แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การติดตามและ ประเมินผลโครงการ
Advertisements

การสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศของ นักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม นางสาวพัชรี นาคทอง วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู
ข้อสรุปหลักสูตรการอบรมการผลิต รายการเด็ก TV4Kids.
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
ชื่อผู้สอน : นางฐิติมา พิริยะ
มาตรฐานคุณภาพการสอน ของ คณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครู (The National Board for Professional Teaching Standards) วิกฤติอาชีพครู พัฒนาวิชาชีพครู
ผู้วิจัย : นางสาวสุรีรัตน์ ขันคำ
คำถามตามเกณฑ์ PMQA:105คำถาม หมวด1 12คำถาม.
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
ผู้วิจัย : นางธนิตา ขาวทอง วิทยาลัยอาชีวศึกษาบริหารธุรกิจวิทยา สงขลา
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
การประเมินผลโครงการ คปสอ.คลองใหญ่.
นางวราพันธ์ ลังกาวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 39 สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน 16 พฤษภาคม 2558 ณ โรงแรมน่านเจ้า จังหวัดพิษณุโลก การประชุมชี้แจง เรื่อง.
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล เรื่องการเชื่อมโยง ภาพนิ่ง ด้วยโปรแกรม Powerpoint2007 โดยใช้ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ของนักเรียนระดับชั้น.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
หลักสูตรการอบรมวิทยากรตัวคูณ ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1 ภาคกลางตอนบน ( วันที่สอง ) ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี ระหว่างวันที่ 9 – 11 มีนาคม 2558.
รายงานการ ดำเนินงาน ศูนย์แนะแนวต้นแบบประจำสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา รายงานการ ดำเนินงาน ศูนย์แนะแนวต้นแบบประจำสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา.
1. ด้าน หลักสูตร. จุดเน้นกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ คุณภาพผู้เรียน “ คุณภาพผู้เรียน ที่ระบุในจุดเน้นมีอยู่ แล้วในหลักสูตร.
ปรานอม ประทีปทวี 25/09/591 หน้าที่ของครูผู้นิเทศ สพม.5.
การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ ครูชาญณรงค์ ปานเลิศ โรงเรียนพระบางวิทยา ครูชาญณรงค์
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
One Point Lesson (OPL).....บทเรียนประเด็นเดียว
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
กรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)
เทคนิคการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ณ ห้องประชุม พธ.ทร.(๒) วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙๓๐
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ผู้วิจัย นายอภิสิทธิ์ แก้วฟู วิทยาลัยอาชีวศึกษาจันทร์รวี
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.
การประเมินวิทยฐานะ (ว 21/2560)
แนวทางการบริหารการจัดเก็บ ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน ปี 2561
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
เปิดบ้าน ชื่อโรงเรียน วันที่.
ผลงานทางวิชาการ ความหมาย ลักษณะ ประเภท
หมวดศึกษาทั่วไป ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ผู้สอน : อ.สำราญ ผลดี
กลุ่มเกษตรกร.
การบริหารโครงการซอฟต์แวร์
SMS News Distribute Service
สัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน
ความหมาย ความสำคัญ และจุดมุ่งหมายของการศึกษา
งานแนะแนว กับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ประวัติวิทยากร ปริญญาเอก ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ดร.วัชรศักดิ์ สงค์ปาน
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
โครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียน ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (NT/O-NET)
งานวิจัยในชั้นเรียน ผู้วิจัย นางสาวนนทกานต์ ลีอุดมวงษ์ .
ชัยพฤกษ์รัตนาธิเบศร์ - วงแหวน
กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร
การสอนควบคู่กับการเรียน
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report
วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่
การสร้างแบบทดสอบ อาจารย์ ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์ สมพงษ์ พันธุรัตน์
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
หน่วยที่ 4 การสร้างเครื่องมือ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล Individualized Education Program (IEP)

การพัฒนานักเรียนตามแผน IEP หลักสูตรแกนกลาง ปรับหลักสูตรแกนกลาง การร่วมกิจกรรมในโรงเรียน เน้นวิชาที่มีปัญหา/บกพร่อง หน้าที่มอบหมาย กระตุ้น/สอนเสริม/ทำซ้ำ เลื่อนชั้นตามการปรับหลักสูตร การวัดประเมินตามศักยภาพ นร.

ความหมาย แผนซึ่งกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษ (special needs) ของคนพิการตลอดจนกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกสื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา

IEP เป็นแผนการจัดการศึกษาที่เขียนขึ้นเป็น ลายลักษณ์อักษรสำหรับเด็กคนใดคนหนึ่งโดยครู หมอ พ่อแม่ ฯลฯ IEP เป็นเครื่องมือในการจัดการกับกระบวนการ ตรวจสอบการสอนทั้งหมด

การเตรียมการจัดทำ IEP 1. การรวบรวมข้อมูล - ข้อมูลเบื้องต้น เช่น ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลสุขภาพ / ความบกพร่อง ข้อมูลครอบครัว ข้อมูลสวัสดิการและสังคมสังเคราะห์

2. การประเมินความสามารถ ข้อมูลความสามารถในปัจจุบัน (จุดเด่น จุดอ่อน) จากการประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบ แบบประเมิน พัฒนาการ แบบสังเกต แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์

คณะผู้จัดทำ IEP คณะกรรมการการจัดทำ IEP มีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 7 คน คือ 1. ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย 2. บิดา มารดาหรือ ผู้ปกครอง 3. ครูประจำชั้น / อาจารย์ที่ปรึกษาและกรรมการอื่นๆ เช่น ครูการศึกษาพิเศษ นักวิชาการ / นักวิชาชีพ ผู้เรียน

ขั้นตอนการทำงานของคณะกรรมการจัดทำ IEP - ประเมินระดับความสามารถในปัจจุบันและความต้องการจำเป็นพิเศษ - วางแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล - ประเมิน ทบทวน ปรับแผน รายงานผลการประเมิน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

- ประเมิน ทบทวน ปรับแผน รายงานผลการประเมิน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง 2. ประชุมเพื่อจัดทำ IEP 3. คณะกรรมการลงนามใน IEP 4. บิดา มารดา / ผู้ปกครอง หรือผู้เรียนลงนาม

ส่วนประกอบของ IEP 1. ข้อมูลทั่วไป 2. ข้อมูลด้านการศึกษา 3. การวางแผนการจัดการศึกษา - ระดับความสามารถ (จุดเด่น จุดอ่อน)

- เป้าหมายระยะยาว 1 ปี จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม การประเมินผล - ผู้รับผิดชอบ

รูปแบบการจัดทำ IEP ครูประจำชั้น ผู้บริหาร แพทย์,นักวิชาชีพ ผู้ปกครอง ครูประจำวิชา ดร.สมพร หวานเสร็จ ศกศ.9 ขอนแก่น

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม คำอธิบายถึงสิ่งที่ผู้เรียนจะเป็นหรือทำได้เพิ่มมากขึ้นหลังจากกิจกรรมการเรียนการสอน ระบุกิจกรรมการเรียนการสอน

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ประกอบด้วย ระยะเวลา + สถานการณ์ + ใคร + ทำอะไร + อย่างไร / เท่าไร (เกณฑ์)

ส่วนประกอบของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม สถานการณ์ : เหตุการณ์ที่ระบุสภาพแวดล้อม สื่อ วัสดุอุปกรณ์ เงื่อนไข ความช่วยเหลือ (เมื่อ/ขณะ/หลังจาก...) พฤติกรรม : ระบุตัวบุคคลและพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ง่ายและชัดเจน (นักเรียน(ชื่อ)จะ.......)

เกณฑ์การประเมินผล : ระดับความสามารถที่กำหนดว่าผู้เรียนเกิดทักษะ โดยระบุความถี่และปริมาณที่แสดงความถูกต้อง เมื่อ/หลังจาก.....น.ร.(ชื่อ) จะ.............ได้..................

ปัจจัยสำคัญของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม การพิจารณาเป้าหมายว่าผู้เรียนควรจะมีทักษะ/พฤติกรรมดีขึ้นเท่าไร ความถี่ของพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงให้เห็นว่าเกิดทักษะ ผู้เรียนควรใช้เวลานานเท่าไรในการแสดงพฤติกรรมที่ประสบผลสำเร็จ (ระยะเวลาควรมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียน)

ข้อควรพิจารณาในการตั้งจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ความถี่ : จำนวนครั้งที่แสดงพฤติกรรม การนำไปใช้ : เมื่ออยู่ในสถานการณ์อื่น ๆ กับบุคลอื่น ๆ จะแสดงพฤติกรรมเป้าหมาย ความคงที่ : ความต่อเนื่องของการแสดงพฤติกรรมหลังจากจบกิจกรรมการเรียนการสอน

ลักษณะที่ดีของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม มีความชัดเจน สามารถวัดได้ มีเกณฑ์ที่ผู้เรียนสามารถทำได้จริง มีความเหมาะสมกับผู้เรียน มีกำหนดเวลาที่แน่นอน

ตัวอย่างการเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม สถานการณ์ : เมื่อให้บวกเลข 2 หลัก โดยไม่มีตัวทด พฤติกรรมที่คาดหวัง : ด.ช.เหนือ จำบวกเลข 2 หลัก โดยไม่มีตัวทด เกณฑ์การประเมิน : ได้ถูกต้อง 80%

ตัวอย่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อนำภาพแผนที่ประเทศไทยมาแสดง ด.ช.น่าน น่าจะบอกชื่อจังหวัดที่อยู่ชายแดนของแต่ละภาคได้ถูกต้องทั้งหมดทุกครั้งภายในเวลา 1 เดือน หลังจากจบบทเรียนเรื่องสัญญาณไฟจราจร ด.ญ.ปุ๊น่าจะบอกความหมายของสีแต่ละสีของสัญญาณไฟจราจรได้ถูกต้องอย่างน้อย 4 ใน 5 ครั้งในเวลา 3 นาที ภายใน 1 สัปดาห์

เฉลย สถานการณ์ : เมื่อนำภาพแผนที่ประเทศไทยมาแสดง พฤติกรรมที่คาดหวัง : ด.ช.น่าน น่าจะบอกชื่อจังหวัดที่อยู่ชายแดนของแต่ละภาค เกณฑ์การประเมิน : ได้ถูกต้องทั้งหมดทุกครั้งภายในเวลา 1 เดือน

เฉลย สถานการณ์ : หลังจากจบบทเรียนเรื่องสัญญาณไฟจราจร พฤติกรรมที่คาดหวัง : ด.ญ.ปุ๊น่าจะบอกความหมายของสีแต่ละสีของสัญญาณไฟจราจร เกณฑ์การประเมิน : ได้ถูกต้องอย่างน้อย 4 ใน 5 ครั้งในเวลา 3 นาที ภายใน 1 สัปดาห์

ตัวอย่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อให้แกะห่อขนมที่ผูกด้วยหนังยาง ด.ญ.ฟ้าครามจะแกะห่อขนม เสร็จภายใน 2 นาที ได้ทุกครั้ง ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ ด.ช.กล้า เขียนข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับ บ้านเลขที่ ตำบล จังหวัด ด.ช.กล้าเขียนข้อมูลของตนเองได้ร้อยละ 70

เฉลย สถานการณ์ : เมื่อให้แกะห่อขนมที่ผูกด้วยหนังยาง พฤติกรรมที่คาดหวัง : ด.ญ.ฟ้าครามจะแกะห่อขนม เสร็จภายใน 2 นาที เกณฑ์การประเมิน : ได้ทุกครั้ง

เฉลย สถานการณ์ : ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ พฤติกรรมที่คาดหวัง : ด.ช.กล้า เขียนข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับ บ้านเลขที่ ตำบล จังหวัด ด.ช.กล้าเขียนข้อมูลของตนเอง เกณฑ์การประเมิน : ได้ร้อยละ 70

4. ความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา 5. คณะกรรมการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล 6. ความเห็นของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง

การวัดและประเมินผล วิธีการ / เครื่องมือ / เกณฑ์ ประกอบด้วย วิธีการ = สังเกตพฤติกรรม /การอ่าน/ ทดสอบ เครื่องมือ = แบบสังเกตพฤติกรรม /แบบการอ่าน/ แบบทดสอบ เกณฑ์ = ร้อยละ / รายการที่ระบุต่อท้ายจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

สิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ เครื่องมือ โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่ช่วยให้นักเรียนที่มีความต้องาการจำเป็นพิเศษสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร อาคารสถานที่ เช่น แว่นขยาย เครื่องช่วยฟัง ทางลาด

สื่อ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือช่วยให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม เกิดความเข้าใจดีขึ้น และรวดเร็วขึ้น เช่น เครื่องพิมพ์ดีดเบรลล์ หนังสือ แถบเสียง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

บริการ/ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา บริการ : บริการเตรียมความพร้อมทางการเรียนรู้ บริการบำบัดฟื้นฟู บริการฝึกอบรม เช่น กายภาพบำบัด การแก้ไขการพูด ล่ามภาษามือ ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา : การปรับเนื้อหา / สื่อการสอน / เทคนิคการสอน

ประโยชน์ของ IEP ผู้เกี่ยวข้องทุกคนตระหนักและรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษาและผลงานของการจัดการศึกษา ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจว่าเด็กที่มีความบกพร่องหรือพิการต้องการการศึกษาเฉพาะบุคคล พ่อแม่หรือผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา

IEP ช่วยให้ทางโรงเรียนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีแนวทางในการจัดหาหรือจัดบริการเสริมได้อย่างเหมาะสม

การวิเคราะห์ข้อย่อยจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เช่น ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ ด.ช.กล้า เขียนข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับ บ้านเลขที่ ตำบล จังหวัด ด.ช.กล้าเขียนข้อมูลของตนเองได้ร้อยละ 70 การวิเคราะห์ ข้อ ๑.๑ กิจกรรมการเล่าเรื่อง ข้อ ๑.๒ กิจกรรมเขียน

เมื่อนำภาพแผนที่ประเทศไทยมาแสดง ด. ช เมื่อนำภาพแผนที่ประเทศไทยมาแสดง ด.ช.น่าน บอกชื่อจังหวัดที่อยู่ชายแดนของแต่ละภาคได้ถูกต้องทั้งหมดทุกครั้งภายในเวลา 1 เดือน การวิเคราะห์ ข้อ ๑.๑ สัญลักษณ์แผนที่ประเทศไทย ข้อ ๑.๒ ตำแหน่งทิศทางแต่ละภาคบนแผนที่ประเทศไทย ข้อ ๑.๓ หาชื่อจังหวัด ข้อ ๑.๔ จังหวัดที่อยู่ชายแดนของภาคเหนือ / กลาง / ตะวันออก / ใต้

Individual Implementation Plan แผนการสอนเฉพาะบุคคล Individual Implementation Plan (IIP)

ความหมายของ IIP แผนการสอนที่จัดขึ้นเป็นเฉพาะบุคคลสำหรับ ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์และ เป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล

กระบวนการจัดทำ IIP กำหนดทักษะที่จะสอนโดยการตรวจสอบ(สอนอะไร) กำหนดองค์ประกอบและสถานการณ์ที่จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ (สอนอย่างไร) วางแผนการสอน (จัดทำ IIP) เริ่มต้นการสอน : (สอน ทดสอบ สอน)

ส่วนประกอบของ IIP ชื่อผู้เรียน เนื้อหา / ทักษะที่สอน เนื้อหา / ทักษะที่สอน - สาระที่จะสอนผู้เรียน เพียง 1 เรื่อง/ ทักษะ จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม - ลำดับขั้นของทักษะหรือจุดประสงค์ย่อย ๆ ที่ต้องการให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและเป้าหมายระยะยาวที่ระบุไว้ใน IEP

วิธีสอน / สื่อ - วิธีการดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และสื่อประกอบการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพตรงตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้ใน IEP

สิ่งเสริมแรงที่ใช้ - สิ่งเสริมแรงและเงื่อนไขการเสริมแรงที่เหมาะสมกับผู้เรียนเป็นเฉพาะบุคคล การประเมินผล

สรุปแนวทางการเขียน IIP สอนตามตารางสอนแยกเรียน แผนการสอนกลางเรียนรวม สอนเสริมหลักเลิกเรียน ลักษณะ วิธีการนำไปใช้ เรียนกับครูพิเศษ/พี่เลี้ยง ใช้ขณะสอนคู่กับแผนการสอนกลางโดยครูผู้สอนรับผิดชอบ

แนวทางการดำเนินการตามแผน IEPสู่ IIP 1.คัดกรอง แบบกระทรวง แบบทดสอบ ผลงานการเรียน การสัมภาษณ์ รายภาค รายวัน รายปี หลักสูตร การวัดและประเมินผล 2.การวางแผน IEP 1 ปี IIP รายเดือน

สรุปแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP) แผนซึ่งกำหนดแนวทางการจัดการศึกษา ที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ ตลอดจนกำหนดเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา เฉพาะบุคคล

กระบวนการพัฒนาเด็กพิการเรียนรวม *การตรวจสอบทางการศึกษา *การจัดทำ IEP โดยมีคณะกรรมการ *การนำ IEP สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน *การนิเทศ ติดตาม ช่วยเหลือ *การวัดและประเมินผลทางการเรียน *การปรับปรุงคุณภาพผู้เรียนและการเรียนการสอน *การทบทวนและปรับปรุง IEP

แนวปฏิบัติ ในการวัดและประเมินผล นักเรียนพิการเรียนรวม

1.กรณีเด็กพิการเรียนร่วมกับเด็กทั่วไป ในสาระการเรียนรู้/รายวิชาใด ให้ใช้เกณฑ์ประเมินผลสาระการเรียนรู้นั้นตามปกติ จัดอุปกรณ์และสิ่งจำเป็นอื่นๆ ปรับวิธีการสอบ กำหนดเวลาในการสอบให้เหมาะสม/พร้อมที่จะสอบ พิจารณาเป็นเฉพาะรายบุคคล ในรายวิชาที่ปรับเปลี่ยนจะต้องมีการสอน ที่สอดคล้องในชั้นเรียน

2. กรณีเด็กพิการรุนแรง มีปัญหาไม่สามารถเรียนสาระการเรียนรู้/ รายวิชาใด ให้ประเมินผลตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ที่กำหนดไว้ใน IEP เป็นการประเมินเฉพาะบุคคล ไม่ต้องเปรียบเทียบกับเด็กปกติ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ช่วงชั้นที่เกี่ยวข้อง ลำดับ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง รหัสมาตรฐาน ช่วงชั้นที่เกี่ยวข้อง ผลการประเมิน ผ่าน ไม่ผ่าน 1 ปรับ เมื่อกำหนดจำนวนไม่เกิน 100,000 ให้สามารถอ่าน เขียนตัวหนังสือ ตัวเลขฮินดูอารบิค ตัวเลขไทย สามารถบอกค่าตัวเลขแต่ละหลัก และเขียนในรูปกระจายได้ และสามารถเปรียบเทียบจำนวน เมื่อกำหนดจำนวนไม่เกิน 10 ให้สามารถอ่าน เขียนตัวหนังสือ ตัวเลขฮินดูอารบิค ค 1.1 2 เมื่อกำหนดจำนวนไม่เกิน 100,000 ให้ สามถึงห้าจำนวน สามารถเรียงลำดับจำนวนได้ เมื่อกำหนดจำนวนไม่เกิน 10 ให้ สามารถเรียงลำดับจำนวนได้ 3 เมื่อกำหนดจำนวนเริ่มต้นที่ 0 ให้ สามารถนับจำนวนเพิ่มทีละ 3, 4, 25, 50 นำไปประยุกต์ เมื่อกำหนดจำนวนเริ่มต้นที่ 0 ให้ สามารถนับจำนวน 1- 10 ได้ ค 1.2 4 เมื่อกำหนดโจทย์ที่มีผลบวกไม่เกิน 100,000 ให้สามารถหาคำตอบได้ เมื่อกำหนดโจทย์ที่มีผลบวกไม่เกิน 5 ให้ สามารถหาคำตอบได้ (ครูอ่านโจทย์ ) ค 1.3

ปรับวิธีการและเครื่องประเมินผล * ปรับวิธีทดสอบ * กำหนดเวลาในการสอบ * กำหนดเกณฑ์การให้คะแนนใหม่ ให้เหมาะสมกับผู้เรียน

ให้เหมาะสมกับศักยภาพ ประเมินอย่างไร จัดอุปกรณ์ ปรับเวลา กำหนดเกณฑ์ ให้เหมาะสมกับศักยภาพ ปรับวิธีการ ปรับเครื่องมือ

ปรับวิธีทดสอบ ให้สอบปากเปล่า หรือสัมภาษณ์ อ่านข้อสอบให้ฟัง โดยครู เพื่อนหรือพี่เลี้ยง การสังเกตพฤติกรรมทุก ๆ ด้าน ประเมินผลจากการมีส่วนร่วม ประเมินผลจากแฟ้มงาน( Portfolio ) ให้ฟังเทปบันทึกเสียง/หนังสือเสียงช่วยให้เรียนรู้ สอบที่ใดก็ได้ที่วัดศักยภาพจริงของเด็กได้ ฯลฯ

ปรับวิธีทดสอบ ตอบปากเปล่า สังเกต สัมภาษณ์ ปฏิบัติ ผลงาน แบบฝึกหัด แฟ้มพัฒนางาน แบบทดสอบ จัดอุปกรณ์ เพิ่มเวลาจัดให้มาะสมกับผู้เรียนพิการ แบ่งข้อสอบ/ลดจำนวนข้อ

กำหนดเวลาในการสอบ สอบแล้วพักแล้วสอบใหม่จัดเวลาให้เหมาะ สอบโดยไม่จำกัดเวลา สอบแล้วพักแล้วสอบใหม่จัดเวลาให้เหมาะ ขยายเวลาในการสอบให้มีเวลามากขึ้น แบ่งจำนวนแบบทดสอบเป็นตอนๆ และ ให้สอบทีละตอน แทนที่จะสอบครั้งเดียวทั้งฉบับ ฯลฯ

กำหนดเกณฑ์การให้คะแนนใหม่ ให้เหมาะสมกับศักยภาพผู้เรียน - ปรับเปลี่ยนโดยอิงหลักสูตร - กำหนดตามวัตถุประสงคใน IEP

วัดตามระบบเกรดเฉพาะ ปรับเปลี่ยนวิธีการสอบ เช่นอ่านข้อสอบให้หรือให้ฟังเทป/ใช้อุปกรณ์เฉพาะ/ อ่านออกเสียงดัง/ สอบปากเปล่าและหรือสัมภาษณ์คนใกล้ชิด (ครูประจำวิชาผู้ปกครอง เพื่อน พี่เลี้ยง ญาติผู้ใกล้ชิด) ฯลฯ กำหนดเกณฑ์ใหม่ ปรับปรุงวิธีการให้คะแนนนักเรียน เช่นจำนวนข้อที่ประเมินน้อยลง ช่วยให้มีคะแนนผ่านการประเมินได้ อาจให้ทำ 10 ข้อๆละ 2 คะแนน (เด็กปกติ 20 ข้อๆละ 1 คะแนน) ปรับเปลี่ยนตัวเลือกหรือคำตอบให้เหลือ 4 ตัวเลือก 3 ตัวเลือกหรือ 2 ตัวเลือก ขึ้นอยู่กับสภาวะอารมณ์ของนักเรียนในขณะที่สอบ

วัดตามระบบเกรดเฉพาะ ระดับ 4 หมายถึง ทำได้ถูกต้องด้วยตนเองทั้งหมด ระดับ 3 หมายถึง ทำได้ถูกต้องด้วยตนเอง ( กระตุ้นด้วยวาจา ) ระดับ 2 หมายถึง ทำได้เองบ้าง ทำไม่ได้บ้าง (ครูต้องกระตุ้นด้วย ท่าทาง และวาจา ) ระดับ 1 หมายถึง ทำได้ โดยครูต้องกระตุ้นเตือนทั้งหมด (กระตุ้นด้วย,กาย,ท่าทาง,วาจา ) ระดับ 0 หมายถึง นักเรียนยังไม่สามารถตอบสนองได้เลย นักเรียนบางคนใช้วิธีการให้คะแนนและได้ปรับวิธีการให้คะแนนดังนี้ 40 – 50 คะแนน เท่ากับระดับ 4 30 – 39 คะแนน เท่ากับระดับ 3 20 - 29 คะแนน เท่ากับระดับ 2 10 – 19 คะแนน เท่ากับระดับ 1 คะแนน ต่ำกว่า 10 เท่ากับระดับ 0

วัดตามระบบเกรดเฉพาะ ประเมินจากพฤติกรรม เช่น สังเกตความพยายามและความก้าวหน้า ได้ใช้วิธียืดหยุ่นและปรับวิธีการให้คะแนน ทำได้ครบ 5 ครั้ง เท่ากับระดับ 4 ทำได้ครบ 4 ครั้ง เท่ากับระดับ 3 ทำได้ครบ 3 ครั้ง เท่ากับระดับ 2 ทำได้ครบ 1-2 ครั้ง เท่ากับระดับ 1 ทำไม่ได้ เท่ากับระดับ 0 ประเมินจากกิจกรรม หลายๆ ด้าน เช่น 20 % จากการสอบปลายภาค 20 % จากการสอบระหว่างเรียน หรือ ระหว่างภาค 20 % จากการร่วมกิจกรรม 20% จากการนำเสนองานง่ายๆ 20% จากการมาเรียน

เกณฑ์การให้คะแนน (RUBIC) 3 หมายถึง เขียนคำ/สะกดคำได้ ถูกต้องทุกคำ 2 หมายถึง เขียนคำ/สะกดคำได้ 2 ส่วน 3 ของคำ 1 หมายถึง เขียนคำ/สะกดคำได้ 1 ส่วน 3 ของคำ 0 ไม่ตอบสนองหรือเขียนคำได้ ไม่ถูกต้อง ระดับคุณภาพงาน =

ให้คะแนนเขียนเรื่องสั้น

เกณฑ์การให้คะแนน หมายถึง ดีมาก นักเรียนปฏิบัติดังนี้ - วาดภาพได้ครบตามที่กำหนดและมีบริบทประกอบ 4- 5 ชนิด - เขียนรายละเอียดของเรื่องได้ 3- 4 ประโยค - วาดภาพและระบายสีได้สวยงาม ดีมาก 2 หมายถึง ดี นักเรียนปฏิบัติดังนี้ - วาดภาพได้ครบตามที่กำหนดและมีบริบทประกอบ 2- 3ชนิด - เขียนรายละเอียดของเรื่องได้ 2 ประโยค - วาดภาพและระบายสีได้ดี 1 หมายถึง พอใช้ นักเรียนปฏิบัติดังนี้ - วาดภาพได้ครบตามที่กำหนดและมีบริบทประกอบ 1 ชนิด - เขียนรายละเอียดของเรื่องได้ 1 ประโยค - วาดภาพและระบายสีได้สวยงามพอใช้ 0 หมายถึง นักเรียนไม่ตอบสนอง

การออกเสียงคำว่า “พ่อ” ให้คะแนนการปฏิบัติ การออกเสียงคำว่า “พ่อ” เด็กไม่ตอบสนอง=0 เด็กขยับปาก = 1 เด็กอ้าปาก = 2 เด็กออกเสียง พะ พอ =3 เด็กออกเสียง พ่อ = 4

ตัวอย่างให้คะแนน

- วาดภาพได้ครบองค์ประกอบ มีความคิดสร้างสรรค์ - ระบายสีได้สวยงาม ดีมาก 3 หมายถึง ดีมาก นักเรียนปฏิบัติดังนี้ - วาดภาพได้ครบองค์ประกอบ มีความคิดสร้างสรรค์ - ระบายสีได้สวยงาม ดีมาก 2 หมายถึง ดี นักเรียนปฏิบัติดังนี้ - วาดภาพได้ไม่ครบองค์ประกอบ มีความคิดสร้างสรรค์ - วาดภาพและระบายสีได้ดี 1 หมายถึง พอใช้ นักเรียนปฏิบัติดังนี้ - วาดภาพได้ครบไม่ครบองค์ประกอบ วาดได้เพียง 1 ชนิด ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ - วาดภาพและระบายสีได้สวยงามพอใช้ 0 หมายถึง นักเรียนไม่ตอบสนอง

ตัวอย่างการให้คะแนน การทำงาน (ทำได้ด้วยตนเอง) = 4 การวาดภาพที่กำหนด = 2 การมีความคิดสร้างสรรค์ = 2 การระบายสี = 2 คุณธรรม = 2 รวม 12 20

ประเมินความก้าวหน้าทางการอ่าน/เขียน ระหว่างก่อนและหลังสอน ? ?

ประเมินความก้าวหน้าของพฤติกรรม ระหว่างก่อนและหลังสอน ?

จัดให้เด็กมีคะแนนระหว่างเรียน แบบบันทึกการเขียนของ ด.ช.รักเรียน 4 หมายถึง เขียนคำ ได้ถูกต้อง ทั้งหมด 3 หมายถึง เขียนคำ ได้ถูกต้อง 3 ใน 4 2 หมายถึง เขียนคำ ได้ถูกต้อง 2 ใน 4 1 หมายถึง เขียนคำ ได้ถูกต้อง 1 ใน 4 0 หมายถึง เขียนคำไม่ถูกต้อง คำที่ 1 คำที่ 2 3 คำที่ 4 คำที่ 5 รวม จ 1 4 12 อ ? พ พฤ

ให้คะแนนจากพฤติกรรมแสดงออก

การวัดและประเมินผล การเล่าเรื่องจากการวาดภาพ รายการ 3 2 1 ใช้น้ำเสียงชัดเจน ภาษากระชับแสดงท่าทางมั่นใจ ใช้น้ำเสียงเบา แสดงท่าทางไม่มั่นใจ ใช้น้ำเสียงในลำคอ และเขินอาย ผลงาน ภาพสื่อความหมายชัดเจน ภาพมีรายละเอียดไม่สมบูรณ์ ภาพไม่สัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง

ตัวอย่างการวัดและประเมินผล การทำใบงานการบวกเลข ๒ แบบไม่มีตัวทด รายการ 3 2 1 การแสดงวิธีทำ ทำถูกต้องตามขั้นตอนการบวก แสดงขั้นตอนผิดที่แต่ได้คำตอบถูกต้อง แสดงผิดขั้นตอนหาคำตอบได้ ระยะเวลา ทำได้ครบทุกข้อได้ด้วยตนเอง ทันเวลาโดยครูกระตุ้นครบทุกข้อ ทันเวลาโดยครูกระตุ้นแต่ไม่ครบทุกข้อ

เปรียบเทียบ IEP กับ ปพ.6

IEP(แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล) เป็นเอกสารหลักฐานทางการศึกษาที่สำคัญ ที่ต้องมี การบันทึกพัฒนาการของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องทุกชั้น จนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสาระการจัดทำคล้ายเอกสารหลักฐานทางการศึกษา ปพ.6 (เอกสารรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายบุคคล) กล่าวคือ เป็นเอกสารสำหรับบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลการเรียน พัฒนาการในด้านต่างๆ และข้อมูลอื่นของผู้เรียนทั้งที่ สถานศึกษาและที่บ้าน ใช้สำหรับสื่อสารระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองของผู้เรียน ให้รับทราบและเกิดความเข้าใจในตัวผู้เรียนร่วมกัน

ปพ.6 เป็นเอกสาร(ระเบียนสะสม)ที่สถานศึกษา เป็นผู้ออกแบบ จัดทำเอกสาร นี้ใช้เอง ดังนั้น ถ้าออกแบบแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP)ให้มีข้อมูลด้านความรู้ คุณลักษณะอัน พึงประสงค์ของผู้เรียนรวมกับข้อมูลสุขภาพของแต่ละบุคคลให้ครบถ้วนจะสามารถใช้เป็นเอกสารหลักฐาน ทางการศึกษา ปพ.6 ได้ โดยลดภาระการทำเอกสารซ้ำซ้อนของครู

ดังนั้น เวลาสรุปผลการประเมินเพื่อผ่านแต่ละชั้นปี ไม่ต้องระบุว่าเป็นเด็กพิการในใบสำคัญ (แบบป.พ.ต่างๆ) แต่ให้แนบ แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP) สำหรับการส่งต่อเท่านั้น

โดย.....ให้แนบจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) ของนักเรียนเรียนร่วมแต่ละคนไว้ที่ปกหลังด้านในของแบบ ปพ.5 และแบบ ปพ. อื่นที่เกี่ยวข้องและใช้แทนมาตรฐานการเรียนรู้ หรือแทน ผลการเรียนรู้ ของนักเรียนพิการทุกประเภท

สรุปแนวปฏิบัติ 1. กลุ่มผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษเรียนร่วมเต็มเวลา และผู้เรียนมีความสามารถเท่าเทียมหรือใกล้เคียงกับผู้เรียนทั่วไป ให้วัดและประเมินผล โดยใช้มาตรฐานการเรียนรู้ / ผลการเรียนรู้ และเกณฑ์ต่างๆเช่นเดียวกับผู้เรียนทั่วไป โดยปรับวิธีการ/เวลาให้ยืดหยุ่นตามความต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียนแต่ละคน รวมทั้งจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกตามความเหมาะสมแต่ละบุคคล

2. กลุ่มผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ที่เรียนร่วมเต็มเวลา และ/หรือ บางเวลา ที่เรียนในโรงเรียนทั่วไป โดยปรับ “มาตรฐานการเรียนรู้” ให้เหมาะสมกับคนพิการแต่ละประเภท ประยุกต์ใช้เครื่องมือวัดผล จัดอุปกรณ์ ปรับเวลา ปรับวิธีการวัดผล และ เกณฑ์การให้คะแนน

3. กลุ่มผู้เรียนที่มีความบกพร่องขั้นรุนแรง ที่ไม่สามารถปรับใช้มาตรฐานการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนผู้เรียนกลุ่มนี้ มุ่งเน้นการเรียนรู้ด้านทักษะชีวิต เพื่อ การดำรงชีวิตในสังคม อย่างมีความสุข การวัดและประเมินผล จะเป็นไปตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ใน แผนการจัด การศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)

กรณีนักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ ตามหลักสูตรปกติของสถานศึกษาได้ ถึงแม้จะปรับวิธีการสอนหรือวิธีการสอบแล้วก็ตาม ให้ดำเนินการวัดประเมินความก้าวหน้าและระบุไว้ ในช่องการวัดประเมินผลของแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP) อาจใช้เกณฑ์ “ ระดับคะแนน” ดังตัวอย่าง

ตัวอย่าง 1 ระดับ 4 ดีเยี่ยม มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 80 ขึ้นไป ระดับ 4 ดีเยี่ยม มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 80 ขึ้นไป ระดับ 3.5 ดีมาก มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ ? ระดับ 3 ดี มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ ? ระดับ 2.5 ค่อนข้างดี มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ ? ระดับ 2 น่าพอใจ มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ ? ระดับ 1.5 พอใช้ มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ ? ระดับ 1 ขั้นต่ำ มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ ? ระดับ 0 ต่ำกว่าเกณฑ์ มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ ?

ตัวอย่าง 2 ระดับ 4 ดีเยี่ยม มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 41 ขึ้นไป ระดับ 4 ดีเยี่ยม มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 41 ขึ้นไป ระดับ 3.5 ดีมาก มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 31 – 40 ระดับ 3 ดี มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 21 – 30 ระดับ 2.5 ค่อนข้างดี มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 16 – 20 ระดับ 2 น่าพอใจ มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 11 – 15 ระดับ 1.5 พอใช้ มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 8 – 10 ระดับ 1 ขั้นต่ำ มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 5 – 7 ระดับ 0 ต่ำกว่าเกณฑ์ มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 0 – 4

การประเมินผลระดับชาติ นักเรียนพิการที่สามารถจัดให้สอบประเมินผลระดับชาติได้ โดยจัดสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียนแต่ละคน เช่น คอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเขียน เครื่องบันทึกเสียง เอกสาร/หนังสืออักษรเบรลล์ ปรับวิธีการสอบ เช่น มีผู้อ่านให้ฟัง สอบปากเปล่า รวมทั้งการยืดหยุ่นเวลา เป็นต้น

อิงหลักสูตรและเหมาะสมกับศักยภาพ ปรับสื่อ อุปกรณ์ เวลา วิธีการและเกณฑ์ สรุป สอนอย่างไร สอบอย่างนั้น อิงหลักสูตรและเหมาะสมกับศักยภาพ ปรับสื่อ อุปกรณ์ เวลา วิธีการและเกณฑ์ ใช้ผลการประเมินเพื่อพัฒนานักเรียน/ประเมินการจัดการเรียนการสอน/ประเมินสื่ออุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการฯลฯ รวมทั้งการประเมินผลตาม IEP ที่สำคัญคือปรับวิธีคิด****

งานของเรา แบ่งหน้าที่ในกลุ่มดำเนินการดังนี้ ๑ แผ่น เล่าปัญหาของนักเรียน LD ที่พบในโรงเรียน เลือกปัญหาที่ต้องการวางแผนพัฒนา วิเคราะห์จุดด้อย ของนร. ที่เลือก นำจุดด้อยมาวางแผนพัฒนา โดยกำหนดเป้าหมายระยะยาว ๑ ปี และ จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมราย ๒ / ๓ เดือน วิเคราะห์งานในจุดระสงค์เชิงพฤติกรรม ๑ ข้อ นำเสนอ

สวัสดีค่ะ