งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รายวิชา วรรณกรรมนาฏยศิลป์พื้นเมือง Literature of Folk Dance

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รายวิชา วรรณกรรมนาฏยศิลป์พื้นเมือง Literature of Folk Dance"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รายวิชา 0606218 วรรณกรรมนาฏยศิลป์พื้นเมือง Literature of Folk Dance
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 อ.วิภารัตน์ ข่วงทิพย์

2 ความหมาย ผลงานที่เกิดขึ้นจากการใช้ภาษาโดยการพูดและการเขียนของกลุ่มชนในแต่ละท้องถิ่น เช่น วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ วรรณกรรมพื้นบ้านภาคอีสาน วรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้ เป็นต้น ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นก็จะใช้ภาษาพื้นบ้านในการถ่ายทอดเป็นเอกลักษณ์

3 ลักษณะของวรรณกรรมพื้นบ้าน
เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาจากมุขปาฐะ  คือ เป็นการเล่าสืบต่อกันมาจากปากต่อปากและแพร่หลายกันอยู่ในกลุ่มชนท้องถิ่น เป็นแหล่งข้อมูลที่บันทึกข้อมูลด้านขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มชนท้องถิ่น อันเป็นแบบฉบับให้คนยุคต่อมาเชื่อถือและปฏิบัติตาม มักไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง เพราะเป็นเรื่องที่บอกเล่าสืบต่อกันมาจากปากต่อปาก ใช้ภาษาท้องถิ่น ลักษณะถ้อยคำเป็นคำง่ายๆ สื่อความหมายตรงไปตรงมา สนองความต้องการของกลุ่มชนในท้องถิ่น เช่น เพื่อความบันเทิง เพื่ออธิบายสิ่งที่คนในสมัยนั้นยังไม่เข้าใจ เพื่อสอนจริยธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีและพฤติกรรมด้านต่างๆ

4 ประเภทของวรรณกรรมพื้นบ้าน
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ จำแนกโดยอาศัยเขตท้องถิ่น จำแนกตามวิธีการบันทึก

5 จำแนกโดยอาศัยเขตท้องถิ่นได้ ๔ ประเภท คือ
  จำแนกโดยอาศัยเขตท้องถิ่นได้ ๔ ประเภท คือ วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ (วรรณกรรมล้านนา) วรรณกรรมพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้ วรรณกรรมพื้นบ้านภาคกลาง

6 จำแนกตามวิธีการบันทึก ได้ ๒ ประเภท
วรรณกรรมมุขปาฐะ หมายถึง วรรณกรรมที่ใช้วิธีเล่าจากปากต่อปาก ไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร วรรณกรรมลายลักษณ์อักษร หมายถึง วรรณกรรมที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

7 คุณค่าวรรณกรรมพื้นบ้าน
คุณค่าวรรณกรรมพื้นบ้าน  ด้านจริยศาสตร์ มีคุณค่าต่อจิตใจ มีคติเตือนใจ และสอนให้เป็นคนดี  ด้านสุนทรียศาสตร์ มีคุณค่าต่อความไพเราะ ความงามของภาษา ถ้อยคำ ลีลา ท่วงทำนองของบทเพลง และบทกวี ด้านศาสนา เป็นสื่อถ่ายทอดคำสอนและปรัชญาทางศาสนา ทำให้ประชาชนมีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจและได้ข้อคิด ในการดำรงชีวิต ด้านการศึกษา ให้ประชาชนได้ฟังหรืออ่าน เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ ด้านภาษา เป็นสื่อให้ภาษาท้องถิ่นดำรงอยู่ ซึ่งควรแก่การอนุรักษ์และสืบทอด ด้านสังคม ปลูกฝังการช่วยเหลือกัน การผูกมิตร การมีมนุษยสัมพันธ์ และพึ่งพาอาศัยกัน ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้ความรู้เกี่ยวกับตำนาน ชื่อสถานที่ ในประวัติศาสตร์ โบราณสถาน และโบราณวัตถุ ด้านประโยชน์ใช้สอย โดยการนำวรรณกรรมท้องถิ่นไปใช้ประกอบการแสดง หรือการนำตำรารักษาโรค ไปใช้ ประกอบอาชีพ

8   สรุป วรรณกรรมพื้นบ้านเป็นวรรณกรรมที่ถ่ายทอดในกลุ่มชนใดกลุ่มชนหนึ่งมาเป็นเวลานาน มีทั้งที่เขียนเป็นลาย ลักษณ์ เช่น นิทาน ตาราและบันทึก และมีทั้งที่ไม่ได้เขียนเป็น ลายลักษณ์ หรือมุขปาฐะ ใช้การพูด การบอก การเล่า หรือการร้องสืบทอดกันมา เช่น เพลงพื้นบ้าน และบทกล่อมเด็ก เป็นต้น วรรณกรรมพื้นบ้านมีคุณค่า ต่อชีวิตความเป็นอยู่ ได้ความรู้ ได้ข้อคิดในการดำรงชีวิต ให้ข้อคิด ข้อเตือนใจตลอดจนสามารถนา

9 ตัวอย่างวรรณกรรมพื้นบ้าน
กาฬเกษ กำพร้าผีน้อย ไก่แก้วหอมฮู (กำพร้าไก่แก้ว) ขุนทึง (ขุนเทือง) ขูลู - นางอั้ว (โรมีโอ จูเลียต อีสาน) จำปาสี่ต้น เชตพน เซียงเมี่ยง ทรายฟองหนองคำแสน

10 ท้าวก่ำกาดำ (ท้าวกินรี)
ท้าวคันธนาม (คัชนาม) ท้าวปาจิตกับนางอรพิม ท้าวผาแดง - นางไอ่ ท้าววัวทอง (อุ่นหล้าวัวทอง) ท้าวสิงกาโลกระต่ายคำ ท้าวโสวัจ ท้าวหงส์หิน ท้าวหมาหยุย

11 นกกระจอก (ท้าววรกิต นางจันทะจร)
นางแตงอ่อน นางผมหอม ปลาแดกปลาสมอ (ท้าวบุสบา) พญาคันคาก พระคุณของบิดามารดา (แทนน้ำนมแม่) พื้นเมืองอุบล พื้นเวียง (พื้นเวียงจันทน์) สังข์ศิลป์ชัย

12 สีทนต์ มโนราห์ สุพรหมโมกขาหมา ๙ หาง สุริวงศ์ เสียวสวาสดิ์ ฮีต 12 คอง 14 (ฮีตบ้านคองเมือง)

13 ผญา

14 ความหมาย ปัญญา ความรอบรู้ ไหวพริบ สติปัญญา คำคม สุภาษิต หรือคำที่พูดเป็นปริศนาฟัง แล้วได้นำมาคิดมาวิเคราะห์เพื่อค้นหาคำตอบจากปัญหาว่าความจริงเป็นอย่างไร มี ความหมายว่าอย่างไร

15 ความเป็นมา เกิดจาก คำสั่งสอนและศาสนา เกิดจากขนบธรรมเนียมประเพณี
เกิดจาก คำสั่งสอนและศาสนา  เกิดจากขนบธรรมเนียมประเพณี ผญาเกิดจากการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว    ผญาเกิดจากการเล่นของเด็ก เช่น ปริศนาคำทาย แต่แทนที่จะถามโดยตรงกับสร้างเป็นถ้อยคำที่คล้องจองกัน ผญาเกิดจากสภาพแวดล้อมหรือเหตุการณ์อื่น ๆ ในวิถีชีวิต 

16 ประเภทของผญา ๑. คำสอน เรียกว่า ผญาคำสอนหรือผญาภาษิต ๒. ประเภทเกี้ยวพาราสี เรียกว่า ผญาเครือ, ผญาย่อย หรือผญา โต้ตอบ ๓. ประเภทปริศนา เรียกว่า ผญาปริศนา-ปัญหาภาษิต ๔. ประเภทอวยพร เรียกว่า ผญาอวยพร

17 ๑.   ประเภทคำสอน คือ การใช้ถ้อยคำที่กล่าวเป็นร้อยกรองสั้น ๆ แฝงไว้ด้วยคติธรรม คำเตือนใจ หรืออีนัยหนึ่งคือ ข้อความที่เป็น อุปมาอุปมัย ให้ผู้ฟังได้คิดตีความสามารถนำไปประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีงามถูกต้อง   

18 ๒. ประเภทอวยพร คือ การใช้ถ้อยคำทีใช้พูดอวยพรในโอกาสต่าง ๆ ส่วนใหญ่มักจะเป็นคำพูดที่ผู้สูงอายุหรือคนที่เคารพนับถือ พูดเพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ผู้ฟังหรือผู้รับพร อาจแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

19 ๓. ผญาประเภทปริศนา-ปัญหาภาษิต
๓. ผญาประเภทปริศนา-ปัญหาภาษิต คือ การใช้ถ้อยคำที่แทรกข้อคิด ปรัชญา คติชีวิต ในเชิงเปรียบเทียบในถ้อยคำ ทำให้ผู้ฟังต้องนำไปขบคิดและ ตีความเอาเอง

20 ๔. ผญาประเภทเกี้ยวพาราสี
๔. ผญาประเภทเกี้ยวพาราสี  ผญาประเภทนี้มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปว่าผญาเครือ, ผญาย่อยหรือผญาโต้ตอบ คือการใช้ถ้อยคำพูด โต้ตอบกันเชิงเกี้ยวพาราสี ทักทายปราศัย สรรเสริญเยินยอ หรือความอาลัย  


ดาวน์โหลด ppt รายวิชา วรรณกรรมนาฏยศิลป์พื้นเมือง Literature of Folk Dance

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google