ค่ายยุวบรรณารักษ์ ค่ายยุวบรรณารักษ์ ฝ่ายหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ณัฐธยาน์ สินธุระหัส จุฑารัตน์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศของ นักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม นางสาวพัชรี นาคทอง วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู
Advertisements

การจัดทำแผนปฏิทินการจัดการความรู้ และแผนในการติดตามประเมินผลการจัดการความรู้ E:\ประกันคุณภาพ\ppt\ดูงาน\12-PPT_เสนอ_ครุศาสตร์_จุฬา_19_11_50.ppt.
โดย นางสาวนิภาพร เถาคำแก้ว วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค.)
มาตรฐานคุณภาพการสอน ของ คณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครู (The National Board for Professional Teaching Standards) วิกฤติอาชีพครู พัฒนาวิชาชีพครู
แนวทางการสอน เพื่อพัฒนาทักษะเด็กตามรูปแบบการสอน
ชื่อเรื่อง : ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชาการบัญชีบริหาร ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองการวางแผนงบประมาณในธุรกิจการผลิตเฟอร์นิเจอร์
วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยา
สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน
การขัดเกลาทางสังคมซ้ำเพื่อสร้างพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ของเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ผู้วิจัย นภัสวรรณ บุญประเสริฐ หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรดุษฎี
โครงการ “ พัฒนาคุณภาพ การจัดการศึกษา เรียนร่วมและเรียนรวม”
อัตร า บรร จุ ข้าราชการ 44 พนักงาน ราชการ 33 ลูกจ้าง -- รวม 77 อัตราว่าง พนักงานราชการ 3 มาช่วย ราชการ ถูกยืมตัว ลาเรียน ผอ. สำนักงานวิเทศ สัมพันธ์ (1/1)
การประเมินผลโครงการ คปสอ.คลองใหญ่.
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา(Educational Media)
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ รายบุคคลทางการคำนวณและ การใช้สูตรฟังชั่นอย่างง่ายโดย โปรแกรม Microsoft Excel ในวิชาคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่องานอาชีพ ผู้วิจัย.
KPI 8 : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาบุคลากร น้ำหนัก :ร้อยละ 5 KPI ๑๐ : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาปรับปรุง วัฒนธรรมองค์การ น้ำหนัก : ร้อยละ 3 กองการเจ้าหน้าที่
นางวราพันธ์ ลังกาวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 39 สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน 16 พฤษภาคม 2558 ณ โรงแรมน่านเจ้า จังหวัดพิษณุโลก การประชุมชี้แจง เรื่อง.
ประชิด เกิดมาก ผู้วิจัย. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียน การสอนด้วยจิกซอว์ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนก่อนเรียน.
กลุ่ม การจัดการความรู้ ช่างอากาศ (KM) หน่วยงาน ฝ่ายการช่าง ฝูงบิน 461 กองบิน 46 คำขวัญ “ มุ่งหน้าแก้ไขข้อขัดข้อง เพื่อตอบสนองภารกิจ ”
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล เรื่องการเชื่อมโยง ภาพนิ่ง ด้วยโปรแกรม Powerpoint2007 โดยใช้ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ของนักเรียนระดับชั้น.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
ความพึงพอใจต่อการบริหาร จัดการโครงการเรียนรู้จาก ประสบการณ์จริงด้วยวิธีการ เรียนรู้แบบศึกษาดูงาน บริหารธุรกิจสาขาการจัดการ / การตลาด ภาคเรียนที่ 2/2556.
รายงานการ ดำเนินงาน ศูนย์แนะแนวต้นแบบประจำสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา รายงานการ ดำเนินงาน ศูนย์แนะแนวต้นแบบประจำสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา.
ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โรงเรียนอนุบาลนาแกผดุงราชกิจเจริญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครพนม เขต ๑ ตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ.
ปรานอม ประทีปทวี 25/09/591 หน้าที่ของครูผู้นิเทศ สพม.5.
องค์ความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติราชการ แบบฟอร์มที่ 1 การจำแนกองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการผลักดันตามประเด็นยุทธศาสตร์ ของส่วนราชการ ชื่อส่วนราชการ : กรมทรัพยากรน้ำบาดาล.
ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อการบริการของ ฝ่ายหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี Expectation and.
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
การเยี่ยมตรวจคุณภาพบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
ความเป็นมา การส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
นำเสนอวิธีปฏิบัติที่ดี ด้านกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
โรงเรียนกับชุมชน.
วัตถุประสงค์การวิจัย
Seminar 1-3.
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
เรื่อง ความพึงพอใจต่อการให้บริการห้องสมุด
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
กรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)
อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์
ชื่อผู้วิจัย นางสาวศุวรีย์ จำปามูล
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ผู้วิจัย นายอภิสิทธิ์ แก้วฟู วิทยาลัยอาชีวศึกษาจันทร์รวี
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
แนวทางการบริหารการจัดเก็บ ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน ปี 2561
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
เปิดบ้าน ชื่อโรงเรียน วันที่.
KMA หมวด 6 การจัดการกระบวนการ.
การจัดค่ายยุวชนคนคุณธรรม
โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูล วัตถุเสพติดของกลาง (ระยะที่1)
การพัฒนาบุคลิกภาพด้านการแสดงออกของผู้เรียน
โดย นางสาวนิรมล บุรกรณ์
การนำเสนอผลงานการวิจัย
งานแนะแนว กับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
การทำวิทยฐานะ แนวทางใหม่
โครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียน ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (NT/O-NET)
นายเกียรติศักดิ์ คนธสิงห์ วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ
งานวิจัยในชั้นเรียน ผู้วิจัย นางสาวนนทกานต์ ลีอุดมวงษ์ .
กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร
โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ)
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
เอกสาร/หลักฐาน/ ร่องรอย เพื่อ จัดเก็บใน 13 แฟ้ม
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ค่ายยุวบรรณารักษ์ ค่ายยุวบรรณารักษ์ ฝ่ายหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ณัฐธยาน์ สินธุระหัส จุฑารัตน์ ปานผดุง รวีวรรณ ขำพล ศลิษา เลี่ยมสุวรรณ อัญชลี กล่ำเพ็ชร

บทนำ ฝ่ายหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มี ภารกิจในการให้บริการแก่ผู้ใช้ทั้งที่เป็นอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และยังมีภารกิจใน การให้บริการแก่ชุมชน และประชาชนทั่วไปอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์สำนักวิทยบริการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การบริการสารสนเทศและทรัพยากรการเรียนรู้ กลยุทธ์ที่ 1.5 ร่วมสร้างนิสัยรักการอ่าน การเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่นักศึกษา และชุมชน ที่ผ่านมามีโรงเรียนในชุมชนได้ติดต่อขอนำนักเรียนมาเยี่ยมชม และศึกษาดูงานอยู่เป็นจากสถิติปีการศึกษา 2554 – 2558 พบว่ามีจำนวน 50 ครั้ง 1,677 คน จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโรงเรียนให้ความสนใจในการส่งเสริม ให้นักเรียนมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับห้องสมุด ดังนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ เป็นต้นมาหอสมุดฯ จึงได้จัดค่ายยุว บรรณารักษ์ขึ้น เพื่อให้ความรู้ด้านการดำเนินงานห้องสมุด การให้บริการของห้องสมุด กิจกรรมส่งเสริมการใช้ห้องสมุด และกิจกรรมส่งเสริมการอ่านแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดปัตตานี เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ทราบถึงความสำคัญ และความจำเป็นของการมีห้องสมุดในโรงเรียน ประโยชน์ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาพี่เลี้ยง ค่ายได้รับประสบการณ์ในการจัดกิจกรรม ผลการประเมินกิจกรรม พบว่า นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจใน ระดับดีและดีมาก และเสนอให้จัดค่ายยุวบรรณารักษ์ในปีต่อ ๆ ไป ดังนั้นฝ่ายหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ จึงได้จัดโครงการ ค่ายยุวบรรณารักษ์มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการจัดค่ายยุวบรรณารักษ์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดค่ายยุวบรรณารักษ์ และเพื่อศึกษา ปัญหาและข้อเสนอแนะของนักเรียนที่มีต่อการจัดค่ายยุวบรรณารักษ์ ของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน 1. ศึกษาสภาพการจัดค่ายยุวบรรณารักษ์ จากแผนการดำเนินงานและรายงานผลการดำเนินงานการจัดค่ายยุวบรรณารักษ์ และ ศึกษาสภาพการดำเนินงานจริง ของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ 2. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดค่ายยุวบรรณารักษ์ โดยใช้แบบประเมินผลการจัดค่ายยุวบรรณารักษ์ของ หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ในปีการศึกษา 2556 ปีการศึกษา 2557 และปีการศึกษา 2558 สอบถามความพึงพอใจหลังจากการ จัดกิจกรรม จำนวน 3 ด้าน คือ 1) วิทยากร เนื้อหา กิจกรรม 2) การจัดโครงการ 3) ประโยชน์และความรู้ที่ได้รับ 3. ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของนักเรียนที่มีต่อการจัดค่ายยุวบรรณารักษ์ ของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ โดยใช้แบบประเมินผลการจัดค่ายยุวบรรณารักษ์ของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ในปีการศึกษา 2556 ปีการศึกษา 2557 และปีการศึกษา 2558 ให้นักเรียนระบุปัญหาและข้อเสนอแนะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่

ผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 1.สภาพการจัดค่ายยุวบรรณารักษ์ ของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ เนื้อหาหลักสูตรค่าย ดังกำหนดการในตารางที่ 1 เวลากิจกรรมรายละเอียดกิจกรรม วันที่ – น.ลงทะเบียนนักเรียนรายงานตัว/ลงทะเบียน – น.พิธีเปิดพิธีเปิดโดยผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการ – น.กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์กิจกรรมละลายพฤติกรรม การสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่ม แบ่งนักเรียนเป็น 4 กลุ่ม – น.นำชมหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้แบ่งนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม บรรณารักษ์นำชมหอสมุดฯ และมีนักศึกษาพี่เลี้ยง ประจำแต่ละกลุ่ม – น.พักรับประทานอาหารว่าง – น.- กว่าหนังสือจะถึงมือผู้ใช้บริการ -บริการดีที่น่าสนใจ -ฉายวีดิทัศน์แนะนำขั้นตอนการดำเนินงานห้องสมุด -แนะนำบริการและกิจกรรมที่น่าสนใจของห้องสมุด – น.พักรับประทานอาหารกลางวัน – น.- ฝึกปฏิบัติการสืบค้น OPAC - เทคนิคการสืบค้น Google -อบรมและฝึกปฏิบัติการสืบค้น OPAC สำหรับค้นหาทรัพยากร สารสนเทศของห้องสมุด -ฝึกปฏิบัติการสืบค้น Google ด้วยเทคนิคต่าง ๆ – น.พักรับประทานอาหารว่าง – น.- เกมภาพปริศนา ใบงานการสืบค้นสารสนเทศ (สะสม คะแนนกลุ่ม ครั้งที่ 1) -เกมทายภาพปริศนา มีของรางวัลสำหรับผู้ตอบถูก -นักเรียนตอบคำถามตามใบงานการสืบค้นสารสนเทศ เป็นการสะสม คะแนนกลุ่ม ครั้งที่ 1

วันที่ – น.กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ และเตรียมความพร้อมเข้าสู่บทเรียน – น.อ่าน เขียน เล่าเรื่องอาเซียนแนะนำเทคนิคการอ่าน การสรุป และการเขียนบรรณนิทัศน์หนังสือที่ เกี่ยวข้องกับอาเซียน และให้นักเรียนเล่าเรื่องของตนเอง – น.พักรับประทานอาหารว่าง – น.ป้ายนิเทศ แนะนำหนังสืออาเซียน (สะสมคะแนนกลุ่ม ครั้งที่ 2) แนะนำเทคนิคการจัดป้ายนิเทศ ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำหนังสือที่ทำบรรณ นิทัศน์มาจัดทำป้ายนิเทศแนะนำหนังสืออาเซียน เป็นการสะสมคะแนนกลุ่ม ครั้งที่ – น.พักรับประทานอาหารกลางวัน – น.กฤตภาคทำง่าย ได้ประโยชน์ (สะสมคะแนนกลุ่ม ครั้งที่ 3)แนะนำการจัดทำกฤตภาคและให้นักเรียนฝึกปฏิบัติ เป็นการสะสมคะแนน กลุ่ม ครั้งที่ – น.พักรับประทานอาหารว่าง – น.- เกมภาพปริศนา - ประกาศผล กลุ่มยอดเยี่ยม ดาวค่าย - ตอบแบบประเมินโครงการ - สรุป ปิดค่าย -เกมทายภาพปริศนา มีของรางวัลสำหรับผู้ตอบถูก -ประกาศผลกลุ่มยอดเยี่ยม จากการสะสมคะแนนกลุ่มจำนวน 3 ครั้ง และดาวค่ายจากการเสนอชื่อของนักเรียนแต่ละคน -นักเรียนตอบแบบประเมินโครงการ -สรุปปิดค่ายโดยตัวแทนบรรณารักษ์ นักศึกษากลุ่มพี่เลี้ยง และ ตัวแทนนักเรียน

หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ดำเนินการจัดค่ายยุวบรรณารักษ์ ตามหลักการ PDCA-PaR ซึ่ง PDCA นั้นเป็นแนวคิด วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) ประกอบด้วย Plan – การวางแผนการจัดค่ายยุวบรรณารักษ์ หอสมุดฯ มีการวางแผนการจัดค่ายยุวบรรณารักษ์โดยมี กิจกรรม การดำเนินการ ผู้รับผิดชอบ และระยะเวลา ดำเนินการ ดังตารางที่ 2 กิจกรรมการดำเนินการผู้รับผิดชอบ/ผู้เกี่ยวข้องระยะเวลาดำเนินการ 1. ศึกษาข้อมูลเพื่อจัดทำโครงการและกำหนดหลักสูตรรวบรวมและศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการ บริหารจัดค่ายยุวบรรณารักษ์ และการ กำหนดหลักสูตรค่าย บรรณารักษ์งานบริการสารสนเทศตุลาคม – พฤศจิกายน 2. เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการค่ายยุวบรรณารักษ์นำข้อมูลจากการศึกษามาเขียนโครงการและ ขออนุมัติโครงการ หัวหน้างานบริการสารสนเทศมกราคม 3. ประสานงานติดต่อนักศึกษา พี่เลี้ยงค่าย ประสานงานกับภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อขอ ความอนุเคราะห์นักศึกษาพี่เลี้ยงค่าย จำนวน 5 คน หัวหน้างานบริการสารสนเทศกุมภาพันธ์ 4. ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนเตรียมการดำเนิน งานประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมวางแผนการ ดำเนินงาน บรรณารักษ์งานบริการสารสนเทศ และผู้เกี่ยวข้อง มีนาคม-เมษายน 5. เตรียมความพร้อมสำหรับการจัดกิจกรรมประกาศรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมดำเนินการด้าน เอกสาร วัสดุ อุปกรณ์ และอื่น ๆ บรรณารักษ์งานบริการสารสนเทศ และผู้เกี่ยวข้อง พฤษภาคม-กรกฎาคม 6. จัดกิจกรรมดำเนินการตามแผนที่วางไว้บรรณารักษ์งานบริการสารสนเทศ และผู้เกี่ยวข้อง สิงหาคม 7. ประเมินผลกิจกรรม สรุป และรายงานผลประเมินผลอย่างเป็นทางการและไม่เป็น ทางการ สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน ต่อผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง บรรณารักษ์งานบริการสารสนเทศกันยายน

Do - การดำเนินการตามแผน หอสมุดฯ ได้ดำเนินการจัดการค่ายยุวบรรณารักษ์ตามแผนที่วางไว้ และเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการ ดำเนินการ ดังนี้คือ 1) ประกาศรับสมัครนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 30 คน โดยส่งหนังสือราชการไปยังโรงเรียนที่มีการ เรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดปัตตานี 2) จัดทำรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม 3) ประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการจัดค่าย 4) เตรียมเอกสาร สถานที่ วัสดุและอุปกรณ์ 5) ต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม 6) ตรวจสอบรายชื่อผู้เข้ารับการอบรมและการลงทะเบียน 7) ดำเนินการกิจกรรมค่ายตามหลักสูตรที่วางไว้ 8) เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมซักถาม และแสดงความคิดเห็น 9) ประเมินผลกิจกรรม สรุป รายงานผลการดำเนินงานกิจกรรม ผลการจัดกิจกรรมค่ายยุวบรรณารักษ์ ประกอบด้วยจำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม และผผลการประเมินความพึงพอใจของ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ เปรียบเทียบ 3 ปี ดังตารางที่ 3 รายการเป้าหมายปีการศึกษา 2556 ปีการศึกษา 2557ปีการศึกษา 2558 จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่เกิน 30 คน 22 คน20 คน21 คน ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม4.25 (เต็ม 5)

Check – ขั้นตอนการตรวจสอบผลการดำเนินงาน หอสมุดฯ ตรวจสอบผลการดำเนินงานโดยการประเมินผลการอบรมทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ดังนี้ 1)การประเมินผลอย่างเป็นทางการ โดยการรวบรวมแบบประเมินผลจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีรายการ ประเมิน ดังตารางที่ 3 รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงและพัฒนา นำข้อมูลมาวิเคราะห์ และสรุปผลการจัดกิจกรรมแต่ละ ครั้ง มีการรายงานต่อผู้บริหารและเพื่อนร่วมงาน 2)การประเมินผลอย่างไม่เป็นทางการ โดยการสังเกตพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมกิจกรรม การพูดคุยกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม และสรุปทบทวนผลการดำเนินงานหลังการจัดค่ายแต่ละครั้งของผู้จัดกิจกรรม (After Action Review – AAR) Action - ขั้นตอนการปรับปรุงผลการดำเนินงาน หอสมุดฯ นำผลจากการตรวจสอบมาวางแผนและปรับปรุงการจัดกิจกรรมค่ายยุวบรรณารักษ์ในครั้งต่อ ๆ ไป เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากที่สุด เช่น ด้านการจัดค่ายในครั้งแรกมีนักเรียนจาก 1 โรงเรียน จำนวน 2 คน เตรียมกระเป๋าเสื้อผ้ามาสำหรับค้างคืน เพราะเข้าใจว่าการจัดค่ายต้องเป็นแบบค้างคืน ผู้รับผิดชอบจึงต้องจัดหา ที่พักให้ และในครั้งต่อไปจึงได้ระบุข้อมูลรายละเอียดของการจัดค่ายในหนังสือเชิญให้ชัดเจนขึ้น พร้อมทั้งประสานงานกับ โรงเรียนที่ส่งนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมทางโทรศัพท์เพิ่มเติมเพื่อให้มีความเข้าใจตรงกัน ด้านความเหมาะสมของเนื้อหาและ ระยะเวลา มีการปรับปรุงหลักสูตร โดยเพิ่มกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ให้มากขึ้นเพื่อไม่ให้เนื้อหาวิชาการมากเกินไป และปรับลด เนื้อหาบางส่วนเพื่อให้เหมาะสมกับระยะเวลา จำนวน 2 วัน ที่กำหนดไว้ เป็นต้น

Participation & Report – การมีส่วนร่วมและการรายงาน บรรณารักษ์งานบริการสารสนเทศทุกคนมีส่วนร่วมในการวางแผน การจัดกิจกรรมค่ายยุวบรรณารักษ์ บรรณารักษ์งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถด้านกิจกรรมมีส่วนร่วมใน การจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ของสมาชิกค่าย ช่างเทคนิค โปรแกรมเมอร์ ดูแลความเรียบร้อยของคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และเครือข่าย เจ้าหน้าที่มีส่วนร่วมในการจัดเตรียมเอกสาร ประชาสัมพันธ์ รับลงทะเบียน ตลอดจนอำนวยความ สะดวกแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม นักศึกษาพี่เลี้ยงค่ายมีส่วนร่วมในการช่วยดูแลและให้คำปรึกษาในการจัดกิจกรรมของนักเรียน แต่ละกลุ่ม รวมทั้งเมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมมีการรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารและเพื่อนร่วมงานทุกครั้ง 2.ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดค่ายยุวบรรณารักษ์ ตารางที่ 4 ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการค่ายยุวบรรณารักษ์ ปีการศึกษา รายการ ปีการศึกษา 2556 (N=22) ปีการศึกษา 2557 (N=20) ปีการศึกษา 2558 (N=21) ค่าเฉลี่ยS.D.แปลความค่าเฉลี่ยS.D.แปลความค่าเฉลี่ยS.D. แปล ความ 1. วิทยากร เนื้อหา กิจกรรม ดีมาก ดีมาก ดี 1.1 ความรู้ความสามารถของวิทยากร/พี่เลี้ยง ดีมาก ดี ดี 1.2 มนุษยสัมพันธ์ของวิทยากร/พี่เลี้ยง ดีมาก ดีมาก ดี 1.3 ความเหมาะสมของเนื้อหา ดีมาก ดีมาก ดี 1.4 ความเหมาะสมของกิจกรรม ดีมาก ดีมาก ดี

รายการ ปีการศึกษา 2556 (N=22) ปีการศึกษา 2557 (N=20) ปีการศึกษา 2558 (N=21) ค่าเฉลี่ยS.D. แปล ความ ค่าเฉลี่ยS.D. แปล ความ ค่าเฉลี่ยS.D. แปล ความ 2. การจัดโครงการ ดีมาก ดี ดี 2.1 ความเหมาะสมของสถานที่ ดีมาก ดีมาก ดีมาก 2.2 ความเหมาะสมของระยะเวลา ดี ดี ดี 2.3 วัสดุ อุปกรณ์ สำหรับการจัดกิจกรรม ดีมาก ดีมาก ดี 3. ประโยชน์และความรู้ที่ได้รับ ดีมาก ดีมาก ดีมาก 3.1 ได้รับความรู้เกี่ยวกับห้องสมุดมากขึ้น ดีมาก ดีมาก ดี 3.2 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการสืบค้น สารสนเทศเพิ่มมากขึ้น ดีมาก ดีมาก ดีมาก 3.3 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมของ ห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น ดีมาก ดีมาก ดีมาก 3.4 การนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ ดีมาก ดีมาก ดี ระดับความพึงพอใจเฉลี่ยรวม ดีมาก ดีมาก ดี จากตารางที่ 4 ผลการประเมินในภาพรวม พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดค่ายยุวบรรณารักษ์ ปีการศึกษา อยู่ในระดับดีมาก และปีการศึกษา 2558 อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69, 4.64 และ 4.41 ตามลำดับ

ปัญหาและ ข้อเสนอแนะ ปีการศึกษา 2556ปีการศึกษา 2557ปีการศึกษา 2558 ด้านวิทยากร เนื้อหา กิจกรรม 1.ควรเพิ่มเนื้อหาและกิจกรรม 2.ควรมีพี่เลี้ยงค่ายมากกว่านี้ 1.มีเนื้อหาสาระดี ได้รับความรู้มาก 2.ควรเพิ่มกิจกรรมสันทนาการให้ มากกว่านี้ 1.เพิ่มกิจกรรมการอ่าน 2.ได้รู้จักห้องสมุดและการใช้ ห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น ด้านการจัด โครงการ 1.ควรเพิ่มระยะเวลาในการจัด กิจกรรม 2.ควรจัดค่ายแบบค้างคืน 1.ควรเพิ่มระยะเวลาในการจัดกิจกรรม 2.ควรจัดค่ายแบบค้างคืน 1.ควรเพิ่มระยะเวลาในการจัด กิจกรรม 2.ควรมีเวลาพักมากกว่านี้ ด้านประโยชน์ และความรู้ที่ ได้รับ 1.ได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น 2.สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ได้ ทั้งที่โรงเรียนและส่วนตัว 1.ได้รับความรู้เกี่ยวกับห้องสมุดเพิ่ม มากขึ้น 2.ทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนต่าง โรงเรียน 1.ได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น 2.ได้ทำงานกลุ่มร่วมกับเพื่อน จากโรงเรียนอื่น ปัญหาและข้อเสนอแนะของนักเรียนที่มีต่อการจัดค่ายยุวบรรณารักษ์ ผู้รับผิดชอบได้รวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะของนักเรียนที่มีต่อการจัดค่ายยุวบรรณารักษ์ นำมาจัดลำดับความถี่และนำเสนอ เพียง 2 ลำดับที่มีความถี่มากในแต่ละปีการศึกษา ดังตารางที่ 5 ตารางที่ 5 ปัญหาและข้อเสนอแนะของนักเรียนที่มีต่อการจัดค่ายยุวบรรณารักษ์

จากปัญหาและข้อเสนอแนะของนักเรียน ผู้รับผิดชอบประชุมพิจารณาทบทวน ดังนี้ ด้านวิทยากร เนื้อหา กิจกรรม ได้มีการเพิ่มและปรับเนื้อหาให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยเน้นการฝึกปฏิบัติเพื่อให้นักเรีย ได้มีประสบการณ์ตรง และเพิ่มกิจกรรมสันทนาการ กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อให้นักเรียนได้รับความสนุกสนานไม่น่าเบื่อ และได้ทำความรู้จักกับเพื่อน ๆ ต่างโรงเรียนเพิ่มมากขึ้น ด้านการจัดโครงการ จากข้อเสนอแนะให้เพิ่มระยะเวลาในการจัดกิจกรรมและควรจัดแบบค้างคืนนั้น หอสมุดฯ ได้ ประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อทบทวนเรื่องนี้ แต่ไม่สามารถเพิ่มระยะเวลาได้เนื่องจากจะมีผลกระทบกับเวลาเรียนของนักเรียน และหากจัดแบบค้างคืนยังไม่มั่นใจเรื่องสถานการณ์ความไม่ปลอดภัย ด้านประโยชน์และความรู้ที่ได้รับ นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับห้องสมุด ทั้งการดำเนินงานและกิจกรรมของห้องสมุด เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากได้จัดให้มีทั้งการบรรยายและการฝึกปฏิบัติ เช่น การทำกฤตภาค การจัดป้ายนิเทศ การอ่านและ การเขียนบรรณนิทัศน์หนังสือ การสืบค้นสารสนเทศ เป็นต้น ซึ่งนักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ได้ จริงทั้งการปฏิบัติงานที่ห้องสมุดโรงเรียนและเป็นการเพิ่มทักษะเพื่อส่งเสริมการเรียนของนักเรียนเอง

ข้อเสนอแนะสำหรับห้องสมุด ควรมีการประเมินเนื้อหากิจกรรมตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ เพื่อให้สามารถนำผลการประเมินไปพัฒนาและปรับปรุง หลักสูตรของค่ายยุวบรรณารักษ์ต่อไป ควรมีการติดตามผลโดยสอบถามนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม ถึงการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ เช่น การจัดป้าย นิเทศ การทำกฤตภาค การอ่าน เป็นต้น ควรจัดทำคู่มือการจัดค่ายยุวบรรณารักษ์และเอกสารประกอบการอบรม/การฝึกปฏิบัติ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการ ปฏิบัติงาน และเผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป ควรจัดทำหลักสูตรการจัดค่ายยุวบรรณารักษ์ที่เป็นมาตรฐานร่วมกันในข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัย ส่วนภูมิภาคเพื่อให้แต่ละห้องสมุดสามารถนำไปใช้ในการจัดค่าย หรือให้ห้องสมุดในข่ายงานฯ ร่วมมือกันจัดค่าย ยุวบรรณารักษ์ในแต่ละภูมิภาค การนำไปใช้ประโยชน์ ห้องสมุดประเภทต่าง ๆ หรือโรงเรียนสามารถนำแนวทางการจัดค่ายยุวบรรณารักษ์ไปประยุกต์ใช้ให้ เหมาะสม เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้และมีประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุด ทำให้นักเรียน สามารถช่วยเหลืองานห้องสมุดโรงเรียนได้เป็นอย่างดี ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้ที่รักการอ่านและรัก การเรียนรู้ตลอดชีวิตต่อไป

ขอบคุณค่ะ