งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Introduction to Public Administration Research Method

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Introduction to Public Administration Research Method"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Introduction to Public Administration Research Method
วัตถุประสงค์และปัญหาการวิจัย

2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อการแก้ปัญหา เพื่อสร้างทฤษฎี เพื่อพิสูจน์ทฤษฎี

3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
การกำหนดวัตถุประสงค์ นับเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะเป็นสิ่งที่กำหนดทิศทาง ขอบเขต เงื่อนไข ในลักษณะชี้เฉพาะเจาะจงที่ผู้กระทำวิจัยจะต้องปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ทุกประเด็น หน้าที่ของวัตถุประสงค์ คือเป็นด่านแรกของการวิจัยที่จะบอกรายละเอียดต่างๆให้ทั้งผู้วิจัย และผู้อ่านได้ทราบถึงรูปร่างหน้าตาของการวิจัยนั้นว่าเป็นอย่างไร เปรียบได้กับแปลนของ สถาปนิก ซึ่งมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการคือ เพื่อกำหนดประเด็นปัญหาของการวิจัย เพื่อกำหนด แนวทางของการวิจัย และเพื่อกำหนดขอบเขตของการวิจัย ซึ่งวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนจะมี ประโยชน์เพื่อ ช่วยทำให้ปัญหาการวิจัยมีความชัดเจนยิ่งขึ้น รู้ขอบเขตและแนวทางปฏิบัติ ทำให้การวิจัยมีเป้าหมายที่แน่นอนและสามารถกำหนดวิธีดำเนินการได้อย่างถูกต้อง ทำให้ทราบคุณลักษณะหรือตัวแปรที่จะศึกษา และยังทำให้รู้ประชากรเป้าหมาย

4 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
หลักการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย ต้องเขียนประเด็นของปัญหาให้ชัดเจนว่าต้องการศึกษาอะไร ในแง่มุมไหน และ เรื่องที่ต้องการศึกษานั้นอยู่ในกรอบของหัวข้อวิจัย ไม่ใช่ออกนอกเรื่อง วัตถุประสงค์ที่เขียนทุกข้อต้องสามารถศึกษาได้ กระทำได้ หรือเก็บข้อมูลได้ ทั้งหมดและพยายามถามตัวเองทีละข้อว่าข้อนี้ทำได้หรือไม่ ต้องเขียนวัตถุประสงค์ในลักษณะที่สั้น กะทัดรัด ใช้ภาษาที่ง่าย วัตถุประสงค์จะเขียนในรูปประโยคบอกเล่า หรือประโยคคำถามก็ได้ วัตถุประสงค์สามารถเขียนในรูปของการเปรียบเทียบเพื่อเน้นความแตกต่าง หรือ เขียนในรูปของความสัมพันธ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการศึกษาวิจัยในปัญหานั้นๆ

5 วัตถุประสงค์การวิจัย
วัตถุประสงค์สามารถเขียนรวมเป็นข้อเดียว หรืออาจแยกเป็นข้อๆก็ได้ ถ้าเขียนเป็นข้อๆแต่ละข้อควรจะ ระบุปัญหาที่ศึกษาเพียงประเด็นเดียวเท่านั้น ไม่ควรรวมเอาประเด็นปัญหาหลายๆประการไว้ใน วัตถุประสงค์ข้อเดียวกัน จำนวนข้อของวัตถุประสงค์นั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขอบเขต ซึ่งรวมถึงความกว้างและความแคบ ของปัญหาวิจัยที่ผู้วิจัยที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา ซึ่งโดยหลักการแล้วไม่ควรมีมากเกินไป การเรียงหัวข้อวัตถุประสงค์สามารถเรียงได้หลายลักษณะ เช่น เรียงตามความสำคัญ เรียงตามระดับ ปัญหาใหญ่และรอง หรือเรียงตามความสอดคล้องของเนื้อหาก็ได้ ห้ามเอาประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับมาเขียนไว้ในวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพราะวัตถุประสงค์เป็นสิ่งที่ ผู้วิจัยจะต้องทำ แต่ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเป็นผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากสิ้นสุดการวิจัยแล้ว ซึ่ง อาจจะเป็นหรือไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ก็ได้ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับไม่ใช่เรื่องบังคับให้ผู้วิจัยต้อง ทำเหมือนในวัตถุประสงค์

6 การแบ่งประเภทของการวิจัยตามเกณฑ์
เกณฑ์ในการจำแนก ประเภทของการวิจัย ลักษณะการวิจัยโดยย่อ 1.จำแนกตามระเบียบวิธีวิจัย 1.การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ เป็นการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในอดีต 2.การวิจัยเชิงพรรณนา เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาความจริงในสภาพปัจจุบัน 3.การวิจัยเชิงทดลอง เป็นการวิจัยที่ต้องการพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงสาเหตุโดยมีการจัดสภาพการทดลองและมีการควบคุมตัวแปรที่ไม่เกี่ยวข้อง

7 การแบ่งประเภทของการวิจัยตามเกณฑ์
เกณฑ์ในการจำแนก ประเภทของการวิจัย ลักษณะการวิจัยโดยย่อ 2.จำแนกตามประโยชน์ของการวิจัย 1.การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งค้นหาความรู้ความจริงเพื่อเป็นการขยายความรู้ทางวิชาการให้กว้างขวางออกไป 2.การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ 3.การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เป็นการวิจัยเพื่อนำผลไปใช้แก้ปัญหาอย่างรีบด่วน หรือปัจจุบันทันที

8 การแบ่งประเภทของการวิจัยตามเกณฑ์
เกณฑ์ในการจำแนก ประเภทของการวิจัย ลักษณะการวิจัยโดยย่อ 3.จำแนกตามสาชาวิชา 1. การวิจัยทางสังคมศาสตร์ เป็นการวิจัยเกี่ยวกับสังคม การเมือง การปกครอง การศึกษา เศรษฐกิจ ฯลฯ 2. การวิจัยทางมนุษยศาสตร์ เป็นการวิจัยเกี่ยวกับคุณค่าของมนุษย์ เช่น ภาษาศาสตร์ ดนตรี ศาสนา โบราณคดี ปรัชญา ฯลฯ 3. การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การวิจัยทางชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ วิศวกรรม แพทย์ ฯลฯ

9 การแบ่งประเภทของการวิจัยตามเกณฑ์
เกณฑ์ในการจำแนก ประเภทของการวิจัย ลักษณะการวิจัยโดยย่อ 4.จำแนกตามเวลา 1. การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ เป็นการวิจัยที่ค้นหาความจริงในอดีตที่ผ่านมา 2. การวิจัยร่วมสมัย เป็นการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในปัจจุบัน 3. การวิจัยอนาคต เป็นการวิจัยที่มุ่งจะให้มองภาพของเรื่องใดเรื่องหนึ่งในอนาคตเพื่อประโยชน์ในการวางแผนหรือการคาดคะเนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคต

10 การแบ่งประเภทของการวิจัยตามเกณฑ์
เกณฑ์ในการจำแนก ประเภทของการวิจัย ลักษณะการวิจัยโดยย่อ จำแนกตามลักษณะของข้อมูล 1.การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การวิจัยที่อาศัยข้อมูลเป็นเชิงปริมาณ การวิเคราะห์ข้อมูลต้องใช้วิธีการทางสถิติมาวิเคราะห์ 2.การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่อาศัยข้อมูลเชิงคุณลักษณะ ไม่สามารถแปลงเป็นตัวเลขได้ ต้องใช้หลักตรรกศาสตร์ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล

11 การแบ่งประเภทของการวิจัยตามเกณฑ์
เกณฑ์ในการจำแนก ประเภทของการวิจัย ลักษณะการวิจัยโดยย่อ 6.จำแนกตามระดับการควบคุมตัวแปร 1. การวิจัยเชิงทดลอง เป็นการวิจัยที่สามารถควบคุมตัวแปรและสถานการณ์ได้สูงที่สุด 2. การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง การวิจัยที่สามารถควบคุมตัวแปรอิสระที่ไม่ต้องการได้บางตัว 3. การวิจัยเชิงธรรมชาติ เป็นการวิจัยที่ใช้ข้อมูลตามสภาพที่เป็นจริงโดยไม่มีการควบคุมตัวแปร

12 การแบ่งประเภทของการวิจัยตามรูปแบบ
การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เป็นวิธีการวิจัยประเภท หนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางและได้รับความนิยมอย่างมากในการนำมาใช้ แสวงหาความรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขารัฐศาสตร์ สังคมและมานุษยวิทยา โดยใช้ประชากรที่สนใจศึกษาหมดทุกหน่วยหรือใช้การสุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทน ของประชากรที่สนใจจึงทำได้ทั้งการสำรวจประชากรและการสร้างตัวอย่าง ซึ่ง การสำรวจประชากร เรียกว่า สำมะโนประชากร การศึกษาแบบเฉพาะกรณี (Case Study) การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)

13 การแบ่งประเภทของการวิจัยตามวิธีการวิจัย
การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) การวิจัยเชิงอรรถาธิบาย (Explanatory Research) การวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical Research) การวิจัยเชิงประมาณ (Quantitative Research) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

14 การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ
เป็นการทำวิจัยโดยการใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพหรือคุณลักษณะที่รวบรวมได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ไม่สามารถจัดกระทำในรูปปริมาณได้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายหรือพรรณนาสถานการณ์ สภาพแวดล้อม ปัญหา หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้หลายวิธี เช่น การสัมภาษณ์ การจดบันทึก วิเคราะห์ข้อมูล วิพากษ์วิจารณ์ ฯลฯ ในการนำเสนอข้อมูลจะทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์เกี่ยวโยงระหว่างทฤษฎีและความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆเข้าด้วยกันหรืออาจใช้สถิติเพียงขั้นพื้นฐาน สรุปคือ การวิจัยประเภทนี้เป็นการแสวงหาความรู้ ความจริง โดยการพิจารณาปรากฏการณ์ทางสังคมจากสภาพแวดล้อมตามความจริงในทุกมิติ เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์กับสภาพแวดล้อมนั้น เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นที่จะได้ข้อมูลที่อยู่ในลักษณะบอกตัวเลข การวิจัยในลักษณะนี้จะต้องใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งทำด้วยเครื่องมือทางสถิติประเภทต่างไม่ว่าจะเป็นสถิตขั้นต้น ขั้นสูง เพื่อลงสรุปผล หรือข้อสรุปที่ได้จะออกมาเป็นตัวเลขที่สามารถอธิบาย พิสูจน์ หรืออ้างอิงได้ การวิจัยเชิงปริมาณจะมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงและความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูลด้วย

15 ข้อมูล ข้อมูล (Data) ที่ใช้ในการวิจัยนั้นมี 2 ประเภท คือ
1.ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งที่มาของ ข้อมูลโดยตรง ทั้งนี้อาจจะเป็นข้อมูลที่นักวิจัยเก็บเอง เป็นต้นว่าจากการสำรวจ (Field Research)หรือการทดลองด้วยตนเองหรืออาจจะเป็นข้อมูลที่มีผู้อื่น เก็บไว้แต่ยังไม่ได้มีการประมวลผลหรือยังมิได้มีการจัดการและนำเสนอเป็นรายงาน ออกมา ซึ่งยังเรียกได้ว่าเป็นข้อมูลดิบ (Raw Data) รวมถึงข้อมูลที่เป็นการวิจัย สังเกตการณ์ (Observatory Research ซึ่งหมายถึง การวิจัยที่ได้ข้อมูล มาจากการสังเกตสภาวการณ์ต่างๆโดยนักวิจัย เช่น สังเกตพฤติกรรมการเรียนและสังเก การเคลื่อนไหว เป็นต้น อีกทั้ง การวิจัยจากบุคคลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Deep Interview) และแบบสนทนากลุ่ม (Focus Group)

16 ข้อมูล 2.ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวม และนำเสนอเป็นรายงานในสื่อประเภทต่างๆไว้แล้ว โดยอาจเป็นข้อมูลจาก รายงานการวิจัย รายงานการสำรวจ เอกสารตำรา หรือรายงานของส่วนราชการณ์ หรือองค์การต่างๆได้ ซึ่งมีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลประเภทนี้ โดยเป็นการศึกษาค้นคว้า หาความจริงจากข้อเขียน บทความ หรือผลงานการวิจัยค้นคว้าที่ผู้อื่นได้ทำไว้แล้ว โดยไม่ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพรูปแบบหนึ่งที่ ปราศจากอิทธิพลของนักวิจัย ดังนั้นการวิจัยชนิดนี้จะเชื่อถือได้หรือไม่จึงขึ้นอยู่กับ ความถูกต้อง และความเชื่อถือได้ของข้อมูลอีกทั้งผู้วิจัยยังจะต้องไม่มีความ ลำเอียงในการตีความและวิเคราะห์ข้อมูลอีกด้วย

17 Add on การวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ เป็นการศึกษาถึงลักษณะการกระจายของ ประชากร เชื้อชาติ ประเพณี ศาสนาของประชากรในแหล่งต่างๆเพื่อช่วยในด้าน การตัดสินใจของธุรกิจ การวิจัยทางด้านการเมืองหรือทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ เป็น การศึกษาถึงนโยบายของรัฐบาล การปกครอง กฎหมาย รัฐธรรมนูญ ช่วย ให้รู้ว่ากิจการได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลแค่ไหน หรือมีการออกกฎหมาย พระราชบัญญัติ ควบคุมหรือห้ามปรามสิ่งใดบ้าง

18 การกำหนดปัญหาของการวิจัย
ที่มาของปัญหาวิจัย ปรากฏการณ์ หมายถึง เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นอยู่ในองค์การและสังคม ปรากฏการณ์เหล่านั้นอาจเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตหรือปัจจุบันก็ได้ ปรากฏการณ์นี้อาจได้มาจากการสังเกตของผู้วิจัย หรือผู้วิจัยได้รับการ ถ่ายทอดมาจากเอกสารหรือด้วยวาจาก็ได้ ปรากฏการณ์นี้จะเป็นตัวกระตุ้น ให้นักวิจัยเกิดความอยากรู้อยากเห็นที่จะทำการวิจัยต่อไป ความรู้หรือแนวคิดทางทฤษฎี ผู้วิจัยจะทำการวิจัยในเรื่องใด จะต้องมี ความรู้หรือความรู้ทางทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำการวิจัยนั้น ในการวิจัยเชิง วิทยาศาสตร์ถือว่าทฤษฎีเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพราะทฤษฎีจะเป็นความรู้ที่ เป็นระบบ สามารถที่จะใช้ทฤษฎีมาเป็นกรอบในการกำหนดชื่อเรื่องและ ปัญหาของการวิจัยได้อย่างตรงกรณี

19 การกำหนดปัญหาของการวิจัย
ประสบการณ์ของนักวิจัย ประสบการณ์ของนักวิจัยจากการค้นคว้า เอกสาร ศึกษาผลงานที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลต่างๆ และจากเอกสาร ประเภทต่างๆ เช่น งานวิจัยที่มีคนอื่นทำไว้แล้ว บัญชีหัวข้อวิจัย เป็นต้น ซึ่งจะ ช่วยทำให้นักวิจัยกำหนดชื่อเรื่องและปัญหาที่จะทำการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น ความอยากรู้อยากเห็น เป็นแรงจูงใจที่สำคัญ หรือเป็นสิ่งเร้าที่จะทำให้ มนุษย์เกิดความอยากรู้อยากเห็นที่จะหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ปัญหาใดปัญหาหนึ่งและต้องการที่จะหาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งนั้น

20 การกำหนดปัญหาของการวิจัย
อุดมคติหรืออุดมการณ์ของนักวิจัย อุดมคติหรืออุดมการณ์ของนักวิจัย หมายถึงสถานะของความเชื่อที่ผู้วิจัยมีต่อปรากฏการณ์และเป้าหมายของ การดำเนินงานวิจัย หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นผลรวมของค่านิยม การฝึกอบรม และการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม (Socialization) ต่างๆอันทำให้ ผู้วิจัยมีทัศนะต่อปรากฏการณ์และแนวทางของงานวิจัยนั้น อุดมคติหรือ อุดมการณ์นี้จะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้นักวิจัยเลือกหัวข้อเรื่องวิจัย การเลือกตัว แปร การวิเคราะห์ และการแปลความหมายข้อมูล ตัวอย่างเช่น นักวิจัยที่เชื่อ แนวคิดเรื่องการมีส่วนร่วมของพลเมือง มักจะเลือกหัวข้อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอปรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรค การเมือง เป็นต้น

21 ความสำคัญของปัญหาการวิจัย
1.ปัญหาการวิจัย (Research Problem) คือสิ่งที่ก่อให้เกิดความสงสัยและใคร่ รู้คำตอบ ดังนั้น การกำหนดปัญหาการวิจัยหมายถึง การระบุประเด็นที่นักวิจัยสงสัยและ ประสงค์ที่จะหาคำตอบ ซึ่งคือปัญหาการวิจัยนั่นเอง ดังนั้นนักวิจัยจึงจำเป็นต้องระบุปัญหา การวิจัยให้เป็นกิจจะลักษณะและชัดแจ้งทุกครั้งที่ดำเนินการวิจัย ในการกำหนดปัญหาการวิจัย จะต้องแยกแยกให้ได้ว่า อะไรคือตัวปัญหา อะไรคืออาการที่แสดงออกมา 2. การเลือกปัญหาการวิจัย ซึ่งจริงๆแล้วมีปัญหามากมายอยู่รอบตัวเรา เช่น ตัวแปรที่เกี่ยวกับเวลา สถานที่ ชุมชน บุคคล องค์การ วิธีการบริหาร อาชีพ สถานการณ์ ฯลฯ ปัญหาทางสังคมศาสตร์ ที่ไม่คงที่แน่น่อน ปัญหาหรือข้อสรุปต่างๆที่เคยศึกษามาแล้วและต้องการการตรวจสอบความทันสมัย การศึกษาที่ผ่านมาต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเสมอ เพราะตัวแปรใหม่มักเกิดขึ้นเสมอตาม เวลาที่เปลี่ยนไป

22 ความสำคัญของปัญหาการวิจัย
3.แหล่งของปัญหาการวิจัย จากที่แสดงไว้เบื้องต้นแล้วว่าปัญหาทั่วไปและปัญหาวิจัยนั้นมี ความแตกต่างกัน ดังนั้น แหล่งที่มาของปัญหาวิจัยสามารถมาได้จากแหล่งต่างๆต่อไปนี้ ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ การสังเกต การศึกษาวรรณกรรม การสอบถามจากผู้รู้หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ หน่วยงานที่ให้ทุน ความต้องการของหน่วยงานหรือองค์การ ประเด็นปัญหาหลักของสังคม

23 ความสำคัญของปัญหาการวิจัย
4.ข้อผิดพลาดในการเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัย รวบรวมข้อมูลก่อนที่จะทำให้คำจำกัดความของหัวข้อปัญหาอย่างชัดเจน เพราะ ข้อมูลนั้นอาจจะไม่ครอบคลุมปัญหานั้นๆอย่างสมบูรณ์ หาแหล่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วและพยายามคิดปัญหาให้เหมาะสมกับข้อมูล เพราะ ข้อมูลที่เก็บมาจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งอาจไม่มีความสมบูรณ์ ข้อปัญหาและความมุ่งหมายของการวิจัยไม่ชัดเจน ทำให้ไม่ทราบแหล่งของการ เก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนการสรุปผล หรือข้อยุติต่างๆ ทำวิจัยโดยไม่อ่านผลงานวิจัยของบุคคลอื่นที่คล้ายๆกัน ทำให้ผู้วิจัยมีความรู้แคบ และอาจเกิดความยุ่งยากในการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้

24 ความสำคัญของปัญหาการวิจัย
ทำวิจัยโดยไม่มีความรู้พื้นฐานทางทฤษฎี หรือไม่มีทฤษฎีที่เป็นพื้นฐาน ทางการวิจัย ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาในการวางแผนงานวิจัย หรือการ ตั้งสมมติฐานและอื่นๆ ข้อตกลงเบื้องต้นไม่ชัดเจน ทำให้การวิจัยนั้นไม่กระจ่างชัดและผู้ทำการวิจัย ไม่เห็นแนวทางในการทำวิจัยนั้นอย่างทะลุปรุโปร่ง อาจเป็นผลให้การแปล ผลการวิจัยผิดพลาดไปจากข้อเท็จจริงได้ การวิจัยที่มีปัญหาครอบจักรวาล ไม่จำกัดขอบเขต เป็นสาเหตุให้การทำวิจัย นั้นไม่รู้จักจบสิ้น เพราะไม่สามารถมีขอบเขตแค่ไหน

25 การกำหนดหัวข้อเรื่องของการวิจัย
การกำหนดปัญหาหรือหัวข้อเรื่องวิจัยมักจะกำหนดมาจากปัญหาสำคัญ จาก ปัญหาสำคัญ ผู้วิจัยจะนำมากำหนดเป็นหัวข้อเรื่องของการวิจัย หลักเกณฑ์ใน การเขียนและกำหนดรูปแบบของหัวข้อเรื่องงานวิจัยมีดังนี้ 1. หัวข้อเรื่องของการวิจัยจะต้องเป็นประโยคบอกเล่า 2. จะต้องเป็นประโยคที่แสดงความเป็นกลาง 3. หัวข้อเรื่องของการวิจัยมักจะแสดงขอบเขตของเรื่อง เรื่องที่จะทำวิจัยควรมีคุณค่า และไม่ควรทำการวิจัยในเรื่องที่มีคนเคยทำมาแล้ว

26 ขอบเขตของการวิจัย การวิจัยแต่ละเรื่องมีขอบเขตมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับงบประมาณและ ระยะเวลาที่จะทำการวิจัย การกำหนดขอบเขตของการวิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัยวาง แผนการเก็บข้อมูลได้อย่างครอบคลุมและตรงกับความมุ่งหมายของการวิจัยที่ตั้ง ไว้ โดยขอบเขตของการวิจัยที่สำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนด มีดังนี้ ลักษณะประชากรและจำนวน การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง และวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรที่ศึกษา โดยระบุทั้งตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ


ดาวน์โหลด ppt Introduction to Public Administration Research Method

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google