด้วย เนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง ดังนั้น จัดเก็บข้อมูลอย่างถาวร ไว้ใช้งานในภายหลัง จึงจำเป็นจะต้องมีหน่วยเก็บข้อมูลภายนอกที่เรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Device)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.4 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง กระบวนการในการเก็บข้อมูล เรียกว่า การเขียนหรือการบันทึกข้อมูล (Writing หรือ Recording Data) เนื่องจากว่า อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง จะบันทึกข้อมูลในรูปของสื่อต่างๆ ที่สามารถนำมาเรียกในภายหลังได้ กระบวนการดึงข้อมูลมาใช้ เรียกว่า การค้นคืนข้อมูล (Retrieving Data) ควบคู่กับการอ่านข้อมูล (Reading Data) เนื่องจากอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองจะอ่านข้อมูลและถ่ายโอนไปยังหน่วยความจำหลัก เพื่อการประมวลผลต่อไป
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.4 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง สามารถจำแนกได้เป็น ดังนี้ 3.4.1 จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk Storage) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภท จานแม่เหล็กประกอบด้วยแผ่นพลาสติกหรือโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ข้อมูลสามารถบันทึกและอ่านจากผิวหน้าที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.4 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง 3.4.1 จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk Storage) ตัวอย่างอุปกรณ์จานแม่เหล็ก ฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disks)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.4 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง 3.4.1 จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk Storage) ตัวอย่างอุปกรณ์จานแม่เหล็ก ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disks)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.4 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง 3.4.1 จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk Storage) ตัวอย่างอุปกรณ์จานแม่เหล็ก ซีดี (Compact Disc: CD)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.4 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ซีดีรอม (CD ROM): Compact Disc Read Only Memory เป็นสื่อบันทึกข้อมูลชนิดหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Media) ลักษณะเป็นแผ่นจานกลมคล้ายแผ่นเสียงหรือแผ่นคอมแพ็คดิสก์สำหรับฟังเพลง ข้อดีคือ เก็บข้อมูลได้ปริมาณมากกว่าดิสก์เก็ต ซีดีรอม 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูล เทียบเท่ากับดิสก์เก็ตความจุ 1.44 MB จำนวน 600 แผ่น หรือเท่ากับฮาร์ดดิสก์ขนาดความจุ 600 MB ในขณะที่ราคาของซีดีรอมถูกกว่าฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุเท่ากัน จากข้อดีดังกล่าวจึงมีผู้ผลิตซอฟต์แวร์ประเภทเกมส์และโปรแกรมบรรจุในซีดีรอมมากขึ้น
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.4 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ซีดี-อาร์ (CD-R): Compact Disc Recordable) เป็นแผ่นซีดีที่สามารถบันทึกได้ แต่ไม่สามารถแก้ไขข้อมูล ลบข้อมูลทิ้ง หรือบันทึกข้อมูลเดิมซ้ำได้ จึงเหมาะสำหรับการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ต้องการแก้ไขแล้ว อย่างไรก็ตาม แผ่นซีดี-อาร์ (CD-R) นี้ ผู้ใช้งานสามารถบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมลงไปในแผ่นที่มีข้อมูลอยู่แล้วได้อีกหลายครั้ง จนกว่าพื้นที่ในแผ่นจะเต็ม
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.4 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ซีดี-อาร์ดับบลิว (CD-RW): Compact Disc Rewritable) เป็นแผ่นซีดีที่สามารถบันทึกซ้ำและลบข้อมูลทิ้งได้ โดยที่แผ่นซีดีนี้สามารถแบ่งการบันทึกเป็นหลายๆ Session ได้เช่นเดียวกับแผ่นซีดี-อาร์ แตกต่างกันตรงที่แผ่นซีดี-อาร์ดับบลิว สามารถบันทึกซ้ำ และลบข้อมูลทิ้งได้ อย่างไรก็ตาม การนำแผ่นที่มีข้อมูลอยู่แล้วมาบันทึกซ้ำ หรือนำแผ่นที่มีข้อมูลเต็มแล้วกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง ผู้ใช้เป็นต้องลบข้อมูลทั้งแผ่นทิ้งไปก่อน แล้วนำกลับมาใช้เหมือนแผ่นเปล่า
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.4 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ดีวีดี (DVD: Digital Versatile Disc) เป็นเทคโนโลยีสื่อเก็บข้อมูลแบบแสง (Optical Disc) ด้วยความจุ 4.7 กิกะไบต์บนด้านเดียว ดิสก์ 1 ชั้น ซึ่งเพียงพอสำหรับภาพยนตร์ 133 นาที ดีวีดี (DVD) สามารถเป็น 1 ด้านหรือ 2 ด้าน และสามารถมี 2 ชั้นบนแต่ละด้าน หรือ 2 ด้าน ดีวีดี (DVD) 2 ชั้น จะสามารถบรรจุ 17 กิกะไบต์ของวิดีโอหรือออดิโอ หรือสารสนเทศอื่น เปรียบเทียบกับ 650 เมกกะไบต์ (65 กิกะไบต์) ของการจัดเก็บสำหรับดิสก์ ซีดีรอม (CD-ROM)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.4 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ดีวีดีรอม (DVD-ROM) คือ ฟอร์แมตมาตรฐานที่ใช้กันในวงการภาพยนตร์ เพื่อการบันทึกข้อมูลภาพ ทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง รวมถึงข้อมูลเสียง มีคุณภาพสูงกว่าฟอร์แมต ซีดี และมีความจุสูงสุดประมาณ 17 กิกะไบต์ แต่ที่พิเศษกว่าคือ สามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ด้วย เพื่อการบันทึกข้อมูลประเภทดาต้าอื่นๆ
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.4 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง - DVD-R สามารถเขียนได้ ไม่สามารถเขียนต่อได้ ไม่สามารถลบได้ - DVD+R สามารถเขียนได้ สามารถเขียนต่อได้ ไม่สามารถลบได้ - DVD-RW สามารถเขียนได้ ไม่สามารถเขียนต่อได้ สามารถลบได้ - DVD+RW สามารถเขียนได้ สามารถเขียนต่อได้ สามารถลบได้
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.4 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง บลูเรย์ (Blu-ray Disc) เป็นชื่อของเทคโนโลยีมาตรฐานใหม่สำหรับออฟติคอลดิสก์ ที่ถูกผลักดันให้มาแทนมาตรฐาน DVD ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน บลูเรย์ ถูกพัฒนาขึ้นมาให้สามารถบันทึกข้อมูลวิดีโอรายละเอียดสูง high-definition video (HD) หรือใช้เก็บไฟล์ข้อมูลได้มากกว่าดีวีดี (DVD) หลายเท่าตัว
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.4 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง 3.4.2 สื่อเก็บข้อมูลแบบเทป (Tape Device) ตัวอย่างอุปกรณ์ สื่อเก็บข้อมูลแบบเทปสำหรับเก็บสำรอง
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.4 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง 3.4.3 สื่อเก็บข้อมูลอื่นๆ (Other Storage Device) ตัวอย่างอุปกรณ์ แฟลชไดรฟ์
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.4 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง 3.4.3 สื่อเก็บข้อมูลอื่นๆ (Other Storage Device) ตัวอย่างอุปกรณ์ เมมโมรี่การ์ด (Memory Card)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.4 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง 3.4.3 สื่อเก็บข้อมูลอื่นๆ (Other Storage Device) ตัวอย่างอุปกรณ์ 3 เมมโมรี่สติก (Memory Stick)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.5 อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ หน่วยแสดงผลทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลข้อมูล (Data) ลักษณะการแสดงผลสามารถแสดงในรูปแบบของรายงานและกราฟิก ซึ่งสามารถพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์หรือแสดงผลผ่านทางจอภาพ ผลลัพธ์ที่อยู่ในรูปของสิ่งพิมพ์ เรียกว่า หน่วยแสดงผลแบบถาวร (Hard Copy) และผลลัพธ์ที่แสดงผลทางจอภาพ เรียกว่า หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) นอกจากนี้ยังมีการแสดงผลในรูปแบบอื่นๆ อีก เช่น ระบบเสียง และภาพวิดีโอ
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.5 อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ 3.5.1 หน่วยแสดงผลชั่วคราว หมายถึง การแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้นแต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไปไม่เหลือเป็นวัตถุ ให้เก็บได้ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในภายหลัง โดยมีตัวอย่างอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ดังนี้
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.5 อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ 1) จอซีอาร์ที (CRT Monitor)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.5 อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ 2) จอภาพแอลซีดี (LCD: Liquid crystal display)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.5 อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ 3) โปรเจคเตอร์ (Projector)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.5 อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ 3.5.2 อุปกรณ์ขับเสียง (Audio Device) ระบบเสียง (Audio) การแสดงผลในรูปของระบบเสียง (Audio) หมายถึง เสียงที่เป็นเสียงและดนตรีซึ่งผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแสดงผลในรูปของเสียง คือ ลำโพง (Speaker) ซึ่งจะรับสัญญาณจากการ์ดเสียง (Sound Card) และโปรแกรมด้านเสียงอุปกรณ์ชนิดอื่นที่ทำหน้าที่แสดงผลเกี่ยวกับเสียง ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ หูฟัง และ โทรศัพท์
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.5 อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ 1 ลำโพง (Speaker)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.5 อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ 2 หูฟัง (Headphone)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.5 อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ 3.5.3 หน่วยแสดงผลแบบถาวร เป็นอุปกรณ์แสดงผลให้ผลลัพธ์คงรูป ผลที่แสดงออกมาจากอุปกรณ์แสดงผลจะอยู่ในรูปของสื่อที่คงรูปได้ ซึ่งสามารถใช้ลักษณะต่างๆ ในการจำแนกประเภทได้หลายลักษณะ โดยในที่นี้จะได้จำแนกตามหลักการทำงานของอุปกรณ์ที่อาศัยการกระทบ (Impact) เป็นหลัก เรียกว่า อุปกรณ์สำหรับพิมพ์งาน (Print Device)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.5 อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ 1 เครื่องพิมพ์ชนิดตอก (Impact Printer) เครื่องพิมพ์อักษร (Character Printer)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.5 อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ 1 เครื่องพิมพ์ชนิดตอก (Impact Printer) เครื่องพิมพ์บรรทัด (Line Printer)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.5 อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ 2 เครื่องพิมพ์ชนิดไม่ตอก (Non Impact Printer) เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.5 อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ 2 เครื่องพิมพ์ชนิดไม่ตอก (Non Impact Printer) เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก (Inkjet Printer)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ 3.5 อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ 2 เครื่องพิมพ์ชนิดไม่ตอก (Non Impact Printer) เครื่องพิมพ์เทอร์มอล (Thermal Printer)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ บทสรุป ฮาร์ดแวร์เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ มีทั้งที่ติดตั้งอยู่ภายในและภายนอกตัวเครื่อง สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์ประมวลผล หน่วยเก็บข้อมูลสำรองและอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล สามารถแบ่งแยกได้หลายประเภท เช่น กด ชี้ตำแหน่ง ปากกา มัลติมีเดีย หรือใช้การสแกนส่วนอุปกรณ์ประมวลผลที่เปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ จะประกอบอยู่ที่ เมนบอร์ด นั้นคือ ซีพียู (CPU) นอกจากนั้นส่วนเก็บข้อมูลสำรองที่รู้จักกันดีมีหลายประเภท เช่น จานแม่เหล็ก สื่อเก็บแบบแสง เทป หน่วยความจำแฟลช
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ บทสรุป โดยการจัดเก็บข้อมูลด้วยสื่อเก็บข้อมูลแบบจานแม่เหล็กที่ควรรู้จัก คือ แทรค ซึ่งเป็นพื้นที่เก็บข้อมูลที่แบ่งออกเป็นส่วนตามแนวเส้นรอบวงกลม และเซกเตอร์ ซึ่งเป็นการแบ่งแทรคออกเป็นส่วนๆ สำหรับอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์นั้น จำแนกได้ 2 ประเภท คือ หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) เช่นมอนิเตอร์ (Monitor) หรือ จอภาพนั่นเอง และหน่วยแสดงผลแบบถาวร (Hard Copy) เช่น อุปกรณ์สำหรับพิมพ์งาน (Print Device)
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ คำถามท้ายบท 1. จงจำแนกประเภทของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ (Hardware) ประกอบด้วยอะไรบ้าง 2. จงบอกถึงความแตกต่างของหน่วยแสดงผลแบบถาวร (Hard Copy) และหน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) 3. จงอธิบายหน้าที่ของหน่วยควบคุม และหน่วยตรรกะในหน่วยประมวลผลกลาง 4. จงอธิบายอุปกรณ์หน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำรองมีความแตกต่างกันในด้านการทำงานอย่างไร 5. จงอธิบายเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตและแบบเลเซอร์ แตกต่างกันอย่างไร