INTRODUCTION ความหมายของการสัมมนา (Seminar) สัมมนาคือ …. การประชุม (Meeting) แบบหนึ่งในหลายรูปแบบ สัมมนา แปลว่า ร่วมใจ (Meeting of minds) สัมมนาเป็นการประชุมร่วมกันขบคิด ปัญหา โดยอาศัยการค้นคว้าเป็น หลักฐาน Seminar : “a group of students studying under a professor, doing original research and study and then discussing the result”
คำว่า seminar มาจาก ภาษาลาตินว่า "seminarium" แปลว่า แปลงเพาะเมล็ดพันธุ์ ภาษาลาติน ส่วนคำ " สัมมนา " มาจาก คำภาษาบาลีสมาสกัน คือ สํ ( รวม ) + มนา ( ใจ ) = รวมใจภาษาบาลี
สัมมนา ( อังกฤษ : seminar) ปรกติหมายถึง รูปแบบหนึ่งของการเรียนการสอนใน ระดับอุดมศึกษาหรือบริษัทต่าง ๆ โดย แบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มเล็กเพื่ออภิปราย เรื่องราวเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของบทเรียน ด้วยบทบาทที่สูง อังกฤษการเรียนการสอน ระดับอุดมศึกษาบริษัท ปรัชญาเบื้องหลังการเรียนการสอน แบบสัมมนา ได้แก่ การสอนผู้เรียนให้เผชิญ และคุ้นเคยกับวิธีการ (methodology) ในการ ค้นคว้าสาขาวิชาการที่ตนเลือก สัมมนา ประกอบด้วยการการยกปัญหา การถาม - ตอบ แล้วอภิปรายหาข้อสรุปหรือคำตอบ ปกติ เอกสารที่เตรียมมาสัมมนาจะต้องเป็นเอกสาร ที่มีรูปแบบวิชาการและจะต้องมีการวิจารณ์ ซึ่งกันและกัน สัมมนาใช้มากในการศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษาวิธีการ
Introduction to Seminar
INTRODUCTION สัมมนา เป็นเทคนิคการสอนที่กลุ่มผู้เรียน ศึกษาเรื่องที่ตนทำวิจัยหรือเป็นความรู้ ระดับสูง ผู้เรียนจะต้องเรียนโดยการนำและ ดูแล จากผู้สอน ด้วยวิธีการอภิปราย รายงานวิจัยที่เป็นหัวข้อที่ผู้สอนและผู้เรียน มีความสนใจร่วมกัน (Good, 1987) สัมมนาเป็นการจัดสอนแบบสัมมนา เป็นการ เพิ่มพูนความรู้โดยผู้เรียนและผู้สอนช่วยกัน เลือกเรื่องที่จะนำมาเรียนรู้ร่วมกัน เช่น การ ที่ผู้เรียนนำผลงานวิจัยเสนอต่อเพื่อน เพื่อ อภิปรายงานของตน หรือการเชิญ ผู้เชี่ยวชาญบางสาขามาอภิปรายให้กระจ่าง ชัดยิ่งขึ้น ( เฉลิมและสมคิด,2522)
INTRODUCTION สัมมนา (Seminar) เป็นการรวบรวมข้อมูลความรู้ หลักฐานของความรู้ หรือการค้นคว้าวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งเป็น หัวข้อ / เรื่องที่ผู้ทำสัมมนาสนใจและได้ ทำการศึกษามาอย่างละเอียดลึกซึ้งแล้ว เพื่อ นำมาเสนอผลงาน โดยการอภิปรายแลกเปลี่ยน ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ เพื่อหา ข้อสรุปหรือข้อคิดเห็นจากการทำสัมมนา
INTRODUCTION S= Specialized E= Exchange Knowledge M= Most interesting Issue I = Identification Topic N= Neatly Work A= Amount of Information R= Research Support
INTRODUCTION S = เฉพาะ E = แลกเปลี่ยนความรู้ m = ฉบับที่น่าสนใจที่สุด I = กำหนดหัวข้อ N = เรียบร้อยการทำงาน A = จำนวนของข้อมูล R = สนับสนุนการวิจัย
ขั้นตอนการทำ สัมมนา กำหนดหัวข้อเรื่องที่สนใจศึกษา ค้นคว้าแหล่งความรู้ / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง (Literature Review) วางเค้าโครงเรื่องย่อยตามการค้นคว้า เขียนเค้าโครง (Proposal) ที่ได้วางไว้พร้อมทั้งเอกสารอ้างอิงจากการค้นคว้า ปรึกษาอาจารย์ / ผู้เชี่ยวชาญเพื่อแก้ไข / ปรับปรุงก่อนนำเสนอในที่ประชุม นำเสนอในที่ประชุม
องค์ประกอบของสัมมนา หัวข้อเรื่อง (Topic) บทนำ (Introduction) การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Literature Review) สรุปผลการทดลองและวิจารณ์ (Conclusion and Discussion) เอกสารอ้างอิง (Reference)
หัวข้อเรื่อง (Topic) ต้องมีความกระชับได้ใจความ (Concise) ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือยจนเกินไป ต้องมีขอบเขต (Scope) และมีความ เกี่ยวเนื่องอยู่ภายในหัวข้อเรื่อง การตั้งหัวข้อเรื่องมีหลักคือ อธิบายปัจจัยที่ เกี่ยวข้อง + ผลติดตาม + ขอบเขตการศึกษา เช่น ที่อับชื้นทำให้เกิดราดำ เป็นอันตรายต่อ สุขภาพผู้ใช้อาคาร ไม่ควรใช้คำที่ซ้ำซ้อน จนไม่ได้ใจความ เช่น การศึกษาการเพิ่มจำนวนผู้ใช้พื้นที่การทำ กิจกรรมสาธารณะใน กทม.
บทนำ (Introduction) กล่าวถึงความเป็นมาของการศึกษาในการ ทำสัมมนาว่าเป็นอย่างไร สถานการณ์ในปัจจุบัน เหตุจูงใจข้อดีของการนำมาศึกษา โยงความสัมพันธ์ระหว่างงานวิจัย / ผลสรุปที่ เคยทำมาแล้วกับสิ่งที่คาดว่าจะหาข้อสรุป จากการสัมมนา
การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Literature Review) เป็นการค้นคว้าข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะ จากเอกสาร / บทความ / งานวิจัย / หนังสือ ตำรา /Internet/ etc. โดยอ้างอิงชื่อ หรือ คณะบุคคลที่ได้ทำการศึกษางานที่ เกี่ยวข้องมาก่อนหน้านี้ พร้อมระบุปีที่ได้อ้าง ถึง จำเป็นต้องมีความรู้ การเขียน เอกสารอ้างอิง / บรรณานุกรรม ข้อดีคือ จะทำให้ผู้ทำสัมมนาเกิดความคิด เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ จากการสัมมนาที่สนใจศึกษาได้ ปริมาณการทำ Literature Review ต้องมี มากที่สุดเท่าที่สามารถค้นคว้าได้ จะทำให้ เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้เราไม่ต้อง เสียเวลาในการศึกษางานที่ผู้อื่นได้ทำ มาแล้ว
สรุปผลการทดลองและวิจารณ์ (Conclusion and Discussion) เป็นการหาข้อสรุปจากวรรณกรรมที่ได้ ค้นคว้ามาจากงานวิจัย / บทความ / ทฤษฎี ความรู้ ในลักษณะการอภิปรายเปรียบเทียบ ผลที่ได้ ในเหตุผลที่สนับสนุน / หรือขัดแย้ง จากการศึกษานั้นๆ มีการสังเคราะห์ความรู้การอภิปรายจากผู้รู้ / อาจารย์ที่ปรึกษา / ผู้เชี่ยวชาญ โดยตกผลึก เกิดเป็นข้อคิดสรุปรวบยอด จากงานที่ได้ ศึกษา ทำให้ทราบข้อมูลจริง (FACT) ของการศึกษา และสามารถนำความรู้นี้เพื่อไปใช้ในขั้นตอน การทดลองและวิจัยต่อไป (Experiment and Research)
เอกสารอ้างอิง (Reference) เป็นการเขียนข้อมูลทางบรรณานุกรมของ เอกสารทางวิชาการ / งานวิจัยอย่างมีระบบ และถูกต้องตามหลักเกณฑ์การเขียน เอกสารอ้างอิง เช่น จุฬารัตน์ ปริชาติกุล และเกษแก้ว เพียรทวิชัย แบคทีเรียคลีนิกพื้นฐาน ขอนแก่น. โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.2542 Lee YK and Salminen S. The coming of age of probiotic. Trend in Food Science and Technology. 1995; 6: ** ศึกษาได้เพิ่มเติมในหลักการเขียน บรรณานุกรรม / เอกสารอ้างอิง ใน ห้องสมุด / Internet
แหล่งค้นคว้าข้อมูลการสัมมนา ห้องสมุด (Library)
Got some Idea for a seminar topic ?