งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

“แนวทางการเขียนหนังสือ – ตำรา”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "“แนวทางการเขียนหนังสือ – ตำรา”"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 “แนวทางการเขียนหนังสือ – ตำรา”
ศาสตราจารย์ ดร.สิน พันธุ์พินิจ

2 บริบทการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทย
1. สังคมยุคประกันคุณภาพการศึกษา 2. สังคมประชาคมอาเซียน (ASEAN society) 3. สังคมอุดมปัญญา 4. สังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 5. สังคมยุคดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 6. สังคมการแข่งขัน และสังคมก้มหน้า ฯลฯ “การเปลี่ยนแปลงทางคมไทยเป็นเหตุปัจจัยให้สร้างสรรค์หนังสือ-ตำราที่มีคุณภาพ และล้ำสมัยเพิ่มขึ้น”

3 นิยามของหนังสือ-ตำรา
Merrium-Webster (1987: ,1220) นิยามว่า Book (12 C.) หมายถึง “ชุดการเขียน หรือ การจารึกในแผ่นหนัง กระดาษ แผ่นกาบไม้ งาช้าง สิ่งพิมพ์ แผ่นสมุด บัญชี คัมภีร์ไบเบิล บทละคร เนื้อเพลง สิ่งพิมพ์ต่างๆที่เป็นความรู้ และประสบการณ์ที่นำไปใช้แก้ปัญหาได้” Text (12 C.) หมายถึง “ต้นฉบับเดิม ถ้อยคำเดิม แบบฉบับการเขียน ตำรา แบบเรียน หนังสือเรียน ถ้อยคำสั้นๆในพระคัมภีร์ไบเบิล” Textbook (ปี1779 หรือ พ.ศ.2322) หมายถึง “หนังสือที่ใช้เรียนเนื้อหาสาระวิชา สาขาวิชา ตำรา แบบเรียน

4 ก.พ.อ.ให้คำนิยามตำราและหนังสือสำหรับการขอกำหนด ตำแหน่งวิชาการไว้ดังนี้
ตำรา หมายถึง “ผลงานวิชาการที่เรียบเรียงขึ้นอย่างเป็นระบบ ครอบคลุม เนื้อหาสาระของวิชา หรือ ของหลักสูตรที่สะท้อนให้เห็นความสามารถใน การถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษา อาจพัฒนาขึ้นจากเอกสารคำสอนให้มี ความสมบูรณ์ที่สุด และมีเนื้อหาสาระทันสมัย ต้องจัดทำเป็นรูปเล่ม ประกอบด้วย คำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง การอธิบาย หรือ การวิเคราะห์ การสรุปอ้างอิง บรรณานุกรม ภาคผนวก (ถ้ามี) และดัชนี” อาจเรียกว่า ตำราเรียน

5 การวิเคราะห์ การสรุป การอ้างอิง บรรณานุกรม ภาคผนวก (ถ้ามี) และดัชนี”
หนังสือ หมายถึง “ที่เรียบเรียงจากฐานวิชาการที่มั่นคง มีความต่อเนื่องใน เนื้อหา ไม่จำเป็นต้องเป็นส่วนประกอบรายวิชาใดวิชาหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องใช้ ประกอบการสอนสอดคล้องกับสาขาวิชาของผู้กำหนดตำแหน่งวิชาการ เนื้อหา สาระทันสมัย และสะท้อนให้เห็นในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษา” “หนังสือต้องจัดทำเป็นรูปเล่มที่ประกอบด้วยคำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง การวิเคราะห์ การสรุป การอ้างอิง บรรณานุกรม ภาคผนวก (ถ้ามี) และดัชนี”

6 ความมหัศจรรย์ของหนังสือ - ตำรา
1. เป็นแหล่งความรู้ประสบการณ์ใช้พัฒนาคนพัฒนาชาติ 2. สัญลักษณ์ของการสร้างเกียรติยศ ชื่อเสียง เกียรติภูมิแก่บุคคล องค์การและ ประเทศชาติ 3. สร้างความก้าวหน้าแก่บุคคลให้ผู้เขียน ขอกำหนดตำแหน่งวิชาการ ผศ. รศ. และ ศ. 4. สร้างรายได้ อาชีพที่มั่นคงแก่ผู้เขียน ผู้ประกอบการ 5. เป็นสื่อการถ่ายทอด ความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติและวิสัยทัศน์ต่อสาธารณะ 6. เป็นเครื่องมือหรือกลไกที่ทำให้เกิด “การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change)”

7 หลักการเขียนหนังสือ – ตำรา ควรยึดหลักการเขียน 8 cs คือ
1. Concept, Conceptual Framework มีแนวคิดที่ดีและกรองแนวคิดการกำหนดเนื้อหา และการนำเสนอที่ชัดเจน 2. Connection ความเชื่อโยงของเนื้อเรื่อง เนื้อหา 3. Clarity ความกระจ่างชัด ความชัดเจนหรือความชัดแจ้งของทุกบริบท อาทิ ภาพและการอธิบาย 4. Concise ความกะทัดรัดไม่เยิ่นเย้อ ใช้ภาษาให้เหมาะสม คำ กิริยา คำนาม 5. Consistency ความสอดคล้อง ความถูกต้องตรงกัน หรือ ความเสมอต้นเสมอปลาย อาทิ การใช้คำ “ร้อยละ หรือ ภาพชื่อประเทศ” คำใดคำหนึ่งเหมือนกันทั้งเล่ม 6. Correction ความถูกต้องของทุกบริบท อาทิ เนื้อหา รูปแบบการพิมพ์ 7. Credibility ความน่าเชื่อถือ ความน่าไว้วางใจในความถูกต้อง การอ้างอิง เป็นต้น 8. Currency ความทันสมัย ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือ ความใหม่ต่างๆ ในหนังสือและตำรา

8 แนวทางการใช้ภาษาต่างประเทศ
1. ชื่อเฉพาะต่างๆ เขียนขึ้นต้นด้วย “อักษรตัวใหญ่” 2. คำศัพท์ทั่วไปที่ใช้กำกับในวงเล็บ ควรใช้ “อักษรตัวเล็ก” 3. การใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษกำกับภาษาไทยแต่ละที่ ควรใช้กับที่แรก “เพียง 1 ที่” เท่านั้น 4. การเขียนภาษาไทย ทับ ศัพท์ภาษาอังกฤษทั้งชื่อคน สถานที่ หรือศัพท์ วิชาการเฉพาะ ไม่ต้องมี “วรรณยุกต์” นอกจากเป็นคำศัพท์บัญญัติของ ราชบัณฑิตยสถาน อาทิ คำว่า “แบตเตอรี่ (Battery) แท็กซี่ (Taxi)”

9 กระบวนการเขียนหนังสือและตำรา
การเตรียมการเขียน การเผยแพร่ การลงมือเขียน กระบวน การเขียนหนังสือ/ ตำรา การประเมินการบรรณาธิการ การจัดรูปเล่มฉบับสมบูรณ์

10 การเตรียมความพร้อมของผู้เขียน
การเตรียมการ การเตรียมความพร้อมของผู้เขียน 1. ด้านวิชาการ ความรู้ ประสบการณ์ 2. ด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ 3. ด้านแรงบันดาลใจ และวิสัยทัศน์ 4. ด้านความกระตือรือร้นและแรงกระตุ้น 5. ด้านการสนับสนุนให้กำลังใจ 6. ด้านบรรยากาศทางวิชาการและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

11 การเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวก
การเตรียมการ การเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวก 1. สถานที่อันเหมาะสม อาทิที่ทำงาน โต๊ะ เก้าอี้ที่ผ่อนคลาย 2. เครื่องเขียนที่จำเป็นทุกชนิด 3. เครื่องเหลาดินสอ ไม้บรรทัด ยางลบ 4. เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ต WIFI 5. สารสนเทศ พจนานุกรม บรรณานุกรม ตำรา หนังสืองานวิจัยและ วารสารวิชาการ เป็นต้น

12 การปริทัศน์วรรณกรรม การเตรียมการ
1. ปริทัศน์วรรณกรรมที่เกี่ยวทั้งภาษาไทยและต่างประเทศให้มากที่สุด 2. ควรเข้าถึงวรรณกรรมต้นฉบับ (Original) 3. ควรเป็นวรรณกรรมที่ทันสมัย (Current) 4. ควรเป็นวรรณกรรมที่ยอมรับในวงวิชาการ 5. ควรจัดทำรายชื่อวรรณกรรมทุกเล่มตามหลักการเขียน “บรรณานุกรมหรือ เอกสารอ้างอิง” ให้เป็นระบบ

13 ชื่อตอน/เรื่อง (Topic)
การเตรียมการ การออกแบบเนื้อหา ชื่อหนังสือ - ตำรา ชื่อภาษาอังกฤษ ชื่อบท (Chapter) ชื่อตอน/เรื่อง (Topic) ประเด็น (Theme) บทที่ เรื่องที่ 1 เรื่องที่ 2 เรื่องที่ 3 เรื่องที่ 4 เรื่องที่ 5 เรื่องที่ 6 เรื่องที่ 7 ตำราเรียนควรมี บท หนังสือควรมี บท แต่ละบทควรมี 6-10 เรื่อง/ตอน แต่ละเรื่องควรมี 2-5 ประเด็น

14 การจัดทำรูปเล่มส่วนเนื้อหาจำลอง (Dummy)
การเตรียมการ การจัดทำรูปเล่มส่วนเนื้อหาจำลอง (Dummy) “ ช่วยให้ผู้เขียนมองเห็นภาพรวมของงานเขียนเป็นหลักชัย หรือ หลักชัย (Milestone) เป็นเครื่องเตือนใจ ให้กำลังตนเองและความหวัง” 1. ปกหน้า - ปกใน 2. สารบัญ 3. ลำดับ (บทที่1 – บทสุดท้าย) (แต่ละบทประกอบด้วย) - เนื้อหา - การทบวนบทเรียนหรือคำถามท้ายบท - บรรณานุกรม - ภาคคำศัพท์อธิบาย (Glossary) - ดัชนี (Index) - บัญชีคำศัพท์ (Vocabulary) 4. ปกหลัง

15 การสังเคราะห์วรรณกรรม
การลงมือเขียน การลงมือเขียน การสังเคราะห์วรรณกรรม - ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องแต่ละบท - การคัดลอกงานของคนอื่น (citation) ไม่ควรไม่ควรมากเกินไป (3-4 บรรทัด)และควรอยู่ใน เครื่องหมายอ้างอิง “……….” (Quotation Mark) - กรณีเนื้อหายาวควรวิเคราะห์ และสังเคราะห์สรุป เฉพาะประเด็นสำคัญ - กรณีคัดลอกงานของหลายคนต้องเรียบเรียงให้เชื่อมโยงหรือสัมพันธ์อย่าง สละสลวย แล้วสรุปเนื้อหาเป็นของตนเอง - อ้างอิงแหล่งที่มาให้ถูกต้อง (นาม...ปี...หน้า...) “อนึ่ง การคัดลอกงานคนอื่นโดยไม่อ้างอิง เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ มีความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา”

16 แนวทางการเขียนเนื้อหาแต่ละบท
การลงมือเขียน แนวทางการเขียนเนื้อหาแต่ละบท องค์ประกอบของบท 1. กล่าวนำ/คำนำ 2. เนื้อเรื่อง 3. สรุป 4. การทบทวนบทเรียนหรือคำถามท้ายบท 5. บรรณานุกรม/เอกสารอ้างอิง 6. ดัชนี

17 แนวทางการเขียนเนื้อหาแต่ละบท
การลงมือเขียน แนวทางการเขียนเนื้อหาแต่ละบท องค์ประกอบ แนวการเขียน จุดเด่น คำนำ/กล่าวนำ (Introduction) -ความเป็นมาและความสำคัญของเนื้อหา -จะศึกษาเรื่องอะไรบ้าง -มีวัตถุประสงค์อย่างไร -เป็นส่วนตอนต้นของบท จึงต้องเขียนให้ “ตื่นเต้น” (ต) -มีความยาวร้อยละ 5-10 ของเนื้อหาบท เนื้อเรื่อง (Content) -เรียบเรียงเนื้อหาตามลำดับของเรื่อง -นำเสนอที่น่าสนใจด้วยภาพ แผนภูมิ รูปแบบจำลอง ฯลฯ -เขียนให้สละสลวย -เป็นส่วนกลางของบทต้องเขียนให้ “กลมกลืน” (ก) -เชื่อมโยงกับคำนำและเรื่องของบท -ความยาวร้อยละ 80-90 สรุป (Conclusion or Summary) -เขียนสรุปให้ครอบคลุมเนื้อหาทุกเรื่อง -เขียนให้กะทัดรัดชัดเจน -มีการเชื่อมโยงกับบทต่อไป -เป็นส่วนจบเนื้อหาบท ต้องเขียนให้ “จับใจ” (จ) -สรุปย่อให้เห็นเนื้อหาแต่ละเรื่องที่กล่าวนำไว้ -ความยาวร้อยละ 5-10

18 แนวทางกำหนดลำดับหัวเรื่องหรือหัวข้อ - ข้อย่อย
การลงมือเขียน แนวทางกำหนดลำดับหัวเรื่องหรือหัวข้อ - ข้อย่อย บทที่ เรื่อง ประเด็น

19 แนวทางกำหนดลำดับหัวข้อ - ข้อย่อย
1) (1) ก (2) 2)

20 การอ้างอิง การลงมือเขียน
1. การอ้างอิงในเนื้อหา อ้างหลังข้อความที่คัดลอกมา ได้แก่ - การอ้างอิงไว้ในวงเล็บท้ายข้อความโดยระบุ “ชื่อ ปี หน้า” หรือ - เชิงอรรถ (Foot note) ใส่หมายเลขด้านบนท้ายข้อความสุดท้าย แล้วเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายบท ไว้ท้ายบทเนื้อเรื่องก่อนคำถามท้ายบท 2. การอ้างอิง โดยเขียนไว้ท้ายของแต่ละบท หรือส่วนสุดท้ายของหนังสือ ตำรา ได้แก่ - บรรณานุกรม (Bibliography) บัญชีรายชื่อหนังสือที่ใช้ประกอบการค้นคว้า หรือ - เอกสารอ้างอิง (Reference) มักจะเขียนเฉพาะเล่มที่อ้างจริง หรือคัดลอกมา

21 องค์ประกอบของเล่ม 2. คำนำ 3. สารบัญ 4. เนื้อหาบทต่างๆ
การจัดทำรูปเล่ม ฉบับสมบูรณ์ องค์ประกอบของเล่ม 1. ปกนอกหรือปกหน้า และปกใน 2. คำนำ 3. สารบัญ 4. เนื้อหาบทต่างๆ 5. บรรณานุกรม หรือ เอกสารอ้างอิง 6. ภาคคำศัพท์ 7. ดัชนี 8. ภาคผนวก (ถ้ามี) 9. ประวัติของผู้เขียน 10. ปกหลัง และรองปกหลัง

22 บรรณาธิกร ไม่เข้าข้างตนเองเป็นเบื้องต้น
การบรรณาธิกร และการประเมิน บรรณาธิกร 1. ผู้เขียนต้องบรรณาธิกร (Editing) งานเขียนของตนเองอย่างรอบคอบ ไม่เข้าข้างตนเองเป็นเบื้องต้น 2. มอบให้ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้บรรณาธิกร เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ความครอบคลุม ความลึกซึ้งของเนื้อหา และความสละสลวย

23 แนวทางการประเมินคุณภาพ
1. ควรเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ประเมินโดยปราศจากอคติ 2. เป็นการประเมินเพื่อตรวจแก้ไข ปรับปรุง และเติมเต็ม 3. ผู้ประเมินอาจเป็นคณะ หรือ คนเดียวก็ได้

24 กรอบการประเมินคุณภาพ
1. เนื้อหาสาระทางวิชาการมีความถูกต้องสมบูรณ์ 2. แนวคิดและการนำเสนอชัดเจน เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ 3. สังเคราะห์และเสนอความรู้ หรือวิธีการที่ทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ 4. สอดแทรกความคิดริเริ่ม และประสบการณ์หรือผลงานวิจัยของผู้เขียน 5. สามารถไปใช้อ้างอิงหรือปฏิบัติได้

25 การเผยแพร่ด้วยวิธีการพิมพ์
1. การเผยแพร่โดยโรงพิมพ์ (Printing House) 2. การเผยแพร่โดยสำนักพิมพ์ (Publishing House) 3. การถ่ายสำเนาเย็บรูปเล่มหรือทำในรูปแบบอื่นๆ “ผู้เขียนอาจจัดพิมพ์เอง หรือมอบลิขสิทธิ์ให้มหาวิทยาลัย โรงพิมพ์ หรือสำนักพิมพ์จัดพิมพ์”

26 การเผยแพร่โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ
1. CD Rom 2. E - Book ฯลฯ ระยะเวลาเผยแพร่ 1. กรณีตำราต้องใช้ในการเรียนการสอนไม่น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษา 2. กรณีหนังสือ ต้องเผยแพร่สู่สาธารณชนมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 เดือน

27 แผนการดำเนินการเขียนหนังสือและตำรา (ตัวอย่าง)
แผนการดำเนินการเขียนหนังสือและตำรา (ตัวอย่าง) ลำดับ กิจกรรม เดือนที่ / ปี 1 2 3 4 5 6 การเตรียมการเขียน -การปริทัศน์วรรณกรรม -การออกแบบเนื้อหา การลงมือเขียน (เนื้อหาแต่ละบท) -บทที่1 -บทที่2 การจัดทำรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ -คำนำ -สารบัญ การบรรณาธิกรและการประเมิน -การบรรณาธิกร -การประเมิน การเผยแพร่ -วิธีการพิมพ์ -โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์

28 ขอบคุณ THANKS สวัสดีครับ


ดาวน์โหลด ppt “แนวทางการเขียนหนังสือ – ตำรา”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google