งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความรู้พื้นฐานทางวรรณคดีไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความรู้พื้นฐานทางวรรณคดีไทย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความรู้พื้นฐานทางวรรณคดีไทย
เอกสารประกอบการเรียน วิชา วิวัฒนาการวรรณคดีไทย

2 ความหมายของวรรณคดี วรรณคดีเป็นคำที่บัญญัติเพื่อใช้แทนคำ Literature ในภาษาอังกฤษ ปรากฏครั้งแรกในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวรรณคดีสโมสร เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๔๕๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

3 คำว่าวรรณคดี ประกอบขึ้นจากคำว่า "วรรณ” ซึ่งเป็นคำที่มา จากภาษาสันสกฤต แปลว่า "หนังสือ” ส่วนคำว่า "คดี" เป็นคำ เกี่ยวกับ "คติ" ซึ่งเป็นคำบาลีสันสกฤต แปลว่า "เรื่อง” ตามรูป ศัพท์ วรรณคดี แปลว่า "เรื่องที่แต่งเป็นหนังสือ” ตามคำที่ เข้าใจกันทั่วไปวรรณคดีหมายความว่า "หนังสือที่แต่งดี” วรรณคดี แปลว่า "เรื่องที่แต่งเป็นหนังสือ" มีความหมาย ตรงกันคำว่า Literature ในภาษาอังกฤษ แต่พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้คำจำกัดความของ วรรณคดีว่า "หนังสือที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี“

4 วรรณคดี  "วรรณคดี“ ตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวรรณคดีสโมสรได้แบ่ง วรรณคดีออกเป็น ๕ ประเภท คือ       ๑. กวีนิพนธ์ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน       ๒. ละครไทย คือ เรื่องที่แต่งเป็นกลอนแปด       ๓. นิทาน คือ เรื่องราวอันผูกขึ้นและแต่งเป็นร้อยแก้ว       ๔. ละครพูด คือ เรื่องราวที่เขียนขึ้นสำหรับใช้แสดงบนเวที       ๕. อธิบาย คือ การแสดงด้วยศิลปวิทยาหรือกิจการอย่างใดอย่าง หนึ่ง (แต่ไม่ใช่แบบเรียนหรือตำราเรียน หรือความเรียงเรื่องโบราณคดี มีพงศาวดาร  เป็นต้น) ให้นับว่าเป็นหนังสือที่ควรพิจารณาในวรรณคดี สโมสรตามพระราชกฤษฎีกานี้

5 ลักษณะของวรรณคดี มีกำหนดในพระราชกฤษฎีกา ดังนี้ ๑
ลักษณะของวรรณคดี มีกำหนดในพระราชกฤษฎีกา ดังนี้ ๑. เป็นหนังสือดี กล่าวคือ เป็นเรื่องราวที่เหมาะสมซึ่ง สาธารณชนจะได้อ่านโดย ไม่เสียประโยชน์คือไม่เป็นเรื่องทุ ภาษิตหรือเป็นเรื่องที่ชักจูงความคิดผู้อ่านไปในทางอันไม่เป็น แก่นสาร ๒. เป็นหนังสือแต่งดี ใช้วิธีเรียงเรียงอย่างใดอย่างใดก็ ตาม แต่ต้องเป็นภาษาไทยอันดี ถูกต้องตามเยี่ยงอย่างที่ใช้ใน โบราณกาล หรือในปัจจุบันกาล ก็ได้ ไม่ใช่ภาษาซึ่งเลียน ภาษาต่างประเทศ

6 คณะกรรมการการวรรณคดีสโมสรได้พิจารณาวรรณคดีว่า เรื่องใดเป็นยอดแห่ง วรรณคดี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ ดังนี้       ๑. กวีนิพนธ์ ได้แก่              ๑.๑ ลิลิตพระลอ  เป็นยอดของลิลิต              ๑.๒ สมุทรโฆษคำฉันท์  เป็นยอดของคำฉันท์              ๑.๓ เทศน์มหาชาติ  เป็นยอดของกาพย์กลอน              ๑.๔ เสภาขุนช้างขุนแผน เป็นยอดของกลอน สุภาพ          ๒. บทละคร บทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ใน รัชกาลที่ ๒ เป็นยอดของบทละครรำ                

7 ๓. บทละครพูด บทละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ เป็น ยอดของบทละคร พูด ๔. นิทาน เรื่องสามก๊กของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นยอดของความเรียงเรื่อง นิทาน ๕. อธิบาย เรื่องพระราชพิธี ๑๒เดือนพระ ราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ เป็นยอดของความเรียง อธิบาย

8 สาเหตุการเกิดวรรณคดี
๑. เกิดจากความรู้สึกที่มีต่อสิ่งที่กวีและประชาชนนับถือร่วมกัน เช่น ชาติ ศาสนา  พระมหากษัตริย์ และบรรพบุรุษ เป็นต้น          ก. เรื่องชาติ เช่น พระราชนิพนธ์เรื่อง หัวใจนักรบ และพระราช นิพนธ์ส่วนมาก ของรัชกาลที่ ๖          ข. เรื่องศาสนา เช่น มหาชาติคำหลวง เวสสันดรชาดก พระมาลัยคำหลวง และ ชาดกอื่น ๆ      

9 ค. เรื่องพระมหากษัตริย์ เช่น คำประพันธ์ประเภท ยอพระเกียรติของกวีทั่วไป ได้แก่ โคลงยอพระเกียรติ พระเจ้ากรุงธนบุรี ของนายสวนมหาดเล็ก และโคลงยอ พระเกียรติรัชกาลที่ ๒ของพระยาตรัง เป็นต้น              ง. เรื่องบรรพบุรุษ เช่น พระราชนิพนธ์เรื่องลิลิต ตะเลงพ่ายของกรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นต้น

10 ๒. เกิดจากอารมณ์ส่วนตัวของกวีเอง วรรณคดี ประเภทนี้กวีต้องการแสดงความรู้สึกส่วนตัว อย่างอิสระ คือ ต้องการแสดงความรัก ความเศร้า และความโกรธแค้น เป็น ต้น นิราศ เพลงยาว และ ดอกสร้อยหรือสักวาล้วนแต่แสดง อารมณ์ได้ดีทั้งนั้นและถ้าจะให้สนุกสนานเพลิดเพลินก็ผูกขึ้น เป็นเรื่องขึ้น เช่น พระอภัยมณี ของสุนทรภู่ ตลอดจน นวนิยายปัจจุบันทั่ว ๆ ไปวรรณคดีประเภทนี้ส่วนสำคัญอยู่ที่ อารมณ์ ซึ่งถือกันว่าเป็นอิทธิพล สำคัญที่สุด ที่ก่อให้เกิด ศิลปะแทบทุกชนิด

11 ๓. เกิดจากการถ่ายทอดอารยธรรมและ วัฒนธรรม  วรรณคดีประเภทนี้ ได้แก่ จำพวกเรื่องแปล ทุกยุคทุกสมัย เช่น สามก๊กของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) และพระราชนิพนธ์ต่าง ๆ ของรัชกาลที่ 6 ที่ทรงนำเรื่อง มาจากวรรณคดีภารตะ เช่น ศกุลตลาและสาวิตรี เป็นต้น

12 ประเภทวรรณคดี วรรณคดีมีการจำแนกได้หลายลักษณะ ดังนี้ ๑. จำแนกตามลักษณะของคำประพันธ์ ได้ ๒ ประเภท คือ ๑.๑ ร้อยแก้ว ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นร้อยแก้ว ๑.๒ ร้อยกรอง ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นร้อยกรอง

13 ๒. จำแนกตามลักษณะการบันทึก ได้ ๒ ประเภท คือ ๒
๒. จำแนกตามลักษณะการบันทึก ได้ ๒ ประเภท คือ       ๒.๑ วรรณคดีที่ไม่ได้จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็น วรรณคดีที่เล่าต่อ ๆ กันมา อย่างที่เรียกว่า "วรรณคดี มุขปาฐะ"       ๒.๒ วรรณคดีที่จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ วรรณคดีที่มีการจารึกเป็นหลักฐานแน่นอน

14 ๓. จำแนกตามวัตถุประสงค์ ได้ ๒ ประเภท คือ ๓
๓. จำแนกตามวัตถุประสงค์ ได้ ๒ ประเภท คือ ๓.๑ วรรณคดีแท้ หรือวรรณคดีบริสุทธิ์ เป็นวรรณคดี ที่มุ่ง ให้ผู้อ่าน เกิดความเพลิดเพลินเป็นใหญ่ เป็นวรรณคดีที่เกิดจาก อารมณ์สะเทือนใจของผู้แต่ง ๓.๒ วรรณคดีประยุกต์ เป็นวรรณคดีที่ผู้แต่ง แต่งขึ้นโดยมี จุดมุ่งหมายนอกเหนือ ไปจากความเพลิดเพลิน แต่งขึ้นเพื่อมุ่ง ประโยชน์อย่างอื่น เช่น บันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ฯลฯ

15 ๔. จำแนกตามลักษณะเนื้อเรื่อง ได้ ๕ ประเภท คือ ๔
๔. จำแนกตามลักษณะเนื้อเรื่อง ได้ ๕ ประเภท คือ      ๔.๑ วรรณคดีการละครหรือนาฏการ      ๔.๒ วรรณคดีเกี่ยวกับศาสนาและคำสอน      ๔.๓ วรรณคดีเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีหรือ พิธีการ      ๔.๔ วรรณคดีเฉลิมพระเกียรติหรือวรรณคดีทาง ประวัติศาสตร์       ๔.๕ วรรณคดีเกี่ยวกับอารมณ์ ได้แก่ วรรณคดี นิราศเรื่องต่าง ๆ

16 การแบ่งยุควรรณคดี  การแบ่งยุควรรณคดีนิยมแบ่ง ดังนี้             ๑. วรรณคดีสมัยสุโขทัย ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐-๑๙๒๐ (๒๐ ปี) โดยเริ่มตั้งแต่การสร้างกรุงสุโขทัยใยสมัยพ่อขุนศรีอินทรา ทิตย์              

17 ๒. วรรณคดีสมัยอยุธยา ในสมัยนี้แบ่งได้ ๓ ระยะ คือ ๒
          ๒. วรรณคดีสมัยอยุธยา ในสมัยนี้แบ่งได้ ๓ ระยะ คือ              ๒.๑ วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๐๗๒ (๑๗๙ ปี)              ๒.๒ วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง เริ่มตั้งแต่ เริ่ม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๕๓-๒๒๓๑ (๗๘ ปี) โดยเริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จ พระเจ้าทรงธรรม จนถึงสมเด็จพระนาราย์มหาราช (หลังจากนั้น วรรณคดีได้ว่างเว้นไป ๔๕ ปี)              ๒.๓ วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๒๗๕-๒๓๑๐ (๓๕ ปี) โดยเริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรมโกศ จนถึงเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒

18    ๓. วรรณคดีสมัยกรุงธนบุรี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๐-๒๓๒๕ (๑๕ ปี)
๔. วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แบ่งออกตามพัฒนาการของ วรรณกรรมได้ ๒ ระยะ คือ        ๔.๑ วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เริ่มตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๔๙ โดยเริ่ม ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จนถึงสมัยพร ะ บาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว        ๔.๒ วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน (สมัยรับอิทธิพล ตะวันตก) เริ่มตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๓๙๔-ปัจจุบัน โดยเริ่มตั้งแต่ สมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงสมัยปัจจุบัน

19 สวัสดีค่ะ


ดาวน์โหลด ppt ความรู้พื้นฐานทางวรรณคดีไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google