งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระบบสื่อประสม วิวัฒนาการและองค์ประกอบ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระบบสื่อประสม วิวัฒนาการและองค์ประกอบ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระบบสื่อประสม วิวัฒนาการและองค์ประกอบ
ระบบสื่อประสม วิวัฒนาการและองค์ประกอบ

2 ระบบสื่อประสม (multimedia system)
ระบบสื่อประสม หมายถึง การนำองค์ประกอบของสื่อชนิดต่างๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวหรืออะนิเมชัน เสียง และวิดีโอ โดยผ่านกระบวนการทางระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่ การนำเข้า (input) การประมวลผล (processing) การแสดงผล (output) การจัดเก็บข้อมูล (storage)

3 การนำเข้า (input) การนำเข้า (input) หมายถึง การนำเข้าข้อมูลทั้งที่อยู่ในรูปแบบของข้อความหรือตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวิดีโอ ผ่านทางอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ทำหน้าที่นำสัญญาณเข้า แล้วส่งต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อจัดการกับข้อมูลในรูปแบบสัญญาณดิจิตอลต่อไป หากเป็นดิจิตอล เช่น scanner, digital camera ก็สามารถเข้าสู่การประมวลผลได้ในทันที ถ้าเป็นอนาล็อก เช่น video camera, audio player จะต้องมีอุปกรณ์ต่อพ่วงที่เรียกว่า video capture และ sound card เพื่อทำการแปลงสัญญาณอนาล็อกให้ไปเป็นสัญญาณดิจิตอล

4 รูปแสดงภาพการแปลงสัญญาณดิจิตอลไปเป็นอนาล็อก แล้วแปลงสัญญาณจากอนาล็อกไปเป็นดิจิตอล

5 การประมวลผล (processing)

6 การแสดงผล (output) การแสดงผล หมายถึง การแสดงผลลัพธ์จากการแปลงสัญญาณต้นแบบไปเป็นสัญญาณที่สามารถปรากฏบนอุปกรณ์ปลายทางได้ เช่น digital monitor และ laser printer เป็นต้น

7 กล้องถ่ายภาพแบบโทรทัศน์ความชัดสูง
ก่อนการถ่าย หลังการถ่าย การถ่ายภาพแบบโทรทัศน์ความชัดสูง

8 การแสดงผลทางเสียง จะต้องใช้อุปกรณ์ออดิโอ โดยทำการเชื่อมต่อกับแผงวงจรเสียง (ซาวนด์การ์ด) ซึ่งทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิตอลไปเป็นสัญญาณอนาล็อก

9 การแปลงสัญญาณระหว่างแอนะล็อกกับดิจิทัล

10 หูฟังสวมศีรษะและลำโพง

11 การจัดเก็บข้อมูล (storage)
หมายถึง การนำข้อมูลที่ผ่านกระบวนการทำงานทั้งการนำเข้า การประมวลผล และการแสดงผลเรียบร้อยแล้ว มาทำการบันทึกลงในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ได้เมื่อต้องการเช่น เทป (tape) แผ่นซีดี (cd rom) และแผ่นดีวีดี (dvd)

12 เครื่องบันทึกแผ่นซีดี

13 มัลติมีเดียพีซี (multimedia personal computer)
มีองค์ประกอบหลัก 5 ส่วน ดังนี้ เครื่องพีซี (personal computer : pc) เครื่องอ่านซีดีรอม (cd-rom drive) ซาวนด์การ์ด หรือ sound board ลำโพงภายนอก (external speaker) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)

14 เครื่องพีซี (personal computer : pc)
ไมโครโพรเซสเซอร์ที่ใช้จะต้องมีประสิทธิภาพในด้าน Clock Speed เช่น ซีพียูตระกูล Mmx ของ Intel เป็นต้น หน่วยความจำของเครื่อง (Ram) มากพอ ติดตั้งแผงวงจรเร่งความเร็วในการประมวลผลภาพกราฟิก มีโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับอุปกรณ์ต่อพ่วงที่มีการสื่อสารที่เร็วและมีประสิทธิภาพพอที่จะใช้จัดการเกี่ยวกับภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่องไม่กระตุก มี Expansion Slot ที่แผงวงจรหลักเพียงพอสำหรับการต่อพ่วงขยายระบบในอนาคต มี Auxiliary Storage Unit เช่น ฮาร์ดดิสก์หรืออุปกรณ์ชนิดอื่นที่มีขนาดความจุสูง มีจอภาพสีและแผงวงจรควบคุมที่สามารถแสดงภาพที่มีความละเอียดสูง

15 เครื่องมัลติมีเดียพีซี

16 เครื่องอ่านซีดีรอม (cd-rom drive)
ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล (average seek time) อัตราการส่งถ่ายข้อมูล (data transfer rate)

17 เครื่องอ่านซีดีรอมและดีวีดีรอม

18 ซาวนด์การ์ด หรือ sound board
ต้องมีอัตราการสุ่มเสียง (sampling rate) ที่มีความถี่สูง เพื่อเปลี่ยนจากสัญญาณดิจิตอลให้เป็นสัญญาณเสียงที่มีคุณภาพและเกิดมิติของเสียงขึ้น ตัวอย่างเช่น อัตราการสุ่มเสียงแบบโมโน (monophonic sound system) ที่ความถี่ khz ต้องใช้หน่วยความจำในการจัดเก็บข้อมูล 1.3 mb แต่อัตราการสุ่มเสียงแบบสเตริโอ (stereophonic sound system) ที่ความถี่เดียวกัน จะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลถึง 2.6 mb ดังนั้น ระบบเสียงสเตอริโอจึงใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำสำหรับการบันทึกมากกว่าแบบโมโนเป็น 2 เท่า ปัจจุบันซาวนด์การ์ดที่มีคุณภาพจะสามารถสนับสนุนระบบเสียงลักษณะพิเศษได้ เช่น ระบบแสดงผลเสียงแบบรอบทิศทาง (surround system)

19 แผ่นวงจรเสียง

20 ลำโพงภายนอก (external speaker)
สามารถเล่นเสียงระดับไฮไฟที่มีคุณภาพสูงได้ ถ่ายทอดเสียงที่ชัดเจนและต้องครอบคลุมย่านความถี่เสียงได้หลากหลาย

21 ลำโพง

22 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสม (application software for multimedia computer assisted instruction) เช่น icon author, toolbook และ macromedia authorware เป็นต้น โปรแกรมประเภทนี้เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าโปรแกรมระบบประพันธ์บทเรียน (authoring system) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ประเภทนำเสนอสื่อประสม (application software for multimedia presentation) เช่น director, shockware และ flash mx เป็นต้น

23 Authorware Toolbook ซอฟต์แวร์ประยุกต์

24 โปรแกรม Director MX โปรแกรม Flash MX ซอฟต์แวร์ประยุกต์

25 แบบฝึกหัดท้ายบท ระบบสื่อประสม คืออะไร
ให้นักเรียนยกตัวอย่างระบบสื่อประสม มา คนละ 5 ระบบ ประโยชน์ของระบบสื่อประสม ซอฟต์แวร์ประยุกต์คืออะไร และให้นักเรียนยกตัวอย่างซอฟต์แวร์ประยุกต์คนละ 5 โปรแกรม พร้อมทั้งอธิบายถึงการใช้งานของโปรแกรมนั้นๆ ทำลงในสมุด ส่งในคาบ


ดาวน์โหลด ppt ระบบสื่อประสม วิวัฒนาการและองค์ประกอบ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google