งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน (Project based Learning : PBL)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน (Project based Learning : PBL)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน (Project based Learning : PBL)
วิทยา ใจวิถี ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ 081 – 764 – 3448

2 นโยบาย ของรองเลขาธิการ กอศ.
นายวณิชย์ อ่วมศรี ฝากถึงผู้เข้าร่วมการประชุม … J.Wittaya …

3 มีคนมาร่วมโครงการจำนวนมาก แสดงว่าโครงการน่าสนใจมาก
ขอให้ทำงานเป็นทีม มีเครือข่าย ในวิทยาลัยหนึ่งๆ ที่มาวันนี้ ให้เป็นครูแกน เพื่อถ่ายทอดคนอื่นๆ ได้ ขอให้ศึกษานิเทศก์ ทุกคน เป็นพี่เลี้ยง ขอให้ ผอ.ผู้อาวุโส อ.ชัยชุมพล และโดยเฉพาะ อ.สุภาภรณ์ เป็นพี่เลี้ยงและการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ขอให้มีการคัดเลือก เฉพาะผลงานที่เด่นๆ มานำเสนอในวันที่ สิงหาคม 2557 ขอให้รวบรวมเป็นรายวิชา ที่ทำงาน PBL เพื่อใช้เป็นต้นแบบของรายวิชาต่างๆ ซึ่งต่อไปจะกลายเป็นนวัตกรรม ซึ่งนำไปสู่ที่เรียกว่า วิทยาลัยมีนวัตกรรม … J.Wittaya …

4 พยายามหาวิธีการที่เป็นต้นแบบ สร้างเกณฑ์ต้นแบบ
การการวัดและประเมินผลสภาพจริง ขอให้ผลงานที่เกิดขึ้นมีผลต่อการพัฒนาคุณภาพครู ที่ก้าวไปสู่สมรรถนะที่กล่าวไว้ในหลักสูตร เน้นสมรรถนะให้ออกมาให้ชัดเจน ทำให้เกิดเทคโนโลยีของวิทยาลัย ร่วมกันค้นหา KPI ของการประเมิน เช่น ข้าว มากกว่า 1 ตัน ต่อไร่ โดยที่ใน 1 งาน ให้ได้ 25,000 บาท เพราะต้องเท่าคำว่า ไร่ละแสน วิเคราะห์ต้นทุนให้ได้ เช่น ข้าว 4,000 บาท ต่อไร่ ซึ่งปัจจุบันพบว่า มีต้นทุน 9,700 บาท ต่อไร่ ขายเพียง 10,000 บาท จึงไม่มีกำไร ซึ่งในขณะที่ ประเทศพม่า มีต้นทุนประมาณ 2, ,000 บาทต่อไร่ ประเทศเวียดนาม ประมาณ 5,700 บาท ต่อไร่ … J.Wittaya …

5 ขอให้วิเคราะห์หาค่าแรงงาน และอื่นๆ ออกมาเป็นรายการ ๆ
ขอให้วิเคราะห์หาค่าแรงงาน และอื่นๆ ออกมาเป็นรายการ ๆ ให้วิจัยจิตพิสัยผู้เรียน วิจัยเทคโนโลยี และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (อย่าทำแบบไฟไหม้ฟาง) และหาแนวทางไปสู่การมีวิทยฐานะเชิงประจักษ์ไว้ด้วย ซึ่งจะเป็นงานที่สุดยอด ให้รายงานให้ผม (รองฯ วณิชย์) ทราบ ทุกครั้ง ทุกระยะ อย่างต่อเนื่อง โดยการใช้เทคโนโลยีเช่น Facebook หรือ Line หรือ Internet และรูปแบบเอกสารที่สมบูรณ์ โดยรายงานว่าวิทยาลัยที่ไหนที่น่าสนใจ มีผลงานเป็นที่น่าพอใจ ความก้าวหน้าของการทำงาน ท่านรองฯ จะแวะเยี่ยมชมอาจจะไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า ถ้าผ่านไปเมื่อไร จะแวะเยี่ยมชม … J.Wittaya …

6 ตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพภายนอกรอบสาม
ตัวบ่งชี้ที่ ๔ ผลงานที่เป็นโครงงานทางวิชาชีพหรือสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียนที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ ร้อยละของจำนวนผลงานที่เป็นโครงการทางวิชาชีพหรือสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียนที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ไม่น้อยกว่า ๖ เดือนหรือได้รับรางวัล ยกย่องโดยหน่วยงานหรือองค์กรภายนอกที่ได้รับการยอมรับ หรือแข่งขันภายในสถานศึกษาที่มีกรรมการอย่างน้อย ๓ คน โดยมีกรรมการภายนอก ๑ คน และระบุการนำไปใช้ประโยชน์ในสถานศึกษา ชุมชน ระดับชาติ (นับชั้นปีสุดท้าย ของ ปวช.,ปวส.) คำนวณ โดย ปวช.ผู้เรียนปีสุดท้ายหาร 3 เช่น 150/3 = 50 คน) คำนวณ โดย ปวส.ผู้เรียนปีสุดท้ายหาร 2 เช่น 180/2 = 90 คน) ตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพภายนอกรอบสาม … J.Wittaya …

7 หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา ตัวบ่งชี้มาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน 2555
5.1 ระดับคุณภาพในการบริหารจัดการโครงการ/ สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย ของผู้เรียน 1. ข้อมูลผู้เรียน ระดับชั้น ปวช. 3 และระดับชั้น ปวส. 2 จำแนกตามประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางาน 2. หลักฐานการส่งเสริม สนับสนุนการจัดทำ การจัดประกวด จัดแสดงโครงการ สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย 3. ข้อมูลโครงการ สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย ในระดับชั้น ปวช. 3 และระดับชั้น ปวส. 2 ในแต่ละสาขางาน 4. ข้อมูลโครงการ สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัยที่ได้รับรางวัลหรือนำไปใช้ประโยชน์ในสถานศึกษา และได้รับการเผยแพร่ 6. ข้อมูลโครงการ สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัยที่ได้รับรางวัลหรือนำไปใช้ประโยชน์ในระดับชุมชน จังหวัด ภาค และชาติ ตัวบ่งชี้มาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน 2555 … J.Wittaya …

8 ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา
มาตรฐานที่ 2 ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา “พัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการหรือประชาคมอาเซียน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลายมุ่งเน้นสมรรถนะอาชีพ และบูรณาการ คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม คุณลักษณะที่พึงประสงค์และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” … J.Wittaya …

9 หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา
ตัวบ่งชี้ หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา 2.1 ระดับคุณภาพในการใช้และพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ หรือประชาคมอาเซียน 1. ข้อมูลสาขางานที่เปิดสอนในสถานศึกษา 2. รายงานการสำรวจความต้องการหรือความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา 3. หลักฐานความร่วมมือกับสถานประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา 4. หลักฐานการทดลองใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา 5. หลักฐานการประเมินหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา 6. หลักฐานที่สาขางานได้นำหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชาที่พัฒนาแล้วไม่เกิน 3 ปี ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน 7. ร้อยละของสาขางานที่ได้นำหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชาที่พัฒนาแล้วไม่เกิน 3 ปี ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เทียบกับสาขางานที่เปิดสอนในสถานศึกษา … J.Wittaya …

10 หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา
ตัวบ่งชี้ หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา 2.2 ระดับคุณภาพในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา 1. ข้อมูลครูผู้สอนทั้งหมดในสถานศึกษา 2. หลักฐานหรือคำสั่งมอบหมายวิชาสอนหรือตารางสอน 3. แผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลายที่มุ่งเน้นสมรรถนะอาชีพและบูรณาการคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูแต่ละคนทุกรายวิชาที่สอน 4. ร้อยละของครูที่จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย ที่มุ่งเน้นสมรรถนะอาชีพ และบูรณาการคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทุกรายวิชาที่สอนเทียบกับครูผู้สอนทั้งหมดในสถานศึกษา … J.Wittaya …

11 หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา
ตัวบ่งชี้ หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา 2.3 ระดับคุณภาพ ในการจัดการเรียน การสอนรายวิชา 1. ข้อมูลรายวิชาทั้งหมดที่สถานศึกษาจัดการเรียนการสอน 2. หลักฐานหรือคำสั่งมอบหมายวิชาสอนหรือตารางสอน 3. หลักฐานของรายวิชาที่ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย ที่มุ่งเน้นสมรรถนะอาชีพ และบูรณาการคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4. หลักฐานของรายวิชาที่มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ในการจัดการเรียนการสอน … J.Wittaya …

12 หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา
ตัวบ่งชี้ หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา 2.3 ระดับคุณภาพ ในการจัดการเรียน การสอนรายวิชา (ต่อ) 5. หลักฐานของรายวิชาที่มีการนิเทศการจัดการเรียนการสอนและให้ครูทำบันทึกหลังการสอน 6. หลักฐานของรายวิชาที่ครูนำผลจากการสอนด้วยเทคนิควิธี การสอนที่หลากหลาย และผลการนิเทศการจัดการเรียนการสอนไปจัดทำวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอน 7. หลักฐานของรายวิชาที่ครูนำผลจากการวิจัยไปแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอน … J.Wittaya …

13 หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา
ตัวบ่งชี้ หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา 2.4 ระดับคุณภาพ ในการวัดและประเมินผลการจัดการเรียน การสอนรายวิชา 1. ข้อมูลครูผู้สอนทั้งหมดในสถานศึกษา 2. หลักฐานหรือคำสั่งมอบหมายวิชาสอนหรือตารางสอน 3. หลักฐานการกำหนด และแจ้งหลักเกณฑ์และวิธีการวัดและประเมินผลให้ผู้เรียนทราบก่อนการจัดการเรียนการสอนของครู ทุกคนในทุกรายวิชาที่สอน 4. หลักฐานการวัดและประเมินผลตามแผนการจัดการเรียนรู้ของครูทุกคนใน ทุกรายวิชาที่สอน 5. หลักฐานการใช้วิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายและเหมาะสมของครูทุกคนในทุกรายวิชาที่สอน … J.Wittaya …

14 หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา
ตัวบ่งชี้ หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา 2.4 ระดับคุณภาพ ในการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนรายวิชา (ต่อ) 6. หลักฐานการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผลของครูทุกคนในทุกรายวิชาที่สอน 7. หลักฐานการนำผลจากการวัดและประเมินผลไปใช้ใน การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ที่มุ่งเน้นสมรรถนะอาชีพ และบูรณาการคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูทุกคนในทุกรายวิชาที่สอน … J.Wittaya …

15 กระบวนการเรียนรู้ที่ดี
เกิดจากกระบวนการสร้างความเข้าใจกับสิ่งที่ได้เรียนรู้มา เป็นกระบวนการเชื่อมโยงระหว่างความรู้เก่าที่มีอยู่ในตัวผู้เรียนกับความรู้ใหม่ที่ได้รับ เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ยิ่งมีการถกเถียงแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นมาก การเรียนรู้ก็ยิ่งเกิดขึ้นได้มาก นนนนน J.wittaya

16 เกิดจากผู้เรียนสามารถกำหนดขั้นตอนการเรียนและวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองได้มาก ยิ่งในกรณีที่ผู้เรียนพึ่งพาตนเองได้มาก การเรียนรู้ยิ่งเกิดขึ้นได้มาก ผู้เรียนมีความชัดเจนในเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการเรียนและเป้าหมายการเรียนนั้นมีความหมายกับตัวผู้เรียน มีการผสมผสานระหว่างจิตใจ ร่างกาย สภาพแวดล้อม และบริบทของการเรียน นั่นคือ เมื่อมีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เรียนกับชีวิตจริง นนนนน J.wittaya

17 “การเรียนรู้ที่ดีไม่ได้มาจากการหาวิธีการสอนที่ดีแก่ผู้สอน
กระบวนการทางปัญญา ฝึกสังเกต ฝึกบันทึก ฝึกการนำเสนอ ฝึกการฟัง ฝึกถาม – ตอบ ฝึกการค้นหาคำตอบ ฝึกตั้งสมมุติฐาน ฝึกทำวิจัย ฝึกเชื่อมโยงบูรณาการ ฝึกการเรียนที่หลากหลาย “การเรียนรู้ที่ดีไม่ได้มาจากการหาวิธีการสอนที่ดีแก่ผู้สอน แต่มาจากการให้โอกาสที่ดีแก่ผู้เรียนในการสร้าง” (constructionism) นนนนน

18 การเรียนรู้แบบใช้โครงงาน (Project Based Learning)
การเรียนรู้แบบใช้หัวข้อปัญหา (Problem Based Learning) นนนนน

19 การเรียนรู้ด้วยโครงการคืออะไร?
เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญวิธีการหนึ่ง ช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านความรู้และทักษะผ่านการทำงานที่มีการค้นคว้าและการใช้ความรู้ในชีวิตจริง ใช้ผลงานและการแสดงออกถึงศักยภาพจากการเรียนรู้ ถูกขับเคลื่อนโดยใช้คำถามกำหนดกรอบการเรียนรู้ที่เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างมาตรฐานการเรียนรู้กับทักษะการคิดสู่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง 16/09/61

20 ลักษณะสำคัญของการเรียนรู้ด้วยโครงการ
เรื่องหรือประเด็นปัญหาที่จะจัดเป็นโครงการ เป็นเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ ต้องการหาคำตอบ 2. วิธีการหาคำตอบ เป็นการศึกษาด้วยตนเอง ที่มีลักษณะ เป็นกระบวนการ มีระบบ มีวิธีการศึกษาหลายวิธี ซึ่งครอบคลุมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น มีการศึกษาจากแหล่งการเรียนรู้ / แหล่งข้อมูลที่หลากหลาย มีครูเป็นที่ปรึกษาตลอดกระบวนการทางาน 3. ค้นพบองค์ความรู้ หรือข้อสรุปจากโครงการ ซึ่งมีลักษณะ สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ กระตุ้นให้ต้องการที่จะศึกษาหาคำตอบอย่างต่อเนื่อง สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นได้ 16/09/61

21 กลยุทธการเรียนการสอน
แบบโครงการเป็นฐาน 16/09/61

22 Learning Process / Constructionism
Motivation Learning/ Knowledge Information Searching Self-Learning Conclusion and Presentation Show and Share/ Reflection Knowledge Transfer นนนนน Experiment

23 National Training Laboratories, Bethel, Maine, USA
The Learning Pyramid Average Retention Rate Lecture 5 % (เรียนในห้องเรียน นั่งฟังบรรยาย) Reading (อ่านด้วยตัวเอง) 10 % Audiovisual (ฟังและได้เห็น เช่น ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ) 20 % Demonstration 30 % (ได้เห็นตัวอย่าง) Discussion group 50 % นนนนน (พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันในกลุ่ม) Practice by doing 75 % (ได้ทดลองปฏิบัติเอง) 80 % Teach others (ได้สอนผู้อื่น เช่น การติว) National Training Laboratories, Bethel, Maine, USA

24 สมรรถนะของผู้เรียนจากการเรียนรู้แบบโครงการ
1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 16/09/61

25 โครงการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ทำการตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ มีความคิดริเริ่ม แก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้ จัดการกับตนเองได้ สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับ ความต้องการ ของสถานประกอบการ 16/09/61

26 ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย
ความรับผิดชอบ และการปรับตัว ฝึกความรับผิดชอบต่อตนเอง และมีความยืดหยุ่นต่อบริบทของสถานประกอบการและชุมชน กำหนดมาตรฐานและเป้าหมายขั้นสูงทั้งของตนเองและผู้อื่น และดำเนินการให้บรรลุผลตามมาตรฐานและเป้าหมายที่กำหนด อดทนต่ออุปสรรคทั้งปวง ทักษะการสื่อสาร เข้าใจ จัดการและสร้างสรรค์วิธีการสื่อสารด้วยการพูด การเขียนและมัลติมีเดีย ในรูปแบบและบริบทต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 16/09/61

27 ความคิดสร้างสรรค์และความใฝ่รู้ใฝ่เรียน
พัฒนาไปใช้และสื่อสารแนวคิดใหม่ๆ ไปสู่ผู้อื่น เปิดกว้างรับฟัง ตอบสนองต่อมุมมองที่หลากหลาย การคิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดเป็นระบบ ฝึกการแสดงเหตุผล เพื่อแสดงความเข้าใจและสร้างทางเลือกที่หลากหลาย และเข้าใจการเชื่อมโยงระหว่างกันอย่างเป็นระบบ ทักษะการใช้ข้อมูลสารสนเทศและสื่อ วิเคราะห์ เข้าถึง จัดการบูรณาการ ประเมินผลและสร้างสรรค์ข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบ และสื่อที่หลากหลาย 16/09/61

28 ทักษะระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานร่วมกัน
แสดงให้เห็นการทำงานเป็นทีมและภาวะความเป็นผู้นำ การปรับตัวตามบทบาทและความรับผิดชอบที่หลากหลาย การทำงานอย่างมีคุณภาพร่วมกับผู้อื่น ฝึกความเห็นใจและเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง การระบุกำหนด และแก้ปัญหา สามารถที่จะกำหนดขอบเขตของปัญหา วิเคราะห์และแก้ปัญหาได้ การกำกับตนเอง กำกับความต้องการในการเรียนและความเข้าใจของตนเอง ใช้แหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้สู่ผู้อื่นได้ ความรับผิดชอบต่อสังคม แสดงความใส่ใจและรับผิดชอบต่อประโยชน์ของสังคมส่วนใหญ่ แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อบุคคล สถานที่และบริบทของสังคม 16/09/61

29 Thank You  : 081 –


ดาวน์โหลด ppt การเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน (Project based Learning : PBL)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google