งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ คุณภาพของเครื่องมือวัด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ คุณภาพของเครื่องมือวัด"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ คุณภาพของเครื่องมือวัด
การออกแบบการวิจัย การวัด และ คุณภาพของเครื่องมือวัด

2 กระบวนการวิจัย (Research Process)
1.กำหนดประเด็นปัญหา (Problem identification) 2.ตั้งวัตถุประสงค์ (Objectives) 3.ทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) 4.กำหนดกรอบแนวคิด (Conceptual Framework) 5.กำหนดสมมติฐาน (Hypothesis) 6.ออกแบบวิจัย (Research Design) ออกแบบการวัดตัวแปร ออกแบบการเลือกตัวอย่าง ออกแบบการวิเคราะห์ 7.การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) - กำหนดกลุ่มตัวอย่าง (Sample) และประชากร (Population) - เครื่องมือในการเก็บข้อมูล (Instruments) - วิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) 8.อภิปราย สรุป และเสนอแนะ (Discussion, Conclusion, Sugestions)

3 การออกแบบการวัดตัวแปร
-การวัดค่าตัวแปรอิสระ( Independent Variable) และตัวแปรตาม (Dependent Variable) -การคุมตัวแปรแทรกซ้อน 1) การสุ่ม (Randomization) 2) การจับคู่ ( Matching) 3) การนำตัวแปรแทรกซ้อนมาศึกษา ด้วนการคุมทางสถิติ -ระบุโครงสร้างตัวแปร นิยามเชิงทฤษฏี นิยามปฏิบัติการ (Operation Definition) -กำหนดมาตรวัดและสร้างเครื่องมือ -กำหนดวิธีในการเก็บรวบรวมข้อมูล -ความแม่นตรงภายใน (Internal Validity)

4 หลักการออกแบบ Maximize Variance of Variables
Minimize Variance of Error Control Extraneous Variables Con

5 Maximize Variance of Variable
ออกแบบการเก็บข้อมูลให้ตัวแปรระหว่างกลุ่มทดลองมีค่าผันแปรมาก Minimize Variance of Error ลดความแปรปรวนจากความคลาดเคลื่อนให้เหลือน้อยที่สุด ควบคุมการทดลอง ใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ ใช้กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะเหมือนกัน

6 Control Extraneous Variables
ควบคุมตัวแปรภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการทดลอง ใช้การสุ่ม (Randomization) ใช้การจับคู่แบบสุ่ม(Randomized Matching) นำตัวแปรที่ควบคุมมาเป็นตัวแปรอิสระในการศึกษา ทำตัวแปรให้คงที่เช่นแบ่งกลุ่ม

7 การออกแบบการวิจัย แบบทดลอง (Experiment Design)
-Pre-Experiment -True Experiment มี Experiment Group มี Control Group แบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experiment Design) มี Compare Group / Matching แบบไม่ทดลอง (Non-Experiment)

8 การแปลงสภาพ(นิยาม)ตัวแปร
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ระเบียบวิธีวิจัย ตัวแปรเชิงนามธรรม นิยาม เชิงมโนทัศน์ = การนิยามให้ความหมายของตัวแปร ความสามารถทางสติปัญญาด้านระเบียบวิธีวิจัย ซึ่งเป็นผลจากการเรียนการสอน ตัวแปรเชิงรูปธรรม = การนิยามค่าของตัวแปร นิยาม เชิงปฏิบัติการ ระดับคะแนนหรือ เกรด ของนักศึกษาที่ได้จากวิชาระเบียบวิธีวิจัย ตัวชี้วัด

9 ความหมายของการวัด (measurement)
การวัด หมายถึง กระบวนการแปลงสภาพตัวแปรที่เป็นแนวคิดให้เป็นข้อมูลทางสถิติเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพที่เป็นตัวเลขที่วัดหรือกำหนดความหมายได้อย่างมีกฎเกณฑ์ การให้ตัวเลขตามกฎเกณฑ์ที่ต่างกัน ทำให้ได้มาตรและประเภทของการวัดที่ต่างกัน การแปลงสภาพตัวแปรทำได้โดยการนิยามตัวแปร ตัวแปรตามลักษณะการวัด มี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. ตัวแปรเชิงรูปธรรม เป็นตัวแปรที่สามารถระบุความหมายและสังเกตวัดได้เป็นตัวเลขที่มีค่าในเชิงปริมาณ เช่น ตัวแปรอายุ รายได้ 2. ตัวแปรเชิงนามธรรม เป็นตัวแปรที่มีการวัดที่ค่อนข้างยุ่งยาก ไม่สามารถสังเกตวัดได้โดยตรง ได้แก่ ตัวแปรที่เกี่ยวกับ เจตคติ ความสนใจ หรือพฤติกรรม เช่น ความพึงพอใจในการทำงาน การมีส่วนร่วมทางการเมือง

10 การนิยามตัวแปร(หรือการแปลงสภาพตัวแปร) แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
การนิยามเชิงมโนทัศน์ หมายถึงการนิยามให้ความหมายของตัวแปร เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาระเบียบวิธีวิจัย หมายถึง “ความสามารถทางสติปัญญาด้านระเบียบวิธีวิจัย ซึ่งเป็นผลจากการเรียนการสอน” การนิยามเชิงปฏิบัติการ หมายถึงการนิยามค่าของตัวแปร เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาระเบียบวิธีวิจัย หมายถึง “ระดับคะแนนหรือ เกรด ของนักศึกษาที่ได้จากวิชาระเบียบวิธีวิจัย”

11 ระดับการวัดตัวแปร แบ่งเป็น 4 ระดับ
1. การวัดระดับกลุ่มหรือนามบัญญัติ (nominal scale) แบ่งสิ่งที่จะวัดเป็นกลุ่ม ๆ เช่น เพศ ศาสนา เป็นต้น 2. การวัดระดับอันดับ (ordinal scale) แบ่งสิ่งที่จะวัดเป็นกลุ่ม ๆ และสามารถจัดอันดับ ขนาดหรือคุณภาพ ของสิ่งที่วัดนั้นได้ แต่ยังไม่สามารถบอกขนาดความแตกต่างได้ เช่น ระดับการศึกษา 3. การวัดระดับช่วงหรือระดับอันตรภาพ (interval scale) แบ่งสิ่งที่จะวัดเป็นกลุ่ม ๆ และสามารถบอกขนาดและทิศทางของ ความแตกต่างของสิ่งที่กำลังวัดได้ แต่ไม่มีจุดศูนย์สัมบูรณ์ เช่น ระดับอุณหภูมิ คะแนนสอบ คะแนนความพึงพอใจ เป็นต้น การวัดระดับอัตราส่วน (ratio scale) แบ่งสิ่งที่จะวัดเป็นกลุ่ม ๆ สามารถบอกขนาดและทิศทางของความ แตกต่างของสิ่งที่กำลังวัดได้ และมีจุดศูนย์สัมบูรณ์ เช่น อายุ น้ำหนัก จำนวนบุตร รายได้ เป็นต้น

12 มาตรวัดทัศนคติ มาตรวัดทัศนคติ เป็นมาตรวัดที่ใช้วัดเกี่ยวกับความคิดเห็น หรือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งที่กำลังศึกษาเป็นข้อมูลเชิงปริมาณหรือตัวเลข มาตรวัดทางสังคมศาสตร์ ที่รู้จักกันเป็นอย่างดี และมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ มาตรวัดแบบเธอร์สโตน (Therstone scale) มาตรวัดแบบลิเคิร์ท (Likert scale) และมาตรวัดแบบกัตต์มัน (Guttman scale) มาตรวัดทัศนคติแบบลิเคอร์ท มีจำนวนช่วงหรือกลุ่มที่ให้ผู้ตอบตอบได้ต่ำสุด คือ 2 ช่วง (เห็นด้วย กับ ไม่เห็นด้วย) 5 ช่วง(เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง) หรืออาจเป็น 7 หรือ 10 ช่วงได้

13 ตัวอย่างมาตรวัดแบบลิเคิร์ท
โปรดทำเครื่องหมาย X ลงในช่องตัวเลขที่ตรงกับความเห็นของท่านมากที่สุด ดังนี้ ลักษณะการสอนของอาจารย์ ดีมาก ดี ปานกลาง พอใช้ ไม่ดี 1. การวางแผนการสอนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ ผลการสอนเป็นไปตามจุดหมายที่วางไว้ 2. การสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ และวิจารณ์ในวิชาที่สอน 3. การใช้เทคนิควิธีสอนต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิด ความสนใจและติดตามการสอนตลอดเวลา เช่น ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ยกตัวอย่างสอดแทรก ประสบการณ์ ใช้คำถามเพื่อให้ผู้เรียนคิด และ ตอบคำถามให้เข้าใจได้ชัดเจน

14 Validity and Reliability กับ คุณภาพของเครื่องมือ

15 ความแม่นตรง (validity)
แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องของตัวชี้วัดกับสิ่งที่ถูกวัด หรือแสดงถึงความสามารถในการวัดค่าตัวแปรได้ตรงตามที่ต้องการจะวัดหรือไม่ แบ่งความแม่นตรงเป็น 3 ชนิด ดังนี้ 1. ความแม่นตรงเชิงเนื้อหา 1.1 การหาค่าดัชนีความแม่นตรงเชิงเนื้อหา (content validity index: CVI) 1.2 การหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (index of item objective congruence: IOC) 2. ความแม่นตรงเชิงความสัมพันธ์กับเกณฑ์ 2.1 ความแม่นตรงเชิงความสอดคล้องกับเกณฑ์ปัจจุบัน (concurrent validity) 2.2 ความแม่นตรงเชิงพยากรณ์ (predictive validity) 3. ความแม่นตรงเชิงโครงสร้าง

16 การหาค่าดัชนีความแม่นตรงเชิงเนื้อหา (content validity index: CVI)
ตรวจสอบโดยให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความสอดคล้องของเครื่องมือ หรือข้อคำถามกับคำนิยาม และแสดงความคิดเห็นใน 4 ระดับ คือ ระดับ 1 หมายถึง คำถามไม่สอดคล้องกับคำนิยามเลย ระดับ 2 หมายถึง คำถามจำเป็นต้องได้รับการพิจารณาทบทวนและปรับปรุงอย่างมาก จึงจะมีความสอดคล้องกับคำนิยาม ระดับ 3 หมายถึง คำถามจำเป็นต้องได้รับการพิจารณาทบทวนและปรับปรุงเล็กน้อย จึงจะมีความสอดคล้องกับคำนิยาม ระดับ 4 หมายถึง คำถามมีความสอดคล้องกับคำนิยาม CVI = โดยทั่วไปค่า CVI ที่ยอมรับ คือ 0.8 ขึ้นไป จำนวนคำถามที่ผู้เชี่ยวชาญทุกคนให้คะแนนระดับ 3 และ 4 จำนวนคำถามทั้งหมด

17 ระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
แบบสอบถามระดับการมีส่วนร่วมประกอบด้วยคำถามจำนวน 12 คำถาม เมื่อนำไปให้ ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านพิจารณา ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความคิดเห็นตามตารางข้างล่าง จงหาค่า CVI คำถาม ข้อที่ ระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 คนที่ 4 คนที่ 5 1 2 3 4 /  / 5 6 7 8 9 10 11 12

18 ระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
คำถาม ข้อที่ ระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 คนที่ 4 คนที่ 5 1 2 3 4 /  / 5 6 7 8 9 10 11 12 CVI = = 0.83

19 ผลรวมความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ
การหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (index of item objective congruence: IOC) ตรวจสอบโดยให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความสอดคล้องของเครื่องมือ หรือข้อคำถามกับคำนิยาม และแสดงความคิดเห็นดังนี้ เมื่อเห็นด้วย ว่า ข้อคำถาม มีความสอดคล้อง 0 เมื่อไม่แน่ใจ ว่า ข้อคำถาม มีความสอดคล้อง เมื่อไม่เห็นด้วย ว่า ข้อคำถาม มีความสอดคล้อง IOC = โดยทั่วไป ค่า IOC ที่ยอมรับ คือ 0.50 ขึ้นไป จำนวนผู้เชี่ยวชาญ ผลรวมความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ

20 ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
แบบสอบถามที่ประกอบด้วย 5 คำถาม เมื่อนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านพิจารณาความสอดคล้องของข้อคำถาม พบข้อมูลตามตารางข้างล่าง จงหาค่า IOC คำถามข้อที่ ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ผลรวม IOC แปลผล คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 คนที่ 4 คนที่ 5 1 +1 4 0.80 ใช้ได้ 2 0.40 ใช้ไม่ได้ 3 -1 0.00 5 1.00 -0.20

21 ผลรวมความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ
การหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (index of item objective congruence: IOC) ตรวจสอบโดยให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความสอดคล้องของเครื่องมือ หรือข้อคำถามกับคำนิยาม และแสดงความคิดเห็นดังนี้ เมื่อเห็นด้วย ว่า ข้อคำถาม มีความสอดคล้อง 0 เมื่อไม่แน่ใจ ว่า ข้อคำถาม มีความสอดคล้อง เมื่อไม่เห็นด้วย ว่า ข้อคำถาม มีความสอดคล้อง IOC = โดยทั่วไป ค่า IOC ที่ยอมรับ คือ 0.50 ขึ้นไป จำนวนผู้เชี่ยวชาญ ผลรวมความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ

22 ความแม่นตรงเชิงความสอดคล้องกับเกณฑ์ปัจจุบัน (concurrent validity)
ใช้ตรวจสอบว่าเครื่องมือสามารถวัดได้สอดคล้องกับสภาพแท้จริงในปัจจุบันหรือไม่เพียงใด โดยพิจารณาจากค่าที่วัดได้กับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในขณะนั้น เช่น การตรวจสอบแบบวัดสติปัญญา (IQ) ที่พิจารณาความสอดคล้องของค่าที่วัดกับค่าที่วัดได้จากแบบทดสอบมาตรฐาน IQ จากกลุ่มตัวอย่างเดียวกัน

23 ความเชื่อมั่น (reliability)
หมายถึง ความคงเส้นคงวาของเครื่องมือ ความคงที่ของผลที่ได้จากการวัด เครื่องมือที่มีความเชื่อมั่น ผลที่ได้จากการวัดจะเหมือนกันหรือสอดคล้องกันทุกครั้งเมื่อวัดสิ่งเดียวกัน ระดับความเชื่อมั่นของเครื่องมือชุดหนึ่ง ๆ เป็นระดับความเชื่อมั่นของเครื่องมือที่วัดกลุ่มตัวอย่างเดียวกัน และวัดภายใต้บริบทเดียวกันเท่านั้น การวัดกับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มอื่น หรือภายใต้บริบทที่แตกต่างไป ระดับความเชื่อมั่นของเครื่องมือย่อมเปลี่ยนแปลงไป ผู้วิจัยต้องตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือก่อนนำไปใช้จริงโดยการนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณลักษณะตรงกับคุณลักษณะประชากรของงานวิจัยที่ศึกษา และภายในบริบทที่มีลักษณะเดียวกับบริบทของงานวิจัยที่ศึกษาด้วย

24 ความแม่นตรงเชิงโครงสร้าง (construct validity)
นิยมกับเครื่องมือที่ใช้วัดตัวแปรที่มีลักษณะนามธรรม (latent variable) ที่ประกอบด้วยตัวชี้วัดหลาย ๆ ตัว เช่น ตัวแปรที่เกี่ยวกับค่านิยม ความเชื่อ เป็นการตรวจสอบว่าตัวชี้วัดต่าง ๆ เหล่านั้นครอบคลุมลักษณะของตัวแปรได้ตรงตามทฤษฎีหรือไม่ ตรวจสอบความแม่นตรงชนิดนี้โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor analysis) เป็นการตรวจสอบว่าตัวชี้วัดที่สร้างขึ้นมาวัดค่าตัวแปรนั้น สามารถถูกแยกเป็นองค์ประกอบตามทฤษฎีที่นำมาสร้างตัวชี้วัดหรือไม่

25 ความแม่นตรงเชิงพยากรณ์ (predictive validity)
ใช้ตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้วัดสามารถวัดค่าในปัจจุบันได้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงในอนาคตเพียงใด เช่น การตรวจสอบแบบทดสอบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย หากข้อสอบมีความแม่นตรงนี้สูง ก็อาจพยากรณ์ได้ว่านักเรียนที่สอบได้คะแนนสูงจะมีผลการเรียนดีเมื่อเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัย

26 การตรวจสอบความเชื่อมั่น
มี 3 แบบใหญ่ คือ 1. การตรวจสอบความเชื่อมั่นเชิงความสอดคล้องภายใน เป็นการตรวจสอบว่า คำถามในแบบทดสอบหรือแบบวัดของเครื่องมือมีความสอดคล้องกันหรือไม่มากน้อยเพียงใด มี 3 วิธี 1.1 วิธีการแบ่งครึ่ง (split-half method) 1.2 วิธีการของคูเดอร์ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson) 1.3 วิธีการใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach‘s Alpha coefficient) 2. การตรวจสอบความเชื่อมั่นเชิงความคงที่ 3. การตรวจสอบความเชื่อมั่นเชิงความเท่าเทียมกัน

27 ความเชื่อมั่นเชิงความสอดคล้องภายใน : วิธีการแบ่งครึ่ง
นำแบบทดสอบมาแบ่งจำแนกเป็น 2 ชุดเท่าเทียมกัน แล้วนำผลการทดสอบทั้งสองชุดไปคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์อย่างง่าย ถ้าค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์สูง แสดงว่าความสอดคล้องภายในมีมาก ถ้าค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ต่ำ ต้องพิจารณาปรับปรุงแก้ไข สูตรการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์มีดังนี้ เมื่อ = = ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบครึ่งฉบับ = = ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งสองฉบับ

28 คนที่ คะแนนรวม ข้อ 1-10(X) ข้อ 11-20(Y) XY X2 Y2 1 33 25 825 1,089 625 2 18 594 324 3 10 100 4 13 130 169 5 49 48 2,352 2,401 2,304 6 47 36 1,692 2,209 1,296 7 40 30 1,200 1,600 900 8 50 38 1,900 2,500 1,444 9 31 24 744 961 576 45 2,115 2,025 11 44 41 1,804 1,936 1,681 12 19 627 361 37 1,517 1,369 14 1,221 15 1,980 16 150 225 17 21 651 441 34 43 1,462 1,156 1,849 1,332 20 1,760 1,000 22 35 1,050 1,225 23 1,665 1,800 42 1,386 1,764 รวม 914 780 31,057 36,120 27,592

29 ความเชื่อมั่นเชิงความสอดคล้องภายใน : วิธีการของคูเดอร์ริชาร์ดสัน
ใช้กับแบบทดสอบหรือแบบวัดที่มีการให้คะแนน 2 ค่า (dichotomous) หรือคะแนนแบบ 0 และ 1 เท่านั้น (ให้คะแนนแบบตอบผิดได้ 0 ตอบถูกได้ 1) สูตรคำนวณของ คูเดอร์ริชาร์ดสัน KR – 20 มีดังนี้ = เมื่อ = ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ k = จำนวนข้อ p = สัดส่วนของผู้ตอบถูกจากผู้ตอบทั้งหมด q = สัดส่วนของตอบผิดจากผู้ตอบทั้งหมด = ความแปรปรวนของคะแนนทั้งฉบับ

30 ความเชื่อมั่นเชิงความสอดคล้องภายใน : วิธีการใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค
ดัดแปลงมาจาก KR – 20 (ที่ใช้ได้กับเฉพาะแบบ 2 ค่า หรือ 0 , 1) ใช้ได้กับแบบทดสอบที่มีลักษณะเป็นแบบลิเคริ์ท มีสูตรคำนวณดังนี้ = เมื่อ = ค่าสัมประสิทธิความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ k = จำนวนข้อ = ความแปรปรวนของแต่ละข้อ = ความแปรปรวนของคะแนนทั้งฉบับ

31 การตรวจสอบความเชื่อมั่นเชิงความคงที่ :
โดยการวัดซ้ำ (test-retest method) ตรวจสอบโดยให้ผู้ตอบกลุ่มเดียวทำแบบทดสอบ เครื่องมือวัดชุดเดียวกันสองครั้งในเวลาห่างกันพอสมควร แล้วนำผลคะแนนทั้งสองครั้งมาหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ = เมื่อ = จำนวนผู้ตอบแบบทดสอบ = ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ X = คะแนนทดสอบครั้งแรก Y = คะแนนทดสอบครั้งที่สอง

32 การตรวจสอบความเชื่อมั่นเชิงความเท่าเทียมกัน
ตรวจสอบโดยนำแบบทดสอบหรือแบบวัด 2 ชุดที่สร้างขึ้นให้มีคุณสมบัติเหมือนกัน ซึ่งเรียกว่า แบบคู่ขนาน (parallel-form) ไปวัดผู้ตอบกลุ่มเดียวกันในเวลาเดียวกัน แล้วนำคะแนนทั้งสองชุดมาหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ในทางปฏิบัติ การสร้างเครื่องมือสองชุดแบบคู่ขนานนั้นทำได้ยากการวัด ความเชื่อมั่นวิธีนี้จึงไม่ค่อยนิยมใช้

33 การพัฒนาแบบสอบถาม (Questionnaire Development)
-ทบทวน/คำถามการวิจัย/วัตถุประสงค์/ทฤษฎี/แนวคิด/งานวิจัย -ศึกษากรอบแนวคิด -นิยามปฏิบัติการ (Operation Definition) - กำหนดคำถาม -ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ (Expert Opinion) เพื่อ ทดสอบ ความแม่นตรง (Validity) -ทดสอบแบบสอบถาม (Try-Out) เพื่อทดสอบค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เช่น ค่า สปส. อัลฟา (Alpha) - การวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis)*

34 ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อมั่น และความแม่นตรง
มีความเชื่อมั่นแต่ไม่แม่นตรง มีความแม่นตรงแต่ไม่มีความเชื่อมั่น ไม่มีทั้งความเชื่อมั่นและความแม่นตรง มีทั้งความเชื่อมั่นและความแม่นตรง


ดาวน์โหลด ppt ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ คุณภาพของเครื่องมือวัด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google