อัตราพื้นที่ใช้สอยในแต่ละหน่วยงาน ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ วาระที่ 3.12 อัตราพื้นที่ใช้สอยในแต่ละหน่วยงาน ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
จำนวนอาคารสำนักงาน สตท./สตส. ที่มีอาคาร สนง. 1 หลัง (61 แห่ง) ชั้นเดียว 9 แห่ง ชัยนาท , ปราจีนบุรี, ปัตตานี, พิษณุโลก, มหาสารคาม, ระนอง,สตูล,สมุทรสงคราม, สุพรรณบุรี สตท./สตส. ที่มีอาคาร สนง. 1 หลัง (61 แห่ง) สองชั้น 52 แห่ง สตท 2, สตท 3, สตท 4, สตท 5, สตท 6, สตท 8, สตท 9, สตท 10 ,กระบี่, กาญจนบุรี, จันทบุรี ,ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ชัยภูมิ, ชุมพร, ตรัง, ตราด, ตาก, นครราชสีมา, นครศรีธรรมราช, นครสวรรค์, นราธิวาส, น่าน, ประจวบคีรีขันธ์, อยุธยา, พะเยา, พัทลุง, พิจิตร, เพชรบุรี, เพชรบูรณ์, แพร่, ภูเก็ต, มุกดาหาร, แม่ฮ่องสอน, ยะลา, ราชบุรี, ลำพูน, ศรีสะเกษ , กรุงเทพฯ สตท./สตส. ที่มีอาคาร สนง. 2 หลัง (12 แห่ง) กาฬสินธุ์ ,ขอนแก่น, เชียงราย, นครพนม, บุรีรัมย์, พังงา, ลพบุรี, ลำปาง, หนองคาย, อ่างทอง, สุราษฎร์ธานี, สตท.1 เช่า 1 แห่ง บึงกาฬ สตท./สตส. ที่ไม่มีอาคาร สนง. (14 แห่ง) ศาลากลาง 13 แห่ง นนทบุรี, ปทุมธานี, สระแก้ว, นครนายก, ยโสธร, อำนาจเจริญ, เลยหนองบัวลำภู , กำแพงเพชร, สตท. 7 , เชียงใหม่ , นครปฐม, สมุทรสาคร อาคารสำนักงานส่วนกลาง 4 อาคาร
มาตรฐานอาคารประเภทที่ทำการของราชการ พ.ศ. 2521 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่15 สิงหาคม 2521 โดยหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ สร 0203/ว 120 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2521 เพื่อประโยชน์ในการคำนวณเนื้อที่ทั้งหมดของอาคาร สำหรับจัดทำแผนการปรับปรุงอาคารสำนักงาน เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณ ให้กำหนดเนื้อที่ใช้สอยของอาคารแต่ละส่วนโดยเฉลี่ยตามเกณฑ์การจัดผังสำนักงาน (OFFICE LAY - OUT) ดังนี้ เนื้อที่ทำงาน ขนาด 1. เนื้อที่ทำงานของอธิบดีและรองอธิบดี (รวมห้องน้ำ - ส้วม) 30 ตารางเมตร/คน 2. ของผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง 16 ตารางเมตร/คน 3. ตำแหน่งอื่น ๆ ที่ไม่ต่ำกว่าข้าราชการระดับ 6 12 ตารางเมตร/คน 4. ผู้ปฏิบัติงาน ข้าราชการและพนักงาน 4.5 ตารางเมตร/คน 5. ห้องประชุมตามจำนวนผู้เข้าประชุม 2 ตารางเมตร/คน 6. ที่พักรอ 1 ตารางเมตร/คน 7. ห้องน้ำ - ส้วม โดยมีโถส้วม 1 โถ ที่ปัสสาวะ 1 ที่ อ่างล้างมือ 1 อ่าง ต่อจำนวน 25 คน 0.5 ตารางเมตร/คน 8. เนื้อที่สำหรับเก็บพัสดุหรือเพื่อการอื่นให้พิจารณาตามความจำเป็นของแต่ละหน่วยงาน
มาตรฐานอาคารประเภทที่ทำการของราชการ พ.ศ. 2521 เนื้อที่ทำงาน ขนาด 9. เนื้อที่ส่วนบริการได้แก่ทางเดินเชื่อม ห้องโถงและบันได มีเนื้อที่ประมาณ 1/3 ของเนื้อที่ตามเกณฑ์ข้างบนทั้งหมดรวมกัน 10. ทางเดินติดต่อทั่วไป ไม่ควรกว่างเกิน 2.70 เมตร 11. ชายคาและกันสาดไม่ควรยื่นเกิน 2.10 เมตร 12. แผงกันแดด ให้มีได้เท่าที่จำเป็นและประหยัด
ปัญหาการบันทึกข้อมูลในระบบฐานข้อมูลสิ่งปลูกสร้าง 1. ข้อมูลที่ สตท./ สตส. บันทึกในส่วนของพื้นที่ใช้สอยไม่เป็นแนวทางเดียวกัน ทำให้เมื่อหาค่าเฉลี่ยพื้นที่ใช้สอยต่อคนมีความคลาดเคลื่อน ซึ่งพื้นที่ใช้สอยตาม มติ ครม. หมายความถึงพื้นที่ทุกส่วนที่สามารถใช้งานได้ในบริเวณอาคารสำนักงานไม่หักห้องน้ำ ทางเดิน ที่วางตู้เอกสาร ห้องประชุม ฯลฯ 2. ข้อมูลที่บันทึกไม่ถูกต้อง เช่น บันทึกพื้นที่ใช้สอย 4,000 ตร.ม. โดยที่มีอาคาร 2 ชั้น เพียงหลังเดียว 3. ยังไม่มีการบันทึกข้อมูล ได้แก่ สตส.เชียงใหม่ (ศาลากลาง), สำนักบริหารกลาง (อาคารส่วนกลาง) สิ่งที่ขอให้ สตท./สตส./สบก. ดำเนินการ 1. ตรวจสอบข้อมูลที่บันทึกในระบบฐานข้อมูลให้ถูกต้อง โดยเฉพาะพื้นที่ใช้สอยให้ใช้พื้นที่ตามแนว มติ ครม. 2. ให้สำรวจและเปรียบเทียบเนื้อที่ทำงานตามมาตรฐานกับพื้นที่จริง แนบเสนอทุกครั้งที่มีการของบประมาณเพื่อ ปรับปรุง ต่อเติม ก่อสร้าง อาคารสำนักงาน 3. บันทึกจำนวนผู้ปฏิบัติงาน เฉพาะ ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ