งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิทยาศาสตร์ และ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิทยาศาสตร์ และ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิทยาศาสตร์ และ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
หน่วยที่ 1 วิทยาศาสตร์ และ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อ.ฐิติพร เจาะจง

2 ปรัชญา และ แนวคิดทางวิทยาศาสตร์

3 ปรัชญา (Philosophy) ปรัชญา เป็นวิชามาจากภาษาอังกฤษ หมายถึง ความรู้ อันประเสริฐ ปรัชญา ตามพจนานุกรมไทยแปลว่า “วิชาที่ว่าด้วย หลักแห่งความรู้และแห่งความจริง”

4 ปรัชญา (Philosophy) ความรู้ทั้งหลายของมนุษยชาติแบ่งได้เป็น 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ เรื่องที่ 1 คือ เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น ฟิสิกส์ เกี่ยวกับสสารและพลังงาน ชีววิทยา เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เคมี เกี่ยวกับธาตุและองค์ประกอบของธาตุ เรื่องที่ 2 คือ เรื่องเกี่ยวกับสังคม เช่น เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์

5 แนวคิดวิทยาศาสตร์ เป็นวิชาที่กล่าวถึงสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในโลกและจักรวาล
ศึกษาสิ่งต่างๆในแง่ความจริง – ความถูกต้องสามารถ พิสูจน์ให้ทุกคนประจักษ์ ในความรู้ที่ได้มาจากสิ่งนั้นๆ แสวงหาความรู้ที่เป็น รูปธรรม มากกว่า นามธรรม มุ่งที่จะเรียนรู้ความจริงของธรรมชาติมากที่สุด

6 ความหมายของวิชาวิทยาศาสตร์
เป็นวิชาที่ค้นหาความจริงเกี่ยวกับ วัตถุ และ ปรากฏการณ์ ของธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ วิทยาศาสตร์มีความหมาย 2 ส่วน คือ 1. ตัวความรู้ (Body of Knowledge) 2. กระบวนการแสวงหาความรู้ (Process of Scientific Inquiry)

7 ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ต้องตั้งอยู่บนเงื่อนไข 3 ประการ คือ 1.จะต้องเป็นความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ 2.จะต้องได้จากการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ แบบวิทยาศาสตร์ เข้าศึกษาค้นคว้า 3.จะต้องเป็นความรู้ที่ผ่านการ ทดสอบ หรือ ยืนยัน แล้วว่าเป็นความจริง

8 ประเภทของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สมมติฐาน (Hypothesis)
มโนมติ (Concept) หลักการ (Principle) ข้อเท็จจริง (Fact) ประเภทของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สมมติฐาน (Hypothesis) กฎ (Law) ทฤษฏี (Theory)

9 ข้อเท็จจริง (Fact) เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของความรู้
เป็นความรู้ที่ได้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง การสังเกต เป็นข้อมูลที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ข้อเท็จจริงในธรรมชาติย่อมถูกต้องเสมอ แต่การสังเกต ข้อเท็จจริงอาจผิดพลาดได้

10 ตัวอย่างของข้อเท็จจริง
น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ น้ำจะเดือดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เกลือมีรสเค็ม ไอน้ำได้รับความเย็นจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ น้ำแข็งลอยน้ำได้ แมงมุมมี 8 ขา ปลาวาฬเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

11 มโนมติ หรือความคิดรวบยอด (Concept)
เป็นความรู้ที่เกิดจากความคิดโดยสรุปของบุคคล ที่มีต่อ วัตถุ หรือปรากฏการณ์ซึ่งมีคุณลักษณะ บางอย่างร่วมกัน เกิดจากข้อเท็จจริงหลายๆอย่างมารวมกัน แต่ละคนอาจมีมโนมติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์ ความรู้เดิม วัยวุฒิ และ เหตุผล ของบุคคลนั้นๆ

12 ตัวอย่างของมโนมติ แมวเป็นสัตว์ที่มี 4 ขา มีขนทั่วร่างกาย มีหนวด เลี้ยงลูก ด้วยนม พืชใบเลี้ยงเดี่ยว เป็นพืชเมื่อเวลางอกจะมีใบเลี้ยงงอกออก มาเพียงใบเดียว ในแต่ละใบจะมีเส้นใบขนานกัน สารละลายเป็นสารที่เกิดจากสารบริสุทธิ์ 2 ชนิด สสาร คือ สิ่งที่มีตัวตน มีมวล ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ มี อยู่ 3 สถานะได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ

13 หลักการ (Principle) เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่เกิดจากกลุ่มของมโนมติ หลายๆมโนมติผสมผสานเข้าด้วยกัน ซึ่งสรุปเป็นความรู้ที่ สามารถใช้เป็นหลักการในการอ้างอิงได้ คุณสมบัติของหลักการ คือ จะต้องนำมาทดลองซ้ำหลายๆ ครั้ง และได้ผลเหมือนเดิมทุกประการสามารถทดสอบได้ และเป็นที่เข้าใจตรงกัน

14 “ โลหะทุกชนิดเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว ”
ตัวอย่างของหลักการ มโนมติ “ ทองแดง เมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว ” “ อลูมิเนียม เมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว ” “ เหล็กเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว ” หลักการ “ โลหะทุกชนิดเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว ”

15 “ ขั้วแม่เหล็กชนิดเดียวกันจะผลักกัน ขั้วต่างกันจะดูดกัน ”
ตัวอย่างของหลักการ มโนมติ “ ขั้วบวกกับขั้วบวกจะผลักกัน ” “ ขั้วลบกับขั้วลบจะผลักกัน ” “ ขั้วลบกับขั้วบวกจะดูดกัน ” หลักการ “ ขั้วแม่เหล็กชนิดเดียวกันจะผลักกัน ขั้วต่างกันจะดูดกัน ”

16 ตัวอย่างของหลักการ มโนมติ
“ แสงจะหักเห เมื่อเดินทางผ่านอากาศไปสู่น้ำ ” “ แสงจะหักเห เมื่อเดินทางผ่านอากาศไปสู่แก้ว ” “ แสงจะหักเห เมื่อเดินทางผ่านแก้วไปสู่น้ำ ” หลักการ “ แสงจะหักเหเมื่อเดินทางผ่านตัวกลางหนึ่งไปสู่ตัวกลางหนึ่ง ซึ่งมีความหนาแน่นต่างกัน ”

17 ความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริง มโนมติ และหลักการ

18 กฎ (Law) เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดจากหลักการที่สัมพันธ์ เป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน สามารถเขียนแทนด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ได้ ถ้าผลการทดลองใดก็ตามที่ขัดแย้งกับกฎนั้น กฎนั้นจะ ถูกยกเลิกไป กฎไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมความสัมพันธ์ระหว่าง เหตุกับผลจึงเป็นเช่นนั้น

19 ตัวอย่างของกฎ ถ้าเอาขั้วแม่เหล็กเหมือนกันไว้ใกล้กัน มันจะผลักกัน ถ้า ขั้วต่างกันมันจะดูดกัน น้ำเมื่อเย็นลงจนเป็นน้ำแข็ง ปริมาณของมันจะมากขึ้น กฎของบอยล์ กล่าวว่า “ปริมาณของก๊าซจะเป็นปฏิภาค ผกผันกับความดัน ถ้าอุณหภูมิคงที่”

20 ทฤษฎี (Theory) เป็นความรู้ที่เป็นหลักอย่างกว้างๆ เป็นข้อความที่ นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น เป็นคำอธิบาย หรือความคิดที่ได้จากสมมติฐานที่ผ่านการ ตรวจสอบหลายๆครั้ง และใช้อ้างอิงได้ ใช้อธิบายกฎ หลักการ และการคาดคะเนข้อเท็จจริง ใน เรื่องทำนองเดียวกันได้

21 เงื่อนไขการยอมรับทฤษฎี
อธิบายกฎ หลักการ และข้อเท็จจริง ที่อยู่ในขอบเขตของทฤษฏีได้ ต้องอนุมานเป็นกฎ หรือหลักการบางอย่างได้ ต้องพยากรณ์ปรากฏการณ์ที่อาจเกิดตามมาได้

22 ศึกษาข้อมูลที่ได้จากการสังเกต หรือทดลองหลายๆครั้ง
การสร้างทฤษฎี ใช้ความคิดสร้างสรรค์ สร้างแบบ จำลองที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์นั้นๆ

23 ตัวอย่างของทฤษฎี ทฤษฏีโมเลกุลของแม่เหล็ก
อธิบายปรากฏการณ์ที่พบเห็นคือ แม่เหล็กขั้วเหมือน กันจะผลักกันขั้วต่างกันจะดูดกัน ทฤษฏีจลน์ของก๊าซ อธิบายกฎของบอยล์ที่ว่า “ถ้าอุณหภูมิคงที่ ความดัน ของก๊าซจะเป็นปฏิภาคอย่างผกผันกับ ปริมาตรของมัน”

24 ตัวอย่างของทฤษฎี (ต่อ)
ทฤษฏีอะตอมของดอลตัน อธิบายกฎการอนุรักษ์มวลสารที่กล่าวว่า “มวลสารที่ทำ ปฏิกิริยากันจะเท่ากับมวลสารที่ได้” ทฤษฏีที่ว่าด้วยโลกพระอังคาร บนดาวอังคารมีมนุษย์อยู่อาศัยเช่นเดียวกับโลกของเรา

25 สมมติฐาน (Hypothesis)
ข้อความที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นเพื่อคาดคะเนคำตอบของ ปัญหาล่วงหน้าก่อนที่จะดำเนินการทดลอง สมมติฐานใดจะเป็นที่ยอมรับหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักฐาน เหตุผล ที่จะสนับสนุนหรือคัดค้าน ข้อความที่เป็นสมมติฐานต้องเป็นข้อความคาดคะเนคำตอบโดย ที่บุคคลนั้นยังไม่เคยรู้หรือเรียนมาก่อน หากมีการทดสอบและยืนยันเป็นความจริง สมมติฐานนั้นจะ เปลี่ยนสภาพเป็นความรู้อย่างอื่น (หลักการ กฎ ทฤษฏี)

26 ตัวอย่างของสมมติฐาน เมื่อพืชได้รับแสงมากขึ้น พืชจะเจริญเติบโตขึ้น
ถ้าเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้กับพืชมากเกินไป พืชจะเฉาตาย ถ้าอุณหภูมิที่แวดล้อมมีผลต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ดังนั้น แบคทีเรียที่อยู่ในอุณหภูมิพอเหมาะจะเจริญเติบโต มากกว่าแบคทีเรียที่อยู่ในอุณหภูมิไม่เหมาะสม ถ้าช่วงขามีผลต่อเวลาที่ใช้ในการวิ่ง ดังนั้น นาย ก. ซึ่งมีช่วง ขายาวกว่า นาย ข. จะใช้เวลาในการวิ่ง 100 เมตร น้อยกว่า

27 กระบวนการแสวงหาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์

28 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เมื่อนักวิทยาศาสตร์พบปรากฏการณ์ธรรมชาติ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ใช้กระบวนการค้นหาคำตอบ ตัวความรู้วิทยาศาสตร์

29 องค์ประกอบของ กระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
1. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Science method) 2. เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Science attitude) 3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science process skill)

30 1. วิธีการทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการทำงานของนักวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีการที่มีระเบียบแบบแผน นำไปใช้ในการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ทดสอบความรู้ที่ได้มาแล้ว นำไปใช้แก้ปัญหาให้สำเร็จ

31 1. วิธีการทางวิทยาศาสตร์
ขั้นตอนของแผนการการดำเนินการทางวิทยาศาสตร์ 1. สังเกต 2. กำหนดปัญหา 3. กำหนดสมมติฐาน 4. ทดสอบสมมติฐาน หรือรวบรวมข้อมูล 5. ตีความหรือการลงข้อสรุป

32 ขั้นการสังเกต การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส) หรืออย่างใดอย่างหนึ่งเข้าไปสัมผัสกับวัตถุ หรือเหตุการณ์ เพื่อศึกษาข้อมูลจากปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น โดย ไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป การสังเกต ทำให้รู้ว่าคุณสมบัติของข้อมูลเป็นอย่างไร แต่ ไม่สามารถบอกได้ว่า คืออะไร หรือเกิดขึ้นได้อย่างไร

33 ขั้นการกำหนดปัญหา การระบุปัญหา หรือสิ่งที่ต้องการศึกษา
กำหนด ขอบเขตของปัญหา สามารถกำหนดประเด็นของปัญหาได้หลายประเด็น ขึ้นอยู่กับผู้สังเกต

34 ขั้นการกำหนดสมมติฐาน
การคาดคะเนคำตอบของปัญหาที่กำหนดขึ้นในขั้น การกำหนดปัญหา ปัญหาหนึ่งๆสามารถกำหนดสมมติฐานได้หลายข้อ แต่จะมีที่ถูกต้องเพียงสมมติฐานเดียว ทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดลอง หรือ สำรวจหลักฐาน

35 ขั้นการทดสอบสมมติฐาน หรือรวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบ สมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าถูกหรือผิด โดยมีหลักฐานยืนยัน อาจ ทำได้โดยการสังเกต หรือการทดลอง ประเด็นสำคัญที่ ต้องพิจารณาของการทดลอง คือ ควรกำหนดรูปแบบการทดลองให้หลากหลาย ต้องทำการทดลองซ้ำเพื่อยืนยันข้อมูลที่ได้มา

36 ขั้นการตีความ หรือลงข้อสรุป
นำข้อมูลที่ได้มาตีความ และแปลความหมายข้อมูลที่ จัดกระทำ และสื่อความหมาย และสามารถลง ข้อสรุปได้ โดยผลของการลงข้อสรุปมีดังนี้ ถ้าการแปลความหมาย และลงข้อสรุป สอดคล้องกับสมมติฐาน ข้อมูลสนับสนุนสมมติฐาน ถ้าการแปลความหมาย และลงข้อสรุป ขัดแย้ง กับสมมติฐาน ข้อมูลคัดค้านสมมติฐาน

37 2. เจตคติทางวิทยาศาสตร์
เป็นพฤติกรรมหรือแนวความคิดที่แสดงออก ถึงความเป็น ผู้รู้ เป็นสิ่งที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจของนักวิทยาศาสตร์ทุกคน ซึ่งมี อิทธิพลต่อความคิด การกระทำ และการตัดสินใจตลอด เวลาที่มีการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์

38 ตัวอย่างเจตคติทางวิทยาศาสตร์
อยากรู้ อยากเห็น มีการสังเกตอย่างรอบคอบ ช่างสังเกตและชอบซักถาม รู้จักจดบันทึกอย่างละเอียด ใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความเต็มใจที่จะเปลี่ยนความคิด

39 3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะ = ความชำนาญ กระบวนการ = ลำดับการกระทำซึ่งดำเนินต่อเนื่องกันไป จนสำเร็จลง ณ.ระดับหนึ่ง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความชำนาญในการคิด และปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ แต่ละขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง จนได้ความรู้ออกมา ณ ระดับหนึ่ง

40 ประเภทของทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
แบ่งได้ 2 ประเภทคือ 1. ทักษะขั้นพื้นฐาน 2. ทักษะขั้นสูงหรือขั้นผสมผสาน

41 1. ทักษะขั้นพื้นฐาน มี 8 ทักษะ ได้แก่
การสังเกต การวัด การคำนวณ การจำแนกประเภท การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา การจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล การลงความคิดเห็นจากข้อมูล การพยากรณ์

42 2. ทักษะขั้นผสมผสาน มี 5 ทักษะ ได้แก่
การตั้งสมมติฐาน การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ การกำหนด และควบคุมตัวแปร การออกแบบ และดำเนินการทดลอง การตีความหมายข้อมูล และการลงข้อสรุป

43 ทักษะการสังเกต หมายถึง ความชำนาญในการใช้อวัยวะรับรู้ความ รู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดค้นหาเกี่ยวกับ เหตุการณ์ และสมบัติต่างๆของวัตถุ เช่น สี ขนาด รูปร่าง ตา = การมองเห็น หู = การได้ยิน จมูก = การได้กลิ่น ลิ้น = การได้รส ผิวกาย = การสัมผัส

44 ทักษะการวัด หมายถึง ความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมือในการวัดได้ อย่างเหมาะสม และใช้เครื่องมือที่เลือกนั้นมาหา ปริมาณของสิ่งต่างๆออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอน โดยมี หน่วยกำกับ ตลอดจนสามารถอ่านค่าที่วัดได้ถูกต้อง

45 ทักษะการคิดคำนวณ หมายถึง
ความชำนาญในการนำค่าที่ได้จากการวัด และการนับ วัตถุมาจัดกระทำให้เกิดค่าใหม่ โดยการ บวก ลบ คูณ หาร หรือหาค่าเฉลี่ย เพื่อนำเอาค่าใหม่ที่ได้จากการคำนวณนั้น ไปสู่ข้อสรุป และสื่อความหมายให้เกิดความเข้าใจ

46 ทักษะการจำแนก หมายถึง
ความชำนาญในการจัดจำแนกหรือจัดจำพวกสิ่งของ หรือเหตุการณ์ออกเป็นประเภทต่างๆ โดยมีเกณฑ์ในการ จัดจำแนก หรือจัดจำพวก เกณฑ์ที่ใช้อาจพิจารณาจาก ลักษณะที่เหมือนกัน ที่แตกต่างกัน หรือลักษณะที่สัมพันธ์ กันอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

47 ทักษะการหาความสัมพันธ์ ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา
หมายถึง เป็นความสามารถในการสังเกตรูปร่างของวัตถุ โดย การเปรียบเทียบกับตำแหน่งของผู้สังเกต กับการมองใน ทิศทางต่างๆกัน โดยการเคลื่อนที่ การผ่า การหมุน การ ตัดวัตถุ ซึ่งผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงได้จากการ สังเกต

48 ตัวอย่างความสามารถที่แสดงถึง การมีทักษะสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา
ชี้บ่งรูป 2 มิติและ 3 มิติได้

49 ระบุรูป 2 มิติที่เกิดจากการตัดวัตถุ 3 มิติ

50 ทักษะการจัดกระทำข้อมูลและสื่อความหมายข้อมูล
หมายถึง ความชำนาญในการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การ ทดลอง และจากแหล่งอื่นๆมาจัดกระทำเสียใหม่ โดยใช้วิธีการ ต่างๆเรียงลำดับ จัดกลุ่ม แยกประเภท หาความถี่ หรือ คำนวณหา ค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลนั้นดีขึ้น โดยอาจ สื่อความหมายของข้อมูลได้หลายรูปแบบ ดังนี้ แผนภูมิวงกลม กราฟ ตารางแผนภาพ แผนผัง แผนภาพ ภาพถ่าย แบบจำลอง ของจริง รูปแบบผสม

51 ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
หมายถึง ความสามารถในการเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้ จากการสังเกตอย่างมีเหตุผล โดยใช้ความรู้ และประสบ การณ์เข้ามาช่วย ทั้งนี้การลงความเห็นอาจจะถูกหรือผิด ก็ได้ขึ้นอยู่กับ 1. ความละเอียดของข้อมูล ความถูกต้องของข้อมูล 3. ความรู้หรือประสบการณ์ของผู้ลงความเห็น 4. ความสามารถในการสังเกต

52 ทักษะการพยากรณ์ หมายถึง
ความสามารถในการสรุปคำตอบล่วงหน้าก่อนที่จะมีการทดลอง โดยอาศัยปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ หลักการ กฎ หรือทฤษฏีที่มีอยู่ในเรื่องนั้นๆ มาช่วยในการสรุป

53 ทักษะการตั้งสมมติฐาน
สมมติฐานอาจมี 1 หรือหลายสมมุติฐานก็ได้ สมมติฐานใดเมื่อทดสอบแล้วพบว่าเป็นความจริง สมมติฐานนั้นจะเปลี่ยนไปเป็น กฎ หลักการ ทฤษฏี

54 ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
หมายถึง การกำหนดความหมาย และขอบเขตของตัวแปร หรือ ข้อความต่างๆ ให้เข้าใจตรงกัน เพราะแต่ละการทดลองผู้ ทดลองกำหนดเงื่อนไข วิธีวัด หรือการสังเกตตัวแปร ต่างๆ แตกต่างกันไปแต่ละการทดลอง การกำหนดสิ่งที่จะทำ หรือสังเกตอะไรหรือสร้าง ข้อความเกี่ยวกับวัตถุ หรือเหตุการณ์ เพื่อให้ผู้อื่นได้ทราบ

55 ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
หมายถึง ความสามารถที่จะบอกได้ว่าอะไรเป็นตัวแปรต้น ตัว แปรตาม และอะไรเป็นตัวแปรที่ต้องควบคุม ตัวแปร หมายถึง ปัจจัยที่เป็นเหตุเป็นผล และต้องการ ศึกษา หรือต้องควบคุมในแต่ละการทดลอง ในสถานการณ์ ทดลองหนึ่งๆ สามารถกำหนดตัวแปรได้เป็น 3 ประเภท คือ

56 1. ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ
คือ สิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลต่างๆ หรือสิ่งที่เราทดลองดูว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลเช่นนั้นจริงหรือไม่ 2. ตัวแปรตาม คือ สิ่งที่เป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรต้น เมื่อตัวแปรต้นเป็นสิ่งที่เป็น สาเหตุเปลี่ยนไป ตัวแปรตามหรือสิ่งที่เป็นผลจะเปลี่ยนตามไปด้วย 3. ตัวแปรควบคุม คือ สิ่งอื่นๆนอกเหนือจากตัวแปรที่มีผลต่อการทดลอง ซึ่งจะต้อง ควบคุมให้เหมือนกัน มิเช่นนั้นอาจทำให้ผลการทดลอง คลาดเคลื่อนได้

57 ตัวอย่างทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
“อาหารประเภทโปรตีนจะทำให้ไก่มีน้ำหนัก มากกว่าอาหาร คาร์โบไฮเดรต จริงหรือไม่” “ดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย ข้าวโพดจะเจริญเติบโตในดิน ชนิดใดมากที่สุด” 1. ตัวแปรต้น คือ 2. ตัวแปรตาม คือ 3. ตัวแปรที่ต้องควบคุม คือ

58 ทักษะการทดลอง หมายถึง วิธีการรวบรวมข้อมูลโดยใช้พฤติกรรมการเรียนรู้ ของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลายกระบวนการมา ประกอบกัน เพื่อหาคำตอบจากสมมติฐานที่ตั้งไว้ การทดลองประกอบด้วยกิจกรรม 3 ขั้นตอนคือ 1.การออกแบบการทดลอง 2.การปฏิบัติการทดลอง 3.การบันทึกผลการทดลอง

59 ทักษะการตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป
การตีความหมายข้อมูล หมายถึง ความสามารถใน การอ่าน หรือบรรยายข้อมูลแต่ละตัวที่ได้จัดกระทำ และ สื่อความหมายไว้แล้วด้วยวิธีการ และรูปแบบที่เหมาะสม การลงข้อสรุป หมายถึง ความสามารถในการแสดง ความสัมพันธ์ของข้อมูลชุดหนึ่งๆ ที่ได้จัดกระทำ และสื่อ ความหมายโดยการลงข้อสรุปเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด

60 ขอให้ได้เกรดตามที่ตั้งใจไว้ ............


ดาวน์โหลด ppt วิทยาศาสตร์ และ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google