งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พัฒนศักดิ์ จิณะวงค์ สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พัฒนศักดิ์ จิณะวงค์ สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พัฒนศักดิ์ จิณะวงค์ สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่
ผลการใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนวิชา งานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาชั้น ปวช.3 สาขางานยานยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่ พัฒนศักดิ์ จิณะวงค์ สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่

2 ปัญหาการวิจัย จากการสอนวิชางานงานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ ในรายวิชาได้ใช้กระบวนการเรียนเป็นกลุ่ม เมื่อแบ่งกลุ่มทำงานนักศึกษาจะจับกลุ่มกันโดยเป็นกลุ่มที่นักศึกษาเลือกกันเองไว้ ทำให้นักศึกษาไม่มีความหลากหลายในความสามารถของกลุ่ม นักศึกษาที่เก่งก็จะรวมอยู่กลุ่มเก่ง นักศึกษาที่อ่อนก็จะจับกลุ่มกันไม่มีโอกาสที่จะเข้าอยู่ร่วมกับนักศึกษาที่เก่ง เมื่อทำงานกลุ่มนักศึกษาจะมีทักษะการทำงานกลุ่มที่ต่างกันอย่างชัดเจน ทำให้ผลสัมฤทธิ์ออกมาต่างกันมาก รวมทั้งระหว่างที่ทำกิจกรรมการเรียนก็มีความตั้งใจในการทำงาน และการบันทึกใบงานที่ต่างกัน

3 วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปฏิบัติก่อนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.3) ห้องช่างยนต์ สาขางานยานยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่

4 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
สรุป แสดงค่าเฉลี่ย ( x ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D ) และการทดสอบค่าที (t-test) ของคะแนนการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์วิชางานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ก่อนและหลังการทดลอง การทดสอบ คะแนนเต็ม คะแนนเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) ก่อนการทดลอง 10 4.2024 หลังการทดลอง 5.8810

5 จากตาราง แสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชางานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาก่อนและหลังการเรียน มีความแตกต่างกัน โดยคะแนนที่ได้จากการทดสอบหลังการเรียนสูงกว่าคะแนนที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียน ซึ่งนั่นก็คือนักศึกษามีพัฒนาการทางการเรียนวิชางานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ดีขึ้น

6 สรุปผลการวิจัย ผลของการใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือของนักศึกษาระดับ ปวช 3 พบว่า นักศึกษาที่เรียนโดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชางานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ สูงขึ้น โดยมีคะแนนที่ได้จากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ แสดงว่าการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือช่วยพัฒนาการเรียนวิชางานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์สูงขึ้น

7 ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การเรียนการสอนด้วยเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชางานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์หลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ดังนั้นครูผู้สอนควรนำเทคนิคการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือไปใช้ในการเรียนการสอนเพื่อช่วยพัฒนาทักษะในการเรียน

8 The end Presented by jinawong


ดาวน์โหลด ppt พัฒนศักดิ์ จิณะวงค์ สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google